วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันเรื่องเห็นๆ แต่คนมองข้าม

ต่อ


ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการนี้ มีหลักการบางอย่างที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้


ปรโตโฆสะ หรือเสียงจากผู้อื่น ที่จะให้เกิดสัมมาทิฏฐิได้ ก็คือ เสียงที่ดีงาม เสียงที่ถูกต้อง เสียงที่บอกกล่าวชี้แจงความจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ เฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกิดจากความรักความปรารถนาดี

เสียงดีงามถูกต้องเช่นนี้ เกิดจากแหล่งที่ดี คือคนดี คนมีปัญญา คนมีคุณธรรม คนเช่นนี้ ทางธรรมเรียกว่า สัตบุรุษ *(เช่น ม.อ.1/28,32 ฯลฯ) บ้าง บัณฑิตบ้าง
ถ้าคนดี คือ สัตบุรุษ หรือบัณฑิตนี้ ไปทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำ สั่งสอนชักนำสัมมาทิฏฐิให้แก่ผู้อื่น ก็เรียกว่าเขาทำหน้าที่เป็น กัลยาณมิตร

แต่บุคคลผู้แสวงสัมมาทิฏฐิ ไม่จำเป็นต้องรอให้สัตบุรุษหรือบัณฑิตมาหาตน ตรงข้ามเขาย่อมกระตือรือร้นที่จะไปหา ไปปรึกษา ไปสดับฟัง ไปขอคำแนะนำชี้แจงสั่งสอน เข้าร่วมหมู่อยู่ใกล้ ตลอดจนศึกษาแบบอย่างแนวทางจากบัณฑิตหรือสัตบุรุษนั้นเอง การกระทำของเขาอย่างนี้เรียกว่า การเสวนาสัตบุรุษ หรือคบหาคนดี


แต่ไม่ว่าสัตบุรุษจะมาทำหน้าที่ให้ หรือบุคคลนั้นจะไปคบหาสัตบุรุษเองก็ตาม ในเมื่อมีการยอมรับหรืออิทธิพลต่อกันเกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่าเขามีกัลยาณมิตร และเรียกภาวะนี้ว่า "กัลยาณมิตตตา" แปลว่า ความมีกัลยาณมิตร


กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญเท่านั้น แต่หมายถึงบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านยกตัวอย่าง เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนำ เป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า * (ดู วิสุทฺธิ. 1/123-125 – คัมภีร์นี้ แสดงตัวอย่างในกรณีของการเรียนสมาธิภาวนา)

ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรนี้ จัดว่าเป็นระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา

ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตรควรมีความหมายครอบคลุมทั้งตัวบุคคลผู้อบรมสั่งสอน เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เป็นต้น ทั้งคุณสมบัติของผู้สอน ทั้งหลักการ วิธีการ อุปกรณ์ อุบายต่างๆ ในการสอน และการจัดดำเนินการต่างๆ ทุกอย่าง ที่ผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาจะพึงจัดทำ เพื่อให้การศึกษาอบรมได้ผลดี ตลอดจนหนังสือ สื่อมวลชน บุคคลตัวอย่าง เช่น มหาบุรุษ หรือผู้ประสบความสำเร็จโดยธรรม และสิ่งแวดล้อมทางสังคมทั้งหลายที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เท่าที่จะเป็นองค์ประกอบภายนอกในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หลักธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้เริ่มศึกษาพุทธธรรม

https://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lg ... 5DjN-o.jpg

ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร

สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

:b12:
มรรคแรกคือสัมมาทิฏฐิคือความรู้ถูกเข้าใจถูกคิดเห็นถูกตามคำสอนมีเมื่อกำลังคิดถูกตอนกำลังฟังคิดถูกอยู่
เดี๋ยวนี้กำลังเห็นเป็นเราเห็นคนสัตว์วัตถุเป็นมิจฉามรรคคือความคิดเห็นผิดคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงตามคำสอน
เพราะไม่ได้กำลังเห็นแค่สีเพียง1สีแต่มีทั้งเห็นได้ยินเสียงครบ6ทางอายตนะปนเปกันไปหมดคือกำลังมีกิเลส


ยำสะเละเทะ คุณโรสไปไกล สุดกู่จริงๆ ไม่ทำมะดา ไชยา มิตรชัย :b32:

ขอโทษนะคะใครก็ตามเหยียบย่ำคำสอนทำผิดธรรมวินัย
นั่นแหละทำร้ายบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตรสูงสุดรู้ตัวไหมคะ
คิดออกไหมคะตถาคตยกคำสอนขึ้นเป็นศาสดาแทนพระองค์
หัวหน้าบริษัททำผิดเนี่ยไม่สำนึกชาวบ้านอุบาสกอุบาสิกาที่รู้ค่ะ
เขาถึงบอกกล่าวให้รู้สึกตัวแต่ไม่สำนึกเกิดโทสะด่าเป็นภิกษุลามก
เพราะบวชทำอะไรได้บ้างไม่ทำตามทำผิดแล้วยังไม่ยอมรับผิดถูกไหม
เคารพคำสอนต้องทำยังไงคะเก็บไว้ในตู้ในหีบกราบไหว้หีบหรือยังไงกัน
ปรโตโฆษะที่เอ่ยถึงน่ะกัลยาณมิตรสูงสุดคือพระพุทธเจ้ารองลงมาคือพระอรหันต์
ถามว่าไม่เข้าใจคำสอนไม่บอกกล่าวชาวบ้านว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้เป็นมิตรที่ดีไหม
เหมือนมีเพื่อนขี้โกงอ่ะจะเอาโน่นซื้อให้หน่อยจะเอานั่นหาเงินมาสร้างให้ด้วยขนคนเข้ามาเยอะๆ
แล้วก็ขอบริจาคโรงทานเลี้ยงคนที่มาด้วยมีอาหารอร่อยๆอุดมสมบูรณ์จะได้ขนเสบียงมาไว้แจก
มีแต่ความโลภถูกไหมคิดตรงรึเปล่าหรือตามัวมองกิเลสไม่ออกบวชสละบริวารทั้งหมดลดละไม่เอาเพิ่ม
แล้วดูทุกวันนี้เทียบตามคำสอนดูให้มันรู้ตรงๆตาไม่บอดและหูไม่หนวกพฤติกรรมมีให้ดูหยาบไหม
ทำไม่ได้ก็ลาสิกขาสิคะเทียบตามคำสอนได้เพราะทรงแสดงไว้หมดบอกละเอียดทั้งดีและชั่ว
คนที่รู้จากการศึกษาแล้วถึงพยายามบอกถามหน่อยสิคะตาสีตาสายายมียามาไม่รู้เรื่องจะพูดไหม
สละหมดมีเพียงบาตรเงินเดือนวันละ1บาตรจีวร3ผืนมักน้อยสันโดษไม่อิ่มหรือบิณฑบาตรู้จักกิเลสไหมคะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2018, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
หลักธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้เริ่มศึกษาพุทธธรรม

https://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lg ... 5DjN-o.jpg

ปรโตโฆสะที่ดี = กัลยาณมิตร

สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

:b12:
มรรคแรกคือสัมมาทิฏฐิคือความรู้ถูกเข้าใจถูกคิดเห็นถูกตามคำสอนมีเมื่อกำลังคิดถูกตอนกำลังฟังคิดถูกอยู่
เดี๋ยวนี้กำลังเห็นเป็นเราเห็นคนสัตว์วัตถุเป็นมิจฉามรรคคือความคิดเห็นผิดคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงตามคำสอน
เพราะไม่ได้กำลังเห็นแค่สีเพียง1สีแต่มีทั้งเห็นได้ยินเสียงครบ6ทางอายตนะปนเปกันไปหมดคือกำลังมีกิเลส


ยำสะเละเทะ คุณโรสไปไกล สุดกู่จริงๆ ไม่ทำมะดา ไชยา มิตรชัย :b32:


ขอโทษนะคะใครก็ตามเหยียบย่ำคำสอนทำผิดธรรมวินัย
นั่นแหละทำร้ายบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตรสูงสุดรู้ตัวไหมคะ
คิดออกไหมคะตถาคตยกคำสอนขึ้นเป็นศาสดาแทนพระองค์
หัวหน้าบริษัททำผิดเนี่ยไม่สำนึกชาวบ้านอุบาสกอุบาสิกาที่รู้ค่ะ
เขาถึงบอกกล่าวให้รู้สึกตัวแต่ไม่สำนึกเกิดโทสะด่าเป็นภิกษุลามก
เพราะบวชทำอะไรได้บ้างไม่ทำตามทำผิดแล้วยังไม่ยอมรับผิดถูกไหม
เคารพคำสอนต้องทำยังไงคะเก็บไว้ในตู้ในหีบกราบไหว้หีบหรือยังไงกัน
ปรโตโฆษะที่เอ่ยถึงน่ะกัลยาณมิตรสูงสุดคือพระพุทธเจ้ารองลงมาคือพระอรหันต์
ถามว่าไม่เข้าใจคำสอนไม่บอกกล่าวชาวบ้านว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้เป็นมิตรที่ดีไหม
เหมือนมีเพื่อนขี้โกงอ่ะจะเอาโน่นซื้อให้หน่อยจะเอานั่นหาเงินมาสร้างให้ด้วยขนคนเข้ามาเยอะๆ
แล้วก็ขอบริจาคโรงทานเลี้ยงคนที่มาด้วยมีอาหารอร่อยๆอุดมสมบูรณ์จะได้ขนเสบียงมาไว้แจก
มีแต่ความโลภถูกไหมคิดตรงรึเปล่าหรือตามัวมองกิเลสไม่ออกบวชสละบริวารทั้งหมดลดละไม่เอาเพิ่ม
แล้วดูทุกวันนี้เทียบตามคำสอนดูให้มันรู้ตรงๆตาไม่บอดและหูไม่หนวกพฤติกรรมมีให้ดูหยาบไหม
ทำไม่ได้ก็ลาสิกขาสิคะเทียบตามคำสอนได้เพราะทรงแสดงไว้หมดบอกละเอียดทั้งดีและชั่ว
คนที่รู้จากการศึกษาแล้วถึงพยายามบอกถามหน่อยสิคะตาสีตาสายายมียามาไม่รู้เรื่องจะพูดไหม
สละหมดมีเพียงบาตรเงินเดือนวันละ1บาตรจีวร3ผืนมักน้อยสันโดษไม่อิ่มหรือบิณฑบาตรู้จักกิเลสไหมคะ
:b32: :b32:


สุดกู่จริงๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2018, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏิฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ” * (องฺ.ทุก. 20/371/110 ฯลฯ )

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมอาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา




ที่อ้างอิง *

* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก. 24/93/201)


ถ้ายังมองปรโตโฆสะไม่ชัดก็ให้ดูตัวอย่างอหิงสกะ (องคุลิมาล) เมื่อเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมผู้คน ที่เป็นบาปมิตรแล้วก็จึงถูกผลักดันให้ไปเป็นโจร (ปรโตโฆสะที่ไม่ดี, สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ)

อีกทั้งนิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัวพี่น้อง ซึ่งถูกพายุพัดปลิวไปตามแรงลม ตัวหนึ่งตกในดงโจร อีกตัวหนึ่งตกในหมู่ฤๅษี

ตัวที่ตกในดงโจรอยู่กับโจร จึงได้เห็นได้ยินแต่เสียงแต่สิ่งที่เป็นอธรรมปล้นฆ่าหยาบคายเป็นประจำ ก็เลยจำพฤติกรรมนั่น ก็จึงกลายเป็นอุปนิสัยของตัวเองไป

ส่วนตัวที่ตกในหมู่ฤๅษี ได้เห็นได้ยิน แต่เสียงแต่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคล ก็จำสิ่งนั้นได้ ก็มีอุปนิสัยไปทางนั้น

มนุษย์เราก็ทำนองเดียวกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี (ปรโตโฆสะที่ดี) ได้เห็นสิ่งที่เป็นมงคล ได้ยินเสียงชักชวนให้เกิดความเลื่อมใส
สภาพแวดล้อมนั้นก็ชักนำเขาไปสู่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคลได้ อีกเขาเองก็มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด คิดเป็น ก็เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลไป (ปรโตโฆสะที่ไม่ดีก็ตรงข้ามจากนี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปสาทะ ความเลื่อมใส, ความชื่นบานผ่องใส, ความเชื่อถือมั่นใจ, ความรู้สึกยอมรับนับถือ, ความเปิดใจรับ, อาการที่จิตเกิดความแจ่มใสโปร่งโล่งเบิกบานปราศจากความอึดอัดขัดข้องขุ่นมัวโดยเกิดความรู้สึกชื่นชมนิยมนับถือ ต่อบุคคลหรือสิ่งที่พบเห็นสดับฟังหรือระลึกถึง; มักใช้คู่ กับ ศรัทธา


สัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ, ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม, ความเลื่อมใสซาบซึ้งชื่นใจสนิทใจเชื่อมั่น มีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตามไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ, ความมั่นใจในความจริง ความดี สิ่งดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในศรัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือ ถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูกที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล

สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตัดเอาเฉพาะที่ตรัสแก่บุคคลทั่วไปมา อีกทั้งตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออกด้วย)

ความสำคัญของการมีกัลยาณมิตร

ส่วนในด้านคำสอนสำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะชาวบ้าน ยังมีหลักธรรม และพุทธภาษิต ที่ย้ำถึงความสำคัญของการคบหา และการเสวนาคนดี เพิ่มจากนี้อีกมากมาย ดังเช่นว่า

ความมีกัลยาณมิตร เป็นข้อธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อบรรลุทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์โลกนี้)

การคบคนชั่ว เป็นอบายมุข

การคบมิตร และปฏิบัติถูกต้องต่อมิตร เป็นหลักอย่างหนึ่งในคำสอนเรื่องทิศ ๖

การรู้จักเลือกคบคนตามหลักมิตรแท้ มิตรเทียม เป็นหลักธรรมหมวดใหญ่ทีเดียว

การเสวนาสัตบุรุษ เป็นข้อธรรมหนึ่ง ในจักร ๔ ในวุฒิธรรม ๔ และในโสตาปัตติยังคะ

ความมีกัลยาณมิตร เป็นข้อธรรมหนึ่งในนาถกรณธรรม หรือธรรมที่ทำให้คนพึ่งตนได้ ๑๐ ประการ

ในชาดก ซึ่งเป็นคำสอนสำหรับคนทุกชั้นทุกประเภท โดยเฉพาะชาวบ้าน ก็มีเรื่องราวและสุภาษิตแนะนำ เกี่ยวกับการคบหา หรือการเสวนา เป็นจำนวนมาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนั้น ยังมีธรรมภาษิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ กระจายอยู่ทั่วๆไปในพระสุตตันตปิฎก ขอยกมาดูเป็นตัวอย่าง

"การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต และการบูชาคนควรบูชา นี่เป็นอุดมมงคล"

"คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น"

"ผู้ใด แม้มิได้ทำความชั่ว แต่เกลือกกลั้วกับผู้ทำบาป ผู้นั้น ย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่ว และเสื่อมเสียชื่อเสียงยิ่งๆ ขึ้น"

"ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวลง"

"ผู้ใดห่อปลาเน่าด้วยใบคา ใบคาย่อมเหม็นกลิ่นปลาคละคลุ้ง การเกลือกกลั้วคนพาล ย่อมมีผลอย่างนั้น

"ผู้ใดห่อใบกฤษณาด้วยใบไม้ ใบไม้นั้น ย่อมพลอยมีกลิ่นหอมฟุ้ง การเสวนานักปราชญ์ ย่อมมีผลอย่างนั้น"

"ปราชญ์ ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ไม่ชวนทำสิ่งไม่เป็นเรื่อง"

"พึง มองเห็นคนมีปัญญา ที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่ เหมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์ คนเช่นนั้น เป็นบัณฑิต ควรคบได้ คบคนเช่นนั้น มีแต่ดีขึ้น ไม่เลวลง"

"พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ"

"ธีรชน อยู่ร่วมด้วยเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ"

"เดิน ร่วมกัน ๗ ก้าว ก็นับว่าเป็นมิตร เดินร่วมกัน ๑๒ ก้าว ก็นับว่าเป็นสหาย อยู่ร่วมกันสักเดือนหนึ่ง หรือครึ่งเดือน ก็นับว่าเป็นญาติ ถ้านานกว่านั้นไป ก็เหมือนเป็นตัวเอง"

"มีญาติพวกพ้องมาก ย่อมเป็นการดี เหมือนหมู่ไม้มากหลายในกลางป่า ต้นไม้ที่ขึ้นอยูโดดเดี่ยว ถึงจะงอกงามใหญ่โตเท่าใด ลมก็พัดให้โค่นลงได้"

"ถ้าได้สหายผู้มีปัญญาปกครองตน พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญาปกครองตน พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว"

"ควรคบมิตรที่เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม ผู้โอฬารด้วยความดี มีปฏิภาณ ครั้นรู้จักประโยชน์ที่มุงหมาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว จึงควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด"

"การฟังธรรมตามกาล ...การสนทนาธรรมตามกาล นี่เป็นอุดมมงคล"

"คนขึ้นแพน้อยไปในมหาสมุทร พึงจมเสีย ฉันใด แม้แต่สาธุชน อาศัยคนเกียจคร้าน ก็ย่อมจมลงได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ควรเว้นห่างคนเกียจคร้าน มีความเพียรทรามอย่างนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับเหล่าบัณฑิต ผู้สงัด ผู้เป็นอารยะ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งพินิจ ผู้เร่งระดมความเพียรเป็นนิตย์"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุภาษิตเหล่านี้ แม้ไม่ต้องยกมาแสดงมาก ก็พอให้ข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบได้ว่า

- พุทธพจน์เกี่ยวกับการเสวนาที่ตรัสแก่พระภิกษุ โดยมากมีจุดหมายมุ่งตรงต่อปรมัตถ์ และประสงค์จะเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิในแนวที่จะเป็นโลกุตระอย่างเด่นชัด

- ส่วนที่แสดงสำหรับคนทั่วไป หรือชาวบ้าน เน้นประโยชน์ในขั้นทิฏฐธัมมิกัตถะ เชื่อมกับสัมปรายิกัตถะ มุ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชีวิตประจำวัน กลมกลืนไปกับการชักจูงสัมมาทิฏฐิในระดับโลกีย์ คือความเชื่อกรรม ความสำนึกรับผิดชอบเกี่ยวกับความดีความชั่ว
ยังไม่เน้นสัมมาทิฏฐิแนวที่จะเป็นโลกุตระ คือ การมองโลกและชีวิตตามสภาวะ เป็นทำนองปล่อยให้แฝงอยู่ และสอนสอดแทรกไปตามโอกาส อย่างที่เรียกว่า ค่อยๆปูพื้นฐานจิตใจให้พร้อมขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะคนทั่วไปมีหลายระดับ

(สังเกตวิธีสอนธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ดันทุรังเหมือนกันไปทุกผู้ทุกคน ใครพร้อมก็ไป ใครยังไม่พร้อมก็ค่อยๆไปตามสติกำลัง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2018, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏิฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ” * (องฺ.ทุก. 20/371/110 ฯลฯ )

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมอาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา




ที่อ้างอิง *

* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก. 24/93/201)


ถ้ายังมองปรโตโฆสะไม่ชัดก็ให้ดูตัวอย่างอหิงสกะ (องคุลิมาล) เมื่อเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมผู้คน ที่เป็นบาปมิตรแล้วก็จึงถูกผลักดันให้ไปเป็นโจร (ปรโตโฆสะที่ไม่ดี, สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ)

อีกทั้งนิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัวพี่น้อง ซึ่งถูกพายุพัดปลิวไปตามแรงลม ตัวหนึ่งตกในดงโจร อีกตัวหนึ่งตกในหมู่ฤๅษี

ตัวที่ตกในดงโจรอยู่กับโจร จึงได้เห็นได้ยินแต่เสียงแต่สิ่งที่เป็นอธรรมปล้นฆ่าหยาบคายเป็นประจำ ก็เลยจำพฤติกรรมนั่น ก็จึงกลายเป็นอุปนิสัยของตัวเองไป

ส่วนตัวที่ตกในหมู่ฤๅษี ได้เห็นได้ยิน แต่เสียงแต่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคล ก็จำสิ่งนั้นได้ ก็มีอุปนิสัยไปทางนั้น

มนุษย์เราก็ทำนองเดียวกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี (ปรโตโฆสะที่ดี) ได้เห็นสิ่งที่เป็นมงคล ได้ยินเสียงชักชวนให้เกิดความเลื่อมใส
สภาพแวดล้อมนั้นก็ชักนำเขาไปสู่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคลได้ อีกเขาเองก็มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด คิดเป็น ก็เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลไป (ปรโตโฆสะที่ไม่ดีก็ตรงข้ามจากนี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลไป)

Kiss
หลักกาลามสูตร10ต้องใช้ตรงปัจจุบันขณะเพราะจะเกิดสัมมามรรคตามได้ตอนกำลังฟังจริงๆ
อันว่าปรโตโฆษะก็คืออาศัยฟังจากผู้ที่ถ่ายทอดตรงภาษาที่ตนใช้ในชีวิตประจำวัน
ฟังแล้วให้คิดไตร่ตรองตามไม่ใช่ให้เชื่อแต่ให้ฟังเพื่อเข้าใจเหตุผลตามจริง
เข้าใจพฤติกรรมต่างๆที่ตนกระทำและพฤติกรรมต่างๆที่คนอื่นทำได้ว่า
พฤติกรรมต่างๆนั้นตรงกับการกระทำที่ถูกหรือผิดที่มีในพระไตรปิฎก
ปัญญาเป็นปรมัตถธรรมคือตัวธัมมะคือเจตสิกประเภทหนึ่งเกิดเองไม่ได้
และปัญญาตามลำดับเกิดตามลำดับข้ามการฟังพระพุทธพจน์คือหลงทาง
ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกสาวกเพียงบอกต่อหน้าที่ตนคือฟังสะสมปัญญาค่ะ
https://youtu.be/5isB6EVvaXI
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2018, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏิฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ” * (องฺ.ทุก. 20/371/110 ฯลฯ )

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมอาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา




ที่อ้างอิง *

* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก. 24/93/201)


ถ้ายังมองปรโตโฆสะไม่ชัดก็ให้ดูตัวอย่างอหิงสกะ (องคุลิมาล) เมื่อเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมผู้คน ที่เป็นบาปมิตรแล้วก็จึงถูกผลักดันให้ไปเป็นโจร (ปรโตโฆสะที่ไม่ดี, สภาพแวดล้อมไม่เอื้อ)

อีกทั้งนิทานเรื่องลูกนกแขกเต้าสองตัวพี่น้อง ซึ่งถูกพายุพัดปลิวไปตามแรงลม ตัวหนึ่งตกในดงโจร อีกตัวหนึ่งตกในหมู่ฤๅษี

ตัวที่ตกในดงโจรอยู่กับโจร จึงได้เห็นได้ยินแต่เสียงแต่สิ่งที่เป็นอธรรมปล้นฆ่าหยาบคายเป็นประจำ ก็เลยจำพฤติกรรมนั่น ก็จึงกลายเป็นอุปนิสัยของตัวเองไป

ส่วนตัวที่ตกในหมู่ฤๅษี ได้เห็นได้ยิน แต่เสียงแต่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคล ก็จำสิ่งนั้นได้ ก็มีอุปนิสัยไปทางนั้น

มนุษย์เราก็ทำนองเดียวกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี (ปรโตโฆสะที่ดี) ได้เห็นสิ่งที่เป็นมงคล ได้ยินเสียงชักชวนให้เกิดความเลื่อมใส
สภาพแวดล้อมนั้นก็ชักนำเขาไปสู่สิ่งที่ดีงามเป็นมงคลได้ อีกเขาเองก็มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักคิด คิดเป็น ก็เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลไป (ปรโตโฆสะที่ไม่ดีก็ตรงข้ามจากนี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลไป)

Kiss
หลักกาลามสูตร10ต้องใช้ตรงปัจจุบันขณะเพราะจะเกิดสัมมามรรคตามได้ตอนกำลังฟังจริงๆ
อันว่าปรโตโฆษะก็คืออาศัยฟังจากผู้ที่ถ่ายทอดตรงภาษาที่ตนใช้ในชีวิตประจำวัน
ฟังแล้วให้คิดไตร่ตรองตามไม่ใช่ให้เชื่อแต่ให้ฟังเพื่อเข้าใจเหตุผลตามจริง
เข้าใจพฤติกรรมต่างๆที่ตนกระทำและพฤติกรรมต่างๆที่คนอื่นทำได้ว่า
พฤติกรรมต่างๆนั้นตรงกับการกระทำที่ถูกหรือผิดที่มีในพระไตรปิฎก
ปัญญาเป็นปรมัตถธรรมคือตัวธัมมะคือเจตสิกประเภทหนึ่งเกิดเองไม่ได้
และปัญญาตามลำดับเกิดตามลำดับข้ามการฟังพระพุทธพจน์คือหลงทาง
ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกสาวกเพียงบอกต่อหน้าที่ตนคือฟังสะสมปัญญาค่ะ
https://youtu.be/5isB6EVvaXI
:b12:
:b4: :b4:


มาอีกแระกาลามสูตรๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2018, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัยร้าย! การเจาะหู หลายรู จนกลายเป็นโรคคีลอยด์ ก้อนเนื้อบวมลามทั่วใบหู

รูปภาพ


https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1531726

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2018, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏิฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ” * (องฺ.ทุก. 20/371/110 ฯลฯ )

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ

๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others)


ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมอาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา


๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic attention)

ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา

.......

ที่อ้างอิง *

* ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะ ที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (องฺ.ทสก. 24/93/201)



ปรโตโฆสะที่ดีอีก

https://www.facebook.com/68326115854775 ... 102509548/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2018, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
สัมมาทิฏฐิคือความคิดเห็นถูกความเข้าใจถูกคือปัญญา
ปัญญาตามคำสอนเกิดตามลำดับข้ามสุตมยปัญญามิได้
เป็นความจริงตรงสัจจะตรงปัจจุบันขณะต้องจริงเดี๋ยวนี้
เกิดจากการเข้าใจคำสอนโดยคิดตามเสียงปรโตโฆสะ
ค่อยๆฟังค่อยๆคิดตามไตร่ตรองให้เข้าใจตามทีละน้อย
บ่อยๆโดยละเอียดตรงที่กายใจตนมีตามเสียงจริงๆนะคะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2018, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
สัมมาทิฏฐิคือความคิดเห็นถูกความเข้าใจถูกคือปัญญา
ปัญญาตามคำสอนเกิดตามลำดับข้ามสุตมยปัญญามิได้
เป็นความจริงตรงสัจจะตรงปัจจุบันขณะต้องจริงเดี๋ยวนี้
เกิดจากการเข้าใจคำสอนโดยคิดตามเสียงปรโตโฆสะ
ค่อยๆฟังค่อยๆคิดตามไตร่ตรองให้เข้าใจตามทีละน้อย
บ่อยๆโดยละเอียดตรงที่กายใจตนมีตามเสียงจริงๆนะคะ
:b12:
:b4: :b4:


บอกหลายเทื่อแล้วว่า คุณโรสใช้อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก ไม่คุ้มค่า เอาแต่หู+เสียง ที่เหลืออีกปล่อยให้ขึ้นรา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2018, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
สัมมาทิฏฐิคือความคิดเห็นถูกความเข้าใจถูกคือปัญญา
ปัญญาตามคำสอนเกิดตามลำดับข้ามสุตมยปัญญามิได้
เป็นความจริงตรงสัจจะตรงปัจจุบันขณะต้องจริงเดี๋ยวนี้
เกิดจากการเข้าใจคำสอนโดยคิดตามเสียงปรโตโฆสะ
ค่อยๆฟังค่อยๆคิดตามไตร่ตรองให้เข้าใจตามทีละน้อย
บ่อยๆโดยละเอียดตรงที่กายใจตนมีตามเสียงจริงๆนะคะ
:b12:
:b4: :b4:


บอกหลายเทื่อแล้วว่า คุณโรสใช้อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก ไม่คุ้มค่า เอาแต่หู+เสียง ที่เหลืออีกปล่อยให้ขึ้นรา

:b32:
เมื่อไหร่จะเริ่มฟังเพื่อให้คิดถูกตามได้ล่ะคะ
สติแปลว่าระลึกตามคำสอนได้ตรงจริง
ไหนล่ะจริงของจิตเห็นที่มีแค่สี1สีเดี๋ยวนี้
มีตาไว้ดูมีหูไว้ฟังแต่เสียงไหนทำให้คิดได้ล่ะ
เห็นสีดับแล้วคิดเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้านั่นน่ะกิเลส
ส่งออกไปคิดนึกจำผิดไม่ตรงตามคำสอนว่าเห็นแค่สีไงคะ
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 140 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร