วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2018, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสมีเกิดขึ้นมี ๓ ลักษณะ



๑. อุปทานขันธ์ ๕ อย่างหยาบ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

ทำให้เกิดการกระทำทางกาย วาจา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ข้อปฏิบัติเพื่อละอุปทานขันธ์ ๕
การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง)

ได้แก่ ศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ








๒. อุปทานขันธ์ ๕ อย่างกลาง
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ,อรูปภพ)

ทางใจ
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

ข้อปฏิบัติเพื่อละอุปทานขันธ์ ๕
การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
(สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง)










๓. อุปทานขันธ์ ๕ อย่างละเอียด
อวิชชา สังขาร วิญญาณ

จิตใต้สำนึก
ขณะทำกาละ

ข้อปฏิบัติเพื่อละอุปทานขันธ์ ๕
การเจริญสมถะและวิปัสสนา เคียงคู่กันไป









ถ้าไม่มีอุปทานขันธ์ ๕ เกิดขึ้น
กิเลส เช่น ตัณหาเป็นต้น ย่อมไม่มี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2018, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๓๙๖] สัจจกนิครนถ์พอนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อแก้ปัญหาแก่ข้าพเจ้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด.

ส. พระโคดมแนะนำพวกสาวกอย่างไร
และคำสั่งสอนของพระโคดมมีส่วนอย่างไรที่เป็นไปมากในพวกสาวก?

พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า

รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ดังนี้

ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2018, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า
ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม
จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน?



พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้
ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้.



ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท
ข้ามความสงสัยเสียได้
ปราศจากความแคลงใจ อันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร
ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2018, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๔๐๒] ส. ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร
ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ
มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ?



พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ …
เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า


รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น.



ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ
ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ
มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ.





ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ
ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑
ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑
ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑.


เมื่อมีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึกพระองค์แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อข้ามพ้น

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2018, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2018, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b1: :b1: :b1:



กบ ถ้าไม่ไหวก็นอนเถอะ อย่าฝืนเลย อายเขา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร



[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย แคว้นสักกะ
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุทุกรูปควรทำแท้
แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุทุกรูปไม่ควรทำเลย

ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะความไม่ประมาทภิกษุเหล่านั้นกระทำแล้ว
ภิกษุเหล่านั้นไม่ควรประมาท


ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่
เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
รูปเหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่

เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้ ฯลฯ

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
รสเหล่านั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่
เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้ ฯลฯ

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ น่ารื่นรมย์ใจบ้าง ไม่น่ารื่นรมย์ใจบ้างมีอยู่
ธรรมารมณ์นั้นกระทบแล้วๆ ย่อมไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้นอยู่
เพราะไม่ครอบงำจิต บุคคลจึงปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ
เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้ จึงกล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ประการ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำแท้








ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้




เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ


พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ



พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี
กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2018, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ผัสสายตนสูตรที่ ๓

บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ



พระธรรมคำสอนนี้ ไม่ได้หมายถึง "ผัสสะ" เพียงอย่างเดียว
แต่หมายถึง มรรค-อริยมรรค มีองค์ ๘ ด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2018, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:

ผัสสายตนสูตรที่ ๓

บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ



พระธรรมคำสอนนี้ ไม่ได้หมายถึง "ผัสสะ" เพียงอย่างเดียว
แต่หมายถึง มรรค-อริยมรรค มีองค์ ๘ ด้วย









๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ มากมายแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง

เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง
ย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป
กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง
เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว

จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ

[๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความเป็นจริง...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์
เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดในธรรมารมณ์
กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย


เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง
เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป

และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี
อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว
จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ


[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ
ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง
เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป
และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆได้

จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้
เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว
มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ
มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ
มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ
มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว
ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ



[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้
ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์
บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
มีข้อที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์
คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ
เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คืออวิชชาและภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน
คือสมถะและวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2018, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า

ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2018, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

ลักษณะอย่างหยาบ ที่ปรากฏเห็นได้ชัด
โดยการนำความรู้ความเห็นที่ตนมีอยู่
เข้าไปตัดสินในเหตุปัจจัยของผู้อื่น

ได้แก่ การชอบประมาณในบุคคลอื่น



เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดในเรื่องของเหตุและปัจจัย
เมื่อไม่รู้ชัด ย่อมเป็นปัจจัยให้ ชอบประมาณในบุคคลอื่น

เมื่อแสดงตามความรู้ความเห็นของตน

"สิ่งนี้จริง สิ่งอื่นเปล่า"





ดูกรภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้
มีวิบากเป็นสองส่วน ในปัจจุบัน ๕ ประการ เป็นไฉน?

คือ ศรัทธา ความเชื่อ ๑
รุจิ ความชอบใจ ๑
อนุสสวะ การฟังตามกัน ๑
อาการปริวิตักกะ ความตรึกตามอาการ ๑
ทิฏฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ ๑
ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน

ดูกรภารทวาชะ ถึงแม้สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีทีเดียว
แต่สิ่งนั้นเป็นของว่างเปล่า เป็นเท็จไปก็มี

ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อด้วยดีทีเดียว
แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี

อนึ่ง สิ่งที่ชอบใจดีทีเดียว ...
สิ่งที่ฟังตามกันมาด้วยดีทีเดียว ...
สิ่งที่ตรึกไว้ด้วยดีทีเดียว ...

สิ่งที่เพ่งแล้วด้วยดีทีเดียว
เป็นของว่างเปล่า เป็นเท็จไปก็มี

ถึงแม้สิ่งที่ไม่ได้เพ่งด้วยดีทีเดียว
แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี

ดูกรภารทวาชะ บุรุษผู้รู้แจ้ง เมื่อจะตามรักษาความจริง
ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้นโดยส่วนเดียวว่า
สิ่งนี้แหละจริงสิ่งอื่นเปล่า.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร