วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 11:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2018, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ไม่ทันจะคิดดับๆ ก็เลยโค่นล้มความดีประกาศไม่ให้ใส่บาตร ให้ไม่เป็น ทั้งอภัย เมตตา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ทำดีไม่ได้ทุกเรื่อง ก็จะได้รับแต่เรื่องร้าย ดิ้นรน เดือดร้อน ทั้งกาย ใจ รู้ทันจะคิดดับๆ ก็ทำดีให้ได้ทุกอย่าง ก็จะสุข สวย รวย ดี ไม่พบเรื่องร้าย สบายทุกเรื่อง 


พระบิณฑบาต 2 ชั่วโมง ยังไม่มีใครใส่บาตรแสดงว่าทำดีกันไม่เป็น บางคนขับรถเก๋งมาจอดเห็นพระยังไม่คิดที่จะให้ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ใกล้จัะหมดสิทธิ์หายใจ ต้องเอาผ้าอนามัยกรองอากาศ ก็เป็นนิมิตให้เห็นว่าจะเจอแต่เรื่องร้ายๆ


จากสายสืบนิสัยศาสตร์ 


สืบนิสัยคนมา 30 กว่าปี ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ เจ้าหน้าที่เล่นงานพระโค่นล้มความดีตลอด


ใครมุ่งร้ายผู้รู้ทันจะคิดดับๆ อายุจะสั้น พบภัยพิบัติร้ายแรง ถูกติดคุก ทรัพย์สินปัญญาพังพินาศ ขาดที่อยู่สุขสบายทั้งกายใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2018, 02:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
รู้ไม่ทันจะคิดดับๆ ก็เลยโค่นล้มความดีประกาศไม่ให้ใส่บาตร ให้ไม่เป็น ทั้งอภัย เมตตา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ทำดีไม่ได้ทุกเรื่อง ก็จะได้รับแต่เรื่องร้าย ดิ้นรน เดือดร้อน ทั้งกาย ใจ รู้ทันจะคิดดับๆ ก็ทำดีให้ได้ทุกอย่าง ก็จะสุข สวย รวย ดี ไม่พบเรื่องร้าย สบายทุกเรื่อง 


พระบิณฑบาต 2 ชั่วโมง ยังไม่มีใครใส่บาตรแสดงว่าทำดีกันไม่เป็น บางคนขับรถเก๋งมาจอดเห็นพระยังไม่คิดที่จะให้ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ใกล้จัะหมดสิทธิ์หายใจ ต้องเอาผ้าอนามัยกรองอากาศ ก็เป็นนิมิตให้เห็นว่าจะเจอแต่เรื่องร้ายๆ


จากสายสืบนิสัยศาสตร์ 


สืบนิสัยคนมา 30 กว่าปี ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ เจ้าหน้าที่เล่นงานพระโค่นล้มความดีตลอด


ใครมุ่งร้ายผู้รู้ทันจะคิดดับๆ อายุจะสั้น พบภัยพิบัติร้ายแรง ถูกติดคุก ทรัพย์สินปัญญาพังพินาศ ขาดที่อยู่สุขสบายทั้งกายใจ



ผมขออนุญาตสนทนาด้วยนะครับ

..โดยส่วนตัวแล้ว ผมเป็นคนหนึ่งที่ทำบุญไม่ขาดใส่บาตรพระ เข้าวัดทำบุญ ถวายสังฆทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา ให้ทานคนยาก และสัตว์ มีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย ไม่มีทรัพย์พอก็ออกแรงช่วย เจริญศีล ๕ อบรมจิตภาวนา เข้าวัดฟังธรรม เจริญสติสำรวมอินทรีย์ตามสติกำลัง นั่งสมาธิ จึงไม่ได้เดือดร้อนคิดมากจนเกิดเรื่องราวสืบต่อกล่าวหาใคร
.. หากคนจะทำบุญใช่ว่าต้องใส่บาตรเท่านั้น เขานำไปถวายจังหันเช้าที่วัดก็มีมาก พระปฏิบัติท่านจะไม่ยืนบิณฑบาตรอยู่กับที่ จะเที่ยวเดินไปไม่หยุด จะได้หรือไม่ได้ไม่ใช่ปัญหา
.. สมัยผมบวชตื่นตี 3 ทำวัตรสวดมนต์แปลเสร็จ 6 โมง ก็ต้องเดินบิณฑบาตรทันที ซึ่งหมู่บ้านใกล้สุดกับวัดประมาณ 5 กม. เดินไม่หยุด บางวันก็มีคนใส่บาตรได้ข้าวสารเท่านั้น บางวันก็ไม่มี กลับมาวัดเวลา 8.00 น. พระอุปัชฌาย์ก็พาเจริญกรรมฐานที่ศาลา 9.00 น. ฉันข้าวเณรก็หุงข้าว ฉันข้าวเปล่าก็มี บางวันดีหน่อยมีปลากระป๋องเณรก็ทำต้มปลากระป๋อง หรือเอาคลุกข้าวมาตักถวายฉันทั้งวัด ฉันมื้อเดียว หลวงพ่อท่านสอนว่าเราฉันเพื่ออยู่ให้กายมีกำลังเจริญตามกิจขอสงฆ์และอบรมจิตให้เห็นธรรมตามพระพุทธเจ้า ไม่เห็นเดือดร้อนกับการใส่บาตรของใคร และไม่ยืนรอรับบาตรเป็นชั่วโมงๆผิดวินัยสงฆ์
.. ถ้าเมื่อรู้จะคิดแล้วดับจริง จะไม่มีการสืบต่อเรื่องราวจนเกินพอดี ในแนวการกล่าวว่าพระบิณฑบาตร 2 ชม. ในเมือง ถือว่าเกินความพอดีแล้ว แล้วด่าคนไม่ใส่บาตร เท่ากับทำให้ศาสนาพุทธจะถูกมองว่าบวชหากินได้ อย่างนี้ทำพระพุทธศาสนาเสื่อมได้นะครับ
.. ทางปฏิบัติที่ถูกตรงตามพระพุทธเจ้าตรัสสอนเมื่อเจริญแล้ว จิตย่อมผ่องใสห่างไกลความคิดชั่ว จิตใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความปองร้ายเพ่งโทษผู้อื่น ทานบารมีมันบังคับกันไม่ได้ ใครมีมากก็ให้ง่าย สละง่าย ใครมีน้อยก็สู้ความหวงแหนตระหนี่ไม่ได้ พยายามอย่าคิดสืบต่อเรื่องราวจนเกินความจริงพระพุทธศาสนาจะเสื่อมเอาได้ครับ ควรกล่าวที่พอดีก็พอครับ
.. เช่น คนสมัยนี้สนใจการทำบุญเข้าวัดเข้าวาน้อย เพราะการปลูกฝังสิ่งที่ดีงามในการทำบุญมีน้อย การให้ทาน บิณฑบาตรเราไม่ได้ให้เพื่อใคร แต่ทำเพื่อถึงความสุขในการสละเอื้อเฟื้อของเราเอง และเพื่อสะสมบารมีทานของตนให้เต็ม

--------------------------------------------------

- เมื่อคิด เราก็รู้ว่าคิด คิดกุศล หรืออกุศล กุศลควรเสพย์ อกุศลควรละ ไม่ให้ความสำคัญใจไว้กับสิ่งใดรู้แล้วก็ปล่อยมันไปเราก็จะไม่ตรึกถึงสิ่งนั้นเลย เพราะไม่มีความจดจำหมายมั่นยึดมั่นในสิ่งนั้น
- หากอกุศลวิตกมีมากจิตไม่มีกำลังละอกุศลวิตกได้ ก็ให้เอากุศลวิตกอัดลงไปแทน เป็นการสร้างความจดจำต่ออารมณ์ใหม่ในกุศลให้จิต ..แต่ไม่ใช่ไปห้ามจิตไม่ให้คิด มันห้ามไม่ได้ยิ่งอัดอั้นใจ เพราะจิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ขนาดเวลามันคิดมันยังไม่มีเราเลย แล้วเราจะสนใจให้ความสำคัญกับความคิดมันทำไม..ดังนี้ให้ทำในใจว่าความคิดดีนี้มันทำให้เราไม่ร้อนตามใคร คิดดีมีกุศลมันสบายใจกว่า กล่อมจิตไปจนจิตมันชินเป็นอุปนิสัย ..ที่สุดคือไม่กระทำใจไว้กับสิ่งใด เจตนาในสิ่งนั้นย่อมไม่มีความตรึกนึกปรุงแต่งสืบต่อ ก็ย่อมไม่มีเหตุ ปัจจัยแห่งความตรึกในสิ่งนั้นๆให้เกิดและดำรงอยู่อีก ..ผมเองก็เป็นคนคิดมาก คิดอกุศลเยอะ แต่ก็ตามรู้ความคิดมันจนเห็นเหตุแห่งความคิดตามสติกำลังปัญญาอันน้อยนิดทื่พอจะเข้าถึงได้ แล้วละที่เหตุ เน้นอบรมจิตไม่ยึดในความคิดอันเป็นโลภ โกรธ หลง เจริญสัมปะชัญญะ หากจิตอ่อนไม่มีกำลังทานความคิดชั่ว ก็น้อมใจเอาความคิดกุศลอัดลงไปแทน

เช่น.. คิดว่าเขารวยไม่ยอมใส่บาตร กลับมาเปลี่ยนแนวคิดว่าเขาคงรีบไปธุระไม่มีเวลาใส่บาตร หรือเขา รวย สวย ดี เขาก็คงสะสมบารมีมากแล้วจนมันแสดงผลแม้ไม่เห็นเขาใส่บาตรเขาก็คงทำบุญในส่วนอื่นิอยู่เสมอไม่ขาด แล้วน้อมมองดูตัวเรา เราทำแล้วหรือยัง

ทีนี้ก็ลองดูนะครับ คำบริกรรมว่าจะคิดหนอๆๆ แท้จริงก็เป็นการทำจิตเราให้รู้ตัวในปัจจุบันว่าเรากำลังติดคิด กล่าวคือ เป็นการดึงเอาสัมปะชัญญะนั่นเอง แต่มันไปต่อเกินนี้ไม่ได้หากยึดอยู่แม้แต่แค่ "จะ" ก็ตามครับ หากอยากให้นักสืบนิสัยของคุณมีคุณค่ามากขึ้น ก็ไม่สืบต่ออกุศลวิตกสร้างเรื่องราวเกินจริงแอคชั่นน้อยลงมันจะดูดีขึ้นครับ

ขออนุโมทนาที่คุณใส่ใจพระพุทธศาสนาด้วยครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2018, 10:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าจิตดวงเก่าดับไป จิตดวงใหม่เกิดขึ้น เกิดที่ตาก็ดับที่ตา เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ เกิดดับไวกว่าความคิด เป็นไปตามธรรมชาติแห่งปฎิจจสมุปบาท

พระองค์ทรงตรัสสอนว่าควรรู้ทันทุกอย่าง จิตมีกิเลสก็รู้ทันว่ามีกิเลส จิตตั้งมั่นก็รู้ทันว่าจิตตั้งมั่น จิตหลุดพ้นก็ต้องรู้ทันว่าจิตหลุดพ้น เพราะการรู้ทันจิต จะเห็นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยการรู้การเห็นตามเป็นจริง ถ้ารู้ทันจะดับให้เห็น ถ้ารู้ไม่ทันก็จะดับโดยที่ไม่เห็น

พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าไม่ควรใส่ใจกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ไม่ควรห่วงใยในสิ่งที่เลยมาแล้ว รู้ทันต้น กลาง สุด ในขณะปัจจุบันที่ไวกว่าพริบตานั่นแหละ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรมอันเป็นอริยสัจ 4 ก็จะไม่ยึดถือติดอยู่กับการปรุงแต่งในคำถาม คำตอบ ความชอบ ความชัง และความเฉย ก็จะหลุดพ้นจากความบัญญัติทั้งปวงเข้าสู่ปรมัตต์คือของจริงว่ามีเพียงเกิดขึ้นมาก็เพื่อดับลงไป ไม่มีถูก ผิด เกียจ ชอบ หรือการบัญญัติใดๆ ทั้งสิ้น

พระองค์จึงทรงตรัสไว้ว่า พระองค์ทรงรู้จักบัญญัติทั้งปวง อีกทั้งฉลาดในสิ่งบัญญัติทั้งปวง แล้วก็ไม่ติดอยู่กับสิ่งบัญญัติทั้งปวง จึงทราบความรู้ทันหลุดพ้นได้เฉพาะตัว

เรื่องนิสัยแห่งความยึดถือก็ย่อมจะติดอยู่กับถาม ตอบ ชอบ ชัง เฉย ก็เพื่อมุ่งร้าย ริษยา เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน แค่รู้ทันจะคิดดับๆ ก็สุข สวย รวย ดี ฉลาดตามความเป็นจริง ไม่ได้เอาเรื่องถูกไปทะเลาะกับเรื่องผิด ไม่ได้เอาเรื่องผิดไปทะเลาะกับเรื่องถูก หรือเรื่องยึดถือไปทะเลาะกับเรื่องหลุดพ้น

ที่ชี้แจงแนะนำไปก็ด้วยความเมตตาอนุเคราะห์ จะได้เข้าใจเหตุและปัจจัยของชีวิต ไม่ได้หวังผลค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะความยึดถือเกิดขึ้นกับพูด ทำ คิด ก็เป็นไปเพื่อความเสียหายแห่งคุณประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเราทำหรือเขาทำ นี่แหละเรียกว่าเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

เพราะความรู้ไม่ทันก็ย่อมจะให้ไม่เป็น ให้อภ้ย ให้เมตตา ให้เกียรติ ให้โอกาสสิ่งต่างๆ ไม่ได้เลยสักเรื่อง เพราะให้ไม่เป็น จึงทำดีไม่ได้เลยสักอย่าง ก็พิสูจน์เห็นได้ด้วยการกระทำในปัจจุบันนี้

บางครั้งก็ดีเพราะบาป บางครั้งก็ดีเพราะบุญ บางครั้งก็ดีเพราะความขยัน 3 อย่างนี้ก็ยังดีไม่จริง เพราะยังต้องดิ้นรนและเดือดร้อน แต่ดีเพราะรู้ทันจะคิดดับๆ ก็จะไม่เดือดร้อนอะไรเลยสักเรื่อง

จากสายสืบนิสัยศาสตร์ (จะคิดดับๆ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2018, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


muisun เขียน:
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าจิตดวงเก่าดับไป จิตดวงใหม่เกิดขึ้น เกิดที่ตาก็ดับที่ตา เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ เกิดดับไวกว่าความคิด เป็นไปตามธรรมชาติแห่งปฎิจจสมุปบาท

พระองค์ทรงตรัสสอนว่าควรรู้ทันทุกอย่าง จิตมีกิเลสก็รู้ทันว่ามีกิเลส จิตตั้งมั่นก็รู้ทันว่าจิตตั้งมั่น จิตหลุดพ้นก็ต้องรู้ทันว่าจิตหลุดพ้น เพราะการรู้ทันจิต จะเห็นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยการรู้การเห็นตามเป็นจริง ถ้ารู้ทันจะดับให้เห็น ถ้ารู้ไม่ทันก็จะดับโดยที่ไม่เห็น

พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าไม่ควรใส่ใจกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ไม่ควรห่วงใยในสิ่งที่เลยมาแล้ว รู้ทันต้น กลาง สุด ในขณะปัจจุบันที่ไวกว่าพริบตานั่นแหละ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรมอันเป็นอริยสัจ 4 ก็จะไม่ยึดถือติดอยู่กับการปรุงแต่งในคำถาม คำตอบ ความชอบ ความชัง และความเฉย ก็จะหลุดพ้นจากความบัญญัติทั้งปวงเข้าสู่ปรมัตต์คือของจริงว่ามีเพียงเกิดขึ้นมาก็เพื่อดับลงไป ไม่มีถูก ผิด เกียจ ชอบ หรือการบัญญัติใดๆ ทั้งสิ้น

พระองค์จึงทรงตรัสไว้ว่า พระองค์ทรงรู้จักบัญญัติทั้งปวง อีกทั้งฉลาดในสิ่งบัญญัติทั้งปวง แล้วก็ไม่ติดอยู่กับสิ่งบัญญัติทั้งปวง จึงทราบความรู้ทันหลุดพ้นได้เฉพาะตัว

เรื่องนิสัยแห่งความยึดถือก็ย่อมจะติดอยู่กับถาม ตอบ ชอบ ชัง เฉย ก็เพื่อมุ่งร้าย ริษยา เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน แค่รู้ทันจะคิดดับๆ ก็สุข สวย รวย ดี ฉลาดตามความเป็นจริง ไม่ได้เอาเรื่องถูกไปทะเลาะกับเรื่องผิด ไม่ได้เอาเรื่องผิดไปทะเลาะกับเรื่องถูก หรือเรื่องยึดถือไปทะเลาะกับเรื่องหลุดพ้น

ที่ชี้แจงแนะนำไปก็ด้วยความเมตตาอนุเคราะห์ จะได้เข้าใจเหตุและปัจจัยของชีวิต ไม่ได้หวังผลค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะความยึดถือเกิดขึ้นกับพูด ทำ คิด ก็เป็นไปเพื่อความเสียหายแห่งคุณประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวกับว่าเราทำหรือเขาทำ นี่แหละเรียกว่าเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

เพราะความรู้ไม่ทันก็ย่อมจะให้ไม่เป็น ให้อภ้ย ให้เมตตา ให้เกียรติ ให้โอกาสสิ่งต่างๆ ไม่ได้เลยสักเรื่อง เพราะให้ไม่เป็น จึงทำดีไม่ได้เลยสักอย่าง ก็พิสูจน์เห็นได้ด้วยการกระทำในปัจจุบันนี้

บางครั้งก็ดีเพราะบาป บางครั้งก็ดีเพราะบุญ บางครั้งก็ดีเพราะความขยัน 3 อย่างนี้ก็ยังดีไม่จริง เพราะยังต้องดิ้นรนและเดือดร้อน แต่ดีเพราะรู้ทันจะคิดดับๆ ก็จะไม่เดือดร้อนอะไรเลยสักเรื่อง

จากสายสืบนิสัยศาสตร์ (จะคิดดับๆ)



ธรรมที่ท่านยกมานี้ก็ดีแล้ว เหลืออย่างเดียวคือทำให้เข้าถึงตาม

..ดังที่ท่านกล่าวมาทั้งหมดนี้ ชื่อว่า..ความคิดเป็นสมมติของปลอมทั้งหมด เพราะมันดับไปตั้งแต่มีสัมผัสเกิดขึ้น ฉะนั้นความคิดจึงเป็นของปลอมทั้งหมดใช่ไหมครับ เมื่อเป็นของปลอม สิ่งที่เราคิดมองเขามันก็ปลอมทั้งหมด ปลอมตามกิเลสในใจเราใช่ไหมครับ เราควรยึดเอาของปลอมนั้นหรือไม่ ..หรือท่านจะยึดของปลอมนั้นต่อไปแล้วกล่าวหาคนทั้งโลกที่ขัดใจตน ในสภาวะที่เรามองเขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ล้วนสมมติทั้งหมด ที่เห็นเขาเป็นอย่างนั้นเพราะกิเลสเเราโดยแท้ แม้ธรรมที่ท่านยกมาก็บอกแบบนั้นแล้ว

ทีนี้ควรหรือไม่จะไปกล่าวหาใคร ให้ร้าย ว่าร้ายเขา เราทำดีแล้วหรือยัง วิตกวิจารเป็นวจีสังขาร เพราะเหตุนี้เมื่อท่านกล่าวหาเขา ก็เท่ากับท่านคิดร้ายกับเขา ขณะจิตนั้นท่านไม่ผ่องใสด้วยความคิดจอมปลอมที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงทางประตูวิญญาณ เมื่อท่านยึดหลงมันก็สืบต่อปรุงแต่งนึกคิดเองเออเองตามกิเลสตนทันที ของจริงมันไวกว่าแค่เสี้ยววินาทีเมื่อกระทบเท่านั้น ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แล้วที่กล่าวหาว่าผู้อื่นว่าไม่ดี ว่าชั่ว นั่นเพราะใจท่านชั่วใช่หรือไม่ มีความคิดชั่ว จึงพูดชั่ว ทำชั่ว ดังนี้..

ในขณะที่ท่านกล่าวหาผู้อื่นว่า เขาทำดีไม่ได้สักเรื่อง เมตตาไม่ได้ ให้ทานไม่ได้ สละไม่ได้ มีศีลไม่ได้ ตระหนี่ หวงแหน ริษยา
ในขณะนั้นท่านก็จิตไม่ผ่องใส มีกิเลสปกคลุมให้มัวหมองด้วยโทสะ ริษยา โทมนัส ไม่มีจิตเมตตาเขา ไม่มีจิตเป็นทาน ไม่มีจิตอภัยทานแก่เขา ไม่มีจิตกรุณาเขา สละคืนอุปธิกิเลสเครื่องร้อยรัดไม่ได้เลย

** ทีนี้ผมก็ไม่เห็นว่า..สำนักสายสืบนิสัยศาสตร์ของท่าน จะต่างอะไรกับเขาเลย เพียงแค่เอากิเลสตนมากล่าวหาเขาโดยยกพระธรรมของพระพุทธเจ้าที่สูงแล้ว เอาพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อให้สนองกิเลสตนให้ดูได้งดงามแค่นั้นเอง ..เวลาที่เห็นของจริงมันเข้าถึงต่างกันกับทำแค่ท่องจำมากนัก**

..ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไปทิศใดก็ดี ย่อมแผ่ศีลไปแบบอัปปะมัญญา หากสำนักของท่านถึงธรรมจนเห็นขณะจิตจริงตามที่สอนกันมา ต้องแผ่ศีลไปไม่มีประมาณแบบอัปปะมัญญา จะไม่มีการกล่าวหาว่าร้ายใครทั้งสิ้น
..โดยส่วนตัวหากเป็นผม เขาไม่ทำก็บารมีเขา เราทำเราได้ หากเป็นคนที่สนิทกันก็ดี ไม่รู้จักก็ดี เขาสวย รวย ดีอยู่แล้ว แต่เขาไม่ทำทาน ผมจะเห็นว่า เขามีบารมีมาดีแล้วหากไม่สร้างต่อ ของเก่าหมดไปมันน่าเสียดาย หรือมันเพียงแค่ยังไม่ถึงช่วงเวลาของเขาที่จะสานต่อบุญนั้น พร้อมทั้งน้อมใจไปเอากุศลความเอื้อเฟื้อแผ่ไปถึงเขา ให้เขาถึงความมีจิตเป็นกุศลน้อมไปใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ สมาธิ ปัญญา ถึงความสละ เพื่อสานต่อบารมีเขาให้งดงามสืบไป มีบุญใช้ไม่หมด หากคนเรามีจิตกุศลใจมันเอื้อเฟื้อแบ่งปันสงเคราะห์กัน สละ ไม่เบียดเบียนขุ่นหมอง มีจิตที่ผ่องใสเบาสบาย


ทีนี้ลองดูทางปฏิบัตินะครับระหว่างที่ผมได้เรียนมาจากครูบาอาจารย์ กับสำนักของท่าน สิ่งใดควรเสพย์ สิ่งใดไม่ควรเสพย์ ไม่ได้ชี้ว่าท่านผิดหรือผมถูกนะครับ เพียงแค่อยากเปิดมุมมองใหม่ๆที่กว้างขึ้น ให้เป็นไปในทางกุศลที่ดีขึ้นกว่านี้ เพื่อสำนักสายสืบนิสัยของท่านจะดูน่าเข้าไปศึกษาครับ ด้วยพระพุทธศาสนาเหมือนกันครับ

ขอบคุณที่รับฟังครับ อย่าลืมนะครับ ผมตอบกระทู้เพื่อเสนอแนะเท่านั้น ด้วยผมมองว่าถ้าท่านยังแก้จุดนี้ไม่ได้ สำนักของท่านก็ไม่ต่างจากคนที่ท่านว่า เพียงแต่สำนักของท่านยกเอาพระพุทธศาสนามาแอบอ้างเพื่อด่าเขาสนองกิเลสตนให้งดงามเท่านั้น แล้วที่กล่าวถึงขณะจิต ยกพุทธวจนะมาแต่ทำไม่ได้ ก็เท่ากับสำนักท่านนี้เป็นของปลอมแอบอ้างป่วนพระพุทธศาสนาเท่านั้น สัมมาทิฏฐิสำคัญต่อแนวทางวีถีคิดโดยชอบอย่างนี้ครับ ขอให้เจริญในธรรมเครื่องกุศลทั้งปวงครับ ท่านจะได้รู้ว่าโลกนี้ไม่มีส่งใดควรยึดถือ ล้วนแล้วแต่กรรมกำหนด สัทธาเป็นสิ่งสำคัญปลูกพระสัทธรรมไม่ได้ สัทธา ก็ไม่มี ดังนั้นพระสัทธรรมคือความจริง เรานำพระสัทธรรมที่ชอบด้วยปัญญานี้ให้กระจายไป ให้เห็นกรรม เกิดหิริ โอตตัปปะ รู้โลกธรรม ๘ เห็นความไม่ยั่งยืน ไม่ใช่ตัวตน กับสิ่งที่ติดตามเราไปทุกภพชาติ เขาจะน้อมรับเองครับ เปรียบเทียบเหมือนผมดู ท่านรสมน โพสท์ ท่านเอาคำครูสอน ทาน ศีล สมาธิ มาโพสท์ ไม่ได้ไปด่าว่าร้ายใคร เวลาที่คนเข้าไปอ่านเกิดความเลื่อมใส เขาก็ไปน้อมทำเอง ไม่ได้ไปร้อนรนอะไรกับใคร

เมื่อผมโพสท์กระทู้ตอบแล้ว ท่านมองว่าผมเป็นใคร เก่งแค่ไหน มาสอนอย่างนั้น มาแนะนำอย่างนี้ มาบังคับให้ท่านทำนั่น มาชี้ทางทำนี่ ไม่ดูตัวเองซะบ้างเลย ..ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากที่ท่านและสำนักของท่านไปเพ่งเล็งด่าว่าคนอื่นเสียๆหายๆ ท่านและสำนักเป็นใคร ไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเขาทำไม ไม่ดูตัวเองบ้างซะเลยเช่นกันฉันนั้นแล

- รู้พระสัทธรรมให้มาก ปฏิบัติเข้าถึงให้มาก ย่อมยังทิฏฐิโดยชอบ เปลี่ยนแปลงทัศนะคติวิธีคิดใหม่ คนหมู่มากก็จะเห็นว่าสำนักท่านจะดูดีขึ้นน่ารับฟังเข้าร่วมด้วย
..หากท่านเห็นว่าเรื่องของฉันสำนักฉัน ผู้อื่นก็เรื่องของเขาชีวิตเขาเช่นกันครับ
ขณะที่กล่าวว่าผมยึดคำพูดกระทู้ท่าน
..ขณะเดียวกันท่านก็ยึดในสิ่งที่คนอื่นเป็นจึงเกิดความสืบต่อตามกิเลสด้วยเช่นกัน

ขอบคุณที่รับฟังความเห็นครับ ขอให้ท่านเจริญในธรรมนะครับ ขออนุโมทนาด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2018, 02:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ว่าถ้ารู้ทันก็ดับ ถ้ารู้ไม่ทันก็ไม่ดับ ถ้ายึดถือก็รู้ไม่ทัน ถ้ารู้ทันก็ไม่ต้องยึดถือ เพราะความเป็นจริงนั้นมันเกิดทันทีและดับทันที ไม่มีขั้นกลาง กิเลสในเมื่อจะเกิดก็เกิดที่จิตในเมื่อจะดับก็ดับที่จิต กิเลสเมื่อจะเกิดก็เกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ในเมื่อจะดับก็ดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้ายึดถือรู้ไม่ทันจะคิดดับๆ ก็อวดดีไปทุกเรื่อง ถ้ารู้ทันจะคิดดับๆ ก็เอาดีได้ทุกเรื่อง เพราะมีสำนึกก็เลยไม่ได้สร้างสำนัก

เรียนพุทธพจน์ด้วยดีก็เกิดแต่คุณประโยชน์ แต่ถ้าเรียนเพื่อที่จะเอาชนะใคร ก็ได้ผลร้าย เดือดร้อน พลุ้งพล่านไม่สงบทั้งกายและทั้งใจ มีทุคติปรสิตเป็นที่หวังได้

รู้ทันจะคิดดับๆ ก็หนึ่งเดียวในโลทั้งสามแห่งจักรวาล


จากสายสืบนิสียศาสตร์ (จะคิดดับๆ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2018, 08:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เหมือนช่าง
ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล.
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
ผู้มีพระภาค แล้วแล.
จบ. วิตักกสัณฐานสูตร ที่ ๑๐
จบ สีหนาทวรรค ที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จูฬสีหนาทสูตร ๒. มหาสีหนาทสูตร ๓. มหาทุกขักขันธสูตร ๔. จูฬทุกขัก-
*ขันธสูตร ๕. อนุมานสูตร ๖. เจโตขีลสูตร ๗. วนปัตถสูตร ๘. มธุปิณฑิกสูตร ๙. เทวธาวิตักกสูตร
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร.
-----------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๔๐๙๙-๔๒๐๗ หน้าที่ ๑๖๖-๑๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/_mcu/v.ph ... agebreak=0


ละวิตกไม่ได้ก็ไม่มีทางถึงวิปัสนา คงได้เพียงวิปัสสนึก ไม่เห็นของจริง

- เพราะความจำสำคัญมั่นหมายแห่งสัมผัสอารมณ์จึงตรึก
- เพราะตรึกจึงยินดี-ยินร้าย
- เพราะยินดียินร้ายจึงรัก-ชอบ-ชัง-เกลียด ตระหนี่ ริษยา
- ถ้าไม่ยินดี-ยินร้าย ก็ไม่มีชอบ ชัง เกลียด ตระหนี่ ริษยา
- ถ้าไม่ตรึก ก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
- ถ้าไม่สำคัญมั่นหมายใจไว้ในอารมณ์ ก็ไม่ตรึก

..ผมจึงกล่าวแต่ต้นว่าอย่าให้ความสำคัญกับมัน ล้างสัญญาใหม่ให้เป็นกุศลแก่จิตในคำตอบสนทนากระทู้แรกที่ตอบท่านไป

ผมคงแบ่งปันท่านได้เพียงเท่านี้ ที่เหลือท่านต้องปฏิบัติให้ถึง หากท่านยังหลงความคิดอยู่ต่อไป ก็ได้แต่ท่องจำเกิดดับๆ อัตตาอนิจจัง อัตตาอนัตตา แล้วกล่าวโทษคนอื่นไปทั่วโลกเอาพระพุทธศาสนาของพระศาสด่สูงยิ่งมาเป็นเครื่องมือสนองกิเลสโทสะตนกล่าวหาคนอื่น แทนที่จะทำที่ตนละที่ตน ดับที่ตน ตามพระพุทธเจ้าตรัสสอน

มันก็กรรมท่านเอง ละความคิดบาปอกุศลได้ก็บุญท่าน ผมได้เอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งที่ดีให้แล้ว ผมไม่ได้ต้องการลาภสักการะจากท่านหรือใคร เพราะธรรมที่ให้คือธรรมของพระพุทธเจ้า ทางปฏิบัติของพระพุทธเจ้าตรัสสอน มีพระอรหันต์สงฆฺถ่ายทอดมาซึ่งผมมีโอกาสเรียนรู้ ปฏิบัติตาม และได้รับสัมผัสเห็นตามแล้ว ไม่ใช่ธรรมผมแต่อย่างใด จึงควรแก่การโอปะนะยิโก คือ น้อมมาสู่ตน ดังนี้..

ขออนุโมทนาทีสนใจพระธรรมของพระพุทธศาสดาครับ ขอให้ท่านถึงธรรมโดยไวในชาตินี้ครับ


.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2018, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นแค่นี้ก็ไม่อ่านต่อไปอีก


ละวิตกไม่ได้ก็ไม่มีทางถึงวิปัสนา คงได้เพียงวิปัสสนึก ไม่เห็นของจริง


วิตก องค์ธรรมได้แก สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นองค์มรรค ในจำนวนมรรค ๘ วิปัสสนาจึงละไม่ได้เลย


ถ้าจะละวิตกนั่นหมายถึงการทำฌานตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไปไม่ได้หมายถึงการกระทำวิปัสสนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2018, 12:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ายึดถือก็มีถาม ตอบ ชอบ ชัง เฉย

ถ้ารู้ทันจะคิดดับๆ ก็ดับถาม ตอบ ชอบ ชัง เฉย

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการละกิเลสต้องละด้วยการรู้การเห็น ไม่ใช่ละด้วยการไม่รู้ไม่เห็น

อดีตก็ดับไปแล้ว ไม่ควรคิดถึง อนาคตก็ได้ชื่อว่ายังมาไม่ถึง ก็ไม่ควรไขว่ขว้า

ปัจจุบันนี้ก็เกิดดับไวกว่าพริบตา ถ้ารู้ต้น กลาง สุด ได้ ก็หายโง่ได้ทุกเรื่อง

ถ้ายังยึดถือในพูด ทำ คิด ก็ติดอยู่กับความโง่และเดือดร้อนตลอดไปเป็นวงกลมแห่งปฎิจจสมุปบาท

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นก็ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้า ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเห็นอมตะธรรม อันเป็นครูและศาสดาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคารพธรรมว่าเป็นครู เป็นศาสดาแห่งพระองค์

รู้ทันจะคิดดับๆ ก็หายโง่ยึดถือเดือดร้อนทั้งปวง

เรื่องแห่งสัจธรรมอยู่ในความรู้ทัน แต่เรื่องโง่ยึดถือเดือดร้อนอยู่ในความยึดถือ

เกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น รู้ทันได้ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ต้องไปโง่หลงฟังใครอีก

สมกับพระพุทธพจน์บทความที่ว่าย่อมตรัสรู้ได้เองโดยที่ไม่ต้องเชื่อฟังใครอีก

จากสายสืบนิสัยศาสตร์ (จะคิดดับๆ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2018, 12:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้เชื่ยวชาญเถิดแล้วจะเกิดผล

ดูแต่คนดีดขี้แพะยังชนะใจพระราชา

แค่รู้ทันจะคิดดับๆ ก็เป็นหนึ่งแห่งศิลปะทั้งปวง

แม้แต่ ดร. ยังสอบได้ที่ 1 ของประเทศ 3 ปีซ้อน เจ้าคุณก็ยังยกนิ้วให้ว่าสุดยอด สังฆาธิการลงความเห็นว่าเป็นหนึ่งเดียวจริงๆ

จากสายสืบนิสัยศาสตร์ (จะคิดดับๆ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2018, 20:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
เห็นแค่นี้ก็ไม่อ่านต่อไปอีก


ละวิตกไม่ได้ก็ไม่มีทางถึงวิปัสนา คงได้เพียงวิปัสสนึก ไม่เห็นของจริง


วิตก องค์ธรรมได้แก สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นองค์มรรค ในจำนวนมรรค ๘ วิปัสสนาจึงละไม่ได้เลย


ถ้าจะละวิตกนั่นหมายถึงการทำฌานตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไปไม่ได้หมายถึงการกระทำวิปัสสนาครับ


แย้งกับคำความเป็นจริงครับ พระพุทธเจ้าตรัสอีกอย่าง
บุคคลอาศัยปฐมฌาน ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไปได้ ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2018, 19:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1067

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าสอนให้ละความรู้ไม่ทันคือโมหะเพียงข้อเดียวกิเลสทุกข้อก็ถูกละหมด สังเกตได้ดีย่อมเกิดปัญญา ปัญญาย่อมเกิดจากการประกอบ

รู้ทันจะคิดดับๆ ก็เข้าใจเหตุแห่งความโง่ได้ทุกเรื่อง ไม่ต้องเดือดร้อนเลยสักข้อความ พูด ทำ คิด ให้ดี เป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่พูด ทำ คิด ให้ดี ก็ไม่ได้ทำหน้าที่แห่งความเป็นคน

รู้ทันจะคิดดับๆ ก็พัฒนาปัญญาได้ตลอดเวลา ศึกษาได้ทั้งชีวิต ไม่ติดอยู่กับข้อความข้อความเก่าๆ


จากสายสืบนิสัยศาสตร์ (จะคิดดับๆ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 04:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อากิญจัญญายตนสมาบัติ รึเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 05:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
เห็นแค่นี้ก็ไม่อ่านต่อไปอีก


ละวิตกไม่ได้ก็ไม่มีทางถึงวิปัสนา คงได้เพียงวิปัสสนึก ไม่เห็นของจริง


วิตก องค์ธรรมได้แก สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นองค์มรรค ในจำนวนมรรค ๘ วิปัสสนาจึงละไม่ได้เลย


ถ้าจะละวิตกนั่นหมายถึงการทำฌานตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไปไม่ได้หมายถึงการกระทำวิปัสสนาครับ


วิตก...ที่ว่า..ต้องละ..นั้นนะ..เขาสรุปจากพระสูตรที่ยกมาอ้าง...หมายถึง..วิตกที่เป็นบาปอกุศล..
ิูิผิดที่ผู้สรุป..เขียนไม่ครบถ้วน..เอง..

อ้างคำพูด:


[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล



แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 29 พ.ย. 2018, 05:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 05:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
อากิญจัญญายตนสมาบัติ รึเปล่าครับ


ดูคล้าย...วิญญาณัญจายตนฌาณ

แต่ก็แค่คล้าย..

เป็นการ ข่ม..ไม่ปรุงต่อ..ด้วยสติ...ไม่ได้เป็นการเห็นว่า..ไม่มี..แต่ประการใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 08:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 29 พ.ย. 2018, 18:45, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 60 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร