วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 08:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดที่มักเขวหรือเข้าใจพลาด เกี่ยวกับนิพพาน

ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น


กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ อาจเรียกชื่อตามองค์ธรรมที่เป็นตัวการสำคัญว่า กระบวนการฝ่าย อวิชชา ตัณหา

ส่วนกระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ ก็อาจเรียกชื่อตามองค์ธรรมที่สำคัญว่า กระบวนการฝ่าย วิชชา วิมุตติ
ถ้าเรียกอย่างง่ายๆ ฝ่ายแรก คือ ไม่รู้ จึงติด ฝ่ายหลังเป็น พอรู้ ก็หลุด


ในฝ่ายอวิชชา - ตัณหา องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาเข้าไป หรือ นำไปสู่ชาติภพ ก็ คือ อุปาทาน ที่แปลว่า ความถือมั่น ความยึดมั่นหรือความยึดติดถือมั่น
ส่วนในฝ่าย วิชชา -วิมุตติ องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาออกไป หรือ เป็นจุดแยกออกจากสังสารวัฏ ได้แก่ นิพพิทา แปลกันว่า ความหน่าย คือ หมดใคร่ หายอยาก หรือ หายติด องค์ธรรมฝ่ายนี้ มาจับคู่ตรงข้ามกัน เป็นอุปาทาน กับ นิพพิทา


อุปาทานเกิดจากอวิชชา ที่ไม่รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะที่แท้จริง เปิดทางให้ตัณหาอยากได้ใคร่จะเอามาครอบครองเสพเสวย แล้วเอาตัวตนเข้าผูกพันถือมั่นถือ หมายว่า ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ที่เรียกว่า อุปาทาน


ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจ สิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะว่ามีข้อเสียข้อบกพร่อง ไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่า และไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้ แล้วเกิดความหน่าย หมดความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย

จะเห็นว่า อุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ

ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้ เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ข้อที่พึงย้ำในที่นี้ก็คือ การที่นิพพิทาจะเกิดขึ้น หรือ การที่จะถอนทำลายอุปาทานได้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้ว นิพพิทาก็เกิดเอง อุปาทานก็หมดไปเอง เป็นเรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย หรือ ภาวะที่เป็นไปเอง ตามเหตุปัจจัยของมัน *

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 มิ.ย. 2018, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ *

*ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสุดท้ายที่เรียกกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นธรรมดาว่า เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้ว นิพพิทาก็จะเกิดตามมาเอง ดู องฺ.ทสก. 24/2/2...ดูพุทธพจน์ที่ว่า เมื่ออวิชชาจางคลาย วิชชาเกิด ก็ไม่ยึด ที่ ม.ม.12/158/135 รู้แค่ไหนจึงจะเลิกยึดถือ เช่นที่ ม.อุ. 14/41/40

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีเราสอนกันว่า จงอย่ายึดมั่นถือมั่น หรือว่า อย่ายึดมั่นกันไปเลย หรือว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นเสียเท่านั้น ก็หมดเรื่อง * การสอนเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ดี และควรสอนกัน แต่พร้อมนั้นก็จะต้องระลึกถึงหลักการ ที่กล่าวแล้วข้างต้นด้วย คือ จะต้องพยายามให้ความที่จะไม่ยึดมั่นนั้น เกิดขึ้นโดยถูกต้อง ตามทางแห่งกระบวนธรรม มิฉะนั้น ก็อาจกลายเป็นการปฏิบัติผิดพลาดและมีโทษได้ โทษที่จะเกิดขึ้นนี้ คือ “ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น

การปฏิบัติ ด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ เช่นเดียวกับการกระทำด้วยความยึดมั่นโดยทั่วไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง *

* พุทธพจน์หนึ่ง ที่อ้างกันมากเกี่ยวกับความไม่ยึดมั่นคือ สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น หรือ สิ่งทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นไว้ได้ (ม.มฺ.12/434/464 ฯลฯ )

อภินิเวส เป็นไวพจน์หนึ่งของอุปาทาน (เช่น อภิ.วิ.35/312/200)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติว่า มีห่อของอยู่ห่อหนึ่ง ห่อด้วยผ้าสีสวยงาม วางไว้ในตู้กระจก ที่ปิดใส่กุญแจไว้ มีชายผู้หนึ่ง เชื่ออย่างสนิทใจว่า ในห่อนั้นมีของมีค่า เขาอยากได้ ใจจดจ่ออยู่ แต่ยังเอาไม่ได้ เขาพะวักพะวงวุ่นวายอยู่กับการที่จะเอาของนั้น เสียเวลาเสียการเสียงาน ต่อมา มีคนที่เขานับถือมาบอกว่า ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร ไม่น่าเอา และการที่เขาอยากได้ อยากเอา วุ่นวายอยู่นั้นไม่ดีเลย ทำให้เกิดความเสียหายมาก ใจหนึ่งเขาอยากจะเชื่อคำบอกของคนที่นับถือ และเขาก็เห็นด้วยว่า การพะวงอยู่นั้นไม่ดี มีโทษมาก แต่ลึกลงไปก็ยังเชื่อว่า คงต้องมีของมีค่าเป็นแน่

เมื่อยังเชื่ออยู่ เขาก็ยังอยากได้ ยังเยื่อใย ยังตัดใจไม่ลง แต่เขาพยายามข่มใจ เชื่อตามคนที่เขานับถือ และแสดงให้คนอื่นๆ เห็นว่า เขาเชื่อตามเห็นตามคำของคนที่เขานับถือนั้นแล้ว เขาจึงแสดงอาการว่า เขาไม่อยากได้ เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น

สำหรับคนผู้นี้ ถึงเขาจะยืนตะโกน นั่งตะโกนอย่างไร ๆ ว่า ฉันไม่เอาๆ ใจของเขาก็คงผูกพัน เกาะเกี่ยวอยู่กับห่อของนั้นอยู่นั่นเอง และบางทีเพื่อแสดงตัวให้คนอื่นเห็นว่า เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น เขาไม่อยากได้ เขาจะไม่เอาของนั้น เขาอาจแสดงกิริยาอาการที่แปลกๆ ที่เกินสมควร อันนับได้ว่ามากไป กลายเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้ นี้เป็นตอนที่หนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อมาชายผู้นั้น มีโอกาสได้เห็นของที่อยู่ในห่อ และปรากฏว่า เป็นเพียงเศษผ้าเศษขยะจริง ตามคำของคนที่เขานับถือเคยพูดไว้ ไม่มีอะไรมีค่าควรเอา เมื่อรู้แน่ประจักษ์กับตัวอย่างนี้แล้ว เขาจะหมดความอยากได้ทันที ใจจะไม่เกาะเกี่ยว ไม่คิดจะเอาอีกต่อไป

คราวนี้ ถึงเขาจะพยายามบังคับใจของเขาให้อยากได้ ข่มฝืนให้อยากเอา ถึงจะเอาเชือกผูกตัวติดกับของนั้น หรือหยิบของนั้นขึ้นมา ร้องตะโกนว่า ฉันอยากได้ ฉันจะเอา ใจก็จะไม่ยอมเอา

ต่อจากนี้ไป ใจของเขาจะไม่มาวกเวียนติดข้องอยู่กับห่อของนั้นอีก ใจของเขา จะเปิดโล่งออกไป พร้อมที่จะมองจะคิดจะทำการอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่สืบไป นี้เป็นตอนที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2018, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่ง เปรียบได้กับพฤติกรรมของปุถุชน ผู้ยังมีความอยาก และความยึดอยู่ด้วยตัณหา อุปาทาน เขาได้รับคำสั่งสอนทางธรรมว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้ มั่นหมายยึดเอานั้น มีสภาวะแท้จริง ที่ไม่น่าอยาก ไม่น่ายึด และความอยากความยึดถือก็มีโทษมากมาย เขาเห็นด้วย โดยเหตุผลว่า ความอยากได้และความถือมั่นไว้มีโทษมาก และก็อยากจะเชื่อว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้ล้วนมีสภาวะ ซึ่งไม่น่าฝันใฝ่ใคร่เอา แต่ก็ยังไม่มองเห็นเช่นนั้น
ลึกลงไปในใจ ก็ยังมีความอยากความยึดอยู่นั่นเอง แต่เพราะอยากจะเชื่อ อยากจะปฏิบัติตาม หรืออยากแสดงให้เห็นว่า ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางธรรมนั้น เขาจึงแสดงออกต่างๆ กระทำการต่างๆ ให้เห็นว่า เขาไม่อยากได้ไม่ยึดติด ไม่คิดจะเอาสิ่งทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพึงใจเหล่านั้น

ในกรณีนี้ ความไม่อยากได้ไม่อยากเอา หรือไม่ยึดติดของเขา มิใช่ของแท้จริงที่เป็นไปเองตามธรรมดาธรรมชาติ เป็นเพียงสัญญาแห่งความไม่ยึดมั่น ที่เขาเอามายึดถือไว้ เขาเข้าใจความหมายของความไม่ยึดมั่นนั้นอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติ หรือ ทำการต่างๆไปตามนั้น ความไม่ยึดมั่นของเขา จึงเป็นเพียง ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น และการกระทำของเขา ก็เป็นการกระทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

การกระทำเช่นนี้ย่อมมีโทษ คือ อาจกลายเป็นการกระทำอย่างเสแสร้ง หลอกตัวเองหรือเกินเลยของจริง ไม่สมเหตุผล อาจถึงกับเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ที่อ้างอิง *

* พุทธพจน์หนึ่ง ที่อ้างกันมากเกี่ยวกับความไม่ยึดมั่นคือ สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น หรือ สิ่งทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นไว้ได้ (ม.มฺ.12/434/464 ฯลฯ )

อภินิเวส เป็นไวพจน์หนึ่งของอุปาทาน (เช่น อภิ.วิ.35/312/200)


กระทู้ที่ยืดยาว ที่คุณกรัชกายยกตัวอย่างมาหลายเรื่อง

ที่กล่าวมาทั้งหมด เรื่อง สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย ธรรมะทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

กล่าวผิดไปแล้วค่ะคุณกรัชกาย

ที่จริงบรรทัดเดียวก็ตอบจบค่ะ ไม่ต้องยืดยาว

หนูตอบให้สั้นๆบันทัดเดียวจอดได้ แต่เดี๋ยวจะสั้น หนูไปแถมให้ สองบันทัดเรยนะคะ

คำว่า ธรรมะทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น หมายถึง

ฉฬังคุเบกขาญาณ และองค์ธรรมก็คือ มหากริยาจิต ของพระอรหันต์ค่ะ

ไม่ใช่ตัวอย่างที่คุณได้ยกมาค่ะ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่หมด ยังมีต่ออีก ต่อเลย :b32:

ความเทียบเคียงในตอนที่สอง เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามธรรมดา แห่งกระบวนธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือ เกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์ ตามหลักการที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเอง จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่ คือ เมื่อรู้สภาวะของสังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว จิตก็หลุดพ้น หมดความยึดติดเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ยังไม่หมด ยังมีต่ออีก ต่อเลย :b32:

ความเทียบเคียงในตอนที่สอง เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามธรรมดา แห่งกระบวนธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือ เกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์ ตามหลักการที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเอง จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่ คือ เมื่อรู้สภาวะของสังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว จิตก็หลุดพ้น หมดความยึดติดเอง



สังขารุเปกขาญาณ (สังขาร+อุเบกขา+ญาณ) ปรีชาหยั่งรู้ขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นต้น นั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)


หมายเอาหมดทั้งเนื้อทั้งตัว รวมเอาหมดทั้งร่างกายและจิตใจ ชื่อว่า สังขารในความหมายนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.


เมื่อใด บุคคลย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด


สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.


เมื่อใด บุคคลย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด


สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.


เมื่อใด บุคคลย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ที่อ้างอิง *

* พุทธพจน์หนึ่ง ที่อ้างกันมากเกี่ยวกับความไม่ยึดมั่นคือ สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย แปลว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น หรือ สิ่งทั้งปวงไม่อาจยึดมั่นไว้ได้ (ม.มฺ.12/434/464 ฯลฯ )

อภินิเวส เป็นไวพจน์หนึ่งของอุปาทาน (เช่น อภิ.วิ.35/312/200)


กระทู้ที่ยืดยาว ที่คุณกรัชกายยกตัวอย่างมาหลายเรื่อง

ที่กล่าวมาทั้งหมด เรื่อง สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย ธรรมะทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

กล่าวผิดไปแล้วค่ะคุณกรัชกาย

ที่จริงบรรทัดเดียวก็ตอบจบค่ะ ไม่ต้องยืดยาว

หนูตอบให้สั้นๆบันทัดเดียวจอดได้ แต่เดี๋ยวจะสั้น หนูไปแถมให้ สองบันทัดเรยนะคะ

คำว่า ธรรมะทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น หมายถึง

ฉฬังคุเบกขาญาณ และองค์ธรรมก็คือ มหากริยาจิต ของพระอรหันต์ค่ะ

ไม่ใช่ตัวอย่างที่คุณได้ยกมาค่ะ




ฉฬังคุเบกขา อุเบกขามีองค์ ๖ คือ ด้วยตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ใจรู้ธรรมารมณ์แล้ว ไม่ดี ไม่เสียใจ วางจิตอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ (ขุ.ม.29/413/289) เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ ซึ่งมีอุเบกขาด้วยญาณ คือ ด้วยความรู้เท่าทันถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลาย อันทำให้ไม่ถูกความชอบ ความยินดี ยินร้าย ครอบงำ ในการรับรู้อารมณ์ทั้งหลาย ตลอดจนไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมทั้งปวง



อุเบกขา 1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุและรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น,

ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นว่าเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง 2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้-จึงติด พอรู้-ก็หลุด เท่าที่ลงไปก็หมดประเด็นแล้ว เอาแค่นั้นก็ได้ แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เอาสะให้หมดเลยดีกว่า :b16: พูดไปทำไมมีดูต่อเลย


ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนเมื่อยังไม่เกิดญาณทัสสนะ จะพยายามปฏิบัติตามหลัก ความไม่ยึดมั่น ถือมั่นบ้างไม่ได้หรือ
ตอบว่า ได้ และควรอยู่ เพราะเพียงมองเห็นโทษของความยึดมั่นก็นับว่า เป็นประโยชน์แล้ว
แต่ข้อสำคัญ จะต้องมีสติรู้ระลึกไว้ ว่านี้เราอยู่เพียงในขั้นของความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นเท่านั้น เมื่อจะทำอะไรอาจบอกตัวเอง ว่าเราจะทำการนี้ด้วยความไม่ยึดมั่น พร้อมนั้น ก็ระลึกไว้ด้วยว่า เราจะทำไปตามเหตุตามผล ไม่หลงไปตามความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น พยายามทำการด้วยปัญญาด้วยความรู้ความเข้าใจให้มากที่สุด

เพียงเท่านี้ ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคุณ ผลที่จะได้ในระดับนี้ก็คือเป็นการฝึกตน เป็นการปูพื้นฐานสำหรับความไม่ยึดมั่นที่แท้จริงต่อไป และผลเสียจากการกระทำเลยเถิดเกินไป หรือ มากไป หรือหลอกตัวเองก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเข้าใจผิดเห็นไปว่า นี่แหละ คือ ความไม่ยึดมั่น ก็จะผิดพลาด เกิดผลเสียได้ทันที

ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนี้ มิใช่มีเฉพาะในด้านดีเท่านั้น มีตัวอย่างผู้จะเอาไปใช้ในทางชั่วร้ายด้วย เช่น ผู้ที่พูดว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ชีวิตคนเป็นเพียงขันธ์ ๕ มาประกอบกันเข้า ไม่มีอะไรจะพึงยึดถือ ไม่มีนาย ก. ไม่มีนาง ข. เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะฆ่าจะฟันใคร ก็ไม่มีบาป ดังนี้เป็นต้น


นี้คือตัวอย่างของการที่ผู้มีกิเลส ยกเอาสภาวธรรมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง สำหรับการกระทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นของตน ถ้าไม่มีความยึดมั่นในคนที่จะถูกฆ่า ถ้าไม่มีเจตนายึดมั่น ที่เจาะจงมุ่งร้ายต่อเป้าของการกระทำ จะมีการยกศัสตราขึ้นตัดผ่าหรือพุ่งใส่ได้อย่างไร การกระทำอย่างนี้ เป็นเพียงการกระทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นอย่างรุนแรงเท่านั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ขอย้อนไปกล่าวถึงความเทียบเคียงข้างต้น ความจริงระหว่าง ความเทียบเคียงสองตอนข้างต้นนั้น ยังมีตอนแทรกกลางได้อีกตอนหนึ่ง กล่าวคือ ชายผู้อยากได้ห่อของที่เขาเชื่อว่า มีของมีค่านั้น เมื่อคนที่เขานับถือบอกเขาว่า ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร มีแต่เศษผ้า เศษขยะ และได้ชี้แจงเหตุผล เล่าถึงความเป็นมาของห่อของนั้นว่า เขาได้เห็นของตั้งแต่ก่อน เอาเข้าห่อ ตลอดถึงว่า ห่อของนั้นมาอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ด้วยเหตุผลหรือความประสงค์อะไร เมื่อชายนั้น มองเห็นเหตุผลแจ่มแจ้งชัดตามคำชี้แจงของคนผู้นั้นแล้ว อาจเชื่อสนิทด้วยความมั่นใจ ในเหตุผลว่า ในห่อนั้น ไม่มีของมีค่าอย่างแน่นอน

ความเชื่อด้วยความมั่นใจในเหตุผลอย่างนี้ ย่อมมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของชายผู้นั้นได้มาก แม้ว่า เขาจะยังไม่หมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างความเทียบเคียงตอนที่สอง แต่ก็เหลือเพียงเยื่อใยที่นับว่าน้อย ต่างจากความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่งอย่างมาก
ความเทียบเคียงในตอนแทรกนี้ เปรียบได้กับระดับจิตหรือระดับความรู้ และ ความคิดของพระอริยบุคคลชั้นต้นๆ คือ พระโสดาบัน ถึงอนาคามี ซึ่งอยู่กลางระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ *

ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน ที่พอจะเห็นได้ง่ายในเรื่องนี้ เช่น ความประหม่า และความกลัว คนที่ประหม่า บางคน ทั้งที่โดยเหตุผล ก็ไม่เห็นมีอะไรน่าจะประหม่า ก็อดประหม่าไม่ได้
บางทีถึงกับโกรธว่า ตนเองว่าจะประหม่าทำไม แต่ก็บังคับตนไม่ให้ประหม่าไม่ได้ หรือ
คนขลาด แม้อยู่ในที่ปลอดภัย ตนเองก็มองเห็นตามเหตุผลว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว และก็คิดว่า ถึงมีอะไรก็จะไม่กลัว แต่พอได้ยินเสียงเสือร้อง หรือ เสียงสัญญาณภัย ก็สะดุ้ง หรือสั่นสะท้าน หรือตัวเย็นวาบ บังคับตัวเองไม่ได้

ภาวะเช่นนี้ มิใช่จะถอนได้เพียงด้วยความคิดเหตุผล แต่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ความเข้าถึง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงที่ *

* พึงอ้างเรื่อง รู้แต่ยังไม่หลุด คือรู้ขั้นเหตุผลยังไม่ประจักษ์ จึงยังไม่หลุดพ้นสิ้นเชิง ตามหลักพุทธพจน์ (เช่น สํ.ข.17/296-7/196 ฯลฯ) พระอนาคามี แม้จะละสักกายทิฏฐิได้แล้ว แต่ก็ยังไม่หมดอัสมิมานะ และตัณหาที่ประณีตก็ยังเหลืออยู่บ้าง พูดอย่างภาษาง่ายๆว่า แม้จะเลิกวาดภาพตัวกูแล้ว แต่ความรู้สึกที่ฝังลึกว่า นี่กู นี่ของกู ก็ยังไม่หมด (สํ.นิ. 16/274/144 ฯลฯ)



(พุทธธรรม หน้า ๔๙๒)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร