วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อธิบายความอยากได้เกินประมาณ

อรรถแห่งความชั่วช้าลามกที่กล่าวไว้ใน อริยวังสสูตร ฉันใด อรรถ
แห่งความเป็นผู้อยากได้เกินประมาณ ก็ฉันนั้น. ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายมี
จีวรเป็นต้น ภิกษุได้สิ่งใดๆ มา ก็ไม่ยินดีสิ่งนั้นๆ ก็หรือว่า เป็นคฤหัสถ์
ย่อมได้สิ่งใดๆ ในบรรดารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็ไม่ยินดี
ด้วยสิ่งนั้นๆ. คำว่า ภิยฺโยกมฺยตา (ความปรารถนาให้วิเศษขึ้นไป.) ชื่อว่า
ความอยาก เพราะอำนาจแห่งความปรารถนา. หรือว่า อาการแห่งความอยาก

นั้นแหละ ชื่อว่า กิริยาที่ปรารถนา. สภาพแห่งความอยากเกินการได้ของ
ตน ชื่อว่า ความมักมาก. คำว่า ราคะ เป็นต้น มีอรรถตามที่กล่าว
แล้วในหนหลัง แล. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ผู้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกชื่อว่า ความมักมาก. แม้ความอยากเกินประมาณนี้ ก็เป็นชื่อของ

ความมักมากนั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความอยากได้เกินประมาณ
นี้ ได้แก่ ความไม่สันโดษในลาภของตน และความปรารถนาในลาภของผู้อื่น
ข้อนี้ มีการอยากได้เกินประมาณเป็นลักษณะ (เป็นเครื่องกำหนด). จริงอยู่
แม้วัตถุอันประณีต อันบุคคลผู้มีความอยากเกินประมาณนั้นได้แล้ว ย่อม
ปรากฏเป็นราวกะว่าของลามก (ต่ำช้า). แม้วัตถุอันลามกอันบุคคลอื่นได้แล้ว

ย่อมปรากฏราวกะว่าเป็นของประณีต. ข้าวยาคูอันสุกแล้วในภาชนะหนึ่ง หรือ
ว่าภัต หรือว่าขนมที่เขาใส่ไว้ในบาตรของตน เป็นราวกะว่าเป็นของลามก.
ในบาตรของผู้อื่น ย่อมปรากฏราวกะว่า เป็นของประณีต. อนึ่งความอยาก
เกินประมาณนี้ ย่อมมีแม้แก่บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีแม้แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย
ย่อมมีแม้แก่สัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย. ในข้อนี้พึงทราบเรื่องทั้งหลายเหล่านี้เป็น
อุทาหรณ์ต่อไป.

เรื่องของผู้มีความโลภเกินประมาณ

ได้ยินว่า กฏุมพีคนหนึ่ง นิมนต์ภิกษุณี ๓๐ รูป ได้ถวายภัต กับ
ขนม พระสังฆเถรียังขนมในบาตรของภิกษุณีทั้งปวงให้เปลี่ยนแปลงแล้ว
(เข้าใจว่าแบ่งขนมในบาตรอื่น) แล้วจึงได้เคี้ยวกินขนมนั้นอันตนได้แล้วใน
ภายหลัง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แม้พระเจ้าพาราณสี ก็ทรงพระดำริว่า เราจักเสวยเนื้อสุกด้วยถ่านไฟ
ดังนี้จึงทรงพาพระเทวีเสด็จเข้าไปประพาสป่า ทอดพระเนตรเห็นกินนรีนาง
หนึ่ง ทรงทิ้งพระเทวีเสด็จตามนางกินนรีนั้นไป. พระเทวีจึงเสด็จไปสู่อาศรม
บท (บวชเป็นตาปสินี) แล้วกระทำกสิณบริกรรม บรรลุสมาบัติ ๘ และ
อภิญญา ๕ นั่งอยู่ เห็นพระราชากำลังเสด็จมา จึงเหาะขึ้นไปในอากาศได้เสด็จ
ไปแล้ว. เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา
นี้ ว่า

อตฺริจฺฉํ อติโลเภน อติโลภมเทน จ
เอวํ โส หายติตฺตานํ จนฺทํว อสิธาภุยา
แปลว่า
พระองค์นั้น ทรงปรารถนานาง
จันทกินนรีอยู่ ทรงละทิ้งพระราชธิดา
อสิตาภูเสื่อมแล้ว ฉันใด พระองค์ย่อมยัง
พระสรีระให้เสื่อมโทรมไป เพราะความ
โลภมากและเพราะความมัวเมาในความ
โลภเกินไปฉันนั้น ดังนี้.

เทวดา ได้ทำการเยาะเย้ยพระราชาว่า พระองค์ เมื่อปรารถนา
นางจันทกินนรี ทรงละทิ้งพระราชธิดาอสิตาภู จึงเสื่อมจากนางทั้งสอง เมื่อ
โลภเกินไปอย่างนี้ ย่อมทำตนให้เสื่อมไป ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องบุตรเศรษฐี

แม้ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป บุตรเศรษฐี
คนหนึ่งชื่อว่า มิตตวินทุกะ ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผู้
อันมารดาอ้อนวอนอยู่ว่า พ่อ เจ้าจงรักษาอุโบสถศีล จงฟังธรรมในวันนี้ตลอด
ราตรีในวิหารแล้ว แม่จักให้ทรัพย์แก่เจ้าพันหนึ่ง ดังนี้ เพราะความโลภใน

ทรัพย์ จึงไปสู่วิหารสมาทานองค์แห่งอุโบสถศีล ครั้นแล้วก็กำหนดสถานที่
ว่า ที่นี้ไม่มีภัย (คือ ไม่มีใครเห็น) แล้วนอนภายใต้ธรรมาสน์ ครั้นนอน
ตลอดคืนแล้ว ก็ลุกขึ้นไปบ้าน. มารดาของเขาหุงข้าวยาคูส่งให้แต่เช้าตรู่. นาย
มิตตวินทุกะนั้น ขอรับทรัพย์พันหนึ่งก่อนนั่นแหละ แล้วจึงดื่มข้าวยาคู.

ลำดับนั้น เขาได้มีปริวิตกว่า เราจะรวบรวมทรัพย์ให้มาก ด้วยทุน
ทรัพย์นี้ ดังนี้ จึงปรารถนาจะขึ้นเรือไปสู่สมุทรเพื่อไปค้าขาย. ทีนั้นมารดา
ของเขาได้กล่าวห้ามว่า พ่อ ในตระกูลของเรามีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ เจ้าอย่าไป
เลย ดังนี้ เขาไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดา เดินไปอยู่นั่นแหละ มารดาจึงไป
ยืนขวางข้างหน้า ในขณะนั้นแหละ เขาโกรธแล้ว จึงใช้เท้าประหารมารดา

ให้ล้มลง ด้วยคิดว่า หญิงนี้ มายืนขวางหน้าเรา ดังนี้ ได้ทำมารดาให้อยู่
ในระหว่าง (ข้ามไป) ไปแล้ว มารดาลุกขึ้นแล้ว กล่าวว่า พ่อเจ้าอย่าได้
สำคัญอย่างนี้ว่า เมื่อเราทำกรรมเห็นปานนี้ในมารดาผู้เช่นกับด้วยเรา ไปแล้ว
จักมีความสุข ดังนี้.

เมื่อนายมิตตวินทุกะนั้น ก้าวขึ้นเรือไปอยู่ เรือแล่นไปถึงวันที่ ๗ ก็
หยุด. ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวว่า บุรุษผู้ลามกต้องมีอยู่ใน
เรือนี้แน่แท้ ท่านทั้งหลายจงจับสลากกัน ดังนี้ สลากที่พวกเขาให้จับอยู่ ก็
ตกแก่นายมิตตวินทุกะนั้นนั่นแหละถึง ๓ ครั้ง. มนุษย์เหล่านั้นจึงจับนาย
มิตตวินทุกะนั้นลอยแพ แล้วจึงแล่นเรือไปในสมุทร. แพของนายมิตตวินทุกะ
นั้นลอยไปถึงเกาะหนึ่ง เขาเสวยสมบัติอยู่กับด้วยนางเวมานิกเปรตทั้งหลาย แม้

ผู้อันนางเวมานิกเปรตทั้งหลายกล่าวอ้อนวอนว่า ขอท่านอย่าไป ดังนี้ เมื่อ
เขาไปอยู่เห็นสมบัติสองเท่าของสมบัตินั้นก็เสวยอยู่ๆ เป็นไปโดยลำดับในที่สุด
ได้เห็นบุรุษคนหนึ่งมีกงจักรคมกล้าหมุนอยู่ที่ศีรษะ จักรนั้นปรากฏราวกะว่า
ดอกปทุม. นายมิตตวินทุกะนั้น จึงกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงให้ดอกปทุมที่ท่านประดับไว้นี้แก่ข้าพเจ้า ดังนี้. บุรุษนั้นกล่าวว่า

ข้าแต่นาย นี้มิใช่ดอกปทุม นี้เป็นกงจักรอันคมกล้า ดังนี้. นายมิตตวินทุกะ
กล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ลวงข้าพเจ้า ดอกปทุมเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ามิเคยเห็น
หรือ ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็ท่านฉาบทาด้วยจันทน์แดง จึงไม่ต้องการให้ดอก
ปทุมอันเป็นเครื่องประดับนั้นแก่เรา ดังนี้. บุรุษนั้น คิดว่า แม้ชนนี้ จัก

เป็นผู้ทำกรรมเช่นเรานั่นแหละ จึงใคร่จะเสวยผลของกรรมนั้น ดังนี้ ลำดับ
นั้น บุรุษผู้มีกงจักรอันพัดผันอยู่ที่ศีรษะนั้น จึงกล่าวว่า เอาเถิด เราจักให้
ดังนี้แล้วเอากงจักรใส่ให้บนศีรษะของนายมิตตวินทุกะแล้วไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ว่า
จตุพฺภิ อฏฺ€ชฺฌคมา อฏฺ€าภิปิ จ โสฬส
โสฬสาภิ จ พาตฺตึส อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท
อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก

แปลว่า
บุรุษนั้น (นายมิตตวินทุกะ) ละจาก
นางเวมานิกเปรต ๔ นาง เสวยสมบัติกับ
นางเวมานิกเปรต ๘ นาง ละจากนางเวมานิก
เปรต ๘ นาง เสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิกเปรต
๑๖ นาง ละจากนางเวมานิกเปรต ๑๖ นาง
แล้วเสวยสมบัติอยู่กับนางเวมานิกเปรต ๓๒
นาง เป็นผู้มีความอยากเกินประมาณเข้าถึงจักร
อยู่ จักรนั้นย่อมหมุนไปบนศีรษะของบุรุษผู้อัน
ความอยากนำมาแล้ว ดังนี้.

เรื่องอำมาตย์

อำมาตย์คนหนึ่ง มีความอยากเกินประมาณแม้อื่นอีก ก้าวล่วงเขตแดน
ของตนเข้าไปสู่แดนของผู้อื่น ถูกโบยตีแล้วในที่นั้น จึงหนีไปสู่ที่เป็นที่อยู่
ของดาบสองค์หนึ่ง อธิษฐานองค์อุโบสถแล้วนอน. อำมาตย์นั้นถูกดาบสถามว่า
ท่านทำกรรมอะไรมา เขาจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
สกํ นิเกตํ อติเหฬยาโน ฯลฯ อตฺริจฺฉตา มา ปุนราคามาสิ
ดังนี้

แปลว่า ข้าพเจ้าเกลียดชังที่อยู่ของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สถานที่อันเป็น
มลทิน ด้วยความโลภมาก ลำดับนั้น ชนทั้งหลายออกจากบ้านพากันมาโบยตี
ข้าพเจ้าด้วยเกาทัณฑ์ ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะแตกแล้ว มีโลหิตโซมตัว จึงหนี
ออกมา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ขอความปรารถนาอันเลวทราม
อย่าได้กลับมาหาข้าพเจ้าอีกเลย ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มหิจฉตานิทเทส
อธิบาย ความมักมาก หรือความหิวกระหาย
บุคคลใด ปรารถนาวัตถุทั้งหลายเกินประมาณ ก็หรือว่า ความอยาก
ของผู้นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความมักมาก (มี
ความหิวกระหาย). ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความมักมากนั้น ชื่อว่า สภาพ
ความมักมาก. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ การไม่รู้จักประมาณในการรับ ใน

การบริโภค ก็เพราะการเจริญคุณอันไม่มีอยู่ นี้ชื่อว่า มีความอยากมากเป็น
ลักษณะ. จริงอยู่ บุคคลผู้อยากมาก (อยากใหญ่) มีความหิวกระหาย เปรียบ
เหมือน พ่อค้าหาบเร่ (กจฺฉปูฏวาณิชฺโช) ถือสินค้า เครื่องประดับด้วยมือ
และห้อยสิ่งที่ควรขายไว้ที่หน้าตัก แล้วกล่าวโฆษณาเชิญชวนมหาชนที่เห็น
อยู่นั่นแหละว่า แม่ จงถือเอาสิ่งชื่อโน้น ชื่อโน้น ดังนี้ ชื่อฉันใด ข้อนี้ก็ฉัน

นั้นนั่นแหละ คุณคือ ศีล หรือการศึกษาพระพุทธพจน์ หรือธุดงค์คุณ โดยที่
สุดแม้สักว่าการอยู่ป่าเป็นวัตรของตน แม้มีประมาณน้อย แต่เป็นผู้ใคร่เพื่อ
ยังมหาชน ผู้รู้อยู่นั้นให้ส่งเสริมตน. ก็แลบุคคลเช่นนี้ ครั้นเมื่อมหาชน
ส่งเสริมตน น้อมปัจจัยทั้งหลายแม้ตั้งเล่มเกวียนมาให้ ก็ไม่พอ ไม่กล่าวห้าม
ว่า อย่าเลย ย่อมถือเอาเทียว. จริงอยู่ ใครๆ ก็ไม่อาจเพื่อยังสิ่งทั้ง ๓ ให้
อิ่ม ให้เต็ม คือ ไฟ ย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ สมุทร ย่อมไม่อิ่มเต็มด้วยน้ำ
บุคคลผู้มีความอยากใหญ่ ผู้หิวกระหาย ย่อมไม่อิ่มไม่พอด้วยปัจจัยทั้งหลาย
ดังนี้.

อคุคิกฺขนโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล
พหุเก ปจฺจเย เทนฺเต ตโยเปเต น ปูรเย.
แปลว่า
สิ่งทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ กองไฟ ๑ มหาสมุทร ๑
บุคคลผู้มักมาก ๑ เมื่อใครๆ ให้ปัจจัยทั้งหลายแม้
มากมาย ก็ไม่พึงให้อิ่มให้เต็มได้.

จริงอยู่ บุคคลผู้มักมาก แม้แต่มารดาผู้ให้กำเนิด ก็ไม่อาจเพื่อถือ
เอาใจของเขาไว้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้เป็นอุปัฏฐากเล่า ในข้อนี้ มี
เรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์:-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่องภิกษุหนุ่ม

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ย่อมติดใจในขนมทำด้วยแป้ง ลำดับนั้น
มารดาของภิกษุนั้น เมื่อจะทดลองข้อปฏิบัติของบุตรดูว่า ถ้าว่า บุตรของเรา
ย่อมรู้ประมาณในการรับไซร้ เราจักบำรุงด้วยขนมทั้งหลายตลอดไตรมาส
ดังนี้ จึงเริ่มทดลองในวันใกล้ฤดูฝน ครั้งแรกได้ถวายขนมชิ้นหนึ่ง เมื่อขนม
ชิ้นนั้นหมดแล้ว จึงถวายชิ้นที่ ๒ เมื่อขนมชิ้นที่ ๒ หมดแล้ว จึงถวายขนม

ชิ้นที่ ๓ ภิกษุหนุ่มไม่ห้ามว่า พอละ เคี้ยวกินอยู่นั่นแหละ มารดาทราบซึ่ง
ความที่ภิกษุลูกชายนั้นไม่รู้จักประมาณ จึงกล่าวว่า ขนมของไตรมาสทั้งสิ้น
บุตรของเราเคี้ยวกินหมดแล้วในวันนี้แหละ ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้นมาไม่ได้ถวาย
อีกแม้สักชิ้นหนึ่ง.

แม้พระเจ้าติสสมหาราช เมื่อถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพต
ทุกๆ วัน ผู้อันชาวชนบทกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ย่อมเสพเฉพาะ
ที่แห่งเดียวเท่านั้นหรือ (ถวายทานแห่งเดียว) การถวายทานในที่อื่น ย่อมไม่
สมควรแก่พระองค์หรือ ดังนี้ ในวันที่ ๒ แต่วันนั้น จึงให้ถวายมหาทานใน
เมืองอนุราธบุรี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่รู้จักประมาณในการ

รับ ชนทั้งหลาย ๒-๓ คน ทิ้งขว้างซึ่งขาทนียะโภชนียะที่ภิกษุรูปหนึ่งๆ รับไป
แล้ว. พระราชาให้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพตในวันที่สอง แล้วตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงให้บาตรในเวลาที่ท่านทั้งหลายมาสู่พระราชวัง ดังนี้ แม้ภิกษุ
รูปหนึ่ง ก็มิได้ให้บาตร ด้วยคำว่า อย่าเลยมหาราช ภิกษุทั้งหลายจักรับ
ภิกษาโดยประมาณของตนเท่านั้น ดังนี้. ภิกษุทั้งปวงรับซึ่งภิกษาอันสมควร

แก่ประมาณของตนนั่นแหละ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จง
ดูภิกษุเหล่านี้ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย แม้รูปหนึ่ง ก็รู้ประมาณของตน. เมื่อ
วันวาน วัตถุอะไรๆ ก็มิได้เหลือ แต่วันนี้ ภิกษุถือเอาน้อยพอประมาณแก่
ตน ของจึงเหลือมากมาย ดังนี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ผู้มีใจเป็นของๆ ตน
เพราะรู้จักประมาณ ส่วนภิกษุนอกนี้ ไม่มีใจเป็นของๆ ตน เพราะความเป็น
ผู้ไม่รู้จักประมาณ.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อธิบาย ความหลอกลวง

คำว่า ลาภสกฺการสิโลกสนฺนิสฺสิตสฺส (แปลว่า สภาพที่หลอก
ลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง) อธิบายว่า ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น
ต้องการลาภ สักการะ และสรรเสริญ จึงปรารถนาเช่นนั้น. คำว่า ปาปิจฺฉสฺส
(แปลว่า ผู้ปรารถนาลามก) ได้แก่ ภิกษุผู้ใคร่แสดงความดีอันตนไม่มีอยู่.
คำว่า อิจฺฉาปกตสฺส (แปลว่า ถูกความอยากครอบงำแล้ว) อธิบายว่า ภิกษุ
นั้นถูกความอยากอันมิใช่ธรรมดาทำให้เดือดร้อนแล้ว.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบ กุหนวัตถุ (เรื่องความหลอกลวง) ๓
อย่าง อันมาในมหานิทเทส ด้วยสามารถแห่งภิกษุผู้หลอกลวงโดยมุ่งเสพปัจจัย ๑
ความหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง ๑ และความหลอกลวงด้วยการอาศัย
ซึ่งอิริยาบถ ๑ เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงความหลอกลวงแม้ทั้ง ๓ นั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา (แปลว่า ด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัย) เป็นต้น ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงทราบเรื่องความหลอกลวง (กุหนวัตถุ) กล่าวด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัยทำอุบายเป็นเหตุให้ทายกน้อมปัจจัยมาแม้ตั้งเล่มเกวียน จำเดิมแต่
การปฏิเสธ เพราะอาศัยความปรารถนาลามกของภิกษุผู้อันความอยากครอบงำ
ผู้อันทายกนิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้นเมื่อทายกนั้นน้อมถวายจีวรเป็นต้น อันประ-
ณีต ด้วยวิธีต่างๆ ว่า โอ พระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่

ต้องการเพื่อจะรับอะไรๆ ก็ถ้าท่านพึงรับอะไรๆ แม้สักเล็กน้อย นั่นเป็นการ
ที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ ดังนี้ เพราะเธอรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้ง
มั่นดีแล้วในตน จึงกระทำให้แจ้งเพื่อประสงค์จะอนุเคราะห์คหบดีนั้น ดังนี้.
สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในมหานิทเทส ว่า

เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย เป็นไฉน.
พวกคหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น มีความปรารถนาลามก อันความอยาก
ครอบงำ มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร อาศัยความเป็นผู้อยากได้มาก เธอย่อมบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยจีวร
มีค่ามาก สมณะควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า จากกองหยากเยื่อหรือจาก
ตลาด แล้วทำสังฆาฏิใช้ ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วย
บิณฑบาตอันมีค่ามาก สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วย
ปลีแข้ง โดยความประพฤติแสวงหา ข้อนั้นเป็นการสมควร เป็นประโยชน์

:b8: :b8: :b8:
เมื่อมีความอยากมากเกินประมาณเลยเกิดมีการหลอกลวงตามมาเช่นกัน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อะไรแก่สมณะด้วยเสนาสนะมีค่ามาก สมณะควรอยู่ที่โคนต้นไม้ อยู่ที่ป่าช้า
หรืออยู่ในที่แจ้ง ข้อนั้นเป็นการสมควร ประโยชน์อะไรแก่สมณะด้วยคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขารมีค่ามาก สมณะพึงทำยาด้วยน้ำมูตรเน่าหรือชิ้นลูกสมอ ข้อ
นั้นเป็นการสมควร เธออาศัยความเป็นผู้อยากได้มากนั้น จึงทรงจีวรที่เศร้าหมอง
ฉันบิณฑบาตที่เศร้าหมอง ซ่องเสพเสนาสนะที่เศร้าหมอง และฉัน
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่เศร้าหมอง.

พวกคหบดีเห็นภิกษุนั้นแล้ว ย่อมทราบอย่างนี้ว่า สมณะนี้มีความ
ปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร
มีวาทะกำจัดกิเลส ก็ยิ่งนิมนต์เธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร เธอก็กล่าวอย่างนี้ว่า เพราะประจวบด้วยเหตุ ๓ ประการ
กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมประสพบุญมาก คือเพราะประจวบด้วยศรัทธา กุลบุตร

ผู้มีศรัทธาก็ประสพบุญมาก เพราะประจวบด้วยไทยธรรม กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ย่อมประสพบุญมาก เพราะประจวบด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ย่อมประสพบุญมาก พวกท่านมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็น
ปฏิคาหก ถ้าอาตมาจักไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความ
ต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่อาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์พวกท่าน จำเดิมแต่

นั้น เธอก็รับจีวรมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก
ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง
ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงกล่าวด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัย.

ก็บุคคล ผู้มีความปรารถนาลามกนั่นแหละ แม้มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า
เป็นเรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงอันเป็นอุบาย
โดยทำนองนั้นๆ ด้วยวาจาอันแสดงถึงการบรรลุอุตตริมนุสสธรรม
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยการพูดเลียบเคียง เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ
มีความประสงค์ให้เขายกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้
จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใด ทรงจีวรอย่างนี้ สมณะนั้น
มีศักดิ์มาก สมณะใดทรงบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะใดทรง

ภาชนะโลหะ ทรงธัมมกรก ทรงผ้าสำหรับกรองน้ำ ถือลูกกุญแจ สวมรองเท้า
ใช้ประคดเอว ใช้สายโยคบาตรอย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก พูดว่า สมณะใด
มีอุปัชฌายะอย่างนี้ มีอาจารย์อย่างนี้ มีพวกร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ มีพวกร่วม
อาจารย์อย่างนี้ มีมิตรอย่างนี้ มีพวกอย่างนี้ มีพวกที่คบกันมาอย่างนี้ สมณะ
นั้นมีศักดิ์มาก พูดว่าสมณะใดอยู่ในวิหารเช่นนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก สมณะ

ใดอยู่ในเรือนมีหลังคาแถบเดียวอย่างนี้ อยู่ในปราสาทอย่างนี้ อยู่ในเรือนมี
หลังคาโล้นอย่างนี้ อยู่ในถ้ำอย่างนี้ อยู่ในที่หลีกเร้นอย่างนี้ อยู่ในกุฎีอย่างนี้
อยู่ในเรือนยอดอย่างนี้ อยู่ในป้อมอย่างนี้ อยู่ในโรงกลมอย่างนี้ อยู่ในเรือน
ที่พักอย่างนี้ อยู่ในศาลาที่ประชุมอย่างนี้ อยู่ในมณฑปอย่างนี้ อยู่ที่โคน
ต้นไม้อย่างนี้ สมณะนั้นมีศักดิ์มาก ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้าสยิ้ว หลอกลวง
ปลิ้นปล้อนตลบแตลง อันผู้อื่นสรรเสริญด้วยความที่ตนวางหน้าว่า สมณะนี้
ได้วิหารสมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้ ภิกษุนั้นย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อัน
ปฏิสังยุตด้วยโลกุตรธรรมและนิพพานอันลึกลับ สุขุม ละเอียด ปิดบัง ความ
ทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความ
เป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความหลอกลวงอันกล่าวด้วยการ
พูดเลียบเคียง ดังนี้.

ก็เมื่อภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกนั่นแหละ มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบ
เรื่องหลอกลวง อาศัยอิริยาบถอันเป็นอุบาย ด้วยอิริยาบถอันตน
กระทำเพื่อประสงค์ให้ผู้อื่นสรรเสริญตน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ตรัสไว้ว่า

เรื่องความหลอกลวง กล่าวด้วยอิริยาบถ เป็นไฉน. ภิกษุบาง
รูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ มีความ
ประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้ จึง
สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้ง

สตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำ
เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญ
อาปาถกฌาน (เหมือนผู้เจริญฌานอันประกอบด้วยมรรควิถี) การตั้งใจ
การดำรงอิริยาบถ ความทำหน้าสยิ้ว ความเป็นผู้มีหน้าสยิ้ว ความหลอกลวง

กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวงเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า เรื่องความ
หลอกลวง กล่าวคือด้วยอิริยาบถ ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า การซ่องเสพปัจจัย ในคำว่า ปจฺจยปฏิเสวน-
สงฺขาเตน ได้แก่ ด้วยการซ่องเสพปัจจัยอันกล่าวอย่างนี้. คำว่า สามนฺตชปฺ-
ปิเตน ได้แก่ ด้วยการพูดในที่ใกล้. คำว่า อิริยาปถสฺส ได้แก่ อิริยาบถ
ทั้ง ๔. คำว่า อฏฺ€ปนา ได้แก่ การเริ่มยกอิริยาบถ หรือการตั้งอิริยาบถ

ด้วยความเอาใจใส่ (ตั้งใจ). คำว่า ฐปนา ได้แก่ อาการที่ตั้งอิริยาบถ. คำว่า
สณฺฐาปนา ได้แก่ การตระเตรียมอิริยาบถ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบาย
คำนี้ไว้ว่า การทำให้ผู้อื่นเลื่อมใส. คำว่า ภากุฏิกา ได้แก่ การสยิ้วหน้า
ด้วยสามารถแห่งการแสดงความเป็นใหญ่ หรือความเป็นผู้เคยดำรงอยู่ก่อน
คำนี้ ตรัสอธิบายว่า เป็นผู้แสดงความไม่พอใจ ดังนี้. ที่ชื่อว่า สยิ้วหน้าเพราะว่า

การสยิ้วหน้าของผู้นั้นมีอยู่เป็นปกติ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้สยิ้วหน้า ชื่อว่า
สภาพที่สยิ้วหน้า. คำพูดอันเป็นอุบายให้เขาเชื่อ ชื่อว่า ความหลอกลวง.
วิถีทางของผู้หลอกลวง ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องหลอกลวง. ความเป็นแห่ง
บุคคลผู้หลอกลวง ชื่อว่า สภาพที่หลอกลวง ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร