วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท (2 บทชดเชย)
(๑๐-๓-๒๕๖๑)
"ชีวิตนี้เหมือนลิเก"
***********************
พวกเราทุกคนที่มุ่งเข้าหาความสงบ
การทำความสงบนี้เป็นสิ่งสำคัญในบรรดาโลกทั้งหลาย
ถ้าเราสังเกตุลิเกที่เล่นอยู่อย่างนี้
เอาเสียงหาเงินมาเลี้ยงชีพของตัว
ตะเบ็งอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน
หลายๆคืน หลายๆวัน
อย่างนี้เป็นต้น
เขามีอุตสาหะพยายามพากเพียร
พวกเราเป็นผู้ที่สละ
กิจการบ้านเรือนอย่างนั้น
มุ่งมาดปรารถนา
ที่จะหาความสงบจริงๆจังๆ
นี่เป็นจุดสำคัญของเรา
เขาเล่นลิเกตั้งหลายๆชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้น
ก็ไม่ค่อยจะเหน็ดเหนื่อยเท่าไหร่
เขาก็มีความเหน็ดเหนื่อย
ถ้าถึงเวลาที่จะรบกันในเรื่องอย่างนี้
เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เมื่อเรา โอปนยิโก
น้อมเข้ามาใส่ตนแล้ว
ก็เป็นคติเครื่องเตือนใจที่จะสอนเรา
อย่างเรานั่งกรรมฐานอย่างนี้
มันเกิดเจ็บเกิดปวด
เกิดเมื่อยขึ้นมาอย่างนี้
เราก็น้อมสิ่งเหล่านี้ว่า
ลิเกนะเขารำได้ ทั้งฟ้อนรำ ทั้งเต้นรำ
ทั้งกระโดดโลดเต้นต่างๆนานา
ได้เป็นเวลาได้ตั้งหลายๆชั่วโมง
ทำใมเขาทำได้
เราจะสร้างความดี ความงาม
ให้กับหัวใจของเรา
ให้ใจเราเกิดความสงบอย่างนี้
เราจะแพ้ได้อย่างไร
นี่เราต้องคิดอย่างนั้น
เมื่อคิดอย่างนั้นแล้ว
มันมีใจอุตาสาหะ
มีวิริยะ
ความพากเพียรเกิดขึ้น
สิ่งที่เราจะได้รับแจ้งความประจักษ์ขึ้นในตัวเรา
ก็ต้องอาศัยวิริยะ
ความพากเพียรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
เพราะเมื่อขาดวิริยะ
ความพากเพียรแล้ว
ธรรมะจะเกิดขึ้นไม่ได้
เพราะธรรมะเป็นของจริง
บุคคลที่จะเข้าไปรู้ความจริงนั้น
อย่างการทำสมาธิ
ก็จำเป็นต้องปลดเปลื้องอารมณ์
ที่เป็นอดีต อนาคต
ให้เหลือใจอันเดียวกับพุทโธ
หรือธัมโม สังโฆ บทใดบทหนึ่ง
หรือมรณานุสติ อย่างนี้ เป็นต้น
แต่ลักษณะใจเช่นนั้นที่ไม่ค่อยเคยฝึกหัด
หรือไม่เคยชำนิ ชำนาญ
ในการกระทำขั้นต้น
เมื่อการบริกรรมอย่างนั้น
ใจก็ต้องวอกแวกคิดไปในที่อื่นบ้าง
เป็นธรรมดาของใจ
เหมือนวัว ควาย ที่เอามาเลี้ยงอยู่
ยังไม่เคยฝึกชำนิ ชำนาญ
ก็ต้องดึงเชือก ดึงพรวนจนขาดเป็นธรรมดา
เหมือนกับตัวเรานี้
เพราะฉะนั้น
สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความกล้า
ความอาจหาญ
ความพากความเพียรอย่างนั้น
จึงจะได้ประสบพบความจริงจากธรรมะ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ต้องอาศัยความจริงเกิดขึ้นกับบุคคลนั้น
ไม่เห็นแก่ปากท้อง ไม่เห็นแก่หมอน
ไม่เห็นแก่เสื่้อ นั้งตามสบายตั้งใจภาวนาอย่างจริงจัง
อย่างนั้นจึงจะประสบสิ่งอันสูงส่ง
============
"การบริการกรรมภาวนา"
============
ฉะนั้น พวกเราอย่าไปเสียดายบริกรรม
ว่าจนมันเหนื่ยให้ที่สุด
ให้มันนานเท่าไรยิ่งดี
สักประเดี๋ยวจิตมันก็สงบ
มันโหยจากการไม่นึกคิดแล้ว
ถ้าเราไม่บริกรรมมันกำลังแข็งตัว
มันก็ต้องออกไปสู้กับเราอยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นต้องบริกรรม พุทโธๆโธๆๆๆๆ
ว่าให้เร็ว พอมันหมดลมก็เอาอีก โธๆๆๆๆ
แต่อย่าให้ดัง เดี๋ยวเขาว่าบ้า ให้เบาๆในใจ
ว่าอยู่อย่างนั้นให้เร็วๆๆ
โธๆๆหยุด โธๆๆ หยุด
ถ้าเรา โธเข้า โธออก
ก็เสร็จฉิบ..หมดซิ
หัวใจมันห่างแล้วมันก็คิดหมด
*********************************
ผู้โพสต์คัดตัดตอนบางส่วนจาก
"หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง"
(ฉบับสมบูรณ์) เล่ม ๓ หน้า ๘๓-๘๕
พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)
วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จังหวัดปทุมธานี






“ความสุขที่ได้รับ เป็นของไม่เที่ยง
สักวันนึง ก็ต้องจากไปทั้งหมด
แม้แต่ร่างกาย ที่คิดว่าเป็นของเรา
สุดท้ายมันก็ไม่ได้เป็นของเรา อย่างที่คิด”
-:- หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป -:-




"อย่าลืมว่ากรรมใคร
ก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่น
และอย่าจับตาดูผู้อื่น"
-:- หลวงปู่ชา สุภัทโท -:-




"อะไรที่ดีงาม ให้รีบทำเสีย
อย่าผัดวันประกันพรุ่ง
เมื่อโอกาสที่ทำ ได้ผ่านพ้นไป
จะไม่มีโอกาส เช่นนั้นอีก"
-:- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ -:-


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร