วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 08:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


5. อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขความเห็นของพระพรหม (โบราณเรียกว่าทรมานพระพรหม) ตามความย่อว่า คราวหนึ่ง พระพรหมนามว่าพกะ เกิดมีความเห็นอันชั่วร้ายขึ้นว่า “พรหมสถานะนี้เที่ยง ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป สมบูรณ์ในตัว ไม่มีทางล่วงลับไปเลย พรหมสถานะนี้แหละ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และที่รอดพ้นเหนือขึ้นไปนอกจากพรหมสถานะนี้ หามีไม่”


พระพุทธเจ้า ทราบความคิดของพรหมนั้น จึงเสด็จไปตรัสบอกแก่ พระพรหมว่า “พระพรหมตกอยู่ในอวิชชาเสียแล้ว พระพรหมตกอยู่ในอวิชชาเสียแล้ว จึงกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน กล่าวสิ่งที่ไม่คงอยู่ตลอดไปว่า คงอยู่ตลอดไป ฯลฯ และที่รอดพ้นอื่นที่เหนือกว่ามีอยู่ ก็กลับกล่าวว่า ไม่มีที่รอดพ้นอื่นที่เหนือกว่า”


ครั้งนั้น มารได้เข้างำพรหมบริวารตนหนึ่ง กล่าวกะพระพุทธเจ้าว่า “นี่แน่ะภิกษุ นี่แน่ะภิกษุ ท่านอย่าก้าวร้าวพระพรหมนี้ ท่านอย่าก้าวร้าวพระพรหมนี้ เพราะว่า ท่านพระพรหมนี้แหละ คือ ท้าวมหาพรหม องค์พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) ที่ไม่มีใครฝ่าฝืนได้ เป็นผู้มองเห็นหมดสิ้น ยังสรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เป็นอิศวร เป็นพระผู้สร้าง เป็นพระผู้บันดาล เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดสรรโลก เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นพระบิดาของเหล่าสัตว์ทั้งที่เกิดแล้ว และที่จะเกิดต่อไป ฯลฯ”

พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามมารเสีย มีความตอนท้ายว่า “พระพรหม และบริษัทบริวารของพระพรหมทั้งหมดอยู่ในกำมือของท่าน อยู่ในอำนาจของท่าน ฯลฯ แต่เราหาได้อยู่ในกำมือของท่าน หาได้อยู่ในอำนาจของท่านไม่”


เมื่อพระพรหมกล่าวยืนยันว่า “ข้าพเจ้า กล่าวสิ่งที่เที่ยงแท้ทีเดียว ว่าเที่ยง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืนแท้ดีเดียว ว่ายั่งยืน กล่าวสิ่งที่คงอยู่ตลอดไปแท้ทีเดียว ว่าเป็นสิ่งที่คงอยู่ตลอดไป ฯลฯ” พระพุทธเจ้า จึงตรัสบอกให้พระพรหมทราบว่า พระพรหมยังไม่รู้ ยังมองไม่เห็นอะไรๆ ที่เหนือกว่าพรหมนั้นอีกหลายอย่าง แต่พระองค์ ทรงรู้ทรงเห็น รวมทั้ง :

“ภาวะที่พึงรู้ได้ ( = วิญญาณ) มองด้วยตาไม่เห็น (= อนิทัสสนะ) เป็นอนันต์ สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด (=สัพพโตปภะ) ซึ่งภาวะปฐวีแห่งปฐวีเกาะกุมไม่ได้ ภาวะอาโปแห่งอาโป... ภาวะเตโชแห่งเตโช... ภาวะวาโยแห่งวาโยเกาะกุมไม่ได้ ภาวะสัตว์แห่งสัตว์ทั้งหลาย... ภาวะเทพแห่งเทพทั้งหลาย... ภาวะประชาบดีแห่งประชาบดีทั้งหลาย...ภาวะพรหมแห่งพรหมทั้งหลาย... ภาวะอาภัสสระแห่งอาภัสสรพรหมทั้งหลาย....ภาวะสุภกิณหะแห่งสุภกิณหพรหมทั้งหลาย.... ภาวะเวหัปผละแห่งเวหัปผลพรหมทั้งหลายเกาะกุมไม่ได้ ภาวะพระผู้เป็นเจ้าแห่งพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเกาะกุมไม่ได้ สรรพภาวะแห่งสรรพสิ่งเกาะกุมไม่ได้”


ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสดังนี้แล้ว พระพรหมจึงกล่าวว่า “เอาละ ทีนี้ เราจะหายตัวไปจากท่านละ” แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระพรหมก็หายไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์จะทรงหายตัวบ้าง แล้วหายพระองค์ไป ตรัสให้พรหม และบริษัทบริวารได้ยินแต่พระสุรเสียงว่า

“เราเห็นภัยในภพ และมองเห็นภพของประดาผู้แสวงหาวิภพ เราจึงไม่พร่ำถึงภพ ไรๆ และไม่ยึดติดนันทิ (คือภวตัณหา)” (ม.มู.12/552-554/590-596)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6. อีกเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงภิกษุรูปหนึ่ง เที่ยวไปทุกหนแห่งจนถึงพรหมโลกเพื่อหาผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับที่ธาตุ 4 ดับหมดไม่มีเหลือ ไม่ได้คำตอบ ในที่สุดต้องกลับมาทูลถามพระพุทธเจ้า

ความย่อว่า ภิกษุรูปหนึ่งเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า “ที่ไหนหนอ มหาภูต 4 เหล่านี้ กล่าวคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมดับไปไม่เหลือเลย ?” เธอจึงเข้าสมาธิ แล้วไปหาหมู่เทพยดา เริ่มแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นต้นไป ถามปัญหาข้อนั้น เทวดาต่างก็ไม่รู้ และขอให้เธอไปถามเทพชั้นสูงต่อกันขึ้นไปตามลำดับ จนถึงพรหมโลก

พรหมทั้งหลายบอกเธอว่า พวกพรหมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่มีท้าวมหาพรหม องค์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งคงจะทราบ
พระภิกษุนั้นจึงถามว่า เวลานี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหนเล่า พรหมทั้งหลายก็ตอบว่า พวกพรหมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มหาพรหมอยู่ที่ไหน หรือทิศทางใด แต่จะมีนิมิตให้เห็น เกิดมีแสงสว่าง ปรากฏโอภาสขึ้น พระพรหมจักสำแดงพระองค์เอง การเกิดมีแสงสว่าง และปรากฏโอภาสนั้นแหละเป็นบุพนิมิตของการที่พระพรหมจะสำแดงพระองค์ และต่อมา มหาพรหมก็ได้สำแดงพระองค์ แก่ภิกษุนั้น


ครั้นแล้ว ภิกษุนั้น จึงเข้าไปถามปัญหานั้นกะมหาพรหม มหาพรหมแทนที่จะตอบคำถาม กลับตรัสว่า “เราคือพระพรหม ท้าวมหาพรหม พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ได้ ผู้มองเห็นหมดสิ้น ยังสรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เป็นอิศวร เป็นพระผู้สร้าง เป็นพระผู้บันดาล เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดสรรโลก เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นพระบิดาของเหล่าสัตว์ทั้งที่เกิดแล้ว และที่จะเกิดต่อไป


พระภิกษุนั้น จึงกล่าวว่า “ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านว่า ท่านเป็นพระพรหม ท้าวมหาพรหม พระผู้เป็นเจ้า ฯลฯ แต่ถามท่านว่า มหาภูต 4 ดับไม่เหลือ ณ ที่ไหน” พระพรหมก็ตรัสอย่างเดิมอีกว่า พระองค์เป็นมหาพรหม พระผู้เป็นเจ้า ฯลฯ พระภิกษุนั้น ก็ถามอีกถึงครั้งที่ 3


พระพรหมจึงจับแขนภิกษุนั้น พาหลบออกไปข้างนอก แล้วบอกเธอว่า “นี่แน่ะท่านภิกษุ พวกพรหมเทพเหล่านี้ ย่อมรู้จักข้าพเจ้าว่า อะไรๆ ที่พระพรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่แจ้งประจักษ์ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ตอบปัญหาต่อหน้าพวกพรหมเทพเหล่านั้น นี่แน่ะภิกษุ ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มหาภูต 4 ดับไม่เหลือ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงเป็นการทำผิดพลาดของท่านเอง ที่ละพระผู้มีพระภาคมาเที่ยวแสวงหาคำตอบปัญหานี้ในภายนอก นิมนต์ท่านกลับไปเถิด จงเข้าไปทูลถามปัญหานี้กะพระผู้มีพระภาค และพึงถือตามที่พระองค์ตรัสบอกให้”


ในที่สุด ภิกษุนั้น จึงทูลถามปัญหานั้นกะพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัส ตอบว่า “ไม่ควรถามว่า มหาภูต 4 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมดับไม่เหลือ ณ ที่ไหน?” แต่ควรถามว่า “อาโป ปฐวี เตโช และวาโย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ณ ที่ไหน ยาว สั้น เล็ก ใหญ่ งาม ไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ณ ที่ไหน นามและรูป ย่อมดับหมดไม่เหลือ ณ ที่ไหน ?” และ มีคำตอบว่าดังนี้


“ภาวะที่พึงรู้ได้ (วิญญาณ) มองด้วยตาไม่เห็น (อนิทัสสนะ) เป็นอนันต์ เข้าถึงได้ทุกด้าน (=สัพพโต ปภะ) ที่นี้ อาโป ปฐวี เตโช และวาโย ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ที่นี้ ยาว สั้น ละเอียด หยาบ งาม ไม่งาม ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ที่นี้ นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ที่นี้” (ที.สี.9/343-350/277-283)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คคห.นี้ พึงสังเกตย้อนกลับไปที่ คาถาที่ผ่านมาแล้วประกอบด้วย)

ในที่นี้ นอกเหนือจากข้อความที่บรรยายภาวะนิพพานแล้ว ได้นำเอาเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์แวดล้อมมาเล่าไว้ย่อๆด้วย เพราะเรื่องแวดล้อม อาจเป็นเครื่องประกอบการพิจารณาที่จะช่วยทำความเข้าใจได้ด้วย อย่างน้อยก็จะเห็นได้ว่า ข้อความเหล่านี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่พระภิกษุ ซึ่งเป็นผู้มีพื้นความรู้ทางธรรมอยู่แล้ว หรือตรัสกับพระพรหมที่เป็นเจ้าทิฏฐิ เจ้าทฤษฎี
ผู้ศึกษาบางท่านอาจตีความต่อไปอีกว่า สองเรื่องท้ายเป็นการแสดงคำสอนทางพุทธศาสนา พร้อมไปกับกำราบความเชื่อถือในศาสนาพราหมณ์ โดยวิธีบุคลาธิษฐาน


ความละเอียดจะไม่วิจารณ์ในที่นี้ แต่พึงทราบว่าข้อความบรรยายภาวะของนิพพานเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดความตีความไปต่างๆ และมีการถกเถียงหาเหตุผลมาแสดงแยกความเห็นกันไป ที่เป็นเช่นนี้ เพราะตีความ และคิดเหตุผลวาดภาพกันไปในสิ่งที่นึกไม่เห็น แต่ต้องปฏิบัติให้รู้เอง ดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วประประการหนึ่ง


อีกอย่างหนึ่ง คือ การแปลความหมายคำบาลีบางคำ เป็นเหตุให้ตีความหมายแตกต่างกันไปคนละทาง เช่น คำว่า อายตนะ ในเรื่องที่ 1 บางท่านถือตามคำแปลที่ว่า “แดน” แล้วตีความหมายเป็นถิ่นฐาน หรือสถานที่

บางท่านว่าหมายถึงมิติอีกอย่างหนึ่ง


คำว่า วิญญาณ คำแรก ในเรื่องที่ 5 และ 6 บางท่านถือตามความหมายอย่างเดียวกับในคำว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น ก็ตีความว่า นิพพานเป็นวิญญาณอย่างหนึ่ง แล้วแปลว่า นิพพานเป็นวิญญาณที่เห็นด้วยตาไม่ได้ ฯลฯ
แต่ในอรรถกถา * (ที.อ.1/448, ม.อ.2/556) ท่านอธิบายว่า วิญญาณในที่นี้ ใช้เป็นคำเรียกนิพพาน แปลว่า ภาวะที่พึงรู้ได้ อย่างที่แปลไว้ข้างต้น


จะเห็นได้ว่า ในเรื่องที่ 6 มีคำว่า วิญญาณ 2 ครั้ง วิญญาณ คำแรก หมายถึง นิพพาน โดยมีคำแปลต่างออกไปอย่างหนึ่ง และวิญญาณคำหลัง ในข้อความว่า วิญญาณดับ หมายถึง วิญญาณ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป อย่างที่อธิบายในปฏิจจสมุปบาท


เรื่องเหล่านี้ จะยังไม่อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อไปอีก แต่ขอกล่าวถึงข้อควรระวังที่ว่า

ในเรื่องนิพพานนี้ ไม่ควรตัดสินหรือลงข้อสรุปง่ายๆ เพียงเพราะได้พบถ้อยคำ หรือความหมายบางอย่างที่ตรงเข้ากับนิพพานชนิดที่ตนอยากให้เป็น หรือภาพนิพพานที่ตนคิดวาดเอาไว้ล่วงหน้า เพราะจะทำให้เกิดความยึดถือปักใจเหนียวแน่น ในสิ่งที่ยังไม่รู้เห็นประจักษ์เอง และอาจหลงแล่นผิดไปไกล
ทางที่ดีควรหันมาเน้นการปฏิบัติ และคุณประโยชน์ที่พึงถือเอาได้จากการปฏิบัติ อันตนจะลงมือทำได้จริง และเห็นผลประจักษ์เป็นคู่สมกันกับการปฏิบัติตลอดเวลาที่ก้าวหน้าทุกขั้นตอน ไป

เมื่อกล่าวถึงภาวะของนิพพาน มีคำแสดงภาวะนิพพานที่สำคัญที่สุด คำหนึ่งคือคำว่า “อสังขตะ” แปลว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง คือ ไม่เกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้น


ผู้ที่ช่างสังเกตจึงเกิดความสงสัยขึ้นว่า นิพพานน่าจะเกิดจากเหตุ เพราะนิพพานเป็นผลของมรรค หรือการปฏิบัติตามมรรค


ข้อสงสัยนี้ มีคำตอบแก้สั้นๆ ด้วยข้ออุปมาว่า ถ้าเปรียบการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพาน เหมือนการเดินทางไปเมืองเชียงใหม่ จะเห็นว่า เมือง เชียงใหม่ที่เป็นจุดหมายของการเดินทางนั้น ไม่ได้เป็นผลของทาง หรือการเดินทางเลย ไม่ว่าถนน หรือการเดินทางจะมีขึ้นหรือไม่ก็ตาม เมืองเชียงใหม่ก็คงมีอยู่ ถนน และการเดินทางเป็นเหตุของการถึงเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่ได้เป็นเหตุของเมืองเชียงใหม่ เช่นเดียว กับ มรรค และการปฏิบัติตามมรรคเป็นเหตุแห่งการบรรลุนิพพาน แต่ไม่ใช่เป็นเหตุของนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ต่อไปนี้ เป็นเครื่องแสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า การบรรลุนิพพาน และธรรมชั้นสูงอื่นๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่และเป็นได้จริง ในเมื่อทำดวงตา คือ ปัญญาให้เกิดขึ้น
ดังพุทธพจน์ที่ตรัสโต้มติของพราหมณ์คนหนึ่ง ผู้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ที่มนุษย์จะรู้จะเห็นญาณทัศนะวิเศษยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์ มีความดังนี้

“นี่แน่ะมาณพ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่เห็นรูปดำ รูปขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีชมพู รูปที่เรียบเสมอ และไม่เรียบ ไม่เห็นหมู่ดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ถ้าเขากล่าวว่า รูปดำ รูปขาว ไม่มี คนเห็นรูปดำ รูปขาว ก็ไม่มี รูปเขียวไม่มี คนเห็นรูปเขียว ก็ไม่มี ฯลฯ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไม่มี คนเห็น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็ไม่มี ข้า ฯ ไม่รู้ ข้า ฯ ไม่เห็น สิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นๆ ย่อมไม่มี เมื่อเขากล่าวดังนี้ จะชื่อว่ากล่าวถูกต้อง หรือมาณพ ?”
มาณพทูลตอบว่า “ไม่ถูกต้อง”
พระองค์จึงตรัสต่อไปว่า “ข้อนี้ก็เช่นกัน พราหมณ์โปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน เป็นคนมืดบอด ไม่มีจักษุ การที่เขาจะรู้เห็นหรือบรรลุญาณทัศนะวิเศษ อันสามารถ อันประเสริฐ เหนือกว่ามนุษยธรรม จึงเป็นไปไม่ได้” (ม.ม.13/719/656)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้จะได้สดับข้อความแสดงภาวะของนิพพานกันมาถึงเพียงนี้ และแม้ว่าจะได้คิดตีความ หรือนำมาถกเถียงหาเหตุผลกัน เพื่อหาความเข้าใจว่า นิพพานเป็นอย่างไร
แต่ตราบใด ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติ จนเข้าถึง และรู้เห็นแจ้งประจักษ์ด้วยตนเอง ก็พึงเตือนสติกันไว้ว่า ภาพความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพานของผู้ศึกษาทุกคน ก็คงมีลักษณะอาการอันเทียบได้ กับ ภาพช้าง ในความคิดความเข้าใจของพวกคนตาบอด คลำช้าง ดังความย่อในบาลีต่อไปนี้

สมัยหนึ่ง ในนครสาวัตถี สมณะ พราหมณ์ ปริพาชก จำนวนมากมาย ต่างลัทธิ ต่างทฤษฎี ต่างก็ยึดถือลัทธิ ทฤษฎีของตนว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น แล้วเกิดทะเลาะวิวาท ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมไม่ใช่อย่างนี้ ธรรมไม่ใช่อย่างนี้ ธรรมเป็นอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นำความมากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสว่า


เรื่องเคยมีมาแล้ว ราชาพระองค์หนึ่งในนครสาวัตถี ได้ตรัสสั่งราชบุรุษให้ไปนำเอาคนตาบอดแต่กำเนิดทั้งหมด เท่าที่มีในเมืองสาวัตถี มาประชุมกัน ครั้นแล้ว โปรดให้นำช้างตัวหนึ่งมา ให้คนตาบอดเหล่านั้น ทำความรู้จัก ราชบุรุษแสดงศีรษะช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่าช้างอย่างนี้นะ
แสดงหูช้างแก่อีกพวกหนึ่ง บอกว่าช้างอย่างนี้นะ
แสดงงาช้างแก่อีกพวกหนึ่ง แสดงงวงช้าง ตัวช้าง เท้าช้าง หลังช้าง หางช้าง ปลายหางช้าง แก่คนตาบอดทีละพวกๆ ไปจนหมด บอกว่าช้างอย่างนี้นะ ช้างอย่างนี้นะ เสร็จแล้วกราบทูลพระราชาว่า คนตาบอดทั้งหมดได้ทำความรู้จักช้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว


ครั้งนั้น พระราชาจึงเสด็จมายังที่ประชุมคนตาบอดแล้ว ตรัสถามว่า “พวกท่าน ได้เห็นช้างแล้วใช่ไหม?”

คนตาบอดจึงกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า”

พระราชา จึงตรัสถามต่อไปว่า “ที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ได้เห็นช้างแล้วนั้น ช้างเป็นเช่นไร ?”

คราวนั้น คนตาบอดที่ได้คลำศีรษะช้าง ก็ว่าช้างเหมือนหม้อ
คนที่ได้คลำหูช้าง ก็ว่าช้างเหมือนกระด้ง
คนที่ได้คลำงาช้าง ก็ว่าช้างเหมือนผาล
คนที่ได้คลำงวงช้าง ก็ว่าช้างเหมือนงอนไถ
คนที่ได้คลำตัวช้าง ก็ว่าช้างเหมือนยุ้งข้าว
คนที่ได้คลำเท้าช้าง ก็ว่าช้างเหมือนเสา
คนที่ได้คลำหลังช้าง ก็ว่าช้างเหมือนครกตำข้าว
คนที่ได้คลำหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนสาก
คนที่ได้คลำปลายหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนไม้กวาด


เสร็จแล้วคนตาบอดเหล่านั้น ก็ได้ทุ่มเถียงกันว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ช้างไม่ใช่เป็นอย่างนั้น ช้างไม่ใช่อย่างนั้น ช้างเป็นอย่างนี้ จนถึงขั้นชกต่อยกันชุลมุน เป็นเหตุให้พระราชานั้นทรงสนุกสนานพระทัยแล.

ท้ายสุด พระพุทธเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานเป็นคาถาความว่า

“นี่ละหนอ สมณะและพราหมณ์บางพวก ย่อม มัวติดข้องกันอยู่ ในสิ่งที่เป็นทิฐิทฤษฎีเหล่านี้ คนทั้งหลาย ผู้เห็นเพียงส่วนหนึ่งๆ พากันถือต่างถือแย้ง จึงทะเลาะวิวาทกัน” (ขุ.อุ.25/138/184)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2018, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟัง อ.เสถียร โพธินันทะ ตอบปัญหาเรื่องนิพพานด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=AVkcfFVs45U

กดดูอาจารย์หลายๆรูปพูดถึงนิพพานด้วย

https://f.ptcdn.info/217/043/000/o86lv2 ... QGAd-o.jpg

ใส่ยูทูปไม่เป็น :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน
:b48: พุทธธรรมหน้า ๓๓๒ :b53:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 11:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ส่วนข้อความแบบบรรยายภาวะโดยตรง ซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่ง จะยกมาประกอบการพิจารณา

1. เรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมีกถาเกี่ยวกับนิพพาน แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ได้ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี ตอนหนึ่งพระองค์ได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า

“มีอยู่นะภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีปฐวี ไม่มีอาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีอากิญจัญญายตนะ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีปรโลก ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง เราไม่กล่าวอายตนะนั้นว่า เป็นการมา การไป การหยุดอยู่ การจุติ การอุบัติ อายตนะนั้น ไม่มีที่ตั้งอยู่ แต่ก็ไม่เคลื่อนไป ทั้งไม่ต้องมีเครื่องยึดหน่วง นั้นแหละคือที่จบสิ้นของทุกข์” (ขุ.อุ.25/158/206)


:b1: ... สิ้นสุด ... ก็ที่อายตนะนั่นล่ะ
ซึ่งทุกข้อที่อ่านตาม ๆ กันมา ก็เป็นธรรมอ่านแล้วเย็นใจทุกข้อ

นาน ๆ เวลางานยุ่ง ๆ เอกอนได้เข้ามาที
ได้อ่านธรรมงาม ๆ ก็พลอยได้รู้สึกสงบเย็นใจ ... :b8:

:b1: ...ชีวิตการทำงานค่อนข้างมีแต่เรื่องให้ได้ระอุเยอะ ... :b32:

:b1: :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีที่ห้า

หุบปากเงียบ

คือ

ได้ธรรมรส แต่ไม่แสดงอรรถรส ของนิพพาน
เช่น พระปัจเจก ไงค๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 14:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
วิธีที่ห้า

หุบปากเงียบ

คือ

ได้ธรรมรส แต่ไม่แสดงอรรถรส ของนิพพาน
เช่น พระปัจเจก ไงค๊ะ


:b1: :b16: :b8: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 155 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร