วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาวาจา (บาลีข้อ ๑๖๕)
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในนิเทศแห่งสัมมาวาจา ต่อไป
อนึ่ง เพราะบุคคลย่อมงดเว้นมุสาวาทด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้น
ปิสุณาวาจาเป็นต้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นทั้ง ๔
เหล่านี้ จึงต่าง ๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดเจตนา
งดเว้นเป็นกุศลกล่าวคือสัมมาวาจาอย่างเดียวเท่านั้นอันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์
เพราะตัดทางดำเนินแห่งเจตนาความเป็นผู้ทุศีลในอกุศล ๔ อย่าง กล่าวคือมิจ-
ฉาวาจาด้วยสามารถไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.
นี้ ชื่อว่า สัมมาวาจา.

ว่าด้วยนิเทศสัมมากัมมันตะ
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในนิเทศแห่งสัมมากัมมันตะ ต่อไป
อนึ่ง เพราะบุคคลย่อมงดเว้นปาณาติบาตด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้น
อทินนาทานด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นกาเมสุมิจฉาจารด้วยจิตดวงหนึ่ง ฉะนั้น
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นทั้ง ๓ เหล่านี้ จึงต่าง ๆ กันในส่วนเบื้องต้น แต่ใน

ขณะแห่งมรรค ย่อมเกิดกุศลเจตนาเป็นเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมากัมมันตะ
ดวงเดียวเท่านั้น อันยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนา
เป็นเหตุทุศีลในอกุศล ๓ อย่าง กล่าวคือมิจฉากัมมันตะ ด้วยสามารถแห่ง
ความไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.
นี้ ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยนิเทศสัมมาอาชีวะ
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาอาชีวะ ต่อไป
บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่
สาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ. บทว่า มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย (ละมิจฉา
อาชีวะแล้ว) ได้แก่ ละขาดซึ่งอาชีวะอันลามก. บทว่า สมฺมาอาชีเวน
(ด้วยสัมมาอาชีวะ) ได้แก่ อาชีวะอันเป็นกุศลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.

บทว่า ชีวิตํ กปฺเปติ (เลี้ยงชีวิตอยู่) ได้แก่ ยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้
ดำเนินไป. แม้ในสัมมาอาชีวะนี้ เพราะบุคคลย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วงทาง-
กายทวารด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมงดเว้นจากการก้าวล่วงทางวจีทวารด้วยจิตดวง
หนึ่ง ฉะนั้น ในส่วนเบื้องต้นจึงเกิดขึ้นในขณะต่าง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรค

ย่อมเกิดกุศลเจตนาเครื่องงดเว้น กล่าวคือสัมมาอาชีวะดวงเดียวเท่านั้น อันยัง
องค์มรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินของเจตนาเป็นเครื่องทุศีลในมิจฉา
อาชีวะที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจกรรมบถ ๗ ในทวารทั้ง ๒ ด้วยสามารถไม่ให้เกิด
ขึ้นได้สำเร็จ.
นี้ ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาวายามะเป็นต้น
นิเทศแห่งสัมมาวายามะจักแจ่มแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท
ในสัมมัปปธานวิภังค์. ก็สัมมาวายามะนี้ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลเบื้องต้น
เพราะบุคคลย่อมทำความเพียรเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามก
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยจิตดวงหนึ่ง และเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยจิตดวง
หนึ่ง เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วด้วยจิตดวงหนึ่ง แต่ในขณะ
แห่งมรรค ย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น เพราะความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรคอันเดียวเท่านั้นย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอรรถว่ายังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แม้นิเทศแห่งสัมมาสติก็จักมีแจ้งด้วยสามารถการพรรณนาตามบท
ในสติปัฏฐานวิภังค์. อนึ่ง สัมมาสติแม้นี้ก็ย่อมได้ในจิตต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น
จริงอยู่ บุคคลย่อมกำหนดกายเป็นอารมณ์ด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมกำหนดเวทนา
เป็นต้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ๆ แต่ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ในจิตดวงเดียวเท่านั้น
เพราะสติที่สัมปยุตด้วยมรรคดวงเดียวเท่านั้นย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอรรถว่า
ให้สำเร็จกิจ ๔ อย่าง.

ว่าด้วยนิเทศสัมมาสมาธิ (บาลีข้อ ๑๗๐)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศสัมมาสมาธิ ต่อไป
ฌาน ๔ มีความต่างกันแม้ในส่วนเบื้องต้น แม้ในขณะแห่งมรรค ใน
ส่วนเบื้องต้นต่างกันด้วยอำนาจสมาบัติ ในขณะแห่งมรรคต่างกันด้วยอำนาจ
แห่งมรรค. ความจริง ปฐมมรรคของบุคคลคนหนึ่งย่อมเป็นธรรมประกอบ

ด้วยปฐมฌาน แม้มรรคดวงที่ ๒ เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยปฐมฌาน
หรือประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. ปฐมมรรคของบุคคล
คนหนึ่งก็ประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งมีทุติยฌานเป็นต้น. แม้ทุติยมรรค
เป็นต้นก็เป็นธรรมประกอบด้วยฌานใดฌานหนึ่งแห่งทุติยฌานเป็นต้น หรือว่า
ประกอบด้วยปฐมฌาน. ด้วยอาการอย่างนี้ มรรคแม้ทั้ง ๔ ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน
บ้าง ไม่เป็นเช่นเดียวกันบ้าง หรือเป็นเช่นเดียวกันบางอย่าง ด้วยอำนาจฌาณ.

ส่วนความแปลกกันของมรรคนั้น ด้วยกำหนดฌานเป็นบาทมีดัง
ต่อไปนี้ ว่าด้วยนิยาม (การกำหนด) มรรคที่มีฌานเป็นบาทก่อน เมื่อบุคคล
ผู้ได้ปฐมฌานออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่ มรรคเป็นธรรมประกอบด้วย
ปฐมฌานก็เกิดขึ้น และในมรรคนี้ องค์มรรคและโพชฌงค์ ย่อมเป็นธรรม
บริบูรณ์ทีเดียว เมื่อบุคคลได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานพิจารณาเห็นแจ้งอยู่

มรรคประกอบด้วยทุติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคย่อมมี ๗ องค์
เมื่อได้ตติยฌานออกจากตติยฌานแล้วพิจารณาเห็นแจ้งอยู่ มรรคประกอบด้วย
ตติยฌานก็เกิดขึ้น แต่ในมรรคนี้ องค์มรรคมี ๗ โพชฌงค์มี ๖. นับตั้งแต่
จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็นัยนี้. ฌานที่เป็นจตุกนัยและ
ปัญจกนัยย่อมเกิดขึ้นในอรูปภพ ก็ฌานนั้นแลตรัสเรียกว่า โลกุตระมิใช่โลกิยะ

ถามว่า ในอธิการนี้เป็นอย่างไร ตอบว่า ในอธิการนี้ พระโยคาวจรออกจาก
ฌานใด บรรดาปฐมฌานเป็นต้น ได้เฉพาะซึ่งโสดาปัตติมรรคแล้วเจริญอรูป-
สมาบัติเกิดขึ้นในอรูปภพ มรรค ๓ (เบื้องต้น) ของเขาประกอบด้วยฌาน
นั้นแหละ ย่อมเกิดขึ้นในภพนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฌานที่เป็นบาทนั่นเอง
ย่อมกำหนดมรรค.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แต่พระเถระบางพวกย่อมกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของ
วิปัสสนาย่อมกำหนด บางพวกกล่าวว่า อัชฌาสัยของบุคคลย่อมกำหนด
บางพวกกล่าวว่า วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีย่อมกำหนด บัณฑิตพึงทราบ
วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการวรรณนา
บทภาชนีย์ว่าด้วยโลกุตระในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแล.

คำว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ (นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ) ความว่า
เอกัคคตา (สมาธิจิต) ในฌาน ๔ เหล่านี้ เราเรียกชื่อว่า สัมมาสมาธิ เป็น
โลกิยะในส่วนเบื้องต้น แต่ในกาลภายหลังเป็นโลกุตระ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงมรรคสัจจะด้วยสามารถเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระ
บรรดามรรคที่เป็นโลกีย์และโลกุตระเหล่านั้น ในโลกิยมรรค องค์-
มรรคทั้งหมด ย่อมมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๖ ตามสมควร
แต่ในโลกุตรมรรค ปัญญาจักษุ (จักษุคือปัญญา) มีนิพพานเป็นอารมณ์ อัน
ถอนเสียซึ่งอวิชชานุสัย ของพระอริยสาวกผู้ประพฤติเพื่อแทงตลอดสัจจะ ๔ เป็น
สัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง การยกจิตขึ้นสู่แนวทางพระนิพพานซึ่งสัมปยุตด้วยสัมมา-

ทิฏฐินั้นแล้วถอนเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ ๓ อย่าง ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
เป็น สัมมาสังกัปปะ. อนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาวาจา ที่สัมปยุต
ด้วยสัมมาสังกัปปะนั้นแหละ ถอนขึ้นซึ่งวจีทุจริต ๔ อย่าง ของบุคคลผู้เห็นอยู่
และตรึกอยู่ เป็น สัมมาวาจา. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นกายทุจริต ๓ อย่าง
ที่สัมปยุตด้วยสัมมาวาจานั้นแหละตัดขาดมิจฉากัมมันตะ ของบุคคลผู้งดเว้นอยู่

เป็น สัมมากัมมันตะ. เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นมิจฉาอาชีวะ ที่เป็นธรรมชาติ
ผ่องแผ้วของสัมมาวาจาและกัมมันตะเหล่านั้นนั่นเอง เป็นธรรมสัมปยุตด้วย
สัมมาวาจาและกัมมันตะนั้น ๆ แหละตัดขาดอกุศลมีการหลอกลวงเป็นต้น เป็น
สัมมาอาชีวะ. อนึ่ง วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ของบุคคลผู้ตั้งมั่น

ในภูมิศีล กล่าวคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี้สมควรแก่
ศีลนั้น สัมปยุตด้วยศีลนั้นแลตัดขาดความเกียจคร้าน ให้สำเร็จความไม่เกิด
อกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิด
แล้วให้ดำรงอยู่ เป็น สัมมาวายามะ. ความที่จิตไม่หลงลืมของผู้พยายามอยู่

อย่างนี้ สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะนั้นถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสติ ให้สำเร็จเป็นกายา-
นุปัสสนาเป็นต้น ในอารมณ์มีกายเป็นต้น เป็น สัมมาสติ. ความที่จิตมีอารมณ์
เป็นหนึ่งของผู้รักษาจิตอันอนุตรสติจัดแจงดีแล้ว สัมปยุตด้วยสัมมาสติและ
ถอนขึ้นซึ่งมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ ด้วยประการฉะนี้แล.
นี้เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นโลกุตระ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยมรรคเป็นทั้งวิชชาและจรณะเป็นต้น
อนึ่ง โลกุตรมรรคใด พร้อมทั้งโลกิยมรรค ถึงซึ่งการนับว่าเป็น
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์) มรรคนั้นแลเป็น
ทั้งวิชชาและจรณะ เพราะสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย
วิชชา ธรรมที่เหลือสงเคราะห์ไว้ด้วยจรณะ อนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งสมถะและ
วิปัสสนา เพราะความที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรง

สงเคราะห์ไว้ด้วยวิปัสสนาญาณ ธรรมนอกจากนี้ สงเคราะห์ไว้ด้วยสมถญาณ.
อีกอย่างหนึ่ง มรรคนั้นเป็นทั้งขันธ์ ๓ และสิกขา ๓ เพราะความที่สัมมาทิฏฐิ
และสัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ เหล่านั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์ ธรรม ๓
ในลำดับต่อจากสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ท ี่เหลือ
สงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ และธรรมเหล่านั้นแหละสงเคราะห์ด้วยอธิปัญญาสิกขา
อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา.

พระอริยสาวกประกอบด้วยมรรคใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะดุจบุคคลผู้เดินทางไกลประกอบด้วยจักษุทั้ง ๒ อันสามารถในการเห็น
และเท้าทั้ง ๒ อันสามารถในการเดิน เว้นที่สุด ๒ อย่าง คือกามสุขัลลิกานุโยค
ด้วยวิปัสสนาญาณ และอัตตกิลมถานุโยคด้วยสมถญาณ ดำเนินไปสู่มัชฌิม-
ปฏิปทา ทำลายอยู่ซึ่งกองโมหะด้วยปัญญาขันธ์ ซึ่งกองแห่งโทสะด้วยศีลขันธ์
ซึ่งกองโลภะด้วยสมาธิขันธ์ บรรลุสมบัติ ๓ คือ ซึ่งปัญญาสัมปทาด้วยอธิปัญญา-

สิกขา ซึ่งศีลสัมปทาด้วยอธิศีลสิกขา ซึ่งสมาธิสัมปทาด้วยอธิจิตตสิกขา ย่อม
กระทำให้แจ้งซึ่งอมตะคือพระนิพพาน ชื่อว่าหยั่งลงสู่อริยภูมิ กล่าวคือสัมมัตต-
นิยาม (นิยามอันชอบ) ซึ่งวิจิตรด้วยรัตนะคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและปริโยสาน แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สีติภาวสูตร

พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ เป็น
ผู้ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะ (ความเป็นผู้สงบ) อันยอดเยี่ยม. ธรรม ๖
เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัย
ที่ควรข่ม ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ย่อมทำให้จิตร่าเริงในสมัยที่
ควรทำให้ร่าเริง ย่อมวางจิตเฉยๆ ในสมัยที่ควรวางจิตเฉยๆ ย่อมเป็นผู้
น้อมจิตไปในธรรมอันประณีต และเป็นผู้ยินดียิ่งในพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ เหล่านี้แล เป็นผู้ควร เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งสีติภาวะอันยอดเยี่ยม ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า สีติภาวสูตร.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑๑. หทยํ (เนื้อหัวใจ)
คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี
หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ
ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล
บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา
เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ
ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้นเป็นหลุมมีประมาณจุ
เมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้นๆ ในที่นั้นๆ ของ
คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-
จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม
ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-
จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่
ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว
. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย
โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท
กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.


ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๑๘. อุทริยํ (อาหารใหม่)

คำว่า อุทริยํ ได้แก่ ของที่กิน (ข้าว) ที่ดื่ม (น้ำ) ที่เคี้ยว (ผลไม้
เป็นต้น) ที่ลิ้ม (น้ำผึ้งเป็นต้น) เข้าไปอยู่ในท้อง. อาหารใหม่นั้น ว่าโดยสี มี
สีดังอาหารที่กลืนเข้าไป. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังถุงบางๆ ที่บรรจุข้าว
สาร. ว่าโดยทิศเกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ในอุทร (กระเพาะ
อาหาร) อวัยวะเยื่อลำไส้ เช่นกับโป่งผ้าที่เกิดขึ้นตรงกลางแห่งผ้าเปียกที่เขา
รวบชายไว้ เรียกว่า อุทร. อุทรนั้นข้างนอกเกลี้ยง ข้างในเช่นกับผ้าที่ห่อ
เศษเนื้อหรือผ้าห่อประจำเดือนที่เปื้อนแล้ว แม้จะกล่าวว่า เช่นกับภายในแห่ง

ลูกขนุนละมุด ก็ควร. ในอุทรเล่า ก็มีหมู่หมอนทั้งหลายแยกออกได้ถึง ๓๒
ตระกูล คือ มีพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม พยาธิเสี้ยนตาล พยาธิปาก
เข็ม (ตัวจิ๊ด) พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย เป็นต้น เป็นตระกูลต่างๆ
เกลื่อนกล่นอาศัยอยู่เที่ยวไปเป็นหมู่ๆ ครั้นเมื่อน้ำและข้าวเป็นต้นไม่มีอยู่ มัน
ก็จะพลุ่งพล่านกัดกินเนื้อที่มันอาศัยอยู่ ในเวลาที่กลืนอาหารมีน้ำและข้าวเป็น

ต้นลงไป มันก็จะพากันชูปากขึ้นรับ ตะลีตะลานยื้อแย่งคำข้าวที่กลืนลงไปครั้ง
แรก ๒-๓ คำ. ที่อุทรนั้นแล เป็นดุจเรือนคลอด วัจจกุฏี (เรือนถ่าย)
โรงพยาบาล และสุสาน (ป่าช้า) ของหนอนเหล่านั้น. อาหารทั้งหลายมีน้ำ
และข้าว เป็นต้น มีประการต่างๆ ที่แหลกด้วยสาก คือฟัน พลิกกลับไปมา
ด้วยมือ คือ ลิ้น คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ขณะนั้นแหละก็จะเป็นสิ่งที่ปราศจาก

คุณสมบัติของสี กลิ่น รส เป็นต้น เป็นเช่นกับข้าวย้อมด้ายของนายช่างหูก
หรือเป็นเช่นสุนัขกับรากสุนัข ครั้นตกลงไปในคอก็จะคลุกเคล้าด้วยน้ำดี น้ำ
เสลดเดือดขึ้นแล้วด้วยกำลังแห่งความเผาของไฟในท้อง (ธาตุไฟย่อยอาหาร)
อากูลไปด้วยหมู่หนอน ปล่อยพองขึ้นข้างบนโดยลำดับ ถึงซึ่งความเป็นสิ่ง
สกปรก มีกลิ่นเหม็นยิ่งนัก ตั้งอยู่ในอุทรนั้น เปรียบเหมือน เมื่อฝนเมล็ด
หนา ตกลงมาในฤดูแล้ง ซากสัตว์ต่างๆ จำเดิมแต่มูตร คูถ ท่อนหนัง
กระดูก เอ็น น้ำลาย น้ำมูก และเลือด เป็นต้น ที่น้ำพาไปตกลงที่แอ่ง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น้ำโสโครกใกล้ประตูบ้านของคนจัณฑาล และผสมเข้ากับโคลนตมสองสามวัน
ก็มีหมู่หนอนเกิดขึ้นแล้ว แอ่งน้ำนั้นเดือดขึ้นแล้วด้วยความร้อนด้วยกำลังแห่ง
แสงแดด ปล่อยฟองขึ้นข้างบนบ่อยๆ เป็นของมีสีเขียวคล้ำ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ
ด้วยกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง ถึงซึ่งความเป็นรูปไม่น่าเข้าไปใกล้ ไม่น่าเห็น จะป่วย
กล่าวไปไยถึงการเป็นสิ่งน่าดม น่าลิ้มเส่า แม้ฉันใด น้ำและข้าวเป็นต้นมี

ประการต่างๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันสากคือฟันบดละเอียดแล้ว อันมือคือลิ้น
ตวัดพลิกกลับไปมา แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ปราศจากความถึงพร้อมด้วยสี
กลิ่นและรส เป็นต้นในทันที เสมือนรากสุนัขในรางสุนัข รวมกันคลุกเคล้า
ด้วยน้ำดีและเสลด เดือดด้วยแรงไฟและความร้อนในท้อง หนอนตระกูลใหญ่

น้อยปล่อยฟองฟอดขึ้นข้างบนถึงความเป็นกองขยะมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดอย่างยิ่ง
ตั้งอยู่ แม้เพราะฟังเรื่องอุทรไรเล่า ความไม่ชอบใจในน้ำและข้าว เป็นต้น
ก็เกิดขึ้นได้ จะกล่าวไปไยถึงความไม่ชอบใจในน้ำและข้าวเป็นต้น เพราะ
การแลดูด้วยปัญญาจักษุเล่า.

อนึ่ง ในอุทรใด ในอุทรนั้น ที่มีของกินมีน้ำและข้าวเป็นต้น
ตกลงไปแล้ว ย่อมถึงซึ่งการแยกเป็นส่วนๆ ๕ ส่วน คือสัตว์
(พยาธิ) ทั้งหลายย่อมเคี้ยวกินเสียส่วนหนึ่ง ไฟธาตุย่อมเผาผลาญ
เสียส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็เป็นมูตร ส่วนหนึ่งก็เป็นคูถ ส่วนหนึ่งถึง

ความเป็นอาหารไปเพิ่มพูนโกฏฐาสมีเลือดและเนื้อเป็นต้นให้เจริญ.
ว่าโดยปริเฉทกำหนดด้วยเยื่ออุทร และส่วนที่เป็นอุทริยะ (คืออาหารใหม่).
นี้เป็นสภาคปริเฉทของอาหารใหม่ ส่วนวิสภาคปริจเฉทเช่นกับผมนั่นแหละ.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
วิหารที่ควรเว้น ๑๘ แห่ง คือ

๑. วิหารใหญ่ ๗. วิหารใกล้บ่อน้ำ ๑๓. วิหารอยู่ชายแดน
๒. วิหารเก่าคร่ำ ๘. วิหารที่มีคนชอบอยู่ ๑๔. วิหารอยู่ระหว่างพรมแดน
๓. วิหารสร้างใหม่ ๙. วิหารมีผักมาก ๑๕. วิหารใกล้เมือง
๔. วิหารใกล้ป่าไม้ฟืน ๑๐. วิหารมีดอกไม้ ๑๖. วิหารที่มีวิสภาคบุคคล
๕. วิหารใกล้ทาง ๑๑. วิหารมีผลไม้ ๑๗. วิหารที่อยู่แล้วไม่สบาย
๖. วิหารใกล้ที่นา ๑๒. วิหารใกล้ท่า ๑๘. วิหารที่ไม่มีกัลยาณมิตร)

แห่งแล้วอยู่ในเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์.

แม้ภิกษุเอง ก็พึงประกอบด้วยองค์ ๕.*(วิหารประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. วิหารที่ไม่ใกล้นักไปมาสะดวก ๒. กลางวันไม่พลุกพล่านกลางคืนเงียบสงัด
๓. ปราศจากสัมผัสเหลือบและยุง ๔. มีปัจจัยสี่ไม่ฝืดเคือง ๕. มีผู้เป็นพหูสูตอยู่ด้วย.)
จากนั้น ภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันภัตแล้ว ก็พึงไปสู่ที่พักในเวลาราตรี
หรือที่พักในเวลากลางวันแล้วมนสิการกรรมฐาน. พึงมนสิการอย่างไร? คือ

พึงมนสิการกรรมฐานโดยลำดับแต่ต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วก่อน.
ไม่พึงมนสิการเว้นกรรมฐานไว้หนึ่งในระหว่าง. ก็เมื่อเธอมนสิการ
กรรมฐานโดยลำดับอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากกรรมฐาน และย่อม
เสวยโลกุตตรธรรม ๙ ประการ อันเช่นกับอานิสงส์แห่ง
ปราสาท เปรียบเหมือน บุรุษผู้ก้าวขึ้นบันได ๓๒ ขั้น โดยลำดับขั้น ขึ้นสู่
ปราสาทและเสวยอานิสงส์ของปราสาท ฉะนั้น.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าโดยสาวัชชะ (โทษ) ปาณาติบาตมีโทษน้อยก็มี มีโทษมากก็มี.
สิกขาบททั้งหลาย มีอทินนาทานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน. เหตุต่างๆ แห่ง
สิกขาบททั้ง ๕ นั้น ท่านแสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ปาณาติบาต มีโทษ ดังนี้
การฆ่าสัตว์แมลงตัวเล็กๆ เช่น มดดำ ชื่อว่า มีโทษน้อย
ฆ่าสัตว์เช่นนั้นที่ใหญ่กว่า มีโทษมากกว่า
ฆ่าสัตว์ประเภทนับเนื่องด้วยนกใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทเลื้อยคลานใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทกระต่าย มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทเนื้อ มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าโค มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าม้า มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าช้าง มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้ทุศีล มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้ถึงสรณะ (คือผู้ถึงพระไตรสรณคมน์) มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบท ๕ มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าสามเณร มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อทินนาทาน มีโทษ ดังนี้
การถือเอาสิ่งของ ของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษน้อย
ถือเอาสิ่งของ ของผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของสามเณร มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของภิกษุปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษ ดังนี้
แม้ประพฤติผิดก้าวล่วงหญิงผู้ทุศีล ก็มีโทษน้อย
ประพฤติผิดในบุคคล ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในบุคคลผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในสามเณรี มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มุสาวาท มีโทษ ดังนี้
มุสาวาท (พูดเท็จ) เพื่อต้องการทรัพย์มีประมาณกากณิกหนึ่ง (คำว่า
กากณิกเป็นชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกากลืน
กินได้) มีโทษน้อยในเพราะคำพูดอันเป็นเท็จนั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งมาสก*(๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท, ๔ บาท เท่ากับ ๑
กหาปณะ (บาท = เงินบาทของอินเดียโบราณ) มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งมาสก มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ๕ มาสก มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์มีค่านับไม่ได้ มีโทษมากกว่านั้น
แต่มุสาวาท เพื่อทำสงฆ์ให้แตกจากกัน มีโทษมากยิ่งนัก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
การดื่มสุรา มีโทษ ดังนี้
การดื่มสุราประมาณฟายมือหนึ่ง มีโทษน้อย
การดื่มสุราประมาณกอบหนึ่ง มีโทษมากกว่า
แต่การดื่มสุรามากสามารถให้กายไหว แล้วทำการปล้นบ้าน ปล้นหมู่
บ้าน มีโทษหนักมาก.

จริงอยู่ ในปาณาติบาต การฆ่าพระขีณาสพก็ดี ในอทินนาทานการ
ถือเอาวัตถุสิ่งของของพระขีณาสพไปก็ดี ในกาเมสุมิจฉาจารการประพฤติผิดใน
ภิกษุณีผู้เป็นขีณาสพก็ดี ในมุสาวาทการยังสงฆ์ให้แตกจากกันก็ดี ในการดื่ม
สุราอันสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปปล้นบ้านปล้นหมู่บ้านก็ดี จัดว่ามีโทษมาก
ทั้งนั้น แต่ว่าสังฆเภท โดยการกล่าวซึ่งมุสาวาทเท่านั้นจัดว่ามีโทษมาก
กว่าโทษเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะว่าอกุศลอันมากนั้นสามารถเพื่อจะให้
ไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.

ว่าโดยปโยคะ ปาณาติบาต เป็นสาหัตถิกะ (คือทำด้วยมือของตน
เอง) ก็มี เป็นอาณัติกะ (คือ ใช้ให้คนอื่นทำ) ก็มี. อทินนาทานก็เหมือน
อย่างนั้น. กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราปานะ เป็นสาหัตถิกะเท่านั้น.

บัณฑิตครั้นทราบวินิจฉัยสิกขาบทเหล่านี้ด้วยสามารถแห่งการวินิจฉัย
ซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น (คือการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป อันหมายถึงการฆ่า
สัตว์ เป็นต้น) โดยธรรมเป็นต้นอย่างนี้แล้วก็พึงทราบวินิจฉัยแม้ซึ่งคำว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี (แปลว่า งดเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป)
เป็นต้น โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล โดยกรรม
โดยขัณฑะ โดยสมาทาน โดยปโยคะ ด้วย.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ว่าโดยธรรม ได้แก่ สิกขาบททั้ง ๕ นั้นเป็น
ธรรมมีเจตนา ด้วยสามารถแห่งปริยายศีลเป็นไปตามลำดับนั้นนั่นแหละ.


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron