วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2017, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำให้สมาธิเกิด มีหลายวิธี ซึ่งมีอยู่ในอิทธิบาท ๔



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


ฉันทสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว
ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้
ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร.


หมายเหตุ;

ฉันทสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นจาก ทำตามสัปปายะที่ถูกจริตของตัวเอง
ทำตามอิริยาบทที่ตัวเองถนัด ไม่จำเป็นจะต้องนั่งในท่าขัดสมาธิเสมอไป
ในอิริยาบทอื่นๆก็สามารถทำให้เกิดสมาธิได้





อิริยาปโถ-อิริยาบถ
แม้ในอิริยาบถ ๔ บางคนมีอิริยาบถเดินเป็นที่สบาย
บางคนมีอริยาบทนอน อิริยาบทยืนหรืออิริยาบทนั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่สบาย
เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลพึงทดลองอิริยาบถนั้นๆอย่างละ ๓ วัน เหมือนกับทดลองที่อยู่

ในอิริยาบถใด จิตยังไม่ตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น
พึงทราบว่าอิริยาบทนั้น ชื่อว่าเป็นอิริยาบถเป็นที่สบาย
อิริยาบถอื่นๆนอกจากนี้ ไม่ใช่เป็นอิริยาบทที่สบาย



โภชนะ-อาหาร
อาหารที่มีรสหวาน ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ที่มีรสเปรี้ยว
ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน

แม้อากาศเย็นก็เป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน
อากาศร้อนเป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน

เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีบุคคลส้องเสพอาหารหรืออากาศชนิดใด จึงมีความผาสุกสบาย
หรือจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น

อาหารชนิดนั้นและอากาศชนิดนั้น ชื่อว่าเป็นที่สบาย
อาหารและอากาศชนิดอื่น นอกจากนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่สบาย



อาวาส-ที่อยู่
เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ณ ที่ใด นิมิตหมายเกิดขึ้นด้วย ย่อมถาวรมั่นคงด้วยสติ
ย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น จิตก็เป็นสมาธิ ที่อยู่เช่นนี้ชื่อว่า ที่อยู่เป็นที่สบาย
เพราะฉะนั้น ในวัดใดที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ในวัดเช่นนั้น

โยคีบุคคลพึงอาศัยทดลองดู แห่งละ ๓ วัน
ณ แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้
ก็พึงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเถิด จริงอยู่ เพราะเหตุได้ที่อยู่เป็นที่สบาย









วิริยสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว
ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้ เรียกว่า วิริยสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.



หมายเหตุ;

วิริยสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากความเพียรพยายามทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง






จิตตสมาธิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

จิตนี้ด้วย จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย
ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร.



หมายเหตุ;
จิตตสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการกำหนดต้นจิต







วิมังสาสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว
ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย

เพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์
เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่าปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย

ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.



หมายเหตุ;

วิมังสาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการนำเรื่องธรรมะต่างๆมาพิจรณา เช่น ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปปบาทฯลฯ





เหตุปัจจัยของแต่ละคนแตกต่างกันไป
แนวทางการปฏิบัติจึงมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น
ใช่ว่าปฏิบัติแบบเดียวกันจะได้ผลหรือสภาวะเหมือนกัน

สมาธิทุกคนน่ะมีอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีที่จะนำกำลังสมาธิที่มีอยู่นั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
หากจับจุดได้ถูก การทำจิตให้ตั้งมั่นหรือทำให้เป็นสมาธิไม่ใช่เรื่องยาก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 108 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร