วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2018, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำนำ

พวกไสยศาสตร์ทั่วๆไป ก็ใช้อะไรบางอย่างเป็นสื่อ สำหรับให้เป็นที่จับยึดของความเชื่อ ซึ่งเป็นแรงที่พาจิตให้มีพลังมั่นแน่วมุ่งดิ่งไป

ในทางพระพุทธศาสนา ท่านจับเอาสาระในเรื่องนี้ออกมา แล้วถือเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ที่จะมาสัมพันธ์กันได้กับการพัฒนามนุษย์ เรียก อธิษฐาน

(จาริกบุญ จารึกธรรม หน้า 326)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2018, 08:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2018, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิษฐานมีหลายความหมาย อธิษฐานทางวินัย ก็มี ทางธรรม ก็มี ให้ดูความหมายทางธรรมนัยที่ 2.

อธิษฐาน 2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความตั้งใจมั่นแน่วที่จะทำการให้สำเร็จลุจุดหมาย, ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐานบารมี หรืออธิฏฐานบารมี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2018, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนอนคุดคู้อยู่ด้วยการอ้อนวอนปรารถนา หรือจะเดินหน้าด้วยอธิษฐาน


มีแง่คิดเข้ามาอย่างหนึ่งว่า บางทีการอ้อนวอนก็ไม่ใช่ไร้ผล เอาล่ะซิ เดี่ยวก็บอกว่า เอ...ชักจะมาหนุนให้อ้อนวอนแล้ว

อันนี้เป็นเรื่องของความจริงตามธรรมชาติ จึงลองมาวิเคราะห์กันดู ที่ว่าการอ้อนวอนนี้ไม่ใช่ไร้ผลทีเดียวนั้น มีอะไรแฝงอยู่


การอ้อนวอนนั้น โดยตัวมันเองไม่ใช่สิ่งที่ให้ผล แต่ในการอ้อนวอนนั้น มันได้ทำให้เกิดสภาพจิตอย่างหนึ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลพ่วงมาโดยไม่รู้ตัว พวกที่อ้อนวอนนั้นทำไปโดยไม่รู้ แต่บางครั้งมันได้ผล


ทำไมจึงบอกว่า บางครั้งมันได้ผล สิ่งที่แฝงมาโดยไม่รู้ตัวก็คือสภาพจิต เมื่อมีการอ้อนวอนนั้น จิตจะรวมในระดับหนึ่ง และทำให้เกิดแรงความมุ่งหวัง แรงความมุ่งหวังนั้นทำให้จิตแน่วมุ่งดิ่งไป และมีพลังขึ้นมาในแนวของสมาธินั่นเอง


จิตที่อ้อนวอนนั้น เมื่อความตั้งใจปรารถนาแรงมาก มันก็พุ่งดิ่งไปทางเดียว จิตก็แน่วตั้งมั่นขึ้นมา จิตที่ตั้งมั่นนี้แหละเป็นคุณประโยชน์ คนอ่อนแอจึงอาศัยการอ้อนวอนมาช่วยตัว


ส่วนคนที่ไม่อ้อนวอนเลย แต่พร้อมกันนั้น ก็ไม่รู้จักรวมจิตด้วย วิธีอื่น บางทีบอกว่าตัวเองเป็นคนมีปัญญา แต่เป็นคนที่พร่า จับจด เมื่อจิตพร่าจับจดไม่เอาอะไรมุ่งลงไปแน่นอน จิตก็ไม่มั่น ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ผล เลยกลับไปแพ้คนที่ตัวว่าโง่เขลางมงาย


เรื่อง ความตั้งมั่นแน่วแน่ของจิตนี้สำคัญมาก คนอาจจะทำให้มันเกิดขึ้นมาโดยไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัว แล้วจิตมันก็ทำงานให้อย่างที่เจ้าตัวไม่รู้เข้าใจและไม่รู้ตัวด้วย เลยพูดง่ายๆว่า มันลงในระดับจิตที่ไม่รู้ตัวเลยทีเดียว


ที่จริง คนที่อ้อนวอนนั้น เขาก็รู้ตัวในการอ้อนวอนของเขา แต่ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา คือแทนที่จะมองเห็นการกระทำเหตุอันจะนำไปให้ถึงผลที่ตัวอยากได้ เขามองไปตันแค่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลัดข้ามไปยังผลที่อยากจะได้ แต่เพราะความที่ใจอยากแรงกล้า ประสานกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เป็นศรัทธาอันดิ่ง ก็จ่อแน่วเกิดเป็นแรงที่ทำให้จิตมั่นและมุ่ง


ถ้าพูดในแง่การทำงานของจิต ที่จริงเป็นการปรุงแต่งในจิตสำนึกนี่แหละ ปรุงแต่งอย่างแรงทีเดียว แต่แรงด้วยความรู้สึก ไม่ใช่แรงด้วยความรู้ ก่อนที่จะตกภวังค์สะสมเป็นวิบากต่อไป

รวมแล้ว การกระทำหลายอย่างที่เป็นไปนี้ เหมือนว่าเราไม่รู้ตัวแต่ได้กระทำไปเอง โดยความเคยชินในการดำเนินชีวิตประจำวันบ้าง โดยความเชื่อที่จูงนำตัวเองไปอย่างไม่รู้ตัวบ้าง โดยปัจจัยต่างๆ ชักพาให้เป็นไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์ที่อยู่ในอวิชชา


เมื่อทำการต่างๆ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง มีผลพลอยได้ขึ้นมาบ้างนั้น หลายอย่างเหมือนเป็นไปเอง คือ มันพอดีไปจำเพาะถูกจุดถูกจังหวะเข้า ปัจจัยที่ตรงเรื่องเกิดขึ้น ก็เลยได้ผล หรือตรงข้ามกับได้ผล

ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเราพัฒนาตนเพื่ออะไร ก็เพื่อให้ทำการต่างๆได้ผล โดยเป็นไปอย่างรู้ตัว มองเห็นชัดเจนด้วยปัญญา มีความรู้เข้าใจ ด้วยการเห็นจริง ทำตรงตัวเหตุปัจจัย ดุจบังคับบัญชามันได้ เมื่อทำโดยรู้เข้าใจมองเห็นความเป็นไป ก็ก้าวต่อได้ ไม่ใช่ว่าไปทำจับพลัดจับผลูพอดีตรงเข้า ก็เลยได้ผลขึ้นมา แล้วเมื่อไม่รู้เหตุผลที่เป็นไปก็จมวนอยู่แค่นั้น

สำหรับการอ้อนวอนนั้น ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีอวิชชา แต่สภาพจิตของเขาที่มีอาการมั่นแน่วและได้ผลขึ้นมาในการอ้อนวอนนั้น ก็เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ คือ เป็นกรรม ได้แก่ การกระทำอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลขึ้นมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2018, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายหน่อยหนึ่งว่า จิตของเขาเอาสิ่งที่เป็นเป้าหมายของการอ้อนวอนนั้นเป็นสื่อ แต่มีแรงความมุ่งหวังขับดันไป ได้ความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากำกับ ทำให้เกิดความแน่วแน่ และความพุ่งดิ่ง ก็ทำให้จิตในระดับของความไม่รู้ตัวนี้ จับมั่นมุ่งอยู่กับความปรารถนาอันนั้น ใจก็ครุ่นพัวพันอยู่ที่จุดหมายนั้น แล้วเกิดแรงโน้มนำชักพาไปสู่ผลที่ต้องการ แม้แต่โดยตนเองไม่รู้ตัว การอ้อนวอนในบางกรณี จึงได้ผลเป็นการจับพลัดจับผลูแบบหนึ่ง

พวกไสยศาสตร์ทั่วๆไป ก็ใช้อะไรบางอย่างเป็นสื่อ สำหรับให้เป็นที่จับยึดของความเชื่อ ซึ่งเป็นแรงที่พาจิตให้มีพลังมั่นแน่วมุ่งดิ่งไป

ในทางพระพุทธศาสนา ท่านจับเอาสาระในเรื่องนี้ออกมา แล้วถือเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ที่จะมาสัมพันธ์กันได้กับการพัฒนามนุษย์

พุทธศาสนิกชนที่ยังอยู่ในระดับนี้ เราก็ต้องยอมรับความเป็นปุถุชนของเขา อย่างน้อยก็ควรจะใช้หลักนี้ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ดี และให้มีทางเชื่อมต่อเข้าสู่การพัฒนาในไตรสิกขาได้

พระพุทธศาสนาได้แยกสาระในเรื่องนี้ออกมาให้เราแล้ว แต่บางทีเราก็จับไม่ได้ ก็เลยยังวุ่นกันอยู่

ในระบบการอ้อนวอนที่บางทีได้ผลนี่ มันมีแกนแท้อยู่ นั้นก็คือตัวความมุ่งหวังและใฝ่ปรารถนาอย่างกล้าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้จิตรวมกำลังพุ่งดิ่งไปในทางนั้น สาระนี้ท่านเอาออกมา แล้วให้ชาวพุทธใช้ได้ เรียกว่า อธิษฐาน

แต่ชาวพุทธทั่วไปก็แยกไม่ออกอีกนั่นแหละ ทั้งที่หยิบยกแยกออกมาให้โดยเรียกว่า “อธิษฐาน” แล้ว ชาวพุทธในเมืองไทยเรา กลับเอาอธิษฐาน ไปปนกับความหมายในเชิงอ้อนวอนอีกตามเคย จะเห็นว่าคนไทยทั่วไป แยกไม่ออกว่า อธิษฐาน ต่างกับการอ้อนวอนอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2018, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ ต้องการจะพูดให้แยกออกได้ก่อน ว่าในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านเอาตัวแกนที่จะใช้ได้ออกมา คือ อธิษฐาน แล้วให้ชาวพุทธนำไปใช้ได้

อธิษฐาน นี้ แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

แม้แต่จะบำเพ็ญกุศลธรรม สิ่งที่ดีงามนั้น ไม่ใช่ว่าเขาทำได้ทีเดียวทั้งหมด ทั้งชาติก็ทำไม่ไหว อย่าว่าแต่ปีสองปีหรือเดือนสองเดือนเลย ตลอดชาตินี้ เราจะทำกุศลหรือความดีทุกอย่างนี้ เราทำไม่ไหว

ไม่เฉพาะพวกเราหรอก แม้แต่พระโพธิสัตว์จะบำเพ็ญความดี บางทีทั้งชาติทำได้จริงจังข้อเดียว ไม่ใช่ว่าข้ออื่นไม่ทำ ทำดีทั่วๆไป แต่มีเด่นที่มุ่งจริงจังอยู่ข้อสองข้อ

เพราะฉะนั้น ในการเป็นพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่ง ๆ นี้ จะต้องมีจุดที่มุ่งมั่น การทำดีต้องมีเป้าหมาย ว่าจะทำความดีอันไหนให้เป็นพิเศษ เราต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาก่อนว่า อันนี้เราควรจะทำ อันนี้เราจะต้องทำให้ได้ เมื่อมั่นใจกับตัวเองแล้วก็อธิษฐานจิต


การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


๑.ต่อคุณธรรมความดี หรือกุศลธรรมบางอย่างที่ต้องการจะทำ

๒. ต่อจุดมุ่งหมาย หมายความว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่ดีงามว่า เราจะต้องไปให้ถึงสิ่งนั้นให้ได้ แล้วราก็อธิษฐานจิต


อธิษฐานจิตนี้ เป็นการทำให้จิตของเรา พุ่งตรงดิ่งไปสู่เป้าหมายอันนั้น พูดเชิงภาพพจน์ว่า เป็นการสะสมแรงอัดลงไปถึงในภวังคจิตเลยทีเดียว (คือจิตปรุงแต่งอย่างแรง โดยประกอบด้วยปัญญาก่อนตกภวังค์) แล้วภวังคจิตอันเป็นวิบาก คือ เป็นผลของการปรุงแต่งนั้น ซึ่งเป็นแหล่งแห่งศักยภาพของเรา ก็เหมือนกับทำงานให้เราเอง ที่จะชักจูงเรา นำพาวิถีชีวิตของเรา แม้แต่โดยไม่รู้ตัวให้หันเหเข้าไปหาสิ่งนั้น เกิดความสนใจต่ออะไรๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น

สิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้อง เวลาเราเข้าไปสัมพันธ์ เราจะมีความโน้มเอียงที่จะเข้าไปหาสิ่งโน้นสิ่งนี้ โดยจะมีความรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้นไม่เหมือนกัน


จากจุดที่มีความรู้สึกหันเหโน้มเอียงต่อสิ่งเหล่านั้น ในเวลาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ เริ่มแต่รับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้น ไม่เหมือนกันนี่แหละ วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปตามแนวทางของตนๆ ทำให้ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน และนี่แหละ คือสิ่งที่เรียกว่า เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไปตามกรรม


ฉะนั้น แรงความโน้มเอียงจากความสนใจเป็นต้นที่ว่ามานี้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แม้แต่ตัวเราเองบางทีก็ไม่รู้ตัว คนหนึ่ง มองสิ่งหนึ่งก็มีความรู้สึก และเข้าใจอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่ง ก็เข้าใจและรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง


จากจุดเริ่มต้นที่มองและรู้สึกอย่างใด ก็จะทำให้เขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้นไปตามแบบหรือลักษณะเฉพาะของตน รวมถึงการที่เขาจะหันเหไปหา จะมุ่งไปในทิศทางนั้น จะทำความเพียรพยายามให้ได้ให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นต้น

นี่เป็นการพูดในระยะยาว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2018, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2018, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อข้างบนพูดถึงภวังค์หรือภวังคจิตไว้ พึงทำความเข้าใจต่อเลย

ภวังคจิต

เมื่อพูดถึงภวังค์คือภวังคจิต ก็ควรทราบเป็นพื้นไว้บ้าง เพราะในภาษาไทยก็มีการพูดถึงบ่อยเหมือนกัน และบางทีก็เข้าใจกันเพี้ยนไปหรือไม่ก็คลุมเครือ

ที่จริง จิตของเราเกิดดับต่อเนื่องไปและสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ถึงเราจะไม่รู้ตัว มันก็เป็นอย่างนั้น จะเรียกว่ามันทำงานหรือทำหน้าที่ของมันตลอดเวลาก็ได้

จิตที่ทำงาน คือสืบต่อกันไปในระดับที่ไม่รู้ตัวนั้น เป็นส่วนหลักหรือส่วนใหญ่ของชีวิตของเรา จะเรียกว่าเป็นจิตยืนพื้นก็ได้ มีคำเรียกเฉพาะว่า ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ


ที่ว่า จิตในระดับที่ไม่รู้ตัวนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นสำนวนพูด จะต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นการทำงานรู้เข้าใจคิดนึกในกระบวนการรับรู้อย่าง ที่ว่ากันทั่วไป แต่เป็นการทำงานในความหมายว่าเป็นการเกิดดับสืบต่อกันตามธรรมดาของมัน


เมื่อพูดในแง่ทั่วๆไป ให้รู้สึกเป็นตัวตนน้อยลง แทนที่จะใช้คำว่า ภวังคจิต ท่านใช้คำว่า การสืบต่อของจิต ที่เป็นไปไม่ขาดสาย (ในช่วงที่ไม่อยู่ในกระบวนการรับรู้) เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "จิตตสันดาน" (แต่คำนี้ ในภาษาไทยเราก็นำมาใช้ในความหมายที่เพี้ยนไปอีก หนีไม่พ้นปัญหา)


ข้อสำคัญ ภวังคจิต ที่ว่านั้น เป็นจิตส่วนวิบาก เมื่อมันสืบต่อกันไป ก็คือการสืบทอดผลรวมแห่งกรรมของเราต่อเนื่องไปนั่นเอง เราจึงพูดให้เข้าใจกันง่ายขึ้นเป็นภาษารูปธรรมว่า กรรมของเราสั่งสมสืบมาในภวังคจิตนี้ ที่สืบต่ออยู่ตลอดเวลาโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2018, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตนี้ พูดได้ยาก เพราะเมื่อจะให้คนทั่วไปเข้าใจ ก็ต้องใช้ถ้อยคำเชิงรูปธรรม หรือสำนวนภาษาเหมือนอย่างเป็นตัวเป็นตน ซึ่งก็จะชวนให้เกิดความเข้าใจเกินเลยสภาวะไป อันเป็นความเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่ง จึงถือว่าพูดกันพอให้เห็นเค้าเรื่องเท่านั้น

ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ (ถ้าใช้ศัพท์เชิงปฏิจจสมุปบาท เพื่อช่วยให้ชัดขึ้น ก็พูดว่าจิตที่เป็นองค์แห่งอุปปัตติภพ) ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันไปตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบชีวิตของเรา คือตลอดชีวิต (พูดเป็นคำศัพท์ว่า ต่อจากปฏิสนธิ จนถึงจุติ) พูดเป็นภาษารูปธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นจิตยืนพื้น ใกล้กับคำที่ท่านใช้ว่าเป็น "ปกติจิต"


ภวังคจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นวิบาก เมื่อมันเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดชีวิตของเรา จึงเท่ากับเป็นผลรวมแห่งกรรมทั้งหมดของเรา พูดเป็นภาษาธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นที่เก็บสะสมผลกรรมของเรา หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเรา หรือเป็นที่ประมวลผลแห่งการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในตัวเรา เท่าที่ทำได้และได้ทำมาทั้งหมดในชีวิต พูดเชิงอนาคตว่า ภวังคจิต เป็นแหล่งแห่งศักยภาพ หรือเป็นศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่

ภวังคจิต เป็นชื่อที่ใช้เรียกในแง่การสืบต่อของชีวิต แต่ถ้าพูดในแง่การทำงานในกระบวนการรู้ตามปกตินี้ ที่เรียกว่า มโน คือ มนายตนะ หรือมโนทวาร นั่นเอง

ในฐานะเป็นมโน หรือเป็นมโนทวารนั้น มันเป็นที่เกิดหรือที่ปรากฏของมโนวิญญาณ ทีทำงานในระดับแห่งวิถีจิต

อนึ่ง ในฐานะแห่งจิตที่เป็นวิบาก ภวังคจิตจึงเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล เป็นจิตในภาวะที่กิเลสไม่ได้มาแสดงบทบาท แม้จะมีคุณสมบัติตามที่ประมวลผลเป็นวิบากไว้ ก็เป็นจิตตามสภาวะของมัน คือไม่มีตัวแปลกปลอมภายนอกมายุ่มย่าม


ดังนั้น ท่านจึงว่า ภวังคจิต นี่แหละ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตเป็นประภัสสร คือ สะอาดผ่องใส หมายความว่า จิตโดยสภาวะ คือตามภาวะของมันเอง เป็นอย่างนั้น แต่มันมัวหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา

ก็เพราะธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนั้น คือกิเลสมิใช่เป็นเนื้อเป็นตัวของมัน การชำระจิตด้วยการกำจัดกิเลสให้หมดไป จึงเป็นไปได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า (ยกมาให้ดูพอเห็นรูปเค้า)

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ....จิตฺตภาวนา อตฺถีติ วทามีติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส แต่จิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา...ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส และจิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา. อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมมีการพัฒนาจิต (จิตตภาวนา) (องฺ.เอก.20/50-53)


เปรียบได้กับน้ำ ถึงจะขุ่นมัวสกปรกเพียงใด เราก็สามารถชำระให้ใสสะอาดได้ เพราะสิ่งที่ทำให้ขุ่นมัวนั้น เป็นของแปลกปลอม หมายความว่า น้ำนั้น โดยสภาวะของมัน ก็คือน้ำ ไม่ใช่เป็นของสกปรกนั้น พูดง่ายๆ ว่า เมื่อน้ำสกปรก ถึงจะเน่าเหม็นอย่างไร ถ้าคนมีปัญญา ก็หาทางทำน้ำนั้นให้สะอาดได้


อย่างไรก็ตาม ถึงจะเทียบจิต กับ น้ำ ก็เป็นการเทียบได้ในแง่หนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เหมือนกันทีเดียว เพราะถึงอย่างไร ก็เป็นสภาวะต่างอย่างกัน ถึงจะเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่ง เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม การเปรียบเทียบบางทีก็ต้องเทียบกับอันโน้นอันนี้ทีละแง่


ขอเทียบให้ฟังอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ศักยภาพ ลองดูเมล็ดพืช เช่นเม็ดมะม่วง เราเอาเม็ดมะม่วงเม็ดหนึ่งไปปลูก จากมะม่วงเม็ดนั้น ต่อมามีต้นมะม่วงงอกขึ้นมา และเจริญงอกงาม มีกิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผล ซึ่งทั้งหมดก็มาจากมะม่วงเม็ดเดียวนั้น

จึงเหมือน กับว่ากิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผลมะม่วงทั้งหมด มีพร้อมอยู่ในมะม่วงเม็ดเดียวนั้นแล้ว แต่ขณะที่มันเป็นมะม่วงนั้น เราชี้บอกได้ไหมว่า ตรงไหมเป็นกิ่ง ตรงไหนเป็นก้าน - ใบ - ดอก - ผล ตลอดจนลักษณะเฉพาะของมันที่สะสมมาแม้แต่ที่เริ่มแปลกพันธ์ ก็บอกไม่ได้ นี่คือ ที่ใช้คำว่า ศักยภาพ

เรื่องภวังคจิต ที่ว่าเป็นผลรวมวิบากของเรา เมื่อเทียบในแง่หนึ่ง ก็พึงเข้าใจทำนองนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2018, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2018, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไทยอธิษฐานเพื่อจะได้ – พระให้อธิษฐานเพื่อจะทำ

ย้อนกลับมาที่เรื่องอ้อนวอน กับ อธิษฐาน อีกครั้ง

การอธิษฐานจิตนั้น เป็นการตั้งเป้าให้กับจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่การอธิษฐานนี้ต่างจากการอ้อนวอน คือเพียงแต่จับเอาตัวเนื้อแท้ที่เป็นสาระในการอ้อนวอนนั้นมาใช้ ไม่ใช่อยู่กับสิ่งที่เลื่อนลอย


การอ้อนวอนอยู่กับสิ่งที่เลื่อนลอยฝันเพ้อไป มีความเชื่อและโมหะเป็นฐาน แต่อธิษฐานโยงกับความจริง มุ่งไปหาสิ่งที่มองเห็นด้วยปัญญา


การอ้อนวอนเป็นการขอให้เทวดาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้ โดยตัวเองไม่ต้องทำ มุ่งไปที่การจะได้จะเอา ไม่โยงไปสู่การกระทำของตนเอง แต่อธิษฐาน มุ่งไปยังสิ่งที่จะทำ และนำไปสู่การกระทำ


สืบเนื่องจากข้อก่อน นั้น การอ้อนวอนก็คือต้องรอให้เขาทำให้ จึงนำไปสู่การงอเมืองอเท้า เกียจคร้าน และอ่อนแอ แต่อธิษฐานนำไปสู่ความเพียรพยายาม และความเข้มแข้ง

นอกจากนั้น การอ้อนวอนไม่โยงไปหาการพัฒนาตนเอง ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาตน เพราะไปฝากความหวังไว้กับสิ่งภายนอก ให้ปัจจัยภายนอก เช่น เทพเจ้ามาช่วย
แต่การอธิษฐานเป็นการพัฒนาตนเอง เพื่อจุดหมายที่ตนมองเห็นและตัดสินใจด้วยปัญญา เป็นการที่ทำให้เราก้าวหน้าต่อไปในการพัฒนาแห่งสิกขา ดังนั้น จึงต่างกันอย่างตรงข้าม พูดสั้นๆว่า นักปรารถนานักอ้อนวอน เชื่อการบันดาล แต่ผู้อธิษฐาน เชื่อการกระทำ

แม้แต่พระโพธิสัตว์ก็มีอธิษฐานเป็นบารมีข้อหนึ่งใน ๑๐ เรียกว่า อธิษฐานบารมี ทั้งที่โดยทั่วไป พระโพธิสัตว์ก็ต้องมีปณิธานอยู่แล้ว คือ เวลาจะทำความดีอะไรอย่างหนึ่ง ก็มีปณิธานว่าจะต้องมุ่งมั่นทำอย่างแน่วแน่ และด้วยปณิธานนั้น ก็ทำให้พระองค์กระทำการได้สำเร็จ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2018, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อย่างที่ได้บอกแล้วว่า มนุษย์เราทุกคนไม่สามารถทำความดี และทำจุดหมายทุกอย่างให้สำเร็จได้ทั้งหมดคราวเดียว อย่าว่าแต่เราเลย พระโพธิสัตว์ก็ทำไม่ได้


ความดีต่างๆ นั้นมีมากมายเหลือเกิน เราก็ต้องเลือกทำ และถ้าเราทำไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ ก็จับจด แล้วก็ไม่ได้ผลเป็นชิ้นเป็นอัน


ฉะนั้น ในการทำความดี ถ้าเราเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ก็ต้องดูว่า พระองค์เมื่อก่อนที่จะตรัสรู้ คือยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ใช้ปณิธานคือตั้งจิตมุ่งมั่นที่จะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ และในการตั้งปณิธานนั้น การอธิษฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก


อธิษฐานจิต คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น ปักแน่วลงไปที่จุดเริ่มต้นว่า จะต้องทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ จะต้องทำความดีงามนี้ให้สำเร็จ แล้วอันนี้จะเป็นทางแห่งความสำเร็จที่แท้จริง เพราะจะเป็นแรงหรือพลังส่งที่รวมจิตเข้าไปอย่างที่ได้กล่าวแล้ว


ในราตรีแห่งวันที่จะตรัสรู้ เมื่อพระโพธิสัตว์ลงประทับนั่งใต้ร่มมหาโพธิ ก็ได้อธิษฐานใจว่า ถ้าไม่บรรลุโพธิญาณ จะไม่ลุกขึ้น แม้ว่าเลือดเนื้อจะแห้งเหือดไป (องฺ.ทุก.20/251)

อันนี้เป็นเรื่องที่พูดแทรกเข้ามา เพื่อจะให้ผู้ศึกษาได้ประโยชน์จากเรื่องของการอธิษฐาน คืออย่าให้เลยไปเป็นการอ้อนวอน เพราะการอ้อนวอนนั้นเป็นการฝากความหวัง และฝากชีวิตไว้กับปัจจัยภายนอก แล้วก็นำไปสู่ความลุ่มหลง การไม่พัฒนาตน ความเป็นอยู่อย่างเลื่อนลอย และการกล่อมใจตัวไปวันๆ ทำให้งอมืองอเท้า ถ้าเป็นสังคมต่อไปก็เสื่อม

เวลานี้ คนไทยทั่วไปก็เข้าใจเคลื่อนคลาดผิดพลาดไปในความหมายของ "อธิษฐาน" มักนึกถึงอธิษฐานนั้น ในความหมายที่เป็นการอ้อนวอนปรารถนา เรื่องก็เลยกลายเป็นว่า อธิษฐานของคนไทย กับ อธิษฐานของพระ ไม่เหมือนกัน พูดง่ายๆว่า คนไทยอธิษฐานเพื่อจะได้ แต่พระสอนให้อธิษฐานเพื่อจะทำ

คนไทยอย่าถอยกลับไปเป็นเหมือนอย่างในศาสนาพราหมณ์ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ ที่มนุษย์ฝากความหวังในความสำเร็จไว้กับการเซ่นสรวงอ้อนวอน เอาชีวิตไปฝากไว้กับการดลบันดาลของเทพเจ้า ทำให้เกินผลเสียทั้งแก่ชีวิตและสังคม เช่น

๑. คนทั้งหลายต่างก็มัวรอคอยผลจากการดลบันดาลขออำนาจเร้นลับภายนอก ตกอยู่ในความประมาท และไม่พัฒนาตัวเอง

๒.ในทางสังคม เมื่อแต่ละคนมองมุ่งออกไปหาความช่วยเหลือให้แก่ตนเองจากอำนาจบันดาลผลที่ อยู่นอกชุมชน ก็เลยลืมที่จะใส่ใจเหลียวมองดูเพื่อนมนุษย์ผู้อยู่ร่วมชุมชนและสังคม ไม่แสวงหาความร่วมมือ และคิดพึ่งพากันในหมู่มนุษย์ ทำให้ไม่มีการร่วมกันแก้ปัญหา และร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนหรือสังคมของตน กลายเป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะเอาตัวรอด


ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น เพราะแต่ละคนก็หวังประโยชน์ส่วนตัว ทำอย่างไรฉันจะได้นั่นได้นี่จากเทพเจ้า ปัญหาของตัวก็รอให้เทวดาแก้ไข ปัญหาส่วนรวมก็ถูกทิ้งไว้

พระพุทธเจ้าเสด็จมาประกาศในทางที่ตรงกันข้าม พระองค์มาสอนว่า มนุษย์เราสามารถทำการให้สำเร็จได้ด้วยความเพียรพยายามของตนเอง แต่เราต้องรู้เหตุปัจจัย ต้องรู้ธรรม ต้องรู้ความจริงของกฎธรรมชาติ ด้วยการพัฒนาปัญญาขึ้นมา โดยเรียนรู้และฝึกฝนตนด้วยสิกขา เมื่อเรามีปัญญา รู้ธรรม รู้เหตุปัจจัย ก็ใช้ความเพียรพยายามทำการด้วยกรรม ให้ตรงตามเหตุปัจจัยนั้น ก็ได้ผลดี

สังคมของเราๆก็มาช่วยกันสร้างสรรค์แก้ไขให้ดีได้ ชีวิตของเราๆก็ปรับปรุงให้ดีได้ เราแก้ไขปัญหาชีวิตและร่วมกันแก้ปัญหาสังคมของเราได้

แต่ถ้าเรา ไปหวังพึงปัจจุบันภายนอก ก็จบ ชีวิตของเราก็ไม่เพียรพยายามทำดี มัวแต่คอยหวังผลประโยชน์ส่วนตัวด้วยการอ้อนวอน แต่ละคนก็จะเอาเพื่อตน สังคมก็ยิ่งย้ำแย่ลงไปตามลำดับ


นี่เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้ให้แก่เราแล้ว ควรจะเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าธรรมมีแง่มุมต่างๆ ที่เราจะต้องพิจารณาเยอะ
ถ้าไปมองชั้นเดียวแล้วบางทีจะพลาด อย่างเรื่องสมาธิ เป็นต้น ที่พูดไปแล้ว ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย


อย่างน้อยพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงสั่งสอนไว้ ให้เรารู้จักมองทุกสิ่งทุกอย่างให้ตรงความจริงที่มีหลายแง่หลายมุม ที่เรียกว่า วิภัชชวาท แปลว่า คือรู้จักพิจารณาอย่างแยกแยะ เช่น มองเห็นว่าสิ่งทั้งมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย
แม้แต่กุศลธรรมที่เราว่าดีแล้ว มันก็มีแง่ที่จะให้คุณและแง่ที่จะให้โทษ อย่างสมาธิ เป็นต้น ที่กล่าวไปแล้ว จึงจะต้องไม่มองในแง่เดียว ไม่ใช่ด้านดีอย่างเดียว หรือร้ายอย่างเดียว การที่ว่า มันดีก็ได้ มันร้ายก็ได้ อย่างหนึ่งก็คือ การที่มันเป็นปัจจัยแก่กันและกันได้ อกุศลธรรมก็เป็นปัจจัยแก่กุศลได้
กุศลธรรมก็เป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ จากนี้แหละสำคัญมาก

เพราะฉะนั้น จากสิ่งที่ไม่ดี ถ้าเราใช้เป็น เราก็เอาสิ่งที่ไม่ดีมาทำให้เป็นประโยชน์ได้ เอาอกุศลมาใช้เป็นปัจจัยแก่กุศลได้
กุศลธรรม ถ้าเราใช้ไม่เป็น มันก็กลับเป็นปัจจัยแก่อกุศล อย่าไปภูมิใจหลงว่า เรานี้มีดีแล้ว ก็ดีนี่แหละมันจะกลับเป็นตัวก่อผลร้าย ทำให้เกิดโทษได้


เราใช้เป็น ไม่ประมาท เราใช้อกุศลทำให้เกิดผลดีขึ้นมาก็ได้ อย่างตัณหา พระพุทธเจ้าทรงเอามาใช้กับพระนันทะ เป็นอุบายชักจูงพระนันทะให้ตรัสรู้ ให้เป็นพระอรหันต์ได้


แต่ผู้ศึกษาที่มีศรัทธา หรือแม้แต่พระโสดาบัน ขนาดเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ถ้าเกิดไปสันโดษผิดทางขึ้นมา สันโดษตัวนี้ ก็กลายเป็นทำให้พระโสดาบันประมาท เกิดเป็นอกุศลขึ้นมา ความสันโดษทำให้เกิดความประมาท


พระโสดาบันสันโดษในธรรมที่ได้บรรลุ พระพุทธเจ้าตรัสว่าท่านเป็น ปมาทวิหารี แปลว่า ผู้เป็นอยู่ด้วยความประมาท จะเป็นผู้เสื่อม ฉะนั้น ธรรมนี่จะต้องมองหลายๆแง่ และต้องมีหลักที่จะมองให้ถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2018, 12:56 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตนี้ พูดได้ยาก เพราะเมื่อจะให้คนทั่วไปเข้าใจ ก็ต้องใช้ถ้อยคำเชิงรูปธรรม หรือสำนวนภาษาเหมือนอย่างเป็นตัวเป็นตน ซึ่งก็จะชวนให้เกิดความเข้าใจเกินเลยสภาวะไป อันเป็นความเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่ง จึงถือว่าพูดกันพอให้เห็นเค้าเรื่องเท่านั้น

ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ (ถ้าใช้ศัพท์เชิงปฏิจจสมุปบาท เพื่อช่วยให้ชัดขึ้น ก็พูดว่าจิตที่เป็นองค์แห่งอุปปัตติภพ) ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันไปตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบชีวิตของเรา คือตลอดชีวิต (พูดเป็นคำศัพท์ว่า ต่อจากปฏิสนธิ จนถึงจุติ) พูดเป็นภาษารูปธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นจิตยืนพื้น ใกล้กับคำที่ท่านใช้ว่าเป็น "ปกติจิต"


ภวังคจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นวิบาก เมื่อมันเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดชีวิตของเรา จึงเท่ากับเป็นผลรวมแห่งกรรมทั้งหมดของเรา พูดเป็นภาษาธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นที่เก็บสะสมผลกรรมของเรา หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเรา หรือเป็นที่ประมวลผลแห่งการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในตัวเรา เท่าที่ทำได้และได้ทำมาทั้งหมดในชีวิต พูดเชิงอนาคตว่า ภวังคจิต เป็นแหล่งแห่งศักยภาพ หรือเป็นศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่

ภวังคจิต เป็นชื่อที่ใช้เรียกในแง่การสืบต่อของชีวิต แต่ถ้าพูดในแง่การทำงานในกระบวนการรู้ตามปกตินี้ ที่เรียกว่า มโน คือ มนายตนะ หรือมโนทวาร นั่นเอง

ในฐานะเป็นมโน หรือเป็นมโนทวารนั้น มันเป็นที่เกิดหรือที่ปรากฏของมโนวิญญาณ ทีทำงานในระดับแห่งวิถีจิต

อนึ่ง ในฐานะแห่งจิตที่เป็นวิบาก ภวังคจิตจึงเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล เป็นจิตในภาวะที่กิเลสไม่ได้มาแสดงบทบาท แม้จะมีคุณสมบัติตามที่ประมวลผลเป็นวิบากไว้ ก็เป็นจิตตามสภาวะของมัน คือไม่มีตัวแปลกปลอมภายนอกมายุ่มย่าม


ดังนั้น ท่านจึงว่า ภวังคจิต นี่แหละ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตเป็นประภัสสร คือ สะอาดผ่องใส หมายความว่า จิตโดยสภาวะ คือตามภาวะของมันเอง เป็นอย่างนั้น แต่มันมัวหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา

ก็เพราะธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนั้น คือกิเลสมิใช่เป็นเนื้อเป็นตัวของมัน การชำระจิตด้วยการกำจัดกิเลสให้หมดไป จึงเป็นไปได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า (ยกมาให้ดูพอเห็นรูปเค้า)

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ....จิตฺตภาวนา อตฺถีติ วทามีติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส แต่จิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา...ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส และจิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา. อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมมีการพัฒนาจิต (จิตตภาวนา) (องฺ.เอก.20/50-53)


เปรียบได้กับน้ำ ถึงจะขุ่นมัวสกปรกเพียงใด เราก็สามารถชำระให้ใสสะอาดได้ เพราะสิ่งที่ทำให้ขุ่นมัวนั้น เป็นของแปลกปลอม หมายความว่า น้ำนั้น โดยสภาวะของมัน ก็คือน้ำ ไม่ใช่เป็นของสกปรกนั้น พูดง่ายๆ ว่า เมื่อน้ำสกปรก ถึงจะเน่าเหม็นอย่างไร ถ้าคนมีปัญญา ก็หาทางทำน้ำนั้นให้สะอาดได้


อย่างไรก็ตาม ถึงจะเทียบจิต กับ น้ำ ก็เป็นการเทียบได้ในแง่หนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เหมือนกันทีเดียว เพราะถึงอย่างไร ก็เป็นสภาวะต่างอย่างกัน ถึงจะเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่ง เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม การเปรียบเทียบบางทีก็ต้องเทียบกับอันโน้นอันนี้ทีละแง่


ขอเทียบให้ฟังอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ศักยภาพ ลองดูเมล็ดพืช เช่นเม็ดมะม่วง เราเอาเม็ดมะม่วงเม็ดหนึ่งไปปลูก จากมะม่วงเม็ดนั้น ต่อมามีต้นมะม่วงงอกขึ้นมา และเจริญงอกงาม มีกิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผล ซึ่งทั้งหมดก็มาจากมะม่วงเม็ดเดียวนั้น

จึงเหมือน กับว่ากิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผลมะม่วงทั้งหมด มีพร้อมอยู่ในมะม่วงเม็ดเดียวนั้นแล้ว แต่ขณะที่มันเป็นมะม่วงนั้น เราชี้บอกได้ไหมว่า ตรงไหมเป็นกิ่ง ตรงไหนเป็นก้าน - ใบ - ดอก - ผล ตลอดจนลักษณะเฉพาะของมันที่สะสมมาแม้แต่ที่เริ่มแปลกพันธ์ ก็บอกไม่ได้ นี่คือ ที่ใช้คำว่า ศักยภาพ

เรื่องภวังคจิต ที่ว่าเป็นผลรวมวิบากของเรา เมื่อเทียบในแง่หนึ่ง ก็พึงเข้าใจทำนองนี้

tongue
อันนี้เทียบให้เข้าใจได้ตามปกติ
จิตขณะที่ทำภวังคกิจมีอยู่แค่3ขณะที่เป็นขณะที่ไม่รู้สึกตัวเลย
คือเป็นจิตขณะที่ไม่รู้อารมณ์ทางอายตนะ6เลย
1ขณะมีปฏิสนธิจิต1ขณะตอนแรกเกิด
2ขณะนอนหลับสนิทมีความไม่รู้ทางอายตนะ6หลายชั่วโมง
3ขณะมีจุติจิต1ขณะสุดท้ายตอนตาย
ต่อจาก3ขณะข้างบนนี้ก็มีภวังคจิตสั้นๆแทรกแต่ละ1ขณะจิต
ตอนมีวิถีจิตและมีทวารทางที่จิตเกิดต้องครบ6ทางจึงรู้อารมณ์
เพราะอารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ถ้าหลับตาจิตก็ไม่รู้อารมณ์ทางตา
ฉะนั้นการรู้ความจริงตามคำสอนจึงต้องเพียรฟังคำสอนเพื่อเข้าใจ
ตามปกติเป็นผู้ลืมตาตื่นรู้ความจริงตอนไม่ง่วงและไม่หลับตาจึงเข้าใจตามได้ค่ะ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตนี้ พูดได้ยาก เพราะเมื่อจะให้คนทั่วไปเข้าใจ ก็ต้องใช้ถ้อยคำเชิงรูปธรรม หรือสำนวนภาษาเหมือนอย่างเป็นตัวเป็นตน ซึ่งก็จะชวนให้เกิดความเข้าใจเกินเลยสภาวะไป อันเป็นความเข้าใจผิดไปอีกด้านหนึ่ง จึงถือว่าพูดกันพอให้เห็นเค้าเรื่องเท่านั้น

ภวังคจิต แปลว่า จิตที่เป็นองค์แห่งภพ (ถ้าใช้ศัพท์เชิงปฏิจจสมุปบาท เพื่อช่วยให้ชัดขึ้น ก็พูดว่าจิตที่เป็นองค์แห่งอุปปัตติภพ) ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันไปตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบชีวิตของเรา คือตลอดชีวิต (พูดเป็นคำศัพท์ว่า ต่อจากปฏิสนธิ จนถึงจุติ) พูดเป็นภาษารูปธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นจิตยืนพื้น ใกล้กับคำที่ท่านใช้ว่าเป็น "ปกติจิต"


ภวังคจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นวิบาก เมื่อมันเกิดดับสืบต่ออยู่ตลอดชีวิตของเรา จึงเท่ากับเป็นผลรวมแห่งกรรมทั้งหมดของเรา พูดเป็นภาษาธรรมหรือภาษาตัวตนว่า เป็นที่เก็บสะสมผลกรรมของเรา หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเรา หรือเป็นที่ประมวลผลแห่งการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในตัวเรา เท่าที่ทำได้และได้ทำมาทั้งหมดในชีวิต พูดเชิงอนาคตว่า ภวังคจิต เป็นแหล่งแห่งศักยภาพ หรือเป็นศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่

ภวังคจิต เป็นชื่อที่ใช้เรียกในแง่การสืบต่อของชีวิต แต่ถ้าพูดในแง่การทำงานในกระบวนการรู้ตามปกตินี้ ที่เรียกว่า มโน คือ มนายตนะ หรือมโนทวาร นั่นเอง

ในฐานะเป็นมโน หรือเป็นมโนทวารนั้น มันเป็นที่เกิดหรือที่ปรากฏของมโนวิญญาณ ทีทำงานในระดับแห่งวิถีจิต

อนึ่ง ในฐานะแห่งจิตที่เป็นวิบาก ภวังคจิตจึงเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว คือไม่เป็นกุศล และไม่เป็นอกุศล เป็นจิตในภาวะที่กิเลสไม่ได้มาแสดงบทบาท แม้จะมีคุณสมบัติตามที่ประมวลผลเป็นวิบากไว้ ก็เป็นจิตตามสภาวะของมัน คือไม่มีตัวแปลกปลอมภายนอกมายุ่มย่าม


ดังนั้น ท่านจึงว่า ภวังคจิต นี่แหละ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตเป็นประภัสสร คือ สะอาดผ่องใส หมายความว่า จิตโดยสภาวะ คือตามภาวะของมันเอง เป็นอย่างนั้น แต่มันมัวหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา

ก็เพราะธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนั้น คือกิเลสมิใช่เป็นเนื้อเป็นตัวของมัน การชำระจิตด้วยการกำจัดกิเลสให้หมดไป จึงเป็นไปได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า (ยกมาให้ดูพอเห็นรูปเค้า)

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ....จิตฺตภาวนา อตฺถีติ วทามีติ ฯ

ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส แต่จิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา...ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส และจิตนั้นแล หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา. อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว ย่อมมีการพัฒนาจิต (จิตตภาวนา) (องฺ.เอก.20/50-53)


เปรียบได้กับน้ำ ถึงจะขุ่นมัวสกปรกเพียงใด เราก็สามารถชำระให้ใสสะอาดได้ เพราะสิ่งที่ทำให้ขุ่นมัวนั้น เป็นของแปลกปลอม หมายความว่า น้ำนั้น โดยสภาวะของมัน ก็คือน้ำ ไม่ใช่เป็นของสกปรกนั้น พูดง่ายๆ ว่า เมื่อน้ำสกปรก ถึงจะเน่าเหม็นอย่างไร ถ้าคนมีปัญญา ก็หาทางทำน้ำนั้นให้สะอาดได้


อย่างไรก็ตาม ถึงจะเทียบจิต กับ น้ำ ก็เป็นการเทียบได้ในแง่หนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เหมือนกันทีเดียว เพราะถึงอย่างไร ก็เป็นสภาวะต่างอย่างกัน ถึงจะเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่ง เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม การเปรียบเทียบบางทีก็ต้องเทียบกับอันโน้นอันนี้ทีละแง่


ขอเทียบให้ฟังอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ศักยภาพ ลองดูเมล็ดพืช เช่นเม็ดมะม่วง เราเอาเม็ดมะม่วงเม็ดหนึ่งไปปลูก จากมะม่วงเม็ดนั้น ต่อมามีต้นมะม่วงงอกขึ้นมา และเจริญงอกงาม มีกิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผล ซึ่งทั้งหมดก็มาจากมะม่วงเม็ดเดียวนั้น

จึงเหมือน กับว่ากิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผลมะม่วงทั้งหมด มีพร้อมอยู่ในมะม่วงเม็ดเดียวนั้นแล้ว แต่ขณะที่มันเป็นมะม่วงนั้น เราชี้บอกได้ไหมว่า ตรงไหมเป็นกิ่ง ตรงไหนเป็นก้าน - ใบ - ดอก - ผล ตลอดจนลักษณะเฉพาะของมันที่สะสมมาแม้แต่ที่เริ่มแปลกพันธ์ ก็บอกไม่ได้ นี่คือ ที่ใช้คำว่า ศักยภาพ

เรื่องภวังคจิต ที่ว่าเป็นผลรวมวิบากของเรา เมื่อเทียบในแง่หนึ่ง ก็พึงเข้าใจทำนองนี้

tongue
อันนี้เทียบให้เข้าใจได้ตามปกติ
จิตขณะที่ทำภวังคกิจมีอยู่แค่3ขณะที่เป็นขณะที่ไม่รู้สึกตัวเลย
คือเป็นจิตขณะที่ไม่รู้อารมณ์ทางอายตนะ6เลย
1ขณะมีปฏิสนธิจิต1ขณะตอนแรกเกิด
2ขณะนอนหลับสนิทมีความไม่รู้ทางอายตนะ6หลายชั่วโมง
3ขณะมีจุติจิต1ขณะสุดท้ายตอนตาย
ต่อจาก3ขณะข้างบนนี้ก็มีภวังคจิตสั้นๆแทรกแต่ละ1ขณะจิต
ตอนมีวิถีจิตและมีทวารทางที่จิตเกิดต้องครบ6ทางจึงรู้อารมณ์
เพราะอารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ถ้าหลับตาจิตก็ไม่รู้อารมณ์ทางตา
ฉะนั้นการรู้ความจริงตามคำสอนจึงต้องเพียรฟังคำสอนเพื่อเข้าใจ
ตามปกติเป็นผู้ลืมตาตื่นรู้ความจริงตอนไม่ง่วงและไม่หลับตาจึงเข้าใจตามได้ค่ะ
:b4: :b4:



มองหากะพริบตาไม่เห็น พิมพ์ตกหรือเปล่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2018, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ้างคำพูด:
มองหากะพริบตาไม่เห็น พิมพ์ตกหรือเปล่า

ความไม่รู้ต้องรู้ว่าไม่รู้อะไรเพราะที่ไม่รู้น่ะคือไม่รู้ความจริงที่กำลังเกิดดับไงคะ
ก็เด่วนี้เลยกะพริบตาแล้วเอากิเลสที่ดับครบ6ทางตะกี้นี้ออกตอนไหนมิทราบคะ :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร