วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2018, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปธาน ความเพียร, ความเพียรชอบ ที่เป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ

๑. สังวรปธาน - เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

๒. ปหานปธาน - เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน - เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. อนุรักขนาปธาน - เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์

สัมมัปปธาน ก็เรียก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2018, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปธาน นี้คือความเพียร ความเพียร ๔ ประการนี้

ความเพียร ๔ ประการนี้ มันอยู่ในสัมมาวายามะในมรรคมีองค์ ๘ แต่ท่านเห็นว่ามันอยู่ในประเภท ๔ อย่าง ก็เลยเอามาเรียงไว้ตรงนี้ ความเพียร ๔ ประการนี้ เป็นความเพียรชอบ

๑. สังวรปธาน - เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

๒. ปหานปธาน - เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน - เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน

๔. อนุรักขนาปธาน - เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

ความเพียร ๔ ประการนี้ เป็นความเพียรชอบ เป็นสัมมาวายามะ ความเพียรชอบ ในมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อสำคัญในการปฏิบัติ

ในความเพียร ๔ ประการนี้ เราจำง่ายๆ ว่า เพียรระวัง เพียรละ เพียรเจริญ เพียรรักษา มี ๔ อย่าง จำง่ายๆ ว่า ระวัง ละ เจริญ รักษา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2018, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียรระวัง ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน เพราะว่าบาปมันจะเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น ความโลภเกิด ความโกรธเกิด ความหลงเกิด ความริษยาอาฆาตจองเวรเกิด บาปทั้งนั้น

สิ่งเหล่านี้ มันเกิดเพราะอะไร ? เกิดเพราะเราเผลอ พอเผลอมันก็เกิด ไม่เผลอมันไม่เกิด

ที่ว่าเผลอมันขาดอะไร ? ขาดสติ ไม่มีสติกำกับแล้ว ทำโดยไม่รู้สึกที่จะทำ ไม่ได้รู้สึกในขณะทำ ไม่มีความรู้สึกทำแล้วมันอย่างนี้ ทำไปตามเรื่อง ใจไม่ได้อยู่กับเรื่องที่เราทำ เรียกตามภาษาธรรมะว่า ไม่มีสติอยู่กับเรื่องนั้น ก็เรียกว่าเป็นคนเผลอ เป็นคนหลับ หลับเพราะไม่มีสติ ไม่ได้หลับตา ไอ้ไม่มีสติหลับนั้นแหละมันสำคัญนักหนา หลับตานี่มันนอนไปเลย ไม่เกิดเรื่อง แต่ว่าหลับเพราะไม่มีสตินี่ มันก่อเรื่องก่อภัยให้เกิดขึ้นแก่เราด้วยประการต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่เรียกว่าน่ากลัว มันเป็นอันตรายแก่ชีวิตอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้น จึงต้องเพียรระวังในเรื่องนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2018, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกแระเรื่องสติอีก การฝึกเจริญสติ สัมปชัญญะเป็นเรื่องสำคัญในทางธรรม ดังนั้น จึงได้ถกเถียงกับคุณโลกสวยที่ กท. ธรรมมีอุปการมาก ๒ อย่าง คือ สติ สัมปชัญญะ นี่อีก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=55043

คือพอไปเจริญสติเจริญสมาธิเป็นต้น นู๋เมก็ว่านั่นนี่ของดาบสของฤๅษีไปสะอีก :b1:

มิใช่เท่านี้นะ ที่ไหนๆเขาก็ว่า เขาเถียงกันเหมือนกัน ตัวอย่างที่นี้ด้วย

https://pantip.com/topic/37676404

และคงจะถกเถียงกันไปอีกนานจนกว่าโลกจะสลาย คิกๆๆ หรือตายกันไปข้างหนึ่งโดยยังไม่ทันทำอะไรเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2018, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ระวังนั่นเอาอะไรมาระวัง ? ก็เอาแขกยาม. แขกยามก็คือสตินั่นแหละมาเฝ้า เฝ้าที่ใจของเรา ไม่ให้มันเกิดอะไรขึ้นมา ต้องคอยเฝ้าดูความผิดของเราไว้ ที่เราไปนั่งกัมมัฏฐานก็หัดเรื่องนี้ หัดไว้ หัดเฝ้าดูว่าอะไรมันเกิดขึ้น กุศลจะเกิดขึ้น อกุศลจะเกิดขึ้น

ถ้ากุศลเกิดขึ้นไม่เป็นไร มันเป็นประโยชน์ เราไม่ว่า แต่อกุศลเกิดขึ้นแล้วต้องทำลาย เช่น ความโลภเกิดขึ้นต้องทำลาย ความโกธรเกิดขึ้นต้องทำลาย ความหลงเกิดขึ้นต้องทำลาย ความริษยาพยาบาทเกิดขึ้นต้องทำลาย ไม่ให้มันเกาะตั้งอยู่ในใจของเรา คล้ายๆ ว่าของมาเปื้อนตัวเรา ระวังอย่าให้มันเปื้อน ระวังก่อน ระวังไม่ให้เปื้อนเช่นฝนตก ดินมันเป็นโคลนเลอะเละ เราเดินไปก็ระมัดระวังไม่ให้โคลนนั้นกระฉอกขึ้นมาเปื้อนแขนเปื้อนขาเปื้อนเสื้อผ้าของเรา เราระวังไว้ อันนี้ทีแรกต้องระวังไว้ก่อน ระวังข้างนอก ระวังโจรผู้ร้าย ก่อนนอนก็ต้องปิดประตูปิดบ้านปิดช่องเสียก่อนให้เรียบร้อย ระวังโจรผู้ร้ายขึ้นมา บางทีมันก็ขึ้นมากลางวันแสกๆ

เมื่อวานนี้โยมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า กลางวันแท้ๆ เจ้าบ้านก็นอนอยู่ชั้นล่าง ขโมยขึ้นชั้นบน ขึ้นไปเอาข้าวเอาของแล้วมันก็ลงไป ทีหลังไปเจอข้าวของหายไปตั้งเยอะแยะ เลยบอกว่า แหม ดีนะโยมนะ ที่ไม่ไปเจอกับขโมยนั่น ให้มันเอาของไปสบายๆ มันดีแล้ว อย่าไปนึกว่า แหม ไม่เห็น ไอ้เห็นเข้านี่มันร้าย มันจะยิงเอานะซิ ขโมยเดี๋ยวนี้มันพกปืนทั้งนั้น พอเห็นเจ้าทรัพย์มันก็ยิงทันที ไอ้เราไม่เห็นก็บุญแล้ว อย่าไปเสียอกเสียใจเลย เป็นบุญแล้วที่ไม่ได้เห็นมันเข้า

ถ้าเห็นเข้าไม่เอาแต่ของ มันจะเอาวิญญาณของเราไปด้วย เสียหาย

คนเรามันไม่คิดในทางแง่ดี คิดว่าแหม มันเอาของไปเสียดายของ นั่งเศร้าโศกเสียใจ ถ้าคิดอีกแง่ว่า เออ แหม นี่ถ้ากูไปเจอมันแล้วจะเป็นอย่างไร มันยิงเอาเท่านั้นเอง จำหน้ามันได้ มันก็ยิงตาย มีข่าวบ่อยๆ พอสู้มันก็ยิง เอาของก็ช่างหัวมัน ไม่เสียหายอะไร ดีแล้ว เอาไปได้ดีแล้ว นี่มันเป็นอย่างนี้ ระวังแล้วมันก็ยังขึ้น ขโมยนี่ แต่ว่าระวังไว้เรียกว่า ไม่ประมาท รักษาข้าวรักษาของ ไอ้ชีวิตเราก็เหมือนกัน ต้องระวังไว้ ไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นในใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2018, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ทางเกิดของกิเลส มันก็เกิดขึ้นจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เกิดเพราะอารมณ์ เรียกว่า สิ่งภายนอกที่มากระทบ
รูป มากระทบ ตา
เสียง มากระทบ หู
กลิ่น มากระทบจมูก
รส มากระทบลิ้น
โผฏฐัพพะ มากระทบ ร่างกาย

แล้วมันเกิดความรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขึ้นมา แล้วก็เกิดผัสสะ
เรียกว่าไอ้ ๓ อย่าง มาประจวบกันเข้า คือว่า ตา รูป ความรู้ทางตา

หู เสียง ความรู้ทางหู ฯลฯ มารวมกันเข้าเป็น ๓ อย่างๆ พอรวมกันเข้า มันเกิดผัสสะ แล้วก็เกิดเวทนา เป็นสุข เป็นทุกข์ อะไรไปตามเรื่อง เราจะต้องคอยระวังไม่ให้มันเกิดขึ้นมา ไม่ให้มันเกิดเป็นกิเลส ระวังไม่ให้มันเกิดกิเลส

ทีนี้ การระวังนั้น ถ้าเราอยู่ในวัดเฉยๆ ก็ไม่เกิดอะไรดอก ถ้ามันจะเกิดก็เรียกว่า รื้ออัลบั้มเก่ามาพลิกดู นึกถึงเรื่องเก่าๆ เคยเที่ยวเคยเล่นสนุกเคยเพลิดเพลิน มันก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน มันก็อาจเกิดขึ้นได้ เราต้องคอยระวังไม่ให้มันฟุ้งซ่าน ไม่ให้คิดออกไปนอกลู่นอกทาง คิดไปถึงบ้านถึงช่อง
ถ้ามันคิดขึ้นมาก็กำหราบมันว่า เฮ้อ อย่าคิดมาก อีกเดือนครึ่งก็จะไปแล้ว แล้วก็ให้มันหยุดไปเสียก่อน อย่าไปคิดวุ่นวายเรื่องอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2018, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ เรื่องที่จะต้องระวังคือ เวลาออกไปนอกวัด สมมติว่า เราไปบิณฑบาต ไปนั่งรถบัสรถประจำทางไปไหนๆ จะต้องมีอารมณ์มากระทบเยอะแยะ ไอ้อย่างนั้นต้องคอยระวัง นั่งต้องสำรวม ไอ้นี่ต้องสำรวมภายนอก สำรวมตาไม่ดูไปไกลๆ
หูนี่ไม่ค่อยมีเรื่อง ตานี่สำคัญนักหนา มีเรื่องซอกแซกมากนักหนา นี่ก็ระวัง อย่าไปดูไปมอง อย่าไปดูของที่ไม่ควรดู นั่งก้มๆเสีย สำรวมตาไว้ นี่เรียกว่าระวังภายนอก แต่ว่ามันอาจจะไปดูเข้ามั่ง เผลอลืมตาก็พอดีไปเจออะไรเข้ามาอย่างนั้น เราต้องระวัง อย่าเอาไป
เห็นแล้วก็บอกตัวเองว่าอย่าเอาไป ทิ้งไว้ตรงนี้ ดุมันไว้ว่า อย่าเอาไป เอ็งนี่มันชอบเก็บนักหนา ของบูดของเน่าชอบเก็บไปนัก เตือนตัวเองอย่างนั้น อย่าเอาไป ทิ้งไว้ตรงนี้ คอยบอกตัวเองอย่างนั้น แล้วเราก็ไม่เอามา นี่เรียกว่าระวังแล้ว ระวังไม่เอา ถ้าเราเอามา เออ มานั่งคิดนั่งฝัน เรียกว่าเกิดตัณหา เกิด อุปาทาน ทีนี้

ใจมันก็ไปอยู่กับสิ่งนั้น เรียกว่ามีภพ

ใจไปอยู่กับรูป เรียกว่า รูปภพ

ใจไปอยู่กับกาม เรียกว่ากามภพ

ใจไปอยู่ในสิ่งที่ไม่ใช่รูป คิดถึงชื่อเสียงเกียรติยศอะไรต่ออะไรที่ตัวจะมีจะได้ มันอยู่ในอรูปภพ มันเป็นภพขึ้นในใจของเรา ไปสร้างวิมานขึ้นในใจ วิมานในรูปต่างๆ นี่เรียกว่าเผลอแล้ว

พอเผลอมันคิดยาวไปทีเดียว เป็นขบวนรถไปเลยทีเดียว ไม่รู้ตัว เผลอไปแล้ว คิดเอามาก อันนี้ พอรู้ตัวปั้บตัดขบวนเลยทันที ให้มีแต่หัวรถจักรก็พอแล้ว ตัดออกหมด มันจะตกเหวตกบ่อช่างมัน เมื่อไมได้ประโยชน์ตัดออกไปเลย ตัดด้วยปัญญา มีสติแล้วก็มองเห็นว่า โอ๊ะไม่ได้แล้วผิดทางแล้ว ตัดเสีย เอาปัญญาเข้าไปตัด มันก็จะไม่เกิดขึ้น เรียกว่าระวังไม่ให้เกิดเรื่อง นี้เป็นอย่างแรก ระวังไม่ให้เกิดขึ้น เผลอมันก็เกิดขึ้น เราต้องละ เพียรละต่อไป
เพียรละมันคู่กันกับเพียรระวัง คือเรียกว่าเพียรระวังไม่ให้เกิด แล้วก็เพียรละ
สังวร แปลว่า ระวัง แล้วก็ ปหาน แปลว่า การละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2018, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หน้าที่ของเราที่ต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มี ๒ อย่าง ละ กับ เจริญ
เพียรนี่มันก็จัดเป็น ๒ เรื่อง ข้อ ๑ กับ ข้อ ๒ เรียกว่า เพียรละ เรื่องละ - ปหาน

ข้อ ๓ ข้อ ๔ คือ เจริญ เรียกว่า ภาวนา ภาวนาคือทำให้เจริญขึ้น
เราอยู่ด้วยการละ อยู่ด้วยการเจริญ ๒ อย่างนี้เท่านั้น

เพียรระวังไม่ให้มันเกิด ดังที่กล่าวแล้ว เผลอมันเกิดขึ้นมาต้องรีบเอาออก เหมือนกับโคลนเปื้อนแขนต้องรีบล้างออกทันที อย่าให้มันเปื้อนนานๆ เผื่อมันมีตัวจุลินทรีย์อยู่ในโคลนนั้น มันจะไชเท้าเข้าไปในผิวหนัง แล้วมันจะไปฝังตัวอยู่ในสายเลือดของเรา มันไต่ไปจนถึงปอดไส้พุง ไปสร้างบ้านสร้างเรือน เราก็จะตายกับโรคนี้ ต้องรีบล้างออก ถูสบู่ เอายาฆ่าเชื้อมาทาเสีย เรื่องมันก็เรียบร้อยไป เรียกว่า เพียรละ เพียรระวัง ละ ไม่ให้มันอยู่ในจิตใจของเรา

คนเราถ้าทำหน้าที่ ๒ ประการนี้ให้สมบูรณ์ คือ ระวังไม่ให้เกิด เผลอมันเกิดขึ้น เราพยายามเอาออกเสีย ไม่พยายามเพาะเชื้อให้มันเกิดขึ้นในใจเราต่อไป มันก็ไม่มีภัยไม่มีเวรกับอะไรดอก ไม่ยุ่งดอก

ไอ้ที่ยุ่งไม่ละนี่ ชอบไปสร้างขึ้น ชอบไปติด เช่น ไปติดเหล้า ไม่ละเหล้า ไปติดบุหรี่ ไม่ละบุหรี่ ติดม้า ไม่ละม้า ติดเที่ยวกลางคืน ไม่ละการเที่ยวกลางคืน ติดความสนุก ไม่ละความสนุก ไม่ละเอาไว้เรื่อยไป แล้วชีวิตก็ตกต่ำ ไม่มีความก้าวหน้าในการงาน ในความเป็นอยู่ทุกเรื่องมันเสียหาย เพราะว่าเรามันติดโคลนติดเลนเสียแล้ว เหมือนกับล้อรถมันติดโคลน วิ่งไม่ได้ ติดลงในหลุม ติดโคลนเปียกมั่ง โคลนแห้งมั่ง ทรายมากๆ ก็ติด เข็นกันงอมไปเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2018, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตเราก็เหมือนกัน ไอ้ความชั่วมันเป็นโคลนเป็นทรายทั้งนั้น ทีนี้ เราต้องรีบสลัดออก อะไรไม่ดีสลัดออกๆ

แต่ที่สลัดไม่ได้เพราะอะไร ? ใจมันไม่เข้มแข็ง อ่อนแอ ทำไมมันอ่อนแอ ก็ไม่สร้างกำลังภายในนี่ ไม่เพิ่มกำลังให้มันเข้มแข็งไว้
ทำไมไม่สร้างกำลังภายในไว้ เพราะไม่เห็นประโยชน์ของกำลังภายใน ไม่เห็นประโยชน์ของการทำความดี มันไปเห็นเรื่องสนุกเสียมากกว่า ชอบความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เอร็ดอร่อย เห็นว่าเป็นของดิบของดีเลิกไม่ได้ เหมือนกับคนติดกัญชา ติดเฮโรอีน มันเลิกไม่ได้ เลิกยากพวกนี้ เอาไปอยู่ถ้ำกระบอกแล้วเลิกได้เพราะไม่มีสูบ แต่พอกลับบ้านไม่เท่าไรก็วกไปอีก คู่รักเก่า ทนไม่ได้ พอเห็นโฉมหน้าทนไม่ได้ ต้องเอาสักหน่อย ใจไม่เข้มแข็ง ไม่มีสติในขณะที่อยาก
ถ้าพอขณะอยากมีสติขึ้นมา อือ เอาอีกแล้ว เผลออีกแล้วหรือ คอยคุมไว้บังคับตัวเองไว้ ยืนเฉยเหมือนกับเสาหิน ไม่เลื่อนไม่เคลื่อนที่ สู้มันต่อไปให้มันชนะก่อน พอชนะแล้วจึงจะเคลื่อนไปด้วยสติปัญญา
แต่นี่มันไม่สู้ แพ้ยกธงขาวตั้งแต่ในมุ้ง มันก็ไปอย่างนั้นตลอดเวลา มันเสียคนตรงนี้ มนุษย์เรานี่จำไว้เถอะ เราไปอยู่บ้านอยู่ช่อง ที่จะเสียคนนี่มันเสียตรงนี้ เพราะการปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่หักห้ามใจ
ไม่ควบคุมจิตใจไว้ ไม่พิจารณาให้เห็นว่า ไอ้นั่นมันเป็นโทษอย่างไร ให้ทุกข์อย่างไร ไม่ดีอย่างไร เสียประโยชน์อย่างไร ไม่คิดให้รอบคอบ ไม่คิดให้มันละเอียดในเรื่องนั้นๆ เลยก็เห็นดีเห็นงามไป
ชอบความเอร็ดอร่อย ใจมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิก็ตั้งอยู่ในใจ ก็ไปตามเส้นทางของมิจฉาทิฏฐิ เลยเอาตัวไม่รอด นี่มันเสียหายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ต้องระวังไว้ ระวังอย่าให้เกิด ให้นึกว่าเราเกิดมาเพื่อความบริสุทธิ์ จุดหมายปลายทางของพุทธบริษัทนั้นคือความพ้นทุกข์ คือ วิมุตติ เขาเรียกว่า วิมุตติ หมายความว่า หลุดพ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดหมายของพุทธมันอยู่ที่วิมุตติ (ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ) หลุดพ้นจากความเป็นทาสของอะไรๆ ตัวอะไรที่มันทำให้เราเป็นทาส เราต้องพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มันหลุดพ้น ให้มันเป็นไทแก่ตัว ให้จิตเป็นอิสระเสรีจากสิ่งเหล่านั้นจริงๆ ให้นึกว่าการเป็นทาสมันเป็นอย่างไร การเป็นไทมันเป็นอย่างไร เป็นทาสมันเป็นทุกข์ เป็นไทจึงจะเป็นสุขแท้จริง ไม่ใช่สุขชนิดที่เรียกว่ากินแกงเผ็ดมันอร่อย แต่น้ำมูกไหล อร่อยแบบนั้นมันไม่ไหว
ความสุขแบบทางโลกก็เหมือนกัน คือสุขด้วยอามิส ด้วยจูงใจล่อให้เพลิน สุขไปอย่างนั้น สุขด้วยความหลง ไม่ได้สุขด้วยอะไร สุขคล้ายๆสุนัขเลียกระดูก นั่งแทะอยู่นั่นแหละ มันไม่ได้อะไรดอก น้ำลายของตัวออกมามันก็อร่อยไปเท่านั้นเอง อร่อยน้ำลายตัวเอง มนุษย์เราก็คล้ายๆสุนัขแทะกระดูก
ทีนี้ เราคอยหักห้ามใจไว้ ปลุกปลอบตัวเองไว้ เตือนตัวเองบ่อยๆ มันก็ละได้ สิ่งนั้น ไม่มารบกวนจิตใจ เรียกว่า ในส่วนละ เพียรระวัง เพียรละ ต้องทำอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ การเพียรให้กุศลเกิดขึ้น ละแล้วอยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน มันต้องมีอะไรแทน จิตมนุษย์เรานี่มันต้องมีอะไรขึ้นมาแทน เอาตัวบาปออกไปแล้ว ไม่ได้อยู่ไม่ได้ ต้องให้ตัวบุญเกิดขึ้น

อกุศลออกไปต้องให้กุศลเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านสอนให้เพียรเจริญ เพียรภาวนา ภาวนาเพื่อทำกุศลให้เกิดขึ้น คิดในเรื่องดีเรื่องงาม เรื่องให้เกิดปัญญา เรื่องความสงบอะไรต่างๆ คิดตามแนวของพระพุทธศาสนา เช่นว่า คิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
คิดถึงธรรมที่เราได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันอะไรต่างๆ นานา คิดในเรื่องที่มันจะพอกพูนสร้างเสริมกำลังจิตใจให้มีความเข้มแข็งขึ้นภายใน อะไรก็ได้ แต่ว่าเขามีหลักให้คิด เรียกว่า อนุสสติ ๑๐ ประการ เป็นหลักให้เราพิจารณานึกคิด ให้คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม คิดถึงพระสงฆ์ คิดถึงทานที่เราได้บริจาค คิดถึงอะไรต่างๆ ใจจะได้มีงานทำ เพราะใจของมนุษย์นี่มันอยู่เฉยไม่ค่อยได้ ต้องหางานให้มันทำ เราไม่หางานให้มันทำ มันก็แส่ไปหาเอง งานที่ใจหาเอาเองมันก็ไม่ได้เรื่องทั้งนั้น
ทีนี้ เราต้องป้อนงานให้เขาทำเสีย เราเรียกว่าภาวนา หมายถึงการคิดในเรื่องดี ในเรื่องงาม ในเรื่องสร้างสรรค์ ในเรื่องสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจ เรียกว่าภาวนา
ภาวนาไว้แล้ว สมมติว่าทำอะไรได้แล้ว เช่นว่า ฝึกจิตเป็นสมาธิได้แล้ว นึกว่าเท่านั้นมันพอแล้ว หยุดเสียมันก็ไม่ได้ ต่อไปมันก็เสื่อม เพราะฉะนั้น เราต้องทำติดต่อกันในชีวิตประจำวัน อยู่บ้านก็ต้องทำสมาธิไว้ ตื่นแต่เช้า เราอยู่นี่ตื่นเช้าๆ ออกไปอยู่บ้านก็ตื่นแต่เช้าๆ ตื่นแล้วยังไม่ทำอะไรก็นั่งสงบใจ ฝึกสมาธิ ทำไว้ทุกวันๆ ให้มันแคล่วคล่องว่องไว เป็นนิสัยประจำตัว แล้วเราก็จะเอาไปใช้ได้ เราไม่ซ้อมมันเสียท่า ทีนี้ เรามันต้องซ้อมเอาไว้ ซ้อมบ่อยๆ
ฝ่ายกายก็ต้องซ้อมไว้ ฝ่ายจิต ก็ต้องซ้อมไว้เหมือนกัน คือทำบ่อยๆ สืบต่อไว้ในเรื่องนั้นตลอดเวลา จนมันมีความแคล่วคล่อง เขาเรียกว่า วสี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วสี แปลว่า แคล่วคล่องว่องไวในการปฏิบัติ จะทำอะไรทำได้ทันที จะทำให้เกิดสมาธิทำได้ทันที ทำให้เกิดนั้นเกิดนี่ทำได้ เรียกว่า มีวสี แคล่วคล่องว่องไวในการทำ ก็ต้องทำบ่อยๆ เรียกว่าเพียรรักษาทั้งนั้น

สภาพจิตใจของเราก็เหมือนกัน เช่น ทำกุศลให้เกิดแล้ว ทำสมาธิให้เกิดแล้ว ทำปัญญาให้เกิดแล้ว ต้องฝึกให้มีสติแคล่วคล่องว่องไว แล้วก็ต้องทำบ่อยๆ มันก็เกิดความเคยชินในการกระทำอย่างนั้น พอนึกปุ๊บมีได้ มาได้ ทันที เรื่องมันจึงจำเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เรียกว่า เป็นความเพียรที่สำคัญที่เราต้องใช้ในชีวิตหน้าที่การงานทุกอย่าง ทำอะไรทุกอย่าง แม้เรียนหนังสือ มันต้องมีไอ้นี่เข้าไปช่วย ต้องตั้งใจเรียน ต้องตั้งใจจดจำ แล้วต้องนึกถึงไว้บ่อยๆ มันก็แคล่วคล่องว่องไว สิ่งทั้งหลายมันก็ดีขึ้น เรียกว่า ปธาน ๔ เป็นสิ่งที่ควรจำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2018, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปธาน ๔ จบ จากหนังสือนี้ http://g-picture2.wunjun.com/6/full/cbe ... s=614x1024 หน้า ๓๙๕

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2021, 09:32 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร