วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 120 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วกเข้ากระทู้ ที่ผ่านมาเห็นศัตรูของสมาธิว่ามันคือนิวรณ์แล้ว แล้วก็เห็นว่าต้องกำจัดมันด้วยสมาธิ ดังนั้น ก็ต้องฝึกฝนอบรมจิตให้มีสมาธิกันต่อไป เมื่อจิตมีสมาธิแล้วเบื้องต้นมีประโยชน์หลายอย่าง จะว่าต่อไป แต่ตอนนี้ ดูลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิก่อน

ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ


อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึงภาวะจิตที่มีคุณภาพ และมีสมรรถภาพดีที่สุด

จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำ ที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทาง เดียวย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำ ที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย

ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรก คือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ)

คำว่า อัคคะ ที่นี้ ท่านแปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้ คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยนี้ จิตเป็นสมาธิ ก็คือ จิตที่มียอด หรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง รวมมุ่งดิ่งไป หรือแทงทะลุไปได้ง่าย

จิตที่มีสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตพร้อมด้วยองค์ ๘ (อัฏฐังคสมันนาคตจิต) องค์ ๘ นั้น ท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

๑. ตั้งมั่น
๒. บริสุทธิ์
๓. ผ่องใส
๔. โปร่งโล่ง เกลี้ยงเกลา
๕. ปราศจากสิ่งมัวหมอง
๖. นุ่มนวล
๗. ควรแก่งาน
๘. อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว

ท่านว่า จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณา ให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิต ให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

ตามที่กล่าวมานี้ มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วย ก็คือ ความ "ควรแก่งาน" หรือ ความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง

ควรย้ำเพิ่มไว้อีกว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โปร่งโล่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย หรืออุดมคติทางธรรม:

ประโยชน์ที่เป็นความมุ่งหมายแท้จริงของสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนา คือ เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง แห่งการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด อันได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลส และทุกข์ทั้งปวง

๑) ประโยชน์ที่ตรงแท้ของข้อนี้ คือ การเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งสภาวธรรมตามเป็นจริง เรียกตามศัพท์ว่า เป็นบาทแห่งวิปัสสนา หรือทำให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ ซึ่งจะนำไปสู่วิชชาและวิมุตติในที่สุด

๒) ประโยชน์ที่รองลงมาในแนวเดียวกันนี้ แม้จะไม่ถือว่าเป็นจุดหมายที่แท้จริง คือ การบรรลุภาวะที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว ที่เรียกว่าเจโตวิมุตติประเภทยังไม่เด็ดขาด กล่าวคือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจพลังจิต โดยเฉพาะด้วยกำลังของฌาน กิเลสถูกกำลังสมาธิ กด ข่ม หรือทับไว้ เรียกเป็นศัพท์ว่า วิกขัมภนวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ในด้านสุขภาพจิต และการพัฒนาบุคลิกภาพ


ตัวอย่างในข้อนี้ ทำให้เป็นผู้มีจิตใจ และมีบุคลิกลักษณะ ที่เข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง สงบ เยือกเย็น สุภาพ นิ่มนวล สดชื่น ผ่องใส กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เบิกบาน งามสง่า มีเมตตากรุณา มองดูรู้จักตนเอง และผู้อื่นตามความเป็นจริง

(คนมีนิวรณ์ มีลักษณะตรงข้าม เช่น อ่อนไหว ติดใจหลงใหลง่าย หรือหยาบ กระด้าง ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด หงุดหงิด วู่วาม จุ้นจ้าน สอดแส่ ลุกลี้ลุกลน หรือหงอยเหงา เศร้าซึม หรือขี้หวาด ขี้ระแวง ลังเล)

สมาธิเตรียมจิตให้อยู่ในภาพพร้อม และง่ายแก่การปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ และเสริมสร้างนิสัยที่ดี รู้จักทำใจให้สงบ และสะกดยั้งผ่อนเบาความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจได้ เรียกอย่างสมัยใหม่ว่า มีความมั่นคงทางอารมณ์และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต

ประโยชน์ข้อนี้จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ในเมื่อใช้จิตที่มีสมาธินั้น เป็นฐานปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน คือดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ตามดูรู้ทันพฤติกรรมทางกายวาจา ความรู้สึกนึกคิด และภาวะจิตของตนที่เป็นไปต่างๆ มองอย่างเอามาเป็นความรู้สำหรับใช้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่ยอมเปิดช่องให้ประสบการณ์และความเป็นไปเหล่านั้น ก่อพิษเป็นอันตราย แก่ชีวิตจิตใจของตนได้เลย ประโยชน์ข้อนี้ ย่อมเป็นไปในชีวิตประจำวันด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น

๑) ใช้ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย หายเครียด เกิดความสงบ หายกระวนกระวาย ยั้งหยุดจากความกลัดกลุ้มวิตกกังวล เป็นเครื่องพักผ่อนกาย ให้ใจสบาย และมีความสุข เช่น บางท่านทำอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้าออก) ในเวลา ที่จำเป็นต้องรอคอย และไม่มีอะไรที่จะทำ เหมือนดังเวลานั่งติดในรถประจำทาง หรือปฏิบัติสลับแทรกในเวลาทำงานใช้สมองหนัก เป็นต้น

ประโยชน์ข้อนี้ อย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่ ฌานสมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ใช้เป็นที่พักผ่อนกายใจ เป็นอยู่อย่างสุขสบายในโอกาสว่างจากการบำเพ็ญกิจ ซึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่า เพื่อเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร

๒) เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียน และการทำกิจทุกอย่าง เพราะจิตที่เป็นสมาธิ แน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่เลื่อนลอยเสีย ย่อมช่วยให้เรียน ให้คิด ให้ทำงานได้ผลดี การงานก็เป็นไปโดยรอบคอบ ไม่ผิดพลาด และป้องกันอุบัติเหตุได้ดี เพราะเมื่อมีสมาธิ ก็ย่อมมีสติกำกับอยู่ด้วย ดังที่ท่านเรียกว่าจิตเป็นกัมมนียะ หรือกรรมนีย์ แปลว่า ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน ยิ่งได้ประโยชน์ในข้อ ๑) มาช่วยเสริม ก็ยิ่งได้ผลดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

๓) ช่วยเสริมสุขภาพกาย และใช้แก้ไขโรคได้ ร่างกาย กับ จิตใจอาศัย กัน และมีอิทธิพลต่อกัน ปุถุชนทั่วไป เมื่อกายไม่สบาย จิตใจก็พลอยอ่อนแอเศร้าหมอง ขุ่นมัว ครั้นจิตใจ ไม่มีกำลังใจ ก็ยิ่งซ้ำให้โรคทางกายนั้นทรุดหนักลงไปอีก แม้ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ พอประสบเรื่องราวให้เศร้าเสียใจรุนแรง ก็ล้มป่วย เจ็บไข้ไปได้

ส่วนผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์ (โดยเฉพาะท่านที่มีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว) เมื่อเจ็บป่วยกาย ก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้น จิตใจไม่พลอยป่วยไปด้วย ยิ่งกว่านั้น กลับใช้ใจที่สบาย มีกำลังจิตเข้มแข็งนั้น หันกลับมาส่งอิทธิพลบรรเทา หรือผ่อนเบาโรคทางกายได้อีกด้วย อาจทำให้โรคหายง่ายและไวขึ้น หรือแม้ใช้กำลังสมาธิระงับทุกขเวทนาทางกายไว้ก็ได้* (เช่น ที.ม.10/93/117 ฯลฯ)

ในด้านดี ผู้มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน ย่อมช่วยให้กายเอิบอิ่ม ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายดีเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว ความสัมพันธ์นี้ มีผลต่ออัตราส่วนของความต้องการ และการเผาผลาญใช้พลังงานของร่างกายด้วย เช่น จิตใจที่สบายผ่องใสสดชื่นเบิกบานนั้น ต้องการอาหารน้อยลง ในการที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ผ่องใส เช่น คนธรรมดามีเรื่องดีใจ ปลาบปลื้มอิ่มใจ ไม่หิวข้าว หรือพระที่บรรลุธรรมแล้ว มีปีติเป็นภักษา ฉันอาหารวันละมื้อเดียว แต่ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่หวนละห้อยความหลัง ไม่เพ้อหวังอนาคต * (สํ.ส.15/22/7)

ไม่เฉพาะจิตใจดี ช่วยเสริมให้สุขภาพกายดีเท่านั้น โรคกายหลายอย่าง เป็นเรื่องของกายจิตสัมพันธ์ เกิดจากความแปรปรวนทางจิตใจ เช่น ความมักโกรธบ้าง ความกลุ้มกังวลบ้าง ทำให้เกิดโรคปวดศีรษะบางอย่าง หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดได้ เป็นต้น เมื่อทำจิตใจให้ดีด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ช่วยแก้ไขโรคเหล่านั้นได้

ประโยชน์ข้อนี้จบสมบูรณ์ ต่อเมื่อมีปัญญาที่รู้เท่าทันสภาวธรรมประกอบอยู่ด้วย*

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง * คคห.บน

สภาพกายจิตสัมพันธ์นี้ อาจแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ตามขั้นของพัฒนาการทางจิต

ขั้นตำสุด ทุกข์กาย ซ้ำทุกข์ใจ คือ ผลต่อกาย กระทบจิตด้วย พอไม่สบายกาย ใจพลอยไม่สบายด้วย ซ้ำเติมตัวเองให้หนักขึ้น

ขั้นกลาง ทุกข์กาย อยู่แค่กาย คือ จำกัดขอบเขตของผลกระทบได้ ความทุกข์ความไม่สบายมีอยู่แค่ไหน ก็รับรู้ตามที่เป็นแค่นั้น วางใจได้ ไม่ให้ทุกข์ทับถมลุกลาม

ขั้นสูง ใจสบาย ช่วยกายคลายทุกข์ คือ เมื่อร่างกายทุกข์ ไม่สบาย นอกจากไม่เก็บไปก่อทุกข์แก่ใจแล้ว ยังสามารถใช้สมรรถภาพที่เข้มแข็ง และคุณภาพที่งามของจิต ส่งผลตีกลับมาช่วยกายได้อีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านก็ได้สรุปอานิสงส์คือผลได้ต่างๆของสมาธิภาวนา หรือการฝึกเจริญสมาธิไว้เหมือนกัน ดังที่แสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ.2/195-6) เป็นต้นว่า

@ เป็นวิธีการพักผ่อนอย่างสุขสบายในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมสุขวิหาร)

ข้อนี้ เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับพระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้ทำกิจเพื่อความหลุดพ้นเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ต้องใช้ฌานเพื่อบรรลุภูมิธรรมใดๆ ต่อไปอีก อ้างพุทธพจน์ว่า "ฌานเหล่านี้ เรียกว่าเป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร ในอริยวินัย (ระบอบของอริยชน หรือแบบแผนของพระอริยะ) (ม.มู.12/102/73)

@ เป็นบาท หรือ เป็นปทัฏฐาน แห่งวิปัสสนา

ข้อนี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนาก็ได้ หรือขั้นอุปจารก็พอได้ แต่ไม่โปร่งนัก ประโยชน์ข้อนี้ใช้สำหรับพระเสขะและปุถุชน อ้างพุทธพจน์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง" (สํ.ข.17/27/18)

@ ทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้

ข้อนี้ เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับ (พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี) ผู้ได้สมาบัติ ๘ แล้ว ทำให้เสวยความสุขอยู่ได้โดยไม่มีจิต ตลอดเวลา ๗ วัน อ้างญาณในนิโรธสมาบัติ ในปฏิสัมภิทามัคค์ *(ขุ.ปฏิ.31/225/147)

.........

ตัดเอาเรื่องอภิญญาออก เพราะเห็นว่าบ้านเราฟุ้งกันเกินพอแรงแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความมุ่งหมายและประโยชน์ของสมาธิ: ในแง่ช่วยป้องกันความไขว้เขว


ความเข้าใจในเรื่องประโยชน์ หรือความมุ่งหมายในการเจริญสมาธินี้ จะช่วยป้องกัน และกำจัดความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ และชีวิตพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้เป็นอันมาก เช่น ความเข้าใจผิดว่า การบำเพ็ญสมาธิเป็นเรื่องของการถอนตัว ไม่เอาใจใส่ในกิจการของสังคม หรือว่า ชีวิตพระสงฆ์ เป็นชีวิตที่ปลีกตัวโดยสิ้นเชิง ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

ข้อพิจารณาต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์ ในการป้องกัน และกำจัดความเข้าใจผิดที่กล่าวมาแล้วนั้น


- สมาธิเป็นเพียงวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมาย ไม่ใช่ตัวจุดหมาย ผู้เริ่มปฏิบัติอาจต้องปลีกตัวออกไป มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตในสังคมน้อยเป็นพิเศษ เพื่อการปฏิบัติฝึกอบรมช่วงพิเศษระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงออกมามีบทบาทในทางสังคมตามความเหมาะสมของตนต่อไป อีกประการหนึ่ง การเจริญสมาธิโดยทั่วไป ก็มิใช่จะต้องมานั่งเจริญอยู่ทั้งวันทั้งคืน และวิธีปฏิบัติก็มีมากมาย เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับจริยา เป็นต้น

- จะเห็นได้จากหลักฐาน เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในหลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ว่าบุคคลบางคน อาจใช้เวลาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นั้นอย่างจริงจังต่อเนื่องกัน เป็นเวลาเพียง ๗ วันเท่านั้น ก็บรรลุอรหัตผลได้ สำหรับท่านที่สำเร็จผลเช่นนั้นแล้ว การใช้สมาธิต่อจากนั้นไป ตามปกติก็คือ เพื่อประโยชน์ในข้อทิฏฐธรรมสุวิหาร ส่วนเวลาที่เหลืออยู่มากมายในชีวิต ก็สามารถใช้ให้เป็นไปตามพุทธพจน์ที่มีเป็นหลักมาแต่ดั้งเดิม คือ "จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย - ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก"

@ การดำเนินปฏิปทาของพระสงฆ์ ขึ้นต่อความถนัด ความเหมาะสม ของลักษณะนิสัย และความพอใจส่วนตนด้วย บางรูปอาจพอใจและเหมาะสมที่จะอยู่ป่า บางรูปถึงอยากไปอยู่ป่า ก็หาสมควรไม่ มีตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุบางรูปไปปฏิบัติธรรมในป่า * (องฺ.ทสก.24/99/216 ฯลฯ) และแม้ภิกษุที่อยู่ป่า ในทางพระวินัยของสงฆ์ ก็หาได้อนุญาตให้ตัดขาดจากความรับผิดชอบทางสังคมโดยสิ้นเชิง อย่างฤๅษีชีไพรไม่ *

@ ประโยชน์ของสมาธิ และฌานที่ต้องการในพุทธธรรม ก็คือ ภาวะจิตที่เรียกว่า "นุ่มนวล ควรแก่งาน" ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ปฏิบัติการของปัญญาต่อไป ส่วนการใช้สมาธิและฌานเพื่อประโยชน์อื่นจากนี้ ถือเป็นผลได้พิเศษ และบางกรณีกลายเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุน ตัวอย่างเช่น

ผู้ใดบำเพ็ญสมาธิเพื่อต้องการอิทธิปาฏิหาริย์ ผู้นั้นชื่อว่าตั้งความดำริผิด อิทธิปาฏิหาริย์นั้น อาจก่อให้เกิดผลร้ายได้มากมาย เสื่อมได้ และไม่ทำให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้เลย

ส่วนผู้ใดปฏิบัติเพื่อจุดหมายทางปัญญา ผ่านทางวิธีสมาธิ และได้อิทธิปาฏิหาริย์ด้วย ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษไป

อย่างไรก็ดี แม้ในกรณีปฏิบัติด้วยความมุ่งหมายที่ถูกต้อง แต่คราวใดที่ยังไม่บรรลุจุดหมาย การได้อิทธิปาฏิหาริย์ ย่อมเป็นอันตรายได้เสมอ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความหลงเพลิน และความติดหมกมุ่น ทั้งแก่ตนและคนอื่น และอาจเป็นเหตุพอกพูนกิเลส จนถ่วงให้ดำเนินต่อไปไม่ได้

พระพุทธเจ้า แม้จะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย แต่ก็ไม่ทรงสนับสนุนการใช้อิทธิปาฏิหาริย์ เพราะไม่ใช่วิถีแห่งปัญญา และความหลุดพ้นเป็นอิสระ ตามพุทธประวัติจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ในกรณีเพื่อระงับอิทธิปาฏิหาริย์ หรือเพื่อระงับความอยากในอิทธิปาฏิหาริย์

@ สำหรับท่านผู้ฝึกอบรมก้าวหน้าไปในมรรคแล้ว หรือสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้ว มักนิยมใช้การเจริญสมาธิขั้นฌาน เป็นเครื่องพักผ่อนอย่างสุขสบายในโอกาสว่างๆ เช่น พระพุทธองค์เอง แม้จะเสด็จจาริกสั่งสอนประชาชนจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับคนทุกชั้นวรรณะ และทรงปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ แต่ก็ทรงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง คือ ฌายี และ ฌานสีลี หมายความว่า ทรงนิยมฌาน ทรงพอพระทัยประทับในฌาน แทนการพักผ่อนอย่างธรรมดาในโอกาสว่าง เช่นเดียวกับพระสาวกเป็นอันมาก อย่างที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือ เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ปรากฏว่าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ ถึง ๓ เดือน * (สํ.ม.19/1363/412) เพื่อเจริญสมาธิ ก็เคยมี

การนิยมหาความสุขจากฌานนี้ บุคคลใดจะทำแค่ไหนเพียงใด ย่อมเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล แต่หากความติดชอบมากนั้น กลายเป็นเหตุละเลยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ย่อมถูกถือเป็นเหตุตำหนิได้ ถึงแม้จะเป็นความติดหมกมุ่นในขั้นประณีต

กล่าวโดยพื้นฐาน ระบบชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ว่าตามหลักบทบัญญัติในทางวินัย ย่อมถือเอาความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นหลักสำคัญ ความเจริญรุ่งเรืองก็ดี ความเสื่อมโทรมก็ดี ความตั้งอยู่ได้และไม่ได้ก็ดี ของคณะสงฆ์ ย่อมขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อส่วนรวมนั้นเป็นข้อสำคัญ

เมื่อมองโดยรวม ในขั้นสูงสุด ย่อมเห็นชัดว่า สำหรับพระพุทธเจ้า และท่านที่ปฏิบัติถูกต้อง สมาธิมาช่วยหนุนการบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ * คคห.บน

-ให้พิจารณาจากวินัยบัญญัติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ ในด้านการเลี้ยงชีพ เป็นต้น และบทบัญญัติให้พระภิกษุทุกรูป มีส่วนร่วม และต้องร่วม ในสังฆกรรม อันเกี่ยวกับการปกครอง และกิจการต่างๆ ของหมู่คณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากพุทธธรรมหมวดสมาธิ (อธิจิตตสิกขา) ตัดๆหน้าโน่นบ้างหน้านี้บ้างมา มีหน้า ๗๘๔ เป็นต้น

รูปภาพ


สิกขามี ๓ คือ

๑. อธิสีลสิกขา

๒.อธิจิตตสิกขา

๓. อธิปัญญาสิกขา

สิกขา ๓ ที่เรียกกันง่ายๆว่า ศีล สมาธิ และปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา มาจากไหน ย่อมาจากอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อทำไม ย่อมาเป็นหลักปฏิบัติ ปฏิบัติตามนี้ได้ถูกต้องแล้ว อริยมรรคทั้ง ๘ นั้นก็จะรวมตัวกันเป็นหนึ่งที่เรียกมรรคสามัคคี และมิใช่เท่านั้น โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ก็สามัคคีด้วยแล.

จบข่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสให้ความหมายคำว่า ฌาน ไว้ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจความหมายฌานนัยกว้างๆดังกล่าวข้างต้น (ได้แก่ สมาธิ) กับ นัยเฉพาะตัวฌานเอง จึงนำมาไว้ตรงนี้

ดูคำถาม/ตอบ

อ้างคำพูด:

กรัชกาย

ถามนะ ตอบตรงๆสักทีเถอะ

ฌาน ฌาน ฌาน ฌานหมายถึงอะไร บอกสิขอรับโผม


อ้างคำพูด:
Rosarin

ฌาน คือ เพ่งเผาทำลายธัมมะฝ่ายตรงข้าม เกิดได้ทั้งมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิเป็นคนละขณะ
ขณะเพ่งด้วยโมหะเป็นมิจฉาทิฏิ ก็เพียรในการทำลายกุศลจิต คือ ทำไปตามเคยชิน ด้วยความไม่รู้
ดังนั้น ฌานที่ไม่ประกอบปัญญา จึงเป็นมิจฉาสมาธิ

ส่วนญาณ คือ ปัญญาเกิดเมื่อเริ่มสะสมการฟังค่ะ
ต้องเป็นผู้มีปกติลืมตาตื่นรู้ความจริงตอนกำลังฟังเข้าใจตรงสิ่งที่กายใจตนเองกำลังมีตรงตามที่ฟัง
เริ่มเข้าใจถูกตามได้ จนกว่าจะเป็นผู้ตรงสัจจะ และเพียรเพ่งทำลายอกุศล คือ รู้ตรงจริงทุกขณะจริงๆ
กิเลสใหม่ จึงแทรกเข้าไม่ได้ เพราะเป็นการฟังเพื่อรู้คิดตามจนตรงจริงแม่นยำมั่นคงคือปัญญารู้ตรงชัด

viewtopic.php?f=1&t=56064&p=422217#p422217


ออกแนวๆเตโชวิปัสสนาของสำนักหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ดูคัมภีร์ทางศาสนาที่เขาศึกษากันต่อๆมา

ความหมายของ ฌาน


ผู้เริ่มศึกษาพึงทราบว่า คำว่า ฌาน ๔ ตามปกติหมายถึง รูปฌาน ๔ ดังนั้น จะพูดว่าฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ ก็มี ความหมายเท่ากัน

อนึ่ง ไม่พึงสับสนฌาน ๔ กับ ฌาน ๕ เพราะฌาน ๕ ก็คือ ฌาน ๔ นั่นเอง เป็นแต่ขยายละเอียดออกไปตามแนวอภิธรรม และฌานที่ ๕ ตามแนวอภิธรรมนั้น ก็ตรงกับฌานที่ ๔ ในที่นี้นั่นเอง (ฌาน ที่แยกเป็น ๔ เรียกว่าฌานจตุกกนัย เป็นแบบหลักที่พบทั่วไปในพระสูตร ส่วนฌานที่แยกขยายออกเป็น ๕ ตามแนวอภิธรรม เรียกว่า ฌานปัญจกนัย)

“ฌาน” แปลว่า เพ่ง หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง แต่สมาธินั้น มีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆกัน แยกได้เป็นหลายระดับ


ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ

องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่

วิตก (การจรดจิตลงในอารมณ์)
วิจาร (การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์)
ปีติ (ความอิ่มใจ)
สุข (ความสุข, ความฉ่ำชื่นรื่นใจ)
อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) และ
เอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)


ฌาน ที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตาเหมือนจตุตถฌาน
แต่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ตามอารมณ์ที่กำหนด


ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง, พินิจ, ครุ่นคิด, เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และอาจใช้ในแง่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัย (นิวรณ์ ๕ ) ไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ.14/117/98) หรือกิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่าฌาน (ใช้ในรูปกิริยาศัพท์ เช่น ม.มู.12/560/604)


บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือคิดพิจารณา
ในอรรถกถาบางแห่ง จึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก
คือ
การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ ฌานสมาบัติ นั่นเอง)

การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

(ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่า เผากิเลส บ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพาน บ้าง) ดู องฺ.อ.1/536 ปฏิสํ.อ.221 สงฺคณี อ.273 (ดู ขุ.ปฏิ.31/483/368 ด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสเห็นความคิดสับสนของโฮมสะเตย์ไหม เห็นหรือยัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นอีกข้อสำคัญหนึ่ง นั่นก็คือบริหารสุวรรณเขต + คุณโรส :b13: เรียนแต่เฉพาะอภิธรรมอย่างเดียว ตำราฝ่ายนี้พูดว่า เป็นขณะๆ แต่ละขณะๆ มันเกิด-ดับ นั่นนี่ไปเช่นนั้น ซึ่งเรา/เขาผู้เรียนก็ว่าไปตามตำราเช่นว่านั้น

แต่จริงๆแล้วผู้พูดดังกล่าวเอง ไม่เห็นเองเป็นขณะๆนั่นหรอก ไม่เคยนับ แต่ตำราว่าเกิด-ดับเป็นขณะๆ ไม่เห็นการเกิด-ดับของจิตของรูปของนามของอะไรทั้งนั้น ไม่เห็นเลย ไม่รู้เลย พูดไปตามนั้นว่าไปตามตำราฝ่ายอภิธรรมอย่างเดียวนั่นแล.
ส่วนตำราฝ่ายพระสูตรไม่เรียนด้วย ทีนี้ ก็ยึดถืออยู่ข้างเดียวซี่ อีกทั้งไม่เคยหลับตา :b12: สังเกตดูชีวิต หรือ รูปนาม หรือร่างกายกับจิตใจด้วย เขาจึงเป็นหลงยิ่งกว่าหลงถ้ำหลวงอีก หลงถ้ำยังพอช่วยกันออกมาได้ แต่หลงทิฏฐิคือความเห็นนี่ต่อให้ตถาคตเทศน์อยู่ต่อหน้า ก็ไม่เชื่อ ดีไม่ดีเถียงตถาคตอีก ตัวอย่างก็เช่นเทวทัต เป็นต้น เถียงตถาคตยันตาย จริงๆนะ :b32: ไม่ใช่พูดเล่น

คุณโรสครับ ดูหลายๆหลายแห่งครับ เหมือนเราฟังข่าวสารการบ้านการเมือง ต้องฟังหลายๆสำนัก แล้วเราก็ใช่ปัญญาคือโยนิโสมนสิการของเราด้วย คือ รู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ร่อนๆเหมือนร่อนข้าวส้อมมือสมัยก่อนไงขอรับ ไม่รู้นึกออกไป พูดไปงั้นแหละ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2018, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ทีนี้ดูคัมภีร์ทางศาสนาที่เขาศึกษากันต่อๆมา

ความหมายของ ฌาน


ผู้เริ่มศึกษาพึงทราบว่า คำว่า ฌาน ๔ ตามปกติหมายถึง รูปฌาน ๔ ดังนั้น จะพูดว่าฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ ก็มี ความหมายเท่ากัน

อนึ่ง ไม่พึงสับสนฌาน ๔ กับ ฌาน ๕ เพราะฌาน ๕ ก็คือ ฌาน ๔ นั่นเอง เป็นแต่ขยายละเอียดออกไปตามแนวอภิธรรม และฌานที่ ๕ ตามแนวอภิธรรมนั้น ก็ตรงกับฌานที่ ๔ ในที่นี้นั่นเอง (ฌาน ที่แยกเป็น ๔ เรียกว่าฌานจตุกกนัย เป็นแบบหลักที่พบทั่วไปในพระสูตร ส่วนฌานที่แยกขยายออกเป็น ๕ ตามแนวอภิธรรม เรียกว่า ฌานปัญจกนัย)

“ฌาน” แปลว่า เพ่ง หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง แต่สมาธินั้น มีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆกัน แยกได้เป็นหลายระดับ


ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ

องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่

วิตก (การจรดจิตลงในอารมณ์)
วิจาร (การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์)
ปีติ (ความอิ่มใจ)
สุข (ความสุข, ความฉ่ำชื่นรื่นใจ)
อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) และ
เอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)


ฌาน ที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตาเหมือนจตุตถฌาน
แต่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ตามอารมณ์ที่กำหนด


ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง, พินิจ, ครุ่นคิด, เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และอาจใช้ในแง่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัย (นิวรณ์ ๕ ) ไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ.14/117/98) หรือกิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่าฌาน (ใช้ในรูปกิริยาศัพท์ เช่น ม.มู.12/560/604)


บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือคิดพิจารณา
ในอรรถกถาบางแห่ง จึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก
คือ
การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ ฌานสมาบัติ นั่นเอง)

การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

(ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่า เผากิเลส บ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพาน บ้าง) ดู องฺ.อ.1/536 ปฏิสํ.อ.221 สงฺคณี อ.273 (ดู ขุ.ปฏิ.31/483/368 ด้วย)

อ่านจนท่องจำได้ขึ้นใจมันก็ไม่เป็นฌานให้หรอกนะคะ
ผู้ที่เคยสะสมปัญญามาแล้วเท่านั้นจึงเข้าถึงความจริงได้
เพราะเอกัคตาเจตสิกมีทุกขณะจิตเกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว
แต่สภาพธรรมเกิดดับเร็วจนดูเหมือนไม่มีอะไรดับหายไปเลย
ขั้นการคิดถูกตามได้น่ะต้องเข้าใจทีละลักษณะให้ทราบว่ามีแล้ว
ไม่ต้องไปทำอะไรก็มีเพียงแต่ไม่เคยคิดได้เองต้องอาศัยการฟังก่อน
ถ้ายังไม่เข้าใจยังไม่ต้องไปทำเข้าใจไหมคะเชื่อจึงทำตามเขาบอกใช่ไหม
จึงไม่คิดทบทวนตามคำสอนให้เข้าใจถูกก่อนจึงจะไม่หลงผิดไปทำตามผู้อืื่น
เพราะตถาคตกล่าวเตือนให้ฟังไม่คิดเองจนกว่าปัญญาเพิ่มขึ้นถึงระดับที่จะบรรลุ
เข้าใจไหมคะว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งที่ไม่มีใครรู้ได้ตามปกติที่ลืมตามองดูโลกเป็นปกติ
พิจารณาและไตร่ตรองให้เข้าใจโลกแปลว่าสิ่งที่เกิดดับขันธ์แปลว่าเกิดดับและจิตเกิดดับ
รวมความว่าไม่มีอะไรตั้งอยู่ตามที่ปรากฏเห็นเป็นคนสัตว์วัตถุแม่น้ำป่าไม้ภูเขารถเครื่องบินฯลฯ
มีแต่ความจริงที่กำลังมีจริงๆที่กำลังเกิดดับตรงตามเหตุปัจจัยที่กรรมกำหนดมาให้ได้รับผลของกรรม
แต่เมื่อไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏว่ามีการเกิดดับจึงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนว่ามีอยู่จริงไม่มีอะไรดับ
จนกว่าจะเริ่มฟังความจริงตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้จนรู้จักตนเองตามเป็นจริงว่าความจริงคืออะไร
ไม่มีใครเอากิเลสออกจากจิตได้มีแต่ต้องทำความคิดเห็นให้ตรงตามคำสอนเป็นผู้คิดตามได้ตรงคำตรงจริง
:b16:
:b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 11 ก.ค. 2018, 11:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 120 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร