วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อธิบายความหัวดื้อ

ชื่อว่า ความหัวดื้อ เพราะอรรถว่า กระด้าง. ความกระด้างของจิต
ราวกะผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้. อาการแห่ง
ความหัวดื้อ เรียกว่า กิริยาที่หัวดื้อ. ความเป็นสภาพที่ดื้อแล้ว ชื่อว่า สภาพ
หัวดื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กักขฬะ ชื่อว่า กกฺขลิยํ (แปลว่า แข็งกระด้าง).
ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบช้า ชื่อว่า ผารุสิยํ (แปลว่า ความหยาบคาย)
ความเป็นแห่งจิตอันถือรั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความอ่อนน้อม

นั้น แก่บุคคลผู้ควรอ่อนน้อมมีการอภิวาทเป็นต้น ชื่อว่า อุชุจิตตฺตา ความ
เป็นผู้มีจิตถือรั้น. ความเป็นแห่งความกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติอ่อน ชื่อว่า
อมุทุตา ความเป็นผู้ไม่อ่อนโยน. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้อ

อันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถ ฉะนั้น.
ครั้นเห็นพระเจดีย์ หรือบุคคลผู้เจริญกว่า ก็ไม่นอบน้อม ย่อมประพฤติ
เคร่งครัด เป็นราวกะถุงลมอันเต็มด้วยลม บุคคลนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
มีความพองขึ้นแห่งจิตเป็นลักษณะ.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อธิบาย การชอบตกแต่ง

การตกแต่งจีวร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการทำให้เรียบร้อยเป็นกลีบเป็นต้น
ชื่อว่า การตกแต่งจีวร. การตกแต่งบาตร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการกระทำให้
มีผิวหมดจดดังสีแห่งแก้วมณี ชื่อว่า การตกแต่งบาตร. การตกแต่งเสนาสนะ
อันเป็นของเฉพาะบุคคล ด้วยจิตรกรรมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งเสนาสนะ.
คำว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส (แปลว่าการตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า) ได้แก่
การตกแต่งกายของมนุษย์นี้ เหมือนอย่างว่า สุนัขจิ้งจอก แม้เกิดในวันนั้น

ถึงกระดูกขายังอ่อนอยู่ก็ตาม เขาก็เรียกกันว่า สุนัขจิ้งจอกแก่นั่นแหละ และ
ต้นเครือเถาที่เป็นยา มีต้นบรเพ็ด เถาหัวด้วน ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเถาวัลย์
เน่านั่นแหละ ฉันใด กายมนุษย์แม้มีสีเพียงดั่งสีแห่งทองพระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมตรัสเรียกว่า กายอันเปื่อยเน่านั้น ด้วยเครื่องอาภรณ์มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น
อันมีสีแดงสีเหลืองเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่ง. คำว่า พาหิรานํ วา ปริกฺ-

ขารํ (แปลว่า หรือว่าการตกแต่งบริขารภายนอก) ได้แก่ การตกแต่งบริขาร
ที่เหลือนอกจากบาตรและจีวร.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ ว่า การตก-
แต่งจีวร การตกแต่งบาตร นี้อันใด การตกแต่งกายด้วยบริขารเหล่านั้น หรือ
ว่า การตกแต่งบริขารภายนอกจากกาย ก็เรียกว่าการตกแต่ง ด้วยสามารถแห่ง
ชื่อตามที่ตั้งไว้สำหรับเรียก. ในคำว่า มณฺฑนา วิภูสนา นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
มัณฑนา (การแต่งกาย) ด้วยสามารถแห่งการยังที่อันบกพร่องให้เต็ม ชื่อว่า

วิภูสนา (การประดับ) ด้วยสามารถแห่งการประเทืองผิว เป็นต้น. คำว่า
เกฬนา ได้แก่ การเล่นที่ร่าเริง. คำว่า ปริเกฬนา ได้แก่ การร่าเริง. ความ
เป็นแห่งจิตที่หวั่นไหว ชื่อว่า สภาพที่หวั่นไหว. ความเป็นแห่งบุคคล
ผู้ชอบตกแต่ง ก็อย่างนั้น. คำว่า อิทํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้หวั่นไหวไปเพราะชอบตกแต่ง. บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยการตกแต่งใด บุคคลนั้นแม้มีอายุตั้งร้อยปี ก็ย่อมเป็นราวกะทารกผู้เกิดใน
วันนั้น ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

แต่งมากก็เปลืองมาก เสียเวลามาก เสียทรัพย์มาก
มาแต่ง กายคือการกระทำให้ดี วาจาให้ดี ใจให้ดีกันดีกว่าครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อสภาควุตตินิทเทส
อธิบาย ความประพฤติไม่สมควร
ความประพฤติไม่คล้อยตามพระพุทธพจน์ ชื่อว่า ความประพฤติไม่
สมควร. วิถีทางแห่งความสุข โดยการกระทำให้ขัดแย้งอันเป็นข้าศึกต่างๆ
ชื่อว่า ความประพฤติขัดขืน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพ
ที่ไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อก็เหมือนกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่คารวะ
ชื่อว่า ความไม่เคารพ. ความเป็นผู้ไม่ทำตามคำของผู้เจริญ (หัวหน้า) ชื่อว่า

ความไม่เชื่อฟัง. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียก ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติไม่สมควร อธิบายว่า ความเป็นผู้มีชีวิตอันไม่
เหมาะสมดังนี้. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชีวิตอยู่อันไม่สมควรใด คือ
ย่อมไม่ปฏิบัติเหลียวแลเลี้ยงดูมารดาหรือบิดาผู้ป่วยไข้ ย่อมทำการทะเลาะกับ
บิดามารดาเพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมทะเลาะกับพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว
เพราะเหตุแห่งทรัพย์ของมารดาบิดา ย่อมกล่าววาจาหมดยางอาย (หน้าด้าน)

ย่อมไม่ทำวัตรและวัตรอาศัยต่ออาจารย์ ต่ออุปัชฌาย์ ไม่อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ
ย่อมถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะในสถานที่เป็นที่เคารพแห่งพระเจดีย์ของพระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมถ่มเขฬะบ้าง สั่งน้ำมูกบ้าง ย่อมกั้นร่ม
ย่อมเดินใส่รองเท้าเข้าไป ย่อมไม่ละอายในพระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่

เคารพยำเกรงในสงฆ์ ย่อมไม่ยังหิริโอตตัปปะให้ตั้งขึ้นในที่อันควรเคารพใน
บุคคลทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้น. การทำอย่างนี้แม้ทั้งปวงในวัตถุ
ทั้งหลายและในบุคคลมีมารดาเป็นต้น ของผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า
ความประพฤติไม่สมควร.

อรตินิทเทส
อธิบาย ความไม่ยินดี
คำว่า ปนฺเตสุ แปลว่า ในเสนาสนะอันสงัด อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่
เสนาสนะอันสงัดอันอยู่ในที่ไกล. คำว่า อธิกุสเลสุ ได้แก่ สมถะและ
วิปัสสนา. คำว่า อรติ เป็นคำปฏิเสธความยินดี. อาการแห่งความไม่ยินดี
ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดี. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า สภาพที่ไม่

ยินดียิ่ง. อาการแห่งความไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่ง
บุคคลผู้กระวนกระวาย ชื่อว่า ความกระวนกระวายใจ. คำว่า ปริตสฺสิตา ได้
แก่ ความเป็นผู้สะดุ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้กระวนกระวายใจ.

ตันทีนิทเทส
อธิบาย ความโงกง่วง
ความเกียจคร้านชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ตันที (คือความง่วง หรือความ
ประมาท). อาการแห่งความเป็นผู้โงกง่วง ชื่อว่า กิริยาที่โงกง่วง. คำว่า
ตนฺทิมนกตา ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตอันความเกียจคร้านครอบงำแล้ว. ความ
เป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า สภาพที่จิตโงกง่วง. อาการแห่งบุคคลผู้
เกียจคร้าน ชื่อว่า กิริยาแห่งความโงกง่วง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน
ทางกายด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้
ทั้งหมด ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
วิชัมภิตานิทเทส
อธิบาย ความบิดกาย
ความให้กายไหวเอี้ยวไป ชื่อว่า ความบิดกาย. ความบิดกายบ่อยๆ
(ในท่าต่างๆ) เรียกว่าความเหยียดกาย. คำว่า อานมนา (แปลว่า ความ
โน้มกาย) ได้แก่ ความโน้มกายไปข้างหน้า. คำว่า วินมนา (แปลว่า ความ
โน้มกายไปข้างหลัง) ได้แก่ ความเอนกายไปข้างหลัง. คำว่า สนฺนมนา ได้แก่

ความโน้มกายไปรอบๆ. ในคำว่า ความน้อมกายให้ตรง นี้ เหมือนอย่างว่า
ช่างหูกผู้ขยัน จับถือซึ่งอะไรๆ นั่นแหละแต่เส้นด้าย แล้วก็ตั้งกายให้ตรง
ฉันใด การยกกายขึ้นเบื้องบน ก็ฉันนั้น. คำว่า พยาธิยกํ (แปลว่า ความ
ไม่สบายกาย) ได้แก่ ความที่บุคคลนั้นมีพยาธิเกิดขึ้นแล้ว. ความบิดกายนั่น
แหละด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้ง
หมดด้วยประการฉะนี้.

ภัตตสัมมทนิทเทส
อธิบายความเมาอาหาร
คำว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ของผู้บริโภคอาหาร. ความไม่สบายเนื่อง
จากกินอาหาร ชื่อว่า ความอึดอัดเพราะอาหาร. จริงอยู่ บุคคลย่อมเป็นราวกะ
ว่าถึงความซบเซาเพราะอาหารมีกำลัง (มาก). ความเป็นแห่งผู้ลำบากเพราะ
อาหาร ชื่อว่า ความเป็นผู้กระวนกระวายเพราะอาหาร. ความกระวนกระวาย
เพราะอาหาร ชื่อว่า ความเร่าร้อนเพราะอาหาร. จริงอยู่ ในสมัยนี้ บุคคลนั้น

ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีอินทรีย์อันอาหารขจัดแล้ว โดยให้ความเร่าร้อนเกิดขึ้น คือ
ย่อมทำให้ร่างกายทรุดโทรม. คำว่า กายทุฏฺ€ุลฺลํ (แปลว่า ความเป็นผู้หนัก
เนื้อหนักตัวเพราะอาหาร) ได้แก่ ความเป็นผู้มีร่างกายอันไม่ควรแก่การงาน
(คือ ไม่คล่องแคล่ว) เพราะอาศัยอาหาร.

นิทเทสแห่งความเป็นผู้ย่อหย่อนแห่งจิต มีเนื้อความดังกล่าวไว้ใน
อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. และพึงทราบอาการแห่งความ
ป่วยไข้ด้วยสามารถแห่งกิเลส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยบทเหล่า
นี้แม้ทั้งหมด ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความอยากได้เกินประมาณ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57436

อธิบายความปรารถนาลามก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57437

ว่าด้วยความมัวเมาในเรื่องต่างๆ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57435

ทำบุญด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ กันเถอะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=57313

เรื่องของฤทธิ์ และการแสดง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56979

นำมารวมไว้เผื่อง่ายในการค้นหาครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร