วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9526.jpg
Image-9526.jpg [ 225.23 KiB | เปิดดู 1450 ครั้ง ]
สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นธรรมที่มีอุปการะ คู่กับสติ เป็นธรรมที่เอื้อกับสติ ที่อยู่ 4 ลักษณะ

สาตถกสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด พิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด สิ่งใดๆ ที่เหมาะสมกับเวลา สถานที่ ว่าพึงทำ พึงพูด เช่นไร (อนาคต)
โคจรสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ในปัจจุบัน ในการกระทำใดๆ ว่าทำสิ่งใดอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหวเช่นไร (ปัจจุบัน) ในมหาสติปัฏฐาน กายานุปัสสนา นั้น หมายถึงโคจรสัมปชัญญะนี้
สัปปายสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่อาการจิตที่ไม่มีทุกขเวทนามาก จนขันธ์ทำงานได้ปกติดี เช่นคนมีทุกข์มากย่อมขาดสติได้ ผู้ที่ทุกข์น้อยก็อาจคุมสติได้ดีกว่า
อสัมโมหสัมปชัญญะ คือสัมปชัญญะที่กำหนด รู้สิ่งที่ผ่านมา เคยทำ คำสอนในอดีตที่พึงใช้ รู้ว่าเราเป็นใครมีหน้าที่อะไร สิ่งที่เคยพูดให้สัญญาเอาไว้เช่นรู้ตัวว่าเราเป็นพระพึงรักษาวินัย รู้ตัวว่าละครที่ดูเป็นเพียงการแสดง เราเป็นเพียงคนดูหนังอยู่ คนเราต้องแก่เป็นธรรมดา เท่านั้น (อดีต)
สัมปชัญญะเมื่อใช้กับการเจริญสติ แก้ไข
๑. สาตถกสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นประโยชน์หรือไม่ ? เห็นไตรลักษณ์ได้หรือไม่ ? สาตถสัมปชัญญะคือปัญญาที่รู้ถึงประโยชน์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ว่าเป็นวิธีการฝึกจิตเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายคือ พระนิพพาน แล้วจากนั้นเริ่มลงเจริญสติปัฏฐาน หรือเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่เป็นหนทางเดียว ในการพ้นจากทุกขอริยสัจ และเข้าถึงความสุขสูงสุดของพระพุทธศาสนา

๒. โคจรสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้ปรากฏในปัจจุบัน เกิดขึ้นเอง หรือได้นึกคิดปรุงแต่งสร้างขึ้น เห็นปัจจุบันหรือไม่ ? การกำหนดเจริญสติตามการรับรู้หรืออารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นได้ทันปัจจุบันจากอารมณ์หนึ่ง ไปอีกอารมณ์หนึ่ง ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เจริญกัมมัฏฐาน ในอิริยาบถย่อย เดินจงกรม และนั่งสมาธิ โดยไม่ได้เกิดความคิดปรุงแต่ง หรือพิจารณาด้วยความคิด

๓. สัปปายสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นที่สบายแก่จิตแก่จริตหรือไม่ ? เป็นการพยายามควบคุมการกำหนดสติ จดจ่อเกินไปเคร่งเครียด หรือปล่อยรู้สบายตามธรรมชาติ สัปปายะสัมปชัญญะเป็นเพียงการมีสติระลึกรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยไม่เพ่ง จี้ บังคับ กด อารมณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงแต่เจริญสติกำหนดได้ต่อเนื่องเท่าทันตามจิต ที่ไปรับอารมณ์อย่างเป็นธรรมชาติ

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ การกำหนดว่า อารมณ์ที่พิจารณานี้เป็นสมมติบัญญัติ หรือเป็นปรมัตถ์ เห็นรูปนามหรือไม่ ? อสัมโมหะสัมปชัญญะเป็นปัญญาที่เจริญสติระลึกรู้ได้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่เผลอ มึน นิ่ง หรือคิดฟุ้งซ่าน ด้วยอารมณ์โมหะ เพียงเจริญสติให้ทันปัจจุบันขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ขอแสดงความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจค่ะ
สติแปลว่าระลึกตามคำสอนได้ตรงสัจจะที่กำลังมีค่ะ
สติคือเจตสิกไม่เกิดขณะคิดพูดทำโดยขาดความระลึกตัวจริงธัมมะค่ะ
เพราะความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือสติสัมปชัญญะเป็นความรู้สึกจริงๆที่เข้าถึงอริยสัจจะ
ไม่ใช่การไปกำหนดล่วงหน้าหรือจดจ้องตัวตนแต่เป็นปัจจัยร่วมโสภณเจตสิก+จิตมีปัญญา+สติ+สัมปชัญญะ
:b12:
การทำสมถภาวนาจะเป็นสัมมาสติตลอดเวลาได้เมื่อถึงอริยบุคคลแล้ว
สมถภาวนาเป็นการรู้สึกในร่างกายตนเองโดยไม่พึ่งคิดตามคำสอนรู้อารมณสมาธิเจตสิกอย่างเดียว
เมื่อปุถุชนทำสมถภาวนาจึงขาดสติเป็นปกติยังมีโมหะคิดว่าเป็นสติปัญญา(สติเจตสิกไม่เกิดขณะมีอกุศล)
สำหรับอริยบุคคลมีสติปัญญาถึงระดับไม่มีโมหะแล้วไม่ขาดสติเพราะรู้ตรงสัจจะแล้ว
แต่ปัญญาจะมีการสะสมเพิ่มเมื่อฟังพระพุทธพจน์การมีสัมปชัญญะคือปัญญารู้ชัดใน
จิตครบ6ทางอายตนะก่อนดับคือรู้อารมณ์ปัจจุบันขณะตื่นรู้ตามปัญญาเข้าถึงตรงจริงแล้วค่ะ
ส่วนการฟังเป็นการเพิ่มปัญญาและธรรมของอริยบุคคลจึงไม่ขาดศรัทธาศีลสุตะจาคะปัญญา
คือเป็นผู้มีปกติมีสติสัมปัชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมตรงทางสายกลางรู้ตรงที่ความจริงตั้งอยู่ก่อนดับ
มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวในความจริงเดี๋ยวนี้ที่รู้ชัดตรงแล้วมีศีลคือมีปกติจิตสะสมโสภณเจตสิก
ตลอดเวลาไม่ขาดสติเพราะสติเป็นตัวจริงธัมมะที่เกิดกับขณะจิตที่เป็นกุศลถึงตรงสัจจะจากการฟังมาก่อน
จนสภาพธรรมนั้นปรากฏตามเป็นจริงแล้วไม่ต้องกำหนดจดจ้องแต่เป็นการซึ่งหน้าในสัจจะนั้นๆตรงจริงๆ
มีปกติสละตัวตนที่ยึดมั่นในทุกสิ่งเพราะสละทุกอย่างแล้วเวลาที่กำลังฟังคำตถาคตแล้วรู้ตรง1สัจจะที่มีตรงขณะ
จาคะสละความไม่รู้ออกตอนกำลังระลึกในคำวาจาสัจจะตรงความจริงที่ตนกำลังมีตรงปัจจุบันอารมณ์ที่ลุ่มลึก
ไม่ได้มีตัวตนแยกหรือปลีกตัวตนเอาไปทำเข้าใจไหมคะเป็นผู้มีปกติฟังคำสอนจนไม่ขาดสติปัญญาแล้วค่ะ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2018, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปิดนวโกวาทก็เห็นเลย ทุกะ คือ หมวด ๒

ธรรมมีอุปการะมา ๒ อย่าง

๑. สติ ความระลึกได้

๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

(องฺ. ทุก. 20/119 ฯลฯ)

หมวดธรรมที่มีคำว่า สติ อยู่ด้วยมีมากมายสุดนับคณา เช่น ในอนุสสติ ๑๐ อย่าง อานาปานสติ ก็อยู่ในหมวดนี้ด้วย

สติปัฏฐาน ๔ ก็มีสติพ่วงอยู่ด้วย อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ฯลฯ ก็มีสติควบอยู่อีก

ถ้าเข้าใจความหมายสติ สัมปชัญญะ ผิดเสียแล้ว หากนำเอาหลักธรรมเหล่านี้ไปปฏิบัติไปทำ โน่นขอรับโผม ศรีธัญญา หรือ รพ.สมเด็จเจ้าพระยา หลังคาแดงเอย คิกๆๆ :b32: เขาพูดกันว่า คนไม่มีสติ คนสติไม่ดี คนเสียสติ น่ะมีคำว่า สติ อยู่ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 108 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร