วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2018, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ฉลาดในการสอน. พระองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดที่ทำให้เขาเข้าใจและเห็นจริงในคำสอนนั้นๆ เพราะทรงแสดงให้เหมาะแก่นิสัย สติปัญญาของผู้ฟัง แสดงไปตามลำดับ ง่ายไปหายาก ต่ำไปหาสูง ไพเราะตลอดเวลา ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และในที่สุด
พระองค์ใช้เหตุผลชนิดที่ผู้ฟังพอจะเอาไปคิดให้เห็นได้ ไม่ต้องเชื่อด้วยความงมงาย เพราะทรงแสดงให้เหมาะแก่เรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่หรือเล่าลือกันอยู่ในเวลานั้น เหมาะแก่กิจการที่ผู้นั้นกระทำอยู่ เช่น เห็นกองไฟ ก็เทศน์เปรียบด้วยกองไฟ เช่น อัคคิกขันโธปมสูตร เขาชอบไฟ ก็เทศน์เรื่องของร้อน เช่น อาทิตตปริยายสูตร แก่พวกชฎิล เป็นต้น และตลอดเวลาที่แสดงก็มีอุบายให้ผู้ฟังมีอาการสดชื่น รื่นเริง สนุกสนาน พอใจฟัง ในที่สุดก็จะทำตาม ไม่มีการเบื่อหน่าย ง่วงเหงาหาวนอน ทั้งหมดนี้เป็นเพราะฉลาดในการแสดงธรรม



เหล่านี้ทั้งหมด เป็นลักษณะของพระองค์ที่แสดงว่า ควรแก่ตำแหน่งบรมครูของเทวดาและมนุษย์ หรือครูของโลกโดยแท้ เราทั้งหลาย เป็นสาวกควรดำเนินรอยตาม ให้สมกับที่ตรัสไว้ในจักกวัตติสูตรว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปในวิสัยอันเป็นของแห่งบิดาตนเถิด” ก็ให้สมกับที่เราทั้งหลายปฏิญาณตนเองเป็นศิษย์ของพระองค์ที่เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
ที่พูดว่า พวกเธอจงเที่ยวไปในวิสัยเป็นของแห่งบิดาตน นั้น หมายความว่า เดินตามรอยยุคลบาทของพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์เดินไปทางไหน เราก็เดินไปทางนั้น อย่าเดินนอกทาง อย่าทำร้ายทางที่พระองค์ทำไว้ให้เราเดิน เดินตามเส้นทางตามที่พระองค์ให้เดิน เราจึงจะไปถึงจุดหมายปลายทางได้สมความปรารถนา นี้เรียกว่า สัตถา เทวะมะนุสสานัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทโธ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงเป็นผู้ตื่น ไม่หลงงมงายเองด้วย และทรงปลุกผู้อื่นให้ตื่นพ้นจากความหลงงมงายนั้นด้วย ทรงเป็นผู้เบิกบาน มีพระทัยผ่องแผ้ว บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์



รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ จะได้พูดถึงเรื่อง พุทโธ เป็นต้นต่อไป

บทว่า พุทโธ ซึ่งเป็นบทสำคัญที่กะทัดรัดย่อสั้น พุทธบริษัทชอบเอามาใช้เป็นคำบริกรรม ในเวลาเจริญภาวนา เช่น ภาวนาว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือเวลาหายใจเข้า พุท หายใจออก โธ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระนามของพระพุทธเจ้า เพื่อทำใจให้สงบ ก็เป็นการฝึกหัดจิตแบบหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทโธ แปลว่า ผู้เบิกบาน. คำว่า “พุทโธ” แปลทับศัพท์ว่า พระพุทธเจ้า มีความหมายได้หลายประการ เช่น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้ปลุก ผู้เบิกบาน มีอธิบายดังต่อไปนี้ คือแปลว่า ผู้รู้ ก็ได้ ผู้ตื่น ก็ได้ ผู้เบิกบาน ก็ได้

๑) ผู้รู้ หมายเอารู้สิ่งที่ควรรู้ ที่เรียกว่า เญยยธรรม. เญยยธรรม ได้แก่ รู้ความพ้นทุกข์ที่เรียกว่าอริยสัจ รู้เท่าสังขารก็มี ดังอธิบายแล้วในบทว่า สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ผู้รู้ รู้เท่าสังขาร รู้สิ่งที่ควรรู้ จนกระทั่ง รู้อริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

๒) ผู้ตื่น หมายเอาตื่นจาก อวิชชาและกิเลส. อวิชชาทำสัตว์ให้โง่เขลา เปรียบด้วยคนหลับ รู้เห็นอะไรไม่ได้ พระองค์ประกอบด้วยวิชชา รู้สิ่งทั้งปวง จึงเปรียบด้วยคนตื่น
กิเลสทั้งสิ้นเป็นผลอันเนื่องมาจากรากเหง้าของอวิชชา อันเป็นกิเลสอย่างละเอียดนั่นเอง ผู้ที่หลับ เรียกว่า ยังมีอวิชชาอยู่ หลับตานี่เป็นเรื่องของร่างกาย
ถ้าใจหลับแล้วก็ไม่ไหว เพราะใจที่หลับนั้น ไม่รู้ไม่เห็นอะไรเสียบ้างเลย ไม่ตื่น ไม่เบิกบานเสียเลย

ใจมันหลับเพราะอะไร ? เพราะอวิชชา คือความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องอะไรๆ ต่างๆ ซึ่งเราเรียกว่า ความโง นั้นเอง ความโง่ ความเขลา เบาปัญญา ได้ทั้งนั้น คำบาลีว่า อวิชชา เรียกว่าหลับด้วยกิเลส

พระพุทธเจ้าท่านไม่หลับ เมื่อพูดว่าพระพุทธเจ้าไม่หลับ บางคนว่าอยู่อย่างไร ไม่รู้จักหลับตลอด ไม่ใช่ว่าเรื่องหลับของร่างกาย แต่เป็นเรื่องไม่หลับใหลทางจิตใจ เพราะจิตใจไม่มีกิเลสจะให้หลับ ไม่มีกิเลสจะให้มืดมัว จึงอยู่ในสภาพว่างอยู่ตลอดเวลา เพราะปลุกพระองค์เองตื่นแล้ว มีพระกรุณาปลุกสัตว์ที่ยังหลับอยู่ให้ตื่นด้วย ทรงปลุกขึ้นด้วยการแสดงธรรมชี้แจงเหตุผล ให้เขารู้เขาเข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง เช่น ทรงอธิบายให้พราหมณ์ในอินเดียสมัยนั้น เลิกการถือชั้นวรรณะ อันเป็นเหตุให้ถือตัวจัด ไม่สามัคคีกัน เป็นการทอนกำลังไม่ให้เกิดความรักความสามัคคี ทรงสอนให้เลิกทาส เลิกทาส บัญญัติไว้ในมิจฉาวณิชชาของอุบาสก และไม่ให้ภิกษุรับทาสเป็นอันขาด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2018, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องเลิกทาส โลกเขาสรรเสริญประธานาธิบดีลินคอล์นของอเมริกาว่าเป็นผู้เลิกทาส

ในเมืองไทยเราก็ในหลวงรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้ออกกฎหมายเลิกทาส อันนี้ ก็เป็นการกระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า เอาหลักการของพระพุทธเจ้าให้เลิกทาสมาตั้งแต่โบราณแล้ว ไม่ให้ค้าคน เรียกว่า มิจฉาวิณิชชา ค้าขายไม่ดี ๕ อย่าง ค้าขายมนุษย์ เอามนุษย์ไปขาย เอาผู้หญิงมาขาย เช่นไปเอาผู้หญิงทางต่างจังหวัดมาขายในกรุงเทพฯ เรียกว่า เป็นการขายมนุษย์เป็นสินค้า อันนี้ไม่ดี พระพุทธเจ้าท่านห้ามไว้ไม่ให้ค้าขายในรูปอย่างนั้น
ในอินเดียสมัยนั้นคงจะมีการขายทาสกันอยู่ จึงได้ทรงบัญญัติว่าเป็นเรื่องไม่สมควร ให้เลิกการฆ่าบูชายัญ แต่ให้บูชาด้วยการบำเพ็ญทาน ให้เลิกการฆ่าสัตว์บูชายัญตามประเพณีอินเดียที่เขาทำกันอยู่ เป็นการให้ทุกข์แก่สัตว์ เราต้องการสุขแต่ให้ทุกข์แก่ผู้อื่น การกระทำเช่นนั้นไม่ดี ไม่เป็นสุขสมปรารถนา พระองค์ให้เลิก ให้เลิกการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอ้อนวอนบวงสรวง

เรื่องการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์เดช เป็นสีลัพพตปรามาส เป็นสีลัพพตุปาทาน เพราะทำให้คนหลงใหลมัวเมาในสิ่งนั้น ให้ไม่รู้จักช่วยตัวเอง ให้ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม แต่กลับไปเชื่อว่าไอ้นั่นไอ้นี่จะช่วยได้ อันนี้มีอยู่ในสมัยก่อนพระพุทธเจ้าเกิด.
เมื่อพระองค์เกิดมา ก็เห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระ ก็เลยห้ามไม่ให้เคารพนับถือในสิ่งเหล่านั้น ไม่ให้ทำการอ้อนวอนบวงสรวงในรูปต่างๆ ถ้าสมมติว่าพระพุทธเจ้าฟื้นขึ้นมาได้ คืนชีพขึ้นมาแล้วก็มาดูการกรำของพุทธบริษัทในเมืองไทย พระองค์ต้องเบียนพระพักตร์หนี ด้วยความสะอิดสะเอียนในการประพฤติของพุทธบริษัทในประเทศไทย ทั้งที่เป็นบรรพชิต ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์
ถ้าพระพุทธเจ้าตื่นขึ้นมาจากนิพพานได้ คืนชีพขึ้นมาจากนิพพานได้ ต้องเบือนพระพักตร์หนี แล้วก็คงจะตรัสออกมาด้วยความระทดระท้อใจว่า ลูกศิษย์ของฉันมันไปไกลถึงขนาดนี้เชียวหรือ นี่น่าคิด พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์เดช ไม่สรรเสริญการเซ่นสรวงด้วยประการต่างๆ แต่เรากลับมาเพาะความศักดิ์สิทธิ์


คราวหนึ่ง ผมไปที่นครศรีธรรมราช หลวงพ่อองค์นี้ท่านก็ไปด้วย ผมนั่งดูทางหน้าต่าง ผมนั่งอยู่กุฏิสูง ท่านอยู่กฏิต่ำ นั่งมอง ทำอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา พอถึงกลางคืนก็เลยเทศน์หน่อย เทศน์ว่า พี่น้องของดีไม่รู้จักเอา เอาของที่เขาทิ้งกระโถน เท่านั้นเอง คนก็มองกันเลิกลั่ก เอ๊ะ อะไรกัน ท่านว่าอะไร บอกว่า นี่ หลวงพ่อ ท่านไปนั่งฟังอยู่ด้วย มีดีหลายอย่าง ฉันสังเกตดูตลอดวันวันนี้ ท่านมีดี มีดีตรงที่ว่าใจเยือกเย็น อดทน มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ ใครต้องการอะไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าอะไรดอก แล้วก็เยือกเย็น ไม่โกรธไม่เคืองใครดอก ไม่ว่าอะไรใคร ไอ้นี่ดีแท้ ของหลวงพ่อท่าน ดีแท้ แต่ว่าใครเอาบ้างล่ะ
พวกเราที่มาหลับหูหลับตาจะมาขอชานหมากที่เขาทิ้งกระโถนเท่านั้นเอง พอได้ชานหมากแล้ว แหม ปลื้มอก ปลื้มใจ ห่อผ้าเช็ดหน้าขาวๆ ทำให้เปรอะเปื้อนน้ำหมาก แล้วก็พากันกลับบ้าน นี่แหละเขาเรียกว่าโง่ โง่ดักดาน หลวงพ่อแก่นั่งฟังอยู่ด้วย
พอเทศน์จบแล้วก็ลงไปกราบท่าน กราบที่หัวเข่า บอกว่าต้องขออภัยหลวงพ่อ พูดให้ชาวบ้านเข้าใจหน่อย
เออ ดีคุณช่วยพูดให้รู้กันเสียบ้าง มันไม่ไหวแล้ว รบกวนผมจะเอาแต่ชานหมากเท่านั้นแหละ
ท่านก็ไม่ได้โกรธเคืองอะไร ท่านว่าดีแล้ว ให้มันฉลาดขึ้นบ้าง มันอยู่กันอย่างนี้แหละ พอเห็นผมแล้วมันจะเอาแต่ชานหมาก มันอ่านผมเป็นตัวเลขไปหมดแล้ว ยกไม้ยกมือขึ้นอย่างนี้ มันเป็นเลขแล้ว เลขอะไรก็ซุบซิบๆ กัน ท่านเอาผลไม้มาฉันก็นั่งดู ถ้าฉัน ๓ ผล ก็เลขสาม
บางทีท่านถามว่า เฮ้ยมากันกี่คนล่ะ นับกัน พอบอกว่า ๘ คน ทุกคนเอาเลขแปด หลวงพ่อให้แล้ว ก็โอภาปราศรัยไปตามเรื่อง มากับรถอะไร ทำอะไร เอาทั้งนั้นแหละ นี่มันเป็นอย่างนี้ มันแย่ตรงนี้ หลวงพ่อทั้งหลายก็หนักอกหนักใจไป ไม่ไหว.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2018, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) ผู้เบิกบาน เพราะพระองค์เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น จึงสามารถทำพระองค์เองให้พ้นจากทุกข์ และอุปสรรคในการบำเพ็ญพุทธจริยา บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก เมื่อไม่มีอะไรติดขัด ทำพระองค์ให้เบิกบานอยู่ทุกเมื่อ
สรรพกิเลสและความชั่วไม่กล้ำกรายพระองค์เลย จึงทรงอาจหาญ สดชื่นอยู่เป็นนิจ สามารถเปล่งพระสีหนาท ประกาศพรหมจักร ด้วยการท้าให้นักรู้ทั้งหลาย พิสูจน์คำสอนของพระองค์ ยอมให้จับผิดหรือคัดค้านด้วยเหตุผล เมื่อไม่มีสมณพราหมณ์เหล่าใดโจทก์ท้วงพระองค์ได้โดยธรรม จึงทรงปฏิญาณพระองค์ด้วย อาสภัฏฐานียะ คือ ตำแหน่งจอมโลก นี่คือความเบิกบานไพโรจน์เต็มที่ของพระองค์ นี่ความเบิกบาน ไม่มีเรื่องอะไรติดขัด ถึงติดก็ไม่ขัดพระพุทธเจ้า เพราะท่านไม่มีกิเลสจะไปยึดอะไร น้ำพระทัยจึงเบิกบานแจ่มใส

เราทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ควรดำเนินรอยตามพระองค์ในที่นี้ด้วยหลักสั้นๆ ว่า พยายามในการรู้ ชำระความโง่ให้หมดไป ช่วยแนะนำผู้คนเท่าที่สามารถ และเบิกบานสดชื่นอยู่ด้วยความสุจริตของตน เพราะไม่มีการซ่อนเร้นความชั่วอย่างใดไว้ในใจแม้แต่น้อย นี่คือหน้าที่ที่เราจะต้องทำ ในฐานเป็นพุทธบริษัท ให้ทำอย่างนี้ คือพยายามในการแสวงหาความรู้ ชำระความโง่ให้หมดไป ช่วยแนะนำผู้อื่นเท่าที่สามารถและเบิกบานสดชื่นอยู่ด้วยความสุจริตของตน เพราะไม่มีการซ่อนเร้นความชั่วอย่างใดไว้ในใจแม้แต่น้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2018, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันสุดท้าย คือ “ผู้เบิกบาน” นี้ สำคัญ คนเรามีความหดหู่เหี่ยวแห้งเพราะมีปัญหา แล้วปัญหาที่สำคัญก็คือ ความชั่วที่เราได้ทำไว้ในที่ลับ ที่คนอื่นเขาไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น ที่เขาบอกว่า ที่ลับไม่มีในโลก มันอยู่ตรงนี้ ตรงที่เราเองเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ความทุกข์ความสุขที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ไม่ได้เกี่ยวกับการรู้เห็นของคนอื่น แต่มันเกี่ยวกับการกระทำของเราเอง มันคอยกระซิบอยู่ตลอดเวลา ใจมันไม่เบิกบาน
สมมติว่าเราทำอะไรบกพร่องไว้เมื่อก่อน ณ ที่ใดเวลาใดก็ตาม ไอ้สิ่งนั้นมันมาคอยยุแหย่เราอยู่ตลอดเวลา นี่แหละเขาเรียกว่า บาปเวรตามสนอง ทำให้เราเป็นทุกข์ กลัวอยู่ระแวงอยู่ในเรื่องนั้นๆ จิตใจมันก็ไม่เบิกบาน หดหู่เหี่ยวแห้ง บางทีนอนด้วยความระทมทุกข์ กินก็เป็นทุกข์ ทำอะไรๆก็ไม่ค่อยจะสดชื่น ไม่เบิกบาน ไม่เป็นพุทโธ ไม่สมกับเป็นพุทโธลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดความเบิกบานแจ่มใสตลอดไป เราจึงต้องระมัดระวังในการกระทำทุกอย่าง อย่าให้เป็นการทุจริต ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ทุจริตทางกายก็คือการประพฤติผิดทางกาย นี่เรียกว่าทุจริตทางกาย
ทุจริตทางวาจาก็คือพูดไม่จริง เช่น เป็นพยานเท็จ เป็นต้น พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่ได้เรื่องได้ราว นี่ก็เรียกว่า ทุจริตทางวาจา
ทุจริตทางใจ ก็คือ คิดแต่เรื่องจะเอา ประทุษร้ายคนอื่น เรื่องงมงายหลงใหล เป็นทุจริตทางใจ เราระวังสิ่งเหล่านี้อยู่
ประจำวันอยู่อย่างไร ? อยู่อย่างไม่กระทบกระเทือนใคร ทั้งพูด ทำ โดยถือระเบียบวินัยเคร่งครัด
คนเราที่ทำงานแล้วมานั่งเป็นทุกข์เพราะไม่สุจริต บางทีต้องเที่ยวถามว่าหัวหน้าว่าอย่างไร อย่าหาเรื่องกังวลให้เกิดในใจ อย่าทำเรื่องเศร้าหมอง ก็เรียกว่าสบายไม่มีปัญหา อยู่ในแนวของพระพุทธเจ้า การเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้านั้น เป็นศิษย์ด้วยการทำดีตลอดเวลา ให้เราจำไว้ง่ายๆอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2018, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2018, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ บท ภะคะวา คำว่า ภะคะวา แปลว่า จำแนกธรรม หมายถึง ความกรุณา คำว่า “ภะคะวา” มีแง่หลายแง่ในเมื่อคิดถึงมูลศัพท์โบราณ อาจารย์เคยถกเถียงกันถึงเรื่องนี้ ในที่นี้ มีความหมายคือ ผู้จำแนกธรรม ผู้มีภะคะธรรม ผู้เสพ ผู้ควรคบ ผู้หัก ผู้มีโชค มีความหมายอย่างนี้

๑) ผู้จำแนกธรรม คือกระจายธรรมทั้งหลายออกเป็นประเภทๆ เช่น อริยสัจ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ และทรงจำแนกให้แก่เวไนยสัตว์ ไม่เลือกเทวดา มนุษย์ คือจำแนกธรรมเป็นประเภท แล้วก็แจกให้แก่คน คล้ายกับเราจะแจกของ จะเอาอะไรแจกเขาบ้าง ต้องมาเลือกเสียก่อนก็แจกง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรมออกเป็นหมวดเป็นหมู่ เป็นเรื่องเป็นราว เสร็จแล้วก็แจกแก่คนต่อไป นี่เรียกว่า ผู้จำแนกธรรม

๒) ผู้มีภะคะธรรม ภะคะธรรม มีอะไรบ้าง ?
คือ
ความบังคับจิตไว้ได้ในอำนาจ แห่งความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี คนบังคับตนได้ คือคนที่บังคับจิตได้ ไม่ให้คิด ไม่ให้ทำอะไรก็ได้ นี่เรียกว่าผู้บังคับจิตได้ ให้มีภะคะธรรมก่อน ภะคะธรรมข้อนี้มีอยู่ในพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์

ความงามแห่งอวัยวะ คือรูปกายและธรรมกาย พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระรูปโฉมงดงาม อันนี้เป็นลักษณะพิเศษ
คนจะเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มี ๔ จำพวก เรียกว่า รูปัปปมาณิกา เห็นรูปชอบใจ เลื่อมใสในรูปร่าง
โฆสัปปมาณิกา ชอบใจในเสียง ว่ากึกก้อง ฟังแล้วไพเราะ
ธัมมัปปมาณิกา ไม่เกี่ยวรูป ไม่เกี่ยวเสียง เอาแต่ธรรมล้วนๆ เป็นคนเลื่อมใสในธรรมะแท้ๆ
อีกพวกหนึ่ง เรียกว่า ลูขัปปมาณิกา เลื่อมใสในความเศร้าหมอง บางทีเห็นพระนุ่งห่มจีวรหมองๆ ชักจะเลื่อมใส ห่มจีวรสีแสดๆ แจ๊ดๆ ไม่เลื่อมใส บาตรเก่าๆ จีวรเก่าๆ ๗ วันอาบน้ำที่ บางองค์ปีหนึ่งอาบน้ำทีหนึ่ง ชาวบ้านเลื่อมใสว่าขลัง ขี้ไคลทั้งตัวกลับมองเห็นเป็นของดีไปได้ เลื่อมใสความเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น คนไปเห็นพระพุทธเจ้าแล้วชอบใจพระรูป ได้ฟังเสียงก็ประทับใจ ฟังธรรมก็ประทับใจด้วย เพราะงดงามในธรรมด้วย ธรรมะที่นำมาแสดงเหมาะสมด้วย

ภะคะธรรม ข้อต่อไปว่า สิ่งปรารถนาเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ในชีวิต สิ่งที่ปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต พระพุทธเจ้าท่านปรารถนาอะไร ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของพระองค์ ? ปรารถนาพระโพธิญาณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรารถนาพุทธภูมิ คือ ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นครูเพื่อสอนโลก อันนี้เป็นภะคะธรรมก่อ ความเพียรเพื่อไปสู่จุดหมาย ซึ่งเป็นภะคะธรรมข้อสุดท้าย
ตั้งเป้าไว้แล้วว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าก็มีความเพียรไม่หวั่นไหว เดินไปสู่จุดที่ต้องการ ไม่กลัวอุปสรรค ไม่ท้อแท้อ่อนแอ เมื่อยังไม่ถึงจุดหมาย ไม่เลิก เรียกว่า มีความเพียรมั่น ภะคะธรรมเหล่านี้ มีพร้อมในพระองค์ ไม่มีใครสู้
สรุปแล้ว ภะคะธรรมมี ๔ อย่าง คือ

๑. การบังคับจิตไว้ได้ในอำนาจ
๒. ความงามแห่งอวัยวะ คือ รูปกาย และธรรมกาย
๓. สิ่งที่ปรารถนาเป็นงานชิ้นใหญ่ในชีวิต
๔. ความเพียร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2018, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) ความหมาย ผู้เสพ หมายถึง ความที่พระองค์ได้เสพ ดื่มรสแห่งอมตะหรือนิพพาน ทรงเสพอยู่กับรสอันประเสริฐนี้จนตลอดอายุ

อมตธรรม แปลว่า ธรรมไม่ตาย เอามาจากตำนานของพวกฮินดู เขามี น้ำอมฤต ซึ่งแปลว่า ไม่ตาย เกิดขึ้นได้
เมื่อก่อนว่าเทวดาและอสูรรบกันบ่อยๆ อสูรเป็นเจ้าของถิ่นเดิมอยู่ชั้นดาวดึงส์ ต่อมาก็มีพวกพระอินทร์มารุกรานแย่งที่จนอสูรตกไปอยู่ทะเล เชิงเขาพรสุเมรุใต้ทะเล พอถึงหน้าดอกไม้บาน ดอกจิตปาลิบาน พวกอสูรก็คิดถึงบ้านเดิม ยกทัพไปรบกับพระอินทร์ทีไรแท้ทุกที แต่มีคราวหนึ่ง เทวดาอยากได้ของกันตาย กินแล้วไม่ตาย ก็เลยไปถามพระอิศวรผู้เป็นเจ้า พระอิศวรบอกว่า เรื่องนี้ทำได้ ทำได้ก็คือให้เอาตัวพญานาค เอามาพันเขาเขาหนึ่งข้างบนมีเขาลูกหนึ่ง ข้างล่างมีเขาอีกลูกหนึ่ง เอาเขาลูกหนึ่งมาวางไว้ แล้วเอาเขาอีกลูกหนึ่งมาวางทับแล้วเอานาคมาพันเขาลูกบน หมุนเหมือนกับเราสีข้าว เมื่อหิน ๒ ก้อนบดกัน เถาวัลย์บนภูเขาก็จะแหลกละเอียดลงไปในทะเล เป็นน้ำอมฤต เทวดารู้ก็มาร่วมกันทำ แต่ว่าการทำนี่ต้องมาร่วมมือกับพวกอสูรด้วย
ถ้าพวกอสูรไม่ร่วมมือทำไม่สำเร็จ เลยไปขอความร่วมมือจากอสูร แล้วหลอกอสูรว่าสำเร็จแล้ว จะได้กินนี่ไม่รู้จักตาย รบกันไม่ตาย
ทีนี้รบกันใหญ่เลย อสูรชอบใจ เลยไปร่วมงานด้วย เวลาไปร่วมงานนี่เทวดาฉลาดกว่า มีการศึกษาดีกว่า ให้อสูรไปอยู่ด้านหัวนาค เทวดาอยู่หางนาค นาคก็พ่นพิษถูกพวกอสูรร้อนไหม้ไปตามๆกัน แต่ว่าอยากได้อมตะก็ต้องทำไปๆ ทำไปๆ น้ำมันออกมา ทะเลเป็นสีเขียวเป็นตมเลย เกิดเป็นน้ำเหมือนน้ำนมขึ้นมา แล้วก็มีเทพธิดาลอยมาถือพาน ในพานนั้นคือน้ำอมฤต ตอนเทพธิดาผุดขึ้นมา พวกเทวดาพวกอินทร์แย่งกันกินหมด
พวกอสูรมาถึง เอ้า หมดแล้ว ยักษ์จึงสู้พระอินทร์ไม่ได้ ตรงนี้เอง นี่เขาเรียกว่าตำนานของน้ำอมฤต

พระพุทธเจ้า ท่านเอาคำนี้มา เรียกพระนิพพาน อมตธรรม คือ ธรรมที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย จิตที่บรรลุสิ่งนั้นแล้ว ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรียกว่า อมตธรรม พระองค์ก็ได้ชิมรสของอมตธรรม จนตลอดพระชนมายุ เรียกว่า เป็นผู้เสพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2018, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) ผู้ควรคบ ในโลกนี้ ไม่มีใครบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นยิ่งกว่าองค์พระพุทธเจ้า อันนี้ น่าคิด
จำเดิมตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์เที่ยวไปในสังสารวัฎฎ์ ได้สละสิ่งของ ก็มี สละอวัยวะก็มี ในครั้งสุดท้ายเป็นผู้ชี้พระนิพพาน จึงเป็นผู้น่าคบยิ่ง น่าคบ น่าเข้าใกล้ น่าฟังคำสอน เรียกว่า เป็นผู้ควรคบ


๕) เป็นผู้หัก หักอะไรล่ะ ? หักวงล้อแห่งการเวียนตายเกิด ไม่ให้มีการหมุนอีกต่อไป คือ การแสดงให้สัตว์หลุดพ้น ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มีจุติ และอุบัติอีกต่อไป กิเลสและบาปธรรมหมดฤทธิ์ ไฟทุกข์ดับสนิท โลกแห่งอริยสาวกสงบเยือกเย็น เรียกว่าหักวงล้อแห่งสังสารจักร
วงล้อแห่งสังสารจักรมีอะไรบ้าง ? มีกิเลส, กรรม การกระทำ, วิบาก มีกิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม พอทำกรรมเกิดผล เกิดกิเลสหมุนจี๋อยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดซักที
พระพุทธเจ้าท่านหักวงล้อนี้ หักกิเลส กรรมหมด วิบากหมด หยุด เรียกว่า ถึงนิพพาน เพราะหักวงล้อแห่งสังสารจักร
เราต้องหัดหักมันเสียบ้าง หักอะไร ? หักความพ่ายแพ้ต่อความอยาก อยากบุหรี่ ไปซื้อมันสูบ สูบแล้วอร่อย พออร่อยกิเลสก็เกิด เกิดแล้วไปซื้อมันสูบ สูบแล้วอร่อย พออร่อยกิเลสเกิด นี่แหละวงแห่งบุหรี่
หักวงล้อบุหรี่ หักวงล้อเหล้า หักวงล้อการพนัน หักวงล้อการเที่ยวกลางคืน วงล้อทั้งหลาย หักมันเสียให้หมด ทุบมันเสียเลย เอายางออกอย่าให้ล้อหมุนต่อไป


๖) ผู้มีโชค. พระพุทธเจ้านี่มีโชค ครั้งปฐมวัยได้รับการประคับประคอง ทะนะถนอมในฐานเป็นบุคคลที่บิดามารดาหวังให้ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ ตามคำทำนายของพราหมณ์ ในเมื่อเกิดใหม่ ตอนมัชฌิมวัยได้ออกบวช ได้ตรัสรู้เต็มเปี่ยมสมดังประสงค์ แสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ตลอดจนปัจฉิมวัย ไม่มีอุปสรรค ประดิษฐานพระศาสนาได้มั่นคง แล้วก็ทรงเสด็จนิพพาน แม้จะมีใครมุ่งร้ายหมายขวัญ ก็แพ้ภัยตนเอง อย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีโชค

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราทั้งหลายเป็นศิษย์ของพระองค์ในข้อนี้ จะดำเนินตามพระยุคลบาทด้วยหลักคือ เป็นนักพิจาณาแยกเหตุผลออกพิสูจน์ เพื่อรู้จักและเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยละเอียดชัดเจน เจือจานคนข้างเคียง ด้วยความรู้นั้นๆ มีคุณสมบัติ คุณงามความดีประจำใจ พอควรแก่อัตภาพ เสพคบแต่กุศล ทำตนให้น่าสมาคมแก่คนทั่วไป ทำลายล้างความชั่ว อันเป็นมลทิน อย่าให้มีอยู่ในตนได้ ในที่สุดก็จะเป็นผู้มีโชคดี เป็นแน่แท้ เข้ากับบทว่า ภะคะวา

(จบตอน จากหนังสือ http://g-picture2.wunjun.com/6/full/e71 ... s=614x1024 หน้าที่ ๑๑๑ - ๑๔๒

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 125 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร