วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2019, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำโลก ทรงเชี่ยวชาญใน
ปาฏิหาริย์ ๓ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงทรงเนรมิตที่จงกรม อัน
สร้างสรรด้วยรัตนะทั้งหมด สำเร็จลงด้วยดี.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธิ ได้แก่ การแสดงฤทธิ์ ชื่อว่า
อิทธิปาฏิหาริย์, อิทธิปาฏิหาริย์นั้น มาโดยนัยเป็นต้นว่า แม้คนเดียว
ก็เป็นมากคนบ้าง แม้มากคน ก็เป็นคนเดียวได้บ้าง. บทว่า อาเทสนา
ได้แก่ การรู้อาจาระทางจิตของผู้อื่นแล้วกล่าว ชื่อว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์.
อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ก็คือการแสดงธรรมเป็นประจำของพระสาวกทั้งหลาย
และของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า อนุสาสนี ก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์
อธิบายว่า โอวาทอันเกื้อกูลแก่อัธยาศัยของมหาชนนั้น ๆ. ปาฏิหาริย์ ๓ เหล่า

นี้ มีดังกล่าวมาฉะนี้. บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระโมคคัลลานะ. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอาจิณปฏิบัติของท่านพระธรรมเสนาบดี [สารีบุตร].
ส่วนอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นการแสดงธรรมเป็นประจำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า ติปาฏิหีเร ความว่า ในปาฏิหาริย์ ๓ เหล่านี้. คำว่า ภควา นี้
เป็นชื่อของท่านผู้ควรคารวะอย่างหนัก ผู้สูงสุดในสัตว์ ประเสริฐด้วยพระคุณ
สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

ภควาติ วจนํ เสฏฺ€ํ ภควาติ วจนมุตฺตมํ
คุรคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา
เป็นคำสูงสุด ท่านผู้ควรแก่คารวะอย่างหนักพระองค์นั้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2019, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วสี ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้.
อธิบายว่า ความชำนาญที่สั่งสมไว้. วสี ๕ คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี
อธิษฐานวสี วุฏฐานวสี และปัจจเวกขณวสี ชื่อว่า วสี.

บรรดาวสีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนึกถึงฌานใด ๆ ตามความ
ปรารถนา ตามเวลาปรารถนา เท่าที่ปรารถนา ความเนิ่นช้าในการนึกไม่มีเลย
เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถนึกได้เร็ว จึงชื่อว่า อาวัชชนวสี. ทรงเข้าฌาน
ใด ๆ ตามความปรารถนา ฯลฯ ก็เหมือนกัน ความเนิ่นช้าในการเข้าฌานไม่มี
เลย เหตุนั้น ความที่ทรงสามารถเข้าฌานได้เร็ว จึงชื่อว่า สมาปัชชนวสี.
ความที่ทรงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ชื่อว่า อธิษฐานวสี. ความที่ทรงสามารถ

ออกจากฌานได้เร็วก็เหมือนกัน ชื่อว่า วุฏฐานวสี. ส่วนปัจจเวกขณวสี ย่อม
เป็นปัจเจกขณชวนะจิตทั้งนั้น ปัจจเวกขณชวนะจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน
ลำดับต่อจากอาวัชชนจิตนั่นแล เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอาวัชชวสีเท่านั้น
ความที่ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในวสี ๕ เหล่านี้ ย่อมชื่อว่าทรงเป็นผู้ชำนาญ ด้วย
ประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2019, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่
ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ใน
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไป
ทุคติ ดังนี้.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2019, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไป
ตลอดหมื่นโลกธาตุ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระ-
พุทธเจ้า ผู้นำโลก พระนามว่ามงคล ก็ทรงกำจัด
ความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้
เทียบ ยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่น ๆ ครอบงำแสง
สว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ หมื่นโลกธาตุก็
สว่างจ้า.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2019, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า มารดาบิดาเป็นคนแบบบาง. ก็นันทะ
นำผลาผลดิบบ้าง สุกไม่ดีบ้าง มาให้มารดาบิดาบริโภค. เมื่อเป็นเช่นนั้น
มารดาบิดาจักอยู่ได้ไม่นาน. เราจักห้ามนันทะนั้น. จึงเรียกนันทะมากล่าว
ว่า ดูก่อนนันทะ ตั้งแต่นี้ไปน้องจะนำผลาผลมา จงรอให้พี่กลับก่อน เราจัก
ให้มารดาบิดาบริโภคร่วมกัน. แม้เมื่อโสณบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว นันท-
บัณฑิตหวังได้บุญจึงไม่ทำตาม. พระมหาสัตว์ปรบมือไล่นันทบัณฑิตผู้มาบำรุง
มารดาบิดากล่าวว่า น้องไม่ทำตามคำของบัณฑิต พี่เป็นพี่. มารดาบิดาเป็น
ภาระของพี่เอง พี่จักบำรุงมารดาบิดาเอง น้องจงไปจากที่นี้ไปอยู่เสียที่อื่น.


ลูกที่เป็นบัณฑิตนั้นย่อมจะแข่งกันเลี้ยงดูมารดาบิดา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2019, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า มารดาบิดาเป็นคนแบบบาง. ก็นันทะ
นำผลาผลดิบบ้าง สุกไม่ดีบ้าง มาให้มารดาบิดาบริโภค. เมื่อเป็นเช่นนั้น
มารดาบิดาจักอยู่ได้ไม่นาน. เราจักห้ามนันทะนั้น. จึงเรียกนันทะมากล่าว
ว่า ดูก่อนนันทะ ตั้งแต่นี้ไปน้องจะนำผลาผลมา จงรอให้พี่กลับก่อน เราจัก
ให้มารดาบิดาบริโภคร่วมกัน. แม้เมื่อโสณบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว นันท-
บัณฑิตหวังได้บุญจึงไม่ทำตาม. พระมหาสัตว์ปรบมือไล่นันทบัณฑิตผู้มาบำรุง
มารดาบิดากล่าวว่า น้องไม่ทำตามคำของบัณฑิต พี่เป็นพี่. มารดาบิดาเป็น
ภาระของพี่เอง พี่จักบำรุงมารดาบิดาเอง น้องจงไปจากที่นี้ไปอยู่เสียที่อื่น.


ลูกที่เป็นบัณฑิตนั้นย่อมจะแข่งกันเลี้ยงดูมารดาบิดา


Quote Tipitaka:
นันทบัณฑิตถูกพี่ชายไล่ไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงไหว้พระโพธิสัตว์
แล้วบอกเรื่องราวแก่มารดาบิดาเข้าไปยังบรรณศาลาของตน เพ่งกสิณในวัน
นั้นเอง ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิด แล้วคิดว่า เราจักนำทรายรัตนะ
มาจากเชิงเขาสิเนรุ เกลี่ยบริเวณบรรณศาลาของพี่ชายของเราแล้วขอขมา
หรือว่านำน้ำมาจากสระอโนดาตแล้วจึงขอขมา. หรืออีกอย่างหนึ่งพี่ชายของ
เราพึงยกโทษให้ด้วยอำนาจแห่งเทวดา เราจักนำมหาราช ๔ และท้าวสักก-
เทวราชมาแล้วจึงขอขมา อย่างนี้ก็ไม่งาม. พระราชาเมืองพรหมวัทธนะ
พระนามว่า มโนชะ นี้เป็นพระอัครราชาทั่วชมพูทวีป เราจักนำพระราชา
ทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระเจ้ามโนชะนั้นมาแล้วขอขมา เมื่อเป็นอย่างนี้คุณของพี่
ชายของเราจักครอบงำไปทั่วชมพูทวีป และจักปรากฏดุจดวงจันทร์และดวง-
อาทิตย์.


เพราะเหตุที่พี่ชายไล่ไป และเพราะเหตุของความไม่ย่อท้อ ไม่ท้อ
ถอยในการที่จะทำความดีของน้องชายในที่สุดก็ได้สิ่งที่ดี

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2019, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านพระยาวานร ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้
คือสัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ มีอยู่แก่ผู้ใด
เหมือนอย่างท่าน ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส บุคคลไรๆ. บทว่า เอเต คือท่านแสดง
ถึงข้อที่ควรกล่าวไว้ในบัดนี้. บทว่า จตฺโร ธมฺมา คือคุณธรรม ๔ ประการ.
บทว่า สจฺจํ คือวจีสัจจะ. ที่ท่านกล่าวว่า เราจักมาสำนักของเรา แล้วไม่
โกหกมาจนได้ นี้เป็นวจีสัจจะของท่าน. บทว่า ธมฺโม คือวิจารณปัญญา
ได้แก่ปัญญาไตร่ตรอง ปัญญาที่เป็นไปว่า เมื่อเราทำอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้

ชื่อว่าวิจารณปัญญาของท่าน. บทว่า ธิติ ได้แก่ความเพียรที่ไม่ขาด แม้
ความเพียรนี้ก็มีแก่ท่าน. บทว่า จาโค คือการบริจาคตน ท่านสละตน
มาหาเรา เราไม่สามารถจะจับท่านได้ นี้เป็นความผิดของเราเอง. บทว่า
ทิฏฺฐํ คือศัตรู. บทว่า โส อติวตฺตติ ความว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้มี
อยู่แก่บุคคลใดเหมือนอย่างมีแก่ท่าน ผู้นั้นย่อมก้าวล่วง คือครอบงำศัตรูของ
ตนเหมือนท่านพ้นเราในวันนี้.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2019, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านทั้งหลายจงเห็นความ
เกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการ
ปรารภความเพียรโดยเป็นทางเกษม แล้วจง
ปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็น
ความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความ
ไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงกล่าววาจา
อ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด นี้เป็นคำสั่ง
สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และ
เห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษม แล้ว
จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
เถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง -
หลาย.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2019, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อนึ่ง ปัญญาเป็นดุจแสงสว่าง ย่อมไม่ร่วมกับโมหะอันเป็นความมืด
ฉะนั้นพระโพธิสัตว์ผู้หวังในปัญญาบารมีสมบูรณ์ จึงควรเว้นเหตุแห่งโมหะ
ก่อน. พึงทราบถึงเหตุแห่งโมหะเหล่านี้ ดังต่อไปนี้:- ความริษยา ความ
เฉื่อยชา ความซบเซา ความเกียจคร้าน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่
ความหลับง่าย การไม่ตั้งใจแน่วแน่ ความไม่สนใจในญาณ ถือตัวผิด
การไม่สอบถาม การไม่บริหารร่างกายให้ดี จิตไม่ตั้งมั่น คบบุคคลปัญญา
ทราม ไม่เข้าไปใกล้คนมีปัญญา ดูหมิ่นตน ใคร่ครวญผิด ยึดถือวิปริต
มั่นในกายมาก ไม่มีความสังเวชใจ นิวรณ์ ๕ ผู้เสพธรรมโดยย่อปัญญายัง
ไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อม. ผู้เว้นเหตุแห่งความหลงเหล่านี้ พึง
ทำความเพียรในพาหุสัจจะ และในฌานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ ๕ อย่าง
คำว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ (เว้นจากโทษ ๕ อย่าง) ความว่า ขึ้น
ชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านี้มี ๕ อย่าง คือ
๑. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)
๒. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)
๓. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)
๔. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)
๕. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).

จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อม
เจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่
อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์
ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ
ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง. เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือ

ในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผาก
หรือศีรษะ เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษ
ที่สอง. เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อม
เหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้น ขบกัดเอา
เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม. เมื่อ

เดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี
นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรม
แคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่. เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป
จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป
พึงทราบว่าเป็นโทษที่ ห้า.

ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ
ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ) โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก มีพื้นอ่อนเกลี่ยทราย
ไว้เรียบเหมาะสม เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของ
พระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น
สุเมธบัณฑิต จึงกล่าวว่า เราสร้างที่จงกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้น
ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ความสุขของสมณะ ๘ อย่าง
คำว่า อฏฺ€คุณสมูเปตํ (ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ) ได้แก่
ประกอบด้วยความสุขของสมณะ ๘ อย่าง ธรรมดาว่า ความสุขของสมณะมี ๘ คือ
๑. ความไม่หวงแหนวัตถุทั้งหลายมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น
๒. ความเป็นผู้แสวงหาบิณฑบาตปราศจากโทษ
๓. ความเป็นผู้ฉันบิณฑบาตอันสงบ
๔. เมื่อราชกุลบีบคั้นชาวแว่นแคว้นยึดทรัพย์ที่มีสาระ หรือทาส
ชายหญิงและกหาปณะเป็นต้นอยู่ ความเป็นผู้ไม่ต้องเศร้าหมองเพราะการ
บีบคั้นชาวแว่นแคว้น
๕. ความไม่มีฉันทราคะในเครื่องใช้ทั้งหลาย
๖. ความปราศจากภัยในการถูกโจรปล้น
๗. ความไม่คลุกคลีด้วยพระราชา และมหาอำมาตย์ของพระราชา
๘. ความไม่กระทบกระทั่งในทิศทั้ง ๔.
คำนี้มีอธิบายว่า ชนผู้อยู่ในอาศรมนั้นอาจเพื่อประสบความสุขของ
สมณะ ๘ อย่างเหล่านี้ ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ
ฉันนั้น.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กถาว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐

ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ การงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น (มี
๗ อย่าง) อนภิชฌา อัพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ.
บรรดากุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น ปาณาติบาตเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าว
ไว้แล้วนั่นแหละ ธรรมที่ชื่อว่า วิรัติ (วิรติ) เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องงดเว้น
จากปาณาติบาตเป็นต้นด้วยธรรมนี้ หรือว่าเป็นตัวงดเว้น หรือว่า ธรรมนี้
เป็นเพียงการงดเว้นเท่านั้น. การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
สัมปยุตด้วยกุศลจิต ตามที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงด การเว้นจากปาณาติบาต
อันใด มีในสมัยนั้น ดังนี้ วิรัติ (การงดเว้น) นั้นมี ๓ ประเภท คือ

สัมปัตตวิรัติ
สมาทานวิรัติ
สมุจเฉทวิรัติ

บรรดาวิรัติ ๓ ประเภทนั้น วิรัติเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ได้สมาทาน
สิกขาบททั้งหลาย ซึ่งพิจารณาถึงความเกิด (ชาติ) ความเสื่อม (วย) และ
พาหุสัจจะเป็นต้นของตนแล้ว ไม่ก้าวล่วงวัตถุที่ถึงพร้อมด้วยคิดว่า การกระทำ
เห็นปานนี้ไม่สมควรแก่พวกเรา ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติ. สัมปัตต-
วิรัตินั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชื่อ จักกนะ ในเกาะ
สีหลดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า โรคเกิดขึ้นแก่มารดาของนายจักกนะนั้น ในเวลาที่เขายัง
เป็นเด็กทีเดียว. หมอบอกว่า ควรได้เนื้อกระต่ายสด ลำดับนั้น พี่ชายของ
นายจักกนะจึงส่งให้นายจักกนะไปด้วยคำว่า พ่อจักกนะจงไปเที่ยวหาที่ไร่นา
นายจักกนะนั้นก็ไปในที่นั้น ก็ในสมัยนั้น มีกระต่ายตัวหนึ่งมาเพื่อจะเคี้ยวกิน
ข้าวกล้าอ่อน มันเห็นนายจักกนะนั้นก็แล่นไปโดยเร็ว ได้ถูกเถาวัลย์พันไว้

จึงส่งเสียงกิริ กิริ ดังนี้. นายจักกนะไปตามเสียงนั้น จับมันแล้วคิดว่า เราจัก
ปรุงยาให้มารดา แล้วคิดอีกว่า เราฆ่าสัตว์อื่นเพราะชีวิตมารดาเป็นเหตุ นี้ไม่
สมควรแก่เรา ลำดับนั้น จึงปล่อยไปโดยกล่าวว่า เจ้าจงไปกินหญ้าและน้ำ
พร้อมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิด. เขาถูกพี่ชายถามว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าได้

กระต่ายแล้วหรือ เขาบอกเรื่องนั้นทั้งหมด ลำดับนั้น จึงถูกพี่ชายด่าเอา
นายจักกนะนั้นไปสู่สำนักมารดาแล้ว กล่าวอธิษฐานสัจจะว่า ตั้งแต่เกิดแล้ว
ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักการแกล้งฆ่าสัตว์มีชีวิตเลย ดังนี้ ทันใดนั้น มารดาของเขา
ก็หายจากโรค.

ก็วิรัติเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย ในเวลา
สมาทานสิกขาบทนั่นแหละ และในกาลต่อไปถึงสละชีวิตของตนก็ไม่ก้าวล่วง
วัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ. เหมือนวิรัติของอุบาสกผู้อาศัยอยู่ที่ภูเขา
ชื่อว่า ทันตรวัฑฒมานะ.

ได้ยินว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบททั้งหลายในสำนักของพระเถระปิงคล
พุทธรักขิตตะ ผู้อยู่ในอัมพรวิหารแล้วไปไถนา. ครั้งนั้น โคของเขาหายไป
เขาตามหาโคนั้น จึงขึ้นไปยังภูเขาชื่อว่า ทันตรวัฑฒมานะ งูใหญ่ได้รัดเขา
ในที่นั้น เขาคิดว่า เราจักตัดศีรษะงูนั้นด้วยมีดอันคมนี้ แล้วคิดอีกว่า เรารับ

สิกขาบททั้งหลายในสำนักครูที่ควรแก่การยกย่องแล้วพึงทำลายเสีย ข้อนั้นไม่
สมควรแก่เราเลย ดังนี้. เขาคิดอย่างนี้จนถึง ๓ ครั้ง แล้วตัดสินใจว่า เราจัก
สละชีวิต จักไม่สละสิกขาบท ดังนี้ จึงทิ้งมีดอันคมที่วางบนบ่า ทันทีนั้นแหละ
งูใหญ่ก็ปล่อยเขาได้เลื้อยไปแล้ว.

วิรัติ ที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค พึงทราบว่าเป็นสมุจเฉทวิรัติ จำเดิม
แต่สมุจเฉทวิรัติเกิดขึ้นแล้ว แม้จิตของพระอริยบุคคลทั้งหลายก็ไม่เกิดขึ้นว่า
เราจักฆ่าสัตว์ ดังนี้.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยอนันตะ (สิ่งไม่มีที่สุด) ๔ อย่าง

ในฐานะ (แห่งกามาวจรกุศลจิต ๘) นี้ ท่านถือเอาอนันตะ ๔ อย่าง
จริงอยู่ อนันตะ มี ๔ อย่าง คือ
อากาโส อนนฺโต (อากาศไม่มีที่สุด)
จกฺกวาฬานิ อนนฺตานิ (จักรวาลไม่มีที่สุด)
สตฺตนิกาโย อนนฺโต (หมู่สัตว์ไม่มีที่สุด)
พุทฺธาณํ อนนฺตํ (พุทธญาณไม่มีที่สุด).

จริงอยู่ การกำหนดอากาศว่า ในทิศบูรพา หรือในทิศปัจฉิม ในทิศ
อุดร ในทิศทักษิณว่ามีเท่านี้ร้อยโยชน์ หรือเท่านี้พันโยชน์ ย่อมไม่ได้ ถ้าว่า
เอาค้อนเหล็กเท่าขุนเขาสิเนรุทำแผ่นดินให้แยกเป็นส่วนแล้วโยนไป ค้อนเหล็ก
ก็พึงตกไปข้างล่างโดยแท้ หามีที่รองรับไว้ได้ไม่ ชื่อว่า อากาศ เป็นอนันตะ
(คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

การกำหนดแม้จักรวาลทั้งหลายว่ามีหลายร้อย หรือว่าหลายพัน หรือว่า
หลายแสนจักรวาล หาได้ไม่. จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ท้าวมหาพรหมทั้ง ๔ ผู้เกิด
ในอกนิฏฐภพ ผู้ประกอบด้วยความเร็ว ผู้สามารถผ่านแสนจักรวาลไปด้วย
เวลาเพียงเท่าที่ลูกศรที่เร็วมากของนายขมังธนูผู้มีกำลังแข็งแรงผ่านเงาต้นตาล
ด้านขวาง พึงวิ่งไปโดยเร็วนั้น ด้วยคิดว่า เราจักดูที่สุดจักรวาล ดังนี้ ท้าว-
มหาพรหมเหล่านั้น ไม่ทันเห็นที่สุดแห่งจักรวาล ก็จะพึงปรินิพพานเสียโดยแท้
ชื่อว่า จักรวาล ทั้งหลายเป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

ก็ประมาณแห่งสัตว์ที่อยู่ในน้ำ และที่อยู่บนบกทั้งหลายในจักรวาล
ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี หมู่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นอนันตะ
(คือไม่มีที่สุด) อย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พุทธญาณ ชื่อว่า เป็นอนันตะ (คือไม่มีที่สุด) แม้กว่าอนันตะ
ทั้ง ๓ นั้นโดยแท้. กุศลจิตที่เป็นกามาวจร สหรคตด้วยโสมนัสเป็นญาณสัมปยุต
เป็นอสังขาริก ย่อมเกิดขึ้นมากมายแก่สัตว์หนึ่งของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีประมาณ
ในจักรวาลที่หาประมาณมิได้ โดยประการฉะนี้ กุศลจิตมากดวงย่อมเกิดขึ้น
แก่สัตว์แม้มาก. กุศลจิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมถึงความเป็นอัน

เดียวกัน ด้วยอรรถว่าเป็นกามาวจร ด้วยอรรถว่า สหรคตด้วยโสมนัส
ด้วยอรรถว่าเป็นญาณสัมปยุต ด้วยอรรถว่าเป็นอสังขาริก. มหาจิตที่สหรคต
ด้วยโสมนัส เป็นติกเหตุกะ เป็นอสังขาริก มีดวงเดียวเท่านั้น มหาจิตเป็น
อสังขาริกก็เหมือนกัน ฯลฯ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาญาณวิปยุตเป็นทุเหตุกะ
เป็นสสังขาริก ก็เหมือนกันแล.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2019, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ปุญฺจิกตา (ธรรมชาติเป็นเหตุซมซาน) ความว่า สัตว์ทั้งหลาย
เที่ยวหัวเราะระริกไป เหมือนพวกสุนัขสั่นหางอยู่ในที่เป็นที่ตั้งแห่งความอยาก
ด้วยตัณหาใด นั้นเป็นชื่อแห่งตัณหาอันให้เกิดหัวเราะระริกไปนั้น.

บทว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี) ความว่า อยากได้
อารมณ์ที่ชอบใจที่ชื่นใจอันดี เรียกว่า ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี ภาวะแห่ง
ความใคร่ในอารมณ์ที่ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกมฺยตา (ความใคร่ในอารมณ์ที่ดี).

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร