วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2018, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน
คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ




ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่

เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว






ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น


นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ














ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ


เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ











พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง
มีในปัจจุบัน
นี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ





ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส


ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ


เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2018, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๙๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน?

คือ จักขุนทรีย์ ๑
โสตินทรีย์ ๑
ฆานินทรีย์ ๑
ชิวหินทรีย์ ๑
กายินทรีย์ ๑
มนินทรีย์ ๑

อินทรีย์ ๖ ประการนี้แล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2018, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของ "อินทรีย์ ๕"
สำหรับผู้ที่ยังมีอุปทานในขันธ์ ๕




๕. สมนุปัสสนาสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕

[๙๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เมื่อพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นตนเป็นหลายวิธี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมพิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?


ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ

ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ



ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมตามเห็นรูปในตน ๑
ย่อมตามเห็นตนในรูป ๑
ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ...
ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ...
ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ...
ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณ ๑.

การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล
เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น

เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น
ในกาลนั้น อินทรีย์ ๕ คือ
จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์
ย่อมหยั่งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่
ธรรมทั้งหลายมีอยู่
อวิชชาธาตุมีอยู่.




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์
ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า
เราเป็นดังนี้บ้าง
นี้เป็นเราดังนี้บ้าง
เราจักเป็นดังนี้บ้าง
จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง
จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาดังนี้บ้าง
จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้
ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่
ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว

เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา
อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า

เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง
เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.

จบ สูตร ๕.












สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น

[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่างๆ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด พิจารณาเห็น
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร

คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป

๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา
หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ

การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’
เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ

๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑- ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒- มีอยู่

เมื่อปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ถูกความเสวยอารมณ์
ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว
เขาก็มีความ ยึดมั่นถือมั่นว่า

‘เราเป็น’บ้าง
‘เราเป็นนี้’บ้าง
‘เราจักเป็น’บ้าง
‘เราจักไม่เป็น’บ้าง
‘เราจักมีรูป’บ้าง
‘เราจักไม่มีรูป’บ้าง
‘เราจักมีสัญญา’บ้าง
‘เราจักไม่มี สัญญา’บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’บ้าง

ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ
ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล

เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓- จึงเกิดขึ้น

เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น
อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า

‘เราเป็น’ บ้าง
‘เราเป็นนี้’ บ้าง
‘เราจักเป็น’ บ้าง
‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง
‘เราจัก มีรูป’ บ้าง
‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”

สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ





หมายเหตุ :

๑. มนะ ใจ
ธรรม ธรรมารมณ์

๒. อวิชชาธาตุ ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔

เกิดจากผัสสะอันสัมปยุตด้วยอวิชชา.
เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงฯลฯ

เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่ อุปทานขันธ์ ๕ ย่อมมีเกิดขึ้น
เมื่อความยึกดมั่นถอมั่นในขันธ์ ๕ มีเกิดขึ้น

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา



๓. วิชชาเกิด การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ (ปัญญินทรีย์)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกอินทรีย์ ๕
ได้แก่ จักขุอินทรีย์ โสตินทรีย์ฯลฯ


เป็นเรื่องของ อุปทานขันธ์ ๕
ที่มีเกิดขึ้นกับปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ฯลฯ





สำหรับอริยสาวก
จักขุอินทรีย์ ฯลฯ ทรงตรัสเรียกว่า อินทรีย์ ๖


นี่เป็นความต่างของคำเรียก"อินทรีย์ ๕"
ในพระอริยบุคคลกับปถุชน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2018, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สาเกตสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว
ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง
ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.


พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่
ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?




ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์

สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์

สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์

สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์

สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก
หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่
อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน?

คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น
ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน?

คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น
ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว
ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด. ฉันนั้นเหมือนกัน


ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ
สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2018, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑


๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒


๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓


๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔


๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕


๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖


๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗


๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘


ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ



ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง
เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ
ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน


อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่าไม่มี

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ

จบมหานิทานสูตร ที่ ๒




หมายเหตุ;

"อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่าไม่มี"



อุภโตภาควิมุตติอื่น หมายถึง วิโมกข์ ๘ ประการ ได้แก่ สมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ

อุภโตภาควิมุตตินี้ หมายถึง วิโมกข์ ๘ ประการ ได้แก่ สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2018, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่
และ อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล







บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ปัญญาวิมุตบุคคล









ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
แต่หาได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายไม่
บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ








ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
และย่อมถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย
บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างนี้แล ฯ












ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างนี้แล


ก็บุคคลเมื่อจะเรียกบุคคลใดโดยชอบว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี่แหละว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ

เพราะเราได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก
ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ฯลฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะเป็นอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้รับขอร้องจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคจีวรน้อย
ได้รับขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตเป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคบิณฑบาตน้อย
ได้รับขอร้องจึงบริโภคเสนาสนะเป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคเสนาสนะน้อย
ได้รับขอร้องจึงบริโภคเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้เป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย
และย่อมอยู่กับสพรหมจารีเหล่าใด

สพรหมจารีเหล่านั้น ย่อมประพฤติด้วยกายกรรม
เป็นที่ชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่ชอบใจเป็นส่วนน้อย


ย่อมประพฤติวจีกรรม
เป็นที่ชอบเป็นส่วนมาก ที่ไม่ชอบใจเป็นส่วนน้อย


ย่อมประพฤติมโนกรรม
เป็นที่ชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่ชอบใจเป็นส่วนน้อย ต่อเธอ
ย่อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่ชอบใจเท่านั้น ที่ไม่ชอบใจมีน้อย


อนึ่ง เวทนาเหล่าใด มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ประชุมกันเกิดก็ดี เกิดแต่ฤดูแปรปรวนก็ดี
เกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดแต่บาดเจ็บก็ดี เกิดแต่ผลของกรรมก็ดี
เวทนาเหล่านั้น ไม่บังเกิดแก่เธอเป็นส่วนมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย

เป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างนี้แล ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะเรียกบุคคลใดโดยชอบว่าเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
ก็พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี้แหละว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเราได้รับขอร้องเท่านั้น
จึงใช้สอยจีวรมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมใช้สอยแต่น้อย
ได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย
ได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคเสนาสนะมาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ได้รับขอร้องเท่านั้น
จึงบริโภคเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้มาก ไม่ได้รับขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย

และเราย่อมอยู่กับภิกษุเหล่าใด
ภิกษุเหล่านั้น ย่อมประพฤติด้วยกายกรรม
อันเป็นที่พอใจเท่านั้นต่อเราเป็นอันมาก ที่ไม่พอใจน้อย

ย่อมประพฤติด้วยวจีกรรม
เป็นที่พอใจเท่านั้นต่อเราเป็นอันมาก ที่ไม่พอใจน้อย

ย่อมประพฤติมโนกรรม
เป็นที่พอใจเท่านั้นต่อเราเป็นอันมาก ที่ไม่พอใจน้อย
ย่อมนำเข้ามาแต่สิ่งที่พอใจเท่านั้น ที่ไม่พอใจน้อย


อนึ่ง เวทนาเหล่าใด มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี
ประชุมกันเกิดขึ้นก็ดี เกิดแต่ฤดูแปรปรวนก็ดี เกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี
เกิดแต่บาดเจ็บก็ดี เกิดแต่ผลกรรมก็ดี

เวทนาเหล่านั้น ไม่บังเกิดขึ้นแก่เรามากนัก
เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย

อนึ่ง เราเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะเรียกก็พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี่แหละว่า
เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2018, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 12 มี.ค. 2018, 20:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๒๐]พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ
พระอรหันต์นั้นย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย.

[๒๒๑] คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่
ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ มีความว่า คำว่า โธนะ มีความว่า ปัญญาเรียกว่าโธนา ได้แก่ ความรู้
ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุอะไร ปัญญา
จึงเรียกว่าโธนา. เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความ
ริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น
ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน
ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงชื่อว่าโธนา. อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ
เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ
ซักฟอกซึ่งมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาเป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวาจา สัมมา
กัมมันตะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นเครื่องกำจัด
ล้าง ชำระซักฟอกซึ่งมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวายามะ
สัมมาสติ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสติ สัมมาสมาธิ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง
ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาสมาธิ สัมมาญาณ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาญาณ.
สัมมาวิมุติ เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งมิจฉาวิมุติ. อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอกซึ่งกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง
ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง พระอรหันต์เข้าถึง เข้าถึง
พร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าชิด เข้าชิดพร้อมแล้ว ประกอบแล้วด้วยธรรมทั้งหลายอัน
เป็นเครื่องกำจัดนี้ เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์จึงชื่อว่า มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด พระอรหันต์นั้น
กำจัดราคะ บาป กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด.

คำว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
และอารมณ์ที่ทราบ คือ พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูปที่เห็น ย่อมไม่
สำคัญในรูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญแต่รูปที่เห็น ย่อมไม่สำคัญว่า รูปเราเห็นแล้ว ย่อมไม่สำคัญ
ซึ่งเสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญในเสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญแต่เสียงที่ได้ยิน ย่อมไม่สำคัญว่า
เสียงเราได้ยินแล้ว ย่อมไม่สำคัญซึ่งอารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญในอารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่
สำคัญแต่อารมณ์ที่ทราบ ย่อมไม่สำคัญว่า อารมณ์เราทราบแล้ว ย่อมไม่สำคัญซึ่งอารมณ์ที่รู้แจ้ง
ย่อมไม่สำคัญในอารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญแต่อารมณ์ที่รู้แจ้ง ย่อมไม่สำคัญว่า อารมณ์เรารู้
แจ้งแล้ว. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนได้สำคัญว่า เรามีอยู่
ว่าเราย่อมไม่มี ว่าเราจักมี ว่าเราจักไม่มี ว่าเราจักเป็นสัตว์มีรูป ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป ว่าเรา
จักเป็นสัตว์มีสัญญา ว่าเราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ว่าเราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่ และปุถุชนได้สำคัญว่า เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นอุบาทว์ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้มีจิตไม่สำคัญอยู่
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด
ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ.

[๒๒๒] คำว่า พระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น คือ พระอรหันต์
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องจำกัด ย่อมไม่ปรารถนา ไม่ยินดี ไม่ประสงค์ ไม่รัก ไม่ชอบใจ ซึ่งความ
หมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วยมรรค
อื่น คือ ด้วยมรรคอันไม่หมดจด ด้วยปฏิปทาอันผิด ด้วยทางอันไม่นำออกจากทุกข์ เว้นจาก
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระอรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น.

[๒๒๓] คำว่า พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย มีความว่า
พาลปุถุชนทั้งปวงย่อมกำหนัด พระอริยบุคคลผู้เสขะ ๗ จำพวก ตลอดถึงกัลยาณปุถุชน
ย่อมคลายกำหนัด ส่วนพระอรหันต์ย่อมกำหนัดหามิได้ ย่อมคลายกำหนัดก็หามิได้. เพราะ
พระอรหันต์นั้นคลายกำหนัดแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะโดยราคะสิ้นไปแล้ว เพราะเป็นผู้
ปราศจากโทสะโดยโทสะสิ้นไปแล้ว เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะโดยโมหะสิ้นไปแล้ว และพระ-
*อรหันต์นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่มิได้มีแก่พระอรหันต์นั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่กำหนัด ไม่คลายกำหนัดเลย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสว่า

พระอรหันต์ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องกำจัด ย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบ
พระอรหันต์นั้น ย่อมไม่ปรารถนาความหมดจดด้วยมรรคอื่น ย่อมไม่กำหนัด ย่อมไม่คลายกำหนัดเลย ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2018, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2018, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวิมุตติบุคคลและอุภโตภาควิมุตติบุคคล
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นของ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
ของอรหัตผล ที่เป็นสมณะบุณฑริก,สมณะสระปทุมและสมณะสุขุมาลย์


แต่ทว่า ปัญญาวิมุตติบุคคลและอุภโตภาควิมุตติบุคคล
มีเรื่องของวิบากกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
สภาวะที่เป็นตัวแปรคือ สมาธินทรีย์

และที่เรียกว่า พระอรหันต์ขีณาสพ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ได้แก่ สมณะบุณฑริก,สมณะสระปทุมและสมณะสุขุมาลย์



สอุปาทิเสนิพพานธาตุ มีเกิดขึ้นในปัจจุบัน

พระอรหันต์ขีราสพ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ

เป็นสภาวะของผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน
ในสมณะบุณฑริก,สมณะสระปุทุมและสมณะสุขุมาลย์




อนุปาทานิพพานธาตุ มีเกิดขึ้นในอนาคต

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกาละ หมายถึง สภาวะจิตดวงสุดท้ายขณะทำกาละ
ของสมณะบุณฑริก,สมณะสระปทุมและสมณะสุขุมาลย์


และบุคคลที่ปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

การปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ไม่ได้มีความสำคัญมั่นหมายในเรื่องของอริยบุคคลแต่อย่างใด
แต่เป็นการปฏิบัติที่มุ่งเฉพาะ ผู้ที่เบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

ได้แก่ เจโตวิมุตติ(อันไม่กำเริบ)และปัญญาวิมุตติ
กล่าวคือ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะทำกาละ(สภาวะจิตดวงสุดท้าย)
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น


ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้
คือ ย่อมได้ความวางเฉยว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา
ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้ อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา
เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง


อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง

เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่



รายละเอียดของสภาวะมีมากกว่า
แต่ ณ ตอนนี้ เขียนได้แค่นี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2018, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขวรรคที่ ๖
๑. ปริวีมังสนสูตร

[๑๙๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า
ก็ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี

ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา ย่อมรู้ประจักษ์ว่า
สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย
มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด
เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร
ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร

ภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งสังขาร



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา
ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ
ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบาป
ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา ฯ





[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา
เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น

เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว
เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป

ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น
สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต
เพราะความแตกแห่งกาย ฯ



[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อ
วางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป
กระเบื้องหม้อยังเหลืออยู่ที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย

เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น
สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต
เพราะความแตกแห่งกาย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ





[๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ภิกษุผู้ขีณาสพพึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง ทำกรรมเป็นบาปบ้าง ทำกรรมเป็นอเนญชาบ้างหรือหนอ ฯ
ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับ อุปาทานพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับ ภพพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ ฯ
ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

[๑๙๕] ดีละๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด
พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2018, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ ยังมีนิพพานอีกประเภท ยังแบ่งออก ได้ดังนี้ค่ะ


ตทังคนิพพาน

วิขัมภนนิพพาน

สมุจเฉทนิพพาน

ปฎิปัสสัททินิพพาน

นิสรณนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2018, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ ยังแบ่งนิพพานออกดังนี้


สุญญตนิพพาน ของพระอรหันต์
ปรานีตกว่า
อัปปณิหิตนิพพาน ของพระอรหันต์
ปรานีตกว่า
อนิมิตตนนิพพาน ของพระอรหันต์
ปรานีตกว่า
สุญญตนิพพานของพระอนาคามี
ปรานีตกว่า
อัปปณิหิตนิพพานของพระอนาคามี
ปรานีตกว่า
อนิมิตตนิพพานของพระอนาคามี
ปรานีตกว่า
สุญญตนิพพานของพระสกิทามี
ปรานีตกว่า
อัปณิหิตนิพพานของพระสกิทามี
ปรานีตกว่า
อนิมิตตนิพพานของพระสกิทามี
ปรานีตกว่า
สุญญตนิพพานของพระโสดาบัน
ปรานีตกว่า
อัปปณิหิตนิพพานของพระโสดาบัน
และปรานีตกว่า
อนิมิตตนิพพาน ของพระโสดาบันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2018, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานนี่หมายถึงอะไรขอรับ ทำไมมันเยอะแยะขนาดนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร