วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 00:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2018, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"ให้นึก ให้เจริญอยู่ ทุกลมหายใจว่า
เราต้องตาย ตัวเราของเรา ไม่มี
มีแต่ตาย อย่าได้พากันประมาท
ผู้ใด ไม่นึกถึงความตาย ที่จะมาถึง
ชื่อว่า เป็นผู้ประมาท”
-:- หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร -:-



เมื่อบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์
เป็นปกติมารยาทได้แล้ว
ถึงจะประพฤติคุณธรรมอย่างอื่น
ก็มักยั่งยืน ไม่ผันแปร
นี้แลเป็นประโยชน์แห่งการบัญญัติศีลขึ้น.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส



"...คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้
พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว
จงยึดใจถือใจเป็นสำคัญ
จะมาเกิดก็เพราะใจ
เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ
เป็นทุกข์ก็เพราะใจ
ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ ปล่อยทิ้งเสีย
กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของกาย
ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ
หมดเรื่องหมดราวกันที..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี




จิตว่าง
"... คำว่าจิตว่างอยู่ลึก ๆ คือ จิตหลุดพ้น อันนี้เป็นจิตหลุดพ้นจากอารมณ์สัญญา หรืออารมณ์ภายนอก แต่ถ้าหากจิตนั้นมีการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ก็มิใช่เป็นจิตหลุดพ้นจากอารมณ์ แต่เป็นจิตหลุดพ้นจากกิเลส แต่ถ้ามันว่าง ๆ มันก็หลุดพ้นอยู่เฉพาะในขณะที่อยู่ว่าง ๆ
ถ้าว่าง ๆ แล้วออกมารู้อะไร ไม่มีอาการของกิเลสเกิดขึ้น ความยินดีไม่มี ความยินร้ายไม่มี ความรัก ความชังไม่มี ความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ไม่มี อันนี้มันก็เป็นจิตหลุดพ้น
แต่ถ้าออกมาแล้ว มันก็เกิดมีกิเลสความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์อยู่ รูปยังเป็นของเรา เวทนายังเป็นของเราในความรู้สึกอยู่ อันนั้นจิตมันหลุดเฉพาะในขณะที่อยู่ว่าง ๆ เป็นวิกขัมพนปหาน ข่มกิเลสด้วยกำลังฌานคือ สมาธิ แต่เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็มีกิเลสอยู่อย่างเก่า
ทีนี้ถ้าเราทำจิตได้อย่างนี้แล้ว เราทำบ่อย ๆ ความว่างนี้มันจะสะสมกำลังขึ้นมา แล้วมันจะเป็นความว่างตลอดกาล แต่ความว่างของจิตในขั้นนี้ มันมีอยู่ ๒ ลักษณะ ลักษณะที่ ๑ ความว่างจากอารมณ์ คือ ไม่มีอารมณ์รู้สึก นึกคิด จิตไปตกกระแสอยู่ในความว่าง แล้วก็ว่างอยู่เฉย ๆ
ว่างอีกอย่างหนึ่งนั้น ในเมื่อจิตว่างแล้วเกิดความรู้ขึ้นมา แต่ไม่ยืดถือ ไม่ติดในสิ่งนั้น อันนี้คือความว่างจากกิเลสคือความยึดถือในอารมณ์ เป็นการปล่อยวางอารมณ์ของจิต พึงเข้าใจความว่างของจิตในลักษณะ ๒ อย่างดังที่กล่าวมา ..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย



"...อาการบังคับตัวเอง
ให้กำหนดลมหายใจ ข้อนี้เป็น ศีล
การกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไป
จนจิตสงบ ข้อนี้เรียกว่า สมาธิ
การพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่า
ไม่เที่ยง ทนได้ยาก ข้อนี้เรียกว่า ปัญญา..."
โอวาทธรรมคำสอน..
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร