วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 21:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามชาวพุทธครับ
1.หลวงพ่อประยุทธ์ ชอบสอนขัดกับพระไตรปิฏกบ่อยๆ เหมือนสมาชิกท่านหนึ่งอ้างจริงไหม?
2.หลวงพ่อประยุทธ์ บิดเบือนคำสอนพุทธที่บอกว่านิพพานเป็นอนัตตาจริงไหม?
3.หลวงพ่อประยุทธ์ ไม่สนับสนุนการปฏิบัติสมาธิจริงหรือ? อาทิ โจมตีว่าสมาธิคือยาเสพติด สมถะเป็นเรื่องไร้สาระ
4.สรุป คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า หลวงพ่อประยุทธ์ไม่ใช่ปราชญ์ น่ากังขา ไม่คุณค่าพอที่จะอ้างอิงความคิดอะไรในเชิงวิชาการได้ทั้งนั้น
เครดิต ชาวพุทธท่านหนึ่ง กล่าวถึงหลวงพ่อ!

รูปภาพ




https://www.facebook.com/photo.php?fbid ... ater&ifg=1

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกท่านหนึ่งว่า

เบื่อไอ้พวกนักแต่งตำราขาย..สาวก แต่งขึ้นมาใหม่อีกละซิ..พุทธธรรมกับสังคมรึ ได้กี่เปอร์เซ็นต์ล่ะเที่ยวนี้ .. เพ้อเจ้อมีแต่คารม เหตุผล-ที่มุ่งดึงศรัทธาคนให้ยึดติดกับตัวบุคคล แต่ไม่ยึดติดกับ พุทธวจน ของจริง จากสัจจะความจริง ทำคนให้หลงทางอยู่แต่ในดงภาษา-อักษร-ที่แต่งขึ้นตามยุคสมัยอันไม่เข้าใกล้ ภาคปฏิบัติ ของ พจ.เลย
พยายาม..แอบอิงเนื้อหา ให้เข้ากับยุคสมัย เจตนาเพื่อต้องการทรัพย์ชาวบ้านด้วยการใช้ วาทะ วจี-อักษร-ที่ไพเราะ-กาพย์-โคลง-กลอน-แต่ลงมือปฏิบัติไม่ถึงสักที เพ้อเจ้อ..อาจารวาท ชัดเจน

# 11 ลิงค์นี้

http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AA% ... B2.613520/

กท.มจด.ดบปล. :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิจารณ์ 1. พิจารณา, ไตร่ตรอง 2. สอบสวน, ตรวจตรา 3. คิดการ, กะการ, จัดเตรียม, จัดแจง, ดูแล, จัดดำเนินการ 4. ในภาษาไทย มักหมายถึงติชม, แสดงความคิดเห็นในเชิงตัดสินคุณค่าชี้ข้อดีข้อด้อย


วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บันทึกของผู้เขียน หน้า ๑๑๔๔ (บางส่วน)

รูปภาพ


หนังสือนี้เต็มไปด้วยหลักฐานที่มา หรืออ้างอิงคัมภีร์มากมาย จนหลายท่านเห็นว่าเกินจำเป็น การที่ทำเช่นนี้มิใช่เป็นการยึดมั่นติดคัมภีร์ หรือเกาะตำราแน่น โดยถือว่า เมื่อเป็นคัมภีร์แล้ว ต้องถูกต้องตายตัว

เป็นการแน่นอนว่า ในคัมภีร์ที่ล่วงเวลามาแสนนาน โดยเฉพาะคัมภีร์รุ่นหลังๆ ย่อมจะมีส่วนที่คลาดเคลื่อนบันทึกผิด เติมพลาด ปนอยู่ด้วยบางส่วน แต่กระนั้น คัมภีร์ทั้งหลายก็เป็นหลักฐานสำคัญมาก และความสำคัญนั้นก็ลดหลั่นกันเป็นระดับๆ ตามฐานะ และยุคสมัยของคัมภีร์เหล่านั้น *

ถ้าเราถือว่าความคิดเห็นของเราสำคัญ เราก็ไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของคำอธิบาย และทัศนะในคัมภีร์เหล่านั้น เพราะท่านผู้รวบรวมเรียบเรียงและบันทึกคัมภีร์เหล่านั้น ก็เป็นบุคคล และมักเป็นบุคคลผู้รู้ ซึ่งหลายท่านสามารถเป็นตัวแทนของวงการศึกษาพระพุทธศาสนาสมัยนั้นๆ อีกทั้งอยู่ในยุคที่ใกล้คำสอนเดิมแท้ยิ่งกว่าเรา


การอ้างหลักฐานไว้มาก เป็นการยอมรับความสำคัญของสิ่งที่สำคัญ ตามฐานะแห่งความสำคัญของสิ่งนั้นๆ
ถ้าเป็นคัมภีร์รุ่นหลังๆ ก็เป็นการที่เรายอมรับฟังความคิดความเห็นของท่านผู้อื่นด้วย เรื่องราวส่วนใดต้องการหลักฐาน ก็เป็นอันได้ให้หลักฐานไว้แล้ว ไม่ต้องเถียงกันในแง่นั้นอีก เรื่องราวส่วนใดควรแก่การแสดงทัศนะ ก็ได้เปิดโอกาสแก่ทัศนะที่ได้เคยมีมาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ *

อ้างคัมภีร์อีกว่า โบราณท่านจัดลำดับของหลักฐานไว้ เป็น

๑. อาหัจจบท (สูตรหรือความที่ยกมาอ้างจากพระบาลี)

๒. รส (ความที่สอดคล้องกับสูตร)

๓. อาจริยวงส์ (= อาจริยวาท)

๔. อธิบาย (อัตโนมัติ)

๕.การณุตริย์ (เหตุผลประกอบของ ๔ อย่างนั้น) ดู มิลินฺท 203 แต่ฉบับอักษรไทย ข้อความตอนอธิบายตกหายไป พึงดู Miln.148

ในสมัยอรรถกถา จัดเป็น

๑. สูตร (= พระไตรปิฎก)

๒. สุตตานุโลม (ข้อที่สอดคล้องกับสูตร)

๓. อาจริยวาท (= อรรถกถา)

๔.อัตโนมัติ ดู ที.อ. 2/219 และพึงดูหลักมหาปเทส ๔ ด้วย (ที.ม.10/113/144 องฺ.จตุกฺก.21/180/227 และแบบวินัย 5/92/131)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

พระพุทธศาสนาสอนว่า ไม่ควรปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำรา หรืออย่าเชื่อเพียงเพราะอ้างคัมภีร์ คือ อย่าเชื่อตำรางมไป บางท่านตีความเลยไปว่า พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่อตำรา หรืออย่าเชื่อตำรา

ความจริง ทั้งการเชื่อตำรา และการไม่เชื่อตำรา ถ้าทำโดยขาดวิจารณญาณ ก็สามารถเป็นความงมงายได้ด้วยกันทั้งคู่ คือ เชื่ออย่างงมงาย และไม่เชื่ออย่างงมงาย

ทางปฏิบัติที่รอบคอบ และไม่ผิด ในการไม่เชื่อตำรา ก็คือ ไม่ให้เป็นการไม่เชื่ออย่างเลื่อนลอย ก่อนจะตัดสินหรือแม้ตัดขาดกับตำรา ควรศึกษาให้ชัดเจนตลอดก่อนว่า ตำราว่าไว้อย่างไร ดูว่าท่านพูดไว้อย่างไรให้เต็มที่ก่อนแล้ว ต่อนั้น จะตีความ หรือเห็นต่างออกไปอย่างไร ก็ว่าของเราไป โดยเฉพาะ ท่านผู้เขียนคัมภีร์ทั้งหลายล้วนล่วงลับไปสิ้นแล้ว ท่านเสียเปรียบ ไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาแสดงความเห็น หรือคอยตามโต้เถียงเรา เราจึงควรให้โอกาส โดยไปตามค้นหาแล้วพาท่านออกมาพูดเสียให้เต็มที่ เมื่อรับฟังท่านเต็มที่แล้ว เราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ก็นับว่าได้ให้ความเป็นธรรมแก่ท่านแล้วพอสมควร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความประสงค์อีกอย่างหนึ่ง ในการแสดงหลักฐานที่มาไว้มาก หรือถือเอาคัมภีร์ที่อ้างอิงเป็นหลักเป็นแกนเป็นเนื้อตัวของหนังสือนี้ ก็เพื่อให้หนังสือนี้เป็นอิสระจากผู้เขียน และให้ผู้เขียนเอง ก็เป็นอิสระจากหนังสือด้วย เท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยว่า ผู้เขียนจัดทำหนังสือนี้อย่างเป็นนักศึกษาผู้หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นผู้ไปสืบค้นรวบรวมเอาเนื้อหาทั้งหลายของพุทธธรรมมาส่งวางให้แก่ผู้อ่าน
ถ้าสิ่งที่นำมาส่งวางให้นั้น เป็นของแท้จริง หยิบมาถูกต้อง ผู้นำมาส่งก็หมดความรับผิดชอบ จะหายตัวไปไหนก็ได้ ผู้ได้รับ ไม่ต้องนึกถึง ไม่ต้องมองที่ผู้นำส่งอีกต่อไป คงยุ่งอยู่กับของที่เขานำมาส่งเท่านั้นว่า จะเอาไปใช้เอาไปทำอะไรอย่างไรต่อไป
แต่ถ้าของส่วนใดยังไม่ใช่ของแท้ที่ถูกต้อง นำส่ง ก็ยังเปลื้องตัวไม่หมด ยังไม่พ้นความรับผิดชอบ โดยนัยนี้ การทำให้งานและตัวเป็นอิสระจากกันได้ จึงเป็นเครื่องวัดความสำเร็จของหสังสือนี้


เท่าที่กล่าวมานี้ คงจะยังไม่ได้ว่าจะทำตัวให้เป็นอิสระได้สิ้นเชิง แต่ก็พึงประกาศให้ทราบความมุ่งหวังไว้ ผู้เขียนนำเอาตัวพุทธธรรมมาแสดงแก่ผู้อ่านได้สำเร็จ ก็เหมือนกับได้พาผู้อ่านเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาเองแล้ว ผู้อ่านก็ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้เขียนอีกต่อไป พึงตั้งใจสดับ และพิจารณาพุทธธรรมที่แสดงจากพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดาโดยตรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเหตุที่หนักในด้านหลักฐาน หนังสือนี้จึงเน้นในด้านหลักการและวิธีปฏิบัติทั่วไป มากกว่าภาคปฏิบัติโดยตรง เพราะรายละเอียดของการปฏิบัติ ขึ้นต่อปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเฉพาะกรณี พร้อมทั้งกลวิธีที่เหมาะกัน

อย่างไรก็ตาม หลักการและวิธีปฏิบัติทั่วไปนี่แหละ เป็นแหล่งที่มาแห่งรายละเอียดของการปฏิบัติ ซึ่งเมื่อเข้าใจดีแล้ว ย่อมสามารถคิดกำหนดวางรายละเอียดเฉพาะกรณีต่างๆ ได้เอง และทั้งมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพุทธธรรมฉบับเดิม หลักฐานที่มา หรือคัมภีร์ที่อ้างอิง ได้จำกัดเลือกเอาเฉพาะในพระบาลี คือ พระไตรปิฎกแทบทั้งสิ้น มีหลักฐานจากคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อรรถกถาเข้าไปปนน้อยอย่างยิ่ง

ส่วนในพุทธธรรมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมและขยายความนี้ แม้จะยังไม่ทิ้งหลักการเดิม คือ พระไตรปิฎกเป็นหลัก แต่ได้เปิดรับหลักฐานจากคัมภีร์รุ่นหลังเข้ามามากด้วย เพื่อให้ผู้ศึกษารับรู้รับฟัง มีเครื่องประกอบพิจารณามากยิ่งขึ้น
การนำเอามติของคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อรรถกถา เป็นต้น เข้ามาปนด้วยนั้น ถ้าไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ เพราะคำสอนทีแท้ของพระพุทธเจ้า เราย่อมถือเอาตามพุทธพจน์ในพระบาลี คือ ประไตรปิฎก มติของคัมภีร์รุ่นหลัง เราถือเป็นเพียงส่วนเสริมช่วยให้กระจ่าง และยอมรับเฉพาะส่วนที่สอดคล้องกับพระบาลี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจำนวนมาก ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทำให้ผู้อ่านสับสน หรือถึงกับเข้าใจผิด จับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกถาจารย์ เป็นต้น ว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า
บางที แม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสนหรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อพึงระมัดระวังในเรื่องความสับสนเกี่ยวกับหลักฐานที่มานี้



มีตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น บางท่านผู้ศึกษาพระอภิธรรม เข้าใจว่า หลักปฏิจจสมุปบาท หรือปัจจยาการ เป็นเรื่องของกระบวนธรรมช่วงยาวคร่อมชีวิตสามชาติ และวางใจว่าความหมายเช่นนี้เป็นไปตามหลักอภิธรรม

แต่ความจริงกลับเป็นไปในทางตรงข้ามว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบอภิธรรมแท้ๆ (หมายถึงพระอภิธรรมปิฎก) เป็นเรื่องของความเป็นไปในขณะจิตเดียวเท่านั้น
ส่วนที่จะตีความให้เป็นช่วงยาวคร่อมสามชาติได้นั้น ทำได้ด้วยอาศัยปฏิจจสมุปบาทแนวพระสูตรต่างหาก

ที่กล่าวกันว่า คำอธิบายคร่อมสามชาติเป็นหลักอภิธรรมนั้น ความจริง เป็นคัมภีร์อภิธรรมชั้นอรรถกถาและฎีกา ซึ่งอธิบายตามแนวการจำแนกความแบบพระสูตร (สุตตันตภาชนีย์) ที่ได้ยกมาแสดงในอภิธรรมปิฎกนั้นด้วย (เรื่องนี้ได้ชี้แจงไว้แล้วในบทที่ ๔)


เพื่อป้องกันความสับสนและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักฐานที่มาอย่างนั้น ในหนังสือนี้ แม้จะอ้างอิงคัมภีร์รุ่นหลังเข้ามาร่วมด้วยมาก แต่ก็ได้ช่วยให้ผู้อ่านสามารถแยกหลักฐานฝ่ายพระบาลี กับ ฝ่ายคัมภีร์รุ่นหลังออกจากกัน โดยระบุแยกไว้ให้ชัดในเนื้อความ แยกคำอธิบายไว้ต่างหาก และแสดงหลักฐานที่มากำกับไว้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองหรือสามอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กี่ยวกับหลักฐานที่มา มีข้อควรรู้บางอย่าง คือ

ก. สำหรับผู้คู้กับคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อเห็นอักษรย่อคัมภีร์ ก็รู้ได้ทันทีว่า อันใดเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎก อันใดเป็นคัมภีร์รุ่นหลัง แต่สำหรับผู้ไม่คุ้น อาจสังเกตง่ายๆ จากเลขบอกที่มา คือ คัมภีร์ในพระไตรปิฎก เรียงเลข ๓ ช่อง เป็น เล่ม/ข้อ/หน้า
ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังเรียงเลขเพียง ๒ ช่อง เป็น เล่ม/หน้า
นอกจากนั้น คัมภีร์ที่เป็นอรรถกถา อักษรย่อจะลงท้ายด้วย อ. ที่เป็นฎีกา จะลงท้ายด้วย ฎีกา

ข. ตามปกติ เรื่องใดอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นต้นที่สำคัญกว่าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นรองลงไป ที่สำคัญน้อยกว่า เช่น อ้างพระไตรปิฎกแล้ว ก็ไม่ต้องอ้างอรรถกถาอีก เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น

ค. เมื่ออ้างที่มาหลายแห่ง จะเรียงตามลำดับประเภท หมวด และรุ่นของคัมภีร์ เช่น เรียงพระไตรปิฎกก่อนอรรถกถา อรรถกถาก่อนฎีกา หรือในจำพวกพระไตรปิฎกด้วยกัน ก็เรียงพระวินัยก่อนพระสูตร พระสูตรก่อนพระอภิธรรม ในพระสูตรด้วยกัน ก็เรียงตามลำดับนิกาย ในนิกายเดียวกัน ก็เรียงตามลำดับคัมภีร์ เป็น วินย. ที.สี. ที.ม. ที.ปา. ม.มู. ม.ม. ฯลฯ อภิ.สํ. อภิ.วิ. ฯลฯ วินย.อ. ที.อ. ม.อ. ฯลฯ วิภงฺค.อ. ฯลฯ วินย.ฎีกา. ฯลฯ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น เป็นคัมภีร์ลำดับหลัง แต่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้มาก เป็นหลักฐานใหญ่เฉพาะกรณีนั้น ก็เรียงไว้ข้างต้น หรือคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้คล้ายกัน ก็เรียงไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง มิใช่เฉพาะหลักฐานที่มาเท่านั้น ที่มีมากกมาย แม้เชิงอรรถชี้แจงเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ก็มากมายเช่นกัน
ผู้อ่านบางท่าน อาจรู้สึกรกรุงรังน่ารำคาญตา แต่ขอให้เห็นแก่นักศึกษา ซึ่งจะได้ประโยชน์

ข้อความในเชิงอรรถนั้น เป็นแง่มุมอื่นๆ ของเรื่องราวที่อยู่ข้างบน จะเขียนไว้ด้วยกัน ก็จะทำให้ฟั่นเฝือ จึงเขียนไว้ต่างหากบ้าง เป็นความรู้ที่เกินจำเป็น ใครสนใจจึงควรอ่านเพิ่มเติมบ้าง เป็นความรู้พิเศษที่มีประโยชน์ แต่จะเขียนแทรกในเนื้อความข้างบน ก็เข้ากันได้ไม่สนิท จึงแยกไว้ต่างหากบ้าง ดังนี้เป็นต้น

เฉพาะอย่างยิ่ง ความในเชิงอรรถบางตนอาจเป็นประโยชน์มาก แก่ผู้ต้องการค้นคว้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไป เชิงอรรถมากแห่ง เป็นเหมือนเค้าความของเรื่องใหญ่อื่นๆ ที่ควรแก่การศึกษา เป็นเครื่องชี้ช่องสำหรับการแสวงหาความรู้ขยายพิสดารออกไป เป็นเหมือนมีหนังสืออื่นอีกหลายเล่มรวมติดอยู่ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเน้นในด้านหลักฐาน ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่หนังสือนี้จะหนักไปทางวิชาการ หรือออาจพูดได้ว่า มุ่งแสดงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนาโดยตรง คำนึงถึงการอธิบายหลักธรรม มากกว่าจะคำนึงถึงพื้นฐานของผู้อ่าน

ดังนั้น หนังสือพุทธธรรมนี้ จึงเป็นหนังสือสำหรับผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หรือสำหรับผู้ต้องการศึกษาอย่างจริงจัง มุ่งหาความรู้อย่างไม่กลัวความยาก ใจสู้ จะเอาชนะทำความเข้าใจให้จงได้
ไม่ใช่หนังสือสำหรับชวนให้ศึกษาหรือเข้าไปหาผู้อ่าน เพื่อชักจูงให้มาสนใจ คือ ถือเอาหลักวิชาเป็นที่ตั้ง มิใช่ถือเอาผู้อ่านเป็นที่ตั้ง แต่กระนั้น ก็มิใช่จะยากเกินกำลังของผู้อ่านทั่วไป ที่มีความใฝ่รู้และตั้งใจจริง จะเข้าใจได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อเป็นหนังสือแสดงหลักวิชา ก็ย่อมมีคำศัพท์วิชาการทางพระพุทธศาสนา คือ ถ้อยคำทางธรรมที่มาจากภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก ข้อนี้ก็เป็นเหตุอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้หนังสือนี้ยากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ไม่คุ้นกับศัพท์ธรรม หรือคำที่มาจากบาลี แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง ในเมื่อต้องการจะรู้หลักกันจริงๆ

อันที่จริง พุทธธรรมนั้น ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้ศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียว ก็เป็นพุทธธรรม
แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่เป็นพุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเสีย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที หรือแม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละ จะเป็นสื่อแห่งการสอน ที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว
หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุด ก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้น อาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น

โดยนัยนี้ คำศัพท์อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างเท่าทัน คือรู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง รู้กาลควรใช้ ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2018, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้กล่าวแล้วว่า ผู้เขียนเขียนหนังสือนี้อย่างผู้ศึกษา ในฐานะผู้ศึกษา จึงรับฟังความรู้และความคิดไปเรื่อยๆ แม้ว่า ผู้เขียนจะเป็นผู้ได้อ่านหนังสือค่อนข้างน้อย และอ่านค่อนข้างช้า แต่หนังสือนี้ก็นับว่า เป็นผลงานที่ได้อาศัยแหล่งความรู้แหล่งความคิดหลายแห่ง ความรู้และโดยเฉพาะความคิดส่วนมาก ไม่มีกล่าวไว้ หรือส่อแสดงพากพิงถึงในหนังสือหรือแหล่งเหล่านั้นก็จริง แต่ได้อาศัยสิ่งที่อ่านหรือรับฟังเหล่านั้น เป็นช่องให้เกิดความคิดแทรกขึ้นบ้าง เป็นจุดกระทบให้เกิดแง่คิดใหม่ของตนเองขึ้นบ้าง เป็นจุดเร้าให้ไปสืบค้นเสาะหาความรู้ที่แท้จริงบ้าง

ในหนังสือที่ได้อ่านไม่มากนั้น ได้พบหลายเรื่องทีเดียว ที่กล่าวความทำนองที่เรียกกันว่า โจมตีพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะหนังสือต่างประเทศ

ผู้เขียนเรื่องราวโจมตี หรือตำหนิติเตียนพุทธศาสนานั้น ย่อมทำด้วยเหตุต่างๆกัน ที่ทำด้วยเข้าใจผิด ก็มี ที่ทำด้วยมุ่งร้ายเจตนาไม่เป็นกุศล ก็มี ที่ปรารถนาดี แต่เห็นไม่ได้อย่างใจ จึงติเตียนกล่าวรุนแรงด้วยโทมนัส ก็มี ที่ตำหนิอย่างมีเหตุผล และถูกต้องบางแง่บางจุด ก็มี

แต่ว่าเขาจะโจมตีหรือตำหนิด้วยเหตุใดก็ตาม ถ้าเรามิใช่สักว่าเชื่อตามเขาไปง่ายๆ และมิใช่สักว่าขัดเคืองตั้งท่าคอยค้าหรือด่าตอบเขาอย่างเดียว หากวางใจเป็นกลาง ตั้งใจศึกษาพิจารณาคำกล่าว่าเหล่านั้น ด้วยท่าทีปฏิบัติต่อคำติชมที่พระเจ้าตรัสสอนไว้ * (ที.สี.9/1/3-4) เราย่อมถือเอาประโยชน์จากคำกล่าวร้ายติเตียนเหล่านั้นได้ทุกกรณี และตามปกติ เราควรได้ประโยชน์จากคำติมากกว่าคำชม เพราะเขาชมสิ่งที่เราได้ทำหรือทำได้อยู่แล้ว แต่คำติ ชี้ถึงสิ่งที่เราทำไม่ได้ หรือยังไม่ได้ทำ ถึงเขาติผิด เรารู้จักคิด ก็มองเห็นแง่คิดที่เป็นประโยชน์อยู่ดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร