วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2018, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
student
ไม่เข้าใจครับว่า สำนักที่สอนพุทธศาสนา เมื่อไม่ใช่วัด แล้วใครรับรอง
ถ้าไม่มีคณะสงฆ์รับรอง ถือว่าขโมยธรรมไหมครับ

อ้างคำพูด:
Rosarin
ภิกษุบริษัททำผิดวินัยเหมือนกันหมดเลยคือรับเงิน
การรับเงินของภิกษุคือขาดจากการเป็นภิกษุแล้ว
แค่ยังครองจีวรเท่านั้นทำนิสัยเดิมก่อนบวชแต่
มาแสดงตัวเปิดเผยใส่จีวรนั้นแปลว่าโกหก
เพราะไม่ทำตามสิกขาบทขโมยปัจจัยสี่
ของผู้ที่ทำตามสิกขาบทได้เป็นโจรค่ะ
มีอาการอย่างขโมยทุกครั้งที่ไม่สละ
ไม่ปลงอาบัติแถมรับเป็นปกติทุกวัน
ปิดกั้นมรรคผลนิพพานตายไปนะ
ต้องตกนรกนะคะทราบข้อนี้ไหมคะ
เป็นหัวหน้าแบบโจรปล้นก้อนข้าวชาวบ้านผิดไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56415


อ้างคำพูด:
ภิกษุบริษัททำผิดวินัยเหมือนกันหมดเลยคือรับเงิน

การรับเงินของภิกษุคือขาดจากการเป็นภิกษุแล้ว


คุณโรสเอาวินัยบัญญัติข้อไหนมาตัดสินเช่นนั้น คิกๆๆ หรือเป็นอย่างว่าว่าตั้งตนเป็นศาสดีแล้ว

เปิดนวโกวาทดูแล้วไม่มีบัญญัติว่าภิกษุรับเงินจับเฮินขาดจากความเป็นภิกษุแล้วเลยนะขอรับ นี่เข้าศีลข้อ ๔ มุสาวาทนะขอรับเนี่ย :b32: เทียบเป็นพยานเท็จในศาลได้เลย ตกนารกแล้วนะขอรับโผม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2018, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
student
ไม่เข้าใจครับว่า สำนักที่สอนพุทธศาสนา เมื่อไม่ใช่วัด แล้วใครรับรอง
ถ้าไม่มีคณะสงฆ์รับรอง ถือว่าขโมยธรรมไหมครับ

อ้างคำพูด:
Rosarin
ภิกษุบริษัททำผิดวินัยเหมือนกันหมดเลยคือรับเงิน
การรับเงินของภิกษุคือขาดจากการเป็นภิกษุแล้ว
แค่ยังครองจีวรเท่านั้นทำนิสัยเดิมก่อนบวชแต่
มาแสดงตัวเปิดเผยใส่จีวรนั้นแปลว่าโกหก
เพราะไม่ทำตามสิกขาบทขโมยปัจจัยสี่
ของผู้ที่ทำตามสิกขาบทได้เป็นโจรค่ะ
มีอาการอย่างขโมยทุกครั้งที่ไม่สละ
ไม่ปลงอาบัติแถมรับเป็นปกติทุกวัน
ปิดกั้นมรรคผลนิพพานตายไปนะ
ต้องตกนรกนะคะทราบข้อนี้ไหมคะ
เป็นหัวหน้าแบบโจรปล้นก้อนข้าวชาวบ้านผิดไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56415


อ้างคำพูด:
ภิกษุบริษัททำผิดวินัยเหมือนกันหมดเลยคือรับเงิน

การรับเงินของภิกษุคือขาดจากการเป็นภิกษุแล้ว


คุณโรสเอาวินัยบัญญัติข้อไหนมาตัดสินเช่นนั้น คิกๆๆ หรือเป็นอย่างว่าว่าตั้งตนเป็นศาสดีแล้ว

เปิดนวโกวาทดูแล้วไม่มีบัญญัติว่าภิกษุรับเงินจับเฮินขาดจากความเป็นภิกษุแล้วเลยนะขอรับ นี่เข้าศีลข้อ ๔ มุสาวาทนะขอรับเนี่ย :b32: เทียบเป็นพยานเท็จในศาลได้เลย ตกนารกแล้วนะขอรับโผม

:b12:
ดูความประพฤติตนเองรวมถึงคนอื่นๆและภิกษุด้วยว่าทำด้วยความไม่รู้ตามๆกัน
ชาวบ้านไม่เท่าไหร่ค่ะเพราะชาวบ้านน่ะไม่รู้จริงๆว่าภิกษุสามเณรรับเงินไม่ได้ค่ะ
เพราะเขาไม่ได้สิกขาคำสอนของพระพุทธเจ้าค่ะแต่ภิกษุที่รับเงินบอกคนถวายไหม
ว่าโยมอาตมาไม่รับเงินบวชแล้วอยู่วัดฟรีไม่ประกอบอาชีพเดินบิณฑบาตไม่ต้องใช้เงินบอกไหมคะ
ชาวบ้านไม่เคยฟังพระพุทธพจน์เขาไม่รู้ว่าตาเนื้อทุกคนเห็นเป็นอกุศลตลอดเวลาที่ขาดฟังคำสอน
สุตมยปัญญาคือปัจจุบันขณะที่ทุกคนเพียรคิดตามคำสอนเพื่อเข้าใจตามเพื่อรู้เหตุผลอะไรถูกผิด
เช่นบรรพชิตไม่มีกิจรับเงินใช้เงินทุกวันตั้งแต่บวชจนตายคาผ้าเหลืองบอกชาวบ้านให้รู้ให้เข้าใจไหมคะ
บอกตรงๆถามจริงๆอ่านเข้าใจเนื้อความที่โรสเขียนอธิบายพอจะคิดออกไหมว่าใครทำอะไรเอาไว้บ้าง555
:b32: :b32: :b32:
https://youtu.be/NanjadfQk-o


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2018, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นบัญญัติ

พระกับเงิน ตอนที่ ๓
พระถูกต้อง / จับ / หยิบ ของมีค่าได้หรือไม่ ?
พระพุทธเจ้าทรงว่าไว้อย่างไร ?”
--------------------
(This chapter reveals that a Buddhist monk can either touch or pick up the valuabes like gold gem and diamond ring etc., left in an area of monastery or residence for giving back to an owner. He can do that by himself or order others to do it.)
ทบทวนความเข้าใจ

๑. บทความตอนที่ ๑ กับตอนที่ ๒ มีคำสำคัญที่น่าทบทวน คือ ชาตะรูปะระชะตะ (บาลี ชาตรูปรชต) ระตะนะ (บาลี รตน) รูปิยะ (บาลี รูปิย) สรุปแล้วก็คือ เงิน ทอง ที่ทำเป็นรูปพรรณมีมูลค่าใช้ในซื้อ/แลกเปลี่ยนสิ่งของ

๒. พระพุทธเจ้าทรงห้ามพระรับหรือให้คนรับแทน โดยใช้คำบาลีว่า ชาตะรูปะระชะตัง อุคฺคัณฺเหยฺยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา ซึ่งแปลว่า รับ หรือ ให้คนอื่นรับ ทองและเงิน ซึ่งมีการอธิบายว่า อุคคัณฺเหยยะ ได้แก่ คัณหาติ แปลว่า รับ อุคฺคัณหาเปยยะ ได้แก่ คัณหาเปติ แปลว่า ให้ (คนอื่น) รับ (ดูพระไตรปิฎก มจร. รูปิยสิกขาบท ที่ ๒ ในโกสิยวรรค ข้อ ๕๘๔)
สรุปแล้ว ก็คือ ภิกษุ รับ หรือ ให้คนอื่นรับ ทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง

๓. คำว่า คัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา ที่เคยแปลว่า “รับ / ให้คนอื่นรับ” มาแล้วนั้น มีการนำคำนี้มาใช้อีกในรัตนสิกขาบท (สิกขาบทว่าด้วยรัตนะ) ที่ ๒ ในรตนวรค ข้อ ๕๐๒ แต่ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า รับ / ให้คนอื่นรับ แต่ต้องแปลว่า จับ หรือ หยิบ จึงจะได้ความหมาย อย่างที่จะกล่าวต่อไป

@ พระถูกต้อง / จับ / หยิบ ของมีค่า ?

“ของมีค่า” ในที่นี้ ได้แก่ รัตนะ หรือ ของที่รู้กันว่าทำมาจากรัตนะ ซึ่งได้แก่ ห่อเงิน และ ทองรูปพรรณที่ใช้เป็นเครื่องประดับ ซึ่งมีผู้ลืมไว้ ศึกษาได้จากสิกขาบท หรือ พระพุทธบัญญัติที่ตรัส สิกขาบทนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติแก้ไขให้เกิดความเหมาะสมเพิ่มถึง ๓ ครั้ง

๑. ครั้งที่ ๑ ทรงบัญญัติว่า

โย ปะนะ ภิกขุ ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา อุคคัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา ปาจิตติยัง – ก็ ภิกษุใด จับ/หยิบ รัตนะหรือของที่รับรู้กันว่ารัตนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ในตอนนี้ รัตนะหรือของที่รับรู้กันว่ารัตนะ คือ ห่อเงิน ซึ่งมีผู้ลืมไว้ ศึกษาได้จากเนื้อเรื่องที่มีเล่าไว้ว่า

.... มีภิกษุรูปหนึ่ง กำลังอาบน้ำอยู่ที่แม่น้ำอจิรวดี ขณะนั้นพราหมณ์คนหนึ่ง วางห่อเงิน ๕๐๐ กหาปณะไว้บนบก แล้วลงอาบน้ำที่แม่น้ำอจิรวดีเช่นกัน อาบเสร็จแล้วก็ไป โดยลืมห่อเงินไว้ ฝ่ายภิกษุรูปนั้น (เห็นห่อนั้นแล้ว) ก็คิดว่า “ของห่อเงินของพราหมณ์นี้อย่าได้หายเลย” จึงหยิบเอาไปด้วยตั้งใจจะเก็บไว้ให้ ครู่เดียว พราหมณ์นั้น ก็กระหืดกระหอบ รีบมาหาภิกษุรูปนั้น แล้วถามว่า “เห็นถุงเงินของผมบ้างไหม ?” เมื่อพระตอบว่า “เห็น”

ตามธรรมเนียมปฏิบัติเจ้าของเงินที่ได้ของคืน น่าจะต้องให้ค่าตอบแทนแก่ผู้เก็บไว้ให้ อย่างน้อยต้องให้ร้อยละ ๕ คือ ต้องชักให้ ๕ กหาปณะ จาก ๑๐๐ กหาปณะ (สะตะโต ปัญจะ กะหาปะณา) พราหมณ์นั้นกลัว ว่าจะต้องให้ค่าตอบแทน จึงคิดหาอุบาย ให้ไม่ต้องจ่ายแก่ท่าน จึงพูดสับปลับว่า “เงินของผมไม่ใช่ ๕๐๐ กหาปณะ แต่เป็น ๑,๐๐๐ กหาปณะ” แล้วผละจากไป แล้วไปพูดให้เสียหายต่อสาธารณชนว่า “พระหยิบของตัวเองไป” ฝ่ายภิกษุนั้น กลับวัดแล้ว เล่าเรื่องให้เพื่อนพระด้วยกันทราบ ในที่สุดพระพุทธเจ้า ก็ทรงประชุมสงฆ์ สอบสวนท่าน เมื่อท่านรับว่า “หยิบไปจริง” พระพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว บัญญัติสิกขาบทดังกล่าวแล้ว

ข้อสังเกต

๑. ของมีค่านี้เจ้าของลืมไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งไม่ใช่ในพื้นที่ของวัด
๒. การบัญญัติครั้งนี้เป็นการบัญญัติครั้งแรก เรียกตามพระวินัยว่า ปฐมบัญญัติ – บัญญัติครั้งที่ ๑

๒. ครั้งที่ ๒ ทรงบัญญัติว่า

“โย ปะนะ ภิกขุ ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา อัญญัตระ อัชฌารามา อุคคัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา ปาจิตติยัง – ก็ ภิกษุใด จับ/หยิบ รัตนะหรือของที่รับรู้กันว่า(ทำมาจาก)รัตนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่จับ/หยิบในเขตอาราม”

ในตอนนี้ รัตนะหรือของที่รับรู้ว่า (ทำมาจาก) รัตนะ คือ เครื่องประดับที่ทำจากรัตนะต่าง ได้แก่ มหาลดาประสาธน์ ราคา เก้าโกฏิกหาปณะ ซึ่งเป็นเครื่องประดับประจำตัวนางวิสาขา ที่สาวใช้ลืมไว้ ศึกษาได้จากเหตุการณ์ที่มีกล่าวไว้ว่า

....คราวหนึ่ง ในเมืองสาวัตถีมีการแสดงมหรสพซึ่งจัดขึ้นในอุทยาน (สวนสาธารณะ) มีผู้คนไปเที่ยวชมกันมาก แต่ละคนต่างแต่งตัวสวยงาม นางวิสาขาก็ตั้งใจไปอุทยานด้วย จึงแต่งตัวสวยงามด้วยเครื่องประดับเต็มอัตรา แต่ระหว่างทางคิดได้ว่าไปอุทยานก็ไม่รู้จะไปทำอะไร จึงเปลี่ยนใจเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้นไปถึงเขตวัดปุพพารามแล้วก็ปลดเครื่องประดับออกแล้วเอาผ้าพาดไหล่ห่อไว้แล้วยื่นให้สาวใช้ถือไว้ นางวิสาขาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังธรรมแล้วก็กราบลา ปรากฏว่า สาวใช้ลืมห่อเครื่องประดับไว้ที่วัด พระเห็นแล้วจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า “เตนะหิ ภิกขะเว อุคคะเหตวา นิกขิปถ - ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ให้พวกเธอหยิบมาเก็บไว้” ต่อมา พระองค์ทรงอาศัยเหตุการณ์นั้นรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วตรัสเปิดทางว่า

“อะนุชานามิ ภิกขะเว ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา อัชฌาราเม อุคคะเหตวา วา อุคคะหาเปตวา วา นิกขิปิตุง ‘ยัสสะ ภะวิสสะติ, โส หะริสสะติ’อิติ – ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้(ภิกษุ) หยิบเอง หรือ ใช้ให้คนอื่นหยิบ รัตนะ หรือของที่รับรู้ว่า(ทำมาจาก)รัตนะ(ที่ตก)ในเขตอารามด้วยมาเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘ผู้ที่เป็นเจ้าของจักมารับไป’”

จากนั้น จึงทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทว่าไว้ให้พระสาวกได้เรียนรู้อย่างที่กล่าวไว้ข้างบน

โปรดสังเกตว่า
๑. การบัญญัติครั้งที่ ๒ นี้ เป็นการเพิ่มเติมเนื้อหา คือ “ในเขตอาราม” ซึ่งในการบัญญัติครั้งแรกไม่มี
๒. การบัญญัติเพิ่มเติมนี้ เรียกว่า อนุบัญญัติ – การบัญญัติเพิ่ม จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผ่อนคลายหรือยืดหยุ่นขึ้น

แต่เรื่องไม่จบแค่นั้น ยังมีการบัญญัติเพิ่มอีกเป็นครั้งที่ ๓

๓. ครั้งที่ ๓ ทรงบัญญัติว่า

“โย ปะนะ ภิกขุ ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา อัญญัตระ อัชฌารามา วา อัชฌาวะสถา วา อุคคัณเหยยะ วา อุคคัณหาเปยยะ วา ปาจิตติยัง. ระตะนัง วา ปะนะ ภิกขุนา ระตะนะสัมมะตัง วา อัชฌาราเม วา อัชฌาวะสะเถ วา อุคคะเหตวา วา อุคคะหาหาเปตวา วา นิกขิปิตัพพัง ‘ยัสสะ ภะวิสสะติ, โส หะริสสะติ ; อะยัง ตัตถะ สามีจิ’
ก็ ภิกษุใด จับ/หยิบ รัตนะหรือของที่รับรู้กันว่า(ทำมาจาก)รัตนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่จับ/หยิบในเขตอาราม หรือในที่พัก, อนึ่ง ภิกษุจะจับ/หยิบเอง หรือ ใช้ให้คนอื่นจับ/หยิบซึ่งรัตนะหรือของที่รับรู้ร่วมกันว่าทำมาจากรัตนะในเขตพื้นที่อารามหรือในที่พักแรมมาเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘ผู้เป็นเจ้าของจักมารับไป’ นี้เป็นความชอบในเรื่องนั้น”

ในตอนนี้ รัตนะหรือของที่รับรู้ว่า(ทำมาจาก)รัตนะ คือ เครื่องประดับที่ทำจากรัตนะต่าง ได้แก่ แหวนสวมนิ้วมือ (อังคุลิมุททิกา) ที่เจ้าของถอดลืมไว้ในที่พัก ศึกษาได้จากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

...คราวหนึ่ง ที่หมู่บ้านสำหรับประกอบการของอนาถบิณฑิกเศรษฐีซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นกาสี มีพระมาหลายรูป เศรษฐีเคยสั่งคนใก้ลชิดไว้ว่า “ถ้ามีพระมา ให้ทำอาหารถวาย” ดังนั้นเขาจึงนิมนต์พระให้มาฉันอาหารในวันรุ่งขึ้น รุ่งขึ้นเช้า เมื่อพระมาพร้อม เขาก็จัดการเลี้ยงพระด้วยตนเองโดยถอดแหวนออกวางไว้เพื่อให้คล่องตัว ครั้นเลี้ยงพระแล้วส่งพระกลับแล้ว เขาก็ออกไปทำงานโดยลืมแหวนไว้ในที่พักที่เลี้ยงพระ พระเห็นเขาลืมแหวนกลัวแหวนจะหายจึงยังเฝ้ารออยู่ ณ ที่นั้นจนกระทั่งคนสนิทของเศรษฐีมาเอาแหวนคืนไป ทั้งหมดเดินทางไปถึงเมืองสาวัตถีแล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้เพื่อนพระด้วยกันฟัง พระพุทธเจ้าทรงทราบความจริงจึงตรัสประชุมสงฆ์แล้วตรัสแนะนำว่า

“อะนุชานามิ ภิกขะเว ระตะนัง วา ระตะนะสัมมะตัง วา อัชฌาราเม วา อัชฌาวะสะเถ วา อุคคะเหตวา วา อุคคะหาเปตวา วา นิกขิปิตุง ‘ยัสสะ ภะวิสสะติ, โส หะริสสะติ’อิติ – ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้ (ภิกษุ) หยิบเอง หรือ ใช้ให้คนอื่นหยิบ รัตนะ หรือของที่รับรู้ว่า (ทำมาจาก) รัตนะ (ที่ตก) ในเขตอารามหรือในที่พักแรมมาเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘ผู้ที่เป็นเจ้าของจักมารับไป’”

จากนั้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบทดังกล่าวไว้แล้วฃ้างต้น

โปรดสังเกต
๑. การบัญญัติครั้งที่ ๓ เป็นอนุบัญญัติ- การบัญญัติเพิ่ม คือเพิ่ม อัชฌาวะสะเถ - ในที่พักแรม เข้ามา ต่อจากครั้งที่ ๒
๒.จะเห็นว่าทรงแก้ไขเหมือนแก้กฏหมาย แก้หลังมีสถานการณ์ให้ต้องแก้
๓.เป็นการแก้เพื่อให้พระสาวกปฏิบัติตัวได้ง่ายขึ้นเป็นที่พึ่งของสังคมได้ เพราะแสดงความรับผิดชอบต่อมนุษย์ด้วยกัน
สรุป
การจับ/หยิบ ในสิกขาบทนี้ไม่ใช่เพื่อตน แต่เพื่อเก็บไว้คืนเจ้าของ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำได้ ไม่เป็นอาบัติ
สาระสำคัญของเหตุการณ์ อยากให้ผู้อ่านศึกษาถึงการบัญญัตติสิกขาบทแบบผ่อนผันของพระพุทธเจ้าในที่หรือโอกาสหรือสถานการณ์ที่ทรงเห็นว่าผ่อนผันแบบให้พระอยู่ในสังคมโลกได้ โดยไม่เสียความเป็นพระ

https://www.facebook.com/bannaruji.home

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2018, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
student
ไม่เข้าใจครับว่า สำนักที่สอนพุทธศาสนา เมื่อไม่ใช่วัด แล้วใครรับรอง
ถ้าไม่มีคณะสงฆ์รับรอง ถือว่าขโมยธรรมไหมครับ

อ้างคำพูด:
Rosarin
ภิกษุบริษัททำผิดวินัยเหมือนกันหมดเลยคือรับเงิน
การรับเงินของภิกษุคือขาดจากการเป็นภิกษุแล้ว
แค่ยังครองจีวรเท่านั้นทำนิสัยเดิมก่อนบวชแต่
มาแสดงตัวเปิดเผยใส่จีวรนั้นแปลว่าโกหก
เพราะไม่ทำตามสิกขาบทขโมยปัจจัยสี่
ของผู้ที่ทำตามสิกขาบทได้เป็นโจรค่ะ
มีอาการอย่างขโมยทุกครั้งที่ไม่สละ
ไม่ปลงอาบัติแถมรับเป็นปกติทุกวัน
ปิดกั้นมรรคผลนิพพานตายไปนะ
ต้องตกนรกนะคะทราบข้อนี้ไหมคะ
เป็นหัวหน้าแบบโจรปล้นก้อนข้าวชาวบ้านผิดไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56415


อ้างคำพูด:
ภิกษุบริษัททำผิดวินัยเหมือนกันหมดเลยคือรับเงิน

การรับเงินของภิกษุคือขาดจากการเป็นภิกษุแล้ว


คุณโรสเอาวินัยบัญญัติข้อไหนมาตัดสินเช่นนั้น คิกๆๆ หรือเป็นอย่างว่าว่าตั้งตนเป็นศาสดีแล้ว

เปิดนวโกวาทดูแล้วไม่มีบัญญัติว่าภิกษุรับเงินจับเฮินขาดจากความเป็นภิกษุแล้วเลยนะขอรับ นี่เข้าศีลข้อ ๔ มุสาวาทนะขอรับเนี่ย :b32: เทียบเป็นพยานเท็จในศาลได้เลย ตกนารกแล้วนะขอรับโผม

:b12:
ดูความประพฤติตนเองรวมถึงคนอื่นๆและภิกษุด้วยว่าทำด้วยความไม่รู้ตามๆกัน
ชาวบ้านไม่เท่าไหร่ค่ะเพราะชาวบ้านน่ะไม่รู้จริงๆว่าภิกษุสามเณรรับเงินไม่ได้ค่ะ
เพราะเขาไม่ได้สิกขาคำสอนของพระพุทธเจ้าค่ะแต่ภิกษุที่รับเงินบอกคนถวายไหม
ว่าโยมอาตมาไม่รับเงินบวชแล้วอยู่วัดฟรีไม่ประกอบอาชีพเดินบิณฑบาตไม่ต้องใช้เงินบอกไหมคะ
ชาวบ้านไม่เคยฟังพระพุทธพจน์เขาไม่รู้ว่าตาเนื้อทุกคนเห็นเป็นอกุศลตลอดเวลาที่ขาดฟังคำสอน
สุตมยปัญญาคือปัจจุบันขณะที่ทุกคนเพียรคิดตามคำสอนเพื่อเข้าใจตามเพื่อรู้เหตุผลอะไรถูกผิด
เช่นบรรพชิตไม่มีกิจรับเงินใช้เงินทุกวันตั้งแต่บวชจนตายคาผ้าเหลืองบอกชาวบ้านให้รู้ให้เข้าใจไหมคะ
บอกตรงๆถามจริงๆอ่านเข้าใจเนื้อความที่โรสเขียนอธิบายพอจะคิดออกไหมว่าใครทำอะไรเอาไว้บ้าง555
:b32: :b32: :b32:
https://youtu.be/NanjadfQk-o



เคยแสดง คคห.เห็นไว้ที่

อ้างคำพูด:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56221

มองให้กว้าง ก็ไม่รู้นะ แต่จะลองยกตัวอย่าง ให้ดู ค่าใช้จ่ายภายในวัด/สำนัก มีอะไรบ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเก็บขยะ แต่ละเดือนๆ ค่าก่อสร้างกุฏิวิหาร ค่าบูรณะปฏิสังขรณ์กุฎีวิหารลานเจดีย์ที่คร่ำคร่า แต่ละปีๆ ฯลฯ จะให้วัดแต่ละวัดๆทำอย่างไร ถ้าอย่างนั้นรัฐบาลต้องจัดงบประมาณให้วัดทั่วประเทศ ข่าวว่าทั้งประเทศมีวัดสามหมื่นกว่าวัด สำนักสงฆ์อีก คิกๆๆ

ไม่ให้พระจับเฮินเอง ทางรัฐก็ต้องจัดคนรับใช้พระแต่ละรูปๆ พระจะไปไหนก็ต้องไปส่ง จะไปเรียนหนังสือก็ต้องไปส่ง สมุดดินสอปากกาก็ต้องหาให้ เขาว่าพระทั่วประเทศมีประมาณสามแสนกว่ารูป ก็ต้องจัดคนรับใช้พระสามแสนกว่าคน อิอิ


เมื่อคุณโรสว่างั้น แต่สังคมปัจจุบันมันเป็นยังงี้ คุณโรสแนะนำทางออกให้เขาสิ ทำยังไง หนึ่ง สอง สาม เอ้า

จะเล่นแบบนกหวีดสวนลุม คนหัวแตงโม ซึ่งพูดแบบการเมือง พูดมีเลศนัย พูดแล้วไปเลยทิ้งปัญหาเลย เรียกว่าทำพูดแบบพาลชน ไม่ใช่บัณฑิต บัณฑิตพูดถึงปัญหาแล้วบอกทางให้ นี่บัณฑิตชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2018, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
ดูความประพฤติตนเองรวมถึงคนอื่นๆและภิกษุด้วยว่าทำด้วยความไม่รู้ตามๆกัน
ชาวบ้านไม่เท่าไหร่ค่ะเพราะชาวบ้านน่ะไม่รู้จริงๆว่าภิกษุสามเณรรับเงินไม่ได้ค่ะ
เพราะเขาไม่ได้สิกขาคำสอนของพระพุทธเจ้าค่ะแต่ภิกษุที่รับเงินบอกคนถวายไหม
ว่าโยมอาตมาไม่รับเงินบวชแล้วอยู่วัดฟรีไม่ประกอบอาชีพเดินบิณฑบาตไม่ต้องใช้เงินบอกไหมคะ
ชาวบ้านไม่เคยฟังพระพุทธพจน์เขาไม่รู้ว่าตาเนื้อทุกคนเห็นเป็นอกุศลตลอดเวลาที่ขาดฟังคำสอน
สุตมยปัญญาคือปัจจุบันขณะที่ทุกคนเพียรคิดตามคำสอนเพื่อเข้าใจตามเพื่อรู้เหตุผลอะไรถูกผิด
เช่นบรรพชิตไม่มีกิจรับเงินใช้เงินทุกวันตั้งแต่บวชจนตายคาผ้าเหลืองบอกชาวบ้านให้รู้ให้เข้าใจไหมคะ
บอกตรงๆถามจริงๆอ่านเข้าใจเนื้อความที่โรสเขียนอธิบายพอจะคิดออกไหมว่าใครทำอะไรเอาไว้บ้าง555
:b32: :b32: :b32:



อ้างคำพูด:
พระอาจารย์เล่าว่า "วันก่อนอาตมานั่งรถแท็กซี่ เกือบจะมาไม่ถึง..........แล้ว เพราะเงินหมด แถมยังทำเป็นใจใหญ่ ค่าแท็กซี่ ๒๙๓ บาท แต่จ่ายให้เขา ๓๐๐ บาทเลย เขาไม่รู้หรอกว่าอาตมาเหลือติดตัวอยู่แค่อีก ๔๐ บาท พอสอนหนังสือเสร็จเดินออกมา มีสาวคนหนึ่งเดินมาขอเงินกินข้าว ๒๐ บาท อาตมาบอกว่า "จะไปพอกินอะไร เอาไป ๔๐ บาทเลย"

เวลาคนอื่นมาขออะไรเรา ทางที่ดีที่สุดก็คือ อย่าไปเสียเวลาระแวงสงสัย ให้คิดว่าเป็นบุญลาภอันใหญ่ของเราแล้ว ที่จะได้ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนในการตัดความโลภ เพราะฉะนั้น..อาตมาจะไม่สนใจเรื่องอื่น เอ็งรีบเอาไปเลย ให้โดยเร็วที่สุด และให้เยอะที่สุดเท่าที่มี พอถึงเวลาถ้าจำเป็นต้องเกิดใหม่ อานิสงส์ตรงนี้จะทำให้ตอนที่ได้เราจะได้มากจนเบื่อ ระยะนี้อาตมาเบื่อสุด ๆ เวลาที่คนเขาเอาสารพัดของมาให้ ก็เพราะทำบุญลักษณะนี้เป็นประจำ

บางทีอยู่ ๆ มอเตอร์ไซค์วิ่งพรวดมาจอดหน้ากุฏิ “หลวงพ่อขอเงินเติมน้ำมันร้อยหนึ่ง” อาตมาก็ควักให้เขาดู "ทั้งตัวมีอยู่ ๑๒๐ บาท เอ็งเอาไป ๑๐๐ ก็แลัวกัน" ตัดใจให้จริง ๆ พวกนี้มีมาสารพัดรูปแบบเลย แต่ว่าถ้าเราให้ได้ ก็ให้เขาไปเลย ถ้าหากว่าเรามีไม่พอ ก็ให้เขาแค่ที่มี ถ้ามีพอก็ให้เกินกว่าที่เขาขอ ทำอย่างนั้นแหละแล้วจะเจริญ เพราะเขาจะมาขอเรื่อย ๆ...(หัวเราะ)..."


พระอาจารย์องค์นี้..หากผมเจอ..ผมกราบไหว้เลยละ

ส่วนคุณโรส..จะคิดยังงัย..ก็ไม่รู้นะ.. :b13: :b13: :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 111 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร