วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2018, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้น ระวังที่สุดเลยเรื่องนี้ ไม่ให้ข้าวตกลงนอกบาตร หรือแม้ลงในบาตร แต่ว่าต้องทำคำข้าวให้เรียบร้อย ถ้าทำตามแบบนี้แล้ว พระฉันข้าวเรียบร้อยมาก อิริยาบถเรียบร้อยน่าดูน่าชมมากทีเดียว

เราจักไม่แลบลิ้น, แลบลิ้นออกมาเลียอะไรต่ออะไร

ไม่ฉันดังจั้บๆ, ฉันดังไม่ได้ แต่ว่าแขกอินเดียชอบ ถ้ามีคนมาทานข้าวที่บ้านต้องกินให้ดังจั้บๆ เจ้าของบ้านดีใจ พอใจว่าแหมอร่อย พระพุทธเจ้าท่านเห็นว่า ไม่เข้าท่าเลย ทรงเปลี่ยนว่าพระเราอย่าฉันอร่อยเลย ฉันอย่าให้ดังจั้บๆ อย่างชาวบ้าน ท่านห้าม แขกชอบอย่างนั้น

เราจัดไม่ฉันดังซูดๆ, ที่ดังเช่นนั้นเพราะซดน้ำแกง

จักไม่ฉันเลียมือ, เลียช้อนก็ไม่ได้ ส้อมก็เลียไม่ได้

จักไม่ฉันขอดบาตร, คือคำข้าวที่มันติดบาตร แล้วจะไปขอดให้มันมีเสียงดัง เอาแต่พอสมควร

จักไม่ฉันเลียริมฝีปาก, จักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ, ต้องจับด้วยมือที่ไม่เปื้อน

เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทในบ้าน, หมายถึงเวลาไปฉันในบ้าน ไม่ให้ล้างบาตรในบ้าน เอาไปล้างที่วัด ไปล้างแล้วเทเพ่นพ่านไม่ได้ เสียหาย ห้าม เรื่องนี้ห้าม ฟังดูแล้วก็เป็นระเบียบที่ดีเหลือเกิน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ หมวดต่อไป เกี่ยวกับธัมมเทศนาปฏิสังยุต เรื่องเทศน์ ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าจะไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้มีร่มในมือ คนกางร่มต้องเป็นคนป่วยถึงจะแสดงธรรมะกันได้ ถ้าไม่ใช่คนป่วยไม่ให้ถือร่ม เพราะว่าไม่แสดงความเคารพ

มีไม้พลอง มีศาสตรา มีอาวุธ สวมรองเท้า อยู่บนที่นอน ไปในยาน นอนฟัง นั่งรัดเข่า ผ้าโพกหัว คลุมหัว, ไม่ป่วยไม่ได้

เรานั่งบนแผ่นดิน เราไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้, นั่งบนอาสนะ ผู้ฟังธรรมกับผู้สอนธรรมต้องนั่งผิดกัน นี่เป็นเรื่องความเคารพ

เรานั่งอาสนะต่ำไม่แสดงธรรมแก่คนที่นั่งอาสนะสูง, ไม่เคารพ

ยืนอยู่ไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่, ข้อนี้ที่เขาติหลวงพ่ออยู่ บอกว่ายืนปาฐกถามันผิดข้อนี้ แต่ว่าเรื่องนี้ สังคมพอใจ เลยกลายเป็นเรื่องไม่ผิดไป นี่มันเรื่องเล็กน้อย

เราเดินไปข้างหลังจะแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ซึ่งเดินไปข้างหน้า,

เราเดินไปนอกทาง อีกคนเดินไปในเส้นทาง, เรียกว่าเราเดินอยู่ในรก อีกคนเดินอยู่ในที่เตียน ไม่ให้แสดงธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๔ ปกิณกะ มี ๓ ข้อ เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, ยืนถ่ายไม่ได้ ถ้าเราไปในที่บางแห่งมันไม่มีที่นั่งถ่าย เช่น ส้วมปัสสาวะที่ยืนถ่าย เราจะไปนั่งถ่ายก็ลำบาก อย่างนี้ ต้องให้อภัย ต้องดูกาลเทศะ ถ้าหากว่าหลีกเลี่ยงได้ก็ให้เข้าไปในห้องน้ำที่ถ่ายอุจจาระ เราก็เข้าไปถ่ายปัสสาวะในนั้น เช่น ดอนเมือง ยืนเรียงกันเป็นแถว เราจะไปยืนอย่างนั้นก็ไม่เหมาะ เข้าไปเสียในห้องน้ำ เข้าไปในห้องแล้ว จะไปยืนก็ไม่ว่าคนเขาไม่เห็น แต่ว่ายืนอย่างแรกนั้นไม่เหมาะ

เราไม่เห็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงบนของเขียว, คือไม่รดหญ้า ไม่เยี่ยวรดหญ้า ไม่ขี้รดหญ้า ไม่ถ่มน้ำลายรดหญ้า ทำให้หญ้าเสียหาย

เราไม่เห็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในน้ำ, นี่เรื่องกันเชื้อโรคไม่ให้กระจาย ให้ถ่ายเป็นที่เป็นทาง บ้วนเป็นที่เป็นทาง


พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติสิ่งเหล่านี้ไว้ ที่เป็นเรื่องเล็กน้อยเป็นอาบัติทุกกฎ ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่ว่าคนมองเห็น เรื่องใดที่คนมองเห็นต้องระวังมากปฏิบัติต้องระวัง ไปไหนก็ต้องระวัง การนั่ง การยืน การนุ่งห่ม การพูด กิริยาท่าทางให้อยู่ในลักษณะสำรวมตลอดเวลา จึงจะเป็นพระที่น่ากราบไหว้ นี่คือสำรวมในพระปาฏิโมกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่ ๒ สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า อินทรีย์

คำว่า “อินทรีย์” นี้แปลว่า เป็นใหญ่ในหน้าที่ ตาเป็นใหญ่ ในเรื่องดู หูเป็นใหญ่ ในเรื่องฟัง จมูกเป็นใหญ่ ในเรื่องกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ ในเรื่องรส กายเป็นใหญ่ ในเรื่องโผฏฐัพพะ หมายความว่า สิ่งที่กระทบกายประสาท ใจก็เป็นใหญ่ ในเรื่องคิด แทนกันไม่ได้ เช่น จมูกไปแทนตานี่ไม่ได้ หรือเอาไปแทนลิ้นชิมน้ำแกงดูก็ไม่ได้ เกิดเรื่อง มันใหญ่ในหน้าที่ของมัน ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ ตาเป็นอินทรีย์หนึ่ง หูเป็นอินทรีย์ จมูกเป็นอินทรีย์ ฯลฯ ทีนี้ ท่านสอนว่าให้สำรวม

บรรดากิเลสที่จะเกิดขึ้นในใจนั้น เพราะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นผู้รับรู้ทีหลัง เอาแต่เพียง ๕ อย่าง ๕ อย่างนี้ เรียกว่า “ทวาร” จักขุทวาร คือ ตา ประตูตา
โสตะทวาร คือ หู ประตูหู
ฆานะทวาร ประตู จมูก
ชิวหาทวาร ประตู ลิ้น
กายทวาร ประตู กาย เรียกว่า เป็นทวารประตู ประตูแห่งอะไร ประตูแห่งสิ่งที่มากระทบ สิ่งที่มากระทบ เขาเรียก อารมณ์ ภาษาพระเรียกอารมณ์

สิ่งที่มากระทบตาคือรูป เรียกว่า รูปารมณ์
กระทบหูคือเสียง เรียกว่า สัททารมณ์
กระทบจมูกคือกลิ่น เรียกว่า คันธารมณ์
กระทบลิ้นคือรส เรียกว่า รสารมณ์
กระทบกายคือสิ่งที่มาสัมผัสทางกาย เรียกว่า โผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์ทั้ง ๕ มากระทบ กระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อมันมากระทบแล้ว เกิดอะไรขึ้น ตาอยู่เฉยๆ ไม่มีเรื่องอะไร มันก็เป็นตาเฉยๆ ถ้ามีรูปมากระทบ มันเป็น อายตนะ เรียกว่า อายตนะ อีกชื่อหนึ่ง เรียกว่า เครื่องต่อ ตามันต่อกับรูป พอต่อเข้ากับรูปเกิดเป็นอายตนะเครื่องต่อกับรูป
หูต่อกับเสียง
จมูกต่อกับกลิ่น
ลิ้นต่อกับรส
กายต่อกับสิ่งที่กระทบร่างกาย
เมื่อต่อกันเข้ามันก็เกิดเรื่อง เหมือนไฟฟ้า ถ้าใครจับเข้าก็เกิดเรื่อง เอาหลอดใส่เข้าไปก็มีแสง ถ้าใครเหยียบเข้าก็เกิดเรื่อง
ตาก็เหมือนกัน ไปต่อกับรูปก็มีเรื่อง คือเกิดความรู้ทางตา เขาเรียกว่า วิญญาณ เรียกว่า จักขุวิญญาณ
พอเกิดความรู้ทางตา มีตา มีรูป มีความรู้ทางตา ๓ อย่างนี้มารวมกันเข้า เรียกว่า Contact คือ สัมผัส

พอเกิดสัมผัสขึ้นมาก็เกิด เวทนา เวทนาคือความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
ถ้าสิ่งที่มากระทบนั้นพอใจ-สุข ไม่พอใจ-ทุกข์ พอใจ-ยินดี ไม่พอใจ-ยินร้าย
พอใจ – อยากได้ ไม่พอใจ – อยากผลักออกไป

มนุษย์เราที่อยู่ทุกวันนี้ มันอยู่กับเรื่องนี้ เรื่อง ดึงเข้ามา ดันออกไป

สิ่งใดพอใจดึงเข้ามา สิ่งใดไม่พอใจดันออกไป

การดึง กับ ผลัก ต้องใช้แรงงานจึงยุ่ง ยุ่งทั้งสองอย่าง ยินดีก็ยุ่ง ยินร้ายก็ยุ่ง

ฉะนั้น การสำรวมท่านสอนให้สำรวมว่า ไม่ยินดียินร้าย

แต่การสำรวมมันยากสำหรับผู้ใหม่ ฉะนั้น อย่าดูเสียเลยเป็นดี

สำรวมตา คือว่าอย่าไปดู เดินก้มหน้าเสีย อย่าเที่ยวมองไกล มองไกลๆ แล้วเห็นอะไรมากมันยุ่ง นี่เรียกว่า สำรวมตา
สำรวมหู คือว่าอย่าไปใกล้เสียงที่มันยั่วอารมณ์ เช่น เสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงยั่วยุประเภทต่างๆ เราอย่าไปฟัง เพราะฉะนั้น จึงไม่ให้ฟังดนตรีดีดสีตีเป่า

ที่เรารับศีลว่า นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสนสนา
นัจจะ การฟ้อน คีตะ การขับ ทัสสนา การแสดงประเภทต่างๆ แสดงเองก็ไม่ได้ ฟ้อนเองก็ไม่ได้ ไปดูเขาฟ้อนก็ไม่ได้ ร้องรำเองก็ไม่ได้ ไปดูก็ไม่ได้ เพราะอะไร ?

เพราะสิ่งเหล่านั้น เป็นที่ตั้งให้เกิดความรัก เป็นเหตุให้เกิดราคะ เกิดความกำหนัด เกิดความเพลิดเพลิน เกิดความยินดี เกิดความมัวเมา มันยุ่ง เพราะฉะนั้น ต้องระวังตนไม่เข้าใกล้ อันนี้เป็นเบื้องต้น คือว่าเก็บตัวห่างจากสิ่งเหล่านั้น เราไม่เข้าไปใกล้ เราไม่ฟังเสียงดนตรี ไม่เข้าไปใกล้อารมณ์ สิ่งที่จะได้เห็นที่ทำให้ยั่ว เราไม่ดู หลบตาลงต่ำเสีย สมมติว่า เราไปเห็นก็หลบตาเสีย อย่าไปดูนานๆ ดูแพลบเดียวเราก็หลบเสีย มันไม่กระทบกระเทือน แต่พอเห็นแล้วดูใหญ่เลย ดูจนติดหูติดตามันก็ยุ่ง ไม่สำรวม ต้องสำรวมอย่างนั้น แล้วจะไม่ยุ่ง

แต่ว่าสูงไปกว่านั้น ต้องสำรวมที่ใจ ต้องคุมจิตของตัว ที่เราไปทำกัมมัฏฐาน นั่นแหละคือวิธีการระวังสำรวม ให้เฝ้าดูใจของตัว คอยคุมไว้อย่าให้ใจฟุ้งซ่าน นึกอะไรก็ให้รู้ไว้ นี่เรียกว่า อินทรีย์สังวร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่ ๓ การไม่เป็นคนเอิกเกริกเฮฮา เรื่องเฮฮานะเป็นเรื่องของชาวบ้าน ไม่ใช่เรื่องของพระเรา
ไม่เอิกเกริกน่ะทำอย่างไร ? คือ ไม่มั่วสุม ไม่ชุมนุมกันบ่อยๆ ไม่มานั่งประชุมกัน ตั้งแต่ ๒-๓ รูปขึ้นไป เขาเรียกว่าประชุมกันแล้วละ พอประชุมแล้ว เรื่องมันมาก ไม่ใช่เรื่องพระอะไรดอก เรื่องชาวบ้าน เรื่องเก่าเรื่องแต่ผจญภัยกันอยู่ข้างนอก มาเล่าสู่กันฟัง เรื่องมันไปกันใหญ่ เรื่องมันยุ่งยาก เรียกว่าเฮฮากัน สนุกนาน เบิกบานใจ ควรจะหลีกเลี่ยงจากอาการเช่นนั้น คือว่าพอไปนั่งคุยอะไรกัน พอเห็นว่าจะยุ่งแล้วให้รีบลุกขึ้น รีบไปเสีย ไม่ยอมเอิกเกริกเฮฮามากไปในเรื่องเช่นนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่ ๔ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด หมายความว่าอยู่ในที่ของตัว ถ้าเราอยู่กัน ๒ คนล่ะจะทำอย่างไร ก็ต่างคนต่างอยู่ เราไม่คุยกัน คุยกันเป็นเวลา บางเวลาเราก็นั่งเฉยหันหน้าเข้าฝา ต่างคนต่างหันหน้าเข้าฝา หันหลังให้กัน เวลามีก็อ่านหนังสือ
พอหันหน้ามาเจอกัน ค่อยๆคุยถกเถียงกันเรื่องธรรมะไม่เป็นไร ท่านว่าไว้อย่างนี้ นั่งอยู่ในหมู่คนมาก แต่นั่งด้วยเจริญกัมมัฏฐาน เหมือนหนึ่งนั่งอยู่ด้วยตัวคนเดียว นั่งอยู่คนเดียว ใจฟุ้งซ่านเหมือนนั่งอยู่ในหมู่คนมาก เพราะฉะนั้น อยู่คนเดียวเขาให้ระวังความคิด ระวังจิตของตัวมันจะเล่นจะต้มยำเราได้ง่าย เราจึงต้องระวัง ไม่เอิกเกริก
ตรงไหนเขาเอิกเกริกเฮฮาเราอย่าไป ถ้าเรา บวชใหม่คล้ายๆกับหญิงสาว ต้องระวังเนื้อระวังตัว ไม่คลุกคลีกับใครๆให้เกิดปัญหา ให้เกิดความวุ่นวาย แล้วไม่เก็บความวุ่นวายมาใส่ไว้ในใจ
เรื่องอะไรเกิดที่ไหน ทิ้งไว้ที่นั่น อย่าเก็บเรื่องมา ไอ้เรื่องเก็บเอาเรื่องมาคิดนี่มันวุ่นวาย จะเล่าให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง


มีพระเซ็นชาวญี่ปุ่น ๒ รูป เดินทางมาเจอผู้หญิงเข้าคนหนึ่ง ผู้หญิงแต่งกิโมโนสวยอย่างดี ตรงนั้น มันเป็นโคลน ผู้หญิงไปไม่ได้ รองเท้าเป็นรองเท้าไม้สูง ขืนเดินไปก็ติดโคลน ไม่รู้จะเดินไปอย่างไร
พระองค์หนึ่ง ไม่ลังเลเลย เดินไปถึงก็อุ้มแม่หญิงคนนั้นข้ามไป แล้วก็เดินเฉย ไม่พูดไม่จา เดินไป อุ้มแล้วไม่พูด วางแล้วก็ไม่พูด เฉย พอไปถึงวัด
พระอีกองค์หนึ่ง บอกว่าคุณทำไมทำอย่างนั้น ผมทำอะไร ก็ไปอุ้มหญิงเมื่อกี้นี้

พระองค์ที่อุ้มบอกว่า ผมอุ้มแล้ววางไว้ที่โน่น คุณเอามาด้วยหรือ หมายความว่าอย่างนั้น ผมว่าผมอุ้มแล้ววางไว้ที่โน่น คุณเอามาด้วยหรือ หมายความว่า เก็บอารมณ์มาด้วย แต่ผมวางไว้นานแล้ว ยึดถืออะไร ไปถึงก็ยกแล้วก็วางเฉย จิตไม่มีเจตนาอะไรนอกจากจะช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ เพราะโคลนตมเท่านั้นเอง วางเสร็จไม่ทันได้ดูหน้าด้วยซ้ำไป ไม่ได้พูดด้วย ไม่ได้ถามว่าเธอชื่ออะไร ไปไหนจ๊ะ สักคำหนึ่ง เดินไปเฉยๆ
แต่องค์นั้นเอามาด้วย คุณเอามาด้วย

นี่แหละเอามาด้วย เมื่อเห็นอะไรก็เอาติดมาด้วย พอไปบิณฑบาตเห็นอะไร แล้วเอามาคุยกัน เมื่อนั้นไปบ้านนั้น อย่างนั้นเชียว บ้านโน้นอย่างนี้ นี่เรียกว่า ไม่เข้าเรื่อง เที่ยวเก็บสิ่งไม่เข้าเรื่องเอามา มันยุ่งเรื่องอย่างนั้น แล้วคุยกันเอิกเกริกเฮฮา


ประการที่สี่ นี้ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด และบางเวลาเราปลีกตัวอยู่ที่สงัดได้ เรามีที่เยอะแยะพอนั่งที่สงัดได้ นั่งมองทุ่งกว้างๆ ทำสมาธิเข้า นั่งพิจารณาลมหายใจเข้าออก หรือมานั่งใต้ต้นไม้ กอไผ่ นั่งที่มันไม่วุ่นวาย ที่ไหนมันเงียบๆ เข้าไปในที่สงัด
เรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านแนะนำว่า ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นป่าไม้ เธอจงเข้าไปสู่ที่นั่น ดำรงสติให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก แล้ว นั่นแหละเรียกว่าเป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ทำให้เกิดพลังภายใน จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน เราควรจะสนใจเรื่องอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่ ๕ สุดท้าย มีความเห็นชอบ เห็นชอบอย่างน้อยๆ ก็เห็นว่า การบวชดี มีประโยชน์ การศึกษาดี มีประโยชน์ เป็นเรื่องที่ควรจะสนใจได้ศึกษา จะได้นำไปปฏิบัติ นี่แหละจะมีช่วงความเห็นอะไรสูงไปดีกว่านั้น เรื่องถูกเรื่องชอบ เราก็จะเอามาใช้ ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องออกไปนอกลู่นอกทาง เราก็ไม่เอา อย่างนี้เรียกว่ามีความเห็นชอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เรียกว่าองค์แห่งภิกษุใหม่ จะขอย้ำให้ฟังอีกทีหนึ่ง

๑. สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นขอที่พระพุทธเจ้าห้ามทั้งหมด ทำตามข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาต
๒. สำรวมอินทรีย์ คือระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายมาครอบงำ เช่น เมื่อตาเห็นรูป เป็นต้น
๓. ไม่เป็นคนเอิกเกริกเฮฮา
๔. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
๕. มีความเห็นชอบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เป็นองค์แห่งภิกษุใหม่ ขอให้นึกว่าเป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ แม้ว่าจะเป็นผู้บวชเก่า ถ้านึกว่าเราใหม่แล้ว ไม่เหลวไหล ถ้านึกว่าเราเก่าแล้วสนิมมันขึ้นทุกที นึกว่าใหม่ไว้ ทำตนให้เป็นผู้ใหม่ไว้ คอยระมัดระวัง คอยสำรวมอยู่ตลอดเวลา ศีลธรรมก็ตั้งมั่นในจิตใจเรา เกิดคุณค่าทางใจ คือได้อานิสงส์ได้คุณ เพิ่มความดีในใจ ได้กุศล ได้ความรู้ความฉลาดเพิ่มขึ้นในใจ อันนี้ เป็นเรื่องกฎของผู้อยู่ใหม่ ขอให้จำใส่ใจเอาไปปฏิบัติ.

(จากหนังสือ http://g-picture2.wunjun.com/6/full/505 ... s=614x1024 หน้า ๑๗)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ ผลดีหรือผลที่น่าปรารถนา น่าพอใจ อันสืบเนื่องหรือพลอยได้จากกรรมดี, ผลงอกเงยแห่งบุญกุศล, คุณ, ข้อดี, ผลที่เป็นกำไร, ผลได้พิเศษ

"อานิสงส์" มีความหมายต่างจาก "ผล" ที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยขอบเขตที่กว้างหรือแคบกว่ากัน หรือโดยตรงโดยอ้อม เช่น ทำกรรมดีโดยคิดต่อคนอื่นด้วยเมตตาแล้วเกิดผลดี คือ มีจิตใจแช่มชื่น สบาย ผ่อนคลาย เลือดลมเดินดี มีสุขภาพ ตลอดถึงว่าถ้าตายด้วยจิตอย่างนั้น ก็ไปเกิดดี นี้เป็นวิบาก พร้อมกันนั้นก็มีผลพ่วงอื่นๆ เช่น หน้าตาผ่องใส เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนอื่น อย่างนี้ เป็นอานิสงส์

แต่ถ้าทำกรรมไม่ดีโดยคิดต่อคนอื่นด้วยโทสะแล้ว เกิดผลร้ายต่อตนเองที่ตรงข้ามกับข้างต้น จนถึงไปเกิดในทุคติ ก็เป็นวิบาก และในฝ่ายร้ายนี้ไม่มีอานิสงส์ (วิบาก เป็นผลโดยตรง และเป็นได้ทั้งข้างดีและข้างร้าย ส่วนอานิสงส์ หมายถึงผลพ่วงพลอยหรืองอกเงยในด้านดีอย่างเดียว ถ้าเป็นผลพลอยด้านร้าย ก็อยู่ในคำว่านิสสันท์)

อนึ่ง วิบาก ใช้เฉพาะกับผลของกรรมเท่านั้น แต่อานิสงส์ หมายถึงคุณ ข้อดี หรือผลได้พิเศษในเรื่องราวทั่วไปด้วย เช่น อานิสงส์ของการบริโภคอาหาร อานิสงส์ของธรรมข้อนั้นๆ จีวรเป็นอานิสงส์ของกฐิน, โดยทั่วไป อานิสงส์มีความหมายตรงข้ามกับ อาทีนพ ซึ่งแปลว่า โทษ ข้อเสีย ข้อด้อย จุดอ่อน หรือผลร้าย เช่นในคำว่า กามาทีนพ (โทษของกาม) และเนกขัมมานิสงส์ (คุณหรือผลดีในเนกขัมมะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 126 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร