วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2018, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9226.jpg
Image-9226.jpg [ 33.9 KiB | เปิดดู 3143 ครั้ง ]
การละกิเลสจะต้องใช้กับปุถุชนที่ได้ฌานขั้นต่ำถึงขั้นสูง ก็หมายความเขาละกิเลสด้วยอำนาจของฌานแค่อยู่ในช่วงเขายังอยู่ในฌาน เมื่อหมดอำนาจของฌาน หรือฌานเสื่อมกิเลสที่เคยละก็จะกลับเข้ามาประกอบกับจิตได้ดังเดิม ยกเว้นผู้ที่ได้ฌานนั้นเอาฌานไปเป็นบาทของวิปัสสนาเพื่อพิจารณาว่าฌานนั้นเป็นของที่ไม่เที่ยงจนเห็นว่าฌานนั้นก็ตกอยู่ภายใต้ของกฏไตรลักษณ์ ย่อมประหารกิเลสที่ละไปแล้วได้ สำหรับผู้ที่เอาฌานไปเป็นบาทเป็นฐานการเจริญวิปัสสนานั้นจะทำได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยได้ฌานมาเลย ที่ง่ายก็เพราะกิเลสละได้เบาบางลง แต่ผู้ไม่มีฌานจะเจริญวิปัสสนาได้ยากกว่าเพราะกิเลสยังหนาแน่น

ส่วนการประหารกิเลสนั้นจะต้องเป็นพระอริยะบุคคลเท่านั้นจึงจะประหารกิเลสได้นับตั้งแต่พระอริยะเบื้องต่ำเป็นต้นไปจึงจะประหารกิเลสได้ หมายความว่าการประหารกิเลสจะไม่กลับมาเกิดกับท่านอีก ไม่เหมือนฝกับปุถุชนที่ละกิเลสที่ละกิเลสไปแล้วย่อม กลับมาเกิดกับท่านอีกได้เสมอ แต่อีกนั่นแหละพระอริยะที่ไม่ได้ฌานจะกลับมาทำฌานให้เกิดกับท่านก็ไม่ยากเพราะว่าไม่มีกิเลสนิวรณ์คอยขวางกั้นเพราะได้ถูกประหารไปก่อนหน้านี้แล้ว

นัยนี้จะยกหรือชูประเด็นที่แตกต่างกัน ในความหมายคำว่า ละ กับคำว่า ประหาร ให้ชัดเจนจะได้ไม่มีความเห็นที่แตกต่างชวนให้ทะเลาะกันได้

จะสรุปใช้ง่ายขึ้น กิเลสที่ละจะใช้กับปุถุชน กิเลสที่ประหารจะใช้กับพระอริยะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
โลภะ โทสะ โมหะ คือกิเลส ละไม่ได้จะมากหรือน้อยก็คือยังไม่ดี
พระพุทธเจ้าตรัสว่าดีแล้วสำหรับพระอรหันต์เท่านั้น
อริยบุคคลที่เป็นเสขะบุคคลยังดีไม่พอ
แม้จะถึงอรหัตตมรรคก็ยังเหลือโลภะ
ยังต้องเกิดเพราะยังอยากถึงนิพพาน
ก็ไม่รู้นี่คะถึงอยากเพราะนิพพานถึง
เพราะหมดอยากหมดกิเลสแล้วค่ะ
ที่มีตัวตนไปคิดทำนั่นแหละอยาก
ถ้าฟังพระพุทธพจน์รู้แล้วไม่อยาก
แต่มีฉันทะวิริยะสติสมาธิปัญญาเกิดจริงๆนะคะ
:b12:
:b31: :b31:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
โลภะ โทสะ โมหะ คือกิเลส ละไม่ได้จะมากหรือน้อยก็คือยังไม่ดี
พระพุทธเจ้าตรัสว่าดีแล้วสำหรับพระอรหันต์เท่านั้น
อริยบุคคลที่เป็นเสขะบุคคลยังดีไม่พอ
แม้จะถึงอรหัตตมรรคก็ยังเหลือโลภะ
ยังต้องเกิดเพราะยังอยากถึงนิพพาน
ก็ไม่รู้นี่คะถึงอยากเพราะนิพพานถึง
เพราะหมดอยากหมดกิเลสแล้วค่ะ
ที่มีตัวตนไปคิดทำนั่นแหละอยาก
ถ้าฟังพระพุทธพจน์รู้แล้วไม่อยาก
แต่มีฉันทะวิริยะสติสมาธิปัญญาเกิดจริงๆนะคะ
:b12:
:b31: :b31:

เข้าใจผิดแล้วจ้า
พระอนาคามีประหารโทสะนะจ๊ะ
อรหันตมรรคประหารทั้ง โลภะ และโมหะ
จึงได้เป็นอรหันตผล จึงเป็นอันว่ากิเลสสิ้นสุดแล้ว
ไม่เกิดในภพใหม่อีกแล้วจ้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
โลภะ โทสะ โมหะ คือกิเลส ละไม่ได้จะมากหรือน้อยก็คือยังไม่ดี
พระพุทธเจ้าตรัสว่าดีแล้วสำหรับพระอรหันต์เท่านั้น
อริยบุคคลที่เป็นเสขะบุคคลยังดีไม่พอ
แม้จะถึงอรหัตตมรรคก็ยังเหลือโลภะ
ยังต้องเกิดเพราะยังอยากถึงนิพพาน
ก็ไม่รู้นี่คะถึงอยากเพราะนิพพานถึง
เพราะหมดอยากหมดกิเลสแล้วค่ะ
ที่มีตัวตนไปคิดทำนั่นแหละอยาก
ถ้าฟังพระพุทธพจน์รู้แล้วไม่อยาก
แต่มีฉันทะวิริยะสติสมาธิปัญญาเกิดจริงๆนะคะ
:b12:
:b31: :b31:

เข้าใจผิดแล้วจ้า
พระอนาคามีประหารโทสะนะจ๊ะ
อรหันตมรรคประหารทั้ง โลภะ และโมหะ
จึงได้เป็นอรหันตผล จึงเป็นอันว่ากิเลสสิ้นสุดแล้ว
ไม่เกิดในภพใหม่อีกแล้วจ้า

:b12:
เวลาเกิดกิเลสมีโมหะประกอบไว้ในโลกคือโลก31ภพภูมิ
เวลาเกิดโลภะมูลจิต=โลภะ+โมหะ
เวลาเกิดโทสะมูลจิต=โทสะ+โมหะ
โลภะกับโทสะเป็นคนละขณะจิตปุถุชนมีปกติโมหะ
:b20:
อริยบุคคลทั้ง8บุคคลดับโมหะเป็นปกติอโมหะ
บรรลุธรรมระดับโสดาปัตติมรรคถึงอนาคามิมรรคมีแบบนี้
โลภะ+อโมหะ
โทสะ+อโมหะ
:b17:
ระดับอนาคามิผลถึงอรหัตตมรรค
โลภะ+อโมหะ
อโทสะ+อโมหะ
:b1:
อรหัตตผล
อโลภะ+อโมหะ
อโทสะ+อโมหะ
:b8:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามใจถ้าเห็นว่าถูกต้องแล้วก็ตามใจ
เมื่อทำความเห็นไม่ตรง มันเป็นมิจฉาทิฏฐินะครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
การละกิเลสจะต้องใช้กับปุถุชนที่ได้ฌานขั้นต่ำถึงขั้นสูง ก็หมายความเขาละกิเลสด้วยอำนาจของฌานแค่อยู่ในช่วงเขายังอยู่ในฌาน เมื่อหมดอำนาจของฌาน หรือฌานเสื่อมกิเลสที่เคยละก็จะกลับเข้ามาประกอบกับจิตได้ดังเดิม ยกเว้นผู้ที่ได้ฌานนั้นเอาฌานไปเป็นบาทของวิปัสสนาเพื่อพิจารณาว่าฌานนั้นเป็นของที่ไม่เที่ยงจนเห็นว่าฌานนั้นก็ตกอยู่ภายใต้ของกฏไตรลักษณ์ ย่อมประหารกิเลสที่ละไปแล้วได้ สำหรับผู้ที่เอาฌานไปเป็นบาทเป็นฐานการเจริญวิปัสสนานั้นจะทำได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยได้ฌานมาเลย ที่ง่ายก็เพราะกิเลสละได้เบาบางลง แต่ผู้ไม่มีฌานจะเจริญวิปัสสนาได้ยากกว่าเพราะกิเลสยังหนาแน่น

ส่วนการประหารกิเลสนั้นจะต้องเป็นพระอริยะบุคคลเท่านั้นจึงจะประหารกิเลสได้นับตั้งแต่พระอริยะเบื้องต่ำเป็นต้นไปจึงจะประหารกิเลสได้ หมายความว่าการประหารกิเลสจะไม่กลับมาเกิดกับท่านอีก ไม่เหมือนฝกับปุถุชนที่ละกิเลสที่ละกิเลสไปแล้วย่อม กลับมาเกิดกับท่านอีกได้เสมอ แต่อีกนั่นแหละพระอริยะที่ไม่ได้ฌานจะกลับมาทำฌานให้เกิดกับท่านก็ไม่ยากเพราะว่าไม่มีกิเลสนิวรณ์คอยขวางกั้นเพราะได้ถูกประหารไปก่อนหน้านี้แล้ว

นัยนี้จะยกหรือชูประเด็นที่แตกต่างกัน ในความหมายคำว่า ละ กับคำว่า ประหาร ให้ชัดเจนจะได้ไม่มีความเห็นที่แตกต่างชวนให้ทะเลาะกันได้

จะสรุปใช้ง่ายขึ้น กิเลสที่ละจะใช้กับปุถุชน กิเลสที่ประหารจะใช้กับพระอริยะ


อ้าว มีการแยกคนแยกอริยะอีก

อริยะเดิมเขาก็เป็นปุถุชน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
โลภะ โทสะ โมหะ คือกิเลส ละไม่ได้จะมากหรือน้อยก็คือยังไม่ดี
พระพุทธเจ้าตรัสว่าดีแล้วสำหรับพระอรหันต์เท่านั้น
อริยบุคคลที่เป็นเสขะบุคคลยังดีไม่พอ
แม้จะถึงอรหัตตมรรคก็ยังเหลือโลภะ
ยังต้องเกิดเพราะยังอยากถึงนิพพาน
ก็ไม่รู้นี่คะถึงอยากเพราะนิพพานถึง
เพราะหมดอยากหมดกิเลสแล้วค่ะ
ที่มีตัวตนไปคิดทำนั่นแหละอยาก
ถ้าฟังพระพุทธพจน์รู้แล้วไม่อยาก
แต่มีฉันทะวิริยะสติสมาธิปัญญาเกิดจริงๆนะคะ
:b12:
:b31: :b31:

เข้าใจผิดแล้วจ้า
พระอนาคามีประหารโทสะนะจ๊ะ
อรหันตมรรคประหารทั้ง โลภะ และโมหะ
จึงได้เป็นอรหันตผล จึงเป็นอันว่ากิเลสสิ้นสุดแล้ว
ไม่เกิดในภพใหม่อีกแล้วจ้า

:b12:
เวลาเกิดกิเลสมีโมหะประกอบไว้ในโลกคือโลก31ภพภูมิ
เวลาเกิดโลภะมูลจิต=โลภะ+โมหะ
เวลาเกิดโทสะมูลจิต=โทสะ+โมหะ
โลภะกับโทสะเป็นคนละขณะจิตปุถุชนมีปกติโมหะ
:b20:
อริยบุคคลทั้ง8บุคคลดับโมหะเป็นปกติอโมหะ
บรรลุธรรมระดับโสดาปัตติมรรคถึงอนาคามิมรรคมีแบบนี้
โลภะ+อโมหะ
โทสะ+อโมหะ
:b17:
ระดับอนาคามิผลถึงอรหัตตมรรค
โลภะ+อโมหะ
อโทสะ+อโมหะ
:b1:
อรหัตตผล
อโลภะ+อโมหะ
อโทสะ+อโมหะ
:b8:
:b4: :b4:

tongue
พิจารณานะคะปกติปุถุชนแยกไม่ออกว่าจิตแต่ละขณะเป็นกุศลหรืออกุศล
คิดแต่ว่าอยากได้บุญทำอะไรก็ได้บุญแต่1ขณะที่จิตชอบใจมีโลภะ+โมหะ
2ขณะที่จิตไม่ชอบเช่นเหม็นขยะไม่อยากเห็นกองขยะขุ่นใจมีโทสะ+โมหะ
ทั้ง2อาการนั้นเป็นกิเลสทั้งคู่แค่เห็นดอกไม้สวยเลยแค่ได้กลิ่นเหม็นทันที
แล้วเอาอะไรเป็นกุศลเพราะชอบดอกไม้สวยและเหม็นกลิ่นเป็นกิเลสทั้งคู่
:b12:
ส่วนอริยบุคคลดับโมหะมูลจิตละตัวตนได้จนรู้ทั่วตัว8-9รูปตรงวิสยรูป7
สติปัฐานของจริงรู้ความจริงทันทุกขณะกิเลสใหม่ไม่เกิดสะสมโสภณจิต
ตามรายละเอียดที่เขียนมาข้างบนนั้นชัดเจนอริยบุคคลไม่ขาดสติเพราะ
รู้ความจริงตามคำสอนได้แล้วทันปัจุบันขณะแล้วไม่กลับไปมีโมหะอีกค่ะ
ประมาทการฟังนะคะปัญญาจะไม่เกิดเลยตลอดชาตินี้อะไรปรากฏคือผล
ของอดีตเช่นบรรลุฌานไม่ใช่ผลของชาตินี้ผลต้องไปชาติต่อๆไปใครจะรู้
:b16:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2018, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อย่ายึดสิ่งที่ผ่านไปแล้ว
วันนี้ที่ตาไม่บอดเป็นผล
จากกรรมในอดีตชาติค่ะ
จะบอดวันไหนก็ได้และ
กรรมที่ทำวันนี้ไม่ใช่วิบาก
วิบากจะไม่มีการเพิ่มขึ้นเลย
แต่ปัญญาเริ่มเกิดจากการฟังค่ะ
ฟังไปๆปัญญาถึงจะเพิ่มตามลำดับ
ส่วนฌานก็ผ่านการทำตามลำดับเช่นกัน
แต่ทำฌานกะทำปัญญาคนละตัวธัมมะ
ต้องเริ่มต้นให้ถูกก่อนนะคะไม่งั้นตายเปล่า
อดีตเอากลับมาแก้ไม่ได้เพราะรอให้ผลแล้ว
ส่วนอนาคตก็รู้ไม่ได้ถ้าไม่ทันสิ่งที่กำลังปรากฏ
แปลว่ากิเลสไหลซ่านไปในอารมณ์ที่จิตรู้แล้วล่ะค่ะ
:b13:
:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2018, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
การละกิเลสจะต้องใช้กับปุถุชนที่ได้ฌานขั้นต่ำถึงขั้นสูง ก็หมายความเขาละกิเลสด้วยอำนาจของฌานแค่อยู่ในช่วงเขายังอยู่ในฌาน เมื่อหมดอำนาจของฌาน หรือฌานเสื่อมกิเลสที่เคยละก็จะกลับเข้ามาประกอบกับจิตได้ดังเดิม ยกเว้นผู้ที่ได้ฌานนั้นเอาฌานไปเป็นบาทของวิปัสสนาเพื่อพิจารณาว่าฌานนั้นเป็นของที่ไม่เที่ยงจนเห็นว่าฌานนั้นก็ตกอยู่ภายใต้ของกฏไตรลักษณ์ ย่อมประหารกิเลสที่ละไปแล้วได้ สำหรับผู้ที่เอาฌานไปเป็นบาทเป็นฐานการเจริญวิปัสสนานั้นจะทำได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยได้ฌานมาเลย ที่ง่ายก็เพราะกิเลสละได้เบาบางลง แต่ผู้ไม่มีฌานจะเจริญวิปัสสนาได้ยากกว่าเพราะกิเลสยังหนาแน่น

ส่วนการประหารกิเลสนั้นจะต้องเป็นพระอริยะบุคคลเท่านั้นจึงจะประหารกิเลสได้นับตั้งแต่พระอริยะเบื้องต่ำเป็นต้นไปจึงจะประหารกิเลสได้ หมายความว่าการประหารกิเลสจะไม่กลับมาเกิดกับท่านอีก ไม่เหมือนฝกับปุถุชนที่ละกิเลสที่ละกิเลสไปแล้วย่อม กลับมาเกิดกับท่านอีกได้เสมอ แต่อีกนั่นแหละพระอริยะที่ไม่ได้ฌานจะกลับมาทำฌานให้เกิดกับท่านก็ไม่ยากเพราะว่าไม่มีกิเลสนิวรณ์คอยขวางกั้นเพราะได้ถูกประหารไปก่อนหน้านี้แล้ว

นัยนี้จะยกหรือชูประเด็นที่แตกต่างกัน ในความหมายคำว่า ละ กับคำว่า ประหาร ให้ชัดเจนจะได้ไม่มีความเห็นที่แตกต่างชวนให้ทะเลาะกันได้

จะสรุปใช้ง่ายขึ้น กิเลสที่ละจะใช้กับปุถุชน กิเลสที่ประหารจะใช้กับพระอริยะ


อ้าว มีการแยกคนแยกอริยะอีก

อริยะเดิมเขาก็เป็นปุถุชน


ในข่้างบนก็ได้อธิบายให้ละเอียดแล้ว ถ้าอ่านพิจารณาให้ช้าๆค่อยๆคิดตามไป ดูเหตุผลแยกแยะให้ออกเพราะมันมีอยู่ ๒ ส่วน งัีนจะขออุปมาน่าจะง่ายกว่า

เช่น บุคคล ๒ คน เขาสามีภรรยาอยู่กินกันมานาน พอนานๆเข้าก็เกิดการเบิ่อหน่าย ก็แยกทางกันไป อันนี้เรียกว่าละ แล้วต่อๆมาเกิดมีความคิดถึงกันขึ้นมา ก็ไปกินกันได้อีก เพราะเป็นการละแบบชั่วคราว
ตรงนี้เรียกว่าปุถุชน โดยแท้

และอีกประการหนึ่ง คน ๒ เขาเป็นสามีภรรยากันอยู่กินกันมานานๆ เกิดการเบื่อหน่ายกันขึ้นมา เห็นว่าอยู่ต่อไปก็หาประโยชน์มิได้ จึงฆ่าทิ้งเสีย นี้เรียกว่าการประหาร หมายความว่าเมื่อประหารไปแล้วก็จะไม่กลับมาอีก บุคคลประเภทนี้เรียกว่าได้เป็นพระอริยะบุคคล

สรุปว่า คนทั้ง ๒ นั้นอีกคนหนึ่งเพียงละออกไป และอีกคนหนึ่งประการเสีย คนที่ละก็ยังชื่อว่าเป็นปุถุชนอยู่ แต่คนที่ประหารนั้นได้ข้ามโคตรปุถุชนไปสู่พระอริยะทีนที

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2018, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
การละกิเลสจะต้องใช้กับปุถุชนที่ได้ฌานขั้นต่ำถึงขั้นสูง ก็หมายความเขาละกิเลสด้วยอำนาจของฌานแค่อยู่ในช่วงเขายังอยู่ในฌาน เมื่อหมดอำนาจของฌาน หรือฌานเสื่อมกิเลสที่เคยละก็จะกลับเข้ามาประกอบกับจิตได้ดังเดิม ยกเว้นผู้ที่ได้ฌานนั้นเอาฌานไปเป็นบาทของวิปัสสนาเพื่อพิจารณาว่าฌานนั้นเป็นของที่ไม่เที่ยงจนเห็นว่าฌานนั้นก็ตกอยู่ภายใต้ของกฏไตรลักษณ์ ย่อมประหารกิเลสที่ละไปแล้วได้ สำหรับผู้ที่เอาฌานไปเป็นบาทเป็นฐานการเจริญวิปัสสนานั้นจะทำได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เคยได้ฌานมาเลย ที่ง่ายก็เพราะกิเลสละได้เบาบางลง แต่ผู้ไม่มีฌานจะเจริญวิปัสสนาได้ยากกว่าเพราะกิเลสยังหนาแน่น

ส่วนการประหารกิเลสนั้นจะต้องเป็นพระอริยะบุคคลเท่านั้นจึงจะประหารกิเลสได้นับตั้งแต่พระอริยะเบื้องต่ำเป็นต้นไปจึงจะประหารกิเลสได้ หมายความว่าการประหารกิเลสจะไม่กลับมาเกิดกับท่านอีก ไม่เหมือนฝกับปุถุชนที่ละกิเลสที่ละกิเลสไปแล้วย่อม กลับมาเกิดกับท่านอีกได้เสมอ แต่อีกนั่นแหละพระอริยะที่ไม่ได้ฌานจะกลับมาทำฌานให้เกิดกับท่านก็ไม่ยากเพราะว่าไม่มีกิเลสนิวรณ์คอยขวางกั้นเพราะได้ถูกประหารไปก่อนหน้านี้แล้ว

นัยนี้จะยกหรือชูประเด็นที่แตกต่างกัน ในความหมายคำว่า ละ กับคำว่า ประหาร ให้ชัดเจนจะได้ไม่มีความเห็นที่แตกต่างชวนให้ทะเลาะกันได้

จะสรุปใช้ง่ายขึ้น กิเลสที่ละจะใช้กับปุถุชน กิเลสที่ประหารจะใช้กับพระอริยะ


อ้าว มีการแยกคนแยกอริยะอีก

อริยะเดิมเขาก็เป็นปุถุชน


ในข่้างบนก็ได้อธิบายให้ละเอียดแล้ว ถ้าอ่านพิจารณาให้ช้าๆค่อยๆคิดตามไป ดูเหตุผลแยกแยะให้ออกเพราะมันมีอยู่ ๒ ส่วน งัีนจะขออุปมาน่าจะง่ายกว่า

เช่น บุคคล ๒ คน เขาสามีภรรยาอยู่กินกันมานาน พอนานๆเข้าก็เกิดการเบิ่อหน่าย ก็แยกทางกันไป อันนี้เรียกว่าละ แล้วต่อๆมาเกิดมีความคิดถึงกันขึ้นมา ก็ไปกินกันได้อีก เพราะเป็นการละแบบชั่วคราว
ตรงนี้เรียกว่าปุถุชน โดยแท้

และอีกประการหนึ่ง คน ๒ เขาเป็นสามีภรรยากันอยู่กินกันมานานๆ เกิดการเบื่อหน่ายกันขึ้นมา เห็นว่าอยู่ต่อไปก็หาประโยชน์มิได้ จึงฆ่าทิ้งเสีย นี้เรียกว่าการประหาร หมายความว่าเมื่อประหารไปแล้วก็จะไม่กลับมาอีก บุคคลประเภทนี้เรียกว่าได้เป็นพระอริยะบุคคล

สรุปว่า คนทั้ง ๒ นั้นอีกคนหนึ่งเพียงละออกไป และอีกคนหนึ่งประการเสีย คนที่ละก็ยังชื่อว่าเป็นปุถุชนอยู่ แต่คนที่ประหารนั้นได้ข้ามโคตรปุถุชนไปสู่พระอริยะทีนที



ผู้ที่ถูกเรียกว่า อริยะ, พระอริยะ, อริยชน,อริยบุคคล เดิมเขาก็เป็นปุถุชน คนมีกิเลสแบบเราๆท่านๆนี่แหละนะ แต่ต่อมาผู้นั้น หันเข้ามาปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) จนกิเลสตัณหาเบาบางลง จนถึงหมดสิ้นไป ทีนี้ เขาก็เรียกบุคคลนั้นว่า อริยะ พระอริยะ อริยชน อริยบุคคล

ตัวอย่าง พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอานนท์เป็นต้น เดิมท่านก็เป็นปุถุชน คนมีกิเลสนี่แหละ แล้วทำไมต่อมาถึงจึงเรียกว่า พระอริยะ อริยบุคคลล่ะ คิดสิคิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2018, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาไทยเรา ไม่ใช่ มันเป็นเหมือนภาษาต่างประเทศ เรานำของเขามาใช้มาพูด คนพูดคนใช้ ต้องเข้าใจว่า หมายถึงอะไรที่พูดน่ะ เหมือนเราเรียนภาษาที่สอง เบื้องต้นพูดแล้วต้องเปิดดิกฯดู จึงเข้าใจตรงกับเจ้าของภาษาเขา ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็เหมือนถามว่า ไปไหนมา ? 3 วา 2 ศอก แล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2018, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อย


บุคคล "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม" คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน, ในพระวินัย โดยเฉพาะในสังฆกรรม หมายถึง ภิกษุรูปเดียว


บุทคล บุคคล (เขียนอย่างสันสกฤต)


บุคคล ๔ จำพวก คือ

๑. อุคฆฎิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง

๒. วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ

๓. เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้

๔. ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย


พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ

๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้

๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันต่อๆไป

๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า (ในบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)

ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์
บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณคือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมใส ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ

๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่างเป็นประมาณ

๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ

๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ

๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรมคือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2018, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็น่าจะเกือบเข้าใจตรงแล้ว อยู่ที่ว่าจงพยายามทำความเข้าใจให้ได้
มากกว่านี้อีกหน่อย เดิมทีเดียวที่กล่าวมานั้นล่วนแล้วเป็นปุถุชนทั้งหมด ต่อเมื่อมาประหารกิเลสได้จากเบาบางลงจนถึงได้ทั้งหมดเป็นที่สิ้นสุด ตรงก็หมายความว่าบุคคลนั่นไม่ใช่เป็นปุถุชนเหมือนเดิม ได้ข้ามโคตรของปุถุชนมาแล้ว เข้าสู่พระอริยะบุคคล

แม้ว่าบุคคลที่ได้ฌานได้อภิญญา หรือฌานชั้นสูง ก็ยังชื่อว่าปุถุชนอยู่
เพราะว่าบุคคลนี้ไม่ได้ประหารกิเลส เป็นเพียงละกิเลสชั่วคราว แต่ต่อมาเกิดประหารกิเลสได้ ก็เป็นพระอิริยะบุคคล บุคคลที่กล่าวมานั้นจึงมีแค่ ๒ ประเภท คือ ปุถุชน กับพระอริยะบุคคล
ปุถุชน หมายถึงผู้ที่ยังไม่ได้ประหารกิเลสเลย
แต่พระอริยะคือเป็นผู้ที่ได้ทำการประหารกิเลสไปบ้างแล้วจนถึงที่สุด บุคคลประเภทนี้เรียกว่าพระอริยะ หรือจะเรียกพระอริยะบุคคลก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2018, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ก็น่าจะเกือบเข้าใจตรงแล้ว อยู่ที่ว่าจงพยายามทำความเข้าใจให้ได้
มากกว่านี้อีกหน่อย เดิมทีเดียวที่กล่าวมานั้นล่วนแล้วเป็นปุถุชนทั้งหมด ต่อเมื่อมาประหารกิเลสได้จากเบาบางลงจนถึงได้ทั้งหมดเป็นที่สิ้นสุด ตรงก็หมายความว่าบุคคลนั่นไม่ใช่เป็นปุถุชนเหมือนเดิม ได้ข้ามโคตรของปุถุชนมาแล้ว เข้าสู่พระอริยะบุคคล

แม้ว่าบุคคลที่ได้ฌานได้อภิญญา หรือฌานชั้นสูง ก็ยังชื่อว่าปุถุชนอยู่
เพราะว่าบุคคลนี้ไม่ได้ประหารกิเลส เป็นเพียงละกิเลสชั่วคราว แต่ต่อมาเกิดประหารกิเลสได้ ก็เป็นพระอิริยะบุคคล บุคคลที่กล่าวมานั้นจึงมีแค่ ๒ ประเภท คือ ปุถุชน กับพระอริยะบุคคล
ปุถุชน หมายถึงผู้ที่ยังไม่ได้ประหารกิเลสเลย
แต่พระอริยะคือเป็นผู้ที่ได้ทำการประหารกิเลสไปบ้างแล้วจนถึงที่สุด บุคคลประเภทนี้เรียกว่าพระอริยะ หรือจะเรียกพระอริยะบุคคลก็ได้



ถามนะ พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอานนท์ เป็นต้น ก่อนหน้าเขาเป็นปุถุชนไหม

1. ไม่เป็น เป็นอริยบุคคลมาแต่เกิด

2. เป็นปุถุชนมาก่อนแล้วเป็นอริยบุคคลภายหลัง

ตอบข้อไหน

(เอ เหมือน คคห. ถูกลบไปมากมายนะ อิอิ ถ้าอย่างนี้จบเหอะ :b32: ไม่ยอมรับความจริง เสียเวลาคุย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 93 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร