วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2017, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ



อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์



หมายเหตุ;

ปัญญินทรีย์ มีเพียงอย่างเดียว
ได้แก่ อริยสัจ ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2017, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญินทรีย์ กับ อาสวะ(บางเหล่าและทั้งหลาย)
ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา


เป็นคนละตัว คนละสภาวะกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2017, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติที่เรียกว่า ลำบาก
และปฏิบัติที่เรียกว่า สบาย
ล้วนเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีเกิดขึ้นทางใจล้วนๆ




ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑

ข้อปฏิบัติ ได้แก่ การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
(วิปัสสนา/ไตรลักษณ์เกิดก่อน สมถะ/สัมมาสมาธิ เกิดทีหลัง)



สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑

ข้อปฏิบัติได้แก่ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
(สมถะ/สัมมาสมาธิ เกิดก่อน วิปัสสนา/ไตรลักษณ์เกิดทีหลัง)




ทั้งสุขาและทุกขาปฏิปทา จะรู้ช้าหรือรู้เร็ว
เป็นเรื่องของอินทรีย์ ๕ ตัวแปรของสภาวะทั้งหมด คือ ปัญญินทรีย์

กล่าวคือ ถึงแม้จะมี อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณเกิดขึ้นแล้ว
แต่ปัญญินทรีย์อ่อน ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ มีเกิดขึ้นช้า

ด้วยเหตุปัจจัยนี้ เป็นเหตุปัจจัยให้
ไม่รู้ชัดวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
(รู้แค่เปลือก ไม่รู้ถึงที่สุด)

จึงชื่อว่า ปฏิบัติลำบากและปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า





การแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ จะมีเกิดขึ้นได้ ต้องแจ้งใน นิพพาน
ในแง่ของการนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์(ดับเหตุปัจจัยของการเกิด)

เมื่อแจ้งในนิพพาน ตามความเป็นจริง
ที่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้

เป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน ผัสสะและอริยสัจ ๔

และเป็นเหตุปัจจัยให้แจ้งใน ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ ๔ ในที่สุด



หัวใจพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ทุกข์
เหตุแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
ทางให้ถึงความดับทุกข์

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2018, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ปัญญินทรีย์ กับ อาสวะ(บางเหล่าและทั้งหลาย)ของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา


เป็นคนละตัว คนละสภาวะกัน





แต่อาสวะบางเหล่าหรือทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา



คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายถึง ไตรลักษณ์

อนิจจัง(ไม่เที่ยง)
ทุกขัง(เป็นทุกข์)
อนัตตา(เป็นอนัตตา)



พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ใจเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา




เมื่อมีเกิดขึ้นเนืองๆ
อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา


ผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ.





๑. มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างหยาบ




๒. มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
กล่าวคือ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ อรูปภพ)

เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างกลาง





๓. มีเกิดขึ้นขณะเกิดสภาวะจิตดวงสุดท้าย

หากยังไม่ทำกาละ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสภาวะ
อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์

เป็นการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างละเอียด




ปัจจเวกขณญาณ

ครั้งที่ ๑. แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองใน ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
ผัสสะ กับ อริยสัจ ๔

ครั้งที่ ๒. แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองใน อวิชชา สังขาร วิญญาณ
ปฏิจจสมุปทาท กับ อริยสัจ ๔





ปัญญินทรีย์ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔

เกิดที่หลังสภาวะ อาสวะบางเหล่าหรือทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา(ไตรลักษณ์)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
การขีดเขียนสภาวะสัญญาอย่างต่อเนื่อง

โดยการนำผลของการทำความเพียรของตนเอง
และสภาวะต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร
มาเทียบเคียงกับสภาวะสัญญาต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น

ประกอบกับภายหลัง ได้มีการศึกษาพระธรรมคำสอน
ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ เป็นหลัก

จึงพอจะสรุปได้คร่าวๆดังนี้

คำสอนเป็นอันมาก ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนสาวก
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
ได้แก่ ผัสสายตนะ ๖

เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ
ถ่ายถอนอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

ถ้าไม่มีอุปทานขันธ์ ๕ เกิดขึ้น
สังโยชน์กิเลสต่างๆ ย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้






สำหรับอาสวะหรือกิเลส
พระองค์ไม่ได้ตรัสสอนให้ไปจ้องดู
หรือทำการสอบอารมณ์ตัวเองเพื่อจะรู้ว่า
กิเลสตัวไหนมีหรือไม่มี มีมากหรือน้อยแค่ไหน
เพื่อให้ความสำคัญเรื่อง โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์



พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้
หรือลูกมือของพวกช่างไม้

แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วันอื่นๆ สึกไปเท่านี้ๆ
คงรู้แต่ว่ามันสึกไปๆเท่านั้น, นี้ฉันใด;

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วันอื่นๆ สิ้นไปเท่านี้ๆ
รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไปๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
- สตฺตก. อํ. ๒๓ / ๑๒๘ / ๖๘.







บางคนอ่านแล้วแล้วจะงง
เมื่อนำไปเทียบเคียงเรื่องสติปัฏฐาน ๔
ตรงนั้นเป็นเรื่องของ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ
เป็นเหตุปัจจัยให้ จิตเห็นจิตแจ่มแจ้ง
กล่าวคือ รู้ชัดในกิเลสที่มีเกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

รู้เป็นปกติ รู้เป็นธรรมชาติ
ไม่ใช่เรื่องของโสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 ม.ค. 2018, 23:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2018, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวใจพระธรรมคำสอน "อริยสัจ ๔"

ทำไมต้องเป็นอริยสัจ ๔


อริยสัจ ๔ เป็นเรื่องของปัญญินทรีย์
ผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
ต้องรู้ชัดใน มรรค ผล นิพพาน ที่มีเกิดขึ้นด้วยตนเอง
ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับหรือจากการทำนายทายทักของใครๆ




อริยสัจ ๔ สมุทัย
ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ได้แก่ อวิชชา

กล่าวโดยย่อ อวิชชา สังขาร วิญญาณ





อริยสัจ ๔ สมุทัย
ที่เป็นเหตุปัจจัยให้ทุกข์ สุข มีเกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ ตัณหา

กล่าวโดยย่อ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
กามภพ รูปภพ อรูปภพ







ข้อปฏิบัติเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘



รายละเอียดข้อปฏิบัติเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
ได้แก่ วิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
ปฏิทาวรรค (ปฏิทา ๔)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด
คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต

อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น

บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า
ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร
คบหากัลยาณมิตร
ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่
พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้
จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุนี้.



หมายเหตุ;

"ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่"

เป็นผู้ได้รูปฌาน




"และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป"
ความหลุดพ้นจาก อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง





"เพราะเห็นด้วยปัญญา"
รู้โดยตามลำดับ ละโดยตามลำดับ

อนิจจัง อนิจจานุปัสสนา อนิมิตตวิโมกข์
ทุกขัง ทุกขานุปัสสนา อัปปณิหิตวิโมกข์
อนัตตา อนัตตานุปัสสนา สุญญตวิโมกข์





"กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้"
หมายถึง ความไม่ประมาทใน ผัสสายตนะ ๖
ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง

"ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 07 ก.พ. 2018, 21:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
[๒๓๗]

อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต









ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้




เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ


พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ



พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี
กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2018, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด
คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่
แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น


อีกประการหนึ่งธรรมเหล่านี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น

บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนี้เพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า
ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรคบหากัลยาณมิตร
ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่
พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์

อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้
เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.







หมายเหตุ;

"ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่"

เป็นผู้ได้รูปฌาน




"และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป"

ความหลุดพ้นจาก อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง





"เพราะเห็นด้วยปัญญา"

รู้โดยตามลำดับ ละโดยตามลำดับ

อนิจจัง อนิจจานุปัสสนา อนิมิตตวิโมกข์
ทุกขัง ทุกขานุปัสสนา อัปปณิหิตวิโมกข์
อนัตตา อนัตตานุปัสสนา สุญญตวิโมกข์





"อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น"

รู้ชัดใน "ผัสสายตนะ ๖" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ด้วยตนเอง






"กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้"
หมายถึง ความไม่ประมาทใน ผัสสายตนะ ๖

ได้แก่ การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง

"ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ก.พ. 2018, 12:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2018, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
[๒๓๗]

อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต









ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้




เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ


พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ



พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ



พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา
นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่ง ผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

เราละผัสสายตนะ ๖ ประการได้แล้ว เป็นผู้คุ้มครองทวารสำรวมด้วยดี
กำจัดเสียได้ซึ่งสรรพกิเลส อันเป็นมูลรากแห่งวัฏทุกข์ บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว.








ข้อปฏิบัติ มรรคมีองค์ ๘

ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสนิท
เพื่อสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว




ที่นอกเหนือพระธรรมคำสอน
เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2018, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวิมุติ จะสมบูรณ์ได้
ก็ต่อเมื่อมีปัญญินทรีย์มีเกิดขึ้นแล้ว






เพราะความเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้น
สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะย่อมแวดล้อมด้วยองค์ ๗
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ

ความที่จิตตั้งมั่นแวดล้อมด้วยองค์ ๗ ดังนี้
ย่อมยังสัมมาญาณะให้ถึงพร้อมซึ่งความบริบูรณ์ได้

เพราะความบริบูรณ์แห่งสัมมาญาณะ
ย่อมยังสัมมาวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2018, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท. ! วิชชา เป็นสิ่งที่มาล่วงหน้า
เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
อันติดตามมาด้วยหิริโอตตัปปะ



ภิกษุ ท. !
สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้ถึงซึ่งวิชชา มีความเห็นแจ้ง;
สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาทิฏฐิ;
สัมมาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสังกัปปะ;
สัมมากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาวาจา;
สัมมาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมากัมมันตะ;
สัมมาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาอาชีวะ;
สัมมาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้สัมมาวายามะ;
สัมมาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสติ.
สัมมาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาสมาธิ;
สัมมาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีสัมมาญาณะ.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑/๓.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 103 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร