วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2018, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก

viewtopic.php?f=1&t=56749&p=429521#p429521


เทวทหสูตร

๑.ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์

๒.ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม

๓.แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่หมกมุ่นสยบ

๔. เพียรทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป (โดยนัยว่า เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่สูงขึ้นไปจนสูงสุด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 พ.ย. 2018, 09:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2018, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนุ่มแชร์ประสบการณ์ เฉียดตาย สูบบุหรี่วันละ 3 ซอง กินแต่น้ำอัดลม จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด

แชร์ประสบการของตัวเอง หลังสูบบุหรี่จัดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด โดยระบุว่า ตัวเองเป็นคนไม่ค่อยมีระเบียบในการใช้ชีวิต วันหนึ่งนอนแค่ 3-4 ชั่วโมง กินอาหารไม่ตรงเวลา มื้อเช้ากินเที่ยง มื้อเที่ยงกินเย็น มื้อเย็นกินก่อนนอน โดยจะนอนช่วงตี 4-5 ตื่นประมาณ 8-9 โมงเช้า พอตื่นมาก็จะดื่มน้ำอัดลมแก้วใหญ่ สูบบุหรี่ 6-7 มวล เพื่อกระตุ้นตัวเอง แล้วนั่งเช็กโทรศัพท์เกี่ยวกับเรื่องงาน จากนั้นก็ไปอาบน้ำ พออาบน้ำเสร็จก็จะดื่มน้ำอัดสมอีกแก้วใหญ่ สูบบุหรี่อีก 3-4 มวล ก่อนจะออกจากบ้าน

ระหว่างเดินทางก็จะเอาน้ำอัดลมติดไปด้วย จอดที่ไหนก็จะสูบบุหรี่ตลอดไม่งั้นไม่มีแรงเดิน ก่อนกินข้าวมื้อแรกก็สูบ หลังกินข้าวก็สูบ ยิ่งเวลาทำงานถ้าไม่มีน้ำอัดลมและบุหรี่จะคิดอะไรไม่ออก และจะมีติดมืออยู่ตลอดเวลา รวมๆ วันหนึ่งจะสูบบุหรี่ประมาณ 60-70 มวล หรือกว่า 3 ซองต่อวัน เรียกได้ว่ามวลต่อมวล

แล้ววันนั้นก็มาถึง หลังเลิกงานกลับห้องก่อนนอนก็จะนั่งดื่มน้ำอัดลม และสูบบุหรี่ 4-5 มวลตามปกติ แล้วเริ่มมีอาการสั่น ก็คิดว่าเดี๋ยวก็หาย แต่ผ่านไปกว่า 1 ชั่วโมงก็ยังไม่หาย ใจเริ่มสั่น เหงื่อออกทั้งตัว จึงรีบไปหาหมอ
พอหมอถามอะไรก็ฟังไม่รู้เรื่อง มันสั่นไปหมด หายใจไม่ออก พอเช็คความดันก็พบว่าอยู่ที่ 180/130 ซึ่งขึ้นสูงจนหมอตกใจ ผ่านไป 2 ชั่วโมง ก็กลับมาอยู่ที่ 140/110 เช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ปกติ หมอจึงให้กลับบ้าน

หลังกลับมานอนตื่นเช้าสูบบุหรี่ไป 2 มวล อาการก็กลับมาอีก คราวนี้หนักกว่าเดิม จึงรีบไปโรงพยาบาลและนอนให้น้ำเกลือ 2 ชั่วโมง ก่อนกลับบ้าน แล้วมาสูบบุหรี่แค่ 2 มวล อาการก็กลับมาอีก เช้าวันต่อมาก็รีบขับรถกลับไปขอนแก่นเพื่อไปโรงพยาบาลตรวจร่างกายอย่างละเอียด ระหว่างทางแวะเข้าห้องน้ำ จู่ๆ หูก็ไม่ได้ยินเสียงอะไร ซักพักเสียงก็กลับมาปกติ

พอถึงขอนแก่นหมอจับแอดมิท ตรวจอาการเจอเลือดข้นมากถึง 56 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกิน 55 เปอร์เซ็นต์จะต้องถ่ายเลือด แต่หัวใจของเจ้าตัวอ่อนแอ ไม่มีแรงบีบ จึงไม่สามารถถ่ายเลือดได้ สาเหตุเกิดจากการไม่ดื่มน้ำเปล่า เพราะดื่มน้ำอัดลมติดต่อกันมานาน

หลังรู้สาเหตุก็เริ่มการรักษา โดนงดของทอด หวาน มัน เค็ม อาหารทะเล รวมถึงน้ำอัดลมและบุหรี่ ทำให้เริ่มไม่มีแรง หมอให้ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง เจ้าตัวออกไปแค่ 5 นาทีในตอนเย็น แต่กลับมีอาการเหนื่อยจนถึง 4 ทุ่ม ขาสั่น ใจสั่นไปหมด หลังจากนั้นเจ้าตัวก็เริ่มปรับตัว คุมอาหาร ออกกำลังกาย จนผ่านไป 1 ปี จนร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะใกล้จะปกติ สุดท้ายเจ้าตัวบอกว่า โชคดีมากที่ยังมีโอกาสได้ใช้ชีวิตต่อไป พร้อมกับชวนให้หันมาดูแลสุขภาพ

ข่าวสด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2018, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เต็มๆ

ทั้งทุกข์และสุข ปฏิบัติให้ถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี

เมื่อเริ่มออกเดินทาง จับเรื่องได้ จับจุดถูก ได้หลักใหญ่ ดังที่ว่าแล้ว ต่อจากนั้น ในระหว่างทาง หรือตลอดทาง ก็มีหลักย่อยในการปฏิบัติต่อความสุข และความทุกข์ไว้ช่วยอีก เป็นข้อสำคัญที่เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติโดยตรง และพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้เองด้วยเช่นเดียวกัน นั่นคือ วิธีปฏิบัติต่อความสุข ซึ่งก็รวมวิธีปฏิบัติต่อความทุกข์ไว้ด้วยในตัว

วิธีปฏิบัติต่อความสุขนี้ ขอว่าไปตามพุทธพจน์ที่แสดงไว้ ในพระสูตรชื่อว่าเทวทหสูตร มี ๔ ข้อง่ายๆ คือ

๑. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์

๒. ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม

๓. แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่หมกมุ่นสยบ

๔. เพียรทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป (โดยนัยว่า เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่สูงขึ้นไปจนสูงสุด)



ในข้อ ๑ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์ จะเห็นว่า คนเรานี้ชอบเอาทุกข์มาทับถมตน คือ ตัวเองอยู่ดีๆ ไม่ได้เป็นทุกข์อะไร แต่ชอบหาทุกข์มาใส่ตัว ตัวอย่างง่ายๆ ได้แก่ คนกินเหล้าเมายา เสพยาเสพติด ตัวเองก็อยู่สบายๆ กลับไปเอาสิ่งเหล่านั้นที่รู้กันอยู่ชัดๆว่ามีโทษมาก ตั้งแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ทั้งที่รู้อย่างนี้ ก็เอามาใส่ตัวเองให้เกิดทุกข์เกิดปัญหาขึ้นมา


ลึกเข้าไป ทางจิตใจ บางคนก็เที่ยวเก็บอารมณ์อะไรต่างๆ ที่กระทบกระทั่งนิดๆหน่อยๆทาง ตา บ้าง ทาง หู บ้าง ได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ได้เห็นคนนั้นคนนี้ เขาทำอันนั้นอันนี้ ได้ยินเขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ก็รับเข้ามาเก็บเอาไว้เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ผ่านไปแล้ว แต่พอมีเวลาไปนั่งเงียบๆ ก็ยกเอามาคิด เอามาปรุงแต่งในใจ ทำให้ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่สบายใจ ก็กลายเป็นทุกข์ อย่างนี้ ก็เป็นการเอาทุกข์มาทับถมตนอย่างหนึ่ง

ทางพระก็สอนว่า ผู้ที่ยังอยู่กับชีวิตในระดับชาวบ้านนั้น ถ้าจะปรุงแต่งก็ไม่ว่า แต่ขอให้ปรุงแต่งในทางดี อย่าไปปรุงแต่งไม่ดี ถ้าปรุงแต่งไม่ดี ท่านเรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ ปรุงแต่งเรื่องร้ายๆ เรื่องบาปอกุศล เป็นเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ ก็กลายเป็นปรุงแต่งทุกข์


ท่านให้เปลี่ยนใหม่ ให้มีสติมากั้นมายั้ง ด้านที่ไม่ดี ให้หยุดไปเลย แล้วก็ปรุงแต่งดีๆ ให้เป็นปุญญาภิสังขาร ให้เป็นเรื่องบุญเรื่องกุศล ปรุงแต่งจิตใจในทางที่ดี อย่างน้อยให้มีปราโมทย์ ต่อไปปีติ ปัสสัทธิ เข้าทางดีไปเรื่อยๆ อย่างนี้ก็จะแก้ปัญหาได้ และเดินหน้าไปในทางของความสุข

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าตรัสถึงพวกนิครนถ์ที่บำเพ็ญตบะ คนพวกนี้เอาทุกข์มาทับถมตนชัดๆ เวลาโกนผม ก็ไม่ใช้วิธีโกน แต่เอาแหนบมาถอนผมทีละเส้นๆ จนหมดศีรษะ พวกนักบำเพ็ญตบะนั้น คิดวิธีขึ้นมาทำกันต่างๆ แม้แต่เตียงที่ดีๆ จะทรมานตัวเอง ก็เอาตะปูไปตอกๆ แล้วก็นอนบนตะปู หรือนอนบนหนามแล้วก็อดข้าวอดน้ำ เวลาหนาวก็ไปยืนแช่ตัวในแม่น้ำ เวลาร้อนก็มายืนตากแดด อย่างนี้เป็นต้น

การบำเพ็ญตบะเหล่านี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นการเอาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่ได้เป็นทุกข์ ก็นำมาเล่าไว้เป็นการยกอดีตมาให้ฟัง เพื่อจะได้เทียบเคียงสำหรับยุคปัจจุบัน ก็ขอนึกตัวอย่างเอาเอง ตามหลักที่ว่า ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่ได้เป็นทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 17 พ.ย. 2018, 09:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2018, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในข้อ ๒ ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม ความสุขที่ชอบธรรม ก็มีทั่วๆไป อย่างชาวบ้านที่ประกอบการงานอาชีพสุจริต ได้เงินทองมา ก็ใช้จ่ายบริโภค เลี้ยงดูครอบครัว และผู้คนที่ตนรับผิดชอบ ตามหลักความสุขของชาวบ้าน (คิหิสุข) ๔ อย่าง ว่าสุขจากการมีทรัพย์ สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ สุขจากความไม่เป็นหนี้ และสุขจากประกอบกรรมดีงามอันปราศจากโทษ จากการทำกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สุจริต ความสุขที่ไม่มีการเบียดเบียนใคร เป็นต้น ถ้าเป็นสุขที่ชอบธรรมอย่างนี้ ท่านไม่ให้ละเลยทอดทิ้ง

ความสุขที่ชอบธรรมมีนานัปการ พูดตามหลักโน้น ตามหลักนี้ ได้มากมาย อย่างที่ผ่านมาแล้ว ก็มีสุขได้ทั้งนั้น จะเอาสุขจากทาน ศีล ภาวนา ก็ได้ ซึ่งสูงขึ้นไปถึงสุขในการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา หรือจะเอาสุขจากชุดเมตตา หรือชุดสังคหวัตถุ ฯลฯ ได้ทั้งนั้น คงไม่ต้องอธิบายอีก

รวมความก็คือ สุขที่ชอบธรรมเหล่านี้ ไม่ต้องไปรังเกียจ ไม่ต้องไปละทิ้ง (พวกลัทธิบำเพ็ญตบะ เขามุ่งทรมานตน เขาจึงหลีกเลี่ยงความสุข)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2018, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปข้อที่ ๓ แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้น ก็ไม่หมกมุ่น ไม่สยบ ข้อนี้สำคัญมาก เป็นการพัฒนาก้าวหน้าไปไกล เพราะว่า เมื่อประสบความสุขที่ชอบธรรม เราไม่ละทิ้ง เรามีความสุขอย่างนั้นได้ นั่นก็ดีอย่างยิ่งแล้ว แต่คนก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมากับความสุขนั้นได้อีก นั่นก็คือ เกิดความติด ความหลงเพลิน หมกมุ่น ที่จะทำให้ขี้เกียจ ทำให้ประมาท แล้วก็ทำให้เสื่อมได้ ใครผ่านจุดนี้ไปได้ ก็จะเป็นผู้ที่ได้พัฒนาในขั้นที่สำคัญ

พูดรวบรัดว่า แม้ในสุขที่ชอบธรรม ก็ไม่สยบ ไม่หลงติด ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องในขั้นนี้ ก็จะเป็นการพัฒนาที่สำคัญ คือ ความสุขไม่อาจครอบงำเราได้

หนึ่ง ไม่ทำให้เราตกลงไปในความประมาท ความสุขไม่กลายเป็นโทษ

สอง ไม่ทำให้เราสูญเสียอิสรภาพ เราไม่ตกเป็นทาสของความสุข ยังคงเป็นอิสระอยู่ได้

สาม เปิดโอกาสให้การพัฒนาความสุขเดินหน้าก้าวต่อสูงขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2018, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกกระทู้อีกเรื่องหนึ่ง

รูปภาพ


พ.อ.นพ.พิชัย แสงชาญชัย โครงการวิจัยฯ ศูนย์จิตเวชศาสตร์การเสพติด กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้อธิบายถึงการกินยาดังกล่าวว่า ผู้ที่ติดสุราเป็นเวลานาน เมื่อหยุดกินเหล้าทันทีมักจะมีอาการถอนสุรา ซึ่งจะมีอาการต่างๆ

เช่น นอนไม่หลับ อาเจียน คลื่นไส้ ใจสั่น หรือ ชักได้ โดยจะมีอาการอยู่ราว 3-4 วัน วันที่ 2 ของการเลิกจะหนักที่สุด โดยพบว่า คนที่ติดเหล้าเป็นเวลานานและอายุมากขึ้น มักจะมีโรคแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันด้วย

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1822392

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2018, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุดท้าย ข้อ ๔ เพียรกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป เป็นขั้นจะไปให้ถึงความสุขที่สมบูรณ์เด็ดขาด หมายความว่า ตราบใด เหตุแห่งทุกข์ยังมีอยู่ ยังเหลืออยู่ ทุกข์ยังมีเชื้ออยู่ ก็ยังไม่จบสิ้น ทุกข์ก็ยังเกิดขึ้นอีกได้ ยังมีทุกข์แฝงอยู่ ก็เป็นความสุขที่ยังไม่สมบูรณ์ จึงต้องกำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป

จากข้อนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจว่า ทำไมท่านจึงใช้คำว่า ดับทุกข์ เพราะเป็นคำที่ชี้ชัด และเด็ดขาด

ถ้าบอกว่าพัฒนาความสุข นั่นก็ดี ก็พัฒนาก้าวหน้าไป แต่อย่างที่บอกแล้ว คือเป็นแบบปลายเปิด ไม่รู้จุดหมายที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ชัดลงไป

ในช่วงต้น บอกผ่านมาทั้งเชิงลบเชิงบวกแล้ว ในที่สุด จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก็ต้องปิดรายการด้วยคำเชิงลบ ให้เด็ดขาดว่า ทุกข์ไม่เหลือแล้ว มีแต่สุขอย่างเดียว เต็มเปี่ยม สมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม คำว่า “เพียรกำจัด...” ก็บอกอยู่ในตัวว่า การกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น ก้าวไปกับความเพียร เหตุแห่งทุกข์มิใช่ว่าจะต้องหมดปุ๊บปั๊บ เช่น ทำให้ โลภะ โทสะ โมหะ ลดน้อยลงไป ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เบาบางลงไป ซึ่งก็จะดำเนินไปด้วยการปฏิบัติตามมรรค มีการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา บรรเทากิเลสทั้งหลาย ลดอวิชชาลงไป เมื่อพูดเชิงสัมพัทธ์ นี่ก็คือการทำความสุขให้เพิ่มขึ้นมาๆ

เพราะฉะนั้น ข้อ ๔ นี้ พูดอีกสำนวนหนึ่ง ก็คือการพัฒนาความสุขนั่นเอง แต่เพื่อให้ชัดเจน ก็บอกกำกับไว้ด้วยว่า พัฒนาจนสูงสุด หรือจนสมบูรณ์ จึงได้ใส่ในวงเล็บไว้ด้วยว่า “โดยนัยว่า เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่สูงขึ้นไปจนสูงสุด” ก็คือ พัฒนาจนถึงความสุขที่สมบูรณ์ ที่เป็นบรมสุขนั่นเอง

ทั้งนี้ จะทำให้สำเร็จอย่างนั้นได้ ก็ต้องรับกันกับข้อ ๓ ที่ว่า ในสุขที่ชอบธรรม ก็ไม่หมกมุ่นสยบ ไม่มัวติดเพลิน แล้วประมาท จม หยุด ปล่อยตัวอยู่แค่นั้น หรือเถลไถลออกไป พอข้อ ๔ เปิดโอกาสให้ ความเพียรก็พาขึ้นมาข้อ ๔ ต่อไป เป็นอันจบกระบวน

นี่ก็คือวิธีปฏิบัติต่อความสุข ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรก กท.อีกเรื่องหนึ่ง :b24:

รูปภาพ


https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1824158

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2018, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ เรื่องการปฏิบัติต่อความสุขนี้ อาจนำมาพูดง่ายๆ โดยจับเอาจุดที่เด่นในการใช้ประโยชน์ของเรา ซึ่งอาจจะเรียกว่าจุดเน้นในการปฏิบัติ เป็น ๓ อย่าง คือ

หนึ่ง ไม่ประมาท ข้อนี้สำหรับคนทั่วไป รีบยกขึ้นมาเป็นหลักจำ เพื่อเตือนใจให้มีสติไว้แต่ต้น เพราะความสุขนี้ชวนให้เพลิดเพลิน หลงใหล แล้วก็ผัดเพี้ยน เฉื่อยชา เกียจคร้าน ประมาท อย่างที่ว่าแล้ว จึงต้องระวังไม่ให้เกิดความประมาท

ดูสิ คนสำคัญ วงศ์ตระกูล สังคม ประเทศชาติ จนถึงอารยธรรมใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จรุ่งเรืองขึ้นมาแทบทุกราย พอเจริญงอกงามถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็มักลุ่มหลง มัวเมา แล้วก็จะถึงจุดจบล่มสลายพินาศหายไป เรื่องราวมากมายในประวัติศาสตร์บอกให้เรารู้เท่าทันไว้อย่างนี้

ในครอบครัวนี่แหละสำคัญนัก คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ประมาท แม้แต่เมตตาที่แสนดี พอมีมากเกินไป ดีแต่เอาอกเอาใจ ได้แต่โอ๋ บำรุงบำเรอลูกเป็นการใหญ่ จนมากเกินไป ไม่รู้จักเอาอุเบกขาเข้ามาดุล ไปๆมาๆ ลูกกลายเป็นอ่อนแอ ประมาท ไม่พัฒนา เผชิญชีวิตไม่ได้ ไปแต่ในทางหลงมัวเมา แล้วครอบครัวก็เสื่อมลง วงศ์ตระกูลเสียหาย

ถึงแม้แต่ละคนก็เหมือนกัน ตอนแรกมีความเพียรพยายามสร้างเสร้างเนื้อสร้างตัวมาอย่างดี แต่พอมั่งคั่งเปรมปรีดิ์มีสุขเต็มที่ ทีนี้ ก็หลงมัวเมา ประมาท แล้วก็ตกลงไปในทางแห่งความเสื่อม

เป็นอันว่า หนึ่ง ในความสุขนั้น ระวังไว้ อย่าประมาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สอง ใช้เป็นโอกาส เมื่อกี้บอกแล้วว่า ยามมีทุกข์ เราถูกบีบคั้น อึดอัด ขัดข้อง จะทำอะไรก็ยากไปหมด ต้องใช้ความเพียรมาก แต่นั่นก็ดีไปอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อมันติดขัด มันยาก เราก็ยิ่งเพียรพยายามมาก เราก็เลยได้เรียนรู้ ได้ฝึก ได้หัด ได้พัฒนาตนมาก พอทำให้เหมาะ กลายเป็นเจริญงอกงาม มีความสำเร็จกันใหญ่


ทีนี้ ความสุขล่ะ ดีอย่างไร สุขนั้น ชื่อบอกอยู่แล้ว คือแปล ว่าคล่อง ว่าสะดวก ว่าง่าย นี่ก็ดีไปอีกแง่หนึ่ง คือ เมื่อมันสะดวก มันคล่อง มันง่าย จะทำอะไร หรือมีอะไรจะต้องทำ ก็รีบทำเสีย นี่ละคือ เมื่อความสุขมา ก็ใช้มันเป็นโอกาส

เพราะฉะนั้น พอมีความสุขขึ้นมา ก็ต้องรีบใช้เป็นโอกาส มันคล่องมันสะดวกมันง่าย จะทำอะไรก็ทำ แทนที่จะถูกสุขล่อไปตกหลุมแห่งความลุ่มหลงให้มัวเมาเพลินผัดเพี้ยนประมาท เรามีปัญญาเข้มแข็งไปในทางตรงข้าม กลับใช้ความสุขเป็นโอกาส ขวนขวายจัด เร่งรัดทำ ทีนี้ก็ดีกันใหญ่ ยิ่งเจริญงอกงามพัฒนายิ่งขึ้นไป

ถ้าเป็นคนที่พัฒนาอย่างนี้ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์มา ก็เอาประโยชน์ได้ทั้งนั้น และที่ชื่อว่านักปฏิบัติธรรมก็คือต้องทำได้อย่างนี้ โดยรู้จักใช้โยนิโสมนสิการ คือ คิดเป็น คิดแยบคาย ไม่ว่าดีว่าร้ายมา มองเห็นประโยชน์ได้หมด

อ๋อ สุขมาแล้ว เออ ดี คราวนี้คล่อง สบาย ง่าย สะดวก โอกาสให้ ฉันทำเต็มที่

อ๋อ ทุกข์มาหรือ เอ้อ ดี มันยาก จะได้เพียรกันใหญ่ เข้ามาเถอะ ฉันสู้เต็มที่

คติของนักฝึกตนบอกว่า “ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก” เป็นจริงได้อย่างไร ฝากให้ไปคิดกันดู

ข้อหนึ่ง ว่า ไม่ประมาท ข้อสอง ว่า ใช้เป็นโอกาส ก็รับช่วงต่อกันไป ไม่ว่าในสุขในทุกข์ เราเอาประโยชน์ได้ จึงดีทั้งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาม ไม่พึ่งพา อิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญ เป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา คนจะมีอิสรภาพแท้จริงได้ ต้องมีอิสรภาพของจิตใจเป็นฐาน และความเป็น อิสรภาพของจิตใจนั้น ก็เด่นขึ้นมาที่ความเป็นอิสระจากความสุข

ความเป็นอิสระจากความสุขนี้ ก็เหมือนต่อขึ้นมาจากข้อแรกที่ว่า ไม่ประมาท คือ ไม่ถูกความสุขครอบงำ ทำให้หลง มัวเมา แล้วตกไปในความประมาท ขั้นนั้นอยู่แค่ด้านลบ ข้อนี้ พ้นไปได้เลย ไม่ต้องพึ่งพา

คนที่พัฒนาดี เป็นคนที่สามารถมีความสุข แต่ก็สามารถมีอิสระ ไม่ติด ไม่ต้องพึ่งพา ไม่ขึ้นต่อความสุขนั้น คนที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว ทั้งมีความสุขที่ไม่พึ่งพา และไม่ต้องพึ่งพาความสุขนั้นด้วย

เมื่อเป็นอิสระ ยังรักษาอิสรภาพไว้ได้ จึงจะสามารถก้าวหน้าพัฒนาต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สี่ พัฒนาต่อไป ก็คือ บอกหรือเตือนว่า ยังต้องไปต่อ ข้างหน้า หรือสูงขึ้นไป ยังมีอีก

เป็นอันว่า รับกัน สอดคล้องกันหมด ตั้งแต่ไม่ประมาท จนถึงไม่พึ่งพา แล้วก็คือมาพัฒนาสู่ความสุขที่สูงขึ้นไป ให้กำจัดเหตุแห่งทุกข์ได้จนหมดสิ้น

ทั้งมีความสุขอยู่ และพัฒนาอย่างมีความสุข แล้วก็พัฒนาสู่ความสุขที่สูงขึ้นไปอีก จนถึงความสุขที่สูงสุด เป็นกระบวนการของความสุขทั้งหมด มีแต่ความสุขตลอดกระบวนการพัฒนาความสุขนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2018, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน จากพุทธธรรมหน้า ๑๑๐๕


นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.

ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี
ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี สุขอื่นเสมอด้วยความสงบ ย่อมไม่มี.

ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.


ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
บัณฑิตทราบเนื้อความนั่นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมกระทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2018, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อหัวข้อ

ความสุขที่พึงเน้น สำหรับคนทั่วไป เริ่มตั้งแต่ในบ้าน ที่

viewtopic.php?f=1&t=56750

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุกตรวจผับดังฝั่งธนฯ เจอยาบ้า-ยาเคเกลื่อน นักเที่ยวฉี่ม่วงอีกเพียบ

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 68 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron