วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะค่อยๆนำหลักฐานในคัมภีร์มาเรียงให้ดู

นำด้วยไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เห็นภาพแล้วว่ามีสมาธิอยู่ด้วย พระพุทธเจ้าก็แนะนำให้เจริญสมาธิด้วย เมื่อฝึกฝนพัฒนาจิตจนเกิดมีสมาธิแล้ว ก็ใช้จิตที่ตั้งมั่นนั้นเป็นฐานของปัญญาอีกต่อหนึ่ง เช่น บาลีว่า "สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ" ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ก็พูดโดยยังไม่ได้ทำเสียว่า

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค่อยๆอ่านไป ยาวหน่อย

ข้อดีพิเศษของอานาปานสติ

มีหลายประการ เช่น

@ เป็นวิธีเจริญสมาธิที่ปฏิบัติได้สะดวกยิ่ง เพราะใช้ลมหายใจ ซึ่งเนื่องอยู่กับตัวของทุกคน ใช้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ในทันทีที่ต้องการ ไม่ต้องตระเตรียมวัตถุอุปกรณ์อย่างพวกกสิณ เป็นต้น ในเวลาเดียวกันก็เป็นอารมณ์ประเภทรูปธรรม ซึ่งกำหนดได้ชัดเจนพอสมควร ไม่ละเอียดลึกซึ้งอย่างกรรมฐานประเภทนามธรรม ที่ต้องนึกขึ้นมาจากสัญญา และถ้าต้องการปฏิบัติอย่างง่ายๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดอะไร เพียงเอาสติคอยกำหนดลมหายใจที่ปรากฏอยู่แล้ว ไม่ต้องคิดแยกแยะพิจารณาสภาวธรรมอย่างพวกธาตุมนสิการ เป็นต้น ผู้ที่ใช้สมองเหนื่อยมาแล้ว ก็ปฏิบัติได้สบาย


@ พอเริ่มลงมือปฏิบัติ ก็ได้รับผลเป็นประโยชน์ทันทีตั้งแต่ต้นเรื่อยไป ไม่ต้องรอจนเกิดสมาธิที่เป็นขั้นตอนชัดเจน กล่าวคือ กาย - ใจผ่อนคลายได้พัก จิตสงบสบายลึกซึ้งลงไปเรื่อยๆ ทำให้อกุศลธรรมระงับ และส่งเสริมให้กุศลธรรมเกิดขึ้น

@ ไม่กระทบกระเทือนต่อสุขภาพ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงประสบการณ์ของพระองค์เองว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ (คืออานาปานสติสมาธิ) มาก กายก็ไม่เมื่อย ตาก็ไม่เหนื่อย*(สํ.ม.19/1329/401) ไม่เหมือนอย่างกัมมัฏฐานบางอย่าง ที่อาศัยการยืน การเดิน หรือการเพ่งจ้อง แต่ตรงข้าม อานาปานสติกัมมัฏฐานนี้ กลับเกื้อกูลแก่สุขภาพ ทั้งช่วยให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างดี และระบบการหายใจที่ปรับให้เรียบเสมอประณีตด้วยการปฏิบัติกัมมัฏฐานนี้ ก็ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น

ขอให้นึกอย่างง่ายๆ คนที่วิ่งมา หรือขึ้นลงที่สูง กำลังเหนื่อย หรือคนตื่นเต้นตกใจ เกรี้ยวกราดหวาดกลัว เป็นต้น ลมหายใจหยาบแรงกว่าคนปกติ บางทีจมูกไม่พอ ต้องหายใจทางปากด้วย ในทางตรงข้าม คนที่กายผ่อนคลาย ใจสงบสบาย ลมหายใจละเอียดประณีตกว่าคนปกติ

การบำเพ็ญอาปานสติ ช่วยทำให้กายใจสุขสงบ จนลมหายใจละเอียดประณีตลงไปเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้นอีก จนถึงขั้นที่แทบจับไม่ได้เลยว่ามีลมหายใจ ในเวลานั้น ร่างกายดำรงอยู่ได้ดี โดยใช้พลังงานน้อยที่สุด ไม่เรียกร้องการเผาผลาญ เตรียมความสดชื่นไว้ให้แก่การทำกิจในเวลาถัดไป และช่วยให้แก่ช้าลง หรือช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น พร้อมกับที่สามารถพักผ่อนน้อยลง


@ เป็นกัมมัฏฐานข้อหนึ่งในจำนวนเพียง ๑๒ อย่าง ที่สามารถให้สำเร็จผลในด้านสมถะได้จนถึงขั้นสูงสุด คือ จตุตถฌานและส่งผลให้ถึงอรูปฌาน กระทั่งนิโรธสมาบัติก็ได้ จึงจับเอาเป็นข้อปฏิบัติหลักได้ ตั้งแต่ต้นจนตลอด ไม่ต้องพะวงที่จะหากัมมัฏฐานอื่นมาสับเปลี่ยน หรือต่อเติมอีก มีพุทธพจน์เสริมว่า


“เพราะฉะนั้นแล หากภิกษุหวังว่าเราพึงบรรลุจตุตถฌาน...ก็พึงมนสิการอาปานสติสมาธินี้แลให้ดี...หากภิกษุหวังว่า เราพึงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะเถิด... เราพึงก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธเถิด ก็พึงมนสิการอานาปานสตินี้แลให้มาก” * (สํ.ม.19/1329-1354)


@ ใช้ได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา คือ จะปฏิบัติเพื่อมุ่งผลฝ่ายสมาธิแน่วไปอย่างเดียว ก็ได้ จะใช้เป็นฐานปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานจนครบทั้ง ๔ อย่างก็ได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เอื้ออำนวยให้สามารถใช้สมาธิจิต เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญาได้เต็มที่* (ที่จัดเป็นส่วนหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ที.ม.10/274/325 ฯลฯ ที่ระบุวิธีปฏิบัติให้ได้ครบสติปัฏฐาน ๔ คือ ในอานาปานสติสูตร ม.อุ.14/289/195 ฯลฯ ที่กล่าวถือเนื้อหาของการปฏิบัติครบ ๑๖ ตอน ณ ที่อื่นอีก คือ วินย. 1/178/131 ฯลฯ คำอธิบายพิสดารมาใน ขุ.ปฏิ.31/362-422/244-300 นอกนั้นมาในรายชื่ออนุสติ และเรื่องอื่นๆอีกมากแห่ง)


@ เป็นวิธีเจริญสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมาก ทรงสนับสนุนบ่อยครั้ง ให้พระภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ และพระพุทธองค์เองก็ได้ทรงใช้เป็นวิหารธรรมมาก ทั้งก่อนและหลังตรัสรู้ ดังพุทธพจน์บางแห่งว่า


“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยพลัน เปรียบเหมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่นละอองให้ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน ให้อันตรธานไปโดยพลัน ฉะนั้น” (วินย.1/178/131ฯลฯ)

“ภิกษุทั้งหลาย...เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า เป็นอริยวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ก็ได้ ว่าเป็นพรหมวิหาร ก็ได้ ว่าเป็นตถาคตวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของตถาคต) ก็ได้

“ภิกษุเหล่าใด เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาภาวะปลอดโปร่งโล่งใจ (โยคเกษม) อันยอดเยี่ยม อานาปานสติสมาธิ ที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,

“ภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว...อานาปานสติสมาธิ ที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สุขสบายในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ” * (สํ.ม.19/1366-7/413 พึงสังเกต คำว่า พรหมวิหาร ไม่ใช่ชื่อจำเพราะของเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เสมอไป (ชื่อเฉพาะของธรรมชุดนั้น คืออัปปมัญญา)


“ภิกษุทั้งหลาย ดังที่เป็นมา เรานั้น ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรม (คืออานาปานสติสมาธิ) นี้ โดยมาก เมื่อเรานั้นเป็นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ โดยมาก กายก็ไม่เมื่อย ตาก็ไม่เหนื่อย และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ด้วยไม่ถือมั่น เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุหวังว่า กายของเราไม่พึงเมื่อย ตาก็ไม่พึงเหนื่อย และจิตของเราก็พึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ด้วยไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการอานาปาสติสมาธินี้แลให้มาก” (สํ.ม.19/1329-1330/401)


“สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว....


“ครั้งนั้นแล เมื่อล่วงเวลาสามเดือนแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย หากว่า อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจะพึงถามพวกเธอ อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษา ด้วยวิ หารธรรมใด โดยมาก เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคปรับจำพรรษา ด้วยอานาปานสติสมาธิ โดยมาก” * (สํ.ม.19/1373-4/415)


“ดูกรอานนท์ ธรรมเอก คือ อานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์” (สํ.ม.19/1381/417)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูกรราหุล เมื่อเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ แม้แต่ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ซึ่งมีในท้ายสุด ก็ดับไปโดยรู้ มิใช่ดับโดยไม่รู้” *

......

ที่อ้างอิง *

* ม.ม.13/146/142 วิสุทธิมัคค์อธิบายว่า เมื่อจะสิ้นชีพ สามารถรู้ลมหายใจเข้า-ออกสุดท้ายของตน ตั้งแต่เริ่ม จนดับไปพร้อมกับจุติจิต และท่านอธิบายต่อไปด้วยว่า ภิกษุที่บรรลุอรหัตด้วยเจริญกัมมัฏฐานอย่างอื่น ย่อมกำหนดระยะกาลแห่งอายุของตนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ท่านที่เจริญอานาปานสติครบกระบวนแล้วบรรลุอรหัต สามารถกำหนดระยะกาลแห่งอายุของตนได้ (ว่าจะอยู่ไปอีกนานเท่าใด จะสิ้นชีพเมื่อใด) ดู วิสุทธิ. 2/85-86


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปแล้วสำนักนี้ไม่มีอะไรเลย

รูปภาพ


สมดังคำของศีษย์ที่ว่า

อ้างคำพูด:
ฟังพระธรรม เพื่อให้เข้าใจ ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ใช่ตัวตน

viewtopic.php?f=1&t=56221

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ

พึงทราบวิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์ ดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ก. ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง ก็ดี
ข. นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า (= เอาสติมุ่งต่อกรรมฐาน คือ ลมหายใจที่กำหนด)
ค. เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
Rosarin เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
จักขุปสาท คิอ ตา จะรับรูปารมณ์จะต้องประกอบกัน ๑๐ รูป และจะต้อง
มีจักจุนทรีย์เข้าถึงความเป็นใหญ่ในการเห็นแต่เพียงผู้เดียว ส่วนรูปอื่นจะคล้อยตาม


Kiss
สาธุค่ะลุงหมาน
:b8:
ขอแสดงความคิดเห็นค่ะ
:b12:
จักขุปสาทะเป็นรูปพิเศษตรงกลางตา
รูปเดียวที่เห็นทุกอย่างที่ปรากฏทางตาเนื้อเห็นตามปกติ
แล้วแยกรายละเอียดได้หมดโดยยังไม่เอ่ยชื่อใดๆเลยค่ะคือรู้อรรถบัญญัติ
จึงต้องเพียรรู้ทุกอย่างที่กำลังปรากฏจากการฟังพระพุทธพจน์เพื่อเกิดสติปัญญาคือรู้สัทบัญญัติตามได้
เข้าใจถูกตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตอนกำลังฟังเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีตรงตามที่กำลังฟังค่ะ
ใช้จิตเห็น(จักขุปสาทะ)และจิตได้ยิน(โสตะปสาทะ)นำทางจิตทางอื่นๆเพื่อออกจากกิเลสของตนเองที่กำลังมี
โดยดับอวิชชาที่ไหลไปไม่ขาดสายตอนกำลังลืมตาตื่นรู้มีวิถีจิตครบ6โลกตรงแต่ละ1ทางครบทั้ง6อายตนะ
:b4: :b4:
https://youtu.be/eT-nsgH1afE
onion onion onion

อ้างอิงจากกระทู้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56258&start=15
ถึงนิพพานด้วยปัญญาเจตสิก....ส่วนการทำสมาธิเพ่งนานๆคือทำสมาธิเจตสิกไม่มีปัญญาเกิดร่วมค่ะ
:b32:
การอบรมเจริญวิปัสสนาคือการอบรมจิตให้เกิดปัญญาเจตสิกบ่อยๆตอนลืมตาตื่นรู้ตามปกติเป็นปกติ
ที่จิตมีสมาธิในการฟังคำสอนเกิดสมาธิเจตสิกร่วมกับสติเจตสิกและปัญญาเจตสิกที่ปรุงแต่งถูกตาม
ตอนกำลังฟังเข้าใจความจริงตามคำสอนตามลำดับทีละคำรู้ตรงคำตามได้จากการฟังพระพุทธพจน์
:b12:
:b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 15 ส.ค. 2018, 21:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘ ในจำนวน ๓๗ นี้ ถ้านับตัวสภาวธรรมแท้ๆ ตัดจำนวนที่ซ้ำออกไป มี ๑๔ คือ สติ วิริยะ ฉันทะ จิตตะ ปัญญา สัทธา สมาธิ ปีติ ปัสสัทธิ อุเบกขา สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (วิสุทธิ.ฎี.3/600)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การควบคุมใจไว้กับกิจหรือควบคุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำ, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่ กับ สติ


สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยิน ยินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส

สัมมัปปธาน ความเพียรชอบ

ปธาน ความเพียร, ความเพียรชอบ ที่เป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์; สัมมัปธาน ก็เรียก


อิทธิบาท คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จ


อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น
ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการได้ยิน วิริยะเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความเกียจคร้าน เป็นต้น


อินทรีย์ ๕ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน โดยเป็นเจ้าการในการทำหน้าที่ และเป็นหัวหน้านำสัมปยุตธรรมในการครอบงำกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ มี ๕ อย่าง ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (ข้อธรรมตรงกับ พละ ๕) ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือ ความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ


อินทรีย์ ๖ สภาวะที่เป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการรับรู้ด้านนั้นๆ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ
จักขุ-ตา
โสตะ- หู
ฆานะ – จมูก
ชิวหา – ลิ้น
กาย - กาย
มโน - ใจ

อินทรีย์ ๒๒ สภาวะที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น มีจักขุนทรีย์ เป็นต้น

พละ กำลัง 1. พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงดำรงอยู่ได้ในสัมปยุตตธรรมทั้งหลายอย่างไม่หวั่นไหว อันธรรมที่เป็นปฏิปักษ์จะเข้าครอบงำไม่ได้ เป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา 2. พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่
๑. ปัญญาพละ กำลังปัญญา
๒. วิริยพละ กำลังความเพียร
๓. อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการทำแต่กรรมที่ดีงาม)
๔. สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือ ช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม


โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้

มรรค ทาง, หนทาง, 1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 2. มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2018, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กาย, กาย - (กายยะ-) น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคำ ร่าง เป็น ร่างกาย ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป. ส.)

สัมปยุต ประกอบด้วย, สัมปยุตต์ก็เขียน

สัมปยุตธรรม ธรรมที่ประกอยู่ด้วย, ธรรมที่ประกอบกัน, สภาวธรรมที่เกิดร่วมกันหรือพ่วงมาด้วยกัน

สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือศึกษา)

กำหนด (-หฺนด) ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2018, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห.คุณโรสน่าจะอยู่กระทู้นี้มากกว่า

อ้างคำพูด:
Rosarin
เวลาตั้งหัวข้อน่ะอย่าอ้างบุคคลที่ 3
จะสนทนาให้เกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย
เอาข้อความบางข้อความมา
ตัดข้อความบางข้อความ
มาสรุปมั่วตามความคิดตัวเอง
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจคำไหน
ก็ยกมาทั้งหมดสิคะอย่าเดา
เพราะเดายังไงก็เดาไม่ออกนะคะ
หัวข้อที่ตั้งนั้นใช้ไม่ได้ค่ะคุณกรัชกาย
ตั้งหัวข้อส่งเดชแบบยกตนข่มท่านเห็นกิเลสตัวเองไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56284&p=424916#p424916


มาคุยกันที่นี่

จะเป็นกิลงกิเลสอะไรก็ช่างเถอะ ตกนรกก็ยอม แต่กรัชกายต้องยืนข้างพระพุทธศาสนา แล้วก็ไม่ใช่พูดเฉยๆลอยๆมีหลักฐานทางตำราอ้างอิง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2018, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คคห.คุณโรสน่าจะอยู่กระทู้นี้มากกว่า

อ้างคำพูด:
Rosarin
เวลาตั้งหัวข้อน่ะอย่าอ้างบุคคลที่ 3
จะสนทนาให้เกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย
เอาข้อความบางข้อความมา
ตัดข้อความบางข้อความ
มาสรุปมั่วตามความคิดตัวเอง
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจคำไหน
ก็ยกมาทั้งหมดสิคะอย่าเดา
เพราะเดายังไงก็เดาไม่ออกนะคะ
หัวข้อที่ตั้งนั้นใช้ไม่ได้ค่ะคุณกรัชกาย
ตั้งหัวข้อส่งเดชแบบยกตนข่มท่านเห็นกิเลสตัวเองไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56284&p=424916#p424916


มาคุยกันที่นี่

จะเป็นกิลงกิเลสอะไรก็ช่างเถอะ ตกนรกก็ยอม แต่กรัชกายต้องยืนข้างพระพุทธศาสนา แล้วก็ไม่ใช่พูดเฉยๆลอยๆมีหลักฐานทางตำราอ้างอิง


:b32:
เข้าใจคำว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนไหมคะ
อ่านความหมายแล้วเอาคำแปลมารวมกัน
พระแปลว่าผู้ประเสริฐ
พุทธแปลว่าผู้รู้ตื่นเบิกบาน
ศาสนาแปลว่าคำสอน
รวมคำแปลจากล่างไปบน
พระพุทธศาสนาคือคำสอนผู้รู้ตื่นเบิกบานผู้ประเสริฐ
มีคำว่าคนเงินวัดในความหมายพระพุทธศาสนาไหมคะ
แล้วตถาคตยกพระธรรมคำสอนของพระองค์ขึ้นเป็นศาสดาไม่ใช่สมมุติสงฆ์น๊า
แล้วปัญญาเนี่ยนะคะเกิดได้ตามลำดับเริ่มต้นด้วยการฟังทุกครั้งจึงเริ่มมีปัญญาไงคะ
เพราะปัญญาเจตสิกเกิดได้ทีละ1ขณะกุศลจิตจากการไตร่ตรองทีละคำตอนกำลังฟัง
ถ้าไม่ฟังก็คือคิดเองตามที่เห็นนั่นแหละก็บอกว่าทุกคนล้วนคือผู้เห็นผิดจึงต้องฟังจริงๆ
ศาสนา=ศาสดา=คำสอน=พระปัญญาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน๊า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2018, 12:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตกลงคุณโรสว่า...ที่ป้าจินต์แกสอน...แกบอกมั้ยครับว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ทำสมาธิ..สอนให้เห็นคุณประโยชน์ของสมาธิ....?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2018, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คคห.คุณโรสน่าจะอยู่กระทู้นี้มากกว่า

อ้างคำพูด:
Rosarin
เวลาตั้งหัวข้อน่ะอย่าอ้างบุคคลที่ 3
จะสนทนาให้เกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย
เอาข้อความบางข้อความมา
ตัดข้อความบางข้อความ
มาสรุปมั่วตามความคิดตัวเอง
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจคำไหน
ก็ยกมาทั้งหมดสิคะอย่าเดา
เพราะเดายังไงก็เดาไม่ออกนะคะ
หัวข้อที่ตั้งนั้นใช้ไม่ได้ค่ะคุณกรัชกาย
ตั้งหัวข้อส่งเดชแบบยกตนข่มท่านเห็นกิเลสตัวเองไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56284&p=424916#p424916


มาคุยกันที่นี่

จะเป็นกิลงกิเลสอะไรก็ช่างเถอะ ตกนรกก็ยอม แต่กรัชกายต้องยืนข้างพระพุทธศาสนา แล้วก็ไม่ใช่พูดเฉยๆลอยๆมีหลักฐานทางตำราอ้างอิง


:b32:
เข้าใจคำว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนไหมคะ
อ่านความหมายแล้วเอาคำแปลมารวมกัน
พระแปลว่าผู้ประเสริฐ
พุทธแปลว่าผู้รู้ตื่นเบิกบาน
ศาสนาแปลว่าคำสอน
รวมคำแปลจากล่างไปบน
พระพุทธศาสนาคือคำสอนผู้รู้ตื่นเบิกบานผู้ประเสริฐ
มีคำว่าคนเงินวัดในความหมายพระพุทธศาสนาไหมคะ
แล้วตถาคตยกพระธรรมคำสอนของพระองค์ขึ้นเป็นศาสดาไม่ใช่สมมุติสงฆ์น๊า
แล้วปัญญาเนี่ยนะคะเกิดได้ตามลำดับเริ่มต้นด้วยการฟังทุกครั้งจึงเริ่มมีปัญญาไงคะ
เพราะปัญญาเจตสิกเกิดได้ทีละ1ขณะกุศลจิตจากการไตร่ตรองทีละคำตอนกำลังฟัง
ถ้าไม่ฟังก็คือคิดเองตามที่เห็นนั่นแหละก็บอกว่าทุกคนล้วนคือผู้เห็นผิดจึงต้องฟังจริงๆ
ศาสนา=ศาสดา=คำสอน=พระปัญญาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน๊า


อ้างคำพูด:
เข้าใจ คำว่า ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนไหมคะ


คุณโรสขอรับ การจะพูดเรื่องอนัตตาก็ดี ไม่มีตัวตนก็ดี ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเป็นต้นก็ดี คนพูดต้องฝึกจิต ต้องทำกัมมัฏฐาน ต้องทำสมาธิ (ชื่ออะไรอีกก็เติมเข้าไปอีก) จนกระทั่งเห็นชีวิตคือรูปนามนี้ตามแนวไตรลักษณ์พอสมควร (เห็นไตรลักษณ์) มิใช่พูดเอาอย่างคุณโรสศิษย์บ้านธัมมะ ที่พูดแบบไม่ทำอะไรเลยอย่างนั้น ไม่ใช่ ไม่ใช่ อย่างนั้นใครๆก็พืดได้ คิกๆๆ เอานะจะพูดให้ฟัง "ไม่มีไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา มันเป็นอนัตตา" เห็นไหมกรัชกายก็พูดได้

มันต้องลงมือทำ แล้วก็ทำจริงๆ แล้วก็ต้องมีผู้รู้แนะนำ ให้ดูอย่าง

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหมแต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน


แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเขาเห็นไตรลักษณ์ แต่ขาดผู้รู้แนะนำวิธีกำหนดรู้รูปนาม ช่วงหลังนั่นแหละขอรับเพี้ยน หลงจนเพี้ยนต้องพึ่งยา

ส่วนคุณโรส ไม่มีอะไรเลย พูดยังมั่วเลย จริงๆไม่ได้พูดเล่น :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คคห.คุณโรสน่าจะอยู่กระทู้นี้มากกว่า

อ้างคำพูด:
Rosarin
เวลาตั้งหัวข้อน่ะอย่าอ้างบุคคลที่ 3
จะสนทนาให้เกี่ยวกับสิ่งที่สงสัย
เอาข้อความบางข้อความมา
ตัดข้อความบางข้อความ
มาสรุปมั่วตามความคิดตัวเอง
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจคำไหน
ก็ยกมาทั้งหมดสิคะอย่าเดา
เพราะเดายังไงก็เดาไม่ออกนะคะ
หัวข้อที่ตั้งนั้นใช้ไม่ได้ค่ะคุณกรัชกาย
ตั้งหัวข้อส่งเดชแบบยกตนข่มท่านเห็นกิเลสตัวเองไหมคะ
viewtopic.php?f=1&t=56284&p=424916#p424916


มาคุยกันที่นี่

จะเป็นกิลงกิเลสอะไรก็ช่างเถอะ ตกนรกก็ยอม แต่กรัชกายต้องยืนข้างพระพุทธศาสนา แล้วก็ไม่ใช่พูดเฉยๆลอยๆมีหลักฐานทางตำราอ้างอิง


:b32:
เข้าใจคำว่าไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนไหมคะ
อ่านความหมายแล้วเอาคำแปลมารวมกัน
พระแปลว่าผู้ประเสริฐ
พุทธแปลว่าผู้รู้ตื่นเบิกบาน
ศาสนาแปลว่าคำสอน
รวมคำแปลจากล่างไปบน
พระพุทธศาสนาคือคำสอนผู้รู้ตื่นเบิกบานผู้ประเสริฐ
มีคำว่าคนเงินวัดในความหมายพระพุทธศาสนาไหมคะ
แล้วตถาคตยกพระธรรมคำสอนของพระองค์ขึ้นเป็นศาสดาไม่ใช่สมมุติสงฆ์น๊า
แล้วปัญญาเนี่ยนะคะเกิดได้ตามลำดับเริ่มต้นด้วยการฟังทุกครั้งจึงเริ่มมีปัญญาไงคะ
เพราะปัญญาเจตสิกเกิดได้ทีละ1ขณะกุศลจิตจากการไตร่ตรองทีละคำตอนกำลังฟัง
ถ้าไม่ฟังก็คือคิดเองตามที่เห็นนั่นแหละก็บอกว่าทุกคนล้วนคือผู้เห็นผิดจึงต้องฟังจริงๆ
ศาสนา=ศาสดา=คำสอน=พระปัญญาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน๊า


อ้างคำพูด:
เข้าใจ คำว่า ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนไหมคะ


คุณโรสขอรับ การจะพูดเรื่องอนัตตาก็ดี ไม่มีตัวตนก็ดี ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเป็นต้นก็ดี คนพูดต้องฝึกจิต ต้องทำกัมมัฏฐาน ต้องทำสมาธิ (ชื่ออะไรอีกก็เติมเข้าไปอีก) จนกระทั่งเห็นชีวิตคือรูปนามนี้ตามแนวไตรลักษณ์พอสมควร (เห็นไตรลักษณ์) มิใช่พูดเอาอย่างคุณโรสศิษย์บ้านธัมมะ ที่พูดแบบไม่ทำอะไรเลยอย่างนั้น ไม่ใช่ ไม่ใช่ อย่างนั้นใครๆก็พืดได้ คิกๆๆ เอานะจะพูดให้ฟัง "ไม่มีไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา มันเป็นอนัตตา" เห็นไหมกรัชกายก็พูดได้

มันต้องลงมือทำ แล้วก็ทำจริงๆ แล้วก็ต้องมีผู้รู้แนะนำ ให้ดูอย่าง

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหมแต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน


แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเขาเห็นไตรลักษณ์ แต่ขาดผู้รู้แนะนำวิธีกำหนดรู้รูปนาม ช่วงหลังนั่นแหละขอรับเพี้ยน หลงจนเพี้ยนต้องพึ่งยา

ส่วนคุณโรส ไม่มีอะไรเลย พูดยังมั่วเลย จริงๆไม่ได้พูดเล่น :b13:

:b12:
รู้กายเป็นธาตุ4ขันธ์5อายตนะ6เดี๋ยวนี้มีครบแล้วค่ะ
รู้เวทนาที่มีแล้วใครไม่มีความรู้สึกบ้างก็มีแล้วนี่
รู้จิตเป็นจิตชาติอะไรไม่พ้น4ชาติตรงๆมีแล้วไม่มั่นใจก็เอามืออังลมหายใจสิรู้สึกว่ามีลมไหมคะมีจิตค่ะอิอิ
รู้ธัมมะคือรู้ว่าเป็นจิตหรือเจตสิกหรือรูปหรือนิพพานที่ตนกำลังมีตรงปรมัตถสัจจธรรม
ครบแล้วกำลังเกิดดับตามเหตุตามปัจจัยยังไม่ทำอะไรก็เกิดดับนี่คะมีแล้วยังไม่ทำอะไรเลยก็ดับหมดแล้วค่ะ
:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 17 ส.ค. 2018, 00:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร