วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 21:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 27.39 KiB | เปิดดู 5274 ครั้ง ]
ปัจจุบันแบ่งได้ ๓ อย่าง
๑. ขณะปัจจุบัน หรือปัจจุบันขณะโดยนับตั้งแต่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป( อุปาทะ ฐิติ ภังคะ)
๒. สันตติปัจจุบัน คือ ปัจจุบันที่มีการสืบต่อที่นับเข้าในวาระต่อเนื่องเพียงหนึ่งหรือสองวาระ
๓. อัทธาปัจจุบัน คือ ปัจจุบันที่กำหนดนับตั้งแต่ ปฏิสนธิ ถึง จุติ หมายถึงภพหนึ่งๆ

สันตติ แปลว่า การสืบต่อ หมายถึง การเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของธรรมชนิดเดียวกัน
และยังแบ่งได้ ๒ อย่าง คือ รูปสันตติ (การสืบต่อของรูป) นามสันตติ (การสืบต่อของนาม)
การสืบต่อของรูปนามจะไม่ค่อยปรากฏชัด เหมือนคนที่เดินทางไกลพอเข้าร่มไม้ใหม่ๆ
ก็ยังปรากฏว่ายังมีความร้อนจากแสงแดดอยู่ เหมือนคนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้นวมเมื่อเขาลุกไปใหม่ๆ
เราเข้าไปนั่งแทนที่เราจะรู้สึกได้ว่าเก้าอี้นั้นนั้นยังอุ่นๆอยู่ ก็เพราะการสืบต่อของความร้อน
ของอีกคนไปสู่อีกคน

อัทธาปัจจุบัน หมายถึง ปัจจุบันที่เกิดเป็นมนุษย์จนถึงตายจากเป็นมนุษย์ คือชาติหนึ่งๆ
โดยในระหว่างทางที่เป็นมนุษย์จะไม่เปลี่ยนแปลงเป็นชาติอย่างอื่นๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2015, 04:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
อนุโมทนากับการยกกระทู้เรื่องที่สำคัญมากและเป็นหลักในการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ลุงหมานยกขึ้นมาสนทนา ครับ

ปัจจุบัน เป็นสมมุติบัญญัติเรื่องของกาละเวลา

ปัจจุบัน อยู่กึ่งกลางระหว่าง อดีต กับ อนาคต

จะกำหนดให้กว้างหรือแคบได้ตามคุณศัพท์ที่มาขยายเช่น

ปัจจุบันชาติ

ปีปัจจุบัน

เดือนปัจจุบัน

วันปัจจุบัน

นาทีปัจจุบัน

วินาทีปัจจุบัน

ปัจจุบันขณะ

ปัจจุบันอารมณ์

กรรมหรือการกระทำทุกชนิดจะมีผลเมื่อกระทำที่ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์

ดังนั้นการปฏิบัติธรรมต้องทำที่ปัจจุบันอารมณ์ ยึดปัจจุบันอารม์เป็นหลักสำคัญจึงจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์โลกไปสู่ทิศทางต่างๆได้


"ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง"

การสำรวมกายใจมานิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์ จึงเป็นหนึ่งในวิธีการปฏิบัติธรรม ซึ่งมีหลักฐานยึดโยงมาจาก ภัทเทกรัตคาถาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

"ปัจจุปันนัญจะ โยธัมมัง อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตังวิทธามนุพรูหเย"

"ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่น คลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้"

เป็นการบอกกรรมฐานสั้นๆเพียงครั้งเดียว คาถาเดียวเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าของปัจจุบัน ที่ค้นพบได้ในคัมภีร์[/size]
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2015, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 27.39 KiB | เปิดดู 5274 ครั้ง ]
มีการพูดกันมากว่าเห็นการเกิดดับขณะปัจจุบัน แต่ไม่ทราบว่าท่านกำหนดปัจจุบันกันตรงไหน
เห็น ขณะจิต เห็นสันตติ เห็นอัทธา กันแน่ แต่ที่แน่ๆส่วนมากก็คือเห็นอัทธากันทั้งนั้น
แต่ถ้าผู้ที่เห็นขณะปัจจุบันย่อมน้อมไปสู่ทางบรรลุธรรมแน่นอนเพียงแต่ช้าหรือเร็ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2015, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในอัทธาสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
กาล (เวลา) ชื่อว่าอัทธา. ในคำว่า อตีโต อทฺธา เป็นต้นมีบรรยายไว้ ๒ อย่าง
คือบรรยายตามพระสูตร ๑ บรรยายตามพระอภิธรรม ๑.
ในบรรยาย ๒ อย่างนั้น โดยการบรรยายตามพระสูตร เวลาก่อนแต่ปฏิสนธิกาล ชื่อว่าอดีตอัทธา.
เวลาหลังจากจุติ ชื่อว่าอนาคตอัทธา. เวลาในระหว่างแห่งปฏิสนธิกับจุติ รวมทั้งจุติและปฏิสนธิ
ชื่อว่าปัจจุบันนัทธา.
โดยการบรรยายตามพระอภิธรรม เวลาที่ดับไปแล้วตามธรรมดา เพราะผ่านขณะทั้ง ๓ เหล่านี้
คือ อุปปาทักขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะไป ชื่อว่าอตีตอัทธา. เวลาที่ยังไม่ถึงขณะแม้ทั้ง ๓ ชื่อว่าอนาคต
อัทธา. เวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วยขณะทั้ง ๓ ชื่อว่าปัจจุบันนัทธา.
อีกนัยหนึ่ง ก็การจำแนกกาลมีอดีตเป็นต้นนี้ พึงทราบว่ามี ๔ อย่างด้วยสามารถแห่งอัทธา ๑
สันตติ ๑ สมัย ๑ ขณะ ๑. บรรดา ๔ อย่างนั้น การจำแนกโดยอัทธาได้กล่าวมาแล้วด้วยอำนาจแห่งสันตติ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=25&i=241

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 06:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
มีการพูดกันมากว่าเห็นการเกิดดับขณะปัจจุบัน แต่ไม่ทราบว่าท่านกำหนดปัจจุบันกันตรงไหน
เห็น ขณะจิต เห็นสันตติ เห็นอัทธา กันแน่ แต่ที่แน่ๆส่วนมากก็คือเห็นอัทธากันทั้งนั้น
แต่ถ้าผู้ที่เห็นขณะปัจจุบันย่อมน้อมไปสู่ทางบรรลุธรรมแน่นอนเพียงแต่ช้าหรือเร็ว

onion
ในการลงมือปฏิบัติภาวนาจริงๆ ปัจจุบันที่พึงสนใจและใส่ใจคือ

ปัจจุบันขณะกับ
ปัจจุบันสันตติ

เพราะ
ถ้าเราเอาจิตมาเรียงกันเป็นดวงๆเหมือนเอาลูกฟุตบอลมาเรียงต่อกัน
OOOOOOOOOOOOOOOOO
สมมุติ ฟุตบอลลูกแรกเป็นปัจจุบันอารมณ์
ลูกที่ 2 จะต้องเป็น สติ
ลูกที่ 3 จะต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ดู เห็นและรู้อารมณ์
ลูกที่ 4 จะต้องเป็นสัมมาสังกัปปะ สังเกตอารมณ์

ลูกที่ 5 จะเป็นอุเบกขา ทรงอยู่ รู้เห็นบอลสี่ลูกแรกเขาเปลี่ยนแปลงไปมาจนหมดกำลังของเหตุและปัจจัย

อย่างนี้จะเป็นลักณะของการเจริญวิปัสสนาภาวนา


ถ้าสติหลุด บอลลูกอื่นกลุ่มอื่นจะเข้ามาแทรกตามด้วยบอลของกลุ่มนั้นๆเป็นพรวน จนกว่า บอลลูกสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมจะเกิดขึ้นมาขวาง ให้บอลสติกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งต่อถัดจากบอลลูกปัจจุบันอารมณ์ครบ 5 ลูก รักษาระดับ 5 ลูกไว้ได้ดีเหมือนเดิม

กิเลส ตัณหา อนุสัยทั้งหลายจะถูกถอนทิ้งด้วยบอล 5 ลูกนี้

onion
:b36:
:b37:
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
มีการพูดกันมากว่าเห็นการเกิดดับขณะปัจจุบัน แต่ไม่ทราบว่าท่านกำหนดปัจจุบันกันตรงไหน
เห็น ขณะจิต เห็นสันตติ เห็นอัทธา กันแน่ แต่ที่แน่ๆส่วนมากก็คือเห็นอัทธากันทั้งนั้น
แต่ถ้าผู้ที่เห็นขณะปัจจุบันย่อมน้อมไปสู่ทางบรรลุธรรมแน่นอนเพียงแต่ช้าหรือเร็ว

onion
ในการลงมือปฏิบัติภาวนาจริงๆ ปัจจุบันที่พึงสนใจและใส่ใจคือ

ปัจจุบันขณะกับ
ปัจจุบันสันตติ

เพราะ
ถ้าเราเอาจิตมาเรียงกันเป็นดวงๆเหมือนเอาลูกฟุตบอลมาเรียงต่อกัน
OOOOOOOOOOOOOOOOO
สมมุติ ฟุตบอลลูกแรกเป็นปัจจุบันอารมณ์
ลูกที่ 2 จะต้องเป็น สติ
ลูกที่ 3 จะต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ดู เห็นและรู้อารมณ์
ลูกที่ 4 จะต้องเป็นสัมมาสังกัปปะ สังเกตอารมณ์

ลูกที่ 5 จะเป็นอุเบกขา ทรงอยู่ รู้เห็นบอลสี่ลูกแรกเขาเปลี่ยนแปลงไปมาจนหมดกำลังของเหตุและปัจจัย

อย่างนี้จะเป็นลักณะของการเจริญวิปัสสนาภาวนา


ถ้าสติหลุด บอลลูกอื่นกลุ่มอื่นจะเข้ามาแทรกตามด้วยบอลของกลุ่มนั้นๆเป็นพรวน จนกว่า บอลลูกสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมจะเกิดขึ้นมาขวาง ให้บอลสติกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งต่อถัดจากบอลลูกปัจจุบันอารมณ์ครบ 5 ลูก รักษาระดับ 5 ลูกไว้ได้ดีเหมือนเดิม

กิเลส ตัณหา อนุสัยทั้งหลายจะถูกถอนทิ้งด้วยบอล 5 ลูกนี้

onion
:b36:
:b37:
:b38:

อโสกะเข้าใจเรื่องอารมณ์ผิดแล้วหละ ไปเอาสังขารธรรมที่เกิดกับจิตเอามาพูดคุย
อารมณ์คือจิตและสังขารธรรมเข้าไปรับรู้ต่างหาก เช่น สี ปรากฏขึ้นที่ตา เสียง ปรากฎขึ้นที่หู เป็นต้น
เมื่อ สี มาสัมผัสกับตา จิต ก็ไปเกิดขึ้นที่ตาเพื่อรับรู้สี เสียง มาสัมผัสกับหู จิตก็ไปเกิดที่หูเพื่อรับรู้เสียง
สี กับ เสียง จึงเป็นอารมณ์ใหกับจิต และการที่เอาลูกกลมๆมาเรียงให้ดูก็เพื่อจะให้รู้ว่า อารมณ์ปัจจุบัน
เป็นอย่างไร สันตติอารมณ์ เกิดอย่างไร เพื่อให้เห็นภาพเท่านั้นไม่ได้ให้เข้าไปยึดถือว่ามัน
จะต้องเป็นแถวเป็นแนวแบบนี้อย่างนี้

ต้องอธิบายใหม่แล้วหละธรรมดาจิตนั้นมีดวงเดียวเพราะจิตมีการเกิดดับเสมอ จิตดวงเก่าดับไป
จิตดวงใหม่จึงเกิดขึ้นได้ ที่ทำเป็นดวงๆหลายดวงนั้นก็เพื่อว่าจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเหมือนว่า
เกิดกันเป็นแถว อโสกะจะมายกเอาอย่างนี้ไม่ได้ การเกิดดับของจิตดวงหนึ่งๆเรียกว่าปัจจุบันอารมณ์
เป็นการเกิดเกิดดับที่เร็วมากรู้ได้ยาก และการเกิดดับที่เร็วมากนี้แหละดูเหมือนว่าจะเป็นการสืบต่อ
เป็นแถวเป็นแนวโดยไม่มีการขาดสาย เหมือนกับไฟในแสงเทียนที่เราเห็นนั่นก็หมายถึงการเกิดดับ
ที่สืบต่อกันโดยเป็นสันตติ โดยความเป็นจริงแล้วไฟในเสียงเทียนก็มีการเกิดดับที่เร็วมากเช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 11:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44:
จิตมีดวงเดียว แต่เกิด ดับ ด้วยความเร็ว 1 เติมด้วย 0 จำนวน 22 ตัว ครั้ง ต่อวินาที(ประมาณเท่าความเร็วของแสง) มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวที่จะนับอ่านได้ทัน

อารมณ์ คือสิ่งที่มาย้อมจิตให้เป็นไปและเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อต่างๆ

จิตตามอภิธรรมาเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจสำหรับปุถุชน

แต่เพื่อจะให้เข้าใจง่ายฟังกันพอรู้เรื่องจึงนำเอาจิตที่ถูกย่อมแล้วแต่ละดวงที่เกิดดับ เปลี่ยนแปลงไป มาเรียงต่อกันเหมือนลูกบอล 5 ลูกดังที่ยกมากล่าวโดยเรียงตามลำดับที่พึงจะเกิดตามธรรมชาติธรรมดาที่พอจะรู้และบอกได้ด้วยภาษาธรรมดาๆ เช่น ตาเห็นรูป สติรู้ทัน วิญญาณรู้รูป ปัญญาเห็นและสังเกตรูป ค้นหาคำตอบ สัญญาจำหมายรูป เวทนาตอบโต้รูป ตัณหา อุปาทาน ภว ชาติเกิด มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมเกิด ...เป็นจิตหรือกลุ่มของจิตเรียงลำดับกันปรุงแต่งกันเกิดขึ้นเป็นเรื่องเป็นราวจนจบ

ผมลำดับผิดถูกอย่างไรตามสภาวที่เกิดจริงๆ ลุงหมานช่วยวิจารณ์ ชี้แนะเพิ่มเติมอีกนะครับ

s004
ประเด็นคือ จะนำเริ่องราวอันละเอียดอ่อนเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติจริงเพื่อทำตนให้พ้นเหตุทุกข์เข้าถึงผลสุข คือพระนิพพานได้อย่างไรในภาษาและคำอธิบายง่ายๆ นั่นเป็นสำคัญ
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




catsCAON0GQ8.jpg
catsCAON0GQ8.jpg [ 41.62 KiB | เปิดดู 5198 ครั้ง ]
cats.jpg
cats.jpg [ 31.02 KiB | เปิดดู 5195 ครั้ง ]
ที่พูดมานั้นพูดไม่ถูกเลย จิตแต่ละดวงมีเจตสิกประมากน้อยไม่เท่ากัน ตามแต่เจตสิกที่ประกอบ
เช่นโลภะดวงที่ ๑ มีเจตสิก ๑๙ ดวง ดวงที่ ๒ มีเจตสิก ๒๑ ดวง

โลภะดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดังนี็
๑. ผัสสะ ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. เจตนา ๕. เอกัคคตา ๖. ชีวิตินทรีย์ ๗. มนสิการ
๘. วิตก ๙. วิจาร ๑๐. อธิโมกข์ ๑๑. วิริยะ ๑๒. ปิติ ๑๓. ฉันทะ
๑๔. โมหะ ๑๕. อหิริกะ ๑๖. อโนตตัปปะ ๑๗. อุทธัจจะ
๑๘. โลภะ ๑๙. ทิฎฐิ

โลภะดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวงดังนี้
๑. ผัสสะ ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. เจตนา ๕. เอกัคคตา ๖. ชีวิตินทรีย์ ๗. มนสิการ
๘. วิตก ๙. วิจาร ๑๐. อธิโมกข์ ๑๑. วิริยะ ๑๒. ปิติ ๑๓. ฉันทะ
๑๔. โมหะ ๑๕. อหิริกะ ๑๖. อโนตตัปปะ ๑๗. อุทธัจจะ
๑๘. โลภะ ๑๙. ทิฎฐิ ๒๐. ถีนะ ๒๑. มิทธะ

จิตดวงหนึ่งๆ เหมือนมีโรงงานอยู่โรงหนึ่ง ทุกคนทำหน้าที่ ทำงานอยู่ในโรงงานโรงหนึ่งดูภาพในวงกลมสีเหลือง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
ผมเข้าใจผิดหรือลุงหมานเข้าใจผิดก็ยังไม่ทราบนะครับ

จิต 1 ดวงถูกย้อมด้วยเจตสิก 1 อย่าง เจตสิก 19 ย่างก็เกิดกับจิต 19 ดวง แต่มันเกิดดับเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนเหมือนเป็นจิตดวงเดียวมีเจตสิกเกิดขึ้นมาย้อมตั้ง 19 อย่าง

ถ้าไม่เกิด ดับทีละดวง หรือเจตสิกประกอบจิตดวงละอย่าง การเจริญสติให้ทันปัจจุบันอารมณ์ก็ดูจะทำได้ยากจริงๆ เพราะ ตัวอย่างจิตดวงเดียวที่ลุงหมานยกมาว่ามีเจตสิกเกิดขี้นพร้อมกันในนั้นตั้ง 19 อย่าง สตินทรีย์เจตสิกจะทำงานยังไง โดยมีปัญญินทรีย์และสมาธินทรีย์มาตามสนับสนุน

s004 s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตดวงที่ ๑ เป็น โสมมนัสสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกกัง
จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับความดีใจประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน
จิตดวงนี้เป็นอกุศลจิต จึงไม่มีสตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ เอาไว้พรุ่งนี้จะอธิบายให้ดู

จิตที่เป็นมหากุศลจิตมีเจตสิกประกอบร่วมถึง ๓๘ ดวง จึงจะมีสตินทรีย์ ปัญญินทรีย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2015, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 36.08 KiB | เปิดดู 5165 ครั้ง ]
มหากุศลจิตดวงที่ ๑ และที่ ๒ มีเจตสิกเกิดร่วมกับจิต ๓๘ ดวงดังที่ยกมาในภาพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2015, 08:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s006
ลุงหมานครับ ผมสงสัยว่าจิต 1 ดวงจะมีเจตสิกเกิดพร้อมหรือย้อมจิตได้ครั้งละ 1 ดวงเท่านั้น แต่จิตแต่ละดวงมันเกิดดับเร็วมาก จนดูเหมือนจิตที่เกิดขึ้นดวงเดียวนั้นมีเจตสิกเกิดขึ้นมาประกอบได้ตั้งหลายสิบดวงอย่างภาพที่หลุงหมานยกมา

เช่นจิตดวงที่ 1 เกิด มีวิญาณเกิดขึ้นรู้ ดับไป
มีจิตดวงที่ 2 พร้อมสตินทรีย์เจตสิกรู้ทัน ดับไป
จิตดวงที่ 3 เกิดมีปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาทิฏฐิ)เกิดขึ้น ดู เห็น รู้ ดับไป
จิตดวงที่ 3 มีปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาสังกัปปะ)เกิดขึ้นสังเกต พิจารณาอารมณ์ ดับไป
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s006
ลุงหมานครับ ผมสงสัยว่าจิต 1 ดวงจะมีเจตสิกเกิดพร้อมหรือย้อมจิตได้ครั้งละ 1 ดวงเท่านั้น แต่จิตแต่ละดวงมันเกิดดับเร็วมาก จนดูเหมือนจิตที่เกิดขึ้นดวงเดียวนั้นมีเจตสิกเกิดขึ้นมาประกอบได้ตั้งหลายสิบดวงอย่างภาพที่หลุงหมานยกมา

เช่นจิตดวงที่ 1 เกิด มีวิญาณเกิดขึ้นรู้ ดับไป
มีจิตดวงที่ 2 พร้อมสตินทรีย์เจตสิกรู้ทัน ดับไป
จิตดวงที่ 3 เกิดมีปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาทิฏฐิ)เกิดขึ้น ดู เห็น รู้ ดับไป
จิตดวงที่ 3 มีปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาสังกัปปะ)เกิดขึ้นสังเกต พิจารณาอารมณ์ ดับไป
s004


ที่ว่าสงสัยนั้นน่ะมันไม่ใช่สงสัยนะครับ แต่มันเป็นความเห็นส่วนตัว
แต่มันไม่ไปตามหลักเกณที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

จิตเกิดขึ้นแล้วดับอย่างรวดเร็วก็จริง แต่เป็นการเกิดดับที่สืบต่อเนื่องกันไป
เช่นว่า จิตเกิดรู้เห็นรูปแล้วดับไปอย่างรวดเร็วเราก็จะไม่รู้เรื่องราวที่เห็นเลยเพราะมันดับแล้ว
การที่เรารู้เรื่องราวในการเห็นนั้นได้ก็โดยอาศัยการเกิดดับที่สืบต่อกัน จนสิ้นสุดวิถีของจิต
หรือเหมือนหนึ่งว่าขณะที่เราดีใจหรือโกรธทำไมมันจึงดีใจอยู่ได้นานหรือโกรธอยู่ได้นานๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
ว่าด้วยผัสสะ

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ




ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น,
อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น,
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น,
อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น,
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น,
และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ;
ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น
ชื่อว่า ผัสสะ.


เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่,


อนุสัยคือราคะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก
ย่อมระทมใจ
คร่ำครวญ
ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่,

อนุสัยคือปฏิฆะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย,

อนุสัยคืออวิชชา
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.







ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ :
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



– อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ

ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ




http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร