วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 14:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2017, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


"อย่าพยายามทำคนอื่นให้เหมือนใจเรา
เพราะเราก็ทำให้เหมือนใจคนอื่นไม่ได้
อย่าทำตัวเป็นผู้รับฝ่ายเดียว
จงทำตัวเป็นผู้ให้ด้วย
อย่าทำตัวให้เด่นกว่างาน
จงพยายามทำงานให้เด่นกว่าตัว
อย่าทำบ้านให้แข็งแรงกว่าพื้นฐาน
จงทำพื้นฐานให้แข็งแรงกว่าบ้าน
อย่าพยายามทำสิ่งที่ได้ให้เท่ากับใจ
จงพยายามทำใจให้เท่ากับสิ่งที่ได้"
-:- หลวงปู่จันทร์ กุสโล -:-




"ผู้ที่มีความพอแล้ว
ย่อมมีความพอใจ
ในภาวะ และฐานะของตน
จนกระทั่ง ไม่เห็นความสำคัญ
ที่จะต้องนำตน ไปเปรียบกับผู้อื่น"
-:- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ -:-



"บาปนั้นพอแล้ว ไม่ต้องทำอีก
บุญนั่นแหละยังน้อยอยู่ ให้รีบทำ"
-:- หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร -:-





"ชีวิตนี้ ช่างเหมือนใบไม้ร่วง
เกิดแล้วตาย ง่ายเหมือนใบไม้ที่แตกผลิ
แล้วก็ร่วงในที่สุด ที่เราคิด ที่เราห่วง
ก็ต้องร่วงลงจากต้น"
-:- หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ -:-




"โรคซึมเศร้าจะหายไป"

ถาม : อาจจะเริ่มเป็นโรคซึมเศร้า พอมีอะไรกระทบก็จะเศร้า เหงาขึ้นมา คือคงสะสมมานานแล้ว พยายามภาวนา ถ้าทำบ่อยมากๆ อาการจะหายไปหรือไม่ หรือควรจะหาหมอทานยาคะ
พระอาจารย์ : ถ้าทำใจให้สงบได้ อาการเหล่านี้จะหายไปหมด อาการเหล่านี้มันเกิดจากความอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วเวลาไม่ได้ดังใจอยาก มันก็เกิดอาการซึมเศร้าผิดหวังขึ้นมา ถ้าเราหยุดความคิดปรุงแต่ง ไม่ไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เราอยากได้ มันก็จะจางหายไปจากใจ ใจก็จะว่างพอว่างแล้ว อารมณ์ต่างๆ คือความหว้าเหว่ ความซึมเศร้า มันก็จะหายไป
ดังนั้นพยายามเจริญสติให้มาก พยายามบริกรรมพุทโธๆไป เวลาเกิดความซึมเศร้าขึ้นมา แต่อย่าไปอยากให้ได้ผลทันทีทันใด ยิ่งอยากให้ได้ผลทันทีทันใด มันจะไม่ได้ผล เพราะว่าเราไม่ได้บริกรรม เรามัวแต่คิดอยาก อยากให้มันได้ผล เราต้องลืมเรื่องผล ลืมเรื่องอารมณ์ซึมเศร้า มันจะซึมเศร้าก็ปล่อยมัน ช่างมันไป ผลยังไม่ปรากฏก็ไม่ต้องไปสนใจมัน ขอให้เราบริกรรมของเราไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวผลมันก็จะปรากฏขึ้นมาเอง เหมือนกับการรับประทานอาหาร อย่าไปอยากให้มันอิ่ม อยากแล้วมันไม่อิ่มหรอก ถ้าไม่รับประทาน ขอให้รับประทานไปเรื่อยๆ เดี๋ยวถึงเวลามันก็อิ่มเอง.

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต





..การกล้าหาญนั้น ทางโลกคือ การกล้าหาญเอาชนะคนอื่น แต่ในหลักของพระพุทธศาสนาไม่เป็นอย่างนั้น การกล้าหาญนี้ คือกล้าเอาชนะตนเอง อันนี้เป็นคนกล้าหาญจริงๆ

(คติธรรมคำสอน หลวงปู่แนน สุภัทโธ)




...ขอให้เข้าใจเสียว่า เรารับศีลนั้นคือ เรารับแบบฝึกหัดเพื่อจะเอามาใช้เป็นหลักปฏิบัติ ขัดเกลาใจของเราให้สะอาดขึ้น ถ้ารับแล้วไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ใช่การรับศีล
...เพราะการรับศีล การให้สัญญากับพระสงฆ์ผู้ให้ศีลว่า เราจะงดเว้นอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้ารักษาไม่ได้ แสดงว่าเราผิดสัญญา จิตใจโลเล ไม่มีความหนักแน่น
(คติธรรมคำสอน หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร)




การเดินจงกรม

เมื่อจะเดินจงกรม ก็ให้มีทางเดินสักทางหนึ่ง จากต้นไม้ต้นนี้ไปสู่ต้นไม้ต้นนั้นก็ได้ ให้ระยะทางมันยาวสัก ๗-๘ วา เดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า "บัดนี้ เราจะทำความเพียร จะทำจิตให้สงบ มีสติสัมปชัญญะให้กล้า"
การกำหนดก็แล้วแต่ละคน ตามใจ บางคนออกเดินก่อนก็แผ่เมตตาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สารพัดอย่าง แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดีๆ ให้นึก "พุทโธ...พุทโธ..." ตามการก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน หยุด ให้มันสงบ ก้าวเดินใหม่ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็รู้จัก รู้จักหมด ต้นทางกลางทาง ปลายทาง ทำความรู้นี้ให้ติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ

พระอาจารย์ชา สุภัทโท




"..การภาวนาให้ดูใจตัวเอง
อ่านใจตัวเอง เอาซิมันจะวิ่ง
ไปทางไหนให้จับมันไว้

เหมือนควายเขาดึงแต่เชือก
ที่ผูกจมูกมันไว้ เขาจะฝึกมัน
ใส่คราดใส่แอกใส่ไถ
แต่นี่เราฝึกใส่ธรรม
ของพระพุทธเจ้าดูซิ
มีแต่รู้เรื่องการฝึกคนอื่น
แต่ฝึกตัวเองไม่เป็น.." (๕๐)

จากหนังสือ กุสลมณี ๙๑
โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่ลี กุสลธโร





“เรื่องบุญเรื่องกรรมเป็นธรรมชาติประจำพุทธศาสนา ทุกพระองค์ของพระพุทธเจ้าไม่มีใครจะลบล้างได้เลย คือยอมรับกรรม กรรมดีกรรมชั่ว นตฺถิ กมฺมสมํ พลํ ไม่มีอานุภาพใดที่จะเหนือกรรมไปได้ คือกรรมดีกรรมชั่ว พุทธศาสนาทุกพระองค์ของพระพุทธเจ้ายอมรับตลอดมา กรรมคือการกระทำของสัตว์ กระทำลงไปแล้วก็เป็นของคนที่ทำทั้งทำดีและทำชั่ว ถ้าทำชั่วก็เป็นภัยแก่ตัวเอง ถ้าทำดีก็เป็นคุณแก่ตัวเอง ติดกับตัวไป
.
อย่าประมาทใครต่อใครนะ จะประมาทหรือชมให้ชมเจ้าของประมาทเจ้าของ กรรมดีกรรมชั่วอยู่กับผู้ทำด้วยกันทุกคน พระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใดไม่เคยหลอกลวงโลก ตรัสคำไหนเป็นจริง เอกนามกึ คือพระวาจาของพระพุทธเจ้ารับสั่งคำไหนออกมาจริงทั้งนั้นไม่มีสอง นี่เราพูดถึงเรื่องกรรม ใครอย่าประมาทกรรมนะ ไปทำในที่ลับๆ มันไม่ลับสำหรับเจ้าของผู้ทำเอง ทำในที่มืดก็คือการทำ ทำในที่แจ้งก็คือการทำ ทำดีทำชั่วในที่ไหนๆ ก็คือเจ้าของเองเป็นผู้ทำ สมบัติทั้งดีทั้งชั่วเป็นของเจ้าของวันยังค่ำ ท่านจึงสอนว่ากรรมไม่มีลี้ลับ นตฺถิ โลเก รโห นาม ขึ้นชื่อว่าที่ลับไม่มีในโลก จะลับใครๆ ก็ตามแต่ไม่ลับสำหรับตัวเองผู้ทำ เปิดเผยตลอดเวลา ให้พากันจำเอา”
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 71 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร