วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
[
เบิกเนตร..ดูชื่อกระทู้ที่ตัวเองตั้ง...ซะหน่อย..ซิ..

..ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ..

ไม่ใช่กระทู้ถามความหมายของศาสนา..ซะหน่อย..


นี่ชัดเลย ว่าพูดแล้วไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร พูดไปเรื่อยเหมือนนกขุนทองพูดภาษาคน แต่หารู้เข้าใจว่าเขาหมายสื่อถึงอะไร ศาสนาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ธรรมะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อยู่ในกรง :b32: กบก็ฉันนั้น บอกไม่เชื่อว่าเสียเวลาเปล่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 20:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... A=0&Z=1071

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ


(ต่อ)..
เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔


[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?

๕. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน
ที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์
เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ
อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้ง
บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหม
ปรากฏว่าว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะ
สิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น
สิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน
ความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจาก
ชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหม เป็นสหายของสัตว์
ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองสัญจร
ไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็น
มหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง
เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว
และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า เราได้มีความคิดอย่างนี้
ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และ
สัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ
เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดา
ของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว ข้อนั้น เพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า พวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญนี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณกว่า
มีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็น
เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็น
พรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ
เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์
ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่นิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเรา
ที่พระพรหมผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้
เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง.

[๓๒] ๖. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่
ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นพากันหมกมุ่น
อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติ
หลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง
จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็น
เครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ใน
ความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่
ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติ
ไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่น
อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่น
อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติ
หลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้
เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง.

[๓๓] ๗. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกัน
เกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน
จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์
ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน
แล้ว ก็ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอัน
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราได้เป็นพวก
มโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้าย
กันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน ก็พากันลำบากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจาก
ชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.

[๓๔] ๘. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดี
ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน
แปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง สมณพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจาก
นี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้น
แล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับเฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ความเจริญในทางวัตถุเกิดขึ้น ความเจริญทางด้านจิตใจก็เกิดเหมือนกัน มนุษย์มีความคิดในเรื่องอะไรต่างๆ กลางคืนมองดูท้องฟ้า ดาวระยิบระยับ มีดวงจันทร์ กลางวันก็มีดวงอาทิตย์ พื้นโลกมันก็มีสิ่งแปลกๆ มีภูเขา มีต้นไม้ ดอกไม้ก็มีนานาชนิด สีสันวรรณะไม่เหมือนกัน กลิ่นก็ไม่เหมือนกัน อะไรๆ ก็ไม่เหมือนกัน มันก็เกิดปัญหาขึ้นในใจ


สงสัยว่า ไอ้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร แผ่นดินมันเกิดขึ้นมาอย่างไร ท้องฟ้ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
แล้วสงสัยตัวเองว่า กูนี่มันมาอย่างไร แล้วรู้แต่ว่า เกิดจากพ่อแม่ พ่อแม่มาจากใคร มาจากปู่ จากตา คุณปู่ คุณตา มาจากใคร
มันเริ่มคิดใหญ่แล้ว ชักจะฟุ้งซ่าน คิดไปถึงว่ามาจากไหน สาวหาต้นเดิมว่ามาจากอะไร คิดมากขึ้นไป คิดๆ ก็ไม่รู้จะไปถามใคร ก็ไปถามพวกนั้นแหละ พวกมุนีทั้งหลายที่นั่งเฝ้าต้นไม้ ก้อนหิน ทั้งหลายนั่นแหละ

ถามว่า ท่านเป็นผู้ติดต่ออยู่กับเทพเจ้านี่นา สิ่งเหล่านี้ มันมาอย่างไร ถือว่าเบื้องต้นมันมีเทพเจ้าประจำต้นไม้ก่อน รุกขเทวดา อะไรต่างๆ มีประจำอยู่ ภูมิเทวดา เทวดาประจำพื้นดิน อากาศเทวดา เทวดาประจำแผ่นฟ้า เทวดาประจำน้ำ ประจำไฟ ประจำลม เทวดาเยอะแยะ ก็สงสัยว่า เทวดานี้ มาจากไหน มนุษย์มาจากไหน โลกนี้มาจากไหน มีปัญหา เมื่อมีปัญหา ก็ไปถามคนเหล่านั้น

คนเหล่านั้นก็จนปัญญาเหมือนกัน แต่จะบอกว่า ตอบไม่ได้ก็เสียเหลี่ยม เพราะอ้างว่าคุ้นเคยกับเทพเจ้า คุยกนได้นี่นา แล้วบอกว่าไม่รู้มันก็เสียเหลี่ยม ก็มีทางออก บอกว่าเรื่องนี้มันเรื่องใหญ่ มันต้องทำพิธีถามเทวดาว่ามาอย่างไร

เรื่องทำพิธีก็ไม่มีอะไรดอก พวกนั้น มันหลายๆคน มาสัมมนากันเอง

โบราณเขาก็มีการสัมมนาเหมือนกัน นัดกันมาประชุมในป่าอย่าให้ใครเห็น แล้วก็ตั้งหัวข้อว่า มนุษย์หมู่นี้มันชักจะฉลาดขึ้นมาแล้วนะ อุตริถามปัญหาแปลกๆ มันถามว่าโลกนี้มาจากไหน มนุษย์มาจากไหน เทวดาที่เราไหว้นี่มาจากไหน แล้วเราจะตอบอย่างไรเล่า พวกนั้นก็นั่งคิดค้นกัน ก็คิดได้ว่า
มนุษย์ตอนนี้สมองยังไม่ปราศเปรื่องเท่าไรดอก
ถามอะไร ตอบสักคำมันก็หยุดเท่านั้นเอง
เหมือนเราไปเทศน์ตามบ้านนอก พอโยมถามคำหนึ่ง พอเราตอบ แกก็หยุดเท่านั้น ไม่เหมือนนักศึกษาถาม นักศึกษาพอเราตอบไปอย่างนี้ แกดันไปถามอย่างโน้น สมองเขาเก่ง เขามีความคิด คนตามบ้านนอกชาวไร่ชาวนาไม่ได้คิดอะไร ถามอะไร เมื่อตอบแล้ว เขาหยุดเท่านั้น

เลยบอกว่า เราตอบอย่างนี้ก็แล้วกัน โดยสมมติว่า มีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งเป็นผู้สร้างสรรพสิงทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งในศาสนาฮินดู เรียกว่า พรหม ศาสนาอิสลาม เรียกว่า อัลลาล่าห์ ศาสนาคริสต์ เรียกว่า ยะโฮวา แต่ความจริงก็ไอ้อันเดียวกันนั่นแหละ

แต่ชื่อเรียกออกไปตามภาษาของคนในถิ่นนั้น ความหมายมันก็อันเดียวกัน คือผู้สร้าง เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ตัวผู้ถามเองเทพเจ้าท่านก็สร้างมาเหมือนกัน
เราจะต้องเคารพต่อเทพเจ้า ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของเทพเจ้า แล้วเทพเจ้าจะมาสอนอย่างไรไม่เคยเห็นหน้าเห็นตาเทพเจ้า ก็ฝากมากับพวกเรานั้นแหละ

พวกมุนีทั้งหลาย เป็นผู้รับคำสอนมาจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้น เมื่อพวกนั้นสอนอะไรต้องเชื่อฟัง ไม่เชื่อฟังก็จะเป็นบาป เป็นโทษ นี่มันเป็นไปอย่างนี้ ก็เลยลงมติกันว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


่ต่อ


ศาสนาในโลกนี้จึงมี ๒ ศาสนา คือ ศาสนาที่นับถือเทพเจ้า เรียกว่า “เทวนิยม” ประเภทหนึ่ง ศาสนาที่ไม่นับถือเทพเจ้าเป็นหลัก เรียกว่า “ธรรมนิยม” หรือ “สัจจนิยม”

ศาสนาในโลกนี้ ส่วนมากมีพวกเทวนิยม เช่น ศาสนาคริสต์ ที่มีพระผู้เป็นเจ้า พระเยซู อ้างตัวว่าเป็นพระบุตรของบิดา มาจากสรวงสวรรค์ พระนาบีโมฮัมหมัด ก็อ้างตัวว่าเป็น โปรเฟส หรือเป็นผู้แทนของพระผู้เป็นเจ้า มาสั่งสอนประชาชน

พวกชาวฮินดูทั้งหลาย เขียนคัมภีร์พระเวท ก็บอกว่าเอาจากพระโอษฐ์ของพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมเป็นผู้สั่งมาให้เขียนอย่างนี้ ให้ว่าอย่างนี้ แล้วคนที่เขียนนั้น ต้องเป็นพราหมณ์ คนอื่นไม่ได้

พราหมณ์มีหน้าที่รับเอาพระเวทมาจากพระพรหม พราหมณ์เป็นผู้สอน คนอื่นสอนไม่ได้ เพราะคนฮินดูเขาแบ่งเป็น ๔ ชั้น เรียกว่า กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

กษัตริย์ มีหน้าที่รบป้องกันบ้านเมือง ป้องกันศาสนา

พราหมณ์ มีหน้าที่สอนศีลธรรมแก่ประชาชน แล้วก็พวก

แพศย์ มีหน้าที่ค้าขาย

พวกศูทร เป็นกรรมกร

พราหมณ์ นั้นเกิดจากปากของพระผู้เป็นเจ้า เอาเปรียบ เกิดจากปากเลย

กษัตริย์ออกมาจากแขนมีหน้าที่รบข้าศึก

พวกแพศย์ คือพ่อค้าเกิดจากท้องของพระผู้เป็นเจ้า

พวกศูทรแย่หน่อย เกิดจากหน้าแข้งของพระผู้เป็นเจ้า เกิดคนละที่ละแห่ง ก็เลยแบ่งเป็นวรรณะ ๔

ความจริง วรรณะ ๔ นี้ ไม่ใช่ให้ถือให้เกลียดกัน เดิมทีไม่ได้ให้เกลียดกันดอก เขาแบ่งงานกัน

วรรณะ ๔ ของพราหมณ์ : กษัตริย์ มีหน้าที่ ทำงานนักรบปกครองบ้านเมือง

พราหมณ์ มีหน้าที่ จัดการทางศึกษาเล่าเรียน

พวกแพศย์ มีหน้าที่ ค้าขายทางเศรษฐกิจ

พวกศูทร มีหน้าที่ กรรมกรใช้แรงงาน เขาแบ่งงานกันทำ

แต่ว่าต่อมามันเกิดกิเลสขึ้น อะไรๆเอากิเลสเข้าใส่แล้วมันยุ่งทั้งนั้นน่ะแหละ ทำให้เกิดปัญหาถือชั้นวรรณะกัน กินร่วมกันไม่ได้ ภาชนะอันหนึ่ง ถ้าพวกศูทรมาแตะต้อง พวกพราหมณ์ พวกกษัตริย์ พวกแพศย์ กินไม่ได้

อาหารตั้งอยู่ ถ้าอาหารบริบูรณ์ดี พวกศูทรเดินมามีเงาทับ มันเททิ้งหมดเลย แต่ถ้าอ่าหารขาดแคลนมันก็ไม่เทเหมือนกัน มันถือไม่เข้าเรื่อง

นี่เป็นเรื่องวรรณะ พระพุทธเจ้าบอกว่า คนไม่ได้ประเสริฐเพราะวรรณะ ไม่ได้เลวเพราะวรรณะ คนประเสริฐเพราะการกระทำ เลวก็เพราะการกระทำ ไม่ใช่ดีเลวเพราะชาติเกิด แต่ดีเลยเพราะการกระทำ.

คนเราเลือกเกิดไม่ได้ จะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ถ้าทำดีแล้วเป็นต้องดีทั้งนั้น (แล้วยกตัวอย่าง) คนชั้นศูทร แต่เขาประพฤติดี ประพฤติชอบ แม้แต่กษัตริย์ก็ยังให้เกียรติ กษัตริย์ถ้าประพฤติไม่ดีก็เป็นที่ดูหมิ่นแก่คนทั้งหลาย ไม่ใช่อยู่ที่การเกิดหรือวรรณะ แต่อยู่ที่กรรมดีคือการกระทำ พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนั้น พวกพราหมณ์เขาถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ศาสนาที่ไม่มีเทพเจ้ามีอยู่ ๒ ศาสนาเท่านั้น พวกเราไม่เคยได้ยินชื่อ ศาสนาหนึ่งก็คือพุทธศาสนา อีกศาสนาหนึ่ง เรียกว่า “ชินะ” เป็นผู้เกิดมาสอน นี่ก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน เขาเรียกว่า มหาวีระ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเรียกว่า “สญชัยเวลัฏฐบุตร” หรือ “มหาวีระ”

มหาวีระนี่เราเรียกว่า มัลลกษัตริย์ ครองเมืองปาวา ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองกุสินารา ซึ่งพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

มหาวีระออกบวชก่อนพระพุทธเจ้า แล้วสอนศาสนาพัวพันกับพระพุทธเจ้า พบกันบ่อยคุยกันบ่อยๆ บางวันพระพุทธเจ้าออกไปบิณฑบาต เดินผ่านวัดของพวกชินะก็แวะไปคุยธรรมะกัน
บางวันก็คุยกันลงร่องลงรอยกัน บางวันคุยกันไม่ลงร่องลงรอยกันเลย ถ้าไม่ลงร่องลงรอยกัน พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ท่านมันมีความคิดความเห็นแบบนี้ คุยกันนานแล้ว วันนี้คุยกันพอสมควรแก่เวลาแล้วเราจะกลับละ ไม่ต้องคุยกันต่อไป เพราะปรับความเข้าใจกันไม่ได้ มีทิฐิมานะ.

ศาสนาชินะ กับ พระพุทธศาสนา มีคำสอนคล้ายกันอยู่มาก แต่ว่าการปฏิบัติเคร่งครัดเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชินะเคร่งมาก เคร่งเหลือเกิน หายใจก็กลัวว่าจะฆ่าสัตว์ ยังเอาสำลีอุดจมูกกรองเสียหน่อย มันเคร่งเกินไป เวลาจะนั่งก็ต้องคอยระวัง เดี๋ยวไปนั่งทับสัตว์ทั้งหลาย

น้ำจะกินก็ต้องต้มเสียก่อน แล้วเวลาต้มไม่เป็นการฆ่าสัตว์เข้าไปหรือ แล้วก็ที่เคร่งที่สุดก็คือว่า ไม่นุ่งผ้าเลย ไปไหนก็ตัวล่อนจ้อน ไปบิณฑบาตก็ไม่มีบาตร ไม่ใช้บาตร ใช้ฝ่ามือ ไปถึงก็เอามือรับแล้วเอามากินเลย
พอหมดก็ยื่นมือออกไปรับมากินอีก ยืนกินตรงนั้นแหละ ไม่นั่งกินดอก ยืนกิน เคี้ยวๆกิน แล้วเขาก็เอาน้ำมาล้างมือให้ เสร็จแล้วก็ไปเลย ให้พรนิดหน่อย ไม่มีภาชนะใส่ แล้วก็ไม่มีอะไรเป็นสมบัติ ตัวล่อนจ้อน

ผมก็ไม่โกน ใช้ถอน พอขึ้นก็ถอน ถอนเรื่อยไป พอโผล่มาก็ถอน ถอนจนหมด ไม่ใส่รองเท้า เดินเท้าเปล่า ไปไหนก็เดินไปอย่างนั้น เวลานี้ ยังมีอยู่เหมือนกัน

ศาสนิกในศาสนานี้ในอินเดีย โดยมาพ่อค้ามีฐานะดีร่ำรวย โดยเฉพาะในกัลกัตตา เขาเรียกว่าพ่อค้าใหญ่ เป็นลูกศิษย์ของชินะทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เขาสร้างวัดสวยงาม วัดของฮินดูสกปรกเข้าไปแล้วไม่ไหวเลย แต่วัดของชินะสะอาด เรียบร้อย มีสนามหญ้า สวยงาม มีสระน้ำ ที่บูชาก็เรียบร้อย ไม่เปรอะไม่เปื้อน

ผู้ที่เฝ้าวิหารนั้น แต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว นักบวชเขาห่มขาว นักบวชเขามีทั้งหญิงทั้งชาย นักบวชผู้ชายไม่นุ่งผ้า ผู้หญิงนุ่งผ้าขาว แล้วถ้าเข้าไปในโบสถ์ฮินดู เขาจะไม่ไหว้พระศิวะ พระนารายณ์ พระศิวะ พระวิษณุ เขาไม่ไหว้ทั้งนั้น

แต่เข้าไปในโบสถ์พุทธ เขาไหว้พระพุทธเจ้า เขายอมรับพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ที่ควรกราบควรไหว้ เพราะฉะนั้น เขาจึงเข้าไปไหว้ พวกนี้ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ กินแต่ผักและไม่มีการสะสมอะไรทั้งนั้น เคร่งครัดมาก

โดยเฉพาะที่เมืองปาวานคร มีวิหารสวยงามมาก ยอดประดับด้วยทองคำราคาหลายล้าน มีสระน้ำด้วย ที่ตรงนั้น เป็นที่นิพพานของมหาวีระ พระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินารา แต่ชินะนิพพานที่เมืองปาวา ใกล้กันเส้นทางไม่ไกลกันเท่าไร อยู่ในถิ่นเดียวกัน สององค์นี้สอนศาสนารุ่นเดียวกัน มีความคิดคล้ายกัน คือไม่มีพระผู้เป็นเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์ที่เนื่องด้วยพระผู้เป็นเจ้า มักจะเริ่มต้นด้วยพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลก สร้างคน สร้าง ๗ วันเสร็จ วันสุดท้ายเป็นวันหยุดพัก

หยุดไม่ตรงกันดอก พวกคริสต์เตียนหยุดวันอาทิตย์ พวกอิสลามไปหยุดวันศุกร์ วันมันไม่ตรงกันก็เพราะคนละภาษา ความจริงคัมภีร์อิสลามและคริสต์เตียนนั้น เบื้องต้นเหมือนกัน ทำไมจึงเหมือนกัน เพราะว่าเป็นคัมภีร์เก่าของพวกฮิบรูนั่นเอง เรียกว่า “โอลต์เทสเมนต์” หรือคัมภีร์เก่า ก็คัมภีร์ใบเบิ้ลนั่นแหละ เหมือนกันทุกอย่าง เริ่มต้นเหมือนกัน ต่างกันแต่ว่าพวกอิสลามใช้ภาษาอาหรับ พวกคริสต์เตียนดั้งเดิมใช้ภาษาฮิบรู แล้วต่อมาก็แปลเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน แปลไปหลายภาษา เอามาใช้กันอยู่

ส่วนที่แตกต่างกันนั้น ตอนปลาย คือ ตอนพระเยซูเกิด ตอนพระนบีมูฮัมหมัดเกิด มันแตกต่างกัน เป็นคำสอนใหม่ พวกยิวน่ะ ไม่ใช่นับถือคริสต์เตียนดอกนะ วันก่อนทูตอิสราเอลเขามาที่นี่ แกบอกผมว่า ไม่ใช่คริสต์เตียน พวกชาวยิวไม่ยอมรับพระเยซูว่าเป็นบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ยอมรับพระเยซูว่าเป็นพระศาสดา เขานับถือโมเสส คัมภีร์เก่าๆของเขา คัมภีร์เก่าเป็นภาษาฮิบรู คนยิวเขาถืออย่างนั้น ศาสนามูฮัมหมัดไม่มีเทพเจ้ามาเกี่ยวข้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นโดยเฉพาะ พระสูตรแรก เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เริ่มต้นว่า “เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา” ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางสองทางอันบรรพชิตไม่ควรเสพ ทางนั้นก็คือการปฏิบัติตนย่อหย่อนในทางกาม- “กามสุขัลลิกานุโยค” และ “อัตตกิลมถานุโยค” การทำตนให้ลำบาก ซึ่งปฏิบัติอยู่มากในสมัยนั้น ไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์แล้วก็สอนข้อปฏิบัติ ไม่มีส่วนเกี่ยวเนื่อง กับ พระผู้เป็นเจ้า

พระพุทธเจ้าท่านเคารพสิทธิมนุษยชน สิ่งใดที่รู้ได้ พระองค์บอกเป็นความสามารถของมนุษย์ รับรองความสามารถของมนุษย์ ว่ามนุษย์นี้มีสมอง มีปัญญา สามารถที่จะคิดจะค้นให้เกิดอะไรขึ้นมาได้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่พระองค์เอามาสอนนั้น พระองค์จึงบอกว่า เราเป็น สยัมภู รู้เองในโลก เราจะไปอ้างใครเป็นครูเป็นอาจารย์เล่า

คราวที่พระองค์เดินทางจากพุทธคยาจะไปพาราณสีนั้น พบกับ อุปาชีวก เป็นนักบวชประเภทหนึ่งเหมือนกัน มาถึงเห็นก็รู้สึกทึ่ง ก็ถามว่า ดูหน้าตาของท่านผ่องใสนัก ท่านเป็นศิษย์ของใคร ท่านชอบใจธรรมะของท่านใด ใครเป็นครูเป็นอาจารย์ของท่าน ?

พระองค์จึงบอกว่า เราเป็น “สยัมภู” ผู้รู้เองในโลก เราจะไปอ้างใครว่าเป็นครูเป็นอาจารย์เล่า เป็นคำพูดที่องอาจกล้าหาญ ไม่มีใครพูดมาก่อนในโลกของศาสนา พระพุทธเจ้าพูดเป็นคนแรกว่า เรารู้เองในโลก สิ่งที่เรารู้ เราค้นคว้า เราศึกษาจนกระทั่งได้มา เอามาสอนให้แก่ท่านทั้งหลายรู้ต่อไป

อันนี้เรียกว่า ไม่รับรองอำนาจเบื้องบน ไม่เกี่ยวข้องในเทพเจ้า เพราะสิ่งทั้งหลายมันอยู่ในหัวของมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้คิดเป็นผู้สร้าง เป็นผู้ทำขึ้นมาทั้งนั้น ความดีก็มนุษย์คิดสร้างขึ้น ความชั่วก็มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์เป็นผู้สร้างด้วยเป็นผู้ทำลายด้วย สุดแล้วแต่อะไรมันเข้าไปอยู่ในใจ ถ้าพระเข้าไปอยู่ในใจ ก็มีความคิดในทางสร้างสรรค์


ถ้ามีมารเข้าไปอยู่ในใจ ก็คิดไปในทางทำลาย มันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เนื่องด้วยอะไรที่ไหน พุทธศาสนาสอนอย่างนั้น ศาสนาอื่นสอนไปในรูปอื่น แตกต่างกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ศาสนาที่เนื่องด้วยพระผู้เป็นเจ้าก็ต้องมีการอ้อนวอน บนบานศาลกล่าวต่อพระผู้เป็นเจ้า มีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า เอาเป็นที่พึ่ง เป็นที่นับถือตลอดเวลา

แต่เขาก็ดีอยู่เหมือนกัน จะว่าไม่ดีก็ไม่ได้ ศาสนาทีนับถือพระผู้เป็นเจ้านั้น เขาเคร่งครัดอยู่ ชาวคริสต์เตียน ชาวอิสลาม เขาก็เคร่งครัดในคำสอน เขาสอนให้จงรักภักดีต่อเทพเจ้า ซึ่งเป็นต้นศาสนา ให้ปฏิบัติตามเป็นเรื่องวิธีการ หลักการ ก็คือว่า ให้เชื่อพระผู้เป็นเจ้า วิธีการคือว่าจะสอนอย่างไรจะฝึกอย่างไรให้คนมีความเชื่อมั่นในสิ่งนั้น จงรักภักดี เพราะความภักดีเป็นเรื่องสำคัญในศาสนา.


ไม่ว่าเรา จะเป็นผู้นับถือศาสนาใด เราต้องมีความจงรักภักดีต่อผู้ตั้งศาสนา เช่น เราพุทธบริษัท เราก็จงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เอาพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำชีวิต เอาพระธรรมเป็นทางเดินของชีวิต เอาพระสงฆ์เป็นพี่เลี้ยงเตือนจิตสะกิดใจ ให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อันเราจะต้องปฏิบัติ อันนี้ เป็นเรื่องที่เรียกว่า เกี่ยวกับความจงรักภักดี จิตใจที่มีความจงรักภักดีนั้น ย่อมไม่ทิ้งแนวทางที่ถูกที่ชอบ แต่ถ้าไม่จงรักภักดี ย่อมไหลไปตามอารมณ์ อะไรมายั่วเข้าก็ไหลไปตามเรื่อย ไม่มีหลักการ ไม่มีความแน่นอนในจิตใจ เขาเรียกว่าเป็นคนโลเล คนประเภทโลเลเอาตัวไม่รอด ไม่มีหลักนี่มันลำบาก ฉะนั้น เมื่อเรานับถือศาสนาใดก็ต้องเชื่อมั่นในศาสนานั้น มั่นในสิ่งที่เราเอามาปฏิบัติ เราจึงจะเอาตัวรอด

นี่ ศาสนาต่างๆ เกิดมาในรูปอย่างนี้ เริ่มต้นด้วยความกลัว พระพุทธศาสนาก็เกิดจากความกลัวเหมือนกัน แต่ไม่ใช่กลัวปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ไม่ใช่อย่างนั้น อันนั้น เป็นความกลัวของคนสมัยก่อนที่ยังไม่มีการศึกษา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า ท่านกลัวอะไร ? ท่านกลัว ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย กลัวการเวียนว่ายอยู่ในวงจรของกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ อะไรต่างๆ นี้เรียกว่า วงจรกิเลส เป็นห้วงน้ำ เป็นมหาสมุทรใหญ่ เขาเรียกว่า “โอฆะ” เป็นห้วงน้ำที่เราเวียนว่ายอยู่ตลอดเวลา วนเวียนอยู่ในกิเลสอันนี้ แล้วพระองค์กลัว การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวงจรของกิเลส อยากหนีให้พ้น ไม่อยากให้มันเกิดอีกต่อไป ไม่ให้มีความทุกข์ต่อไป

ความกลัวอย่างนี้ เกิดขึ้นในใจของเจ้าสิทธัตถะ แล้วก็หนีออกไปบวช ตามธรรมเนียมของชาวอินเดีย ซึ่งมีอยู่แล้วในสมัยนั้น หนีออกไปบวชไปศึกษาค้นคว้าในสำนักต่างๆก่อน เพราะเป็นผู้ออกใหม่

แต่เมื่อเรียนไป ศึกษาไป ปฏิบัติไป แล้วก็พบว่าไม่ใช่ทางที่จะให้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลได้ ก็เลยเลิกปฏิบัติแนวทางนั้นๆ

มาทดสอบด้วยตนเองต่อไป คลำไปคลำมาก็รู้สึกว่า เจอะทางเข้า เลยหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระองค์ก็นิพพาน คือดับกิเลสได้

คำว่า นิพนิพาน หมายความว่า ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิง ไม่มีความทุกข์ต่อไป อยู่ในโลกด้วยไม่มีความทุกข์ ไม่เหมือนเราคนธรรมดาอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความเดือดร้อน

ความกลัวก็เช่นกัน เป็นเหตุให้เกิดศาสนาขึ้น คือพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นก็เหมือนกัน เรียกว่า มูลฐานก็คือความกลัว แต่ว่าความกลัวนั้น อาศัยพื้นฐานทางปัญญาขนาดไหน ถ้าความกลัวที่มีปัญญามากก็ค้นคว้าสิ่งลึกซึ้งเพื่อแก้ไขต่อไป ศาสนาเกิดในรูปอย่างนี้

(ยังมีต่อ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พระพุทธเจ้า ท่านกลัวอะไร ? ท่านกลัว ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย กลัวการเวียนว่ายอยู่ในวงจรของกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ อะไรต่างๆ นี้เรียกว่า วงจรกิเลส เป็นห้วงน้ำ เป็นมหาสมุทรใหญ่ เขาเรียกว่า “โอฆะ” เป็นห้วงน้ำที่เราเวียนว่ายอยู่ตลอดเวลา วนเวียนอยู่ในกิเลสอันนี้ แล้วพระองค์กลัว การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวงจรของกิเลส อยากหนีให้พ้น ไม่อยากให้มันเกิดอีกต่อไป ไม่ให้มีความทุกข์ต่อไป

ความกลัวอย่างนี้ เกิดขึ้นในใจของเจ้าสิทธัตถะ แล้วก็หนีออกไปบวช ตามธรรมเนียมของชาวอินเดีย ซึ่งมีอยู่แล้วในสมัยนั้น หนีออกไปบวชไปศึกษาค้นคว้าในสำนักต่างๆก่อน เพราะเป็นผู้ออกใหม่

แต่เมื่อเรียนไป ศึกษาไป ปฏิบัติไป แล้วก็พบว่าไม่ใช่ทางที่จะให้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลได้ ก็เลยเลิกปฏิบัติแนวทางนั้นๆ

มาทดสอบด้วยตนเองต่อไป คลำไปคลำมาก็รู้สึกว่า เจอะทางเข้า เลยหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระองค์ก็นิพพาน คือดับกิเลสได้

คำว่า นิพนิพาน หมายความว่า ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิง ไม่มีความทุกข์ต่อไป อยู่ในโลกด้วยไม่มีความทุกข์ ไม่เหมือนเราคนธรรมดาอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความเดือดร้อน

ความกลัวก็เช่นกัน เป็นเหตุให้เกิดศาสนาขึ้น คือพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นก็เหมือนกัน เรียกว่า มูลฐานก็คือความกลัว แต่ว่าความกลัวนั้น อาศัยพื้นฐานทางปัญญาขนาดไหน ถ้าความกลัวที่มีปัญญามากก็ค้นคว้าสิ่งลึกซึ้งเพื่อแก้ไขต่อไป ศาสนาเกิดในรูปอย่างนี้

(ยังมีต่อ)


บทความเหล่านี้..เขียนเอง...รึ...คนอื่นเขียน?...

ขอถามคนเขียน..นะ..ไปเอามาจากไหน..ว่าพระพุทธเจ้ากลัว..อะไรอะไรที่พรรณามานั้นนะ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2017, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พระพุทธเจ้า ท่านกลัวอะไร ? ท่านกลัว ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย กลัวการเวียนว่ายอยู่ในวงจรของกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ อะไรต่างๆ นี้เรียกว่า วงจรกิเลส เป็นห้วงน้ำ เป็นมหาสมุทรใหญ่ เขาเรียกว่า “โอฆะ” เป็นห้วงน้ำที่เราเวียนว่ายอยู่ตลอดเวลา วนเวียนอยู่ในกิเลสอันนี้ แล้วพระองค์กลัว การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวงจรของกิเลส อยากหนีให้พ้น ไม่อยากให้มันเกิดอีกต่อไป ไม่ให้มีความทุกข์ต่อไป

ความกลัวอย่างนี้ เกิดขึ้นในใจของเจ้าสิทธัตถะ แล้วก็หนีออกไปบวช ตามธรรมเนียมของชาวอินเดีย ซึ่งมีอยู่แล้วในสมัยนั้น หนีออกไปบวชไปศึกษาค้นคว้าในสำนักต่างๆก่อน เพราะเป็นผู้ออกใหม่

แต่เมื่อเรียนไป ศึกษาไป ปฏิบัติไป แล้วก็พบว่าไม่ใช่ทางที่จะให้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลได้ ก็เลยเลิกปฏิบัติแนวทางนั้นๆ

มาทดสอบด้วยตนเองต่อไป คลำไปคลำมาก็รู้สึกว่า เจอะทางเข้า เลยหลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระองค์ก็นิพพาน คือดับกิเลสได้

คำว่า นิพนิพาน หมายความว่า ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิง ไม่มีความทุกข์ต่อไป อยู่ในโลกด้วยไม่มีความทุกข์ ไม่เหมือนเราคนธรรมดาอยู่ด้วยความทุกข์ ด้วยความเดือดร้อน

ความกลัวก็เช่นกัน เป็นเหตุให้เกิดศาสนาขึ้น คือพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่นก็เหมือนกัน เรียกว่า มูลฐานก็คือความกลัว แต่ว่าความกลัวนั้น อาศัยพื้นฐานทางปัญญาขนาดไหน ถ้าความกลัวที่มีปัญญามากก็ค้นคว้าสิ่งลึกซึ้งเพื่อแก้ไขต่อไป ศาสนาเกิดในรูปอย่างนี้

(ยังมีต่อ)


บทความเหล่านี้..เขียนเอง...รึ...คนอื่นเขียน?...

ขอถามคนเขียน..นะ..ไปเอามาจากไหน..ว่าพระพุทธเจ้ากลัว..อะไรอะไรที่พรรณามานั้นนะ..



กบในกะโลกกะลาเอ้ย ไปหมดแล้วสมงสมอง ไปฝึกอ่านหนังสือใหม่ไป

เขาก็บอกอยู่โท่นโท่แล้วว่ากลัวอะไร ก่อนออกบวช

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2017, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

มีเรื่องหนึ่งซึ่งควรจะได้ถือไว้เป็นหลักปฏิบัติ : เราอย่าเอาศาสนาเป็นกำแพงกั้นตัวเราเอง เรื่องนี้ พุทธบริษัทเรา เราดีทีเดียว ดีมากในเรื่องนี้ พุทธบริษัทไม่เอาศาสนาเป็นกำแพงกั้นตัวเองไว้ไม่ให้ตัวเราเข้ากับคนอื่น ประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา ไม่มีสงครามศาสนาแบบสงครามครูเสส หรือสงครามประเภทใดๆ ของเราไม่มี เพราะพระพุทธเจ้าสอนมากเรื่อง “อหิงสา” คือความไม่เบียดเบียน สอนเรื่องความเมตตากรุณา สอนให้เป็นผู้มีน้ำใจกว้าง น้ำใจกว้างของพระพุทธเจ้ากว้างถึงขนาดนี้

จะเล่าให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง อุบาลีคฤหบดี เป็นลูกศิษย์ของมหาวีระ แต่ว่าได้ฟังข่าวเล่าลือว่า พระพุทธเจ้าแสดงธรรมไพเราะ มีเหตุมีผล อยากไปฟังก็ลาอาจารย์จะไปฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้า อาจารย์บอกว่าไปทำไป ไม่ได้เรื่องอะไรดอก พระพุทธเจ้าเป็นพวกอกรรมวาที พูดเรื่องไม่กระทำ ว่าอย่างนั้น เราเห็นพวกกรรมวาที พระพุทธเจ้าพูดเรื่องการไม่กระทำ ไม่ต้องไปฟังดอก อุบาลีก็ไม่ได้ไป

ครั้งที่สองก็อยากจะไปอีก ไปลาอาจารย์ก็ไม่ให้ไปอีก

ครั้งที่สามก็ไม่ให้ไป อุบาลีนึกในใจว่า ของดีๆอยู่ใกล้ๆ คนเขาไปฟังออกเยอะแยะ เราไปหาอาจารย์ทีไรถูกขัดคอทุกที คราวนี้ไม่ต้องไปลาละเราจะไปเอง แต่ในใจนั้น จะไปโต้เถียงคัดง้างกับพระพุทธเจ้า เพราะอุบาลีนั้นเป็นคนร่ำรวย เป็นคนมั่งคั่ง มีทิฐิ พูดจาอะไรไม่ค่อยจะยอมคนดอก เมื่อไปถึงก็ถามปัญหาโต้เถียงกันมาก

ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาดีอีกอย่าง คือโต้กันอย่างไรลงไว้ละเอียด เขาถามอย่างไร พระพุทธเจ้าตอบอย่างไร เขาเขียนไว้ละเอียด ไม่ใช่มุบมิบโมเมเอาว่า พระพุทธเจ้าชนะด้วยเหตุผล ไม่อย่างอย่างนั้น แต่เขาเขียนไว้ละเอียด น่าอ่าน โต้กันไปโต้กันมา อุบาลียอมฟังเหตุผลของพระพุทธองค์

เมื่อยอมแล้ว ก็ประนมมือประกาศว่า กระผมขอเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธองค์

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ยั้งไว้ก่อน ท่านเป็นคนมีชื่อเสียงในเมืองเวสาลี เคยเป็นลูกศิษย์ของพวกนิครน์มาก่อน อย่าเป็นคนใจง่าย ไปฟังพระพุทธเจ้าครั้งเดียวก็ยอมแพ้แล้ว เป็นลูกศิษย์ของพระองค์แล้ว ชื่อเสียงของท่านจะเสียหาย

อุบาลีได้ฟังคำนี้ ของพระพุทธเจ้า ร้องไห้เลย น้ำตาไหล บอกว่าข้อพระองค์นี่ ไปวัดไหนไปสำนักใด เขายกธงต้อนรับทั้งนั้น เขาโฆษณากันเลยว่า อุบาลีมาแล้ว สำนักของเรา เหมือนว่าในหลวงเสด็จวัดไหนก็เรียกว่าคุยได้ ว่าอย่างนั้น อุบาลีไปเขาก็คุยอวด ยกธงมาแต่ทางเข้าวัดเลย

แต่พระองค์กลับเฉยๆ ไม่พอพระทัยเลย ไม่ได้เอิกเกริกเฮฮาอะไร และเมื่อข้าพระองค์ยอมเป็นศิษย์ ยังไม่ยอมรับ ยังตักเตือนอีก ทำให้ข้าพระองค์เลื่อมใสพระองค์มากขึ้น ข้าพระองค์ต้องยอมเป็นศิษย์ของพระองค์ในวันนี้ เลยลุกขึ้น กราบแทบเท้าพระพุทธเจ้า ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ

แล้วพระพุทธเจ้าท่านว่าอย่างไร ท่านว่าดี ท่านว่าบ้านของท่านเคยเป็นที่เลี้ยงดูของพวกนิครนถ์ แม้ว่าท่านจะมาเป็นสาวกของเราแล้ว ประตูบ้าอย่าปิดสำหรับคนพวกนั้น เขาเคยไปมาหาสู่มาขบฉันอย่างไร ให้เลี้ยงดูอย่างนั้นต่อไป อย่าปิดประตูบ้านสำหรับคนเหล่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2017, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้ แสดงว่าพระพุทธเจ้าเราเป็นผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ไม่สอนให้พุทธบริษัทเราเป็นคนใจแคบ

ศาสนาใดที่สอนให้สานุศิษย์เป็นคนใจคับแคบ มันจะยุ่งตีกันตาย รบกันไม่ได้หยุด เพราะใจคับแคบ ชาวพุทธเราไม่มีน้ำใจคับแคบอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงปรากฏว่าไม่เคยมีการรบราฆ่าฟันกันในเรื่องพระศาสนา

เรื่องไทยเรานี้ เป็นตัวอย่างดีที่สุดในเรื่องนี้ ศาสนิกชนในศาสนาอื่นจะมาเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทย พระเจ้าแผ่นดินต้อนรับอย่างดี ไม่รังเกียจแม้จะไปสอนพระเจ้าแผ่นดินก็ยังทรงรับฟังคำสอน สนพระทัยไม่ว่าอะไร ไม่ใช่ว่าอย่ามาพูดจะเป็นบาปฉันฟังไม่ได้

ศาสนาอื่นไม่ได้นะ วิทยุเมืองไทย พอถึงว่าต่อไปนี้เชิญสดับพระธรรมเทศนา ปิดกันเลยพี่น้องชาวอิสลาม คริสต์เตียน เขาปิดวิทยุกันเลย ไม่ได้เรื่องปิดเลยไม่ฟัง ของเราไม่อย่างนั้น ฟังได้ทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าท่านไม่ว่า พระองค์บอกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอไปยังสำนักอื่นเขามีความคิดอย่างอื่น เขาพูดอะไรให้เธอฟัง อย่าคัดค้าน อย่ารับ ต้องเลือกไม่ให้ค้าน ไม่ให้รับว่าถูกต้องจริง แต่ให้ฟังเพียงรับรู้แล้วเอามาศึกษาค้นคว้าต่อไป เห็นว่าอะไรดี อะไรถูก ก็เอาไว้เถอะ ไม่เสียหาย นี่คือน้ำพระทัยของพระองค์อย่างนั้น ไม่คับแคบในเรื่องอย่างนี้ ไทยเรานี้เป็นอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2017, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระนารายณ์มหาราช พวกบาทหลวงฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลในเมืองไทยพอใช้ เรียกว่าเป็นกองทัพหน้าของฝรั่งเศสที่จะส่งมาเอาเมืองไทย บาทหลวงมาก่อนถือคัมภีร์มา กองทัพมาทีหลัง มาถึงก็จะเข้าไป “คอนเวอร์ต” (Convert) พระนารายณ์ว่ายังงั้นเถอะ ไปสอนคัมภีร์ให้พระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงฟังด้วยความตั้งใจ สงสัยก็ไต่ถามจนบาทหลวงตายใจ เขียนหนังสือไปทางปารีสว่า เมืองไทยเหมือนลูกไก่อยู่ในกำมือแล้ว พระเจ้าแผ่นดินเชื่อฟังพวกเรา พวกเราไปสอนอะไรก็รับฟังอย่างดีทุกที
อีกไม่กี่วันเราจะทำพิธีให้พระองค์รับศีลเป็นคาทอลิค แล้วก็เอาจริง พอถึงเวลาฤกษ์งามยามดี บาทหลวงก็แต่งตัวเต็มยศไปกันเป็นคณะเลย เข้าไปในวัง จะไปทำพิธีให้พระเจ้าแผ่นดินรับศีลเป็นคาทอลิค เป็นคริสตัง

พระเจ้าแผ่นดินไทยท่านตอบพวกนั้นว่า อย่างไร ? ท่านบอกว่า “ข้าพเจ้า มีความเชื่อในคัมภีร์ของท่าน แล้วก็เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าท่านฉลาด ท่านส่งให้ข้าพเจ้ามาเกิดเมืองไทย ก็เท่ากับว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าที่จะให้ข้าพเจ้าเป็นพุทธบริษัท เพราะพระผู้เป็นเจ้าท่านรู้แล้วว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ท่านให้ข้าพเจ้ามาเกิดที่นี่ ท่านต้องการให้ข้าพเจ้าเป็นพุทธ แล้วพวกท่านจะมาชวนให้ข้าพเจ้าเป็นคริสต์ มันผิดกับโองการของพระเป็นเจ้า เป็นบาป”

บาทหลวงหงายหลังผลึ่ง หงายหลังไปตามๆกัน เอาศอกของเขาไปถองสีข้างของเขาเอง นี่คือความคม คมมาก พระองค์ท่านตอบคมมาก บาทหลวงหงายหลังไปตามๆกัน

ตอนหลังๆ พวกคาทอลิคหรือคริสเตียนที่มาสอนเมืองไทย พระเจ้าแผ่นดินช่วยทั้งนั้น โบสถ์ที่สาธรเราคงจะเห็น ที่นั่น ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานที่ดินให้ฝรั่งสร้างโบสถ์คริสต์เตียน

ศาสนิกในศาสนาอื่นๆไม่ดอก ไม่มีให้ดอก อย่าว่าเลย แหลมมลายู เวลานี้กีดกันเหลือเกิน พวกคริสต์เตียน คริสต์ตัง ฮินดู พุทธ ถูกกีดกันทั้งนั้น พระไปอยู่ที่นั่นไม่ยอมวีซ่าให้ ไม่ยอมประทับตราให้อยู่ กีดกันให้ออกจากประเทศ ทุกศาสนาไม่ยอมให้อยู่ทั้งนั้น ถึงขนาดนั้น

วันนั้น พบพระอังกฤษ บวชพุทธนั่นแหละไปอยู่มาเลเซีย ท่านนี่เป็นบริติช คอมมอนเวลต์ นี่นา อยู่ได้สบาย เพราะว่าเป็นเครือจักรภพ ท่านบอกว่าอยู่ไม่ได้ ถ้าเป็นคฤหัสถ์อยู่ได้ เป็นพระอย่างนี้เขาไม่ยอมให้อยู่แล้ว

พวกมลายูเดี๋ยวนี้กีดกันศาสนาอื่น อันนี้ไม่ถูกต้อง กีดกันเสรีภาพทางความเชื่อ

พุทธศาสนาเราไม่มีเรื่องอย่างนั้น วัดพระพุทธศาสนาประตูเปิดสำหรับคนทั่วไป ใครจะมาพักพาอาศัยก็ได้ แล้วน้ำใจคนไทยกับชาวต่างประเทศเป็นอย่างไร ใครมาเราก็ต้อนรับขับสู้อย่างดี ให้กิน ให้อยู่

ฝรั่งฮิปปี้ เดี๋ยวนี้นอนวัดทั้งนั้นแหละ ถ้ามันเดินทางเข้าทางปีนัง สะเดา หาดใหญ่ นอนวัดทั้งนั้น เหม็นสาบเต็มห้องไปเลย เวลามันไปแล้ว สามเณรถูกันใหญ่เลย สกปรก มันมานอนวัดสบาย
พระเลี้ยงดูดี เวลาจะไปยังให้สตางค์อีก ความจริงสตางค์ของมันมีแต่ไม่ใช้ มันเก็บไว้ แต่พระเรายังให้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นี่คือน้ำใจ ความเป็นผู้มีน้ำใจกว้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2017, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับใครๆ

เวลานี้พระพุทธศาสนาไปอยู่ในประเทศตะวันตก เช่น ในประเทศอังกฤษ คนอังกฤษที่มานับถือพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่มาเพราะเราไปชวนดอกนะ ไม่ใช่เราไปพูดจูงใจโฆษณาประชาสัมพันธ์อะไร เขามาของเขาเอง เขาอ่านหนังสือเล่มเล็กๆ แล้วเขาก็เปลี่ยนจิตใจเข้ามาเอง พุทธสมาคมในอังกฤษทำงานมา ๔๐ ปีแล้ว เขาบอกว่าพุทธสมาคมของอังกฤษ ไม่มีเจตจำนงที่จะไปกลับใจเขาให้มานับถือพุทธศาสนา แต่มีความตั้งใจเพียงประการเดียวว่า ชี้แนะแนวทางชีวิตตามแบบพุทธศาสนาให้เขาเองไปปฏิบัติ

เมื่อเขาเอาไปปฏิบัติแล้ว เขาจะไปเป็นอะไรก็ช่างเขา เราไม่ต้องการจะเปลี่ยนจิตใจให้เขามาเป็นชาวพุทธ แต่ให้เอาวิธีนี้ไปใช้ แต่เมือเอาไปใช้หนักขึ้นแล้วก็ทนไม่ได้ที่จะบอกใครๆ ว่าฉันเป็นพุทธ มันซึ้งขึ้นในใจแล้วก็มาเป็นเอง เรื่องเป็นอย่างนั้น

วันก่อนนี้ มีพระชาวอินโดนีเซียองค์หนึ่งเคยเป็นอิสลาม คราวนี้อิสลามบอกว่าท่องคัมภีร์กุระอ่าน ๑๐๐ เที่ยวจะได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า แกก็เข้าไปท่องในป่า ไปท่องตลอดเล่มร้อยครั้ง ท่องแล้วท่องอีก แกบอกว่าไม่เห็นพระเป็นเจ้าโผล่มาเลย ท่องเสียเกือบตาย แกเลยเลิก พอดีมาพบหนังสือทางพุทธศาสนา แกก็เลยเปลี่ยนใจมาบวชที่กรุงเทพฯ เวลานี้ กลับไปอยู่ที่อินโดนีเซียแล้ว แกมานับถือพระพุทธศาสนา เพราะแกได้เห็นธรรมะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร