วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่
ทั้งปวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรารถนาผลใด ย่อม
ได้ผลนั้นทั้งหมดด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้.
ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ๑ ความเป็นผู้มี
เสียงไพเราะ ๑ ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม ๑

ความเป็นผู้มีรูปสวย ๑ ความเป็นอธิบดี ๑
ความเป็นผู้มีบริวาร ๑ ผลทั้งหมดนี้ อัน
เทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ความเป็นเจ้าประเทศราช ๑ ความ
เป็นผู้มีอิสริยยศ ๑ ความสุขของพระเจ้า

จักรพรรดิอันเป็นที่รัก ๑ ความเป็นราชา
แห่งเทวดาในเทวโลก ๑ ผลทั้งหมดนี้
อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์
คือบุญนี้. สมบัติอันเป็นของมนุษย์ ๑

ความรื่นรมย์ยินดีในเทวโลก ๑ นิพพาน
สมบัติ ๑ ผลทั้งหมดนี้ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ผล
ทั้งหมดคือความที่บุคคลอาศัยมิตตสัมป-

ทาความถึงพร้อมด้วยมิตรแล้วประกอบ
ความเพียรด้วยอุบายอันแยบคายได้เป็นผู้
ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อันเทวดาและ
มนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้. ปฏิ-
สัมภิทา ๑ วิโมกข์ ๑ สาวกบารมี ๑
ปัจเจกโพธิ ๑ พุทธภูมิ ๑ ผลทั้งหมดนี้

อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือ
บุญนี้. ปุญญสัมปทา คือความถึงพร้อมด้วย
บุญนี้ ให้ความสำเร็จผลอันใหญ่ยิ่งอย่างนี้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทั้งหลาย จึงสรรเสริญความเป็นผู้มีบุญอัน
ได้กระทำไว้ ดังนี้.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2018, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
sssboun เขียน:
:b8:

Quote Tipitaka:
ก็ปัญญานี้นั้นมีความสว่างเป็นลักษณะ และมีความรู้ทั่วเป็น
ลักษณะเหมือนอย่างว่า ในเรือนมีฝา ๔ ด้าน เวลากลางคืน เมื่อจุด
ประทีป ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามี
ความสว่างเป็นลักษณะก็ฉันนั้น. ชื่อว่าแสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่ง
ปัญญา ไม่มี. ก็เมื่อผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุย่อมมี
แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า มหาบพิตร

บุรุษถือประทีปน้ำมันเข้าไปในเรือนที่มืด ประทีปเข้าไปแล้วย่อมกำจัด
ความมืดให้เกิดแสงสว่างส่องแสงสว่าง ทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏได้ ฉันใด
มหาบพิตร ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดความมืดคือ
อวิชชา ให้เกิดแสงสว่างคือวิชชา ส่องแสงแห่งญาณ ทำอริยสัจ ๔ ให้
ปรากฏได้, มหาบพิตร ปัญญามีความสว่างเป็นลักษณะอย่างนี้ทีเดียวแล

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนแพทย์ผู้ฉลาด ย่อมรู้โภชนะเป็นต้น ที่เป็น
สัปปายะ และไม่เป็นสัปปายะ ของผู้ป่วยไข้ทั้งหลาย ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น
เมื่อเกิดขึ้น ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ควรเสพและ
ไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว และมีส่วนเปรียบ. สมจริงดัง

คำที่พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญา รู้ทั่วอะไร? รู้ทั่วว่า นี้ทุกข์ ดังนี้.คำนี้
พึงให้พิสดาร พึงทราบความที่ปัญญานั้น มีความรู้ทั่วเป็นลักษณะอย่างนี้.

อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดตามสภาวะเป็นลักษณะ. หรือ
มีการแทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ ดุจการแทงตลอดของลูกธนู
ของผู้ฉลาด, มีความสว่างในอารมณ์เป็นรส ดุจประทีป มีความไม่ลุ่มหลง
เป็นปัจจุปปัฏฐาน ดุจคนชำนาญป่าไปป่า ฉะนั้น.
:b8:


Kiss
อ่านแล้วเข้าใจไหมคะว่าหนทางอันเอกคือสุตะ
เข้าใจไหมคะว่าแสงสว่างเสมอด้วยปัญญานั้นไม่มี
และทราบไหมคะสุตมยปัญญาเกิดในความมืดตรงขณะ
อบรมจิตจากฟังได้ทีละนิดผ่านที่ประชุมรวมกันครบ6ทางNOW
ตรงทางตามเสียงทีละคำแต่ละ1ทางที่กำลังได้ยินเข้าใจถูกที่กาย
เป็นปัจจุบันขณะก่อนสภาพธรรมแต่ละ1ทางจะดับคือปัจจุปปัฏฐาน
จิตเห็นทางเดียวที่รู้แจ้งจิตทางอื่นๆเกิดในมืดและปัญญาแรกเกิดจากจิตได้ยิน
สติปัญญาคือการระลึกตามได้ตรงปัจจุบันธรรมเป็นปัจจุบันอารมณ์รู้ทั่วถึง6ทางก่อนดับ
ฟังพระพุทธพจน์พร้อมเพิกถอนอิริยาบทเพื่อระลึกตามคำสอนตรงขณะตอนกำลังฟังคือพึ่งพระรัตนตรัย
พึ่งคิดตามคำตถาคตทีละคำตรงทางตรงปรมัตถะสัจจะตรงวิสยรูป7เป็นจิตรู้นามหรือจิตรู้รูปตรงจริงขณะฟัง
https://youtu.be/v321dn9mqZg
:b11:
:b16: :b16:


หนทางสายเอกคือสติปัฏฐาน
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี คือความรู้แจ้งอริยสัจ ๔
ปัญญามีการแทงตลอดตามสภาวะเป็นลักษณะ แทงตลอดด้วยอริยสัจ ๔

พระสารีบุตรได้ฟังธรรมจากพระอัสชิเถระบทว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้นด้วย พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้” แค่ฟังคำพูดไม่กี่คำนี้ท่านก็บรรลุธรรมขั้นต้นแล้ว

เห็นมั้ยครับ พระสารีบุตรก็เห็นธรรมอีกแบบหนึ่ง

หลังออกบวชแล้วท่านได้ตามพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ วันที่ท่านบรรลุอรหัตตผลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในถ้ำนั้นกับท่าน ต่อมาทีฆนขะปริพาชกได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชก พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ (ข้างหลัง) พระสารีบุตรได้ฟังธรรมนั้นและพิจารณาไปตามเนื้อความของพระธรรมเทศนานั้นตลอดเวลา ครั้นจบพระธรรมเทศนาท่านก็ได้บรรลุอรหัตตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนทีฆนขะปริพาชกหลานของท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน เนื้อความโดยย่อของพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นเรียกว่า ทีฆนขสูตร มีความโดยย่อดังนี้

“สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา เราชอบใจหมด สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจหมด สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า บางสิ่งควรแก่เรา เราชอบใจ บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ความเห็นของพราหมณ์พวกแรกใกล้ความกำหนัดรักใคร่ยินดีในสิ่งต่าง ๆ ความเห็นของพราหมณ์พวกที่สองใกล้ข้างความเกลียดชังสิ่งต่าง ๆ ความเห็นของพราหมณ์พวกสุดท้ายใกล้เคียงกำหนัดรักใคร่ในของบางสิ่ง ใกล้ข้างความเกลียดชังในของบางสิ่ง ผู้รู้พิจารณาว่า ถ้าเราจักถือมั่นความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว กล่าวว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าไม่จริง ก็จะต้องผิดจากคน ๒ พวกที่มีความเห็นไม่เสมอกับตน ครั้นถือผิดกันก็ต้องวิวาทกัน จากนั้นก็จะกลายเป็นความพิฆาตแล้วติดตามด้วยการเบียดเบียนกันต่าง ๆ นานา ผู้รู้เห็นอย่างนี้แล้วย่อมละความเห็นนั้นเสียด้วยและไม่ให้ความเห็นอื่นเกิดขึ้นด้วย”

เมื่อทรงแสดงโทษของความถือมั่นอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงต่อไปด้วยอุบายวิธีที่เป็นเหตุให้ไม่ถือมั่นว่า

“อัคคิเวสสนะ กาย คือ รูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม เกิดจากบิดามารดา เติบโตมาเพราะข้าวสุกและขนมสด ต้องคอยอบรมกันกลิ่นเหม็น และต้องขัดสีอยู่เป็นนิตย์ มีอันต้องแตกดับไปเป็นธรรมดา จึงควรที่จะพิจารณาให้เห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง ทนได้ยาก เป็นของถูกเสียดแทง เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของชำรุดทรุดโทรม ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เมื่อพิจารณาเห็นได้อย่างนี้ ย่อมละความรักใคร่กระวนกระวายในกามเสียได้


อัคคิเวสสนะ เวทนา (ความรู้สึก) มี ๓ อย่างคือ สุข ทุกข์ และอุเบกขา(ไม่สุขไม่ทุกข์) เวทนา ๓ อย่างนี้เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน คราวใดบุคคลเสวยสุขเวทนา คือ รู้สึกเป็นสุข คราวนั้นก็ไม่เสวยทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา คราวใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา คือ รู้สึกเป็นทุกข์ คราวนั้นก็ไม่เสวยสุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา คราวใดบุคคลเสวยอุเบกขาเวทนา คือ ไม่รู้สึกสุขไม่รู้สึกทุกข์ คราวนั้นก็ไม่เสวยสุขเวทนาและทุกขเวทนา แต่เวทนาทั้ง ๓ นี้เป็นอย่างเดียวกัน ตรงที่ว่าไม่เที่ยงมีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดา”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
Rosarin เขียน:
sssboun เขียน:
:b8:

Quote Tipitaka:
ก็ปัญญานี้นั้นมีความสว่างเป็นลักษณะ และมีความรู้ทั่วเป็น
ลักษณะเหมือนอย่างว่า ในเรือนมีฝา ๔ ด้าน เวลากลางคืน เมื่อจุด
ประทีป ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามี
ความสว่างเป็นลักษณะก็ฉันนั้น. ชื่อว่าแสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่ง
ปัญญา ไม่มี. ก็เมื่อผู้มีปัญญานั่งโดยบัลลังก์เดียว หมื่นโลกธาตุย่อมมี
แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เพราะเหตุนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า มหาบพิตร

บุรุษถือประทีปน้ำมันเข้าไปในเรือนที่มืด ประทีปเข้าไปแล้วย่อมกำจัด
ความมืดให้เกิดแสงสว่างส่องแสงสว่าง ทำรูปทั้งหลายให้ปรากฏได้ ฉันใด
มหาบพิตร ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดความมืดคือ
อวิชชา ให้เกิดแสงสว่างคือวิชชา ส่องแสงแห่งญาณ ทำอริยสัจ ๔ ให้
ปรากฏได้, มหาบพิตร ปัญญามีความสว่างเป็นลักษณะอย่างนี้ทีเดียวแล

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนแพทย์ผู้ฉลาด ย่อมรู้โภชนะเป็นต้น ที่เป็น
สัปปายะ และไม่เป็นสัปปายะ ของผู้ป่วยไข้ทั้งหลาย ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น
เมื่อเกิดขึ้น ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ควรเสพและ
ไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว และมีส่วนเปรียบ. สมจริงดัง

คำที่พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ทั่ว
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญา รู้ทั่วอะไร? รู้ทั่วว่า นี้ทุกข์ ดังนี้.คำนี้
พึงให้พิสดาร พึงทราบความที่ปัญญานั้น มีความรู้ทั่วเป็นลักษณะอย่างนี้.

อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดตามสภาวะเป็นลักษณะ. หรือ
มีการแทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ ดุจการแทงตลอดของลูกธนู
ของผู้ฉลาด, มีความสว่างในอารมณ์เป็นรส ดุจประทีป มีความไม่ลุ่มหลง
เป็นปัจจุปปัฏฐาน ดุจคนชำนาญป่าไปป่า ฉะนั้น.
:b8:


Kiss
อ่านแล้วเข้าใจไหมคะว่าหนทางอันเอกคือสุตะ
เข้าใจไหมคะว่าแสงสว่างเสมอด้วยปัญญานั้นไม่มี
และทราบไหมคะสุตมยปัญญาเกิดในความมืดตรงขณะ
อบรมจิตจากฟังได้ทีละนิดผ่านที่ประชุมรวมกันครบ6ทางNOW
ตรงทางตามเสียงทีละคำแต่ละ1ทางที่กำลังได้ยินเข้าใจถูกที่กาย
เป็นปัจจุบันขณะก่อนสภาพธรรมแต่ละ1ทางจะดับคือปัจจุปปัฏฐาน
จิตเห็นทางเดียวที่รู้แจ้งจิตทางอื่นๆเกิดในมืดและปัญญาแรกเกิดจากจิตได้ยิน
สติปัญญาคือการระลึกตามได้ตรงปัจจุบันธรรมเป็นปัจจุบันอารมณ์รู้ทั่วถึง6ทางก่อนดับ
ฟังพระพุทธพจน์พร้อมเพิกถอนอิริยาบทเพื่อระลึกตามคำสอนตรงขณะตอนกำลังฟังคือพึ่งพระรัตนตรัย
พึ่งคิดตามคำตถาคตทีละคำตรงทางตรงปรมัตถะสัจจะตรงวิสยรูป7เป็นจิตรู้นามหรือจิตรู้รูปตรงจริงขณะฟัง
https://youtu.be/v321dn9mqZg
:b11:
:b16: :b16:


หนทางสายเอกคือสติปัฏฐาน
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี คือความรู้แจ้งอริยสัจ ๔
ปัญญามีการแทงตลอดตามสภาวะเป็นลักษณะ แทงตลอดด้วยอริยสัจ ๔

พระสารีบุตรได้ฟังธรรมจากพระอัสชิเถระบทว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้นด้วย พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้” แค่ฟังคำพูดไม่กี่คำนี้ท่านก็บรรลุธรรมขั้นต้นแล้ว

เห็นมั้ยครับ พระสารีบุตรก็เห็นธรรมอีกแบบหนึ่ง

หลังออกบวชแล้วท่านได้ตามพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ วันที่ท่านบรรลุอรหัตตผลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ในถ้ำนั้นกับท่าน ต่อมาทีฆนขะปริพาชกได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชก พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ (ข้างหลัง) พระสารีบุตรได้ฟังธรรมนั้นและพิจารณาไปตามเนื้อความของพระธรรมเทศนานั้นตลอดเวลา ครั้นจบพระธรรมเทศนาท่านก็ได้บรรลุอรหัตตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนทีฆนขะปริพาชกหลานของท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน เนื้อความโดยย่อของพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้นเรียกว่า ทีฆนขสูตร มีความโดยย่อดังนี้

“สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา เราชอบใจหมด สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจหมด สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่า บางสิ่งควรแก่เรา เราชอบใจ บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ ความเห็นของพราหมณ์พวกแรกใกล้ความกำหนัดรักใคร่ยินดีในสิ่งต่าง ๆ ความเห็นของพราหมณ์พวกที่สองใกล้ข้างความเกลียดชังสิ่งต่าง ๆ ความเห็นของพราหมณ์พวกสุดท้ายใกล้เคียงกำหนัดรักใคร่ในของบางสิ่ง ใกล้ข้างความเกลียดชังในของบางสิ่ง ผู้รู้พิจารณาว่า ถ้าเราจักถือมั่นความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว กล่าวว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าไม่จริง ก็จะต้องผิดจากคน ๒ พวกที่มีความเห็นไม่เสมอกับตน ครั้นถือผิดกันก็ต้องวิวาทกัน จากนั้นก็จะกลายเป็นความพิฆาตแล้วติดตามด้วยการเบียดเบียนกันต่าง ๆ นานา ผู้รู้เห็นอย่างนี้แล้วย่อมละความเห็นนั้นเสียด้วยและไม่ให้ความเห็นอื่นเกิดขึ้นด้วย”

เมื่อทรงแสดงโทษของความถือมั่นอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงต่อไปด้วยอุบายวิธีที่เป็นเหตุให้ไม่ถือมั่นว่า

“อัคคิเวสสนะ กาย คือ รูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ คือดิน น้ำ ไฟ ลม เกิดจากบิดามารดา เติบโตมาเพราะข้าวสุกและขนมสด ต้องคอยอบรมกันกลิ่นเหม็น และต้องขัดสีอยู่เป็นนิตย์ มีอันต้องแตกดับไปเป็นธรรมดา จึงควรที่จะพิจารณาให้เห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง ทนได้ยาก เป็นของถูกเสียดแทง เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของชำรุดทรุดโทรม ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เมื่อพิจารณาเห็นได้อย่างนี้ ย่อมละความรักใคร่กระวนกระวายในกามเสียได้


อัคคิเวสสนะ เวทนา (ความรู้สึก) มี ๓ อย่างคือ สุข ทุกข์ และอุเบกขา(ไม่สุขไม่ทุกข์) เวทนา ๓ อย่างนี้เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน คราวใดบุคคลเสวยสุขเวทนา คือ รู้สึกเป็นสุข คราวนั้นก็ไม่เสวยทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา คราวใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา คือ รู้สึกเป็นทุกข์ คราวนั้นก็ไม่เสวยสุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา คราวใดบุคคลเสวยอุเบกขาเวทนา คือ ไม่รู้สึกสุขไม่รู้สึกทุกข์ คราวนั้นก็ไม่เสวยสุขเวทนาและทุกขเวทนา แต่เวทนาทั้ง ๓ นี้เป็นอย่างเดียวกัน ตรงที่ว่าไม่เที่ยงมีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดา”

:b8:

ตรงนี้เราต้องพิจารณาให้กว้างๆครับ คือยุคนั้นเป็นยุคของคนที่มี
บุญมาก ส่วนยุคนี้คนมีบุญน้อยกว่ามาก และคำสอนของพระองค์ใช้
กับคนมีบุญมาก ย่อมใช้แบบย่อๆ เข้าใจง่ายบรรลุเร็ว ลองพิจารณณา

คำว่า เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ุ คำว่าเผ่าพ้นธุ์นั้นก็คือกลุ่มคน หรือหลายคน
เมื่อคนที่มีบุญมากอย่างพระโพธิสัตว์จะไปเกิดในยุคไหน คนมีบุญส่วนมาก
ก็ย่อมจะไปเปิดในยุคคนั้นกับท่านนั้นเอง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อีกประการหนื่งพระสารีบุต ท่านก็มิได้บอกว่า ท่าน
จงฟังเท่านั้นมิต้องปฏิบัติธรรมอย่างอื่น การฟังดีที่สุด
ด้วย ท่านมิได้กล่าวเลยยยย

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 10:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมไม่ได้ต้องการบอกว่า ต้องฟังธรรมเท่านั้น
สิ่งที่ผมต้องการแสดงคือ การก้าวลงสู่สัมมาทิฏฐิของแต่ละบุคคล ย่อมมีความแตกต่างกันไปตาม อินทรีย์ พละ ชั้นต้น มี ๓ จำพวก

สัทธาวิมุติ เป็นผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ
กายสักขี เป็นผู้มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏบัติ
ทิฏฐิปัตตะ เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ

ที่ผมยกตัวอย่างประวัติของพระสารีบุตรเพราะเห็นว่าสามารถชี้ให้เห็นได้ชัดเจน ว่าท่านเห็นธรรมตามจริงทั้งที่ยังไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า ยังไม่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็สามารถหยั่งลงสู่สัมมาทิฏฐิ หยั่งลงสู่กศุลธรรมทั้งหลายได้

สัมมาทิฏฐิของพระอริยบุคคลนั้น ไม่ใช่ความเห็นในเรื่องที่ไม่เป็นสาระอย่างเช่น ชาติหน้ามีมั้ย สัตว์ บุคคลม
อยู่หรือไม่มีความเห็นเหล่านี้เมื่อเลือกยึดมั่นถือข้างใดข้างหนึ่ง ย่อมก้าวลงสู่ความประมาท ย่อมเห็นว่าความเห็นอีกข้างผิด พอถือผิดก็วิวาทะกัน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด

สัมมาทิฏฐิของพระอริยบุคคลนั้น เป็นความเห็นชอบในเรื่องทุกข์ จะเห็นอย่างพิศดารเพียงใดก็เหมือนกันคือเห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ยึดมั่นถือมั่นเป็นโทษ สิ่งใดควรเจริญ สิ่งใดควรละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
ผมไม่ได้ต้องการบอกว่า ต้องฟังธรรมเท่านั้น
สิ่งที่ผมต้องการแสดงคือ การก้าวลงสู่สัมมาทิฏฐิของแต่ละบุคคล ย่อมมีความแตกต่างกันไปตาม อินทรีย์ พละ ชั้นต้น มี ๓ จำพวก

สัทธาวิมุติ เป็นผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ
กายสักขี เป็นผู้มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏบัติ
ทิฏฐิปัตตะ เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ

ที่ผมยกตัวอย่างประวัติของพระสารีบุตรเพราะเห็นว่าสามารถชี้ให้เห็นได้ชัดเจน ว่าท่านเห็นธรรมตามจริงทั้งที่ยังไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า ยังไม่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็สามารถหยั่งลงสู่สัมมาทิฏฐิ หยั่งลงสู่กศุลธรรมทั้งหลายได้

สัมมาทิฏฐิของพระอริยบุคคลนั้น ไม่ใช่ความเห็นในเรื่องที่ไม่เป็นสาระอย่างเช่น ชาติหน้ามีมั้ย สัตว์ บุคคลม
อยู่หรือไม่มีความเห็นเหล่านี้เมื่อเลือกยึดมั่นถือข้างใดข้างหนึ่ง ย่อมก้าวลงสู่ความประมาท ย่อมเห็นว่าความเห็นอีกข้างผิด พอถือผิดก็วิวาทะกัน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด

สัมมาทิฏฐิของพระอริยบุคคลนั้น เป็นความเห็นชอบในเรื่องทุกข์ จะเห็นอย่างพิศดารเพียงใดก็เหมือนกันคือเห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ยึดมั่นถือมั่นเป็นโทษ สิ่งใดควรเจริญ สิ่งใดควรละ

:b8:

ครับผมก็คิดว่าคุยกันไม่เกิดผลดีขึ้น ผมเลยหยุดพยายามไม่คุยกับคน
นั้น ผมคิดว่าต่างคนต่างก็มีเหตุผล แค่นั้นแล้วหยุด ไม่พูดคุยต่อไปเพื่อ
หยุดอกุศลที่จะเกิดขึ้นข้างหน้านั้นเอง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุ ในความสำรวมระวังครับ ผมจะพยายามสำรวมระวังต่อไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
อนุโมทนา สาธุ ในความสำรวมระวังครับ ผมจะพยายามสำรวมระวังต่อไปครับ

:b8:

หากเราไม่ลืมว่าทุกคนล้วนแล้วเริ่มจาก 0 เช่นกัน
และทุกคนนั้นก็ย่อมจะมีทั้งดีและไม่ดีในตัว มีระดับสติ
ปัญญาที่แตกต่างกัน เมื่อรู้ย่อมยอมรับและทำให้คลาย
ความยึดมั่นถือว่า ต้องเป็นเช่นนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนี้
ถูกต้อง อย่างอื่นผิด เพราะความถูกต้องนั้นก็มีหลายระดับ
ที่แตกต่างกันครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2018, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

เมื่อรู้เห็นว่าเค้าไม่รู้ เราก็ควรหยุด ให้คิดว่าอย่างน้อย
เค้าก็มีดีอยู่เหมือนกัน ยังคิดดี พูดดี ทำดี กว่าคนทั่วไป
อยู่ ยังดียังดีอยู่

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2018, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ก็ปฏิสัมภิทามี ๔ คือ
๑. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ,
๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม,
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ,
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ดูก่อนอุทายี เธอจงงดขันธ์ส่วนอดีตและ
อนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแก่เธอว่า เมื่อ
เหตุนี้มี ผลนี้จึงมี, เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด,
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้ก็ย่อมไม่มี, เพราะเหตุนี้ดับ
ผลนี้ก็ย่อมดับ ดังนี้.*( ม.ม. ๑๓/๓๗๑.)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งการบรรลุ
โสดาบัน ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
๑ สปฺปุริสสํเสโว การคบหากับสัตบุรุษ
๒ สทฺธมฺมสฺสวนํ การฟังพระสัทธรรม
๓ โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
๔ ธมฺมานุธฺมฺมปฏิปตฺติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.*
(ที. ปา. ๑๑/๒๔๐.)
และตรัสว่า

กุลบุตรเกิดสัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้
เมื่อเข้าไปใกล้ ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อม
เงี่ยหูลง เมื่อเงี่ยหูลงแล้ว ย่อมฟังธรรม ครั้น
ฟังธรรมแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อ

ความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนซึ่งความพินิจ เมื่อ
ธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะ ย่อมเกิด เมื่อ
เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว
ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความ
เพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งชัด
ซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยกาย และเห็นแจ้งแทง
ตลอดซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา*(ม.ม. ๑๓/๒๓๘.) ดังนี้
และตรัสว่า
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2018, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วย
สัทธา มีธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ สัจจะ,
ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้
ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก*(สํ.ส. ๑๕/๘๔๕.) ดังนี้.
ธมฺมศัพท์ ย่อมปรากฏในอรรถว่า บุญ ได้ในคำเป็นต้นว่า
ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ นี้ มีผลเสมอกัน
หามิได้เลย อธรรมย่อมนำไปนรก ธรรมย่อมให้ถึง
สุคติ*(ขุ.เถร. ๒๖/๓๓๒.) ดังนี้.


:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2018, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
การไม่ย่อท้อ การไม่หมุนกลับในปธานความเพียร อันพระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวแล้วด้วย คำว่า อสัลลีนัตตะ ปหิตัตตะ
เพราะเป็นคำอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย พึงศึกษา
อย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า
จะเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อ
และเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด, ยังไม่บรรลุ
ผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วย
ความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
แล้วไซร้ ก็จักไม่หยุดความเพียรเลยดังนี้เป็นต้น.*
(องฺ. ทุก. ๒๐/๒๕๑.)

ก็วีริยะ – ความเพียรอันเป็นไปแล้วด้วยดี พ้นแล้วจากโกสัชชะ
- ความเกียจคร้าน และอุทธัจจะ – ความฟุ้งซ่าน พระธรรมเสนาบดี
สารีบุตรกล่าวแล้วด้วยคำว่าปัคคหัฏฐะ.


เดียวนี้นั่งปวดขาหน่อยก็ว่าปฏิบัติเคร่งเกินไปบ้าง
พอหย่อนไปตามกิเลสกลับไม่รู้สึกตัว การปฏิบัติธรรม
นั้นเปรียบเหมือนว่ายน้ำทวนกระแส แล้วคิดว่าจะสะดวก
สบายหรือ? s006 s006 s006

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2018, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
ว่าด้วย ความหมายของปัญญาญาณ
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ
อย่างไร?

ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัด
ธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา อภิฺเยฺยา ธรรมเหล่านี้ควร
รู้ยิ่งเป็นสุตมยญาณ, ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา ปริฺเยฺยา
ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้... อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ธรรมเหล่านี้
ควรละ… อิเม ธมฺมา ภาเวตพฺพา ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ…

ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง… ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความ
เสื่อม… ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่… ธรรมเหล่านี้
เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ… ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการ
ชำแรกกิเลส… สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง… สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์…
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา… นี้ทุกขอริยสัจ… นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ…
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ… นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (แต่ละอย่าง)
เป็นสุตมยญาณ.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2018, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

Quote Tipitaka:
อาการ ๓๒
๖] วิสัชนา ๓๒ มีวิสัชนาเกสาเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี
สารีบุตร ได้แสดงด้วยสามารถกรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์. ก็
เมื่ออาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้นเหล่านั้นปรากฏโดยความเป็นของปฏิกูล.
ก็เป็นอสุภกรรมฐานด้วยสามารถแห่งกายคตาสติ, เมื่อปรากฏโดยความ
เป็นสี ก็เป็นวัณณกรรมฐาน,*(ฉ. กสิณกรรมฐาน.) เมื่อปรากฏโดยความเป็น

ธาตุ ก็เป็นจตุธาตุววัตถานกรรมฐาน, อนึ่ง อาการ ๓๒ มีเกสาเป็นต้น
ปรากฏโดยความเป็นปฏิกูล หรือโดยสี ฌานก็มีสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอารมณ์.
เมื่อธาตุปรากฏแล้ว ก็พึงทราบว่า เป็นโกฏฐาสเหล่านั้น และเป็นการ
เจริญธาตุที่มีโกฏฐาสนั้นเป็นอารมณ์.

๑. เกสา - ผมทั้งหลาย เกิดอยู่ที่หนังหุ้มกระโหลกศีรษะในด้าน
ข้างทั้ง ๒ แห่งศีรษะ กำหนดด้วยกกหูทั้ง ๒ ข้างหน้ากำหนดด้วย
หน้าผากเป็นที่สุด, และข้างหลังกำหนดด้วยท้ายทอย นับได้ตั้งแสน
เป็นอเนก.
๒. โลมา - ขนทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่หนังหุ้มสรีระโดยมาก เว้น
ที่เป็นที่ตั้งแห่งอวัยวะมีผมเป็นต้น และฝ่ามือฝ่าเท้าทั้ง ๒ เสีย ท่าน
กำหนดขุมขนไว้ถึง ๙ หมื่น ๙ พันขุม ตั้งอยู่ในหนังหุ้มสรีระ มี
ประมาณลิกขาหนึ่งเป็นประมาณ.

๓. นขา - เล็บทั้งหลาย ตั้งอยู่บนหลังแห่งปลายนิ้วทั้งหลาย
นับได้ ๒๐.
๔. ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง ๒ โดยมาก
นับได้ ๓๒ ซี่.

๕. ตโจ - หนังหุ้มสรีระทั้งสิ้น ตั้งอยู่ใต้ผิวหนัง บนพังผืดชั้น
นอก.

๖. มํสํ - เนื้อนับได้ ๙๐๐ ชิ้น ตั้งฉาบกระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน.
๗. นหารุ - เอ็น ๙๐๐ ผูกพันกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่ทั่วสกล
สรีระ.
๘. อฏฺ€ี - กระดูก ๓๐๐ กว่าท่อน ตั้งอยู่ทั้งเบื้องล่างเบื้องบน
ทั่วสกลสรีระ.
๙. อฏฺ€ิมิญฺชา*(ในที่ทั่วไปเป็น อฏฺ€ิมิญฺชํ.) - เยื่อในกระดูก
ตั้งอยู่ภายในกระดูกเหล่านั้น ๆ.

๑๐. วกฺกํ*(โบราณแปลว่า ม้าม) - ไต ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อน
อยู่ล้อมเนื้อหัวใจ มีขั้วอันเดียวกันแตกออกจากหลุมคอ ถัดไปหน่อยหนึ่ง
แล้วแยกออกเป็น ๒ รึงรัดไว้ด้วยเอ็นหยาบ ๆ.
๑๑. หทยํ - หัวใจ ได้แก่ ก้อนเนื้อหทัย ตั้งอยู่ท่ามกลางถัน
ทั้ง ๒ ข้างในภายในสรีระ เต็มไปด้วยโลหิตประมาณกึ่งฟายมือเป็นที่
อาศัยแห่งจิต มีหลุมภายในมีประมาณเท่าที่ตั้งแห่งเมล็ดบุนนาค.
๑๒. ยกนํ - ตับ ได้แก่ แผ่นเนื้อเป็นคู่ อาศัยตั้งอยู่ข้างขวา
ภายในร่างกายระหว่างถันทั้ง ๒ ข้าง.

๑๓. กิโลมกํ - พังผืด ได้แก่ เนื้อหุ้ม ๒ อย่าง คือ เนื้อพังผืด
ที่ปิด หุ้มหัวใจและม้ามตั้งอยู่ ๑, และเนื้อพังผืดที่ไม่ปิด หุ้มเนื้อใต้
ผิวหนังตั้งอยู่ทั่วสกลสรีระ ๑.
๑๔. ปิหกํ*(โบราณแปลว่า ไต.) - ม้าม ได้แก่ เนื้อมีสัณฐาน
ดุจลิ้นลูกโคดำตั้งอยู่ข้างซ้ายหัวใจ อาศัยข้างบนเยื่อหุ้มท้อง.

๑๕. ปปฺผาสํ - ปอด ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เรียกว่าปอดโดยประเภท
นับได้ ๓๒ ก้อน ห้อยปิดเนื้อบนหัวใจและตับตั้งอยู่ราวนมทั้ง ๒ ข้าง
ในภายในสรีระ.
๑๖. อนฺตํ - ไส้ใหญ่ ได้แก่ เกลียวไส้ที่เป็นขนด ขดอยู่ในที่
ทั้งหลาย คือ เบื้องบนใต้หลุมคอลงมา เบื้องล่างถึงกรีสมรรค*
(กรีสมรรค = ทวารหนัก) ตั้งอยู่ภายในสรีระ มีหลุมคอเป็นต้นและ
มีกรีสมรรคเป็นที่สุดเกี่ยวพันถึงกันของบุรุษยาว ๓๒ ศอก
ของสตรียาว ๒๘ ศอก รวม ๒๑ ขนดด้วยกัน.

๑๗. อนฺตคุณํ - ไส้น้อย ได้แก่ ลำไส้น้อยพันปลายปากขนด
รวมกันที่ขนดลำไส้ใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างขนดลำไส้ใหญ่ ๒๑ ขนด.
๑๘. อุทริยํ - อาหารใหม่ ได้แก่ อาหารที่ถูกบดจนเป็นจุรณ
ด้วยสากคือฟัน หมุนไปรอบ ๆ ด้วยมือคือลิ้น เกลือกกลั้วด้วยน้ำลาย
ในขณะนั้นก็ปราศจากสมบัติแห่งสีกลิ่นและรสเป็นต้น เช่นกับข้าวย้อม
ด้ายของช่างหูกและรากสุนัข ตกไปคลุกเคล้ากับดีเสมหะและลม เดือด
ด้วยกำลังความร้อนของไฟในท้อง เกลื่อนกล่นด้วยกิมิชาติตระกูลใหญ่
น้อย ปล่อยฟองฟอดขึ้นเบื้องบน จนถึงความเป็นขี้ขยะมีกลิ่นเหม็น
น่าเกลียดยิ่งนัก ตั้งอยู่ที่พื้นลำไส้ใหญ่บนนาภี กล่าวคือที่ท้องอันเป็น
ที่อาศัยของอาหารใหม่ต่าง ๆ ที่กลืนดื่มเคี้ยวกินและลิ้มเข้าไป.

๑๙. กรีสํ - อาหารเก่า ได้แก่ อุจจาระตั้งอยู่ในที่สุดแห่งลำไส้
ใหญ่ สูงประมาณ ๘ องคุลี ในระหว่างแห่งนาภีและที่สุดแห่งกระดูก
สันหลัง*(…ปิฏฺ€ิกณฺฏกมูลานํ.) ในภายใต้ กล่าวคือที่อยู่ของอาหารที่ย่อยแล้ว.
๒๐. ปิตฺตํ - น้ำดี ได้แก่ ดี ๒ อย่าง คือ ที่อาศัยตับใน
ระหว่างเนื้อหทัยและปอดตั้งอยู่ กล่าวคือน้ำดีที่อยู่ประจำในถุงน้ำดี มี
สัณฐานเช่นกับรังบวบขมใหญ่ ๑, และที่มิได้อยู่ประจำ เว้นที่ของผม,
ขน, เล็บ, และฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้านและแห้งซึมซาบอยู่ทั่ว
สรีระส่วนที่เหลือ.

๒๑. เสมฺหํ - เสลด ได้แก่ เสมหะประมาณเต็มฟายมือหนึ่ง
ตั้งอยู่ที่พื้นท้อง.
๒๒. ปุพฺโพ - หนอง ได้แก่ ความแปรไปแห่งโลหิตเสีย*
(ปริปกฺกโลหิต…โลหิตแก่รอบ.) เกิดที่อวัยวะที่ถูกเสี้ยนหนาม
และเปลวไฟเป็นต้น กระทบแล้วหรือที่อวัยวะที่มีฝีและต่อมพุพอง
เป็นต้น เกิดขึ้นแล้วด้วยการกำเริบแห่งธาตุในภายในสรีระประเทศ.

๒๓. โลหิตํ - โลหิต ได้แก่ เลือด ๒ อย่าง คือ เลือดที่สั่งสม
อยู่มีประมาณเพียงเต็มฟายมือหนึ่งชุ่มอยู่ที่ไตเนื้อหัวใจตับและปอดไหล
ออกทีละน้อย ๆ เบื้องบนเนื้อหัวใจไตและปอดเต็มส่วนล่างของตับ ๑,
และเลือดที่วิ่งแผ่ไปทั่วสรีระที่มีใจครองทั้งปวง โดยทำนองแห่งเปลวไฟ
ที่พุ่งไป เว้นเสียแต่ที่ของผมขนเล็บและฟันที่ไม่มีเนื้อ และหนังที่ด้าน
และแห้ง ๑.

๒๔. เสโท - เหงื่อ ได้แก่ อาโปธาตุที่ไหลออกจากช่องขุมผม
และขนทั้งปวงในสรีระที่ร้อนเพราะความร้อนจากไฟและความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์และความวิการแห่งฤดูเป็นต้น.
๒๕. เมโท - มันข้น ได้แก่ ยางเหนียวข้น ของคนอ้วนอาศัย
ตั้งอยู่ระหว่างหนังและเนื้อ, ของคนผอมอาศัยตั้งอยู่ที่อวัยวะทั้งหลายมี
เนื้อแข้งเป็นต้น.

๒๖. อสฺสุ - น้ำตา ได้แก่ อาโปธาตุที่ตั้งอยู่เต็มเบ้าตาก็ดี ที่
ไหลออกก็ดี เพราะเกิดจากดีใจเสียใจ อาหารที่เป็นวิสภาคคือที่เผ็ดร้อน
และอุตุ.
๒๗. วสา - มันเหลว ได้แก่ มันเหลวใส ตั้งอยู่ที่ฝ่ามือที่หลัง
มือฝ่าเท้าหลังเท้าดั้งจมูกหน้าผากและจะงอยบ่า โดยมากเกิดแต่อุสมา-
เตโชคือไออุ่นจากความร้อนของไฟความร้อนของดวงอาทิตย์และผิดฤดู.
๒๘. เขโฬ - น้ำลาย ได้แก่ อาโปธาตุที่ระคนกันเป็นฟอง
ตั้งอยู่ที่ลิ้นข้างกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้าง เพราะโดยมากเกิดแก่ผู้เห็นหรือ
นึกถึงหรือหยิบวางอาหารเช่นนั้นไว้ในปากก็ดี เกิดแก่ผู้เหน็ดเหนื่อย
อยู่ก็ดี หรือเกิดความรังเกียจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี.

๒๙. สิงฺฆาณิกา - น้ำมูก ได้แก่ ของเน่าไม่สะอาดลื่นเป็นมัน
เกิดแก่ผู้มีธาตุกำเริบ เกิดด้วยอาหารวิสภาค และผิดฤดู, หรือแก่คนร้อง
ไห้อยู่ ไหลออกจากเยื่อในสมองภายในศีรษะ ไหลออกมาทางช่อง
เพดานไปเต็มอยู่ในโพรงจมูกเกรอะกรังขังอยู่ก็มี ไหลออกอยู่ก็มี.
๓๐. ลสิกา - ไขข้อ ได้แก่ น้ำมันที่ให้สำเร็จกิจในการหยอด
น้ำมันที่ข้อต่อแห่งกระดูก ตั้งอยู่ระหว่างข้อต่อแห่งกระดูก ๑๘๐ ข้อต่อ.

๓๑. มุตฺตํ - น้ำมูตร ได้แก่ อาโปธาตุตั้งอยู่ภายในกะเพาะ
ปัสสาวะ ด้วยอำนาจอาหารและอุตุ.
๓๒. มตฺถลุงฺคํ - มันสมอง ได้แก่ กองแห่งเยื่อรวมกันแล้ว
มีจำนวน ๔ ก้อน ตั้งอยู่ที่รอยเย็บ ๔ แห่งภายในกระโหลกศีรษะ.
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร