วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยทรัพย์ ๗ (คุณความดีอย่างประเสริฐ ๗)

อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐ ๗ ประการ

คำว่า “ทรัพย์” นี้เขาเขียนตามแบบสันสกฤตว่า ทรวฺยฺ แปลว่า สิ่งอันให้เกิดความชื่นใจ มีเงินเราก็สบายใจ มีทอง ก็สบายใจ มีเพชรนิลจินดาเราก็สบายใจ มีช้าง มีม้า มีวัว มีควาย มีที่ดินบ้านช่องทรัพย์ทั้งนั้น ทรัพย์ นี้มี ๒ แบบ เราเรียกว่า สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่นว่า วัว ควาย ช้าง ม้า เพชรนิลจินดา นี่ทรัพย์เคลื่อนที่

อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่นว่า บ้านเรือน ที่ดิน เหล่านี้มันเป็นทรัพย์ ทรัพย์ภายนอก เรียกว่ามี ๒ ประการ

ทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกก็คือทรัพย์ดังที่กล่าว ทรัพย์ภายในนั้นคือ คุณงามความดีทีเกิดอยู่ในใจของผู้นั้นหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า คุณธรรม

คุณธรรมนี่เป็นทรัพย์ที่ประเสริฐ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก. เพราะถ้ามีทรัพย์ภายในแล้ว ทรัพย์ภายนอกอยู่ได้ ถ้ามีทรัพย์ภายนอกไม่มีทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกอยู่ไม่ได้

ลูกเศรษฐีมีเงินทองมากๆ พอพ่อแม่ตายแล้ว ไม่สามารถจะรักษาทรัพย์นั้นไว้ได้ นี่เพราะอะไร ? เพราะลูกเศรษฐีคนนั้น ไม่มีทรัพย์ภายใน จึงไม่สามารถหาทรัพย์ภายนอกได้ แต่ถ้ามีทรัพย์ภายใน แม้ไม่มีทรัพย์ภายนอก เขาก็สามารถหาทรัพย์ภายนอกได้ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน เพราะมีทรัพย์ภายใน นี่แหละทรัพย์ภายในจึงสำคัญกว่าทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายนอกเป็นทรัพย์อาศัย ทรัพย์ภายในนั้นเป็นทรัพย์แท้ที่อยู่กับเราตลอดเวลา ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ โจรผู้ร้ายจะมาจี้ก็ไม่ได้ เอาไปไม่ได้ เพราะอยู่ข้างใน อยู่กับเราตลอดเวลา ใช้ได้จนกระทั่งแก่เฒ่าชรา จึงเป็นของที่ประเสริฐ พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนเรื่องทรัพย์ภายใน ให้ทุกคนเอาไปใช้ เป็นของที่ไม่หมดไม่สิ้น กินไม่หมดว่าอย่างนั้น ถ้ารู้แล้วก็ไม่หมดไม่สิ้น ก็คือทรัพย์ภายในนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทรัพย์ภายในนี่พระพุทธเจ้าท่านให้แก่ใครครั้งแรก ? ให้แก่ พระราหุลเถระโอรส เวลาพระพุทธเจ้าเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ มาสอนธรรมะ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วไม่ไปเทศน์เมืองกบิลพัสดุ์ก่อนดอกนะ ไปที่อื่นก่อน ไปเทศน์เมืองพาราณสี ไปเมืองราชคฤห์ ยังไม่ไปเมืองกบิลพัสดุ์

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? คือว่าพวกศากยะนี่มีทิฏฐิมานะมาก พระพุทธเจ้าเวลานั้น ก็เรียกว่าเป็นคนรุ่นหนุ่ม แม้เมื่อออกบวชแล้วก็ยังอยู่ในวัยหนุ่ม ไม่ใช่คนแก่ พวกศากยะแก่ๆ เฒ่าๆ เยอะ ถ้าไปเทศน์ไปสอนก็อย่างนั้นแหละ ไม่ค่อยเอาใจใส่

เหมือนกับพระเรานี่แหละ เช่นว่าหลวงพ่อนี่ ถ้าไปเทศน์ที่บ้านเกิดก็อย่างนั้นแหละ พวกนั้นฟังแล้วก็หัวเราะไปอะไรต่ออะไรตามเรื่อง พอเทศน์จบแล้วมันไปคุยเรื่องสมัยเด็กๆ โน่น ไปคุยเรื่องเก่าจนเราเลอะเทอะไปหมด เทศน์ไม่ได้ พูดอะไรมันก็สนุกไปเสียหมด มันไม่ค่อยได้เรื่อง

ถ้าไปเทศน์บ้านอื่นเขาไม่รู้ พอไปเทศน์บ้านเดิม ไอ้พวกรุ่นแก่ๆ เฮ้อ ไอ้ขาวอย่างนั้น ไอ้เผือกอย่างนั้น เอาชื่อเดิมมาพูด เป็นเล่นไปเสีย ไม่ได้เรื่องอะไร

เพราะฉะนั้น ก่อนไปเทศน์ ต้องไปทำชื่อเสียงเทศน์ที่อื่นให้มันดัง ไปให้เขาสนใจว่า เออ ไอ้เผือกนี่มันสำคัญไปแล้ว เขาจะได้สนใจ นี่ก็เช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ อะไรๆ มันต้องทำเหมือนกับที่พระองค์กระทำ

พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่กลับไปบ้านเดิมก่อน แต่ว่าไปเทศน์รอบนอกให้ข่าวมันกระฉ่อนไป เมื่อกระฉ่อนไปพวกพระญาติทั้งหลายก็อยากพบ อยากฟังเทศน์ จึงส่งกาฬุทายีอำมาตย์ไปนิมนต์ ขั้นแรกก็ส่งคนอื่นไป แล้วส่งไปถึง ๓ พวก ไปแล้วไปบวชเสียหมด บวชแล้วเฉยเสีย ไม่กลับมากราบทูลเสียด้วย บวชแล้วเพลินกับความพ้นทุกข์ไม่ทูลเชิญ

ต่อมาก็ส่งกาฬุทายีอำมาตย์ไป เพราะว่าเป็นคนที่ใช้งานใช้การได้ แล้วก็รุ่นราวคราวเดียวกับพระพุทธเจ้า “สหชาติ” ว่ายังงั้นเถอะ กาฬุทายีเวลาจะไป ก็ขอพระเลย บอกว่า ข้าพระองค์ไปแล้วต้องขอบวชด้วย อนุญาตให้ แต่บวชแล้วอย่าลืมพาพระพุทธเจ้ามาเมืองกบิลพัสดุ์ให้ได้ กาฬุทายีก็ไปบวชจริงๆ บวชแล้วอยู่จำพรรษา

พอออกพรรษากาฬุทายีก็เข้าไปกราบทูลว่า พื้นดินแห้งแล้ว ฝนฟ้าไม่ตก ทางเดินสะดวก ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเสด็จไปสู่กบิลพัสดุ์ พระบิดาและพระญาติกำลังคอยต้อนรับ พระองค์ก็เลยออกเดินทางไปจากเมืองสาวัตถี ไปสู่เมืองกบิลพัสดุ์ เดินทางกันนานตั้งเดือนกว่า พอไปถึงเขาก็ต้อนรับขับสู้อย่างดี ญาติบางคนก็เฉยๆ ไม่แสดงอะไร แต่ว่าพวกอื่นก็พร้อมที่จะฟัง ก็เลยเทศน์

ทีนี้ วันหนึ่ง พระองค์ออกบิรณฑบาต พระนางพิมพาก็เอาราหุลมาชี้ให้ดู นั่นแหละพ่อของเจ้า เจ้าจงไปหาขอราชสมบัติ ซึ่งเป็นของพ่อ ราหุลกุมารก็ไป เดินตามพระพุทธเจ้าไป อายุ ๗ ขวบนี่เดินถามไปฉอเลาะไปตามเรื่องของเด็กๆ พอไปถึงวัดก็เข้าไปขอทรัพย์สมบัติ

พระองค์ก็ดำริว่า ถ้าเราให้ราชสมบัติแก่ราหุล ก็เป็นไปเพื่อความทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ อย่ากระนั้นเลย ต้องให้อริยทรัพย์ดีกว่า เลยเรียกพระสารีบุตรมา บอกว่า สารีบุตรเอาราหุลไปบวชหน่อย สารีบุตรถามว่าบวชอย่างไร เพราะยังไม่ได้เคยบวชเณร ยังไม่เคยมีสามเณรบวช

พระองค์บอกว่า บวชเป็นสามเณร ปลงผม ตัดเล็บมือเล็บเท้า ให้นุ่งผ้ากาสายะ ให้เปล่งวาจาถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรียกว่า บวชเป็นสามเณร

สารีบุตรก็เอาไปบวช นี่เรียกว่าประสาทอริยทรัพย์ให้ คือให้คุณความดี พูดง่ายๆ ว่า ให้คุณความดีแก่พระราหุล พระราหุลก็รับมรดกนั้นสืบต่อมาจนกระทั่งบวชเป็นพระ แล้วก็มีชื่อเป็นอรหันต์องค์หนึ่งเหมือนกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2018, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทรัพย์ ๗ ประการ ที่พระพุทธเจ้าท่านวางหลักไว้นี้ มีอะไรบ้าง ?

๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ สัทธา เราจะสังเกตเห็นว่ามีศรัทธามาหลายบท ในเวสารัชชกรณธรรม ๕ ในพละ ๕ ก็มี แล้วก็มาถึงอริยทรัพย์ ๗ นี้ ก็มีศรัทธา อีก เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ให้เข้าใจว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์อันหนึ่ง เป็นทรัพย์ขั้นพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดทรัพย์อื่นขึ้นต่อไป เช่นว่า คนจะรักษาศีล ต้องมีศรัทธาในการรักษาศีล จะฟังธรรมก็ต้องมีศรัทธาในตัวผู้เทศน์ จะอ่านหนังสือก็ต้องศรัทธาในคนเขียน จะเจริญภาวนาก็ต้องศรัทธาว่า ด้วยวิธีนี้แหละจะช่วยให้เรามีจิตใจสงบ ช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน นี่สัทธา ถ้าไม่มีศรัทธานำแล้วอันอื่นมันเกิดได้ยาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงวางหลักว่า มีศรัทธาเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เพื่อจะให้เกิดประโยชน์ในการที่จะปฏิบัติอะไรต่อไป

สำหรับเราผู้เป็นพุทธบริษัท ก็เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในพระธรรม ในพระสงฆ์ เรียกตามศัพท์ว่า อจลศรัทธา อจละ แปลว่า ไม่หวั่นไหว ไม่โยก ไม่โคลง มีความเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เรื่องนี้เรียกว่า มีศรัทธาเชื่อมันอยู่ในสิ่งนั้น เป็นรากฐานเบื้องต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงตรัสว่า “สัทธา พันธะติ ปาเถยยัง สัทธาเป็นที่รวมเสบียงคือกุศล” กุศลบุญทั้งหลายมันจะเกิดขึ้นเพราะศรัทธา จึงเป็นตัวนำอันแรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. สีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย เป็นทรัพย์อันประเสริฐ. เวลาพระให้ศีลท่านว่า สีเลนะ โภคะสัมปทา -จะได้โภคะก็เพราะศีล สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลน โภคสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธเย แปลว่า จะได้ความสุขก็เพราะศีล จะได้โภคทรัพย์ก็เพราะศีล จะได้ความเย็นใจ ก็เพราะศีล คือถึงนิพพาน ตัสมา สีลัง วิโสธเย เพราะฉะนั้น ท่านจงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ศีลนี่มันเป็นทรัพย์ เพราะว่าคนที่อยู่ในศีลนั้น อยู่ในระเบียบวินัย เป็นคนดีในสังคมทำความสงบเย็นให้แก่ตนและหมู่คณะ จึงนับเป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐอย่างหนึ่ง.

อันคนอยู่ในระเบียบวินัยนั้นย่อมจะเจริญในการงาน ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครๆ อายุมั่นขวัญยืน จะทำอะไรก็สะดวกสบาย เพราะไม่สร้างศัตรู แต่คนไม่มีศีลนี่สร้างศัตรู เช่น เราไม่ถือศีลข้อ ๑ มีศัตรู ไม่ถือศีลข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ก็ล้วนแต่มีศัตรู มีภัยมีเวรทั้งนั้น แต่ถ้าเราเป็นคนมีศีล เราไม่มีภัยกับใคร ไม่มีเวรกับใคร ชีวิตเรียบร้อย มีหลักประกันมั่นคงคือศีล จะไปประกอบกิจการงานใดก็สะดวกสบาย ทำให้เกิดทรัพย์ภายนอก แล้วก็เกิดสงบใจเย็นใจ ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ต้องนั่งเป็นทุกข์ ถึงสิ่งบกพร่องอันตนได้กระทำไว้ก่อน แต่ว่านั่งสบายใจ สบายใจว่าเราได้ทำสิ่งนั้น เราได้ทำสิ่งนี้ที่เป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย แก่ตัวเราด้วย มีแต่เรื่องสบายใจ เป็นผู้ที่เรียกว่าเบิกบานสมกับความเป็นพุทธบริษัท

พุทธบริษัทเรา เรียกว่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้นั้น ต้องมีศีลเป็นฐาน เมื่อไม่มีศีลเป็นฐาน จะไปเบิกบานใจได้อย่างไร มันมีเรื่องกลุ้มใจ มีเรื่องทุกข์เรื่องร้อน แต่ถ้าเราอยู่ในศีล ก็หมายความว่ากายเรียบร้อย วาจาเรียบร้อย มันก็ไม่มีเรื่องอะไร พูดง่ายๆวว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย ที่เรียกว่า “รักษาศีล” นั้นหมายความว่า อยู่ในระเบียบวินัย มันไม่ยุ่ง เรียบร้อย สังคมมนุษย์ถ้าทุกคนมีระเบียบวินัยแล้ว มันเป็นสังคมของมนุษย์จริงๆ มนุษย์แท้ๆ แต่ถ้าไม่มีระเบียบวินัยแล้ว มันเป็นมนุษย์ครึ่งๆ กลางๆ ไม่ใช่โลกแห่งมนุษย์ แต่ว่าเป็นโลกครึ่งแห่งอะไรก็ไม่รู้ วุ่นวาย มีปัญหา เพราะฉะนั้น ศีลนี้ เป็นทรัพย์อันประเสริฐสำหรับชีวิตของเรา ที่จะให้เราได้รับความเย็นกายเย็นใจ และเป็นฐานให้เกิดทรัพย์สมบัติอย่างอื่นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. และ ๔ หิริ. โอตตัปปะ ๒ ข้อ คู่กัน หิริ ความละอายต่อบาป ทุจริต โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป ธรรม ๒ ประการนี้ เรียกว่า ธรรมเป็นโลกบาล ที่เราเรียนในหมวด ๒ ธรรมคุ้มครองโลก คือ หิริโอตตัปปะ คุ้มครองบุคคล คนเราถ้ามีความละอายต่อบาป มีความกลัวต่อบาปแล้ว อยู่ในฐานเป็นเทวดา เหยียบบันไดเทวดาแล้ว จะก้าวต่อไปเรื่อยๆ เพราะเราเป็นคนมีปกติ ละอาย กลัว ไม่กระทำความชั่วทั้งที่ลับที่แจ้ง สิ่งใดไม่เหมาะไม่ควรเรางดเว้น เราไม่กระทำความชั่วทั้งที่ลับที่แจ้ง สิ่งใดไม่เหมาะไม่ควรเรางดเว้นไม่กระทำ มันก็อยู่ในฐานะที่ปลอดภัย มีทรัพย์ภายในคือความละอาย ละความกลัวบาปเป็นพื้นฐาน เป็นเหตุให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชีวิต

..........

:b44: ธรรมเป็นโลกบาล ๒ อย่าง หิริโอตตัปปะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=55074

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมาก คือว่าทรงธรรม รู้ศิลปวิทยามาก อันนี้ไม่ต้องสงสัยเป็นทรัพย์แท้ เป็นเหตุให้เกิดทรัพย์อื่นต่อไป เราจะหาทรัพย์อื่นต่อไป เราจะหาทรัพย์ได้เพราะวิชาความรู้ เมื่อเรามีความรู้ เราหาทรัพย์ได้ คนไม่มีความรู้จะไปหาทรัพย์ได้อย่างไร อันนี้เห็นได้ง่ายไม่ต้องพูดมาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. จาคะ สละให้สิ่งของแก่คนที่ควรให้ปัน เป็นทรัพย์ ยิ่งให้ปันยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งสบาย “คนเรามันสบายเมื่อให้ ไม่สบายเมื่อจะเอา” จำคำ ๒ คำนี้ไว้ เอาไปคิดดู สบายเมื่อให้ ไม่สบายเมื่อจะเอา พอคิดจะเอาแล้วมันยุ่งขึ้นมาเชียวแหละ ลองสังเกตดูเถอะ แต่พอให้แล้วมันเบาโปร่งใจ ไอ้คิดจะเอาใจเหมือนกับจะแบกของหนัก เหมือนกับยักษ์แบกเจดีย์ ไม่ใช่ปั้นไว้เล่นๆ เขาปั้นไว้ให้คนดูว่า นี่แหละมันหนัก หนักอะไร ? “ภารา หะเว ปัญจักขันธา” ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระอันหนักเน้อ เรานี่ก็แบกของหนักๆ อยู่เยอะ ถ้าเอาออกเสียบ้างมันก็เบา ปลงมันเสียบ้าง เอาออกให้เสียบ้าง จาคะคือบริจาคโดยไม่คิดเอาคืน ทานะนั่นยังเอาคืนอยู่ ถ้าจาคะแล้ว ไม่เอาแล้ว ให้หมดเลย ให้แล้วไม่ใช่ให้แค่ของ แต่ให้กิเลสออกไปด้วย บรรเทาความเห็นแก่ตัว ความโลภ ความตระหนี่ นี่เรียกว่าให้เสียสละความเห็นแค่ตัว คือการให้อันยิ่งใหญ่ พร้อมๆกับการให้สิ่งของ เรียกว่า จาคะ มันต่างกับทาน ทานนั้นให้แล้วยังหวังอยู่ หวังผลตอบแทน แต่ว่าจาคะนี่ ไม่หวังผลตอบแทน บริจาคนี่หมายความว่าให้หมดไม่เอาคืน แต่ถ้าให้ทานแล้วยังเอาคืน อย่างน้อยเอาเกียรติ เอาชื่อเสียง ยังเอาไว้ เอานิดหน่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ อันนี้เป็นยอดทรัพย์ ทรัพย์ขั้นยอดคือปัญญา ปัญญาเป็นยอดทรัพย์ทั้งปวง เพราะทำให้เราได้รู้ในสิ่งต่างๆ ถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ็ดประการนี้ เรียกว่า อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์ภายใน “สทฺธาธนํ สีลธนํ หิริโอตฺตปฺปิยํ ธนํ สุตธนญฺจ จาโค จ ปญฺญา เว สตฺตมํ ธนํ” แปลว่า ศรัทธา ความเชื่อ ศีล หิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป พาหุสัจจะ ความเป็นคนได้ยินได้ฟังมามาก จาคะ ปัญญา เป็นทรัพย์ภายใน

เราจะต้องหาทรัพย์ภายในไว้ด้วย อย่ามีแต่ทรัพย์ภายนอก เพราะถ้ามีแต่ทรัพย์ภายนอก ไม่มีทรัพย์ภายใน จะอยู่ไม่ได้ สังคมวุ่นวาย มีปัญญา แต่ถ้าเรามีทรัพย์ภายใน คู่ กันกับทรัพย์ภายนอก เรียบร้อย ไม่ยุ่งยาก หลักการมันเป็นอย่างนี้

นี่คืออริยทรัพย์ ๗ ประการของพระพุทธเจ้า เราควรนำเอาไปคิดไปพิจารณาเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จบตอน จากหนังสือนี้ หน้า ๔๗๑

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2022, 03:57 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2024, 08:28 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร