วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 21:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในระบบ ๓ แห่ง สภาวะ จริยะ และบัญญัติดูให้ชัดจะเห็นจริยะสำคัญเด่นขึ้นมา


มาถึงตอนนี้ ก็คงมองเห็นแล้วว่า "ธรรม" ในระบบ ๒ คือ ธรรม - วินัย กับในระบบ ๓ คือ สภาวะ จริยะ และบัญญัติ นั้น แท้จริงแล้วก็เป็นระบบเดียวกันนั่นเอง และมองเห็นด้วยว่า ส่วนใด ในระบบ ๒ มาเป็นส่วนใดในระบบ ๓ พร้อมทั้งรู้ด้วยว่ามาเป็นได้อย่างไร


พูดง่ายๆว่า ท่านใช้ระบบ ๒ เป็นหลักใหญ่ คือ แยกแดนกันออกไปเลย เป็นแดนของธรรมชาติ กับ แดนของมนุษย์


แดนของธรรมชาติ (ธรรม) ก็มีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนของมัน อย่างที่บอกแล้วว่า เป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน เช่น ตามเหตุปัจจัย ไม่ขึ้นต่อความอยากความปรารถนาความชอบใจหรือไม่ชอบใจของใครทั้งนั้น คือ ตามที่มันเป็นของมัน หรือใช้คำศัพท์ว่าเป็นนิยามตามสภาวะ

ส่วนแดนของมนุษย์ (วินัย) ที่จะดำเนินชีวิตดำเนินกิจกรรมกิจการทั้งหลายให้เป็นไปด้วยดี อยู่กันร่มเย็นเป็นสุข ก็ต้องรู้จักจัดตั้ง วางตรากติกาเกณฑ์กำหนดกฎหมายระเบียบแบบแผนขึ้นมา เป็นข้อที่จะยึดถือปฏิบัติให้ลงกัน ตามที่ตกลงหรือยอมรับร่วมกัน ใช้คำศัพท์ว่า บัญญัติตามสมมติ


นี่คือระบบใหญ่ ๒ อย่าง คือ ธรรม กับ วินัย เรียกรวมเป็นระบบอันหนึ่งอันเดียวว่า "ธรรมวินัย" ก็มีแค่นี้


แต่ ทีนี้ ก็อย่างที่บอกแล้วว่า แดนที่ ๒ คือ แดนมนุษย์ ที่จะจัด ตั้งวางตรากติกากฎหมายอะไรขึ้นมา ให้ได้ผลเป็นคุณประโยชน์แท้จริง ยั่งยืน จะต้องถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแห่งสภาวะ หรือตั้งอยู่บนฐาน ของกฎ ธรรมชาติ มิฉะนั้น ก็จะเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไร้ความหมาย และไร้สาระ


ดังนั้น ก็จึงมีตัวเชื่อมหรือเครื่องโยงระหว่างแดนทั้งสอง หรือระหว่าง ธรรม กับ วินัย นั้นที่พูดเป็นภาษาบุคลาธิษฐานว่า มีเสียงเรียกร้องต่อมนุษย์ เป็นทำนองเงื่อนไขจากธรรมชาติว่า ถ้าเธอต้องการจะได้จะเป็นอย่างนั้นๆ เธอจะต้องทำให้สอดคล้องหรือถูกต้องตามกฎระเบียบของฉัน เช่น ทำเหตุปัจจัยให้ได้อย่างนั้นแค่นั้น อันนี้ คือ ที่เรียกว่า "จริยะ"


ตัวเชื่อมหรือเครื่องโยงระหว่างกลางนี้ ใน ระบบ ๒ ท่านละไว้ฐานเข้าใจ ไม่ต้องยกเด่นขึ้นมา หรือไม่ต้องนับ แต่บางครั้ง เพื่อจะให้เห็นความสำคัญและให้เด่นขึ้นมาในการที่จะใช้ประโยชน์ ท่านก็นับด้วย


เมื่อนับตัวเชื่อมหรือเครื่องโยงระหว่างสองแดน คือ จริยะ นี้ด้วย ตัวเลขก็ย่อมเพิ่มขึ้นกลายเป็น ๓ และนี่ก็คือ เป็น ระบบ ๓ ของธรรม กล่าวคือ สภาวะ - จริยะ - บัญญัติ หรือให้ได้ถ้อยคำชัดออกมาว่าเป็นระบบของธรรมที่สืบกันออกมา ก็เรียกว่า สภาวธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรม


เห็นได้ชัดว่า จริยะ นั้น อยู่ในแดนหรือในฝ่ายของสภาวะ ดังที่บอกว่า เป็นคำเรียกร้องแจ้งเงื่อนไขของธรรมให้มนุษย์ต้องรู้ต้องทำให้ได้ หรือต้อง ดำเนินต้องปฏิบัติตาม


ยกตัวอย่าง เช่น บอกว่า ไฟร้อนนะ ถ้าอุณหภูมิสูงมาก จะเผากายให้ไหม้ จะทำน้ำให้เดือด ฯลฯ ถ้าเธอไม่ต้องการให้ร่างกายเสียหาย ก็อย่าเอาไฟมาลนตัว ถ้าเธออยากได้น้ำสุก ก็ต้องรู้จักก่อหาไฟมาต้มน้ำ ฯลฯ
เมื่อรู้เข้าใจความจริงตามสภาวะ และรู้ข้อที่ตนจะต้องทำต้องปฏิบัติให้สอดคล้องแล้ว หากจะทำการใดให้เป็นงานเป็นการเป็นหลักเป็นฐาน เธอก็จัดตั้งวางกฎกติกาข้อปฏิบัติให้แน่นเข้าไป ก็เป็นบัญญัติของมนุษย์ขึ้นมา


ถึงตอนนี้ ก็เห็นชัดว่า ที่จริง ระบบ ๒ กับระบบ ๓ ก็อันเดียวกัน และ ระบบ ๓ ก็ซ้อนอยู่ในระบบ ๒ นั่นเอง

กล่าว คือ ธรรม ที่เป็นข้อแรกในระบบ ๒ นั้น แยกย่อย เป็น ๒ ตอน ดังนี้

๑. ธรรม ในแดนของธรรมชาติ แยกเป็น

๑) ความเป็นจริงตามธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเช่นนั้น เป็นกฎธรรมชาติ เรียกว่า สภาวะ

๒) ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขข้อเรียกร้องให้มนุษย์ต้องรู้เข้าใจทำให้ได้ ทำให้ถูกตามความจริง หรือตามกฎของธรรมชาตินั้น เพื่อให้เกิดผลดีที่ตนต้องการ และการที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติดำเนินกิจดำเนินชีวิตไปตามนั้น เรียกว่า จริยะ

๒. = ๓) วินัย ในแดนของมนุษย์ ผู้ที่มีปัญญารู้เข้าใจธรรม ตลอดทั้งสองขั้นตอนนั้น มองเห็นสิ่งที่จะพึงปฏิบัติจัดทำตามกฎแห่งธรรมดาเพื่อให้เกิดผลดีแล้ว เมื่อมีเจตนาดีงามประกอบด้วยเมตตาการุณย์มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่หมู่ชน หรือสังคม ก็จัดตั้งวางกฎเกณฑ์กติกากฎหมาย เป็นต้นขึ้น ให้ตกลงยอมรับ ถือปฏิบัติกันต่อไป เป็นกฎมนุษย์ เรียกว่า บัญญัติ


เป็นอันครบถ้วนแล้ว ทั้งระบบมีองค์ ๒ คือ ธรรมวินัย และระบบมี องค์ ๓ คือ สภาวะ - จริยะ - บัญญัติ (สภาวธรรม - จริยธรรม - บัญญัติธรรม)


มองเห็นเด่นขึ้นมาว่า

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประดามี หรือโลกแห่งธรรมชาติ ก็ดำรงอยู่ดำเนินไป ด้วยกฎธรรมชาติ เป็นเรื่องของธรรม
ส่วนสังคมมนุษย์ หรือเรียกเทียบเคียงว่าเป็นโลกมนุษย์ ก็ดำรงอยู่ดำเนินไป ด้วยกฎมนุษย์ เป็นเรื่องของวินัย


ก็มี ๒ อย่างนี้แหละที่สำคัญเป็นหลักใหญ่ แต่ถ้าเห็นแค่นั้น ก็จะมองข้าม "จริยะ" ไป ดูคล้ายว่าจะไม่ค่อยสำคัญ


แต่แท้ที่จริง จริยะ/จริยธรรม นั้น สำคัญมากที่เดียว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนสำแดงธรรมนั้น มิได้ทรงสอนเพียงธรรมที่เป็นสภาวะ หรือ ความจริงของธรรมดาเท่านั้น แต่ทรงสอนธรรมที่เป็นภาคจริยะควบคู่กันไปเลยทีเดียว


ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็คือพิสัยอันพิเศษของมนุษย์อีกด้านหนึ่งที่ว่า ในฐานะเป็นสัตว์ที่ประเสริฐเลิศได้ด้วยการฝึก เขาสามารถเอาจริยะมาเป็นเครื่องช่วยในการที่จะศึกษาพัฒนาตัวเองขึ้นไป (แม้แต่ในการปฏิบัติตามบัญญัติ) ให้มีปัญญาแจ่มแจ้ง และมีเจตนาที่ดีจริง จนเข้าถึงธรรม ทั้งรู้แจ้งสภาวะ และมีจริยะอย่างเป็นปกติของเขาเอง


สำหรับบุคคลผู้เช่นนี้ ชีวิตดีงามที่พึงประสงค์ ไม่ต้องพึงพาขึ้นต่อบัญญัติ โดยที่บัญญัตินั้นทั้งไม่ เป็นเครื่องบังคับให้เขาต้องปฏิบัติ และทั้งเขาปฏิบัติได้ตามเจตนารมณ์ของบัญญัติโดยไม่ต้องมีบัญญัติ ถ้าบัญญัติที่เป็นกฎของมนุษย์จะมีความสำคัญ ก็ในฐานะเป็นเครื่องหมายรู้ร่วมกันในการดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย


ระหว่างทางก่อนถึงจุดหมาย จริยะเป็นเครื่องคุ้มครองช่วยให้การรักษาปฏิบัติตามบัญญัติดำเนินไปได้อย่างมั่นคง และเป็นเครื่องช่วยให้บัญญัติมีความหมายที่แท้จริง และบรรลุจุดหมายได้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แดนของธรรมชาติ (ธรรม) ก็มีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนของมัน อย่างที่บอกแล้ว ว่า เป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน เช่น ตามเหตุปัจจัย ไม่ขึ้นต่อความอยากความปรารถนาความชอบใจ หรือไม่ชอบใจของใครทั้งนั้น คือ ตามที่มันเป็นของมัน หรือใช้คำศัพท์ ว่า เป็นนิยามตามสภาวะ


ตัวอย่างคนกับธรรมชาติ ซึ่งขัดแย้งกัน :b13: ธรรมชาติมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน แต่มันขัดกับคนซึ่งเขาจะเอาอย่างนั้นเอาอย่างนั้น ไม่เอาอย่างนี้ แบบนี้ไม่เอา :b32:

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธินั่งดูลม แล้วมามองกระจกแบบใช้ตาเพ่ง. กระจกมันบิดไปบิดมา บางทีก็ได้ยินเสียงคนพูดถึงเรืองที่ผมคิด แต่มองไม่เห็นคน ตอนนี้เพี้ยนครับ อาการแบบนี้เขาเรียกจิตหลอกรึเปล่า ตอนนี้ลำบากมาก หนวกหูเสียงด่ามาเป็นอาทิตย์แล้วครับ ได้ยินเสียงความคิดของตัวเองอีก หนวกหูมาก พอจะมีวิธีแก้ใหมครับ.



เพราะฉะนั้น ภาคปฏิบัติทางจิต ท่านจึงให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็นของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อที่

viewtopic.php?f=1&t=56356&p=424749#p424749

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?



ชีวิตนี่คือธรรมชาติ จะเข้าใจว่ามันเป็นธรรมชาติ ก็ต้องกำหนดจิตทำภาวนา ยามปกติเราก็คิดว่าเป็นเราเป็นตัวเรา แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรา มันเป็นธรรมชาติ :b32: มันเป็นอนัตตา :b16:

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิเสร็จแล้วคันมากค่ะ

บางทีก็คันตอนนั่ง เคยแต่โยก ไม่เคยคัน สงสัยว่าจะแก้ยังไง ขอบคุณค่ะ

คือว่า ไม่นั่งสมาธิไม่คันค่ะ

มันก็คันตรงนู้นตรงนี้ ไม่ได้หยุดหย่อนน่ะค่ะ เวลาปกติไม่ได้รู้สึกคันตลอดเวลาอย่างนี้ พอนั่งไปสักพักก็จะเป็น

Kiss
เห็นคือจิต...ได้ยินคือจิต...มีจิต6ทาง
มีจิตจึงมีชีวิตที่มายึดมั่นขันธ์เป็นตัวตน
เป็นเรามีทุกอย่างมีแค่จิตเจตสิกรูปนิพพาน
อย่างอิ่นไม่คิดก็ไม่มีถ้าไม่มีจิตอะไรๆก็มีไม่ได้เลย
:b1:
ที่มีตัวตนไปนั่งหลับตาทำสมาธิ
คือทำมิจฉาสมาธิเพราะจดจ่อในสมาธิ
คือจิตรู้อารมณ์ของสมาธิเจตสิกต่อเนื่องไม่ประกอบปัญญา
วิปัสสนาภาวนาเป็นปัญญารอบรู้อารมณ์ที่เป็นสมาธิทีละ1ขณะจิตครบจิตทั้ง6ทางอายตนะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
ที่มีตัวตนไปนั่งหลับตาทำสมาธิ
คือทำมิจฉาสมาธิเพราะจดจ่อในสมาธิ
คือจิตรู้อารมณ์ของสมาธิเจตสิกต่อเนื่องไม่ประกอบปัญญา
วิปัสสนาภาวนาเป็นปัญญารอบรู้อารมณ์ที่เป็นสมาธิทีละ1ขณะจิตครบจิตทั้ง6ทางอายตนะ
:b12:
:b4: :b4:


ทำเถอะ สมาธิน่ะ ทำเถอะ :b1:

Quote Tipitaka:
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ว่าด้วย เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ

แสดงสมถะและวิปัสสนา เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็จะเห็นจุดประสงค์ของการปฏิบัติทั้ง ๒ กล่าวคือ เจริญสมถะเพื่อเจโตวิมุตติ เพื่อการอบรมจิตให้ระงับในกิเลสราคะ เพื่อยังประโยชน์ กล่าวคือ นำจิตที่ตั้งมั่น เนื่องจากสภาวะไร้นิวรณ์ และราคะ(กามฉันท์ ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)มารบกวนจากการสอดส่ายฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง หรือสภาพที่ถูกยึดมั่นไว้ด้วยอุปาทาน จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนปัญญาในการคิดพิจารณาธรรมให้เห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง กล่าวคือ พึงยังให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้ละอวิชชาเป็นที่สุด.

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

จบพาลวรรคที่ ๓


ยังไง ๆ มันต้องมีบทที่จะต้องได้สำรอกกันบ้างนั่นล่ะ ... :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2018, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?



ชีวิตนี่คือธรรมชาติ จะเข้าใจว่ามันเป็นธรรมชาติ ก็ต้องกำหนดจิตทำภาวนา ยามปกติเราก็คิดว่าเป็นเราเป็นตัวเรา แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรา มันเป็นธรรมชาติ :b32: มันเป็นอนัตตา :b16:

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิเสร็จแล้วคันมากค่ะ

บางทีก็คันตอนนั่ง เคยแต่โยก ไม่เคยคัน สงสัยว่าจะแก้ยังไง ขอบคุณค่ะ

คือว่า ไม่นั่งสมาธิไม่คันค่ะ

มันก็คันตรงนู้นตรงนี้ ไม่ได้หยุดหย่อนน่ะค่ะ เวลาปกติไม่ได้รู้สึกคันตลอดเวลาอย่างนี้ พอนั่งไปสักพักก็จะเป็น

Kiss
เห็นคือจิต...ได้ยินคือจิต...มีจิต6ทาง
มีจิตจึงมีชีวิตที่มายึดมั่นขันธ์เป็นตัวตน
เป็นเรามีทุกอย่างมีแค่จิตเจตสิกรูปนิพพาน
อย่างอิ่นไม่คิดก็ไม่มีถ้าไม่มีจิตอะไรๆก็มีไม่ได้เลย
:b1:
ที่มีตัวตนไปนั่งหลับตาทำสมาธิ
คือทำมิจฉาสมาธิเพราะจดจ่อในสมาธิ
คือจิตรู้อารมณ์ของสมาธิเจตสิกต่อเนื่องไม่ประกอบปัญญา
วิปัสสนาภาวนาเป็นปัญญารอบรู้อารมณ์ที่เป็นสมาธิทีละ1ขณะจิตครบจิตทั้ง6ทางอายตนะ



พูดไว้แล้วที่ กท.นี้

viewtopic.php?f=1&t=56260

ว่าศิษย์สำนักบ้านธัมมะ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ทำกัมมัฏฐานไม่ได้

ยิ่งกว่านั้นยังบอกอีกว่าตกนรกง่ายอีกด้วย

viewtopic.php?f=1&t=56194

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2018, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?



ชีวิตนี่คือธรรมชาติ จะเข้าใจว่ามันเป็นธรรมชาติ ก็ต้องกำหนดจิตทำภาวนา ยามปกติเราก็คิดว่าเป็นเราเป็นตัวเรา แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรา มันเป็นธรรมชาติ :b32: มันเป็นอนัตตา :b16:

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิเสร็จแล้วคันมากค่ะ

บางทีก็คันตอนนั่ง เคยแต่โยก ไม่เคยคัน สงสัยว่าจะแก้ยังไง ขอบคุณค่ะ

คือว่า ไม่นั่งสมาธิไม่คันค่ะ

มันก็คันตรงนู้นตรงนี้ ไม่ได้หยุดหย่อนน่ะค่ะ เวลาปกติไม่ได้รู้สึกคันตลอดเวลาอย่างนี้ พอนั่งไปสักพักก็จะเป็น

Kiss
เห็นคือจิต...ได้ยินคือจิต...มีจิต6ทาง
มีจิตจึงมีชีวิตที่มายึดมั่นขันธ์เป็นตัวตน
เป็นเรามีทุกอย่างมีแค่จิตเจตสิกรูปนิพพาน
อย่างอิ่นไม่คิดก็ไม่มีถ้าไม่มีจิตอะไรๆก็มีไม่ได้เลย
:b1:
ที่มีตัวตนไปนั่งหลับตาทำสมาธิ
คือทำมิจฉาสมาธิเพราะจดจ่อในสมาธิ
คือจิตรู้อารมณ์ของสมาธิเจตสิกต่อเนื่องไม่ประกอบปัญญา
วิปัสสนาภาวนาเป็นปัญญารอบรู้อารมณ์ที่เป็นสมาธิทีละ1ขณะจิตครบจิตทั้ง6ทางอายตนะ



พูดไว้แล้วที่ กท.นี้

viewtopic.php?f=1&t=56260

ว่าศิษย์สำนักบ้านธัมมะ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ทำกัมมัฏฐานไม่ได้

ยิ่งกว่านั้นยังบอกอีกว่าตกนรกง่ายอีกด้วย

viewtopic.php?f=1&t=56194

cool
:b12:
กรรมฐานคือที่ตั้งแห่งการกระทำ
อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัดจะอยู่ที่ไหน
จะเป็นคนแบบไหนต้องเข้าใจคำสอน
อยู่ให้ถูกที่ถูกทางบวชกับไม่บวชนั้นน่ะ
ไม่มีอะไรต้องเกี่ยวข้องกันถ้าไม่บอกตามคำสอน
ก็คือแสร้งทำเป็นสงบเสงี่ยมแต่ใจข้างในยังประพฤตินิสัยเดิม
ใช้เงินรับเงินเดินทางท่องเที่ยวนั่นน่ะเป็นผู้ไม่สำรวมกายใจตนเอง
เพราะสมัครใจมาขอบวชเพื่อจำวัดไม่ท่องเที่ยวไปสังคมกับใครเพราะ
สละญาติสนิทมิตรสหายแล้วเพราะรู้ว่าญาติสนิทมิตรสหายนำมาซึ่งกิเลสเพิ่มขึ้น
ประกาศตนออกนอกหน้าด้วยสีผ้ากาสาวพัตรนั้นน่ะไม่สำนึกเลยรับเงินแล้วนั้นอาบัติแล้ว
คำว่าอาบัตินั้นน่ะไม่ว่ามากหรือน้อยก็คือทำตามไม่ได้ไงคะยังเอานิสัยเดิมตอนใช้เงินมาทำอยู่ต้องตกนรกน๊า
:b32: :b32:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2018, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?



ชีวิตนี่คือธรรมชาติ จะเข้าใจว่ามันเป็นธรรมชาติ ก็ต้องกำหนดจิตทำภาวนา ยามปกติเราก็คิดว่าเป็นเราเป็นตัวเรา แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรา มันเป็นธรรมชาติ :b32: มันเป็นอนัตตา :b16:

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิเสร็จแล้วคันมากค่ะ

บางทีก็คันตอนนั่ง เคยแต่โยก ไม่เคยคัน สงสัยว่าจะแก้ยังไง ขอบคุณค่ะ

คือว่า ไม่นั่งสมาธิไม่คันค่ะ

มันก็คันตรงนู้นตรงนี้ ไม่ได้หยุดหย่อนน่ะค่ะ เวลาปกติไม่ได้รู้สึกคันตลอดเวลาอย่างนี้ พอนั่งไปสักพักก็จะเป็น

Kiss
เห็นคือจิต...ได้ยินคือจิต...มีจิต6ทาง
มีจิตจึงมีชีวิตที่มายึดมั่นขันธ์เป็นตัวตน
เป็นเรามีทุกอย่างมีแค่จิตเจตสิกรูปนิพพาน
อย่างอิ่นไม่คิดก็ไม่มีถ้าไม่มีจิตอะไรๆก็มีไม่ได้เลย
:b1:
ที่มีตัวตนไปนั่งหลับตาทำสมาธิ
คือทำมิจฉาสมาธิเพราะจดจ่อในสมาธิ
คือจิตรู้อารมณ์ของสมาธิเจตสิกต่อเนื่องไม่ประกอบปัญญา
วิปัสสนาภาวนาเป็นปัญญารอบรู้อารมณ์ที่เป็นสมาธิทีละ1ขณะจิตครบจิตทั้ง6ทางอายตนะ



พูดไว้แล้วที่ กท.นี้

viewtopic.php?f=1&t=56260

ว่าศิษย์สำนักบ้านธัมมะ ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ทำกัมมัฏฐานไม่ได้

ยิ่งกว่านั้นยังบอกอีกว่าตกนรกง่ายอีกด้วย

viewtopic.php?f=1&t=56194

cool
:b12:
กรรมฐานคือที่ตั้งแห่งการกระทำ
อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัดจะอยู่ที่ไหน
จะเป็นคนแบบไหนต้องเข้าใจคำสอน
อยู่ให้ถูกที่ถูกทางบวชกับไม่บวชนั้นน่ะ
ไม่มีอะไรต้องเกี่ยวข้องกันถ้าไม่บอกตามคำสอน
ก็คือแสร้งทำเป็นสงบเสงี่ยมแต่ใจข้างในยังประพฤตินิสัยเดิม
ใช้เงินรับเงินเดินทางท่องเที่ยวนั่นน่ะเป็นผู้ไม่สำรวมกายใจตนเอง
เพราะสมัครใจมาขอบวชเพื่อจำวัดไม่ท่องเที่ยวไปสังคมกับใครเพราะ
สละญาติสนิทมิตรสหายแล้วเพราะรู้ว่าญาติสนิทมิตรสหายนำมาซึ่งกิเลสเพิ่มขึ้น

ประกาศตนออกนอกหน้าด้วยสีผ้ากาสาวพัตรนั้นน่ะไม่สำนึกเลยรับเงินแล้วนั้นอาบัติแล้ว
คำว่าอาบัตินั้นน่ะไม่ว่ามากหรือน้อยก็คือทำตามไม่ได้ไงคะยังเอานิสัยเดิมตอนใช้เงินมาทำอยู่ต้องตกนรกน๊า


แน่ะๆศิษย์บ้านธัมมะโดยแม่สุจิน ว่าญาติ...เป็นกิเลสะอีก คิกๆๆ ถ้ายังงั้นในมงคลสูตร ข้อว่า ญาตกานัญจะ สังคะโห ทำไง พระพุทธเจ้าก็ดี พระสารีบุตรก็ ก็ไม่ได้ทิ้งญาติ ยังโปรดญาติสงเคราะห์ญาตินะขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาติ พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา, ในฎีกาวินัย ท่านนับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้างล่าง แต่ถามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๗ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน) เขยและสะใภ้ ไม่นับว่าญาติ

ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลญาติ

ญาติสาโลหิต พี่น้องร่วมสายโลหิต

(ญาติ = พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต = รู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)

ญาตัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ เช่น ทรงอนุญาติให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อน เหมือน เดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ เป็นต้น

พุทธจริยา พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า, การบำเพ็ญประโยชน์ของพุทธเจ้ามี ๓ คือ
๑.โลกัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
๒.ญาตัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ
๓.พุทธัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2020, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
รูปภาพ



รูปภาพ

ธเนตร
ให้สัมภาษณ์ว่าเขาดีใจที่ได้รับการปล่อยตัว แต่ก็เสียใจที่พ่อเสียชีวิต ไม่ได้มาในวันที่เขาได้รับการปล่อยตัว ทำให้รู้สึกเคว้งนิดหน่อย เขายืนยันว่าได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
สิ่งแรกที่อยากทำ คือ จะไปทำบุญ 100 วันให้กับพ่อ
ธเนตร ถูกคุมขังในเรือนจำเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี 9 เดือน 28 วัน หรือรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 1,396 วัน โดยหากนับเฉพาะการถูกคุมขังในคดีตามมาตรา 116 นี้ เขาจะถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา 3 ปี 5 เดือน 28 วัน เนื่องจากธเนตรถูกศาลทหารพิพากษาลงโทษจำคุกในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ในคดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เป็นเวลา 4 เดือน

ทั้งนี้ ในส่วนการชดเชยเยียวยาการถูกคุมขังโดยจำเลยมิได้กระทำความผิดนั้น หากอัยการโจทก์ในคดีของธเนตรไม่ยื่นอุทธรณ์คดีต่อ และคดีถึงที่สุดแล้ว ธเนตรสามารถยื่นเรียกค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2559) จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โดยจะได้รับค่าทดแทนต่อวันที่ถูกคุมขังอัตราวันละ 500 บาท

แต่การชดเชยดังกล่าว ก็ยังทำให้เกิดคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากจำเลยผู้ถูกคุมขังหลายปีโดยมิได้กระทำความผิด ต้องสูญเสียโอกาสในชีวิตในด้านต่างๆ ไป รวมทั้งโอกาสในการอยู่ร่วมกับบิดาที่เสียชีวิตในกรณีของธเนตร ล้วนไม่สามารถชดเชยเยียวยาเป็นตัวเงินได้แต่อย่างใด

https://www.khaosod.co.th/politics/news_4384506


เบื้องต้นเขาว่าผิดก็ต้องเดินก้มหน้าเข้าห้องขังโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ยอมรับคำตัดสิน :b18: กาลต่อมาว่าไม่ผิดได้รับการปล่อยตัวเดินพ้นประตูคุก ก็ต้องกล่าวขอบคุณที่เมตตา :b8: ถ้าพูดจากนอกนั้นเขาให้หันหลังเข้าคุกอีก :b1: สุดยอดแห่งกระบวนการยุติธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2020, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"อัยการ" แจงขั้นตอนตามตัว "บอส อยู่วิทยา"ขับรถชนตร.ดับ

"รองโฆษกอัยการ" แจงขั้นตอนตามตัว "บอส อยู่วิทยา" ซิ่งเฟอร์รารี่ชนตำรวจดับปี 55 อายุความฟ้องได้ถึง ก.ย.70 หลัง ป.ป.ช.ลงดาบ 7 ตำรวจ ผิดวินัยประมาทเลินเล่นจนผู้ต้องหาหนีไปต่างประเทศ


https://www.posttoday.com/social/genera ... Ibo1MQyV6g

เพื่อให้เห็นชัดเทียบกันกับข้างบน

สมัยหนึ่งมีพ่อค้ายาเสพติดดูเหมือนชื่อออกไปทางแขกๆหน่อย บังๆตะวันรอนๆไรเนี่ย :b32: อยู่ในคุกยังสะเดาะกุญแจหนีไปได้ จนป่านนี้ไม่รู้อยู่ไหน

ลูกเล่นเยอะคนถือกฎหมายนี่ แม้แต่ผู้พิพากษาเองยังยิงตัวตายประท้วงเพิ่งเผาไปเมื่อนี่ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron