วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2018, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
สัมมาทิฏฐิคือความคิดเห็นถูกความเข้าใจถูกคือปัญญา
ปัญญาตามคำสอนเกิดตามลำดับข้ามสุตมยปัญญามิได้
เป็นความจริงตรงสัจจะตรงปัจจุบันขณะต้องจริงเดี๋ยวนี้
เกิดจากการเข้าใจคำสอนโดยคิดตามเสียงปรโตโฆสะ
ค่อยๆฟังค่อยๆคิดตามไตร่ตรองให้เข้าใจตามทีละน้อย
บ่อยๆโดยละเอียดตรงที่กายใจตนมีตามเสียงจริงๆนะคะ
:b12:
:b4: :b4:


บอกหลายเทื่อแล้วว่า คุณโรสใช้อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก ไม่คุ้มค่า เอาแต่หู+เสียง ที่เหลืออีกปล่อยให้ขึ้นรา

:b32:
เมื่อไหร่จะเริ่มฟังเพื่อให้คิดถูกตามได้ล่ะคะ
สติแปลว่าระลึกตามคำสอนได้ตรงจริง
ไหนล่ะจริงของจิตเห็นที่มีแค่สี1สีเดี๋ยวนี้
มีตาไว้ดูมีหูไว้ฟังแต่เสียงไหนทำให้คิดได้ล่ะ
เห็นสีดับแล้วคิดเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้านั่นน่ะกิเลส
ส่งออกไปคิดนึกจำผิดไม่ตรงตามคำสอนว่าเห็นแค่สีไงคะ
:b32: :b32:

คำสอนของพระพุทธเจ้ารู้ตามได้คิดถูกตรงขณะตามได้เท่านั้นเพื่อสะสมปัญญาน๊า
https://youtu.be/jS_Vqwgb_k8


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2018, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏิฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ” * (องฺ.ทุก. 20/371/110 ฯลฯ )

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมอาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา




ที่อ้างอิง *

* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก. 24/93/201)


ถ้ายังมองปรโตโฆสะไม่ชัดก็ให้ดูตัวอย่างอหิงสกะ (องคุลิมาล) เมื่อเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมผู้คน ที่เป็นบาปมิตรแล้วก็จึงถูกผลักดันให้ไปเป็นโจร (ปรโตโฆสะที่ไม่ดี, สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ)

อีกทั้งนิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัวพี่น้อง ซึ่งถูกพายุพัดปลิวไปตามแรงลม ตัวหนึ่งตกในดงโจร อีกตัวหนึ่งตกในหมู่ฤๅษี

ตัวที่ตกในดงโจรอยู่กับโจร จึงได้เห็นได้ยินแต่เสียงแต่สิ่งที่เป็นอธรรมปล้นฆ่าหยาบคายเป็นประจำ ก็เลยจำพฤติกรรมนั่น ก็จึงกลายเป็นอุปนิสัยของตัวเองไป

ส่วนตัวที่ตกในหมู่ฤๅษี ได้เห็นได้ยิน แต่เสียงแต่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคล ก็จำสิ่งนั้นได้ ก็มีอุปนิสัยไปทางนั้น

มนุษย์เราก็ทำนองเดียวกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี (ปรโตโฆสะที่ดี) ได้เห็นสิ่งที่เป็นมงคล ได้ยินเสียงชักชวนให้เกิดความเลื่อมใส
สภาพแวดล้อมนั้นก็ชักนำเขาไปสู่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคลได้ อีกเขาเองก็มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด คิดเป็น ก็เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลไป (ปรโตโฆสะที่ไม่ดีก็ตรงข้ามจากนี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลไป)



นี่ก็ปรโตโฆสะที่ดี เรื่องอื่นๆจากนี้ก็เทียบกับเรื่องนี้

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร