วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 09:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


รูปภาพ


นี่คือกำกับจิตให้อยู่ กับ กัมมัฏฐาน (ที่ทำงานของจิต) ได้แก่ อาการท้องพอง อาการท้องยุบ

พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ฯลฯ

ส่วนแนวนี้ ใช้ลมหายใจเข้า กับ ลมออก เป็นเป็นฐานให้จิตทำงาน พุท-โธ ธัม-โม เป็นต้น เป็นคำตรึงจิตให้อยู่กับลมที่เข้าออกนั่นได้มั่นขึ้น

พุท - โธ ธัม- โม สัง - โฆ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาญาณ 9 มี ดังนี้

1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ ญาณหรือปัญญา อันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้หรือผู้รู้ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลายดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ


รูปภาพ


จงกรม เดินกลับไปกลับมาโดยมีสติกำกับ (รู้สึกตัวขณะก้าวเดินไปๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าเดินเรื่อยเปื่อยเพื่อให้หมดเวลา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

รูปภาพ


สังขาร ในที่นี้รวมหมดทั้งเนื้อทั้งตัว คือ ทั้งร่างกายและจิตใจ คือว่า ทั้งรูปธรรม นามธรรม รวมหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2018, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


8. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริง ว่ามันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย
ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะปุถุชน กับ ภาวะอริยบุคคล) มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เบรคความคิดเพื่อทำความเข้าใจหน่อยก่อน

รูปภาพ


จบวิปัสสนาญาณ ทั้ง ๙

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พาดพิงถึงวิสุทธิ ๗ ข้อไว้ ไปต่อ

วิสุทธิ ความบริสุทธิ์, ความหมดจด, การชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมาย คือ พระนิพพาน มี ๗ ขั้น (ในที่นี้ ได้ระบุธรรมที่มี ที่ได้ เป็นความหมายของแต่ละขั้น ตามที่แสดงไว้ในอภิธัมมัตถสังคหะ)
คือ
๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล (ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ ศีลตามขั้นตามภูมิของตน)

๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิตต์ (ได้แก่ สมาธิ ๒ คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ)

๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (ได้แก่ นามรูปปริคคหญาณ)

๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย (ได้แก่ ปัจจัยปริคคหญาณ)

๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็น ว่าทางหรือมิใช่ทาง (ได้แก่ ต่อสัมมสนญาณ ขึ้นสู่อุทยัพพยญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา เกิดวิปัสสนูปกิเลส แล้วรู้เท่าทัน ว่าอะไรใช่ทาง อะไรมิใช่ทาง)

๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ นับแต่อุทยัพพยญาณ ที่ผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เกิดเป็นพลววิปัสสนา เป็นต้นไป จนถึงอนุโลมญาณ)

๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ (ได้แก่ มรรคญาณ ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น แต่ละขั้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทำให้มันดี, อยากปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่กิเลส เป็น

กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ แต่โดยทั่วไป หมายถึง ฉันทะที่เป็นกุศล หรือกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายอกุศล


หน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือควบคุมจิตให้อยู่งานคือกัมมัฏฐานที่ใช้ (ลมหายใจเข้า-ออก, พอง-ยุบ ฯลฯ) ผู้ปฏิบัติงานไม่มีหน้าที่คิดอยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากได้ญาณอยากมีฌาน อยากเป็นพระอริยะ ไม่ใช่ ให้ตั้งใจทำงานในขณะนั้นๆ มันจะมีจะเป็น เรื่องนี้เป็นหน้าที่ขององค์ธรรมซึ่งเขาทำหน้าที่ของเขาเอง ซึ่งมันก็เกิดจากการทำงานของเรานั่นแหละ
แต่ปฏิบัติไป มันแว้บอยากเป็นนั่นนี่บ้าง แว้บไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่บ้าง ให้กำหนดที่ความรู้สึกนั้นๆ อยากหนอๆ ไม่อยากหนอๆไปตามนั้น


แต่ให้สังเกตความรู้สึกหลังจากเดิน-นั่ง เป็นต้น แล้ว ทบทวนดูเมื่อก่อนกับขณะนี้ต่างกันไหม
ยังมีอะไรบกพร่อง อินทรีย์ไหนหย่อน อินทรีย์ใดล้ำเกินไป
ผู้ปฏิบัติต้องรู้วิธีปรับอินทรีย์ ซึ่งก็ใช้การเดินจงกรมและการนั่งอารมณ์นั่นเองปรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องวัดความพร้อม

หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อม และบ่งชี้ความก้าวหน้าช้า หรือ เร็วของบุคคล ในการปฏิบัติธรรมได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หลักธรรมชุดนี้ ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไป ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด มิใช่ใช้เฉพาะสำหรับการเจริญสมาธิเท่านั้น

อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความเพียร กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน และปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้

ฯลฯ

มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุครว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้ ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ

@ ศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร

@ ความเพียร ช่วยให้สติมั่นคง

@ เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ ก็จะได้สมาธิ

@ เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดปัญญา รู้เข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหา ที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชา และความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม

@ ครั้นเมื่อปัญญารู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธา ที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่ง หรือยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก

ดังพุทธพจน์ท่อนสุดท้ายว่า

"ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ก็มีจิตมั่นแน่วอย่างนี้ ครั้นมีจิตมั่นแน่วแล้ว ก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็ยิ่งกว่าเชื่อ (อภิศรัทธา) อย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลาย ที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่กับตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้" (สํ.ม.19/1010-1022/297-300)

(เน้นตัวโตนั่นคือประสบการณ์ตรง พูดให้ฟังเขาก็ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยืนยัน คคห.บน ด้วยตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ
แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟนก็ทำตามดิฉัน เพราะดิฉันบังคับ แรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็นเค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไรเวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไร ดิฉันได้แต่นั่ง ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน

เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

ดิฉันดีใจค่ะที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีกความรู้สึกแบบนี้จะหายไป
เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย

มันน่าน้อยใจนัก!!


พื้นๆในเบื้องต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 136 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร