วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิรูป สมควร, เหมาะสม, ปรับปรุงให้สมควร ถ้าอยู่ท้ายคำสมาส แปลว่า “เทียม” “ปลอม” “ไม่แท้” เช่น สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า “สัทธรรมเทียม” หรือ “ธรรมปลอม”

(ตัวอย่างปฏิรูปอยู่หน้าคำสมาสแปลว่า “สมควร”)

ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร, อยู่ในถิ่นที่เหมาะ หมายถึงอยู่ในถิ่นเจริญ มีคนดี มีนักปราชญ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างของปลอม คนพูดเองว่าเป็นธรรม ก็เป็นธรรมปลอม เป็นของปลอม มันจึงไม่สั่นไม่ไหว เป็นความเข้าใจผิดของเขาเอง เช่น

อ้างคำพูด:
กบนอกกะลาเขียน

การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน ทำให้ละขันธ์ ๕ ได้ง่าย ดังนั้น วิปัสสนาญาณ ๙ ต้องหมั่นทบทวนพิจารณาให้จิตรู้ความจริงแล้วยอมรับ
และให้คอยระวังอารมณ์เศร้าหมองหดหู่ จักต้องลงตัวธรรมดาจนชิน เป็นสังขารุเบกขาญาณให้ได้

(หมายความว่า เห็นการทำงานทางโลกไม่เที่ยง ทำให้เกิดทุกข์ เป็นของธรรมดาจิตพร้อมที่จะปล่อยวางงานทุกชนิดได้ทันทีเมื่อกายพัง จิตพร้อมไปนิพพานได้เสมอรู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน คือทางลัดที่จำเป็นจะต้องซ้อมและพร้อมอยู่เสมอ)"

การหมั่นพิจารณาในบทธรรม..โดยเฉพาะอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ 9. (พิจารณาในอารมณ์ 9... เกิดอารมณ์ใน 9 )
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56133


กรัชกายว่า มันผิดหลักเห็นชัดๆ

อ้างคำพูด:
การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน ทำให้ละขันธ์ ๕ ได้ง่าย


นิพพิทา ไม่ใช่หมายถึงเบื่อหน่ายต่อการการงาน เบื่อหน่ายงาน ไม่ใช่ เขาหมายถึงผู้ปฏิบัติกรรมฐานถูกต้องมาแต่ต้น คือ เห็นการเกิด-ดับของรูปนาม (วิปัสสนาญาณข้อ 1) ทำไปปฏิบัติไปแล้วมาถึงตรงนี้มันเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสังขาร คือ ร่างกายและจิตใจนี้ หรือรูปนามนี้ หรือชีวิตนี้

ทีนี้มาว่าเบื่อการทำงานทำมาหากินเสีย มันก็แย้งหลักธรรมข้ออื่นๆ เช่น ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ เป็นต้น

อ้างคำพูด:
กบนอกกะลาว่า
กักกาย...ไปแปล..ว่า..เบื่อหน่ายต่อการทำงาน...เบื่อหน่ายงาน

แต่ผม...กลับเห็นว่า..หมายถึง..เกิดความเบื่อหน่ายจากการพิจารณาเห็นทุกข์จากการทำงาน..ต้องทำงานเพราะมีร่างกายที่เป็นภาระต้องเลี้ยงดู....นี้คือ...เกิดนิพพิทาญาณในงาน..ใช้งานเป็นเหตุให้พิจารณาให้เห็นทุกข์..ไม่ใช่ไปเบื่อหน่ายการทำงาน..


ผมไม่แปลกใจหรอกว่า..ทำไมกักกาย..ถึงแปลไปในแนวนั้น..ก็ยังงี้แหละ..เพราะความเกลียด..ทำให้ไม่เกิดปัญญาพิจารณาเห็นธรรม..


แม้แต่แปลกบก็ไม่เข้าใจ มันจะไปแปลอะไรอีก ก็ที่เขียนมามันก็บอกชัดๆแล้ว :b32:

อีกทั้งกบนอกกะลา ก็ยังไม่เข้าใจศัพท์แสงที่ตัวเองพูด นิพพิทา แปลว่า เบื่อหน่าย

ตัวเองก็พูดอยู่นี่

อ้างคำพูด:
จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน


นิพพิทาในงาน นี่เบื่อหน่ายงาน คิกๆๆ


เชื่อเหลือเกินว่าที่พูดนี่ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูด ดู

อ้างคำพูด:
การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน


"...พิจารณาหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีชีวิต (ขันธ์ ๕) เป็นเหตุให้ต้องทำงาน"

ง่ายๆนี่ก็แสดงว่า เกิดมาแล้วไม่ต้องทำงาน แบบนี้ต้องตายสะใช่ไหมแล้วไม่ต้องทำงาน แล้วก็เอานิพพงนิพพานไปผูกไว้กับการงาน โอ้ยสับสน :b32:


ยิ่งพูดยิ่งติดหล่มลึกเข้าไปอีก

อ้างคำพูด:
เกิดความเบื่อหน่ายจากการพิจารณาเห็นทุกข์จากการทำงาน..ต้องทำงานเพราะมีร่างกายที่เป็นภาระต้องเลี้ยงดู.


มันต้องกินต้องใช้ มันก็ต้องทำงานสิเออ จะให้นั่งกินนอนกิน ก็ต้องเป็นอัมพาตดิ จะได้มีคนป้อน แต่ก็อีกแหละ ถ้าไม่มีเงิน ไม่มีลูกหลาน ก็ต้องนอนจมกองขี้กองเยี่ยวอยู่คนเดียว

นี่คือความคิดนักธรรมเมืองไทย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกกบบอกใครต่อใครหลายๆคน ว่าถ้ามันไปไม่ไหว ก็หันกลับไปที่จุดเดิม ไปเริ่มที่ทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้นเอา คือ ทำสิ่งที่เห็นๆเอา ถ้ามีเวลาว่าง ก็ไปศึกษาเล่าเรียนยังสำนักเรียนที่เขาเปิดสอนเปิดสอบกันเอา ค่อยๆทำความเข้าใจเอาไปก่อน เมื่อมีหลักจับหลักได้แล้ว เราก็มีก็ได้แนวทางให้คิด โดยไม่ต้องเดาสุ่มเอา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

คำพระสอน..

"เหนื่อยก็ให้ยอมรับกฎของกรรม การทำงานในโลกนี้ คำว่าไม่เหนื่อยไม่ทุกข์ไม่มี
ให้เห็นของธรรมดาเหล่านี้ให้มาก พร้อมกับทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ในขณะเดียวกันให้วางจิตใจ ทำเป็นชาติสุดท้าย ตายเมื่อไหร่ก็เลิกกันทันที
มิใช่เลิกจากการทำงานเพียงอย่างเดียว ประการสำคัญคือเลิกจากขันธ์ ๕ อันเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งหมด ตั้งใจเอาไว้อย่างนี้ให้ดี จึงจักมีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคของการทำงาน
แต่การทำงานพึงคำนึงถึงสุขภาพของร่างกายและจิตใจเอาไว้ด้วย
อย่าเอาแต่ความอยากจักให้งานเสร็จมาเป็นที่ตั้งแต่เพียงอย่างเดียว ก็จักเบียดเบียนทั้งร่างกายและจิตใจด้วยความรู้เท่าไม่ทันการณ์
อีกทั้งความใจร้อนทำให้ผลของงานออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
"


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

คำพระสอน..

"เหนื่อยก็ให้ยอมรับกฎของกรรม การทำงานในโลกนี้ คำว่าไม่เหนื่อยไม่ทุกข์ไม่มี
ให้เห็นของธรรมดาเหล่านี้ให้มาก พร้อมกับทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ในขณะเดียวกันให้วางจิตใจ ทำเป็นชาติสุดท้าย ตายเมื่อไหร่ก็เลิกกันทันที
มิใช่เลิกจากการทำงานเพียงอย่างเดียว ประการสำคัญคือเลิกจากขันธ์ ๕ อันเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งหมด ตั้งใจเอาไว้อย่างนี้ให้ดี จึงจักมีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคของการทำงาน
แต่การทำงานพึงคำนึงถึงสุขภาพของร่างกายและจิตใจเอาไว้ด้วย
อย่าเอาแต่ความอยากจักให้งานเสร็จมาเป็นที่ตั้งแต่เพียงอย่างเดียว ก็จักเบียดเบียนทั้งร่างกายและจิตใจด้วยความรู้เท่าไม่ทันการณ์
อีกทั้งความใจร้อนทำให้ผลของงานออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
"


:b8: :b8: :b8:


อย่างนี้เขาเรียกคนขี้บ่น พูดไปเรื่อยเขียนไปเรื่อย โบราณว่า ไก่ไร้สำนัก มวยไม่มีครู

อ้างคำพูด:
เหนื่อยก็ให้ยอมรับกฎของกรรม การทำงานในโลกนี้ คำว่าไม่เหนื่อยไม่ทุกข์ไม่มี
ให้เห็นของธรรมดาเหล่านี้ให้มาก พร้อมกับทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ในขณะเดียวกันให้วางจิตใจ ทำเป็นชาติสุดท้าย ตายเมื่อไหร่ก็เลิกกันทันที


"เหนื่อยก็ให้ยอมรับกฎของกรรม"

เอาเหนื่อยไปโยนใส่กฏแห่งกรรมอีก เหนื่อยก็พักซี่

"ทำงานเป็นชาติสุดท้าย" แสดงว่าไม่เกิดแล้ว

"ตายเมื่อไหร่เลิกทันที" มีใครบ้าง ตายแล้วลุกขึ้นมาทำงานทำการ

เลอะเทอะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 20:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คนมันจะพาล...ซะอย่าง...มันก็แปลงสารแบบพาลๆ..อยู่นั้นแหละ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คนมันจะพาล...ซะอย่าง...มันก็แปลงสารแบบพาลๆ..อยู่นั้นแหละ

:b32: :b32: :b32:



มันเห็นๆ พูดมั่วไปเรื่อย หาว่าแปลงสานอีก แปลงสารตรงไหนยกมาซิ เอามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห. ลุงหมานผู้รักษาลานกล่าวไว้ จากหัวข้อกระทู้ "กิเลสควรละหรือควรประหาร"

อ้างคำพูด:
จระเข้ขวางคลอง เป็นสุภาษิตที่รู้จักกันเป็นอย่างดี มีความหมายที่ทราบกันเป็นอย่างดี แล้วก็ถูกนำไปใช้เพื่อสื่อถึงลักษณะอันไม่พึงประสงค์ของบุคคลในสังคมได้เป็นอย่างดี ที่จริงไม่ต้องสาธยายให้มากความก็ได้ เพราะสามารถรู้ได้โดยนัย (common sense) จากคำที่ประกอบในประโยคอยู่แล้ว กระนั้นก็ขออนุญาตแจ้งถึงความหมายให้กระจ่างซักนิด จระเข้ขวางคลอง หรือ ไอ้เข้ขวางคลอง หมายถึง บุคคลที่ทำตัวกีดขวางผู้อื่น จนก่อให้เกิดความรำคราญ เขาไปทั่ว นึกว่ากูแน่กูเก่ง ที่แท้ก็สัตว์เดรัจฉาน

viewtopic.php?f=1&t=55930



เอาแค่ว่า "ละ" กับ "ประหาร" นี่ก็ผิดแล้ว :b32: นั่นแหละเขาเรียกธรรมปฏิรูป

อ้างคำพูด:
นัยนี้จะยกหรือชูประเด็นที่แตกต่างกัน ในความหมายคำว่า ละ กับคำว่า ประหาร ให้ชัดเจนจะได้ไม่มีความเห็นที่แตกต่างชวนให้ทะเลาะกันได้

จะสรุปใช้ง่ายขึ้น กิเลสที่ละจะใช้กับปุถุชน กิเลสที่ประหารจะใช้กับพระอริยะ



พอเราวางหลักไว้ ก็ลบ ไม่รับความจริงว่ามันผิด คิกๆๆ แถมแขวะส่งท้ายก่อนปิดกระทู้อีก :b13:

ถ้าไม่อิงหลัก มันก็เละแหละขอรับท่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่นี้ก็เห็นชัดแล้วว่ามั่ว คือ เอาคำแปลปหาน ซึ่งแปลว่า "ละ" ฯลฯ แยกให้แก่ ปุถุชน เอาคำว่า "ประหาร" แยกให้ พระอริยะ

ปหาน (บาลี, ประหาณ ส.) แปลว่า ละ,การละ,กำจัด

ประหาณ ละ, กำจัด, การละ, การกำจัด, เป็นรูปที่เขียนอย่างสันสกฤต เขียนอย่างบาลีเป็น ปหาน (บางทีเขียนผิด เป็น ประหาร)

ประหาร การตี, การทุบตี, การฟัน, การล้างผลาญ, ฆ่า, ทำลาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ก็ลบออก เราปรารถนาดี ไปค้นให้พิมพ์ให้ ดูความหมาย อริยะ คำเดียวเดี่ยวโดด กับ ที่สมาสกับคำอื่น


อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน

อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึกคือ กิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดปัตติมรรค เป็นต้น

อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ,, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมว่าเป็นมิลักขะ คือ พวกคนป่าคนดอย, พวกอริยะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน


อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ


อริยชาติ “เกิดเป็นอริยะ” คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยะบุคคล เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ,
อีกอย่างหนึ่งว่า ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติคือกำเนิด


อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆแย่งชิงไม่ได้ และทำเป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา


อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น


อริยปริเยสนา การแสดงหาที่ประเสริฐ คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติชรามรณะ หรือกองทุกข์ โดยความได้ ได้แก่ แสวงหาโมขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์, ความหมายอย่างง่าย ได้แก่ การแสวงหาในทางสัมมาชีพ


อริยผล ผลอันประเสริฐ มี ๔ ขั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล


อริยมรรค ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ, ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค


อริยวงศ์ ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ คือ สันโดษด้วยจีวร ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาต ๓. สันโดษด้วยเสนาสนะ ๔. ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล


อริยวัฑฒิ, อริยาวัฒิ, อารยวัฒิ ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน, ความเจริญงอกงามที่ได้สาระเป็นอริยสาวก อริยสาวิกา มี ๕ คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อมีเหตุผล ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริง ความดีงาม และในการที่จะทำกรรมดี ๒. ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓. สุตะ ความรู้หลักธรรมคำสอนและใฝ่ใจเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละ มีน้ำใจและใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕ ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล มองเห็นโลกและชีวิตตามเป็นจริง


อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ
ทุกข์ (หรือทุกขสัจจะ)
สมุทัย (หรือ สมุทัยสัจจะ)
นิโรธ (หรือนิโรธสัจจะ)
มรรค (หรือ มัคคสัจจะ)
เรียกเต็มว่า ทุกข (อริยสัจจ์) ทุกขสมุทัย (อริยสัจจ์) ทุกขนิโรธ (อริยสัจจ์) และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (อริยสัจจ์)


อริยสาวก 1. สาวกผู้เป็นพระอริยะ, สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น 2. สาวกของพระอริยะ (คือ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)


อริยสาวิกา สาวิกาที่เป็นพระอริยะ, อริยสาวกหญิง


อริยอัฏฐังคิกมรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนลองถามลุงหมานตรงๆสักทีซิ

ลุงหมาน ที่ลุงก้มหน้าก้มตาโพสต์ข้อความในที่ที่ซึ่งเขาเรียกว่าลานธรรมนี่ลุงทำไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่เพื่อหลักแห่งพุทธธรรม หลักแห่งพระพุทธศาสนา ตอบสิครับ ทำไปเพื่ออะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 08:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คำพระสอน

"จงอย่าไปรับไฟของคนอื่นมาใส่ใจตน การทำงานในพระพุทธศาสนานี้ ขอให้มั่นใจในพุทโธอัปมาโณ ธัมโมอัปมาโณ สังโฆอัปมาโณ แต่ในขณะเดียวกันก็จงเห็นเป็นปกติธรรม ไม่มีใครสามารถทำให้คนทั้งโลกรักได้ ทุกคนย่อมมีทั้งคนรักและคนชัง โลกเป็นปกติธรรมอยู่อย่างนี้ พระตถาคตเจ้าทุกพระองค์ก็ถูกโลกธรรมเล่นงานมาแล้วทุกพระองค์เหมือนกันหมด ห้ามโลกไม่ให้เป็นไปอย่างนี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ พระตถาคตเจ้าจึงห้ามใจตนเองไม่ให้ไปหมกมุ่นอยู่กับโลก ด้วยจิตใจที่ปราศจากกิเลส ใครเขาอยากด่าให้เขาด่าไป ใครเขาอยากชมให้เขาชมไป จิตใจที่เห็นโลกตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีการปรุงแต่งธรรม ดีก็แค่นี้ เลวก็แค่นี้ โลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรเหลือ มีอันต้องฉิบหายเหมือนกันหมด เอาจิตใจของตนไปให้พ้นเสียจากโลก รักษากำลังใจให้ตั้งมั่น ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเท่านั้น อดทนกับกิเลสในใจของตนเองดีกว่า อย่าไปตำหนิจริยาของใคร อย่าไปสร้างความพอใจ หรือไม่พอใจให้เกิดขึ้นกับจิตใจของตนเอง ปล่อยวางพฤติการณ์รอบด้านให้เป็นไปตามความเป็นจริง จิตใจอย่าไปฝืนกรรมของใคร ใจก็จักเป็นสุข ไม่เดือดร้อนกับความทุกข์หรือความสุขของใคร เท่านั้นแหละได้ชื่อว่าจิตใจเริ่มจักเข้าสู่ทิศทางที่จักเพียรตัดกิเลสในจิตใจของตนเอง มิใช่ไปเพียรติดกิเลสของชาวบ้าน จำคำหนึ่งที่พระอรหันต์ท่านให้กันอยู่เป็นปกติ เป็นคติประจำใจ ทุก ๆ ยุค ทุก ๆ สมัยว่า ช่างมัน ๆ ๆ แล้วพวกเจ้าจักสบายใจ"

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2018, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คำพระสอน

"[color=#000080]จงอย่าไปรับไฟของคนอื่นมาใส่ใจตน การทำงานในพระพุทธศาสนานี้ ขอให้มั่นใจในพุทโธอัปมาโณ ธัมโมอัปมาโณ สังโฆอัปมาโณ แต่ในขณะเดียวกันก็จงเห็นเป็นปกติธรรม ไม่มีใครสามารถทำให้คนทั้งโลกรักได้ ทุกคนย่อมมีทั้งคนรักและคนชัง โลกเป็นปกติธรรมอยู่อย่างนี้ พระตถาคตเจ้าทุกพระองค์ก็ถูกโลกธรรมเล่นงานมาแล้วทุกพระองค์เหมือนกันหมด ห้ามโลกไม่ให้เป็นไปอย่างนี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ พระตถาคตเจ้าจึงห้ามใจตนเองไม่ให้ไปหมกมุ่นอยู่กับโลก ด้วยจิตใจที่ปราศจากกิเลส ใครเขาอยากด่าให้เขาด่าไป ใครเขาอยากชมให้เขาชมไป จิตใจที่เห็นโลกตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีการปรุงแต่งธรรม ดีก็แค่นี้ เลวก็แค่นี้ โลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรเหลือ มีอันต้องฉิบหายเหมือนกันหมด เอาจิตใจของตนไปให้พ้นเสียจากโลก รักษากำลังใจให้ตั้งมั่น ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเท่านั้น อดทนกับกิเลสในใจของตนเองดีกว่า อย่าไปตำหนิจริยาของใคร อย่าไปสร้างความพอใจ หรือไม่พอใจให้เกิดขึ้นกับจิตใจของตนเอง ปล่อยวางพฤติการณ์รอบด้านให้เป็นไปตามความเป็นจริง จิตใจอย่าไปฝืนกรรมของใคร ใจก็จักเป็นสุข ไม่เดือดร้อนกับความทุกข์หรือความสุขของใคร เท่านั้นแหละได้ชื่อว่าจิตใจเริ่มจักเข้าสู่ทิศทางที่จักเพียรตัดกิเลสในจิตใจของตนเอง มิใช่ไปเพียรติดกิเลสของชาวบ้าน จำคำหนึ่งที่พระอรหันต์ท่านให้กันอยู่เป็นปกติ เป็นคติประจำใจ ทุก ๆ ยุค ทุก ๆ สมัยว่า ช่างมัน ๆ ๆ แล้วพวกเจ้าจักสบายใจ"

:b8: :b8: :b8:


คิดอย่างนั้น เขาเรียกว่าคิดแบบคนทำท่าเป็นอรหันต์ ซึ่งไม่ใช่พระอรหันต์ปกติ นึกออกไหม :b32: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร