วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบื้องต้นดูความหมายถ้อยคำเหล่านี้ให้เข้าใจชัด

บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

สมมติ,สมมุติ (สํ +มติ) รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน, การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้า หน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น ; ในภาษาไทย ใช้ความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า


สมมติเทพ (สมมติ+เทพ) เทวดาโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ ได้แก่ พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)


สมมติสัจจะ (สมมติ+สัจจะ) จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้าม กับ ปรมัตถสัจจะ


ปรมัตถสัจจะ (ปรมัตถ+สัจจะ) จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากลิงค์นี้ viewtopic.php?f=1&t=56594



กรรม ตามสมมตินิยาม หรือ กรรมในกฎมนุษย์

เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน เป็นหมู่คน เป็นชุมชน เป็นสังคม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทำการร่วมกัน ก็ต้องมีการติดต่อสื่อสาร และด้วยความฉลาดของมนุษย์ ก็มีการตั้งข้อรู้ร่วม และสร้างเครื่องรู้ร่วมขึ้นมา โดยมีการยอมรับร่วมกัน ร่วมรู้ ร่วมเข้าใจ และร่วมกันถือตาม ปฏิบัติตาม

ข้อรู้ร่วม ที่ตกลงกัน พร้อมกันยอมรับ หรือยอมรับด้วยกัน คือมติร่วม หรือ “สมมติ” นี้เป็นหัวใจ เป็นแกน เป็นสาระของสังคม ที่จะให้สังคมดำรงอยู่ ดำเนินไป มีความเจริญก้าวหน้างอกงาม จนถึงขั้นที่เรียกว่ามีวัฒนธรรม มีอารยธรรม พูดกลับกันว่า อารยธรรมของมนุษย์ ก็ตั้งอยู่บนสมมุติ หรือสมมตินี้เอง

ข้อตกลง ข้อรู้ร่วม หรือสมมติแรก ที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งทำให้มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันได้ ก็คือ ข้อรู้ร่วม หรือข้อตกลงเพื่อสื่อในการพูด เกิดเป็นถ้อยคำ คำพูดจา ภาษา เป็นทางหรือสื่อของการตอบโต้ แลกเปลี่ยน คือ โวหาร แล้วก็มีการบัญญัติต่างๆ สำหรับเรียกขาน บนฐานของสมมตินั้น

มนุษย์ผู้ฉลาด มิใช่หยุดแค่นั้น นอกจากข้อร่วมรู้ ให้รู้ร่วมกันตามคำพูดจา ว่านี่ชื่อนั้นๆ นั่นเรียกว่า อย่างนั่นๆ แล้ว อาศัยภาษานั้น เขาก็บัญญัติ จัดตั้งข้อตกลงร่วมรู้เพื่อสื่อในการทำ วางเป็นข้อร่วมทำ สำหรับให้พร้อมกันทำตาม ร่วมกันทำตาม ร่วมกันปฏิบัติตาม เป็นกติกา กลายเป็น นิติ คือแบบแผน เครื่องนำการปฏิบัติ เกิดเป็นข้อบัญญัติ ที่เรียกว่า ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ ตลอดจนกฎหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากบัญญัติจัดวางข้อร่วมทำ ร่วมปฏิบัติ หรือข้อที่พร้อมกันถือไปปฏิบัติตามแล้ว ก็มีบัญญัติต่อไปอีกว่า ถ้าใครไม่ปฏิบัติตาม เขาจะถูกกระทำโดยสังคมอย่างไร เรียกรวบรัดว่า ถูกอำนาจบังคับ ถูกลงโทษ

แล้วเพื่อให้บัญญัติมีผลบังคับจริงตามที่ตกลง ก็มีการตกลงกันตั้ง หรือยอมรับร่วมกัน ให้มีบุคคลตลอดจนระบบที่ดูแลกำกับให้การเป็นไปตามบัญญัตินั้น เกิดมีเป็นการปกครองขึ้น

โดยนัยนี้ เพื่อให้สมมติ คือ ข้อตกลง ที่หมายรู้เพื่อพูดจา และเพื่อทำการทั้งหลาย อย่างสอดสมลงตัวกันนั้น คงอยู่ได้เป็นไปจริงตามที่ได้ตกลงกัน ก็ต้องมีการดูแลจัดการรักษาให้คงอยู่และเป็นไปตามนั้น อันเรียกว่าเป็นระเบียบแบบแผน เป็นระบบ นี้คือ วินัย

วินัย ก็คือการจัดตั้งสมมติ และจัดการให้เป็นไปตามสมมติ ดังที่ปรากฏเป็นระบบแบบแผน การจัดระเบียบ และวางกฎตามสมมติขึ้นมา

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งวางระเบียบชีวิต และวางระบบกิจการ ก็ตาม ข้อความบอกกล่าวกำหนดให้รู้ว่า จัดตั้งวางระเบียบระบบให้เป็นอย่างไร ให้ทำอะไร ไม่ให้ทำอะไร ก็ตาม การดูแลบังคับควบคุมกำกับการให้เป็นไปตามระเบียบและระบบที่จัดวางขึ้นนั้น ก็ตาม จึงรวมอยู่ในคำว่า "วินัย" ซึ่งเท่ากับมีความหมาย ๓ ชั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังที่กล่าวแล้วว่า สมมติเป็นแกนของสังคม เป็นสาระของความเป็นสังคม และวินัยก็เป็นตัวทำการให้บรรลุความหมายนั้น ทำให้สังคมสมประโยชน์ของสมมติ ในขั้นพื้นฐาน วินัยจึงเป็นฐานรองรับสมมติ และเป็นเครื่องดำรงรักษาสังคม

ลึกลงไป ผู้เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงความหมาย และความมุ่งหมายของวินัยให้ชัดว่า ระเบียบและระบบที่จัดตั้งวางขึ้นนั้น มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือบังคับควบคุมคนให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย หรือเป็นเพียงการบังคับควบคุมคนให้เป็นอยู่ประพฤติปฏิบัติดำเนินกิจการตามระเบียบ และระบบที่จัดวางขึ้นนั้น
แต่แท้ที่จริง วินัยเป็นเครื่องเสริมโอกาส ให้คนพัฒนาชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยทำให้บุคคลที่มาอยู่รวมกันเป็นปัจจัยเกื้อกูลหนุนกัน และทำให้สังคมเป็นแหล่งอำนวยโอกาสในการพัฒนาชีวิตของแต่ละบุคคล ตรงนี้ ขอกล่าวไว้โดยรวบรัดเพียงเท่านี้ (ขอให้ขยายความเองตามหลักที่แสดงไว้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบรกความคิด

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตอนนี้ ควรเข้าใจต่อออกไปอีกว่า สมมติที่เป็นสาระของความเป็นสังคม และวินัยที่จัดระบบสมมติให้สมจริงนั้น เพราะเหตุที่มันเป็นเรื่องของมนุษย์ เกิดจากคน มีอยู่ในความคิดของคน แท้ที่จริง จึงเป็นสิ่งที่เลื่อนลอย แต่ที่มันกลายเป็นเรื่องจริง ไม่เลื่อนลอย ก็เพราะมันโยงไปยังของจริง ที่เป็นเนื้อหาสาระและเป็นฐานรองรับมันอีกชั้นหนึ่ง

ของจริง เนื้อหาสาระอันมีจริง ที่เป็นฐานรองรับให้แก่สมมติและวินัยนั้น คืออะไร ก็คือ สิ่งธรรมชาติทั้งหลาย ที่มีอยู่เป็นไปตามธรรมดานี้เอง ซึ่งเรียกสั้นๆ คำเดียวว่า "ธรรม"

ธรรม มีความหมายกว้างขวางครอบคลุม หมายถึงสิ่งธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี (บางทีเรียกว่า สภาวะหรือสภาวธรรม) ก็ได้ หมายถึงระบบระเบียบแห่งความเป็นอยู่เป็นไป ที่เป็นธรรมดาของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งบางทีเรียกว่า กฏธรรมชาติ ก็ได้

สิ่งธรรมชาติที่มีจริงนี่แหละ เป็นเนื้อหาสาระของสมมติ เป็นที่อ้างอิง และให้ความหมายแก่สมมตินั้น ถ้าไม่มีสิ่งธรรมชาติเป็นเนื้อหาสาระที่อ้างอิงแล้ว สมมติก็เลื่อนลอย หมดความหมาย

เช่นเดียวกันนั่นแล ธรรมดาที่เป็นกฎเป็นระบบระเบียบแห่งความเป็นอยู่เป็นไปของสิ่งธรรมชาติเหล่านั้น หรือการที่สิ่งธรรมชาติเหล่านั้น เป็นองค์ประกอบอยู่ในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า ธรรม ในแง่ที่เป็นกฎธรรมชาตินี้ ก็เป็นฐานรองรับให้แก่วินัยแห่งสังคมมนุษย์

ถ้าวินัยจัดตั้งวางไว้ ไม่สอดคล้องกับเหตุและผล ในความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของธรรม คือ ธรรมดา หรือกฎธรรมชาตินี้ วินัยที่เป็นระบบของสังคมมนุษย์ ก็เลื่อนลอยและต้องล้มละลาย

แท้จริงนั้น สิ่งที่มนุษย์ต้องการ ก็คือ เนื้อตัวจริงที่เป็นของธรรมชาติ และความเอื้ออำนวยประโยชน์จากธรรม ที่เป็นกฎธรรมชาติ แล้วที่ตั้งสมมติ และจัดวางวินัยขึ้นมานั้น โดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ก็เพื่อให้ได้ประโยชน์ตามความมุ่งหมายนี้

ดูง่ายๆ แค่ว่า คุณหมอสั่งแก่บุตรหญิง หรือบุตรชายของคนไข้ว่า กลับไปอยู่บ้านแล้ว ทุกวัน จัดน้ำบริสุทธิ์จืดสนิทให้คุณพ่อดื่ม วันละอย่างน้อย ๑ ลิตรครึ่งนะ เอาเหยือกน้ำใหญ่ๆ ที่มีขีดบอกปริมาณน้ำด้วยก็จะดี

แค่ตามตัวอย่างนี้ ก็มีสมมติที่สื่อไปถึงของจริงในธรรมชาติ และวินัย ที่จัดระบบให้มนุษย์ได้ประโยชน์ ทั้งจากสมมติ และจากระบบปัจจัยสัมพันธ์ที่โยงลงไปถึงกฎแห่งธรรมดามากมาย ยิ่งคนที่เกี่ยวข้องมีปัญญาเข้าถึงธรรมชาติ และธรรมดามากเท่าใด ก็ยิ่งเห็นชำแรกเข้าไปในระบบสัมพันธ์ที่โยงต่อไปกว้างลึกมากขึ้นเท่านั้น


ดังนั้น ถ้าเป็นมนุษย์ที่มีปัญญา ทำการด้วยความตระหนักรู้ มองเห็นความเป็นไป ของปัจจัยสัมพันธ์ชัดเจน ก็ยิ่งทำการได้สัมฤทธิ์ผลอย่างดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2018, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตรงนี้ ก็มองเห็นได้ว่า มี ๒ ระบบโยงกันอยู่ คือ

๑. ระบบของธรรมชาติ ที่เป็นไปตามธรรมดาหรือตามกฎธรรมชาติ มนุษย์จะมีอยู่หรือไม่ และจะรู้ถึงมันหรือไม่ มันก็มีของมันอยู่อย่างนั้น ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น ระบบนี้ เรียกสั้นๆว่า "ธรรม"

๒. ระบบของสมมติที่มนุษย์ผู้ฉลาดจัดตั้งวางขึ้น ให้เป็นไปโดยสอดคล้อง ที่จะให้หมู่มนุษย์ ที่เรียกว่า สังคม ได้สมปรารถนาของตน จากธรรมชาติและจากฏธรรมดานั้น เรียกสั้นๆว่า "วินัย"



เป็นอันว่า มี ๒ ระบบ คือ ธรรมกับวินัย และเห็นได้ชัดว่า ระบบสมมติแห่งวินัยของมนุษย์ ต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรมที่เป็นระบบแห่งธรรมดาของธรรมชาติ จึงจะสมจริงและได้ผล แล้ว
พูดอีกด้านหนึ่งว่า ระบบสมมติแห่งวินัยนั้น มนุษย์จัดตั้งขึ้น ก็เพื่อให้ตนได้ประโยชน์จากธรรมชาติที่เป็นไปตามธรรมดาในระบบของธรรมนั่นเอง

พูดสั้นๆว่า วินัย ตั้งอยู่บนฐานของธรรม และวินัยก็เพื่อธรรม โดยธรรมเป็นทั้งฐาน และเป็นวัตถุประสงค์ของวินัย

ถ้าพูดให้แคบลง และง่ายเข้า ก็บอกว่า กฎมนุษย์ต้องอยู่บนฐานของกฎธรรมชาติ ต้องสอดคล้อง กับ กฎธรรมชาติ จึงจะได้ผลที่ต้องการจากกฎธรรมชาติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2018, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีความเข้าใจพื้นฐานอย่างนี้แล้ว เห็นควรพูดถึงเรื่องสำคัญบนพื้นฐานของความเข้าใจนี้ไว้สัก ๒ อย่าง

เรื่องแรก ดังได้พูดแต่ต้นว่า สังคมมนุษย์เป็นไปได้ด้วยสมมติหรือมติร่วม คือ การรับรู้ยอมรับตกลงกัน อันทำให้การติดต่อสื่อสารดำเนินไปได้ และวินัย คือ การจัดตั้งวางระบบการทั้งหลายของสังคมก็เป็นไปได้

นี่คือ การบอกชัดเจนอยู่ในตัวว่า สมมติที่ตกลงยอมรับร่วมกันนั้น ต้องอาศัยความพร้อมใจร่วมกันลงตัวเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกัน ที่เรียกว่าความ “สามัคคี”


พูดง่ายๆว่า ในเรื่องของสังคมนี้ สมมติตั้งอยู่ได้ด้วยสามัคคี ตั้งแต่ตกลงกัน ก็ยอมรับ ร่วมรู้ แล้วก็ร่วมปฏิบัติตาม

โดยนัยนี้ สามัคคีจึงเป็นฐานรองรับสมมติไว้ ถ้าไม่มีสามัคคี สมมติก็อยู่ไม่ได้ อารยะธรรมก็สั่นคลอน เพราะสังคมมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยสมมติ และสามัคคีก็รองรับสมมติไว้ โดยทำให้คนยอมรับตามสมมตินั้น

ถ้าคนไม่สามัคคีกัน ก็จะเกิดการไม่ยอมรับตามสมมติ เช่น ไม่ยอมรับกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น หรือของคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน ไม่ยอมรับสิทธิต่างๆ ของคนพวกอื่นฝ่ายอื่น ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์กติกา ตลอดจนกฎหมาย จึงทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายระส่ำระสาย จนถึงอาจจะทำให้สังคมดำรงอยู่ไม่ได้

ในแง่นี้ สามัคคีจึงเป็นพื้นฐานของวินัย เป็นหลักประกันของสมมติ เป็นเครื่องรองรับและผนึกสังคมไว้ แต่ยิ่งกว่านั้นอีก เหนือขึ้นไปกว่านั้น สามัคคีทำให้สังคมเกิดมีคุณประโยชน์ตามความหมายของมัน โดยทำให้บุคคลทั้งหลายในสังคมนั้นๆ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนกัน และเป็นสภาพเอื้ออำนวยโอกาสแก่ทุกคนที่จะดำรงชีวิตของตนอยู่ด้วยดี สามารถพัฒนาชีวิตของตนให้เข้าถึงประโยชน์สุขยิ่งขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจคำว่า "สมมติ" ให้ชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปต่อ


เฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่มีระบบชุมชน หรือการเมืองที่ปกครองแบบให้บรรดาสมาชิกมีส่วนร่วมอย่างเช่น สังฆะในพระพุทธศาสนาและระบอบประชาธิปไตย ความสามัคคี คือการพร้อมเพรียงใจ มีเอกภาพ จึงเป็นเหมือนหัวใจของระบบสังคมนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำหลักสังฆสามัคคี ที่ต้องมีอยู่คู่กับวินัยที่มั่นคง

ผู้บริหารหรือผู้ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม ที่ฉลาด ต้องสามารถเอาปัญญามาให้วินัย จัดแจงให้บรรดาบุคคลหรือสมาชิก ประสานเข้าด้วยกันเป็นสังฆสามัคคี หรือที่บางทีเรียกว่าคณสามัคคี

มองลึกลงไป เทียบด้านธรรม ก็เหมือนบุคคลผู้เฉลียวฉลาด จะทำการตามระบบของกฎธรรมชาติ ให้สำเร็จผล เขาใช้ปัญญาสืบค้นและจัดสรรเหตุปัจจัย พอได้ปัจจัยทั้งหลายพรั่งพร้อมและประสานกัน เกิดเป็นปัจจัยสามัคคี การที่ทำก็บรรลุผลที่หมาย ได้ผลสำเร็จดังที่ประสงค์ แต่ถ้าปัจจัยไม่พรั่งพร้อม ไม่มีปัจจัยสามัคคี ไม่ว่าจะทำอย่างไรๆ ผลที่หมายก็ไม่เกิดขึ้น

ทีนี้ มองแยกออกไปอีกด้านหนึ่ง ที่ว่าวินัย ตั้งอยู่บนฐานของธรรม และเพื่อธรรมนั้น ควรทำความเข้าใจความหมายของธรรม ให้ครบแง่ครบด้านด้วย คือ ธรรม ที่ว่าเป็นสิ่งธรรมชาติ และกฎธรรมดานั้น แปลอีกแบบหนึ่งว่า ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม


เมื่อพูดในด้านนี้ เรื่องก็โยงกับความสามัคคีอีก ถ้าสมมติ และวินัยที่จัดการสมมตินั้น ไม่ตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม หรือไม่เป็นไปตามธรรม ก็จะทำให้คนทะเลาะวิวาทกัน ไม่สามารถร่วมจิตร่วมใจกัน และยอมรับสมมตินั้นไม่ได้ แล้วความขัดแย้งแตกสามัคคีก็จะเกิดขึ้น ถ้าเป็นไปอย่างรุนแรงหรือแพร่หลาย ก็จะนำไปสู่ความเสื่อมสลายของสังคม

จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่จะให้สมมติที่เป็นหลักของสังคมตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม และเป็นไปโดยชอบธรรม เพื่อให้เกิดความสามัคคี แม้หากว่าสมมตินั้นขัดต่อผลประโยชน์ของบุคคลบางคน
แต่ถ้าสมมตินั้นชอบธรรม มีธรรมเป็นฐานรองรับ เขาก็ไม่อาจปฏิเสธสมมตินั้นได้ พร้อมกันนั้น ก็ต้องมีการพัฒนาคนอยู่เสมอเพื่อให้ร่วมสามัคคีในการที่จะยอมรับ และปฏิบัติตามสมมติที่ชอบธรรมนั้นๆ

ถ้าคนไม่ยอมรับความจริงในธรรมดาของธรรมชาติ เขาก็จะได้รับผลร้ายตามเหตุปัจจัยในกฎธรรมชาติ
แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับสมมติ เขาก็จะแตกสามัคคีกันในสังคมมนุษย์เอง และผลร้ายก็เกิดแก่เขาเนื่องจากความแตกสลายของสังคมของเขานั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไปต่อ


เฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่มีระบบชุมชน หรือการเมืองที่ปกครองแบบให้บรรดาสมาชิกมีส่วนร่วมอย่างเช่น สังฆะในพระพุทธศาสนาและระบอบประชาธิปไตย ความสามัคคี คือการพร้อมเพรียงใจ มีเอกภาพ จึงเป็นเหมือนหัวใจของระบบสังคมนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำหลักสังฆสามัคคี ที่ต้องมีอยู่คู่กับวินัยที่มั่นคง

ผู้บริหารหรือผู้ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม ที่ฉลาด ต้องสามารถเอาปัญญามาให้วินัย จัดแจงให้บรรดาบุคคลหรือสมาชิก ประสานเข้าด้วยกันเป็นสังฆสามัคคี หรือที่บางทีเรียกว่าคณสามัคคี

มองลึกลงไป เทียบด้านธรรม ก็เหมือนบุคคลผู้เฉลียวฉลาด จะทำการตามระบบของกฎธรรมชาติ ให้สำเร็จผล เขาใช้ปัญญาสืบค้นและจัดสรรเหตุปัจจัย พอได้ปัจจัยทั้งหลายพรั่งพร้อมและประสานกัน เกิดเป็นปัจจัยสามัคคี การที่ทำก็บรรลุผลที่หมาย ได้ผลสำเร็จดังที่ประสงค์ แต่ถ้าปัจจัยไม่พรั่งพร้อม ไม่มีปัจจัยสามัคคี ไม่ว่าจะทำอย่างไรๆ ผลที่หมายก็ไม่เกิดขึ้น

ทีนี้ มองแยกออกไปอีกด้านหนึ่ง ที่ว่าวินัย ตั้งอยู่บนฐานของธรรม และเพื่อธรรมนั้น ควรทำความเข้าใจความหมายของธรรม ให้ครบแง่ครบด้านด้วย คือ ธรรม ที่ว่าเป็นสิ่งธรรมชาติ และกฎธรรมดานั้น แปลอีกแบบหนึ่งว่า ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม


เมื่อพูดในด้านนี้ เรื่องก็โยงกับความสามัคคีอีก ถ้าสมมติ และวินัยที่จัดการสมมตินั้น ไม่ตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม หรือไม่เป็นไปตามธรรม ก็จะทำให้คนทะเลาะวิวาทกัน ไม่สามารถร่วมจิตร่วมใจกัน และยอมรับสมมตินั้นไม่ได้ แล้วความขัดแย้งแตกสามัคคีก็จะเกิดขึ้น ถ้าเป็นไปอย่างรุนแรงหรือแพร่หลาย ก็จะนำไปสู่ความเสื่อมสลายของสังคม

จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่จะให้สมมติที่เป็นหลักของสังคมตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม และเป็นไปโดยชอบธรรม เพื่อให้เกิดความสามัคคี แม้หากว่าสมมตินั้นขัดต่อผลประโยชน์ของบุคคลบางคน
แต่ถ้าสมมตินั้นชอบธรรม มีธรรมเป็นฐานรองรับ เขาก็ไม่อาจปฏิเสธสมมตินั้นได้ พร้อมกันนั้น ก็ต้องมีการพัฒนาคนอยู่เสมอเพื่อให้ร่วมสามัคคีในการที่จะยอมรับ และปฏิบัติตามสมมติที่ชอบธรรมนั้นๆ

ถ้าคนไม่ยอมรับความจริงในธรรมดาของธรรมชาติ เขาก็จะได้รับผลร้ายตามเหตุปัจจัยในกฎธรรมชาติ
แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับสมมติ เขาก็จะแตกสามัคคีกันในสังคมมนุษย์เอง และผลร้ายก็เกิดแก่เขาเนื่องจากความแตกสลายของสังคมของเขานั้น



กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอย้อนกลับไปที่จุดเดิมว่า เมื่อสมมติและวินัยที่จัดการสมมตินั้นตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม เป็นไปตามธรรม ตามที่ควรจะเป็นด้วยดี ไม่มีความขัดข้องด้านนี้แล้ว ในภาวะอันเป็นปกติอย่างนี้ บุคคลซึ่งรู้ตระหนักอยู่แล้วว่า การที่อยู่ร่วมกันในสังคม ตนควรจะส่งเสริมความเข็มแข็งมั่นคงของสังคมหรือสังฆะ เพื่อความแน่นแฟ้นแห่งสังฆสามัคคี จึงควรปฏิบัติตนในทางที่จะเกื้อหนุนสังฆสามัคคีนั้น

การที่บุคคลจะเกื้อหนุนต่อสังฆะ เพื่อเสริมสังฆสามัคคีนั้น นอกจากการีส่วนร่วมแล้ว ก็พึงมีความเคารพสงฆ์ คือถือสงฆ์เป็นใหญ่ ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นใหญ่ ดังที่พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพสงฆ์ * (องฺ.จตุกก.21/21/27)

การที่บุคคลผู้อยู่ร่วมในสังคม ส่งเสริมความเข้มแข็งมั่นคงของสังคม หรือสังฆะนั้น ในที่สุดก็มิใช่เพื่อประโยชน์อะไรแก่สังฆะ ซึ่งมิได้มีตัวตนที่จะเสวยผลอะไร แต่การที่สังฆะหรือสังคมเข้มแข็ง ก็เพื่อว่าสังฆะที่เข้มแข็งมั่นคงนั้น จะได้มารองรับหนุนบรรดาบุคคลเหล่านั้นให้เจริญเติบโตขึ้นไป

ถ้าสังฆะไม่เจริญมั่นคง ก็จะไม่เอื้อให้บุคคลเจริญพัฒนา เพราะฉะนั้น จึงให้ถือหลักการเรื่องเคารพสงฆ์ ถือสงฆ์เป็นใหญ่ คือสังฆคารวตา และหลักการเรื่องความสามัคคีเป็นสำคัญ ตามหลักที่เรียกว่า “สังฆสามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียงของสงฆ์

ถ้าสงฆ์ไม่มีความสามัคคีแล้ว สภาพชีวิตและระบบความเป็นอยู่ก็จะไม่เอื้อต่อการพัฒนาของบุคคล เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความสามัคคี

เรื่องสมมติพึ่งพาความสามัคคี ขอว่าไว้เท่านี้ก่อน และจะโยงกับเรื่องที่จะพูดต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ขอย้อนกลับไปที่จุดเดิมว่า เมื่อสมมติและวินัยที่จัดการสมมตินั้นตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม เป็นไปตามธรรม ตามที่ควรจะเป็นด้วยดี ไม่มีความขัดข้องด้านนี้แล้ว ในภาวะอันเป็นปกติอย่างนี้ บุคคลซึ่งรู้ตระหนักอยู่แล้วว่า การที่อยู่ร่วมกันในสังคม ตนควรจะส่งเสริมความเข็มแข็งมั่นคงของสังคมหรือสังฆะ เพื่อความแน่นแฟ้นแห่งสังฆสามัคคี จึงควรปฏิบัติตนในทางที่จะเกื้อหนุนสังฆสามัคคีนั้น

การที่บุคคลจะเกื้อหนุนต่อสังฆะ เพื่อเสริมสังฆสามัคคีนั้น นอกจากการีส่วนร่วมแล้ว ก็พึงมีความเคารพสงฆ์ คือถือสงฆ์เป็นใหญ่ ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นใหญ่ ดังที่พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพสงฆ์ * (องฺ.จตุกก.21/21/27)

การที่บุคคลผู้อยู่ร่วมในสังคม ส่งเสริมความเข้มแข็งมั่นคงของสังคม หรือสังฆะนั้น ในที่สุดก็มิใช่เพื่อประโยชน์อะไรแก่สังฆะ ซึ่งมิได้มีตัวตนที่จะเสวยผลอะไร แต่การที่สังฆะหรือสังคมเข้มแข็ง ก็เพื่อว่าสังฆะที่เข้มแข็งมั่นคงนั้น จะได้มารองรับหนุนบรรดาบุคคลเหล่านั้นให้เจริญเติบโตขึ้นไป

ถ้าสังฆะไม่เจริญมั่นคง ก็จะไม่เอื้อให้บุคคลเจริญพัฒนา เพราะฉะนั้น จึงให้ถือหลักการเรื่องเคารพสงฆ์ ถือสงฆ์เป็นใหญ่ คือสังฆคารวตา และหลักการเรื่องความสามัคคีเป็นสำคัญ ตามหลักที่เรียกว่า “สังฆสามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียงของสงฆ์

ถ้าสงฆ์ไม่มีความสามัคคีแล้ว สภาพชีวิตและระบบความเป็นอยู่ก็จะไม่เอื้อต่อการพัฒนาของบุคคล เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความสามัคคี

เรื่องสมมติพึ่งพาความสามัคคี ขอว่าไว้เท่านี้ก่อน และจะโยงกับเรื่องที่จะพูดต่อไป



สังฆานุสติ ระลึกพิจารณา ถึงคุณพระสงฆ์ที่ไม่สามัคคีกัน ได้ป่าวคะ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ขอย้อนกลับไปที่จุดเดิมว่า เมื่อสมมติและวินัยที่จัดการสมมตินั้นตั้งอยู่บนฐานแห่งธรรม เป็นไปตามธรรม ตามที่ควรจะเป็นด้วยดี ไม่มีความขัดข้องด้านนี้แล้ว ในภาวะอันเป็นปกติอย่างนี้ บุคคลซึ่งรู้ตระหนักอยู่แล้วว่า การที่อยู่ร่วมกันในสังคม ตนควรจะส่งเสริมความเข็มแข็งมั่นคงของสังคมหรือสังฆะ เพื่อความแน่นแฟ้นแห่งสังฆสามัคคี จึงควรปฏิบัติตนในทางที่จะเกื้อหนุนสังฆสามัคคีนั้น

การที่บุคคลจะเกื้อหนุนต่อสังฆะ เพื่อเสริมสังฆสามัคคีนั้น นอกจากการีส่วนร่วมแล้ว ก็พึงมีความเคารพสงฆ์ คือถือสงฆ์เป็นใหญ่ ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นใหญ่ ดังที่พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพสงฆ์ * (องฺ.จตุกก.21/21/27)

การที่บุคคลผู้อยู่ร่วมในสังคม ส่งเสริมความเข้มแข็งมั่นคงของสังคม หรือสังฆะนั้น ในที่สุดก็มิใช่เพื่อประโยชน์อะไรแก่สังฆะ ซึ่งมิได้มีตัวตนที่จะเสวยผลอะไร แต่การที่สังฆะหรือสังคมเข้มแข็ง ก็เพื่อว่าสังฆะที่เข้มแข็งมั่นคงนั้น จะได้มารองรับหนุนบรรดาบุคคลเหล่านั้นให้เจริญเติบโตขึ้นไป

ถ้าสังฆะไม่เจริญมั่นคง ก็จะไม่เอื้อให้บุคคลเจริญพัฒนา เพราะฉะนั้น จึงให้ถือหลักการเรื่องเคารพสงฆ์ ถือสงฆ์เป็นใหญ่ คือสังฆคารวตา และหลักการเรื่องความสามัคคีเป็นสำคัญ ตามหลักที่เรียกว่า “สังฆสามัคคี” แปลว่า ความพร้อมเพรียงของสงฆ์

ถ้าสงฆ์ไม่มีความสามัคคีแล้ว สภาพชีวิตและระบบความเป็นอยู่ก็จะไม่เอื้อต่อการพัฒนาของบุคคล เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความสามัคคี

เรื่องสมมติพึ่งพาความสามัคคี ขอว่าไว้เท่านี้ก่อน และจะโยงกับเรื่องที่จะพูดต่อไป



สังฆานุสติ ระลึกพิจารณา ถึงคุณพระสงฆ์ที่ไม่สามัคคีกัน ได้ป่าวคะ ?


อยากทำอะไรก็ทำไปเถอะขอรับ ตามอัธยาศัย :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2018, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องที่สอง ดังได้กล่าวแล้วว่า วินัยตั้งอยู่บนฐานของธรรม และเพื่อธรรม แต่แยกออกเป็นคนละระบบ เหมือนเป็นเรื่องต่างหากกัน ธรรมเป็นเรื่องของความจริงแท้ในธรรมชาติ ส่วนวินัย เป็นเรื่องสมมติของมนุษย์

พอถึงตอนนี้ พูดต่อไปอีกว่า วินัยใช้สมมติมาจัดการหมุนธรรมได้

ถ้าพูดเป็นสำนวนภาษามนุษย์ตามสมมตินั้น ก็บอกว่า เราเอาวินัยมาบังคับธรรม หรือไม่จำเป็นต้องรอธรรม ก็ได้

ขอให้ดูตัวอย่างข้อพิจารณานี้ว่า คนทำกรรมชั่ว ฝ่ายธรรมว่า มีกฏธรรมชาติเป็นกฏแห่งกรรม เขาจะได้รับผลตามกรรมของเขา แต่วินัยไม่รอ วินัยที่เป็นกฏมนุษย์ จึงตั้งกรรมสมมติขึ้นมา และนำผู้กระทำความผิดเข้ามาในกลางที่ประชุมและลงโทษ วินัยไม่รอธรรม จึงไม่รอกรรมตามธรรมชาติ วินัยจัดการทันที ด้วยกรรมสมมติ โดยใช้กฏมนุษย์



พร้อมกันนี้ ก็มีคำทักท้วงติงเตือนชาวพุทธอีกด้วยว่า ในเรื่องอย่างนี้ ยังมีชาวพุทธที่วางท่าทีไม่ถูกต้อง บางคนถึงกับพูดว่า ใครทำกรรมชั่ว เราไม่ต้องทำอะไร เดี๋ยวเขาก็ต้องรับผลกรรมของเขาเอง
คนที่มองอย่างนี้ แสดงว่าพลาดแล้ว ยังมองไม่ถึงความจริง หรือมองไม่ตลอดสาย ยังไม่เข้าถึงวินัย ยังไม่ทั่วถึงธรรม

ทำไมจึงพูดอย่างนั้น ขอให้มองดูความเป็นจริง พิจารณาเหตุผลให้ชัดเจน

ที่บอกว่า มีระบบธรรมชาติของธรรม กับ ระบบสมมติของวินัย แยกเป็น ๒ ระบบนั้น พอพูดกันไปๆ บางทีก็ชักเพลินเห็นไปว่ามี ๒ ระบบแยกต่างหากกันจริงๆ เหมือนอย่างที่แยกว่าเป็นโลกของธรรมชาติ กับ โลกของมนุษย์ (คือสังคม)
แต่ความจริง ที่แยกอย่างนั้นก็เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเรื่องราวต่างๆ เท่านั้น จึงต้องเตือนกันว่า ระวังอย่าหลงเห็นเป็นความจริงจบไปชั้นเดียวแค่นั้น


เมื่อมองกว้างออกไป มองให้ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ ก็เห็นอยู่ชัดๆ ว่ามนุษย์นี้เอง ตัวคนนี้เอง ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง หรือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เพราะฉะนั้น เรื่องอะไรๆของมนุษย์ และไม่ว่ามนุษย์จะทำอะไรๆ ในที่สุดก็ถึงกับธรรมชาติ ไปเป็นธรรมชาติอยู่ดี


อย่างที่ท่านแยกให้ว่า การกระทำของมนุษย์ เรื่องที่คนทำอะไรๆ เป็นไปตามกฏแห่งกรรม เรียกว่า กรรมนิยาม เหมือนเป็นกฎอื่นต่างหากไป แต่ที่จริง กรรมนิยาม นั้น ก็คือกฏธรรมขาติอย่างหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท ดังที่ว่ามาแล้ว เพียงแต่แยกออกมาพูดต่างหากเพื่อให้ชัดเจนเป็นด้านๆกันไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 78 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร