วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 93 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2018, 05:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนหน้านี้อุตส่าห์ดีใจ...ที่ห้ามจำหน่ายวัตถุในวัด

พอมาเห็นภาพนี้..รูู้สึกเศร้าๆ..ยังงัยไม่รู้.. :b7: :b7: :b7:

อ้างคำพูด:
เปิดขายกระเป๋าปลุกเสก"พูลเพิ่มทรัพย์"ลวดลายคล้ายแบรนด์ดัง.

https://www.posttoday.com/social/hot/533496

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2018, 14:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เศร้าใจด้วยคนนะครับ grin :b2: :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2018, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.. พุทธพานิชย์ .. :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โอ้ว...เศร้าใจพระศาสนา


ความหมาย "ศาสนา" ดูให้ชัด

ศาสนา คำสอน, คำสั่งสอน


ศัพท์ คำ, เสียง, คำยากที่ต้องแปล, คำยากที่ต้องอธิบาย

ศาสดา ผู้อบรมสั่งสอน, เป็นพระนามอย่างหนึ่งที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้า, ในพุทธกาลครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชินเกสกัมมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถนาฏบุตร ถ้าเรียกตามบาลี ก็เป็นศาสดา ๖

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อปลายปีที่แล้ว ชาวอินเดียหลายหมื่นคน ทำพิธีเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาและปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระ และนครมุมไม แคว้นมหาราษฎร์

https://www.facebook.com/sunthornu/vide ... =3&theater

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก่อนหน้านี้อุตส่าห์ดีใจ...ที่ห้ามจำหน่ายวัตถุในวัด

พอมาเห็นภาพนี้..รูู้สึกเศร้าๆ..ยังงัยไม่รู้.. :b7: :b7: :b7:

อ้างคำพูด:
เปิดขายกระเป๋าปลุกเสก"พูลเพิ่มทรัพย์"ลวดลายคล้ายแบรนด์ดัง.

https://www.posttoday.com/social/hot/533496

(ตัดจากพุทธธรรม หน้า ๑๖๗ มา (ตอนว่าด้วยเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท)

ชีวิตแห่งปัญญา จึงมองลักษณะได้ ๒ ด้าน คือ

ด้านภายใน มีลักษณะสงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง ผ่องใส ด้วยความรู้เท่าทัน เป็นอิสระ เมื่อเสวยสุข ก็ไม่หลงระเริงหรือสยบมัวเมา และไม่เหลิงละเลิงลืมตัว เมื่อขาดพลาด หรือพรากจากเหยื่อล่อสิ่งปรนปรือต่างๆ ก็มั่นคง ปลอดโปร่งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ ซึมเซา สิ้นหวัง หมดอาลัยตายอยาก ไม่ปล่อยตัวฝากสุขทุกข์ของตนไว้ในกำมือของอามิสภายนอกที่จะตัดสินให้เป็นไป

ด้านภายนอก มีลักษณะคล่องตัว ว่องไว พร้อมอยู่เสมอที่จะเข้าเกี่ยวข้อง และจัดการกับสิ่งทั้งหลายตามที่มันควรจะเป็น โดยเหตุผลบริสุทธิ์ ไม่มีเงื่อนปม หรือความยึดติดภายใน ที่จะมาเป็นนิวรณ์ขัดขวาง กั้นบัง ถ่วง ทำให้เขว ลำเอียง หรือทำให้พร่ามัว

มีพุทธพจน์บางตอนที่แสดงให้เห็นลักษณะบางอย่าง ที่แตกต่างกันระหว่างชีวิตแห่งความยึดมั่นถือมั่น กับ ชีวิตแห่งปัญญา เช่น

"ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

"ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่างระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับ ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้"

"ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมเศร้าโศกคร่ำครวญ ร่ำไห้ รำพัน ตีอกร้องไห้ หลงใหลฟั่นเฟือนไป เขาย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกาย และ เวทนาทางใจ

"เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศรดอกหนึ่ง แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรทั้ง ๒ ดอก คือ ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทางกาย และทางใจ

"อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจ เมื่อเขามีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ก็ย่อมนอนเนื่อง
เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข เพราะอะไร ? เพราะปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยู่กามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้น ย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมไม่รู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดีข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเขาไม่รู้...ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมนอนเนื่อง

"ถ้าได้เสวยสุขเทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าได้เสวยทุกขเทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าได้เสวยอทุกขมสุขเทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว

"ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าปุถุชน ผู้มิได้เรียนรู้ ผู้ประกอบ ด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่าผู้ประกอบด้วยทุกข์"

สังเกตความต่างกันระหว่างปุถุชน กับ อริยสาวก เมื่อประสบกับเวทนา

"ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไห้ ไม่รำพัน ไม่ตีอกร้องไห้ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ

"เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิ่งบุรุษด้วยลูกศร แล้วยิงซ้ำด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้น ย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ฉันใด อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ก็ฉันนั้น...ย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ

"อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจ เพราะถูกทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง เธอถูกทุกขเวทนากระทบ ก็ไม่หันเข้าระเริงกับกามสุข เพราะอะไร ? เพราะอริยสาวก ผู้เรียนรู้แล้ว ย่อมรู้ทางออกจากทุกขเวทนา นอกจากกามสุขไปอีก เมื่อเธอไม่ระเริงกับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นก็ไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้เท่าทันความเกิดขึ้น ความสูญสลาย ข้อดี ข้อเสีย และทางออกของเวทนาเหล่านั้นตามที่มันเป็น เมื่อเธอรู้...ตามที่มันเป็น อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่นอนเนื่อง

"ถ้าเสวยสุขเทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว ถ้าเสวยทุกขเทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเทนา เธอก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้ ผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่า ผู้ปราศจากทุกข์"

"ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นข้อแตกต่าง ระหว่างอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ กับ ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้" (สํ.สฬ.18/369-372/257-260)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก่อนหน้านี้อุตส่าห์ดีใจ...ที่ห้ามจำหน่ายวัตถุในวัด

พอมาเห็นภาพนี้..รูู้สึกเศร้าๆ..ยังงัยไม่รู้.. :b7: :b7: :b7:

อ้างคำพูด:
เปิดขายกระเป๋าปลุกเสก"พูลเพิ่มทรัพย์"ลวดลายคล้ายแบรนด์ดัง.

https://www.posttoday.com/social/hot/533496





ก่อนหน้านี้อุตส่าห์ดีใจ...ที่ห้ามจำหน่ายวัตถุในวัด

กบไปดูใหม่ เขาห้ามจำหน่ายวัตถุมงคลในโบสถ์ ไม่ใช่ในวัด

เรื่องนี้ ต้องว่ากันทั้งสองฝ่าย ทั้งพระทั้งโยม เพราะมันเป็นอุปสงค์อุปทาน ทำแล้วสร้างแล้วมีคนซื้อ เขาก็ทำ แต่ทำแล้วญาติโยมไม่ซื้อไม่ให้ความสนใจ คนทำก็เจ๊งไปเอง อิอิ ไม่ว่าอะไรหมด

กบจะมานั่งนอนดีใจเสียใจเพื่ออะไร

ถามหน่อยตอนนี้กบแขวนพระอะไร แขวนเหรียญหลวงพ่อวัดไหน บอกกันมั่งฮี้ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 18:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


No..nothing..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ บุถุชน ก็เขียน

บุคคล “ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม” คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน,

อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น

สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ใน รูปารมณ์ เป็นต้น" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2018, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ก่อนหน้านี้อุตส่าห์ดีใจ...ที่ห้ามจำหน่ายวัตถุในวัด

พอมาเห็นภาพนี้..รูู้สึกเศร้าๆ..ยังงัยไม่รู้.. :b7: :b7: :b7:

อ้างคำพูด:
เปิดขายกระเป๋าปลุกเสก"พูลเพิ่มทรัพย์"ลวดลายคล้ายแบรนด์ดัง.

https://www.posttoday.com/social/hot/533496

http://www.posttoday.com/media/content/ ... 0D02C4.jpg[/img]




เทียบกันดู กบกดเลย :b13:

https://2.bp.blogspot.com/-wS2QNAyI_e0/ ... 6330_n.jpg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2018, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“พระสงฆ์” กับ “การเมือง” ในสยาม

ในช่วงสมัยหนึ่งโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับรัฐยุคเก่าในประเทศเพื่อนบ้านถูกเปลี่ยนแปลงโดยประเทศเจ้าอาณานิคม พุทธศาสนาและพระสงฆ์ต่างเผชิญกับวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองร่วมกับประชาชนในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ

การปฏิรูปสู่รัฐสมัยใหม่เริ่มขึ้นเมื่อสยามเผชิญอิทธิพลลัทธิล่าอาณานิคมยุโรป โดย ร.๔ ขณะที่ทรงผนวชเป็น “วชิรญาณภิกขุ” (๒๗ พรรษา) ได้ก่อตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่คือ “ธรรมยุติกนิกาย” (เรียกคณะสงฆ์กลุ่มเดิมซึ่งเป็นส่วนข้างมากว่า “มหานิกาย”) และทรงสร้างปรัชญาการปกครองแบบรัฐสมัยใหม่ ผ่านการตีความพุทธศาสนา สร้างแนวคิด “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” ที่ถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้ปกครองได้โดยความยินยอมของผู้ใต้ปกครอง และต้องปกครองโดยธรรมเพื่อความผาสุกแห่งมหาชนชาวสยาม หากกษัตริย์ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมก็ถูกถอดถอนได้ ถือเป็นความคิดใหม่ในสมัยนั้น

กระบวนการปฏิรูปตั้งแต่สมัย ร.๔- ร.๖ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการปฏิรูป แต่เป็นฝ่ายที่ถูกปฏิรูป พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมหรือมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปมีเพียงพระสงฆ์ชั้นสูงเท่านั้น คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างมารดาของ ร.๕ ท่านทรงสืบทอดประเพณีการตีความพุทธศาสนาแบบแยกทางโลก-ทางธรรมและเน้นความมีเหตุผลสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์จาก ร.๔ เป็นกำลังทางความคิดของ ร.๕ ในการวางระบบการปกครองและการศึกษาสงฆ์ วางรากฐานการศึกษาชาติที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัย ร.๕ จนมาถึง ร.๖ โดยเฉพาะการสนับสนุน ร.๖ ในการผนวกรวมความมั่นคงของพุทธศาสนาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความมั่นคงของรัฐ ภายใต้อุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ในปี ๒๔๗๕ ก็ไม่ได้มีการแก้ไขโครงสร้างอำนาจปกครองคณะสงฆ์และระบบสมณศักดิ์แบบเดิม ต่อมามีการตรา พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับ ๒๔๘๔ ตามข้อเรียกร้องของยุวสงฆ์คณะปฏิสังขรณ์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับทางบ้านเมือง กฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดโครงสร้างองค์กรปกครองสงฆ์ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง แบ่งอำนาจออกเป็น ๓ ฝ่าย ได้แก่ สังฆสภา ประกอบด้วยพระสงฆ์ ๔๕ รูป ซึ่งแต่งตั้งโดยสมเด็จพระสังฆราชตามสมณศักดิ์และความรู้ ทำหน้าที่ร่างสังฆาณัติ กติกาสงฆ์หรือกฎหมายสงฆ์ คณะสังฆมนตรี ทำหน้าที่เหมือนคณะรัฐมนตรี มีอำนาจในการบริหารคณะสงฆ์ โดยมีสังฆนายกทำหน้าที่เหมือนนายกรัฐมนตรี ทั้งหมดแต่งตั้งโดยสมเด็จพระสังฆราช และคณะวินัยธร ทำหน้าที่เหมือนเป็นตุลาการสงฆ์ มีหน้าที่วินิจฉัยและระงับอธิกรณ์

ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร พร้อมกับยกย่องสถาบันกษัตริย์ให้โดดเด่นเป็น “สถาบันกษัตริย์ยุคใหม่” ประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ความศักดิ์สิทธิ์ ความชื่นชอบของประชาชน และความเป็นสาธารณะ ขณะเดียวกันก็ได้ยกเลิก พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับ ๒๔๘๔ ตรา พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับ ๒๕๐๕ ขึ้นแทน โดยกลับไปใช้ระบบการปกครองสงฆ์แบบสมัย ร.๕ ซึ่งเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่คณะกรรมการมหาเถรสมาคมเพียงคณะเดียว โดยไม่มีระบบถ่วงดุลตรวจสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเผด็จการของบ้านเมืองในยุคนั้น

ฯลฯ

https://www.silpa-mag.com/club/art-and- ... icle_14225

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุรพศ ทวีศักดิ์: อิทธิพลทางความคิดของพุทธไทยที่เป็นอุปสรรคประชาธิปไตย

รูปภาพ


ข้อความจากทวิตเตอร์ ว. วชิรเมธี ข้างบน ถูกนำมาแชร์ในโลกโซเชียลอีกครั้ง หลังจากกระแสยกย่อง “ตูน” ว่ามีจิตโพธิสัตว์และมีคุณสมบัติควรเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเตือนสติคนไทยผ่านเฟซบุ๊คที่มีคนติดตามกว่า 6,000,000 คน (ตามรายงานในมติชนออนไลน์) ว่า “อย่าก่นด่าประเทศตัวเอง” ตามด้วย “คำคม” อีกหลายชุด

ผมเข้าใจว่าพระสงฆ์ทั่วไปท่านมี “เจตนาดี” ต่อสังคม ข้อคิดต่างๆ ของ ว. วชิรเมธี ก็ย่อมมาจากเจตนาดีเช่นกัน แต่ปัญหาของพระไทยโดยทั่วไปคือ การขาดความเข้าใจ “ความคิดพื้นฐาน” ในเรื่องมาตรฐานถูก-ผิดในทางสังคมการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในโลกสมัยใหม่ ขออภัยที่พูดแบบขวานผ่าซาก ผมจะพยายามอธิบายให้เห็นปัญหาเป็นประเด็นๆ ดังนี้

ประเด็นแรก เรื่องถูก-ผิดในระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่เกี่ยวกับธรรมะหรือศาสนา เพราะระบอบประชาธิปไตยมี “หลักการสาธารณะ” เป็นมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดชัดเจนอยู่แล้ว เช่นหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค หลักการยอมรับเสียงข้างมาก-เคารพสิทธิเสียงข้างน้อย หลักการถ่วงดุลตรวจสอบ การมีส่วนร่วมบนฐานของการมีสิทธิต่อรองที่เท่าเทียม เป็นต้น

ถ้าทำถูกตามหลักการเหล่านี้ก็คือถูก ทำผิดก็คือผิด มันไม่ใช่เรื่องที่จะเอาธรรมะหรือศีลธรรมศาสนามาใช้เป็นบรรทัดฐานกำกับหลักการสาธารณะดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง หรือมันไม่ใช่เรื่องที่จะใช้ธรรมะ ศีลธรรมศาสนามาเป็นหลักประกันให้คนทำตามหลักการสาธารณะนั้นได้

เพราะถึงคุณมีธรรมะ เคร่งศีลธรรมศาสนา หรือเป็นคนดี กระทั่งเป็นพระโพธิสัตว์ หากคุณไม่กระจ่างชัด ไม่เห็นคุณค่า หรือไม่ยึดมั่นปฏิบัติตามหลักการเหล่านั้น คุณก็ทำสิ่งที่ผิดได้ และทำได้ด้วยความเชื่ออย่างหัวชนฝาว่าตนเองทำถูกต้องเสียด้วย ดังเราได้เห็นบรรดาพระดี คนดี ทั้งแสดงความคิดเห็น และออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในทางที่ขัดแย้งกับหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคหรือขัดกับหลักการพื้นฐานประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน “อย่างภาคภูมิใจ” เสมอมา

ประเด็นที่สอง มันไม่ใช่แค่ว่าความคิดพื้นฐานเรื่องถูก-ผิดตามระบอบประชาธิปไตยกับเรื่องถูก-ผิดทางธรรมะหรือศาสนาต่างกันในสาระสำคัญดังกล่าวแล้วเท่านั้น แต่ระบบสังคมการเมืองสมัยใหม่เขา “แยกศาสนาจากการเมือง” คือในเชิงอุดมการณ์ รัฐปัจจุบันไม่ใช่รัฐพุทธศาสนาแบบอดีตที่ยึดหลักพุทธศาสนาเป็นอุดมคติในการปกครองอีกแล้ว แต่ปกครองด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เป็นหลักการทางโลก เมื่อสังคมปัจจุบันไม่ใช้หลักศาสนาเป็นอุดมคติในการปกครองแล้ว การที่พระพยายามสอนว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่มีธรรมะคือหายนะมวลรวมประชาชาติ” หรือ “ถ้าหมู่มนุษย์มีศีล 5 สิทธิมนุษยชนก็ไม่จำเป็น” เป็นต้น มันจึงขัดหลักการแยกศาสนาจากการเมืองดังกล่าว หรือเป็นการเสนออะไรที่ “ผิดฝาผิดตัว” ขัดกับมาตรฐานถูก-ผิดตามระบอบประชาธิปไตย

ประการที่สาม เมื่อแยกศาสนาจากการเมืองในทางอุดมการณ์ของการปกครองแล้ว เพื่อให้เกิดผลรูปธรรมในทางปฏิบัติก็จึงแยกในทางโครงสร้างด้วย นั่นคือแยกองค์กรศาสนาออกจากโครงสร้างอำนาจรัฐ หรือเปลี่ยนองค์กรศาสนาจากที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอำนาจรัฐ ให้เป็นเป็นองค์กรเอกชนทุกศาสนา

แต่ปัจจุบันองค์กรสงฆ์หรือมหาเถรสมาคมยังคงเป็นองค์กรศาสนาของรัฐ มีหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและนโยบายรัฐ ซึ่งขัดกับหลักความเป็นกลาง,หลักเสรีภาพ และหลักความเสมอภาคในการนับถือและไม่นับถือศาสนาของรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เป็นรัฐโลกวิสัย (secular state)

คำถามคือ เมื่อสถานะและบทบาทขององค์กรสงฆ์ขัดกับหลักการพื้นฐานของรัฐประชาธิปไตย แล้วพระสงฆ์และชาวพุทธจะใช้ธรรมะ ศีลธรรมพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย หรือทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยก้าวหน้าได้อย่างไร

หรือในทางกลับกันถามว่า ถ้ามีหลักธรรมหรือหลักการพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนจริง หลักดังกล่าวนั้นจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่สถานะและบทบาทศาสนจักรของรัฐขัดต่อหลักความเป็นกลาง เสรีภาพ และความเสมอภาคในการนับถือและไม่นับถือศาสนาได้อย่างไร

ประเด็นสุดท้าย ถามว่าในสังคมการเมืองสมัยใหม่ มีเหตุผลที่ควรตีความศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ถ้าดูจากศาสนาคริสต์ ในคัมภีร์ไบเบิลยอมรับระบบทาสด้วยซ้ำ แถมยุคกลางศาสนจักรโรมันคาทอลิกก็กดขี่รุนแรงมาก แต่เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่เขาก็ตีความศาสนาสนับสนุนแนวคิดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความหมายของ God ก็ถูกตีความในทางปรัชญาซับซ้อนมาก และมักจะตีความในทางสนับสนุนคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้อย่างมีเหตุผล แต่ในเมื่อเขาแยกศาสนจักรเป็นเอกชน ไม่รับใช้ผู้มีอำนาจรัฐ หรือไม่ก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจรัฐ และอำนาจรัฐก็ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงศาสนจักร การตีความศาสนาสนับสนุนคุณค่าสมัยใหม่เช่นนั้นจึงสมเหตุสมผล

ในบ้านเราการตีความศาสนาในทางการเมืองมี 2 แบบหลักๆ
คือ
แบบแรกตีความพุทธศาสนาสนับสนุนหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภาดรภาพ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนประเพณีการตีความพุทธศาสนาสนับสนุนอำนาจนำทางวัฒนธรรมของชนชั้นปกครอง มาสู่การตีความสนับสนุนคุณค่าสมัยใหม่ แบบที่ยุโรปเปลี่ยนจากการตีความ God สนับสนุนอำนาจชนชั้นปกครองมาเป็นตีความ God สนับสนุนสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค การตีความเช่นนี้เห็นได้ในความพยายามของปรีดี พนมยงค์ แต่น่าเสียดายที่ความพยายามนี้ไม่ประสบความสำเร็จ หรือไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าที่ควร

แบบที่สอง
คือ
แบบที่นิยมกันแพร่หลาย เป็นการตีความแบบยก “ธรรม” หรือศีลธรรมพุทธศาสนาเหนือกว่าประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในตัวมันเอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธทาสภิกขุ ที่เสนอว่า “ระบบการเมืองใดๆ ไม่ว่าประชาธิปไตยหรือเผด็จการจะเป็นระบบที่ดีได้ต้องมีธรรมะ เป็นธรรมาธิปไตยหรือเป็นระบบที่ประกอบด้วยธรรม” สาระสำคัญของระบบที่มีธรรมะ ก็คือมี “คนดี” หรือคนที่มีศีลธรรมเป็นผู้ปกครอง ข้อความในทวิตเตอร์ของ ว.วชิรเมธีข้างต้น ก็คือตัวอย่างของการได้รับอิทธิพลการตีความพุทธศาสนาทาการเมืองแบบที่ถือว่า “ธรรม” หรือศีลธรรมเป็นมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดทางการเมืองดังกล่าวนี้ ซึ่งแพร่หลายมากในวงการพระ และสังคมไทยโดยรวม โดยเฉพาะในระยะกว่าทศวรรษมานี้

ฉะนั้น วิธีคิดแบบใช้ธรรมะ ศีลธรรม ความดี คนดีเป็นมาตรฐานตัดสินถูก-ผิดทางการเมืองดูเหมือนจะมีอิทธิพลมาก อิทธิพลดังกล่าวดำเนินไปภายใต้ “มายาคติ” ว่า พระสงฆ์อยู่เหนือการเมือง เป็นกลางทางการเมือง มี “หน้าที่” ชี้แนะ ชี้นำทางการเมืองโดยธรรม

แต่เมื่อพระสอนในสถานการณ์ทางการเมืองแบบหนึ่งว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่มีธรรมะ คือหายนะมวลรวมประชาชาติ” ท่านก็กล่าวในสถานการณ์ทางการเมืองอีกแบบหนึ่งว่า “ค่านิยม 12 ประการ คล้ายธรรมะในพุทธศาสนา” ก็เลยไม่รู้ว่าพระ “อยู่เหนือการเมือง” หรือ “เป็นกลาง” ทางการเมืองอย่างไรแน่

อีกทั้งโดยทั่วไปแล้ว พระเองก็แสดงความเห็นทางการเมือง และเคลื่อนไหวทางการเมืองสนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมาตลอด และสถาบันสงฆ์เองก็เป็นสถาบันของรัฐที่มีบทบาทสนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและตอบสนองนโยบายรัฐอยู่แล้ว

ฉะนั้น บทบาทของพุทธไทยทั้งในเชิงสถาบันและบุคคล จึงมีอิทธิพลในการสร้างวัฒนธรรมทางความคิดในเรื่องถูก-ผิดทางการเมือง ที่มีนัยสำคัญเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย จะแก้ไขได้จำเป็นต้องแยกศาสนาจากรัฐ และเปลี่ยนความคิดพื้นฐานในการตีความพุทธศาสนาทางการเมืองอย่างสิ้นเชิง

https://prachatai.com/journal/2018/01/7 ... um=twitter

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2018, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครูบาศรีวิชัย : “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” กับความขัดแย้งในคณะสงฆ์

https://www.silpa-mag.com/club/art-and- ... icle_14296

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2018, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุรพศ ทวีศักดิ์: ตรรกะโพธิรักษ์กับการเป็นกองหนุนนายกฯ ตู่

ผมคิดอยู่นานว่าควรจะเสียเวลาถกเถียงกับความเห็นอะไรที่เมื่อคิดบนหลักการประชาธิปไตยและหลักเสรีภาพแล้วแล้ว มันเป็นเรื่องเหลวไหลไร้เหตุผลเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะเรื่องที่นักบวชในพุทธศาสนาไทยแสดงความเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคปัจจุบัน

แต่เมื่อมองรวมๆ แล้ว ก็แทบไม่มีอะไรที่ไม่เหลวไหลนี่ครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยชั้นนำไล่อาจารย์ที่หนีอำนาจรัฐประหารออกจากราชการ เรื่องที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยชั้นนำลงโทษนักศึกษา 8 คน จนชื่อเสียงมหาวิทยาลัยกระฉ่อนไปทั่วโลก เพราะมีบรรดาปัญญาชนชั้นนำของโลก และบรรดาผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรักษา “มาตรฐาน” ของความเป็นมหาวิทยาลัย ด้วยการเคารพ “เสรีภาพ” ในการแสดงออกของนักศึกษาตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล

ไหนจะเรื่องที่บรรดาผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิชาการแห่กันไปรับรับตำแหน่งภายใต้รัฐบาลจากรัฐประหาร และการที่กลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิ์เป็นตัวแทนของประชาชนขยันบัญญัติกฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนมาบังคับใช้กับประชาชนที่ถูกปล้นอำนาจไป

แล้วยัง “ระบบยุติธรรม” ที่จับประชาชนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและ “ความยุติธรรม” เข้าคุกคนแล้วคนเล่า ที่ต้องต่อสู้คดีอยู่อีกก็มาก ที่ควรได้รับสิทธิประกันตัวก็ไม่ได้รับ มีทั้งชายชราที่ตายในคุกอย่างอากง เรื่อยมาถึงหญิงพิการทางสายตาต้องติดคุกเพียงเพราะแชร์ข่าวโดยผู้แจ้งความเอาผิดก็ยอมรับว่าเธอ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เหล่านี้เป็นต้นไม่ใช่ “ความเหลวไหล” และความน่าหดหู่แห่งยุคสมัยดอกหรือ

ยังมีสถาบันทางสังคมอะไร ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา ศาสนา สถาบันเกี่ยวกับการพิทักษ์ความยุติธรรมและอื่นๆ ที่ยังพอเป็นความหวังของสังคมนี้ได้บ้างในเรื่องปกป้องหลักการ เหตุผล วิถีที่ชอบธรรม สิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย

เราอยู่ในยุคของความเหลวไหลไร้เหตุผลและน่าหดหู่ ตรรกะอันบิดเบี้ยว หรือที่นิยมพูดกันว่า “ตรรกะป่วย” พรั่งพรูออกมาจากปากของบรรดาผู้มีอำนาจนำทางการเมือง และอำนาจนำทางวัฒนธรรมแทบทุกวัน ตัวอย่างตรรกะของสมณะโพธิรักษ์ในการประกาศว่า ชาวอโศกจะเป็น “กองหนุน” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอต่อไป ขณะที่กองหนุนกลุ่มอื่นๆ กำลังตีตัวออกห่าง ย่อมสะท้อนยุคสมัยแห่งความเหลวไหลได้ชัดเจน ฯลฯ

https://prachatai.com/journal/2018/01/7 ... um=twitter


วันประกาศตนเป็นพะออละหัน :b1: ปติสำพิทา

https://www.youtube.com/watch?v=AnnomLIxYm0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2018, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผกก.สน.สามเสน เข้ากราบขอขมา พระผู้ใหญ่วัดราชาธิวาส

วันที่ 3 ก.พ.) พ.ต.อ.ปรีชา กองแก้ว ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลสามเสน เข้ามากราบถวายรายงานต่อ พระธรรมกวี เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร ต่อกรณีมีผู้ไม่ประสงค์ดีได้โทรศัพท์แจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สามเสน (เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา) ให้เข้ามาตรวจสอบ พระภิกษุในวัดราชาธิวาสวิหาร มีพฤติกรรมเล่นการพนันและมั่วสุมสื่อลามก โดยระบุชื่อพระภิกษุดังกล่าว คือ พระธรรมกิตติเมธี เจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ (ธรรมยุต) ประธานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และ พระธีรวิทย์ (พระครูปลัดกวีวัฒน์) รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งหลังจากเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบไม่ปรากฏพฤติกรรมและหลักฐานตามกล่าวอ้าง

พ.ต.อ.ปรีชา กองแก้ว ผกก.สน.สามเสน ได้เข้ามาพบ พระครูปลัดกวีวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร รองเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาฯ ที่สำนักงานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย วัดราชาธิวาสวิหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบคดี และได้รายงานว่า ขณะนี้ได้ติดตามจับกุม นายจีระวัฒน์ เมืองซ้าย ซึ่งเป็นผู้โทรศัพท์แจ้งความเท็จได้เป็นที่เรียบร้อย และทางผู้ใหญ่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติสั่งกำชับให้ดูแลคดีนี้เป็นพิเศษ

https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_737281

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 93 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 94 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร