วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 22:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไม่มีใครเอากิเลสออกได้ นั่นแสดงว่าคุณโรสคิดว่า พระอรหันต์ยังมีกิเลส

อ้างคำพูด:
Rosarin
จะเอาอะไรมิทราบคะทุกอย่างมันดับหมดแล้วนี่
ไปได้แต่กิเลส/กรรม/วิบากคือจิต+เจตสิก+รูปพาเกิด
ของเก่าที่คิดว่าทำได้นั้นไม่มีเพราะสัพเพ ธัมมา อนัตตา
นิพพานไม่เกิดเพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก
แต่คำตถาคตที่กำลังมีคนอื่นกล่าวให้เข้าใจความจริงคือสิ่งที่กำลังมี
ไม่มีใครเอากิเลสออกได้มีแต่ต้องเพียรรู้แต่ละคำตามคำสอนก่อนตาย
เพราะสิ่งที่กำลังมีกำลังทำตามๆกันด้วยความไม่รู้คือกิเลสกรรมวิบาก
พาเวียนว่ายตายเกิดไม่หยุดที่ทำมาแล้วแก้ไขไม่ได้มีแต่ต้องฟังเพื่อ
เข้าใจทุกข์ที่ทุกข์เพราะไม่รู้ที่หายทุกข์เพราะรู้ความจริงถูกตามได้
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ คือ ทั้งหมดที่ทำมาแล้วเอาไปไม่ได้ไงคะ
viewtopic.php?f=1&t=56183&p=423758#p423758

คคห. คุณโรสที่ขีดเส้นใต้นั้น ไม่รู้คุณโรสหมายถึงอะไร คือ ไปเอาศัพท์แสงทางธรรมของเขามาแล้วก็ใส่ความคิดความเห็นของตัวเองลงไป เช่น

อ้างคำพูด:
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ คือ ทั้งหมดที่ทำมาแล้วเอาไปไม่ได้ไงคะ


อ้างคำพูด:
นิพพานไม่เกิด เพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก


อ้างคำพูด:
ของเก่าที่คิดว่าทำได้นั้นไม่มี เพราะสัพเพ ธัมมา อนัตตา


อะไรของคุณโรสนะ ไม่เข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค่อยๆดูไป ไม่เสียเฮิน ดูฟรี :b16:

สังกิเลส ความเศร้าหมอง, ความสกปรก, สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ธรรมที่อยู่ในหานภาค คือในฝ่ายข้างเสื่อม ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำเสื่อมทราม เช่น อโยนิโสมนสิการ อคติ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา ตรงข้ามกับ โวทาน

โวทาน ความบริสุทธิ์, ความผ่องแผ้ว, การชำระล้าง, การทำให้สะอาด, ธรรมที่อยู่ในวิเสสภาค คือ ในฝ่ายข้างวิเศษ ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้เจริญงอกงามดียิ่งขึ้นไปจนปลอดพ้นจากประดาสิ่งมัวหมองบริสุทธิ์บริบูรณ์ เช่น โยนิโสมนสิการ กุศลมูล สมถและวิปัสสนา ตลอดถึงนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ (= นิโรธ)

อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ, ดับทั้งกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ


อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ, ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์ เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

สอุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้น พระอรหันต์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์ (สัญโญชน์) กิเลสที่ผู้มัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน

๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต

๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ

ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม

๘. มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน

๑๐ อวิชชา ความไม่รู้จริง


พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ ,

พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,

พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,

พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ

ในพระอภิธรรม ท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. กามราคะ

๒. ปฏิฆะ

๓. มานะ

๔ ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

๕. วิจิกิจฉา

๖ สีลัพพตปรามาส

๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)

๘. อิสสา (ความริษยา)

๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

๑๐. อวิชชา

อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคุณโรสว่ายังงี้

อ้างคำพูด:
ไม่มีใครเอากิเลสออกได้ มีแต่ต้องเพียรรู้แต่ละคำ ตามคำสอนก่อนตาย


ตำราว่า พระอริยบุคคลจะละกิเลสมาตามลำดับ ดังนี้ ดังนั้น ในสองฝ่ายนี้ ต้องโกหกฝ่ายหนึ่ง ถ้าคุณโรสพูดจริง ตำราก็ผิด ถ้าตำราพูดไว้จริง คุณโรสก็เลอะเทอะ มีนรกเป็นเบื้องหน้าแล้ว :b12:

นิพพานนี่ก็เช่นกัน คุณโรสว่า

อ้างคำพูด:
นิพพานไม่เกิดเพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก


แต่ของเขาว่า "นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์"

ซึ่งเหมือนน้ำ กับ น้ำมัน ไปด้วยกันไม่ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจาะๆ เอาแต่สาระซึ่งเกี่ยวกับ กท.นี้มา

ขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน

ฌานสมาบัติทั้งหลาย นอกจากจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพานแล้ว บางครั้งท่านยังเรียกเป็นนิพพานโดยปริยาย คือ โดยอ้อม หรือโดยความหมายบางแง่บางด้านอีกด้วย เช่น มีพุทธพจน์ตรัสเรียก ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละอย่างๆ ว่าเป็นตทังคนิพพาน บ้าง ทิฏฐธรรมนิพพาน บ้าง สันทิฏฐิกนิพพาน บ้าง เช่น ข้อความในบาลีว่า

"ภิกษุผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน แม้เท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยปริยาย ฯลฯ

"ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยนิปริยาย " (องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค. 2018, 20:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่กำลังเจริญวิปัสสนา มองเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันจะต้องผันแปรไปเป็นธรรมดา ละความโศกเศร้าเป็นต้นเสียได้ หมดความร่านรนกระวนกระวาย อยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน * (สํ.ข.17/88/54...ความตรงนี้ ไม่ตรัสถึงอนัตตา อรรถกถาว่า เป็นการเจริญวิปัสสนา กิเลสดับไปด้วยองค์ธรรมคู่ปรับคือวิปัสสนา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ตรัสว่า คนที่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ย่อมคิดในทางที่จะทำตนเองให้ลำบากเดือดร้อน บ้าง ทำคนอื่นให้ลำบากเดือดร้อนบ้าง ทำทั้งตนเองและผู้อื่นให้ลำบากเดือดร้อนทั้งสองฝ่าย บ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ บ้าง ครั้นเขาละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว เขาก็ไม่คิดในทางที่จะทำตนเองหรือทำผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่ายให้ลำบากเดือดร้อน ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อย่างนี้แหละ เป็นสันทิฏฐิกนิพพาน เมื่อใด บุคคลผู้นี้เสวยภาวะปลอดราคะสิ้นเชิง ภาวะปลอดโทสะสิ้นเชิง ภาวะปลอดโมหะสิ้นเชิง (ราคักขัย โทสักขัย โมหักขัย) อย่างนี้แล คือ นิพพานที่เป็นสันทิฏฐิกะ (ซึ่งผู้บรรลุเห็นได้เอง) อกาลิกะ (ไม่ขึ้นกับกาล) เอหิปัสสิกะ (เชิญให้มาพิสูจน์ดูได้) โอปนยิกะ (ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ) ปัจจัตตัง เวทิตัพพัง วิญญูหิ (ซึ่งวิญญูชน พึงทราบจำเพาะตน)
(องฺ.ติก.20,495/202)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูสิคุณโรสจะไปทางไหน :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แบ่งนิโรธ ซึ่งเป็นไวพจน์สำคัญของนิพพาน ออกเป็น ๕ อย่าง หรือ ๕ ระดับ คือ

๑. วิกขัมภนนิโรธ ได้แก่ การที่ผู้เจริญปฐมฌาน ดับนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้ (สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และรูปฌาน ๔ เป็นวิกขัมภนนิโรธทั้งหมด เพราะนับแต่เข้าปฐมฌานแล้วเป็นต้นไป อกุศลธรรมทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น ย่อมถูกข่มให้ระงับไปเอง แต่ก็ดับชั่วเวลาที่อยู่ในฌานสมาบัตินั้น พูดอย่างง่ายว่า ข่มธรรมที่เป็นข้าศึกคือกิเลสต่างๆ เช่น นิวรณ์ เป็นต้นได้ ด้วยโลกิยสมาธิ เป็นการดับกิเลสแบบเอาหินทับหญ้า)

๒. ตทังคนิโรธ ได้แก่ การที่ผู้เจริญสมาธิถึงขั้นชำแรกทำลายกิเลส ดับความเห็นผิดต่างๆ ลงได้ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน (หมายถึงการดับกิเลสในขั้นวิปัสสนา คือใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะของสิ่งทั้งหลาย เช่น พิจารณาความไม่เที่ยง เป็นต้น พิจารณาเห็นแง่ใด ก็เกิดญาณขึ้นกำจัดความเห็นหรือความยึดถือในทางตรงข้ามที่ขัดต่อสัจธรรมใน แง่นั้นๆ ลงได้ เช่น กำหนดเห็นตัวตนเราเขาเป็นเพียงนามรูป ก็ดับสักกายทิฏฐิได้ พิจารณาความไม่เที่ยง ก็ดับนิจจสัญญาได้ พิจารณาเห็นทุกข์ ก็ดับสุขสัญญาได้ พิจารณาเห็นอนัตตา ก็ดับอัตตสัญญาได้ เป็นต้น เป็นการดับกิเลส แบบจุดดวงไฟ ดับความมืด แต่ก็ยังเป็นการดับชั่วคราว เหมือนว่าพอไฟดับ ก็มืดอีก)

๓. สมุจเฉทนิโรธ ได้แก่ การที่ผู้เจริญโลกุตรมรรค ซึ่งให้ถึงความสิ้นกิเลส ดับกิเลสได้ด้วยการตัดขาด (หมายถึง อริยมรรคทั้ง ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค ซึ่งดับกิเลสเช่นสังโยชน์ทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาด ไม่กลับงอกงามขึ้นมาได้อีก เหมือนต้นไม้ถูกสายฟ้าฟาด หรือขุดรากถอนโคนทิ้ง)

๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ได้แก่ การดับกิเลสในขณะแห่งผล โดยเป็นภาวะที่กิเลสราบคาบไปแล้ว (หมายถึง อริยผลทั้ง ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล ซึ่งเป็นภาวะสงบเรียบซึ้งสนิท เพราะกิเลสได้ถูกมรรคตัดขาดระงับดับสิ้นไปแล้ว)

๕. นิสสรณนิโรธ ได้แก่ การดับกิเลสที่เป็นภาวะพ้นออกไปแล้วจากกิเลส ดำรงอยู่ต่างหาก ห่างไกลจากกิเลส ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสเลย นิโรธข้อนี้แหละ คือ นิพพาน หรือที่เรียกว่า อมตธาตุ ซึ่งเป็นภาวะที่ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2018, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ในนิโรธ ๕ ข้อนี้ ๒ ข้อแรก คือ วิกขัมภนนิโรธ และตทังคนิโรธ เป็นขั้นโลกิย์ ส่วนสามข้อท้าย เป็นโลกุตระ
สี่ข้อแรกเรียกว่าเป็นนิพพานได้โดยปริยาย คือโดยอ้อมหรือในบางแง่บางด้าน ส่วนข้อสุดท้าย คือ นิสสรณนิโรธ จึงจะเป็นนิพพานโดยนิปริยาย คือนิพพานแท้ โดยตรง เต็มตามความหมาย

นอกจากนิโรธแล้ว คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ยังแบ่งเป็นปหาน วิเวก วิราคะ และโวสสัคคะ (การปล่อยวาง) เป็นอย่างละ ๕ ข้อ เช่นเดียวกับนิโรธ ๕ นี้ มีข้อย่อยและความหมายตรงกันทั้งหมด

ส่วนคัมภีร์รุ่นอรรถกถา นิยมแบ่งวิมุตติเป็น ๕ ข้อ มีข้อย่อยและความหมายของแต่ละข้อตรงกันกับนิโรธ ๕ ที่กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกัน

ขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน อย่างที่รู้จักกันทั่วไป ก็คือการแบ่งแบบมรรค ผล หรือ มรรค ๔ ผล ๔ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค และอรหัตผล อย่างไรก็ดี การแบ่งแบบนี้ มักพูดถึงโดยสัมพันธ์กับบุคคลผู้บรรลุ

ในที่นี้ ขอย้ำไว้เพียงว่า มรรค ผล นั้นไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นเพียงขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน

นอกจากนี้ มีข้อควรทราบพิเศษอีกอย่างหนึ่งว่า มรรคข้อแรก คือ โสดาปัตติมรรค มีชื่อเรียกอีกอยางหนึ่งว่า "ทัสสนะ" (การเห็น) เพราะเป็นการเห็นนิพพานครั้งแรก

ส่วนมรรคเบื้องสูงอีก ๓ คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค มีชื่อเรียกรวมกันอีกอย่างหนึ่งว่า "ภาวนา" (การเจริญ) เพราะเป็นการเจริญในธรรมที่โสดาปัตติมรรคเห็นไว้แล้วนั่นเอง
(ม.อ.1/102 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2018, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อไม่มีใครเอากิเลสออกได้ นั่นแสดงว่าคุณโรสคิดว่า พระอรหันต์ยังมีกิเลส

อ้างคำพูด:
Rosarin
จะเอาอะไรมิทราบคะทุกอย่างมันดับหมดแล้วนี่
ไปได้แต่กิเลส/กรรม/วิบากคือจิต+เจตสิก+รูปพาเกิด
ของเก่าที่คิดว่าทำได้นั้นไม่มีเพราะสัพเพ ธัมมา อนัตตา
นิพพานไม่เกิดเพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก
แต่คำตถาคตที่กำลังมีคนอื่นกล่าวให้เข้าใจความจริงคือสิ่งที่กำลังมี
ไม่มีใครเอากิเลสออกได้มีแต่ต้องเพียรรู้แต่ละคำตามคำสอนก่อนตาย
เพราะสิ่งที่กำลังมีกำลังทำตามๆกันด้วยความไม่รู้คือกิเลสกรรมวิบาก
พาเวียนว่ายตายเกิดไม่หยุดที่ทำมาแล้วแก้ไขไม่ได้มีแต่ต้องฟังเพื่อ
เข้าใจทุกข์ที่ทุกข์เพราะไม่รู้ที่หายทุกข์เพราะรู้ความจริงถูกตามได้
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ คือ ทั้งหมดที่ทำมาแล้วเอาไปไม่ได้ไงคะ
viewtopic.php?f=1&t=56183&p=423758#p423758

คคห. คุณโรสที่ขีดเส้นใต้นั้น ไม่รู้คุณโรสหมายถึงอะไร คือ ไปเอาศัพท์แสงทางธรรมของเขามาแล้วก็ใส่ความคิดความเห็นของตัวเองลงไป เช่น

อ้างคำพูด:
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ คือ ทั้งหมดที่ทำมาแล้วเอาไปไม่ได้ไงคะ


อ้างคำพูด:
นิพพานไม่เกิด เพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก


อ้างคำพูด:
ของเก่าที่คิดว่าทำได้นั้นไม่มี เพราะสัพเพ ธัมมา อนัตตา


อะไรของคุณโรสนะ ไม่เข้าใจ

Kiss
ยึดไว้ทำไมตัวตนนั้นน่ะ
เพราะตัวตนมีเพราะยึด
ยังยึดถือเห็นว่าเป็นเรา
ก็ยึดทั้งหมดไม่วางเลย
แล้วจะรู้อะไรอะไรหรือ
:b32:
เพราะอะไรอะไรนั้นมัน
ดับหมดแล้วไม่มีแล้ว
เอาจำเมื่อเด็กมาทำ
ให้เหมือนเดิมได้ไหม
สิ่งที่กำลังมีเดียวนี้เป็น
มีเรารับวิบากแล้วทำ
ด้วยไม่รู้จึงมีกิเลสไง
กิเลสกรรมวิบากวน
เป็นวงกลมไม่ไปไหน
คำว่าดับหาทั้งจักรวาล
หาให้ตายก็ไม่เจอนะคะ
อ่านไม่เข้าใจแปลว่าอะไร
ภาษาไทยด้วยกันไม่ใช่บาลี
ชาติต่อไปสมมุติเกิดที่เอธิโอเปีย
จะจำบัญญัติที่ก็อปแปะได้ไหมคะ
จะคุยกันรู้เรื่องไหมเนี่ยสมมุตินะว่า
เคยเกิดครั้งพุทธกาลได้ฟังจากพระโอษฐ์
ก็ใช้ภาษาเดียวกันมันไม่ต้องแปลไงคะแต่
ที่เราไปอ่านท่องจำแปลอยู่มันไม่ใช่ปัญญา
ทบทวนได้เลยปัญญาเกิดยังไงตามลำดับ123
ข้ามไม่ได้ก็คือข้ามข้อ1ไม่ได้เข้าใจไหมคะะะะ
1สุตมยปัญญา2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
อ่านอันนี้เข้าใจรึเปล่าขนาดภาษาไทยยังต้องให้โรสตีความอีก
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2018, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เมื่อไม่มีใครเอากิเลสออกได้ นั่นแสดงว่าคุณโรสคิดว่า พระอรหันต์ยังมีกิเลส

อ้างคำพูด:
Rosarin
จะเอาอะไรมิทราบคะทุกอย่างมันดับหมดแล้วนี่
ไปได้แต่กิเลส/กรรม/วิบากคือจิต+เจตสิก+รูปพาเกิด
ของเก่าที่คิดว่าทำได้นั้นไม่มีเพราะสัพเพ ธัมมา อนัตตา
นิพพานไม่เกิดเพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก
แต่คำตถาคตที่กำลังมีคนอื่นกล่าวให้เข้าใจความจริงคือสิ่งที่กำลังมี
ไม่มีใครเอากิเลสออกได้มีแต่ต้องเพียรรู้แต่ละคำตามคำสอนก่อนตาย
เพราะสิ่งที่กำลังมีกำลังทำตามๆกันด้วยความไม่รู้คือกิเลสกรรมวิบาก
พาเวียนว่ายตายเกิดไม่หยุดที่ทำมาแล้วแก้ไขไม่ได้มีแต่ต้องฟังเพื่อ
เข้าใจทุกข์ที่ทุกข์เพราะไม่รู้ที่หายทุกข์เพราะรู้ความจริงถูกตามได้
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ คือ ทั้งหมดที่ทำมาแล้วเอาไปไม่ได้ไงคะ
viewtopic.php?f=1&t=56183&p=423758#p423758

คคห. คุณโรสที่ขีดเส้นใต้นั้น ไม่รู้คุณโรสหมายถึงอะไร คือ ไปเอาศัพท์แสงทางธรรมของเขามาแล้วก็ใส่ความคิดความเห็นของตัวเองลงไป เช่น

อ้างคำพูด:
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ คือ ทั้งหมดที่ทำมาแล้วเอาไปไม่ได้ไงคะ


อ้างคำพูด:
นิพพานไม่เกิด เพราะนิพพานเที่ยงแท้แน่นอนว่าไม่กลับมาบอก


อ้างคำพูด:
ของเก่าที่คิดว่าทำได้นั้นไม่มี เพราะสัพเพ ธัมมา อนัตตา


อะไรของคุณโรสนะ ไม่เข้าใจ


ยึดไว้ทำไมตัวตนนั้นน่ะ
เพราะตัวตนมีเพราะยึด
ยังยึดถือเห็นว่าเป็นเรา
ก็ยึดทั้งหมดไม่วางเลย
แล้วจะรู้อะไรอะไรหรือ
:b32:
เพราะอะไรอะไรนั้นมัน
ดับหมดแล้วไม่มีแล้ว
เอาจำเมื่อเด็กมาทำ
ให้เหมือนเดิมได้ไหม
สิ่งที่กำลังมีเดียวนี้เป็น
มีเรารับวิบากแล้วทำ
ด้วยไม่รู้จึงมีกิเลสไง
กิเลสกรรมวิบากวน
เป็นวงกลมไม่ไปไหน
คำว่าดับหาทั้งจักรวาล
หาให้ตายก็ไม่เจอนะคะ
อ่านไม่เข้าใจแปลว่าอะไร
ภาษาไทยด้วยกันไม่ใช่บาลี
ชาติต่อไปสมมุติเกิดที่เอธิโอเปีย
จะจำบัญญัติที่ก็อปแปะได้ไหมคะ
จะคุยกันรู้เรื่องไหมเนี่ยสมมุตินะว่า
เคยเกิดครั้งพุทธกาลได้ฟังจากพระโอษฐ์
ก็ใช้ภาษาเดียวกันมันไม่ต้องแปลไงคะแต่
ที่เราไปอ่านท่องจำแปลอยู่มันไม่ใช่ปัญญา
ทบทวนได้เลยปัญญาเกิดยังไงตามลำดับ123
ข้ามไม่ได้ก็คือข้ามข้อ1ไม่ได้เข้าใจไหมคะะะะ
1สุตมยปัญญา2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา

อ่านอันนี้เข้าใจรึเปล่าขนาดภาษาไทยยังต้องให้โรสตีความอีก


โดดมาตัวตนแระ มันจะมีตัวตน หรือไม่มีตัวตน จะยึดหรือไม่ยึดตัวตน ก็ต้องทำงานทำการไปตามหน้าที่ พระพุทธเจ้าก็ทำงานของท่าน พระสารีบุตร พระโมคคัลานะ พระอานนท์ เป็นต้น ก็ทำงาน โดยเฉพาะพระอานนท์ ท่านก็ยังมียังยึดตัวตน เพราะจิตใจยังอยู่ในขั้นโสดาบัน แต่ท่านก็ทำหน้าที่ของท่าน หรือจะเถียง :b13:

คุณโรสเปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ นี่

อ้างคำพูด:
ข้ามไม่ได้ก็คือข้ามข้อ1ไม่ได้เข้าใจไหมคะะะะ
1สุตมยปัญญา 2 จินตามยปัญญา 3 ภาวนามยปัญญา


เริ่มมี 2 มี 3 แล้ว ก่อนนั้น มีแต่ฟังๆๆๆๆๆๆแม่บริหารฯ ท่าเดียว กรัชกายน้อยบอกมาแต่ต้นแล้ว ทั้งนำเอาปัญญา 3 ให้ดูอีกด้วย ฟังแม่บริหารฯ อย่างเดียว ก็เชื่อแม่บริหารฯกล่อมประสาทหมด ฟังแล้วเราก็ต้องมีปัญญาระดับที่สองคือคิดเป็นด้วย อีกทั้งเราเองก็ต้องมีหลักด้วย ยังไม่พอ 1-2 ยังไม่พอ ต้องลงมือภาวนา (ภาวนามยปัญญา) ด้วย เพื่อให้รู้ลึกเข้าไปถึงก้นบึ้งของจิตวิญญาณ ก็จึงได้ตั้งกระทู้ว่า ต้องหลับตาจึงรู้ ลืมตาก็ไม่รู้ กะพริบตาก็ไม่รู้ นี่เริ่มคล้อยตามกรัชกายน้อยแล้วใช่ไหมขอรับ หรือมีอะไรจะเถียงอีกก็ว่ามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2018, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้รู้กว้างขึ้นอีก ลงเรื่องที่เกี่ยวข้องอีกหน่อย สังเกตถ้อยคำ อริยะ ที่เราพูดกันบ่อยๆ คือว่า พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นท่ามกลางศาสนาอื่น ศาสนาที่เด่นๆตอนนั้นก็มีศาสนาพราหมณ์ ที่เกิดร่วมสมัยก็มีศาสนาเชน ดังนั้น ถ้อยคำบางคำพระพุทธเจ้านำมาจากศาสนาเดิม แต่ให้ความหมายใหม่


ประเภทและระดับของผู้บรรลุนิพพาน

ผู้ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงนิพพาน ที่ประสบผลสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้วก็ดี

ผู้ที่ดำเนินก้าวหน้ามาในทางที่ถูก จนถึงขั้นที่มองเห็นจุดหมายอยู่เบื้องหน้าแล้ว และจะต้องบรรลุถึงจุดหมายนั้นอย่างแน่นอน ก็ดี ท่านจัดเข้าสังกัดในกลุ่มชนผู้เป็นสาวกที่แท้ของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าสาวกสงฆ์ ดังข้อความในบทสวดสังฆคุณว่า "สุปฏิปนฺโน ภวคโต สาวกสงฺโฆ" ดังนี้ เป็นต้น


มีคำเฉพาะสำหรับเรียก เพื่อแสดงคุณสมบัติพิเศษของท่านผู้เป็นสาวกที่แท้เหล่านี้ อีกหลายคำ
คำที่ใช้กันทั่วไปและรู้จักกันมากที่สุด คงจะได้แก่คำว่า "อริยบุคคล" หรือ "พระอริยะ" ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญ บ้าง ท่านผู้ประเสริฐ บ้าง ท่านผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส บ้าง ฯลฯ


ความจริง คำว่า อริยบุคคล เป็นคำที่นิยมใช้สำหรับพูดถึงอย่างกว้างๆ หรือคลุมๆ ไป ไม่ระบุตัว หาใช่เป็นคำเฉพาะมาแต่เดิมไม่
คำเดิมที่ท่านใช้เป็นศัพท์เฉพาะ สำหรับแยกประเภทหรือแสดงระดับขั้นในบาลี ได้แก่คำว่า "ทักขิไณย" หรือ ทักขิไณยบุคคล


อย่างไรก็ตาม คำว่า ทักขิไณยบุคคล ก็ดี อริยบุคคล ก็ดี ล้วน เป็นคำเลียนศัพท์ในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปร หรือ ปฏิวัติความหมายเสียใหม่ เช่นเดียวกับศัพท์อื่นๆ อีกเป็นอันมาก เช่น พรหม พราหมณ์ นหาตกะ เวทคู เป็นต้น

คำว่า "อริยะ" ตรงกับสันสกฤต ว่า "อารยะ" เป็นชื่อเรียกเผ่าชนที่อพยพเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป คือประเทศอินเดีย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว และรุกไล่ชนเจ้าถิ่นเติมให้ถอยร่นลงไปทางใต้และป่าเขา

พวกอริยะ หรืออารยะนี้ (เวลาเรียกเป็นเผ่าชน นิยมใช้ว่า พวกอริยกะ หรืออารยัน) ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดชนเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นพวกมิลักขะ หรือมเลจฉะ คือพวกคนเถื่อน คนดง คนดอย เป็นพวกทาส หรือทัสยุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2018, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ต่อมา เมื่อพวกอริยะเข้าครอบครองถิ่นฐานมั่นคง และจัดหมู่ชนเข้าในระบบวรรณะลงตัว

โดยให้พวกเจ้าถิ่นเดิม หรือพวกทาสเป็นวรรณะศูทรแล้ว คำว่า อริยะ หรืออารยะ หรืออารยัน ก็หมายถึงชน ๓ วรรณะต้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ และแพศย์ ส่วนพวกศูทร และคนทั้งหลายอื่น เป็นอนารยะทั้งหมด การถืออย่างนี้ เป็นเรื่องของชนชาติ เป็นไปตามกำเนิด จะเลือกหรือแก้ไขไม่ได้


เมื่อพระพุทธเจ้าออกประกาศพระศาสนา พระองค์ได้ทรงสอนใหม่ว่า ความเป็นอริยะ หรืออารยะ ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่ธรรม ซึ่งประพฤติปฏิบัติและฝึกฝนอบรมให้มีขึ้นในจิตใจของบุคคล ใครจะเกิดมาเป็นชนชาติใด วรรณะไหนไม่สำคัญ ถ้าประพฤติอริยธรรม หรืออารยธรรม ก็เป็นอริยะคืออารยชนทั้งนั้น ใครไม่ประพฤติ ก็เป็นอนริยะ หรืออนารยชนทั้งสิ้น


สัจธรรมก็ไม่ต้องเป็นของที่พวกพราหมณ์ผูกขาดโดยจำกัดตามคำสอนในคัมภีร์พระ เวท แต่เป็นความจริงที่เป็นกลาง มีอยู่โดยธรรมดาแห่งธรรมชาติ ผู้ใดรู้แจ้งเข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่โดยธรรมดานี้ ผู้นั้นก็เป็นอริยะหรืออารยะ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษาพระเวทของพราหมณ์แต่ประการใด และเพราะการรู้สัจธรรมนี้ทำให้คนเป็นอริยะ สัจธรรมนั้นจึงเรียกว่า "อริยสัจ"* (สํ.ม.19/1703/543)


เมื่อว่าตามหลัก บุคคลที่จะเข้าใจอริยสัจ ก็คือท่านที่เป็นโสดาบันขึ้นไป ดังนั้น คำว่า "อริยะ" ที่ใช้ในคัมภีร์โดยทั่วไป จึงมีความหมายเท่ากับทักขิไณยบุคคล ที่จะกล่าวต่อไป และอริยสัจ ๔ บางคราวท่านก็เรียกว่า อริยธรรม หรืออารยธรรม

อย่างไรก็ตาม คำว่า อริยธรรม หรืออารยธรรมนี้ ท่านไม่ได้จำกัดความหมายตายตัว แต่ยักเยื้องใช้ได้กับธรรมหลายหมวด บางทีผ่อนลงหมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง ศีล ๕ บ้าง ก็มี ซึ่งโดยหลักการก็ไม่ขัดกันแต่ประการใด เพราะผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ได้ถูกต้อง ตามความหมายอย่างแท้จริง (ไม่กลายเป็นลีลัพพตปรามาสไป) และมั่นคงยั่งยืน ไม่ด่างพร้อยตลอดชีวิต ก็คือคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันขึ้นไป


ในอรรถกถาทั้งหลาย เมื่ออธิบายคำว่า อริยะ ที่ใช้กับบุคคล มักอธิบายลงเป็นอย่างเดียวกันหมดว่า หมายถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า แต่บางแห่งก็สงวนสำรับพระพุทธเจ้าอย่างเดียว

ส่วนคำว่า อริยะ ที่ใช้เป็นคุณนามของข้อธรรมหรือการปฏิบัติ มักมีความหมายเท่ากับคำว่าโลกุตระ แต่ไม่ถึงกับแน่นอนตายตัวทีเดียว


เท่าที่กล่าวมาเกี่ยวกับคำว่า อริยะ พอสรุปได้ว่า "อริยะ" นี้จะมีความหมายกว้างสักหน่อย
แต่ในกรณีที่ใช้เรียกบุคคลแล้ว จะหมายถึงกลุ่มชนเดี่ยวกับทักขิไณยบุคคลเป็นพื้น คือหมายถึงท่านผู้พ้นจากภาวะปุถุชน และจัดเข้าในกลุ่มสาวกสงฆ์ (ที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่าอริยสงฆ์) ยิ่งในคัมภีร์รุ่นอรรถกถาลงมาด้วยแล้ว ใช้อริยะกันในความนี้แทบจะตายตัวทีเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 65 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร