วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2017, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์จำนวนมากขึ้นๆ ได้เริ่มมองเห็นว่า พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกเป็นคำตอบสำหรับปัญหาแห่งความทุกข์ทั้งหมดนี้ของมนุษย์ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นเป็นวงกลมซ้อน ๓ ชั้นดังในแผนภูมินี้

รูปภาพ

ปัญหาวงซ้อน ๓ ชั้นของมนุษย์

ทุกข์ใจ ปัญหาชีวิต-ปัญหาสังคม-ปัญหาสิ่งแวดล้อม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2017, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกเข้ากันได้กับสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน

แม้ว่าอารยธรรมของมนุษย์จะเจริญก้าวหน้ามามากมาย ผ่านเวลาหลายพันปี จนถึงบัดนี้ ที่เรียกกันว่า ยุคโลกาภิวัตน์ แต่มนุษย์ก็ยังไม่พ้นหรือห่างไกลออกไปเลยจากปัญหาความทุกข์ และการเบียดเบียนบีบคั้น ตลอดจนสงคราม มนุษย์หวังจากระบบจริยธรรมของลัทธิศาสนาต่างๆ ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้

แต่ลัทธิศาสนาทั่วไป จะมอบให้เพียงบทบัญญัติ หรือคำสั่งบังคับต่างๆ ที่มนุษย์ต้องปฏิบัติตามด้วยศรัทธา ให้มนุษย์พ้นจากปัญหาในตัว และปัญหาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ไปขึ้นต่อการลงโทษและการให้รางวัลจากอำนาจที่เชื่อว่าอยู่เหนือธรรมชาติ

ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาตามพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกบาลีมีลักษณะพิเศษ ที่สอนระบบจริยธรรมแห่งการพัฒนาตัวของมนุษย์เอง ให้หลุดจากปัญหาทั้งหลาย สู่ความเป็นอิสระที่แท้จริงโดยไม่ต้องไปขึ้นต่ออำนาจบงการจากภายนอก

มนุษย์ยุคปัจจุบัน ได้เจริญมาถึงขั้นตอนหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุดแห่งอารยธรรม และ ณ จุดนี้ อารยธรรมที่ได้นำปัญหาที่เป็นความทุกข์ครบทุกด้านมามอบให้แก่มนุษย์ กล่าวคือ ปัญหาชีวิต ปัญหาสังคม ที่มาบรรจบถึงความครบถ้วนด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม

เป็นที่ชัดเจนว่า อารยธรรมที่เจริญมาสูงสุดอย่างนี้ สามารถมอบปัญหาที่เป็นความทุกข์ให้แก่มนุษย์ได้อย่างครบทุกด้าน แต่ไม่สามารถนำมนุษย์ให้หลุดพ้นจากทุกแห่งปัญหาเหล่านั้นได้

มนุษย์จำนวนมากขึ้นๆ ได้เริ่มมองเห็นว่า พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกเป็นคำตอบสำหรับปัญหาแห่งความทุกข์ทั้งหมดนี้ของมนุษย์ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นเป็นวงกลมซ้อน ๓ ชั้นดังในแผนภูมิ (ข้างบน)

วงในที่สุดคือปัญหาชีวิต และปัญหาชีวิตที่ลึกซึ้งที่สุดคือปัญหาความทุกข์ในชีวิตจิตใจของมนุษย์ แม้แต่อย่างหยาบที่สุด คือความเครียด ก็เป็นปัญหาหนักยิ่งของมนุษย์ยุคปัจจุบัน

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่เรียกได้ว่าชำนาญพิเศษในการกำจัดปัญหาชีวิตขั้นสุดท้าย คือ ความทุกข์ในใจนี้ ถึงขั้นที่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติด้วยปัญญา และกำจัดเชื้อแห่งความทุกข์ในใจให้หมดสิ้นไป ทำให้จิตใจเป็นอิสระโล่งโปร่งผ่องใส โดยไม่มีทุกข์เกิดขึ้นอีกเลย

จากตัวเองออกมาข้างนอก ในวงกว้างออกไป คือ ปัญหาสังคม อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ที่ผิด ซึ่งกลายเป็นความรุนแรงเบียดเบียนกันระหว่างมนุษย์

ในการแก้ปัญหาระดับนี้ พระพุทธศาสนาก็ปรากฏเด่นตลอดมาในฐานะเป็นศาสนาที่เผยแพร่โดยไม่ต้องใช้คมดาบ ไม่เคยมีสงครามศาสนา และไม่มีหลักการใดๆที่จะนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานหรือทำสงครามได้เลย

พระพุทธศาสนามีประวัติแห่งความสงบอย่างแท้จริง สอนเมตตาที่เป็นสากล จนนักปราชญ์ยอมรับกันว่า พระพุทธศาสนาเป็นขบวนการสันตินิยมที่แท้แรกสุดของโลก

พระไตรปิฎกจึงเป็นแหล่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์ผู้ปรารถนาสันติ สามารถเรียนรู้หลักการและวิธีการในการดำรงรักษาสันติภาพให้แก่โลกมนุษย์

วงนอกสุดที่ล้อมรอบตัวมนุษย์และสังคม ก็คือสิ่งแวดล้อมทั้งหลายโดยเฉพาะระบบนิเวศ ซึ่งเวลานี้ได้เกิดปัญหาร้ายแรงที่สุด ซึ่งคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ


ปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า เกิดจากแนวคิดผิดพลาดที่เป็นฐานของอารยธรรมปัจจุบัน คือ ความคิดความเชื่อที่มองเห็นมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ แล้วให้มนุษย์มีทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมชาติ มุ่งจะเอาชนะและมีอำนาจที่จะจัดการกับธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการผลประโยชน์ของมนุษย์ การที่จะแก้ปัญหานี้ได้ มนุษย์ต้องการแนวคิดใหม่มาเป็นฐาน

ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลาง ที่ให้รู้ตามเป็นจริงว่า ธรรมชาติเป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งปวง รวมทั้งมนุษย์ด้วย ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบที่อิงอาศัยเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน

มนุษย์เป็นองค์ประกอบพิเศษในระบบความสัมพันธ์นั้น โดยเป็นส่วนที่เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาได้ เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาตนให้มีคุณสมบัติดีงาม ทั้งในด้านพฤติกรรมที่จะเป็นไปในทางเกื้อกูลกัน

ในด้านจิตใจให้มีเจตจำนงในทางสร้างสรรค์ และในด้านปัญญาให้เข้าใจถูกต้องถึงระบบความสัมพันธ์ที่อิงอาศัยกันว่าจะต้องให้ระบบสัมพันธ์นั้นดำเนินไปด้วยดีได้อย่างไร

เมื่อมนุษย์ได้พัฒนามีคุณภาพดีแล้ว ก็จะรู้จักดำเนินชีวิตและจัดดำเนินการทั้งหลายที่จะเกื้อหนุนให้ระบบความสัมพันธ์แห่งธรรมชาติทั้งปวงนั้นเป็นไปในทางที่สมานเกื้อกูลกันยิ่งขึ้น เป็นทางนำมนุษย์ให้เข้าถึงโลกที่เป็นสุขไร้การเบียดเบียน

พูดให้สั้นว่า พระพุทธศาสนามอบให้ฐานความคิดอย่างใหม่ ที่เปลี่ยนแนวทางการพัฒนามนุษย์ จากการเป็นคู่ปรปักษ์ที่จะชิงชัยกับธรรมชาติ มาสู่ความเป็นองค์ประกอบที่เกื้อกูลต่อระบบแห่งการอยู่ร่วมกันของธรรมชาตินั้น

เมื่อมนุษย์มองเห็นประโยชน์ของพระพุทธศาสนาในการในการที่จะแก้ปัญหาข้อใหญ่ที่สุดนี้ พระไตรปิฎกก็จะเป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์ของการศึกษาค้นคว้าเพื่อจุดหมายดังกล่าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2017, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2017, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การจัดหมวดหมู่คัมภีร์ในพระไตรปิฎก

บัดนี้ จะหันมาพิจารณาโครงสร้างและการจัดองค์ประกอบของพระไตรปิฎก
ในประเทศไทย พระไตรปิฎกได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ การตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยและมีการฉลองใน พ.ศ.๒๔๓๖ พร้อมกับงานรัชดาภิเษกพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ครั้งนั้น จัดเป็นจบละ ๓๙ เล่ม

ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์ใหม่เป็นพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม ซึ่งได้ถือเป็นหลักในการจัดแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน และเพื่อความสะดวก การอ้างอิงในสรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎกต่อไปนี้ ก็จะยึดพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเป็นหลักเช่นกัน

กล่าวโดยทั่วไป พระธรรมวินัย หรือธรรมและวินัย ที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นแหละ เป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ของพระไตรปิฎก
เค้าโครงในการจัดหมวดหมู่มีดังปรากฏในแผนภูมิต่อไปนี้ (ซับซ้อนข้ามไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2017, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม

ก.พระวินัยปิฎก

ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่างๆของภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) ๘ เล่ม

ข. พระสุตตันตปิฎก

ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือพระธรรมเทศนา คำบรรยายหรืออธิบายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) ๒๕ เล่ม

ค.พระอภิธรรมปิฎก

ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นเนื้อหาวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า (สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) ๑๒ เล่ม

(เท่านี้พอเป็นตัวอย่าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2017, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อรรถกถาและคัมภีร์รุ่นต่อมา

viewtopic.php?f=1&t=55010&p=412760#p412760

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร