วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2019, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ตัณหาที่ชื่อว่า ลตา (เหมือนเถาวัลย์) เพราะเป็นเหมือนเถาวัลย์
โดยความหมายว่า พันไว้รอบ ตัณหานี้ ตรัสเรียกว่า เถาวัลย์ แม้ในที่ตรัส
ไว้ว่า ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ (ตัณหาเหมือนเถาวัลย์แตกแขนงตั้งอยู่) ดังนี้.
ที่ชื่อว่า เววิจฺฉํ (ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่าง ๆ) เพราะปรารถนาวัตถุ
มีอย่างต่าง ๆ. ที่ชื่อว่า ทุกฺขมูลํ (รากเหง้าแห่งทุกข์) เพราะเป็นมูลแห่ง
วัฏทุกข์. ที่ชื่อว่า ทุกฺขนิทานํ (เหตุแห่งทุกข์) เพราะเป็นเหตุเกิดของทุกข์

นั้นนั่นแหละ. ที่ชื่อว่า ทุกฺขปฺปภโว (แดนเกิดแห่งทุกข์) เพราะทุกข์นั้น
ย่อมเกิดจากตัณหานี้. ที่ชื่อว่า ปาโส (บ่วง) เพราะเหมือนบ่วง ด้วยอรรถว่า
เครื่องผูก. บ่วงแห่งมารชื่อว่า มารปาโส. ที่ชื่อว่า พลิสํ (เบ็ด) เพราะ
เป็นเหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า สำรอกออกยาก. เบ็ดของมาร ชื่อว่า มารพลิสํ.
สัตว์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้วย่อมไม่ก้าวล่วงวิสัยแห่งมาร มารย่อมยังอำนาจให้
เป็นไปในเบื้องบนสัตว์เหล่านั้น โดยปริยายนี้ จึงเรียกว่า แดนแห่งมาร
เพราะเป็นวิสัยของมาร.

แม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป. ข่าย
คือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหาชาลํ ด้วยอรรถว่าปกคลุมไว้. สุนัขทั้งหลายที่
เขาเอาเชือกผูกไว้ ย่อมถูกนำไปตามปรารถนา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหา
ผูกไว้ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า คทฺทุลํ (เหมือนเชือก)
เพราะเป็นเหมือนเชือกด้วยอรรถว่าผูกไว้แน่น. เชือกคือตัณหา ชื่อว่า ตณฺหา-
คทฺทุลํ. สมุทร (ทะเล) คือตัณหาด้วยอรรถว่าให้เต็มได้ยาก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตัณหาเหมือนสมุทร.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
องค์ ๑๒ ของภิกษุผู้ฉันอาหาร

ก็ในฐานะนี้ควรประมวลองค์ทั้งหลาย คือ
ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อเล่น เป็นองค์ ๑
ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา เป็นองค์ ๑
ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่อประเทืองผิว เป็นองค์ ๑
ข้อว่า ไม่บริโภคเพื่ออ้วนพี เป็นองค์ ๑
ข้อว่า เพื่อกายดำรงอยู่และชีวิตินทรีย์เป็นไป เป็นองค์ ๑
ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิวเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เป็นองค์ ๑
ข้อว่า เพราะโดยอุบายนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่
เกิด เป็นองค์ ๑
ข้อว่า ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา เป็นองค์ ๑
ความไม่มีโทษ และการอยู่เป็นสุข เป็นองค์ ๑
ในการบริโภคอาหารนี้ เป็นอานิสงส์แห่งการบริโภคโภชนะ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระมหาสิวเถระจัดองค์ไว้ ๘

ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าว องค์ ๔ ข้างต้น ชื่อว่าเป็นข้อห้ามรวม
เป็นองค์ ๑ พึงประมวลองค์ ๘ เบื้องปลายมา ในองค์ ๘ เบื้องปลายนั้น ข้อว่า
เพียงให้กายนี้ดำรงอยู่ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป
จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อบำบัดความหิว จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า เพื่อประพฤติ
พรหมจรรย์ จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า ด้วยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่า
จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า
ความดำรงอยู่แห่งชีวิตจักมีแก่เรา จัดเป็นองค์ ๑ ข้อว่า ความไม่มีโทษ
จัดเป็นองค์ ๑ ก็การอยู่ผาสุกเป็นผลของการบริโภค ดังนี้.

ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้รู้จัก
ประมาณในการบริโภคอาหาร.
บทว่า อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า การบริโภคด้วยการ
พิจารณาเป็นไปด้วยสามารถการรู้จักประมาณอันควรในการแสวงหา การรับ
และการบริโภคนี้ ชื่อว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา (ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภช-
นาหาร).

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
* อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ ๑. อาฆาตโดยคิดว่าเขาได้เคยทำความ
เสื่อมให้เรา ๒. อาฆาตโดยคิดว่าเขากำลังทำความเสื่อมให้เรา ๓. อาฆาต
โดยความคิดว่า เขาจะทำความเสื่อมให้เรา ๔. อาฆาตโดยความคิดว่า เขาได้
เคยทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก ๕. อาฆาตโดยคิดว่า เขากำลังทำความเสื่อม
ให้คนที่เรารัก ๖. อาฆาตโดยคิดว่า เขาจะทำความเสื่อมให้คนที่เรารัก
๗. อาฆาตโดยคิดว่า เขาเคยทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง ๘. อาฆาตโดย
คิดว่าเขากำลังทำคุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง ๙. อาฆาตโดยคิดว่า เขาทำ
คุณประโยชน์แก่คนที่เราชัง ๑๐. อาฆาตในฐานอันไม่ควร มีการเดินสะดุด
เป็นต้น.

อนึ่ง วิหิงสานี้ เพราะยังไม่มา (ยังไม่ได้กล่าวไว้) ในหนหลัง จึง
ควรทราบโดยการจำแนกอรรถเป็นต้น ดังต่อไปนี้
คำว่า วิหึสํ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า วิหิงสา เพราะอรรถว่า มี
เจตนาเป็นเหตุเบียดเบียนสัตว์ หรือสัตว์มีความเบียดเบียน. วิหิงสานั้นบัณฑิต
พึงทราบว่า มีความเบียดเบียนเป็นลักษณะ หรือว่ามีความเป็นปฏิปักษ์ต่อ
กรุณาเป็นลักษณะ มีความให้เกิดความหวาดเสียวในสันดานของสัตว์อื่นเป็นรส
หรือว่า มีความกำจัดความกรุณาในสันดานของตนเป็นรส มีความเป็นบ่อเกิด
แห่งทุกข์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีปฏิฆะเป็นปทัฏฐาน.

:b8: :b8: :b8:
เมื่อยังไม่รู้ก็ยังสร้างทุกข์ ก่อทุกข์ให้กับตัวเองและคน
อื่นไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก คือ
ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)
วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)
สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)
ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)
อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)
ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)
นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง).

บรรดาทุกข์เหล่านั้น ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า
ทุกขทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ทั้งโดยสภาวะทั้งโดยชื่อ. สุขเวทนา ชื่อว่า
วิปริณามทุกข์ เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง. อุเบกขา
เวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังขารทุกข์
เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ)
ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรม
เหล่านี้ ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ. ความ

ป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความ
เร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิจฉันนทุกข์* เพราะต้องถามจึงรู้
และเพราะก้าวเข้าไปแล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง.
ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า อัป-
ปฏิจฉันนทุกข์ เพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ ท่าน
# * ปฏิจฉันนทุกข์ที่ว่าทางกาย คือ ปวดหู ปวดฟัน ท่านหมายเอาทุกข์เล็ก
น้อยจึงไม่มีใครรู้ต้องถามจึงรู้

เรียกว่า ปรากฏทุกข์บ้าง. ทุกข์แม้ทั้งหมดมีชาติเป็นต้น อันมาแล้วในวิภังค์
แห่งทุกขสัจจะ เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ
(ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้น ๆ. ทุกขทุกข์ ชื่อว่า นิปปริยายทุกข์.

ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน ๒ บท นี้ คือ
ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์ ก็ธรรมดาอริยสัจนี้ย่อมมาในพระบาลีโดย
ย่อบ้าง โดยพิสดารบ้าง ในที่มาโดยย่อควรจะกล่าวโดยย่อก็ได้ โดยพิสดาร
ก็ได้ แต่ในที่มาโดยพิสดารสมควรกล่าวโดยพิสดารเท่านั้น ไม่ควรกล่าวโดยย่อ
ในที่นี้ทุกข์นี้นั้นมาโดยพิสดารดังนั้น พึงกล่าวโดยพิสดารอย่างเดียว ฉะนั้น

คำนี้ใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้มีอาทิว่า พึงทราบชาติ พึงทราบอรรถของชาติ
เป็นทุกข์ เพราะถือเอาพระบาลีในนิเทศวารมีอาทิว่า ตตฺถ กตมํ ทุกฺขํ
อริยสจฺจํ ชาติปิ ทุกฺขา ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้
ชาติก็เป็นทุกข์ ดังนี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติโดยสมมติกถา (บาลีข้อ ๑๔๖)
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น พึงทราบคำว่า ชาติ เป็นต้นก่อน ก็บัณฑิต
พึงทราบชาติด้วยสามารถแห่งบทภาชนีย์นี้ว่า ตตฺถ กตมา ชาติ ยา เตสํ
เตสํ สตฺตานํ ตมฺหิ ตมฺหิ สตฺตนิกาเย ชาติ ในทุกขอริยสัจนั้น
ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ... ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ
อันใด ... เป็นต้น. อรรถวรรณนาในนิเทศแห่งชาตินั้น ดังต่อไปนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลุง sss คะ

น่าเอาธรรมะ ทางฝั่งลาว ทั้งพระไตรปิฎก พระสูตร พระอภิธรรม
และ ธรรมะของบรรดาเกจิ ต่างๆ มาลงด้วยเนาะค๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
คุณลุง sss คะ

น่าเอาธรรมะ ทางฝั่งลาว ทั้งพระไตรปิฎก พระสูตร พระอภิธรรม
และ ธรรมะของบรรดาเกจิ ต่างๆ มาลงด้วยเนาะค๊ะ


ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยมีคนเขียนไว้ ยิ่งเดียวนี้ศาสนาพุทธที่ฝั่งลาวก็ไม่
ได้ถือเป็นศาสนาประจำชาติด้วย มองเห็นได้ชัดถึงว่าไม่เห็นความสำคัญ
ของศาสนาเลย

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
โลกสวย เขียน:
คุณลุง sss คะ

น่าเอาธรรมะ ทางฝั่งลาว ทั้งพระไตรปิฎก พระสูตร พระอภิธรรม
และ ธรรมะของบรรดาเกจิ ต่างๆ มาลงด้วยเนาะค๊ะ


ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยมีคนเขียนไว้ ยิ่งเดียวนี้ศาสนาพุทธที่ฝั่งลาวก็ไม่
ได้ถือเป็นศาสนาประจำชาติด้วย มองเห็นได้ชัดถึงว่าไม่เห็นความสำคัญ
ของศาสนาเลย


เท่าที่เคยได้ฟังมาก็มีไม่กี่องค์ เช่นองค์นี้ลองฟังดูนะครับ แต่เป็นของคนไทย์
บรรยาเช่นกัน


https://www.youtube.com/watch?v=xOMDryrYcoM
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ธรรมที่เป็นไวพจน์พระนิพพาน
ความจริง พระนิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระนิพพานนั้น มีชื่อ
เรียกแทนพระนิพพานเป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งชื่อที่เป็นปฏิปักษ์แห่งสังขต-
ธรรมทั้งหมด อย่างไร คือ ชื่อมีอาทิว่า
อเสสโต วิราโค (ความสำรอกโดยไม่เหลือ)
นิโรโธ (ความดับ)
จาโค (ความสละ)
ปฏินิสฺสคฺโค (ความสละคืน)
มุตฺติ (ความพ้น)
อนาลโย (ความไม่มีอาลัย)
ราคกฺขโย (ความสิ้นราคะ)
โทสกฺขโย (ความสิ้นโทสะ)
โมหกฺขโย (ความสิ้นโมหะ)
ตณฺหกฺขโย (ความสิ้นตัณหา)
อนุปฺปาโท (ความไม่เกิดขึ้น)
อปฺปวตฺตํ (ความไม่เป็นไป)
อนิมิตฺตํ (ความไม่มีเครื่องหมาย)
อปฺปณิหิตํ (ความไม่มีที่ตั้ง)
อนายูหนํ (ความไม่พยายาม)
อปฺปฏิสนฺธิ (ความไม่มีปฏิสนธิ)
อปฺปฏิวตฺติ (ความไม่กลับเป็นไป)
อคติ (ความไม่มีคติ)
อชาตํ (ความไม่เกิด)
อชรํ (ความไม่แก่)
อพฺยาธิ (ความไม่เจ็บ)
อมตํ (ความไม่ตาย)
อโสกํ (ความไม่มีโศก)
อปริเทวํ (ความไม่มีปริเทวะ)
อนุปายาสํ (ความไม่มีอุปายาส)
อสํกิลิฏฺฐํ (ความไม่เศร้าหมอง).
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาอันมรรค
ตัดแล้ว แม้อาศัยพระนิพพานแล้วก็ถึงความไม่เป็นไปในวัตถุเป็นที่ตั้งอันใด
ที่พระองค์ทรงแสดงความเกิดของมันไว้ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำว่า สา โข
ปเนสา (ก็ตัณหานี้นั้นแล) เป็นต้น.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยธรรม ๘ โดยลำดับ

ในธรรม ๘ ตามที่แสดงมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ
ก่อนเพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน
เพราะสัมมาทิฏฐินี้พระองค์ตรัสเรียกว่า "ประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา ศัสตรา
คือปัญญา" เป็นต้น ฉะนั้น พระโยคาวจรผู้ทำลายความมืดคืออวิชชา ด้วย
สัมมาทิฏฐิ กล่าวคือวิปัสสนาญาณในกาลเบื้องต้นนี้แล้วฆ่าโจรคือกิเลสอยู่ ย่อม
บรรลุพระนิพพานได้โดยปลอดภัย ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า "พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระ-
โยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน ดังนี้.

อนึ่ง สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับสัมมาทิฏฐินั้น เปรียบเหมือนเหรัญญิก (ผู้ดูเงิน)
ใช้มือพลิกเงินกลับไปมาแล้วตรวจดูกหาปณะด้วยตา ย่อมรู้ว่า กหาปณะนี้เก๊
กหาปณะนี้ดี ฉันใด แม้พระโยคาวจร ก็ฉันนั้น ใช้วิตกตรึกแล้ว ๆ ในกาล
ส่วนเบื้องต้นแล้วตรวจดูอยู่ด้วยวิปัสสนาปัญญา ก็จะทราบได้ว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นกามาพจร ธรรมเหล่านี้เป็นรูปาพจรเป็นต้น ก็หรือว่า เปรียบเหมือนช่าง
ถากใช้มีดถากท่อนไม้ใหญ่ อันบุรุษ จับตรงปลายพลิกกลับไปมาโดยรอบ ให้
แล้ว ย่อมนำไปในการงานได้ ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้น กำหนดธรรม
ทั้งหลายอันวิตกตรึกแล้ว ๆ ให้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาพจร
ธรรมเหล่านั้นเป็นรูปาพจร ด้วยปัญญา ดังนี้แล้ว ย่อมน้อมไปในการงานได้
ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐิ
นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาสังกัปปะในลำดับแห่งสัมมา-
ทิฏฐินั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สัมมาสังกัปปะนี้เป็นธรรมมีอุปการะมากแม้แก่สัมมาวาจา ดุจมี
อุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐิ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนคหบดี บุคคล
ตรึกแล้วตรองแล้วก่อนแล ย่อมเปล่งวาจาภายหลัง" เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับของสัมมาสังกัปปะนั้น.

อนึ่ง เพราะชนทั้งหลายจัดแจงด้วยวาจาก่อนว่า "พวกเราจะทำสิ่ง
นี้ ๆ" แล้วจึงประกอบการงานในโลก ฉะนั้น วาจา จึงเป็นธรรมมีอุปการะ
แก่กายกรรม เพราะเหตุนั้น จึงตรัสสัมมากัมมันตะในลำดับแห่งสัมมาวาจา.

อนึ่ง เพราะอาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘) ย่อมเต็มแก่บุคคล
ผู้ละวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓ ยังสุจริตทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์นั่นแหละ มิใช่เต็มแก่
บุคคลนอกจากนี้ ฉะนั้น จึงตรัสสัมมาอาชีวะในลำดับสุจริตทั้ง ๒ นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงว่า "บุคคลผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์
แล้วอย่างนี้ ไม่สมควรจะพอใจเพียงเท่านี้ว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้ว เป็น
คนประมาทดังคนหลับ โดยที่แท้ ควรเริ่มความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ ดังนี้
จึงตรัสสัมมาวายามะในลำดับสัมมาอาชีวะนั้น.

ต่อจากนั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า พระโยคาวจรแม้มีความเพียรเริ่มแล้ว
ก็พึงทำสติให้ตั้งมั่นอย่างดีในวัตถุ ๔ มีกาย* เป็นต้น" ดังนี้ จึงทรงแสดงสัมมา-
สติในลำดับแห่งสัมมาวายามะนั้น.
อนึ่ง เพราะสติตั้งมั่นดีอย่างนี้แล้วก็จะตรวจดูคติทั้งหลายแห่งธรรม
ทั้งหลาย ที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะของสมาธิ จึงเพียงพอเพื่อตั้งจิตมั่นใน
อารมณ์มีความเป็นหนึ่งได้ ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
สัมมาสมาธิไว้ในลำดับแห่งสัมมาสติ ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ (บาลีข้อ ๑๖๓)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ ต่อไป
กรรมฐานในสัจจะ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยพระดำรัสมี
อาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ (ความรู้ในทุกข์) ดังนี้. บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น
สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ สัจจะ ๒ หลังเป็นวิวัฏฏะ ในสัจจะที่เป็นวัฏฏะและ
วิวัฏฏะเหล่านั้น ภิกษุย่อมมีความยึดมั่นกรรมฐานในสัจจะที่เป็นวัฏฏะ ไม่มี
ความยึดมั่นในสัจจะที่เป็นวิวัฏฏะ.

จริงอยู่ พระโยคาวจรเรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยย่อ
อย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย ดังนี้ และโดยพิสดารมีนัย
อาทิว่า "ขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือรูปขันธ์" ดังนี้ แล้วทบทวนด้วยวาจาอยู่บ่อย ๆ
ย่อมทำกรรม. แต่ในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจรย่อมทำกรรมด้วยการฟัง
# * คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

อย่างนี้ว่า "นิโรธสัจจะน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มรรคสัจจะน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ" ดังนี้ เมื่อเธอทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง
๔ ด้วยการแทงตลอดคราวเดียวกัน ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้คราวเดียวกัน คือ
แทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดคือการกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ย่อมแทง

ตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอด คือการละ (ปหานกิจ) ย่อมแทงตลอดนิโรธ
ด้วยการแทงตลอดคือการทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) ย่อมแทงตลอดมรรคด้วย
การแทงตลอดคือการเจริญ ย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้คือการกำหนดรู้ ฯลฯ
ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้คือการเจริญ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
การแทงตลอด (ปฏิเวธ) ด้วยการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรง
จำ และการพิจารณาในสัจจะ ๒ ในส่วนเบื้องต้นของภิกษุนั้น ย่อมมีด้วยประการ
ฉะนี้ ในสัจจะ ๒ หลัง มีการแทงตลอดได้ด้วยการฟังอย่างเดียว. ในการส่วน
อื่นอีก ย่อมมีการแทงตลอดในสัจจะ ๓ โดยกิจ การแทงตลอดด้วยอารมณ์ ย่อม
มีในนิโรธ ในการแทงตลอดโดยกิจและอารมณ์เหล่านั้น ความรู้ด้วยปฏิเวธะ

(ปฏิเวธญาณ) แม้ทั้งหมดเป็นโลกุตระ ความรู้ด้วยการฟัง การทรงจำ และการ
พิจารณาเป็นโลกิยะฝ่ายกามาพจร ก็มรรคสัจจะย่อมมีปัจจเวกขณะ และพระ-
โยคาวจรนี้ก็เป็นอาทิกัมมิกบุคคล เพราะฉะนั้น ปัจจเวกขณะ (คือการพิจารณา)
นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าวไว้ในที่นี้.

อนึ่ง การผูกใจ การใส่ใจ การมนสิการ และการพิจารณา ย่อม
ไม่มีแก่ภิกษุนี้ ผู้ถือเอาในเบื้องต้นว่า "เราจะกำหนดรู้ทุกข์ จะละสมุทัย จะ
ทำนิโรธให้แจ้ง จะเจริญมรรค" แต่ย่อมมีจำเดิมแต่การกำหนดถือเอา ส่วน
ในกาลอื่นอีก ทุกข์ย่อมเป็นอันเธอรู้แล้วโดยแท้ ฯลฯ มรรคก็ย่อมเป็นอันเธอ
เจริญแล้วเหมือนกัน.

บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สองสัจจะเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะสัตว์เห็น
ได้ยาก สัจจะ ๒ ที่ ชื่อว่า เห็นได้โดยยาก เพราะลึกซึ้ง จริงอยู่ ทุกขสัจจะเป็น
ของปรากฏเพราะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงแม้คำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ทุกข์หนอ ใน
เวลาที่ถูกตอ หรือหนามทิ่มแทงเป็นต้น. ถึงสมุทัยก็ปรากฏโดยการเกิดขึ้น ด้วย
อำนาจแห่งบุคคลผู้ประสงค์จะเคี้ยวจะบริโภค ก็สัจจะทั้ง ๒ แม้นั้นเป็นของลึก

โดยการแทงตลอดลักษณะ ก็สัจจะ ๒ เหล่านั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะสัตว์เห็น
ได้ยาก ด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อจะเห็นสัจจะ ๒ นอกนี้
(นิโรธ มรรค) ย ่อมดุจการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัครพรหม ดุจการเหยียด
เท้าเพื่อถูกต้องอเวจีนรก และเป็นดุจเอาปลายขนทรายจดปลายขนทรายที่แบ่ง

แล้วร้อยส่วน *สัจจะ ๒ เหล่านั้น ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ด้วยประการ
ฉะนี้. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺเข ญาณํ นี้ ทรงหมายเอาความเกิด
ขึ้นแห่งญาณในบุพภาค ด้วยสามารถแห่งการเรียนเป็นต้นในสัจจะ ๔ ที่ชื่อว่า
ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะความลึกซึ้ง ด้วยประการ
ฉะนี้ แต่ในขณะแห่งการแทงตลอด ญาณนั้นย่อมมีครั้งเดียวกันแล.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ (บาลีข้อ ๑๖๔)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ ต่อไป.
สังกัปปะ (ความดำริ) ใด ออกจากกาม เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น
จึงชื่อว่า เนกขัมมสงกัปปะ (ความดำริในการออกจากกาม). สังกัปปะใด

ออกจากพยาบาท เพราะเหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปปะ
# * บางแห่งแสดงว่า เอาปลายขนทรายยินปลายขนทรายที่แบ่งแล้ว ๗ ส่วน.
(ความดำริในการไม่พยาบาท). สังกัปปะใดออกจากความเบียดเบียน เพราะ
เหตุนั้น สังกัปปะนั้น จึงชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในการไม่
เบียดเบียน).

บรรดาสังกัปปะทั้ง ๓ เหล่านั้น เนกขัมมวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง
คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของกามวิตก อัพยาบาทวิตกเกิดขึ้นทำการตัดทาง
คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นทำการ
ตัดทาง คือทำลายทางเป็นเครื่องดำเนินของวิหิงสาวิตก. อนึ่ง เนกขัมมวิตก
เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก อัพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นเป็นข้าศึก
ต่อพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.

ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจรย่อมพิจารณากามวิตก ก็หรือสังขาร
ไร ๆ อื่น เพื่อทำลายทางของกามวิตก ต่อจากนั้น ความดำริของเธอซึ่ง
สัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลาย
ทางของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนานั้น (ตทังคปหาน) เธอ

ขวนขวายวิปัสสนาก็จะบรรลุมรรคได้ ลำดับนั้น สังกัปปะ (ความดำริ) ซึ่ง
สัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของเธอก็จะเกิดขึ้นทำการตัดทาง คือทำลาย
เครื่องดำเนินของกามวิตก ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉท. อนึ่ง พระโยคาวจรย่อม
พิจารณาพยาบาทวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของพยาบาทวิตก หรือ

ย่อมพิจารณาวิหิงสาวิตก หรือสังขารอื่น เพื่อทำลายทางของวิหิงสาวิตก ต่อ
จากนั้น พึงประกอบคำทั้งปวงในขณะแห่งวิปัสสนาของเธอ โดยนัยมีในก่อน
นั่นแล.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กรรมฐานที่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓
อนึ่ง ในอารมณ์กรรมฐาน ๓๘ ที่ทรงจำแนกไว้ในพระบาลี แม้กรรม
ฐานหนึ่ง ชื่อว่า ไม่เป็นข้าศึกต่ออกุศลวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น หามีไม่.
ก็ปฐมฌานในอสุภะทั้งหลายทั้งหมดทีเดียว เป็นข้าศึกต่อกามวิตกโดยส่วนเดียว

ก่อน ฌานหมวด ๓ หมวด ๔ (ปัญจกนัย) ในเมตตาภาวนาเป็นปฏิปักษ์ต่อ
พยาบาทวิตก ฌานหมวด ๓ และหมวด ๔ ในกรุณาเป็นปฏิปักษ์ต่อวิหิงสา-
ิวิตก เพราะฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรกระทำบริกรรมในอสุภะเข้าฌานสังกัป-
ปะ (ความดำริ) ที่สัมปยุตด้วยฌานในขณะแห่งสมาบัติก็จะเกิดเป็นข้าศึกต่อ
กามวิตก ด้วยสามารถแห่งวิกขัมภนะ เมื่อพระโยคาวจรทำฌานให้เป็นบาท
เริ่มตั้งวิปัสสนา สังกัปปะอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาในขณะแห่งวิปัสสนาก็ย่อม

เกิดเป็นข้าศึกต่อกามวิตกด้วยสามารถแห่งองค์ของวิปัสสนา (ตทังคปหาน) นั้น
เมื่อเธอขวนขวายวิปัสสนาบรรลุมรรคแล้ว สังกัปปะที่สัมปยุตด้วยมรรคใน
ขณะแห่งมรรคก็เกิดขึ้นเป็นข้าศึกต่อกามวิตก ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทปหาน
สังกัปปะ (ความดำริ) อันเกิดขึ้นอย่างนี้ พึงทราบว่า ตรัสเรียกว่า เนกขัมม-
สังกัปปะแล.

อนึ่ง บัณฑิตพึงประกอบคำทั้งปวงว่า "พระโยคาวจรทำบริกรรมใน
เมตตาภาวนา ทำบริกรรมในกรุณาภาวนาเข้าฌาน" เป็นต้น โดยนัยก่อน
นั่นแหละ พึงทราบว่า สังกัปปะอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ตรัสเรียกว่า อัพยาปาท-
สังกัปปะ และอวิหิงสาสังกัปปะ สังกัปปะเหล่านี้มีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้นด้วย

อาการอย่างนี้ ชื่อว่า มีอารมณ์ต่าง ๆ ในส่วนเบื้องต้น เพราะความที่สังกัปปะ
เหล่านั้นเกิดขึ้นมีอารมณ์ต่างกันด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาและฌาน แต่ในขณะ
แห่งมรรค กุศลสังกัปปะ (ความดำริที่เป็นกุศล) ย่อมเกิดขึ้นเป็นอันเดียวกัน
ทำองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์ เพราะตัดทางดำเนินแห่งอกุศลสังกัปปะที่เกิดขึ้น
ในฐานะ ๓ เหล่านี้ ด้วยสามารถแห่งการไม่เกิดขึ้นได้สำเร็จ.
นี้ ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร