วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 01:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2017, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตวรรค

๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)


[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ
ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย

เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย

ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี

ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ


[๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมา-
*บัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวก
ใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จัก
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้
ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะ
ฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอัน
บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ




http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845






หมายเหตุ;

เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต หมายถึง นิโรธสมาบัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 06 ธ.ค. 2017, 22:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2017, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสุญญตสูตร


ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
[๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ
จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้
(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
(๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ ฯ
(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
เป็นสุข อยู่ ฯ
(๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ



ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน
ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
ฯลฯ



[๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล
ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า

อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป

อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา

อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา

อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร

อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ

เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่
ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล
เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ

ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว
ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้


http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4846&Z=5089

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2017, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา และมหาสุญญตา หมายถึง การละอุปทานขันธ์ ๕

มีเกิดขึ้น ๓ แบบ

๑. อย่างหยาบ มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
เกิดจากการกำหนดรู้ในผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

๒. อย่างกลาง มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ )

๓. อย่างละเอียด มีเกิดขึ้นขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2017, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา หมายถึง การละอุปทานขันธ์ ๕

๑. อย่างหยาบ มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ได้แก่ การกำหนดรู้ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑



[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ




เหตุปัจจัยจาก ความรู้ชัดในอนิจจัง โดยความไม่เที่ยง
จิตจึงเกิดการปล่อยวางในผัสสะที่มีเกิดขึ้น
สมาธิที่มีเกิดขึ้น เรียกว่า อนิมิตตสมาธิ


เหตุปัจจัยจาก ความรู้ชัดในทุกขัง โดยความเป็นทุกข์
จิตจึงเกิดการปล่อยวางในผัสสะที่มีเกิดขึ้น
สมาธิที่มีเกิดขึ้น เรียกว่า อัปปณิหิตสมาธิ



เหตุปัจจัยจาก ความรู้ชัดในอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่
จิตจึงเกิดการปล่อยวางในผัสสะที่มีเกิดขึ้น
สมาธิที่มีเกิดขึ้น เรียกว่า สุญญตสมาธิ





[๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง จึงควร
เจริญธรรม ๓ ประการ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
สุญญตสมาธิ ๑
อนิมิตตสมาธิ ๑
อัปปณิหิตสมาธิ ๑




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ
เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก
เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืนราคะ
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ
เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก
เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ
สารัมภะ มานะ อติมานะ ทมะ ปมาทะ

จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา หมายถึง การละอุปทานขันธ์ ๕

๒. อย่างกลาง มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ )


เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น

อย่างหยาบ รูปสมาบัติ

อย่างละเอียด อรูปสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ



[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 99 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร