วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 08:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2017, 07:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หากสะดวก....เชิญ Bigtoo มาร่ายมนต์ดับสังขาร..สัญญา..เวทนา..ฯ ให้ชมกันหน่อย..คงจะดี.

หากไม่สะดวก..ก็ไม่เป็นไรนะคับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “สังขาร” นั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆกันไม่น้อยกว่า ๔ นัย แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้ มี ๒ นัย คือ สังขารที่เป็นข้อหนึ่ง ในขันธ์ ๕ กับ สังขารที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์
เพราะสังขาร ๒ นัยนี้มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และมีความหมายคล้ายจะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษาสับสนได้ง่าย

ยกคำมาดูให้เห็นชัด

๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

๒. สังขาร ในไตรลักษณ์ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำความหมายทั้ง ๒ นั้น มาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้

๑. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม

เรียก ง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น
(คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียก ว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้งหมด ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเป็น นามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ


๒. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่ เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุก็ตาม
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า สังขารในไตรลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ และโดยองค์ธรรม

ก. โดยความหมายของศัพท์: "สังขาร" ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ตัวปรุงแต่งจิตใจ และการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงแต่งจิต หรือแปลกันง่ายๆ ว่า สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งหรือของปรุงแต่ง

นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเห็นได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้น ยังแคบกว่ากันด้วย กล่าวคือ สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือความคิดปรุงแต่ง (สังขารในขันธ์ ๕ ) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง ทยอยกันไปเป็นทอดๆ จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (สังขารในไตรลักษณ์) คือ ความเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่งนั่นเอง "สังขาร" ในขันธ์ ๕ จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง

ส่วน "สังขาร" ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด



ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็น ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
จะเห็นว่า "สังขาร" ในขันธ์ ๕ เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสี่ส่วนของนามธรรมเท่านั้น

แต่ "สังขาร" ในไตรลักษณ์ ครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม

อนึ่ง รูปธรรมและนามธรรมที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ (เป็นลำดับที่สี่) แต่สังขารในไตรลักษณ์ ครอบคลุมขันธ์ ๕ ทั้งหมด กล่าวคือ สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งสี่ขันธ์


นอกจากนั้น ธรรมหรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือสังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์คืออีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง

จะเห็นชัดเจนว่า สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวม อยู่ด้วยกันทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง


เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า "สังขารขันธ์" สำหรับคำว่าสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม และใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือ "สังขตสังขาร" หรือ "สังขาร" เดี่ยวๆ
สำหรับสังขารในไตรลักษณ์ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด

การที่ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า "สังขาร" ก็เพราะมีความหมายเหมือนกันว่า "ปรุงแต่ง"

แต่มาต่างกันตรงที่ว่า อย่างแรกเป็น "ความคิดปรุงแต่ง" อย่างหลังเป็น "สิ่งปรุงแต่ง หรือของปรุงแต่ง"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

วจีสังขาร 1. ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม

จิตตสังขาร1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา 2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม


สังขาร 1. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรม ก็ตาม เป็นนามธรรม ก็ตาม, ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น 2. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้น เวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

อีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือเจตนาที่แต่งกรรม หรือปรุงแต่งการกระทำ มี 3 อย่าง คือ

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา

๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา

๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา


3. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิต มี 3 คือ

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก และวิจาร

๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


สังขาร 2. คือ

๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง

๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง

แปลโดยปริยายว่า สังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 141 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร