วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 20:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 96 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางอาจารย์ให้เหตุผลอธิบายว่า การที่ต้องเปล่งวาจานมัสการ ถึง ๓ ครั้ง นั้น เพื่อเป็นการผูกใจให้แนบสนิทอยู่กับพระคุณจริงๆ ไม่โยกโคลงกวัดแกว่งไปง่ายๆ จิตก่อนที่จะประกอบกิจกรรมทางพระศาสนานั้นเคยเป็นทาสแห่งอารมณ์ คลุกเคล้าอยู่กับอารมณ์ต่างๆ จะแยกจากอารมณ์โดยทันทีนั้น ย่อมไม่ได้ พรากมาแล้ว ก็คอยจะหวนกลับไป เหตุนั้น จึงต้องดำเนินการเป็นไป ๓ ขั้น คือ

๑. บริกรรม การเปล่งวาจานมัสการพระพุทธเจ้าเป็นครั้งที่ ๑ ทำให้เกิดความกำหนดใจ กดใจในบทนมัสการ ทิ้งอารมณ์อื่นๆ ที่เคยดื่มมานั้นๆ เสีย จดจ่ออยู่กับบทนมัสการ

๒. อุปจาร การเปล่งวาจานมัสการครั้งที่ ๒ เป็นการกระทำจิตให้เข้าใกล้เข้าชิด แอบอิงอยู่กับบทนมัสการ แต่ยังไม่แน่วแน่ เพราะเพิ่งพรากมาจากอารมณ์ต่างๆ ได้ใหม่ๆ ยังมีสั่นมีไหว แต่ก็ไม่หวนกลับไปหาอารมณ์เก่า คงไหว้สั่นอยู่กับบทนมัสการนั้นเอง

๓. อัปปนา การเปล่งวาจานมัสการครั้งที่ ๓ เป็นการกระทำจิตให้เข้าแอบแนบสนิทอยู่กับบทนมัสการ ไม่มีอาการสั่นไหว สงบนิ่ง เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นกุศลอยู่ในตนและเป็นพื้นฐานแห่งกุศลอื่นๆ อีกเป็นอเนก เรียกว่า กมฺนีย ควรแก่การงาน

(บท นะโมฯ ก็ใช้บริกรรมเพื่อเจริญสมาธิได้ โดยว่าซ้ำๆ สมาธิก็เกิด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเปล่งวาจานมัสการ ต้องว่า ๓ ครั้งทุกกรณีนั่น จะเป็นด้วยเหตุผลใดอีกบ้างก็แล้วแต่ ผลที่ยุตินั้นอยู่ที่ ๓ ครั้งดีกว่าครั้งเดียว สามครั้งเหมือนเชือก ๓ เกลียว ย่อมแน่นและเหนียวกว่าเกลียวเดียว สองเกลียว

การที่ท่านแต่ก่อนๆ ได้วางกำหนดกฎเกณฑ์ให้พุทธศาสนิกชนนมัสการพระพุทธองค์ ด้วยบทนมัสการ ๓ จบทุกกรณีนั้น เป็นการกำหนดเพื่อประโยชน์โสตถิผลของผู้นมัสการเป็นสำคัญ

การตั้ง นะโม ฯ มีระเบียบแบบแผนปรากฏมาแต่นานแล้ว เป็นเรื่องของทางฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ หาใช่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ไม่ แต่ถ้าใช้ความสังเกตในเวลาฟังพระภิกษุท่านตั้ง นะโม ฯ แล้ว บางทีจะเกิดความสงสัยได้ว่า ทำไมจึงไม่เหมือนกัน จึงขอนำมาเสนอไว้เพื่อคลายความสงสัยของท่านผู้สนใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2018, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระเบียบในการตั้ง นะโม ฯ นั้น กำหนดตามระยะที่ขาดเสียงลงเป็นชั้นๆ มีชื่อเรียกตามชั้นนั้นๆ ดังนี้ คือ

นโม ฯ ชั้นเดียว
นโม ฯ ๓ ชั้น
นโม ฯ ๕ ชั้น
นโม ฯ ๙ ชั้น

นโม ฯ ชั้นเดียว นั้น ในเวลาสวดมาติกา ก่อนที่จะชักบังสุกุล พระที่เป็นประธานขึ้น นโม ฯ แล้วรับ ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯลฯ เรื่อยไป หยุดตามสังโยคเท่านั้น ถ้าจะเขียนเต็มรูป คงเป็น ดังนี้

ขึ้น. นโม ...
รับ. ตสฺ, สภควโตอรหโตสมฺมาสมฺพุทฺ, ธสฺ,ส นโมตสฺ, สภควโตอรหโตสมฺมาสมฺพุทฺ, ธสฺ,ส นโมตสฺ, สภควโตอรหโตสมฺมาสมฺพุทฺ, ธสฺ,ส

นโม ฯ ๓ ชั้น นั้น ใช้ในเวลาให้ศีล เมื่อทางฝ่ายเจ้าภาพอาราธนาศีลแล้ว พระท่านจะให้ศีล ก็ต้องตั้ง นโม ฯ ก่อน นโม ฯ ในกรณีนี้ ขาดเสียงลงเป็นบทๆ ดังนี้

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

นโม ฯ ๕ ชั้น ใช้ในเวลาแสดงธรรม เมื่อพระท่านจะแสดงธรรมเทศนา ท่านก็ต้องตั้ง นโม ฯ ก่อน นโม ฯ ที่ตั้งในกรณีนี้ ขาดเสียงลงเป็นระยะๆ ๕ ระยะ ดังนี้

นโมตสฺสภควโตอรหโตสมฺมาสมฺพุทฺธสฺสนโมตสฺส ฯ
ภควโตอรหโตสมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
นโมตสฺสภควโต ฯ
อรหโตสมฺมา ฯ
สมฺพุทฺธสฺส ฯ

นโม ฯ ๙ ชั้น นั้น ใช้ในเวลาเจริญพระพุทธมนต์ เมื่อเจริญพระพุทธมนต์ พระต้องตั้ง นโม ฯ ก่อน นโม ฯ ที่ตั้งในกรณีนี้ ขาดเสียงลงเป็นระยะๆ ดังนี้

หัวหน้าขึ้น. นโม ตสฺส ภควโต ฯ
รับ. อรหโต ฯ
สมฺมา ฯ
สมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต ฯ
อรหโต ฯ
สมฺมา ฯ
สมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส ภควโต ฯ
อรหโต ฯ
สมฺมา ฯ
สมฺพุทฺธสฺส ฯ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2018, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรณคมนํ - สรณคมน์

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ - แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ -แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ - แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ -แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ - แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ - แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2018, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำนาน

ในคัมภีร์มหาขันธกะ พระวินัยปิฎก กล่าวไว้ว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในตอนแรกๆมีกุลบุตรมาขอบวช พระองค์ทรงรับด้วยพระองค์เอง ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ ตรัสอนุญาตด้วยวาจาว่า “เอหิ ภิกฺขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร พฺรหฺมจริยํ สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย” แปลว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถอะ ธรรมเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” แล้วผู้ขอบวชถือเพศตามอย่างพระองค์ก็เป็นเสร็จ

ถ้าผู้ขอบวชหลายคนขอพร้อมกัน ก็ตรัสเป็นพหูพจน์ว่า “เอถ ภิกฺขโว สฺวากฺขาโต ธมฺโม จรถ พฺรหฺมจริยํ สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย” ถ้าผู้ขอบวชสำเร็จพระอรหัตก่อนแล้ว ตัด “สมฺมาทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย” ออก เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว

ครั้นมีพระสาวกขึ้นหลายองค์ แยกย้ายกันไปประกาศพระศาสนา เมื่อมีผู้ศรัทธาจะบวช พระสาวกผู้เป็นอาจารย์ก็ต้องพามาถวายตัวขอบวชในพุทธสำนัก บางทีมาจากถิ่นไกลกันดาร ต้องลำบากมากทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์ ทรงเห็นว่า การพระศาสนาจะแพร่ออกไปและเจริญตั้งมั่นอยู่ตลอดกาลนานนั้นจำต้องอาศัยพระสาวกทั้งหลายช่วยเผยแผ่และบริหารสืบๆกันไป จึงควรฝึกหัดพระสาวก และมอบหมายหน้าที่การงานให้จนสามารถบริหารการพระศาสนาแทนพระองค์ได้

อนึ่ง การเผยแผ่พระศาสนาที่จะให้แพร่หลายออกไปได้นั้น จะมุ่งแต่เพียงแสดงชี้แจงให้คนทั้งหลายได้ความรู้ความเข้าใจเท่านั้น ยังหาเพียงพอไม่ ต้องหาทางให้ความสะดวกที่เขาทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติตามได้ด้วย ไม่เช่นนั้นกุลบุตรทั้งหลายแม้มีศรัทธา ก็จะพึงนึกอิดหนาระอาใจว่า เพียงแต่จะรู้ตามก็ยากอยู่แล้ว ยังยากในอันจะประพฤติปฏิบัติตามอีกเล่า
ด้วยเหตุนี้ จึงทรงอนุญาตให้พระสาวกรับกุลบุตรบวชได้ ด้วยวิธีสรณคมนุปสัมปทา คือ ให้ผู้ขอบวชปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะเข้าไปกราบเท้าภิกษุประคองอัญชลี เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ด้วยพระบาลีว่า

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

เท่านี้ เป็นอันสำเร็จการบวชเป็นภิกษุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2018, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ครั้นพระศาสนาแพร่หลาย มีผู้บวชเป็นภิกษุมากขึ้น ทรงเห็นว่าการรับกุลบุตรให้บวชเป็นการสำคัญ เพราะความเจริญ ความเสื่อมของหมู่คณะ ย่อมเนื่องด้วยสมาชิกในหมู่

หมู่คณะใดมีสมาชิกดีมากกว่าเลว หมู่คณะนั้น ก็หวังความเจริญได้

หมู่คณะใดมีสมาชิกเลวมากกว่าดี หมู่คณะนั้น ก็หมดหวังความเจริญ

การที่จะรับคนเข้าเป็นสมาชิก จึงควรได้รับการพิจารณาเลือกเฟ้นตามสมควร การรับกุลบุตรให้บวชด้วยวิธีที่กล่าวแล้วนั้น ยังเป็นการของเอกชนอยู่ คือ ภิกษุรูปหนึ่งรูปเดียวก็รับได้ อาจผิดพลาดได้ง่าย เพื่อให้เป็นหลักฐานมั่นคงต่อไป จึงทรงยกการรับคนเข้าบวชเป็นพระภิกษุให้เป็นการสงฆ์ ด้วยวิธีที่เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ส่วนสรณคมนุปสัมปทานั้น ภายหลังโปรดให้นำมาใช้เป็นวิธีบวชสามเณร ทั้งสองวิธีนี้คงเป็นแบบเรียบร้อยดี ได้ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ มิได้เปลี่ยนแปลง และเรียกการบวชภิกษุว่า อุปสมบท เรียกการบวชสามเณรว่า บรรพชา

บทสรณคมน์ ซึ่งเป็นพุทธบัญญัติในอุปสมบทวิธีนี้แล เป็นที่มาแห่งบทสรณคมน์ที่ใช้ในพิธีการทั่วไป รวมทั้งสวดเป็นมนต์ด้วย อยู่ในลำดับเป็นที่ ๒ ตั้งนะโมเป็นปฐมแล้ว ก็ถึงบทสรณคมน์นี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2018, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การบริหารงานของพระพุทธเจ้า พระองค์ทำเป็นขั้นเป็นตอน ดูสภาพแวดล้อมทั่วๆไปด้วย ดังนั้น ผู้หวังเข้าใจพุทธธรรมครบถ้วนควรศึกษาพระวินัยด้วย มิใช่เอาแต่ธรรมๆๆๆๆ อะไรๆก็ธรรมๆๆๆ บางทีก็เกิดความสับสนในตัวเองว่า อะไรกันแน่ธรรม ตามหาธรรมกัน อะไรกันแน่จิต ตามหาจิตกัน :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2018, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2018, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ พระปริตร

โบราณาจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ดังนี้ คือ

๑. มงคลปริตร - ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย

๒. รัตนปริตร - ทำให้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย

๓. เมตตปริตร - ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเกิดสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต

๔. ขันธปริตร - ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ

๕. โมรปริตร - ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย

๖. วัฏฏปริตร - ทำให้พ้นจากอัคคีภัย

๗. ธชัคคปริตร - ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย และการตกจากที่สูง

๘. อาฏานาฏิยปริตร - ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี มีสุข

๙. อังคุลิมาลปริตร - ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย

๑๐. โพชฌังคปริตร - ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรค

๑๑. อภยปริตร - ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย

๑๒. ชัยปริตร - ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธที่นิมนต์พระไปสวดมนต์ฉันเช้า-ฉันเพลตามบ้านเนื่องในงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน โกนจุก เปิดร้านค้า ฯลฯ พระภิกษุก็ใช้บทพระปริตรเหล่านี้

ดังตัวอย่างที่ลงต่อไป หนังสือสวดมนต์ที่วางขายตามท้องตลาดก็มี แต่ไม่มีคำแปล ตรงนี้จะลงนำให้สักคาถาหนึ่งแล้วลงคำแปลให้ทั้งหมด จากหนังสือสวดมนต์ฉบับกองทัพอากาศ ไล่ๆมาตั้งแต่นะโม - สรณคมน์เรื่อยมา แล้วก็ถึงบท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมพุทเธ

สมฺพุทฺเธ อฏฺฐวีสญฺจ - ทฺวาทสญฺจ สหสฺสเก
ปญฺจสตสหสฺสานิ - นมามิ สิรสา อหํ

ฯลฯ

คำแปลทั้งหมด. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๕ แสน ๑ หมื่น ๒ พัน ๒๘ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นโดยเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม จงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งปวง แม้อันตรายทั้งหลายเป็นอันมาก จงพินาศไปโดยไม่เหลือ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ล้าน ๒ หมื่น ๔ พัน ๕๕ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นโดยเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม จงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งปวง แม้อันตรายทั้งหลายเป็นอันมาก จงพินาศไปโดยไม่เหลือ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒ ล้าน ๔ หมื่น ๘ พัน ๑๐๙ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมด้วย พระสงฆ์ด้วย ของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นโดยเคารพ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม จงขจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้งปวง แม้อันตรายทั้งหลายเป็นอันมาก จงพินาศไปโดยไม่เหลือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นะมะการะสิทธิคาถา

โย จกฺขุมา โหมลาปกฏฺโฐ
สามํ ว พุทฺโธ สุคโต วิมุตฺโต
มารสฺส ปาสา วินิโมจยนฺโต
ปาเปสิ เขมํ ชนตํ วิเนยฺยํ

ฯลฯ

คำแปลทั้งหมด. พระพุทธเจ้าพระองค์ใด มีพระปัญญาจักษุ ขจัดมลทินคือโมหะเสียได้ ตรัสรู้แล้ว เป็นผู้เสด็จไปดี ทรงหลุดพ้นพิเศษด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงช่วยชุมนุมชนอันเป็นเวไนยให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ให้บรรลุถึงความเกษมด้วย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ผู้เป็นที่พึ่ง และเป็นผู้นำวิเศษของโลก ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอความสวัสดีมีชัย และความสำเร็จจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวงจึงถึงความพินาศไป

พระธรรมเจ้าใด เป็นประดุจธงชัยของพระศาสดาพระองค์นั้น ชี้ทางความบริสุทธิ์แก่ชาวโลก เป็นประดุจนำสัตว์ออกไปจากทุกข์ คุ้มครองผู้ทรงธรรม บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขใจมาให้ ทำให้ได้รับความสงบ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระธรรมประเสริฐนั้น อันทำลายเสียได้ซึ่งโมหะ เป็นคุณระงับความเร่าร้อนได้สนิท ด้วยเดชแห่งพระธรรมเจ้าพระองค์นั้น ขอความมีชัย และความสำเร็จจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวงจึงถึงความพินาศไป

พระสงฆเจ้าใด เป็นธรรมเสนา ดำเนินตามพระสุคตเจ้า กำหราบเสียได้ซึ่งเหล่าบาปและอุปกิเลสแห่งโลก เป็นผ้สงบเองด้วย ชักนำผู้อื่นในความสงบด้วย เผยแผ่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสงฆเจ้าผู้ประเสริฐนั้น รู้ตามพระพุทธเจ้า มีศีลและความเห็นเสมอกัน ด้วยเดชแห่งพระสงฆเจ้านั้น ขอความสวัสดีมีชัย และความสำเร็จจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวงจึงถึงความพินาศไป ฯ


หมายเหตุ บทสัมพุทเธ และบทนมการสิทธิคาถา แต่ละบทสวดต่อจากสรณคมน์ โบราณใช้ สัมพุทเธ ตลอด ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดรจนาในครั้งใด ยุคเฟื้องบาลีครั้งก่อน ก็เห็นจะในรัชการสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สัมพุทเธ อาจจะรจนาในยุคนั้น พร้อมๆกันกับมงคลจักรวาลใหญ่ มงคลจักรวาลน้อย และ พาหุง ฯลฯ

ใจความของบท สัมพุทเธอ ก็คือ นมัสการพระพุทธเจ้า ซึ่งมีจำนวนมากมายนักหนาในปากอดีต คือ หมายความว่าในกัลป์ ที่ล่วงๆแล้วไม่รู้ว่ากี่อสงไขย มีพระพุทธเจ้าเคยมาตรัสรู้แล้ว ปรินิพพานไปมากล้นพ้นที่จะประมาณ นมัสการมากองค์ทำให้มีความรู้สึกว่าจะได้รับอานุภาพมากๆ เข้าช่วยป้องกันภัยอันตรายเช่นนั้นกระมัง

ครั้นต่อมา การศึกษาทางพระพุทธศาสนาในยุครัตนโกสินทร์เฟื่องฟูขึ้น ท่านเห็นว่า บท สัมพุทเธ นั้น แต่งขึ้นตามคติข้างมหายาน ไม่น่าศรัทา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงได้นิพนธ์นมการสิทธิคาถาขึ้นใหม่ โปรดให้ใช้สวดแทนบทสัมพุทเธ แต่บางแห่งพระยังคงสวด สัมพุทเธ อยู่ก็มี

กิจเจ้าภาพ ระหว่างที่พระสวด บทสัมพุทเธ หรือนมการสิทธิคาถา บทใดบทหนึ่งนี้ เจ้าภาพไม่ต้องทำอะไร คงนั่งประนมมือฟังเรื่อยไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2018, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นโม ๘


นโมการอัฏฐกคาถา

นโม อรหโต สมฺมา – สมฺพุทฺธสฺส มเหสิโน
นโม อตฺตมธมฺมสฺส - สฺวากฺขาตสฺเสว เตนิธ

ฯลฯ

คำแปลทั้งหมด. ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาซึ่งประโยชน์ใหญ่ ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันอุดมในพระศาสนานี้ ที่พระองค์ตรัสดีแล้ว ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้มีศีลและความเห็นอันหมดจด การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า อ.อุ.ม. ดังนี้ เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ

การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยทั้ง ๓ นั้น อันล่วงพ้นโทษต่ำช้า ด้วยอำนาจแห่งการกระทำความนอบน้อม ขออุปัทวะทั้งหลายจงปราศจากไป

ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอความสวัสดีจงมีทุกเมื่อด้วยเดชแห่งการกระทำความนอบน้อม ขอเราจงมีเดชในมงคลพิธี ฯ


หมายเหตุ บทนี้ เรียกเป็นสามัญว่า “นโม ๘ บท” ลองนับคำว่า นโม ดู ได้ ๘ พอดี เป็นคาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นว่าพระองค์ ทรงเชียวชาญอย่างเยี่ยมยอดในภาษาบาลี ทรงสามารถในอันที่จะทรงพระราชนิพนธ์ คาถาหรือคำกลอนในภาษาบาลีได้อย่างถูกต้องและไพเราะ เท่าเทียมกับนักปราชญ์ในยุคก่อนๆทีเดียว และอาจจะถือเป็นคติได้ประการหนึ่งในเรื่องความเชียวชาญทางภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาของชาติไหน ผู้เป็นชาติอื่นที่ควรยกย่องว่าเชียวชาญในภาษานั้นๆ อย่างแท้จริง ก็คือ ต้องสามารถแต่งกลอนในภาษานั้นๆ ได้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับได้รสได้เรื่องตามแนวของภาษาบาลี

นโม ๘ บทนี้ สวดต่อจากบทสัมพุทเธ หรือบทนมการสิทธิคาถา ใช้สวดเฉพาะงานมงคลและมีการตั้งน้ำวงด้ายเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ รับสั่งไว้ใจความว่า “สวดทำน้ำมนต์ มีสรรพคุณชะงัดนัก”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2018, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปมงคลสูตร

มงคลสูตร

อเสวนา จ พาลานํ - ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ - เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

ฯลฯ

ไม่คบคนพาล ๑ คบบัณฑิต ๑ บูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

อยู่ในปฏิรูปเทศ (ถิ่นอันสมควร) ๑ มีบุญได้กระทำไว้ในกาลก่อน ๑ ตั้งตนไว้ชอบ ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ความเป็นพหูสูต ๑ ศิลปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาเป็นสุภาษิต ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

บำรุงมารดาบิดา ๑ สงเคราะห์บุตร ๑ สงเคราะห์ภรรยา ๑ การงานไม่คั่งค้าง ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ทาน ๑ ธรรมจริยา ๑ สงเคราะห์ญาติ ๑ การงานที่ปราศจากโทษ ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

เว้นจากบาป ๑ บังคับตนจากการดื่มน้ำเมา ๑ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ความเคารพ ๑ ความถ่อมตน ๑ สันโดษ ๑ กตัญญู ๑ ฟังธรรมตามกาล ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การพบเห็นสมณะ ๑ สนทนาธรรมตามกาล ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

ความเพียรเผาบาป ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การทำนิพพานให้แจ้ง ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

จิตของผู้ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว ๑ เป็นจิตไม่ยินร้าย ๑ เป็นจิตไม่ยินดี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ แต่ละประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันปฏิบัติมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุดของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้แล ฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำนานมงคลสูตร

ตำนาน

มงคลสูตรมาในขุทกปาฐะ ขุทกนิกาย เป็นพระพุทธดำรัสตรัสแก่เทวดาผู้ทูลสิ่งที่เป็นมงคล จึงโปรดแสดงข้อธรรม ๓๘ ประการ เป็นมงคลภายใน

มูลเหตุที่เทวดาไปทูลถามที่พระพุทธเจ้านั้น พระอรรถกถาจารย์เล่าเรื่องไว้ว่า ดังได้สดับมา ประชาชนชาวชมพูทวีปมักประชุมฟังกถา คือ ถ้อยคำที่แสดงเรื่องราวต่างๆ เช่น เรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น
ส่วนสถานที่ประชุม ก็ใช้ศาลาข้างประตูเมืองบ้าง สัณฐาคาร (ศาลากลางบ้าน) บ้าง สภา (หอประชุม) บ้าง ผู้แสดงมิได้แสดงเปล่า ได้รับเงินทองเป็นรางวัลตามสมควร
เรื่องที่แสดงนั้น บางเรื่องกินเวลานานถึง ๔ เดือนจบก็มี วันหนึ่งมงคลกถา (การพูดปรารภถึงมงคล) เกิดขึ้น คือ เกิดปัญหาว่า อะไรเป็นมงคล

ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหายาก เพราะมีผู้ตอบได้ แต่เป็นปัญหายุ่ง เพราะไม่สามารถตกลงกันได้ เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี คิดค้นโต้เถียงกนอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ในหมู่มนุษย์ แพร่ไปถึงเทวดาด้วย และไม่เพียงแต่ในจักรวาลนี้ แพร่ไปทั่วทุกจักรวาลทีเดียว
แต่เมื่อสรุปแล้ว แตกต่างกันเป็น ๓ พวก ซึ่งก็ล้วนแต่ถือมงคลภายนอกทั้งนั้น ดังนี้

พวกที่ ๑ เรียกว่า ทิฏฐมังคลิกะ ถือสิ่งที่ได้เห็นคือรูป ซึ่งสมมุติกันว่าดีงามเป็นมงคล เช่น ตื่นนอนลุกขึ้นแต่เช้า ได้เห็นนกนางแอ่น มะตูม หญิงมีครรภ์ เด็กแต่งตัวสวย หม้อน้ำเต็ม ปลาตะเพียนแดงสด ม้าอาชาไนย รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย พ่อโค แม่โค โคแดง ฯลฯ อย่างนี้เป็นมงคล เรียกว่า ทิฏฐมงคล

พวกที่ ๒ เรียกว่า สุตมังคลิกะ ถือสิ่งที่ได้ยินคือเสียง ซึ่งสมมุติกันว่าดีงามเป็นมงคล เช่น ตื่นนอนลุกขึ้นแต่เช้า ได้ฟังเสียงที่สมมติว่าดีงามเป็นมงคลยิ่ง เป็นต้นว่า เสียงว่า เจริญแล้ว กำลังเจริญแล้ว เต็ม ขาว ดีใจ สิริ เจริญศรี วันนี้ฤกษ์ดี ยามดี วันดี มงคลดี ฯลฯ อย่างนี้ เป็นมงคล เรียกว่า สุตมงคล


พวกที่ ๓ เรียกว่า มุตมังคลิกะ ถือสิ่งที่ได้ทราบทาง จมูก ทางลิ้น ทางกาย คือ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่สมมติว่าดีงามเป็นมงคล เช่น ตื่นนอนลุกขึ้นแต่เช้า ได้สูดดมกลิ่นดอกไม้หอม มีดอกปทุม เป็นต้น หรือได้เคี้ยวไม้สีฟันขาว ได้แตะต้องแผ่นดิน ข้าวกล้าเขียว มูลโคสด เต่า เกวียนบรรทุกงา ดอกไม้ ผลไม้ ได้ลูบไล้ดินขาว ได้นุ่งผ้าขาว ได้ใช้ผ้าโพกขาว ฯลฯ อย่างนี้เป็นมงคล เรียกว่า มุตมงคล

ในที่สุด เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้สติขึ้นก่อนว่า เทวราชาของตน คือ พระอินทร์เป็นผู้มีบุญมีปัญญา ควรจะไปทูลถามให้ทรงวินิจฉัยเรื่องนี้ จึงพร้อมกันไปเฝ้า ทูลความว่า มงคลปัญหาเกิดขึ้นนานแล้ว
พวกหนึ่งว่าสิ่งที่ได้เห็นเป็นมงคล
พวกหนึ่งว่าสิ่งที่ได้ยินเป็นมงคล
พวกหนึ่งว่าสิ่งที่ได้ทราบทางจมูก ลิ้น กาย เป็นมงคล ไม่ตกลงกันได้ ขอให้ทรงวินิจฉัยปัญหาเรื่องนี้ด้วย

พระอินทร์ถามว่า มงคลนี้เกิดที่ไหนก่อน ก็ได้ความว่าเกิดในมนุษยโลกก่อน ตรัสต่อไปเป็นใจความว่า เมื่อมงคลกถาเกิดในมนุษยโลก ก็ชอบที่จะให้มนุษย์เป็นผู้วินิจฉัย เวลานี้ ในมนุษยโลกนั้นได้มีมนุษย์จอมปราชญ์เกิดขึ้นแล้ว คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่เทวดาทั้งหลายล่วงเลยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว มาสำคัญท้าวเธอว่า เป็นผู้ควรถามปัญหาเช่นนี้ ก็เปรียบเสมือนว่าบุคคลต้องการแสงสว่าง ทิ้งดวงไฟเสียแล้วมาหาแสงหึ่งห้อย ฉันนั้น
ครั้นแล้ว ชวนเทวดาทั้งหลายไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหวังใจว่า จะต้องได้รับคำแก้ปัญหาอันสมที่จะเป็นสิริมงคลเป็นแน่แท้
ครั้นไปถึงที่ประทับแล้ว โปรดให้เทพบุตรผู้หนึ่งเป็นผู้แทนคณะ กราบทูลถามมงคลปัญหา
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสแก้ ซึ่งผู้ได้ยินได้ฟังทั้งหลายยอมรับนับถือว่าเป็นมงคลแท้ ดังความปรากฏในมงคลสูตรนั้น
มงคลโกลาหล (ความโกลาหลด้วยปัญหาเรื่องมงคล) ซึ่งกินเวลานานถึง ๑๒ ปี ก็สิ้นสุดยุติลง ด้วยประการฉะนี้


หมายเหตุ มงคลสูตรนี้ สวดเฉพาะงานมงคลอย่างเดียว และงานนั้นต้องตั้งน้ำมนต์วงด้ายสายสิญจน์ ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่าตั้งน้ำวงด้าย
การสวดระสูตรนี้ ถ้าสวดเต็มที่ เริ่มด้วยบทขัด เย สนฺตา ฯลฯ และ ยญฺจ ทฺวาทสวสฺสานิ ฯลฯ ภณาม เห แล้วขึ้น เอวมฺเม สุตํ ฯลฯ ไปจนจบ ถ้าสวดอย่างย่อ สวดแต่เฉพาะพระพุทธวจนะ ล้วน คือ ตั้งแต่ อเสวนา จ พาลานํ ฯลฯ ไปจนจบ

กิจของเจ้าภาพ พอพระขึ้น อเสวนา ฯ เจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์ ซึ่งปักอยู่ที่บาตร ขัน ฯลฯ แล้วยกที่น้ำมนต์นั้นประเคนพระที่เป็นหัวหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 96 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร