วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2018, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

(๒) ต่อไปใช้ปัญญา. สติ ปัญญา เขามักจะมาคู่กัน สติหยุดไว้ก่อน เอาปัญญามาคิดค้น ว่า ทำไมจึงโกรธเขา ทำไมจึงเกลียดเขา ทำไมจึงร้อนอกร้อนใจ เรื่องอะไรเอามาพินิจพิจารณาทบทวนสืบสาวหาเรื่องหาเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเป็นตัวการให้เกิดเรื่องนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร พิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ พิจารณาไป ต้องมีสติควบคุมเบื้องต้น แล้วจึงใช้ปัญญา
ปัญญาก็คือการสืบสวนสอบสวนให้ละเอียด มันมาอย่างไร มันไปอย่างไร มันดีอย่างไร มันชั่วอย่างไร มันเกิดแล้วทำให้เสียชื่อเสียง ให้พิจารณาค้นคว้าหาเหตุหาผลมันทุกเรื่อง นั้นถูกต้องในสภาพที่เป็นจริง เช่น เราโกรธ เราก็หยุดมันก่อน พอมีสติมันก็หยุด รู้สึกตัวมันก็หยุด จิตเรามันคิดได้ทีละเรื่อง จะไปทีละ ๒ เรื่องได้เมื่อไหร่

พอเรารู้ตัวปั๊บมันเบา หยุดได้ แล้วนึกว่า เมื่อกี้นี้โกรธใคร โกรธคนที่มันด่า มันด่าว่าอย่างไร มันด่าว่าไอ้ชาติชั่ว เอ แล้วเราชั่วจริงหรือเปล่า เราก็ต้องถามตัวเอง เขาว่าไอ้ชาติชั่ว แล้วเราชั่วแค่ไหน เราก็ต้องคิด
ถ้าคิดไปคิดมาเราไม่ได้ชั่ว แล้วคนนั้นมันพูดโกหก มันว่าเราชั่ว แต่เราไม่ชั่ว แล้วจะไปโกรธมันทำไม มันคงพูดตามเรื่องของมัน แล้วไปหลงโกรธ เขาใจผิด แล้วมันด่าเราแล้วมันก็ไปแล้ว เรายังอุตส่าห์เก็บเอาไว้เป็นหนามยอกอก มันเรื่องอะไร ไม่เข้าท่า ทีนี้เราก็เพลาความโกรธลงไปได้ มองเห็นว่ามันไม่ได้เรื่อง.

แต่ถ้าหากจริงตามเขาว่า ก็คิดว่าเราชั่วจริงว่ะ เขาว่าถูก ไม่ควรจะไปโกรธเขา เขาช่วยบอกหนทางให้ คนเราน่ะโทษของตัวมองไม่เห็น หัวตัวเองแตกไม่รู้ ต้องเอากระจกส่อง เขาอุตส่าห์เตือนเรานะ วันหลังต้องขอบใจเขา วันนี้ เราไม่โกรธไม่เคือง เราสบายใจ มันก็สบาย

คนเรามันต้องมีเหตุผล ต้องใช้ปัญญา พิจารณาไม่ว่าเรื่องอะไร เรื่องโกรธ เรื่องรัก เรื่องริษยา ไม่ว่าเรื่องอะไร ที่มันเกิดขึ้นในใจต้องพิจารณาให้ละเอียด รักทำไม เกลียดทำไม โกรธทำไม ไปริษยาเขาทำไม แล้วมันได้อะไรขึ้นแก่ตัวเราบ้าง ให้ใช้ปัญญาพิจารณา ถ้าเราใช้สติพิจารณาในกรณีทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเรา นั่นเราจะฉลาดขึ้นทุกวัน
เปลี่ยนเรื่องอะไรๆ มันไม่เท่ากับเปลี่ยนเรื่องนี้ดอก จบปริญญาก็เท่านั้น เรียนมาก็เท่านั้น แต่เราเปลี่ยนเรื่องกับตัวเรา ให้มันเข้าใจแจ่มแจ้ง สิ่งทั้งหลายจะดีขึ้น มีความสุขมีความสงบขึ้น อยู่ในโลกอย่างชนิดที่เรียกว่า “ไม่ถูกใครถอง” ต่อไป ถ้าไม่อย่างนั้น มันถูก เจ็บทุกที ช้ำใน ต้องกินยาดำกันแล้ว

อารมณ์มันคิดไปคิดมาเหมือนลูกฟุตบอลในสนาม เตะไปเตะมา ไม่ได้หยุดได้หย่อน เราก็อย่างนั้น ถูกอารมณ์ต่างๆมันเตะ มันถองเอาแย่ไปตามๆกัน เพราะเราไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น จะต้องพิจารณาไว้ด้วยสติด้วยปัญญา

สองตัวนี้เขาเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ เป็นธรรมมีอุปการะมาก อุปการะเรื่องอะไร เรื่องโกรธ เรื่องเกลียด เรื่องริษยา เรื่องความชัง เรื่องอารมณ์ต่างๆ ให้เราเอามาคิดเอามาพิจารณาว่ามีอะไรที่น่ารัก มีอะไรที่น่าโกรธ มีอะไรที่น่าริษยา แล้วเมื่อคิดอย่างนั้น จิตใจเรามันเป็นอย่างไรมองให้ชัด ดูให้ละเอียด เราก็จะเข้าใจทุกอย่าง ตามสภาพที่เป็นจริง ตามสภาพที่มันเป็นของมัน ตัวโลภ ตัวโกรธ ตัวหลง มันก็จะเบา ทั้ง ๓ ตัวมันเบาไปด้วยวิธีนี้ เพราะวิธีนี้ เพราะวิธีคิดอย่างนี้ แล้วก้าวหลัง ก้าวสุดท้ายที่จะไม่หลงเพราะมีปัญญา

เพราะฉะนั้น ต้องศึกษา คนศึกษาก็คือคนค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ ตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ

วิธีที่เล่ามานี้ ไปค้นคว้าให้มันละเอียดอีกครั้ง โลภ โกรธ หลง มันก็จะเบาไปจากเรา นี่คือวิธีปฏิบัติ เราต้องรู้จักปฏิบัติด้วยและต้องใช้ด้วย เรียนธรรมะไม่ใช้ก็ไม่ได้เรื่องอะไร ต้องเอาไปใช้แก้ปัญหาชีวิตด้วยวิธีที่กล่าวมา โลภ โกรธ หลง ก็เบาไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เรียกว่าเป็นฝ่ายอกุศล ฝ่ายไม่ดีที่เกิดขึ้นในใจของเรา

ในใจเรานั้นมันคล้อยกับมี ๒ หน้า หน้ามืด หน้าสว่าง คล้ายกับเดือนข้างขึ้นข้างแรม ข้างขึ้นเดือนแจ้ง ข้างแรมเดือนมืด ใจเราก็อย่างนั้นแหละ ข้างฝ่ายอกุศลเกิดมันก็มืดด้วย โลภ โกรธ หลง ทีนี้ ถ้าหากว่าตรงกันข้าม ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มันก็มีอยู่ในใจเหมือนกัน

ถ้าเป็นเรื่องดี ก็มีประโยชน์ อโลภะ เกิดขึ้นเป็นความคิดที่ดี คิดจะให้ทาน คิดจะมีเมตตา คิดจะทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ เป็น อโลภะ
อโทสะ ไม่ร้อน ไม่หุนหันพลันแล่น ใจเย็นใจสงบ
อโมหะ แจ้งอยู่ตลอดเวลา หมายความว่า มองอะไรเห็นชัดแจ่มแจ้ง ไม่มมัวเมา ไม่มืด ไม่บอด อันนี้ เป็นฝ่ายดี

เมื่อรู้จักฝ่ายชั่วร้าย ฝ่ายดีไม่ต้องพูดมาก มันตรงกันข้าม แล้วก็เป็นสิ่งที่เป็นคุณ เราควรให้ฝ่ายชั่วดับไปให้ฝ่ายดีเกิดขึ้น และช่วยกันประพฤติดี ทำความดีให้เกิดขึ้นในใจของเรา อย่าให้มีความโลภ แต่ให้มีความไม่โลภ อย่าให้มีความโกรธ ให้มีความไม่โกรธ อย่าให้มีความหลง

แต่ให้มีความไม่หลง เกิดขึ้นในใจ เรียกว่าเป็นฝ่ายกุศลมูล คนไม่โลภ ก็บริจาคทาน คนไม่โกรธ ก็มีใจเมตตา ปรารถนาความสุขความเจริญแก่เพื่อนมนุษย์ คนไม่หลง ก็มองเห็นอะไรแจ่มแจ้งตามสภาพที่เป็นจริง สิ่งทั้งหลายมันก็ไม่วุ่นวาย

นี่เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในใจของเรา ต้องคอยกำหนด รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นแล้วคอยแก้ไข เรื่องการปฏิบัติที่สำคัญก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่คอยกำหนดรู้ว่าความคิดของเรา แล้วก็การกำหนดรู้อยู่ที่จิตตัวเดียว
ปากก็มาจากจิต
มือก็มาจากจิต
จิตพาจูงไป
การกระทำทางกายทางวาจานั้นมาจากจิต จิตเริ่มก่อน ถ้าจิตใจเริ่มดีก็พูดดีทำดี
ถ้าจิตใจเริ่มชั่วก็พูดชั่วทำชั่ว อะไรๆมันก็ออกมาจากจิตใจของเราทั้งนั้น ไม่ใช่มาจากที่ไหน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติความจริง ไม่ใช่เรื่องมาก มีเรื่องเดียว คือ “คุมจิต” เท่านั้น

ถ้าคุมจิตได้คือการรักษาสมาธิ การรักษาปัญญาก็จะมีขึ้น มันมาพร้อมกัน แต่ถ้าเราไม่ได้คุมจิตมันก็จะไปกันใหญ่ เรื่องอะไรร้ายๆ ไม่ดีไม่งามรุมกันมาเถิด เพราะเราไม่ได้คุมไม่ได้รักษาจุดศูนย์กลางไว้ เราต้องคุมจิตให้อยู่ คุมไว้ด้วยสติ ด้วยปัญญา คอยกำหนด

ที่ไปนั่งกัมมัฏฐาน ก็คือหัดคุมจิต คอยคุมไว้ทุกโอกาส ไปไหนก็คุมไว้ ยืน เดิน ก็คุมไว้ ทำบ่อยๆ มันก็ชินเป็นนิสัย มีสติทันท่วงที คล้ายกับบริหาร ฝึกบ่อยๆ ก็เก่ง คนขับรถยนต์เป็นก็เพราะว่าขับนาน มันก็เป็น เก่ง หลบได้ทันท่วงที
นักมวยก็เหมือนกัน ชกบ่อยๆก็เก่งเตะมารับได้ คนไม่เป็นก็ต้องขึ้นไปเป็นกระสอบทรายให้เพื่อนต่อยเล่นเท่านั้นเอง ลักษณะเป็นอย่างนั้น

อารมณ์ก็เช่นกัน เหมือนคู่ชกของเรา มันชกเราหน้าดำ ตาแดงไปตามๆกัน ถ้าเราไม่คุ้น เพราะฉะนั้น เราต้องหัดต่อสู้ หัดควบคุม หัดรักษาจิตใจไว้ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย แล้วเราจะรู้สึกว่าใจเราเย็น ใจเราสบาย อารมณ์ร้ายๆ ไม่เกิดขึ้นรบกวนจิตทำให้วุ่นวาย นั่นแหละคือสิ่งที่เราต้องการ การปฏิบัติอยู่ตรงนั้น ตรงที่จิตใจสงบ สะอาด สว่าง อยู่ด้วยปัญญา รู้เท่า รู้ทัน ในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง เราก็อยู่สบาย ไม่วุ่นวายมากเกินไป นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น กับ สิ่งทีเกิดขึ้นในใจของเรา ให้รู้ไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2018, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ ก็ให้จำไว้ย่อๆ ว่า (๑) จิตของมนุษย์นี้ไม่มีกิเลสอยู่ตลอดเวลา กิเลสเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อมีอารมณ์มากระทบ
จิตนี้เป็นสิ่งแก้ได้ ไม่ใช่แก้ไม่ได้ การแก้อยู่ในอำนาจ อยู่ในจิตของเรา

(๒) ประการที่สอง ให้รู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต ทำจิตให้เศร้าหมอง เรียกว่ากิเลส ตัวความอยากมี ๓ ตัว คือ โลภ โกรธ หลง เป็นตัวกิเลสใหญ่ที่ทำให้จิตของเราเป็นอกุศลเป็นบาป ซึ่งเราต้องแก้ด้วยความยินดีตามมีตามได้ พอใจในการเสียสละ มันแก้โลภได้
ส่วนโทสะนั้น ต้องมีสติ มีปัญญาคอยคุมไม่ให้มันเกิดขึ้นครอบงำจิตใจตั้งอยู่นานๆ เอาสติคุมก่อนแล้วเอาปัญญามาพิจารณา
ความหลงก็ต้องศึกษาให้รู้ทั่วตามสภาพที่เป็นจริง ในเรื่องต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในจิตใจของเรา (๓) งานสำคัญที่เราควรทำทุกวันๆ ก็คือการชำระตัวเอง พิจารณาตัวเอง เพื่อให้รู้ว่าอะไรที่เกิดขึ้น อะไรที่ตั้งอยู่ แล้วมีอะไรเกิดต่อมา เราควรจะแก้ไขมันโดยวิธีใด อันนี้ เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจก่อน

(จบตอน จากหนังสือนี้ หน้า ๒๒๑)

http://g-picture2.wunjun.com/6/full/741 ... s=614x1024

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2018, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์, กิเลส ๑๐ (ในบาลี เดิม เรียกว่ากิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ


“ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ? ได้แก่ กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นกุศล”

“ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ? ได้แก่ อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอกุศลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นอกุศล” (อภิ.สํ.34/663/259)


กุศล “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวร้ายอันน่ารังเกียจ” “ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง" "ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา" สภาวะหรือการกระทำที่ฉลาด กอปรด้วยปัญญา หรือเกิดจากปัญญา เกื้อกูล เอื้อต่อสุขภาพ ไม่เสียหาย ไร้โทษ ดีงาม เป็นบุญ มีผลเป็นสุข, ความดี (กุศลธรรม), กรรมดี (กุศลกรรม)

กุศลกรรม กรรมดี, กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล

กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) ว่าโดยสาระ กรรมก็คือเจตนา หรือ เจตนานั่นเองเป็นกรรม, การกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่ว กรรมชั่ว

กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒
คือ
๑. อกุศลกรรม - กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
๒. กุศลกรรม - กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม มี ๓
คือ
๑. กายกรรม - การกระทำทางกาย
๒. วจีกรรม - การกระทำทางวาจา
๓. มโนกรรม - การกระทำทางใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 143 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron