วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 05:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2017, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ



ผู้ที่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย
คือ ได้วิโมกข์ ๘ และไม่เสื่อมจนกว่ากาละ



ข้อนี้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้ที่วิโมกข์ ๘ ไม่เสื่อม
ผัสสะที่มีเกิดขึ้น สักแต่ว่ามีเกิดขึ้น กระทบปุ๊บ ดับทันที

กล่าวคือ ปราศจาก เรา,เขา ที่จะบังคับบัญชา
ให้เป็นไปตามความต้งการ

แม้กระทั่งร่างกาย ที่เคยคิดว่าเป็นของตนเอง เวลาสภาวะนี้มีเกิดขึ้น
ก็ไม่สามารถบังคับให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ตามใจนึก




[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘


ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ
ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง
เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ
ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์

จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป
เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่าไม่มี

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ

จบมหานิทานสูตร ที่ ๒





ฌานสูตร

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑

สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้
อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ

และฉลาดในการ ออกจากสมาบัติ
เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ






วิญญาณฐีติ ๗ และอายตนะ ๒

ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น

และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ

ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ


ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น

อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ






สมถะหรือจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่นำมากล่าวทั้งหมดนี้
เป็นลักษณะเด่นเฉพาะของสัมมาสมาธิเท่านั้น
เป็นหลักฐานของผู้ที่ทำความเพียร
ย่อมประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 ม.ค. 2018, 21:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2017, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้ามรรคก็สายนี้ ปฏิปทาก็ทางนี้ ที่เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า ดังนี้แล้ว, ทำไม ภิกษุผู้ปฏิบัติบางพวก จึงบรรลุเจโตวิมุตติ บางพวกบรรลุปัญญาวิมุตติ เล่า พระเจ้าข้า !”


อานนท์ ! นั่นเป็นเพราะ ความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น,

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2017, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอกาภิญญาสูตร

[๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


[๙๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเป็นพระอรหันต์
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์

เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์

เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี


เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี




เป็นพระสกทาคามี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี


เป็นพระโสดาบันผู้เอกพิชี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี

เป็นพระโสดาบันผู้โกลังโกละ
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี

เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ

เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ

เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2018, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้ามรรคก็สายนี้ ปฏิปทาก็ทางนี้
ที่เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า ดังนี้แล้ว,

ทำไม ภิกษุผู้ปฏิบัติบางพวก จึงบรรลุเจโตวิมุตติ
บางพวกบรรลุปัญญาวิมุตติ เล่า พระเจ้าข้า !”


อานนท์ ! นั่นเป็นเพราะ ความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น,







บุคคล ๗ จำพวก


[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน
คืออุภโตภาควิมุตบุคคล ๑
ปัญญาวิมุตบุคคล ๑
กายสักขีบุคคล ๑
ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑
สัทธาวิมุตบุคคล ๑
ธัมมานุสารีบุคคล ๑
สัทธานุสารีบุคคล ๑.






[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่
และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว
และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.



หมายเหตุ;


"ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมบัติ ด้วยกายอยู่"

เป็นผู้ได้วิโมกข์ ๘




"อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป"
ความหลุดพ้นจาก อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

"เพราะเห็นด้วยปัญญา"
สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์




"กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ทำเสร็จแล้ว"

หมายถึง กิจในอริยสัจจ์












[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ
ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว
และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.





หมายเหตุ;


"ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมบัติ ล่วงรูปสมบัติด้วยกายอยู่"

เป็นผู้ได้รูปฌาน




"อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป"
ความหลุดพ้นจาก อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

"เพราะเห็นด้วยปัญญา"
สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์




"กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ทำเสร็จแล้ว"

หมายถึง กิจในอริยสัจจ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2018, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า
กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว
และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.



"กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ทำเสร็จแล้ว"

หมายถึง กิจในอริยสัจจ์








เทวทหวรรคที่ ๔
เทวทหสูตร


[๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่าเทวทหะ
ของสากยราชทั้งหลาย ในสักกชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียวควรทำ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่กล่าวว่า
ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุทั้งปวงเทียวไม่ควรทำ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุโดยลำดับแล้ว
มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะเหตุว่า ความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น
ไม่ควรแล้วเพื่อประมาทได้อีก เพราะความไม่ประมาทนั้น





ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล
ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖
อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะเหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
รูปเหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่

เพราะการไม่ถูกกลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติ อันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯลฯ


ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี
ธรรมารมณ์เหล่านั้นถูกต้องแล้วๆ ย่อมไม่กลุ้มรุมจิตของบุคคลผู้ไม่ประมาทตั้งอยู่

เพราะการไม่กลุ้มรุมจิต
ความเพียรเป็นคุณอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว ไม่ให้ย่อหย่อน
สติเป็นธรรมชาติอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่ให้หลงลืม
กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์อันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล
จึงกล่าวว่า ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ อันภิกษุเหล่านั้นควรทำ ฯ





หมายถึง กิจในอริยสัจจ์

สัจจญาณ

กิจญาณ

กตญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2018, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ"

"ย่อมราคะได้"
กามราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในผัสสายตนะ ๖
รูปราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในรูปฌาน
อรูปราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในอรูปฌาน

หรือจะใช้ตัณหาก็ได้ ความหมายเดียวกัน



สามารถรู้ชัดได้ด้วยกัน ๓ ขณะ

๑. ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

ได้แก่ ศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

ข้อปฏิบัติ
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

สมาธิที่มีเกิดขึ้น จากจิตที่ปล่อยวางจากผัสสะ
มีชื่อเรียกตามความรู้ชัดในสภาวะนั้นๆ

จิตที่เกิดการปล่อยวางจากผัสสะ เพราะรู้ชัดในทุกขัง
สมาธิที่มีเกิดขึ้น มีชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ ๑



ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

หมายเหตุ;

"ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป"
ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕





๒. มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
ในรูปฌานและอรูปฌาน

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ,อรูปภพ)

ข้อปฏิบัติ
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ



ยกตย. ในการปฏิบัติเช่น
ขณะทำกรรมฐาน เกิดทุกขเวทนากล้า
ตั้งจิตไว้อย่างเดียวว่า ตายเป็นตาย ไม่ขอลุก
แล้วเกิดสภาวะ กายแตก กายระเบิด ประมาณนี้
นี่คือ การรู้ชัดในทุกขัง แล้วไม่กระทำตามตัณหา
ตัณหาไม่สามารถครอบงำได้

รู้ชัดในทุกขัง ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ(ทุกขานุปัสสนา)
จนกระทั่งจิตเกิดการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
เวทนา สักแต่ว่าเวทนา ซ่า แล้วดับหายไป
กายและจิตแยกจากกัน
มีเพียงสองสิ่งที่มีเกิดขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้น(เวทนา) กับใจที่รู้อยู่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป





๓. มีเกิดขึ้นขณะ เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่มีเกิดขึ้น
กล่าวคือ ความหลุดพ้นจากตัณหา
ได้แก่ อัปปณิหิตวิโมกข์



จึงเป็นที่มาของ

ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่กำลังดำเนินไปอยู่
เกิดทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจนเหลือจะทน ในที่สุดก็ดับไป
ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือ ดับทางทุกขัง

ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความเป็นทุกข์
มรรคนั้นชื่อ อัปปณิหิตวิโมกข์





เจโตวิมุติ สำรอกราคะ(ตัณหา)

ปัญญาวิมุติ สำรอกอวิชชา

จริงอยู่ ปัญญาวิมุติ เป็นเรื่องของ ไตรลักษณ์
จะละอาสวะได้ เพราะไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้น

แต่ปัญญาวิมุติ จะสมบูรณ์ได้
ปัญญินทรีย์ ต้องสมบูรณ์
กล่าวคือ รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง
จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท

" ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖"



"กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี"
หมายถึง กิจในอริยสัจ



มรรคมีองค์ ๘ มีทั้งสมถะและวิปัสสนา
เพียงแต่ สมถะเกิดก่อน หรือวิปัสสนาเกิดก่อนเท่านั้นเอง

จะสมถะเกิดก่อนวิปัสสนา หรือวิปัสสนาเกิดก่อนสมถะ
ข้อปฏิบัติแบบไหน เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของผู้นั้น

การเจริญสมถะล้วนๆ จึงเป็นเพียงวาทะของผู้ไม่รู้
การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ จึงเป็นเพียงวาทะของผู้ไม่รู้
ไม่ใช่เรื่องถูก ผิด แต่เป็นเหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้พูด


"ปฏิทาวรรค"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงสมถะ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

ได้แก่ การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง



รู้โดยตามลำดับ

๑. จุดเริ่มต้น เริ่มจาก มิจฉาสมาธิ
ไม่ว่าจะปฏิบัติในรูปแบบใดก็ตาม
ต้องพูดถึง ญาณ ๑ ถึง ญาณ ๓



ลักษณะเด่นเฉพาะของสมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
วิญญาณ/ธาตุรู้ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่สามารถรู้ชัดภายใน
กายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม

คือ มีแต่ดิ่ง และก็ดับ
ขาดความรู้สึกตัว

รู้สึกตัวอีกที
เหมือนเวลาหายไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2018, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คำว่า "เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ"

"ย่อมราคะได้"
กามราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในผัสสายตนะ ๖
รูปราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในรูปฌาน
อรูปราคะ ความกำหนัดยินดี ความติดข้องในอรูปฌาน

หรือจะใช้ตัณหาก็ได้ ความหมายเดียวกัน



สามารถรู้ชัดได้ด้วยกัน ๓ ขณะ

๑. ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(กามภพ)

ได้แก่ ศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

ข้อปฏิบัติ
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์

เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น

ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

สมาธิที่มีเกิดขึ้น จากจิตที่ปล่อยวางจากผัสสะ
มีชื่อเรียกตามความรู้ชัดในสภาวะนั้นๆ

จิตที่เกิดการปล่อยวางจากผัสสะ เพราะรู้ชัดในทุกขัง
สมาธิที่มีเกิดขึ้น มีชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ ๑



ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

หมายเหตุ;

"ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป"
ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕





๒. มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
ในรูปฌานและอรูปฌาน

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ(รูปภพ,อรูปภพ)

ข้อปฏิบัติ
เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ



ยกตย. ในการปฏิบัติเช่น
ขณะทำกรรมฐาน เกิดทุกขเวทนากล้า
ตั้งจิตไว้อย่างเดียวว่า ตายเป็นตาย ไม่ขอลุก
แล้วเกิดสภาวะ กายแตก กายระเบิด ประมาณนี้
นี่คือ การรู้ชัดในทุกขัง แล้วไม่กระทำตามตัณหา
ตัณหาไม่สามารถครอบงำได้

รู้ชัดในทุกขัง ที่มีเกิดขึ้นเนืองๆ(ทุกขานุปัสสนา)
จนกระทั่งจิตเกิดการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
เวทนา สักแต่ว่าเวทนา ซ่า แล้วดับหายไป
กายและจิตแยกจากกัน
มีเพียงสองสิ่งที่มีเกิดขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้น(เวทนา) กับใจที่รู้อยู่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป





๓. มีเกิดขึ้นขณะ เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่มีเกิดขึ้น
กล่าวคือ ความหลุดพ้นจากตัณหา
ได้แก่ อัปปณิหิตวิโมกข์



จึงเป็นที่มาของ

ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่กำลังดำเนินไปอยู่
เกิดทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจนเหลือจะทน ในที่สุดก็ดับไป
ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือ ดับทางทุกขัง

ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความเป็นทุกข์
มรรคนั้นชื่อ อัปปณิหิตวิโมกข์





เจโตวิมุติ สำรอกราคะ(ตัณหา)

ปัญญาวิมุติ สำรอกอวิชชา

จริงอยู่ ปัญญาวิมุติ เป็นเรื่องของ ไตรลักษณ์
จะละอาสวะได้ เพราะไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้น

แต่ปัญญาวิมุติ จะสมบูรณ์ได้
ปัญญินทรีย์ ต้องสมบูรณ์
กล่าวคือ รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง
จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท

" ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖"



"กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี"
หมายถึง กิจในอริยสัจ



มรรคมีองค์ ๘ มีทั้งสมถะและวิปัสสนา
เพียงแต่ สมถะเกิดก่อน หรือวิปัสสนาเกิดก่อนเท่านั้นเอง

จะสมถะเกิดก่อนวิปัสสนา หรือวิปัสสนาเกิดก่อนสมถะ
ข้อปฏิบัติแบบไหน เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของผู้นั้น

การเจริญสมถะล้วนๆ จึงเป็นเพียงวาทะของผู้ไม่รู้
การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ จึงเป็นเพียงวาทะของผู้ไม่รู้
ไม่ใช่เรื่องถูก ผิด แต่เป็นเหตุปัจจัยจากความไม่รู้ที่มีอยู่ของผู้พูด


"ปฏิทาวรรค"













สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องความว่าง หรือจะเรียกว่าอะไรก็ตาม
ที่รู้สึกว่ามันว่างจากตัวตน กล่าวคือ อุปทานขันธ์ ๕
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีเกิดขึ้นชั่วขณะ

จะอนิมิตตะ อัปณิหิตะ สุญญตะ ใช้ได้หมด
จะเรียกชื่อว่าอะไรก็ได้ ตามความรู้ความเห็นของผู้นั้น

.

ปัจจุบัน(ผัสสะ) ที่มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต

โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุปัจจัยให้
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ส่วนจะรู้ชัดสภาพธรรมใด ที่ทำให้จิตเกิดการปล่อยวางจากผัสสะ
ที่เกิดขึ้นเพราะความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยในแต่ละคน

จะอนิจจัง แล้วปล่อยวาง(ว่าง)
จะทุกขัง แล้วปล่อยวาง(ว่าง)
จะอนัตตา แล้วปล่อยวาง(ว่าง)


อนิจจัง ไม่เที่ยง แปรปรวนตามเหตุและปัจจัย ยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้

ทุกขัง เป็นทุกข์ เพราะถือมั่น

อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ของเขา หรือของใคร
หรือเกิดจากการดลบันดาลจากสิ่งใด ล้วนยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้
เพราะเป็นเรื่องของเหตุและปัจจัย เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ

เพราะท้ายสุด ธรรมทั้งหลายทั้งปวง
จบลงที่ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด

เป็นเหตุปัจจัยให้
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปณิหิตสมาธิ
มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ ธรรม
๓ ประการเป็นไฉน คือ

สุญญตสมาธิ ๑
อนิมิตตสมาธิ ๑
อัปปณิหิตสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะฯลฯ
เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ
เพื่อความสละ เพื่อความสละคืนราคะ
จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ
เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะมักขะ
ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะอติมานะ ทมะ ปมาทะ

จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้ ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2018, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อุปกิเลส ๑๐ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ต้องพูดถึง ญาณ ๔ อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน

ได้แก่ ปฏิทา ๔
การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑


เมื่อมนสิการ พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยดี
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความไม่ใช่ตัวตน.
โอภาสย่อมเกิดขึ้น





๑. โอภาส แสงสว่าง
ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาไม่ฉลาด เมื่อโอภาสนั้นเกิดคิดว่า โอภาสเห็นปานนี้ ยังไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อนจากนี้เลยหนอ เราเป็นผู้บรรลุมรรค บรรลุผลแน่แท้แล้ว จึงถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคนั่นแหละว่าเป็นมรรค สิ่งที่ไม่ใช่ผลนั่นแหละว่าเป็นผล.

เมื่อภิกษุนั้นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งที่ไม่ใช่ผลว่าเป็นผล ก้าวออกจากวิปัสสนาวิถี. ภิกษุนั้นสละวิปัสสนาวิถีของตนถึงความฟุ้งซ่าน หรือสำคัญโอภาสด้วยความสำคัญแห่งตัณหาและทิฏฐินั่งอยู่.

ภิกษุทำไว้ในใจถึงโอภาสนั้นๆ ว่า โอภาสนี้เป็นมรรคธรรมหรือเป็นผลธรรมดังนี้ เพราะนึกถึงว่า โอภาสเป็นธรรม ความฟุ้งซ่านจึงเกิดขึ้น นั่นคืออุทธัจจะ พระโยคาวจรกำหนดมรรคและมิใช่มรรคแล้วเว้นความฟุ้งซ่านนั้นตั้งอยู่ในอุทยัพพยานุปัสสนา พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยดี โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความไม่ใช่ตัวตน. เมื่อพระโยคาวจรสอบสวนอยู่อย่างนี้นั้นเป็นสมัย แต่เมื่อไม่สอบสวนอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีมานะจัดว่า เราเป็นผู้บรรลุมรรคและผลดังนี้





๒. ญาณ วิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาจิตนั้น คือในภายในโคจรอันเป็นอารมณ์แห่งอนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา ญาณย่อมเกิดขึ้น คือ

เมื่อพระโยคาวจรนั้นพิจารณาอย่างรอบคอบถึงรูปธรรมและอรูปธรรม
วิปัสสนาญาณอันเฉียบแหลม แข็งแกร่งกล้ายิ่งนัก มีกำลังไม่ถูกกำจัด
ย่อมเกิดขึ้นดุจวชิระของพระอินทร์ที่ปล่อยออกไปฉะนั้น.





๓. ปีติ ความอิ่มใจ
ปีติย่อมเกิดขึ้น คือ
ในสมัยนั้น ปีติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ๕ อย่างนี้ คือ
ขุททกาปีติ (ปีติอย่างน้อย) ๑
ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ) ๑
โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นพักๆ) ๑
อุพเพงคาปีติ (ปีติอย่างโลดโผน) ๑
ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน) ๑
ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจนั้นยังสรีระทั้งสิ้นให้อิ่มเอม.





๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและใจ
ความสงบย่อมเกิดขึ้น คือในสมัยนั้น พระโยคาวจรนั้นไม่มีความกระวนกระวายของกายและจิตไม่มีความหนัก ไม่มีความหยาบ ไม่มีความไม่ควรแก่การงาน ไม่มีความไข้ ไม่มีความคด แต่ที่แท้พระโยคาวจรนั้นมีกายและจิตสงบเบาอ่อน ควรแก่การงานคล่องแคล่วเฉียบแหลม ตรง.

พระโยคาวจรนั้นมีกายและจิตอันเป็นปัสสัทธิเป็นต้นเหล่านี้อนุเคราะห์แล้ว ย่อมเสวยความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ในสมัยนั้น ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งธรรมโดยชอบ

แต่กาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาความเกิดและความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย แต่กาลนั้นๆ ภิกษุย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะของภิกษุผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ความสงบแห่งกายและจิตสัมปยุตด้วยวิปัสสนา พร้อมด้วยความเป็นของเบาเป็นต้น ยังความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์นี้ให้สำเร็จย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น





๕. สุข อันสุขุมละเอียด มีรสล้ำลึก
สุขย่อมเกิดขึ้น คือสุขสัมปยุตด้วยวิปัสสนา
อันยังสรีระทั้งสิ้นให้ชุ่มชื้น ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น.





๖. อธิโมกข์ ความศรัทธาที่มีกำลังแก่กล้า
อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น คือศรัทธาสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันเป็นความเลื่อมใสอย่างแรงของจิตและเจตสิกย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น.





๗. ปัคคหะ วิริยะ มีความเพียรกล้า
ความเพียร ย่อมเกิดขึ้น คือความเพียรสัมปยุตด้วยวิปัสสนาอันประคองไว้ดีแล้ว ไม่ย่อหย่อนและไม่ตึงจนเกินไป ย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้นแก่ภิกษุนั้น




๘. อุปัฏฐาน สติคมชัด
ความตั้งมั่น ย่อมเกิดขึ้น คือสติสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ตั้งไว้ด้วยดีแล้ว ฝังแน่น ไม่หวั่นไหว





๙. อุเปกขา ความวางเฉยในสังขารและอารมณ์ทั้งปวง
ความวางเฉยด้วยวิปัสสนาอันเป็นกลางในสังขารทั้งปวง มีกำลังย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น แม้ความวางเฉยด้วยการพิจารณา ย่อมเกิดในมโนทวาร จริงอยู่ เมื่อยึดถือวิปัสสนาญาณ ก็จะมีโทษด้วยคำพูดอีกว่า ญาณ ย่อมเกิด เพราะวิปัสสนาญาณมาถึงแล้ว.





๑๐. นิกันติ
ความยินดี พอใจ ความติดใจ ความชอบใจในสภาวะทั้ง ๙ ที่กล่าวมา ตั้งแต่โอภาสจนถึงอุเปกขา
คือความพอใจมีอาการสงบ สุขุมทำความอาลัยในวิปัสสนาอันประดับด้วยโอภาสเป็นต้นอย่างนี้ย่อมเกิดขึ้น ความพอใจใดไม่อาจแม้กำหนดลงไปว่าเป็นกิเลส ดุจในโอภาส เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น.

พระโยคาวจรคิดว่าญาณเห็นปานนี้ ไม่เคยเกิดแก่เรามาก่อน จากนี้ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ ปัคคหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ เห็นปานนี้เคยเกิดแล้ว เราเป็นผู้บรรลุมรรค เราเป็นผู้บรรลุผลแน่นอน แล้วถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค สิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล.

เมื่อพระโยคาวจรนั้นถือเอาสิ่งมิใช่มรรคว่าเป็นมรรค และสิ่งมิใช่ผลว่าเป็นผล วิปัสสนาวิถีย่อมหลีกออกไป. พระโยคาวจรนั้นสละมูลกรรมฐานของตนแล้วนั่ง ยินดีความพอใจนั้นเท่านั้น.

อนึ่ง ในบทนี้ท่านกล่าวโอภาสเป็นต้นว่าเป็นอุปกิเลส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง เพราะไม่ใช่อกุศล

ส่วนนิกันติเป็นอุปกิเลสด้วยเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าหมองด้วย.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2018, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ละโดยตาลำดับ

ได้แก่ โยนิโสมนสิการ




ขณะทำกรรมฐาน ไม่ว่าจะมีสภาวะใดเกิดขึ้น
ให้กำหนดรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

อุปกิเลสต่างๆ ย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2018, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. เมื่อพูดถึง สมถะจากมิจฉาสมาธิ ที่เริ่มเข้าสู่สัมมาสมาธิ
ต้องพูดถึง ญาณ ๔ อุทัยพพยญาณอย่างแก่

กล่าวคือ จิตเริ่มละอารมณ์บัญญัติ มีรูปนามเป็นอารมณ์
บางครั้งต้องใช้คำบริกรรม เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
บางครั้ง แค่รู้กายใจปกติ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
เมื่อกำหนดคำบริกรรม เริ่มกำหนดไม่ค่อยได้
กำหนดแล้วคำบริกรรมขาดหายไป กำหนดได้ยากขึ้น

แต่เมื่อรู้ลมหายใจเข้า ออก แบบปกติ รู้ปกติ
หรือ รู้ท้องพองขึ้นตอนหายใจเข้า ท้องยุบลง ตอนหายใจออก
รู้ปกติ ไม่ได้จดจ้องที่จะรู้แต่อย่างใด แล้วจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

บางครั้งต้องใช้บริกรรม เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
บางครั้ง รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ปกติ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง
บางครั้ง รู้กายเคลื่อนไหว รู้ปกติ ไม่ต้องสร้างกิริยาขึ้นมาเพื่อจะรู้
เช่น รู้ท้องพองขึ้น ยุบลง รู้ปกติ แล้วจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2018, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. เมื่อพูดถึง สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ต้องพูดถึง ญาณ ๕ ภังคญาณ

เป็นสภาวะของสมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กล่าวคือ มีรูปนาม เป็นอารมณ์

ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น
ได้แก่ จิตที่ละอารมณ์บัญญัติขาดแล้ว
ไม่มีการกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป
(คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติต่างๆ เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอฯลฯ)


หากมีเหตุปัจจัยให้จิตเสื่อม สมาธิเสื่อม
คือ สมาธิที่มีอยู่เสื่อมหายไปหมดสิ้น

เมื่อเริ่มต้นทำกรรมฐาน เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ คือ ไม่หวนกลับไปหาอารมณ์บัญญัติอีก

หากมีการใช้คำบริกรรม หรือหวนกลับไปใช้อารมณ์บัญญัติ
จะรู้สึกเหมือนกำหนดลงไปในความว่าง






ลักษณะเด่นเฉพาะของสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเกิดขึ้นร่วมด้วย
วิญญาณ/ธาตุรู้ จึงสามารถเกิดขึ้นได้
เป็นเหตุปัจจัยให้ สามารถรู้ชัดภายใน
กายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม

กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้สามารถรู้ชัดอยู่ภายใน
กายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม
ได้อย่างต่อเนื่อง


เช่น รูปฌาน
พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา
ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


อรูปฌาน(กายหาย)
พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา
ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

มหาสติปัฏฐาน ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2018, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังสมาธิ ที่มีเกิดขึ้นในสมถะ ที่เป็นมิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ
เป็นกำลังสมาธิ ที่มีเกิดขึ้นจาก อัปปนาสมาธิเท่านั้น

ลักษณะเด่นเฉพาะของอัปนนาสมาธิ
ได้แก่ โอภาส

สว่างมาก หรือสว่างน้อย
ล้วนเกิดจากกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ ได้แก่ อัปปนาสมาธิ


สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ

กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ที่เป็นเหตุปัจจัยให้ สามารถรู้ชัดอยู่ภายใน
กายในกาย
เวทนาในเวทนา
จิตในจิต
ธรรมในธรรม
ได้อย่างต่อเนื่อง

กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ คือ อัปปนาสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2018, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุติ


[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน

คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมอบรมจิต


จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละราคะได้




[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ








สมถะ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ


มี ๒ ชนิด

๑. สมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ

๒. สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ





เจโตวิมุติมี ๒ ชนิด


๑. เจโตวิมุติ ที่เป็นโลกียะ เหตุปัจจัยจากสมถะที่เป็นมิจฉาสมาธิ


๒. เจโตวิมุติ ที่เป็นโลกุตระ เหตุปัจจัยจากสมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิประกอบด้วยญาณ ๕
ได้แก่ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า

สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑

ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้เป็นอริยะไม่มีอามิส ๑

ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้ไม่ต่ำช้าเสพแล้ว ๑

ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต
มีปฏิปัสสัทธิอันได้แล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
และมิใช่ข่มขี่ห้ามด้วยจิตเป็นสสังขาร ๑

ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้น มีสติ เข้าสมาธินี้ และมีสติ ออกจากสมาธินี้ ๑




หากอ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจ
ให้อ่าน อุภโตภาควิมุติ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรายละเอียดไว้
เป็นการรู้ชัดโดยตามลำดับ และเป็นการละโดยตามลำดับ

หากอ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจอีก คือ วิจิกิจฉายังมีอยู่
ตรงนี้ไม่มีใครสามารถช่วยใครได้ ต้องรู้ชัดประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง




รู้ชัดด้วยตนเองแค่ ๒ ข้อเท่านี้ อื่นๆจะรู้ตามมาเอง

ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต
มีปฏิปัสสัทธิอันได้แล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
และมิใช่ข่มขี่ห้ามด้วยจิตเป็นสสังขาร ๑

ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้น มีสติ เข้าสมาธินี้ และมีสติ ออกจากสมาธินี้




กล่าวคือ สามารถรู้ชัดได้ด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน
รู้ชัดขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิตั้งแต่

รู้ชัดก่อนที่จิตจะเป็นสมาธิ(ก่อนเกิด)

รู้ชัดขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ (มีเกิดขึ้น)

รู้ชัด"ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

รู้ชัดในความดับ "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้น
ในรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และนิโรธสมาบัติ


รู้ชัดขณะจิตคลายตัวออกจากสมาธิ
ในรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และนิโรธสมาบัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร