วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 19:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2018, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"การพูดไม่ดีกับคนอื่นอย่างไร
ย่อมพูดได้ แต่อย่าหวังน้ำใจ จากคนอื่น
เมื่อมีความสำคัญได้อย่างนี้
จากนี้ไป ให้ตั้งใจไว้ว่า
เราจะไม่พูดเท็จ พูดส่อเสียด
หรือเราจะไม่พูด ที่ทำให้คนอื่น
มีความเดือนร้อน เป็นทุกข์
ด้วยคำพูดของเรา นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
-:- ท่านหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ -:-




"การระลึกถึงพระพุทธเจ้านั้น
มีความมุ่งหมายอย่างนี้ คือ
เตือนใจ ให้พัฒนาตนเอง
ไม่ใช่ให้มาหวังผล
จากการอ้อนวอนพระองค์"
-:-สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) -:-




"อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
เดี๋ยวความตายจะมาถึง
จะเสียใจตามภายหลัง
ความชั่ว อย่าทำเสียเลยดีกว่า
ความดี ทำแล้วดี
ความชั่ว ทำย่อมเดือดร้อนตามภายหลัง
รีบสร้างความดี รีบขัดเกลา
รีบพยายามอบรมบ่มนิสัย
ให้มันเกิดมันมี ให้มันรู้มันเห็น
มันเป็นมันไป
เราไม่ทำแต่เดี๋ยวนี้
จะไปทำเวลาไหน"
-:- หลวงปู่แสง ญาณวโร- :-




"...การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น ไม่ได้มาทำให้มานั่งโศกเศร้าระทมใจอยู่ หรือมานั่งร้องไห้อยู่ แต่ทำให้อยู่ด้วยความรู้สึกเฉลียวฉลาด อาจหาญ ร่าเริง เป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของสิ่งใด ที่มายั่วให้ยึดมั่น-ถือมั่นโดยความเป็นของน่ารักหรือน่าชัง
ความเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะช่วยคุ้มกันไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เพราะเขาเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมันน่าเกลียด เพราะมันมีอาการแห่งความไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์โดยอัตโนมัติ จึงไม่ไปจับฉวยเอาสิ่งใดโดยความเป็นตัวตน หรือความเป็นของๆ ตน
ขอให้ท่านทั้งหลายทำความเข้าใจในข้อนี้ให้มากที่สุด จึงจะตั้งอยู่ที่หนทางแห่งความบริสุทธิ์ คือความเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นบุคคลผู้เต็มเปี่ยมแห่งความเป็นมนุษย์..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์ท่านพุทธทาสภิกขุ



๐ เรื่องของการฟังธรรม
“...การฟังธรรมกับการแสดงธรรม ก็ต้องอาศัยสถานที่สงบ ถ้ามีเสียงอึกทึกครึกโครม มันก็รบกวนทั้งผู้แสดงทั้งผู้ฟัง เพราะฟังธรรม แสดงธรรมก็ต้องมีใจที่สงบ ถ้าใจไม่สงบแล้วมันสับสน แสดงด้วยเหตุด้วยผลไม่ได้ แทนที่จะเห็นเหตุผลรู้เหตุผล ต้องมีใจที่สงบ ถ้าใจไม่สงบมันจะมองไม่เห็นเหตุ มองไม่เห็นผล
นี่พอเสียงเข้ามามันก็ดึงใจไปจากเรื่องที่ว่ากำลังจะพูด เสียงมามันก็ดึงออกไป เดี๋ยวคนเดินเข้ามาอีก บางทีต้องปิดตาหลับตา แล้วไม่รับรู้ไม่เห็น เห็นแล้วใจมันไปแล้ว มันรับรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ขึ้นมา มันก็เลยไม่ได้อยู่กับเรื่องที่กำลังพูดอยู่การฟังธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ เกิดอานิสงส์ เกิดผล ก็จำเป็นจะต้องฟังในที่ที่สงบ ถึงจะได้ผลเต็มร้อย
ผลที่เกิดจากการฟังธรรมก็มีอยู่ ๕ ประการด้วยกันคือ
๑.จะได้ยินได้ฟังธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
๒. ธรรมที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วถ้าได้ฟังซ้ำอีกก็จะเกิดความเข้าใจดีขึ้นไปตามลำดับ
๓. จะกำจัดความลังเลสงสัยต่างๆ ความขัดข้องใจสิ่งที่ขัดข้องใจต่างๆให้หมดไปได้
๔.จะทำให้มีความเห็นที่ถูกต้อง
๕.จะทำให้จิตใจผ่องใส สงบ มีความสุข
ถ้าจะฟังให้ได้ผลนี่ ต้องนั่งเฉย ๆ กายวาจาใจต้องสงบ นอกจากสถานที่ต้องสงบแล้ว กายวาจาใจของผู้ฟังก็ต้องสงบ กายก็คือร่างกายไม่เคลื่อนไหวนั่งเฉยๆ ไม่ทำอะไร วาจาก็ไม่พูดคุยกัน ใจก็ไม่คิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ คิดอยู่กับเสียงธรรม คิดอยู่กับเรื่องธรรมที่กำลังฟังอยู่
ถ้ามีกายวาจาใจที่สงบ ฟังแล้วก็จะได้ผลดี กายวาจาที่สงบก็เรียกว่าศีล คือตอนนี้ผู้ฟังได้เฉยๆ นี้ถือว่ามีศีลแล้ว ร่างกายไม่ได้ทำบาป ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ประพฤติผิดประเวณี ไม่ได้พูดปด วาจาก็ไม่ได้พูดอะไร ไม่ได้ดื่มสุรายาเมา มีกายวาจาที่สงบ เรียกว่าศีล ใจถ้าไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ มีความตั้งใจที่จะฟังธรรม ก็เรียกว่ามีสมาธิใจตั้งมั่น
คำว่าสมาธิ ก็คือใจที่ตั้งมั่นอยู่ในความสงบ ไม่คิดปรุงแต่ง ถ้าฟังธรรมด้วยศีลหรือสมาธิ ผลก็คือปัญญาก็จะเกิด ปัญญาก็คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง เห็นว่าบุญมีจริง บาปมีจริง ผลของบุญคือสวรรค์มีจริง ผลของบาปคือนรก อบายมีจริง ตายแล้วไม่สูญ ตายแล้วไปเกิดใหม่ ถ้าได้ปฏิบัติได้ชำระ ได้กำจัดกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ ใจก็ไม่ต้องไปเกิดใหม่ ใจก็ไปสู่นิพพาน นี่คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง
โดยปกติแล้ว ถ้าไม่ได้ฟังเทศน์ฟังธรรม จะไม่รู้เรื่องบุญเรื่องบาป เรื่องผลของบุญผลของบาป ไม่รู้ว่าตายแล้วไม่สูญ ตายแล้วต้องไปรับผลบุญผลบาปต่อ ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดต่อถ้ายังมีกิเลสตัณหาอยู่ภายในใจ ถ้าชำระกิเลสตันหาให้หมดไปจากใจได้ ตายไปก็ไม่ต้องไปเกิด ไม่ต้องไปรับผลบุญผลบาป
นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง ที่จะได้จากการฟังเทศน์ฟังธรรม เพราะเวลาแสดงธรรมก็จะแสดงเรื่องราวเหล่านี้ เรื่องบุญเรื่องบาป อธิบายว่าบุญเป็นอย่างไรบาปเป็นอย่างไร ผลของบุญเป็นอย่างไรผลของบาปเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รับผลของบุญผลของบาป ใครไปเกิดใหม่ นี่คือเรื่องของธรรม ธรรมที่จะแสดงเรื่องของบุญของบาป เรื่องของผู้ไปรับผลบุญผลบาป เรื่องของผู้ไปเกิดแก่เจ็บตายใหม่ เรื่องของผู้ไปที่นิพพาน...”
เทศนาธรรมคำสอน
องค์ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
- สนทนาธรรมบนเขา วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐


"...พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย"
ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆ ไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน
กิเลสจะหายสิ้นไปได้ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่ชา สุภัทโท


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 143 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร