วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมบาทที่นำมาพูดๆกัน จะเป็นปฏิจจสมุปบาทแห่งชีวิต อันว่าชีวิตจิตใจเป็นสิ่งเข้าใจได้โดยยากนักหนา

แต่มิใช่เพียงแค่นั้น พระพุทธเจ้ายังแสดงปฏิจจสมุปบาทของสังคมด้วย ปัจจยาการ (ปฏิจจสมุปบาท) แห่งสังคมนี้ ผู้ศึกษาคงเข้าใจง่ายหน่อย เพราะเห็นตำตาตำใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และเมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแห่งสังคมแล้ว คงเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแห่งชีวิตง่ายขึ้นด้วย

ดังนั้น จึงขอนำปฏิจจสมุปบาทแห่งสังคมลงก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด) การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม, สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา

ปฏิจจสมุปบาทนี้ บางทีเรียกชื่อเต็มเป็นคำซ้อนว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท (ภาวะที่อันนี้ๆมี เพราะอันนี้ๆเป็นปัจจัย (หรือประชุมแห่งปัจจัยเหล่านี้) กล่าวคือ การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 พ.ย. 2017, 10:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายศัพท์ยาก

-ปริเยสนา การแสวงหา

-ลาภะ การได้

-วินิจฉัย การกะการ

-ฉันทราคะ ความติดใคร่ใฝ่กระสัน

-อัชโฌสาน ความฝังใจพะวง

- ปริคคหะ การยึดถือครอบครอง

-มัจฉริยะ ความหวงแหนตระหนี่

-อารักขะ ความเก็บกั้นป้องกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พุทธธรรมหน้า ๒๐๗ - ปัจจยาการ ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งแห่งปฏิจจสมุปบาท)

ปฏิจจสมุปบาท ในฐานะปัจจยาการทางสังคม

ในมหานิทานสูตร * ซึ่งเป็นพระสูตรที่สำคัญมากสูตรหนึ่ง และเป็นสูตรใหญ่ที่สุดที่แสดงปฏิจจสมุปบาท
พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักปัจจยาการ ทั้งที่เป็นไปภายในจิตใจของบุคคล และที่เป็นไปในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์หรือในทางสังคม แต่เท่าที่กล่าวมาแล้วในหนังสือนี้ ได้อธิบายเฉพาะปัจจยาการในจิตใจของบุคคล หรือปัจจยาการแห่งชีวิตอย่างเดียว
ก่อนจะผ่านเรื่องนี้ไป เห็นควรกล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทในฐานะปัจจยาการทางสังคมไว้สักเล็กน้อย พอเป็นเค้าเป็นแนว

ปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์ หรือความชั่วร้ายทางสังคม ก็ดำเนินมาตามวิถีเดียวกันกับปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์ของชีวิตนั่นเอง
แต่เริ่มแยกออกแสดงอาการที่เป็นไปภายนอกต่อแต่ตัณหาเป็นต้นไป แสดงพุทธพจน์เฉพาะช่วงตอนนี้ ดังนี้

"อานนท์ ด้วยประการดังนี้แล อาศัยเวทนา จึงมีตัณหา อาศัยตัณหา จึงมีปริเยสนา อาศัยปริเยสนา จึงมีลาภะ อาศัยลาภะ จึงมีวินิจฉัย อาศัยวินิจฉัย จึงมีฉันทราคะ อาศัยฉันทราคะ จึงมีอัชโฌสาน อาศัยอัชโฌสาน จึงมีปริคคหะ อาศัยปริคคหะ จึงมีมัจฉริยะ อาศัยมัจฉริยะ จึงมีอารักขะ อาศัยอารักขะ สืบเนื่องจากอารักขะ จึงมีการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท ขึ้นเสียงด่าว่า มึง มึง การส่อเสียด มุสาวาท บาปอกูศลธรรม (ปัญหาความชั่วร้าย) ทั้งหลายเป็นอเนก ย่อมเกิดมีพรั่งพร้อมด้วยอาการอย่างนี้" * (ที.ม.10/59/69 ฯลฯ)

.............
ที่อ้างอิง *
* ที.ม. 10/57-66/65-84 (พึงสังเกตว่า ในสูตรนี้ ตอนแสดงปัจจยาการทางจิตใจ ท่านอธิบายว่า ตัณหา ได้แก่ ตัณหา ๖ คือ ตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ส่วนในตอนปัจจยาการทางสังคม ท่านอธิบายตัณหา ว่า ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ในที่นี้ เพื่อให้เห็นกระบวนธรรมที่ต่อเนื่องมาแต่ต้น ตั้งแต่รวมอยู่ในปัจจยาการของชีวิต จนขยายแยกออกไปสู่ปัจจยาการของสังคม คือตลอดมาถึงการเกิดขึ้นของความชั่วร้ายทั้งหลายในสังคม ตามนัยแห่งมหานิทานสูตร
จึงจะนำมาเขียนให้ดู โดยแยกให้เห็นชัดเป็น ๒ ช่วง
คือ
ช่วงที่ ๑ ซึ่งยังอยู่ในปัจจยาการของชีวิต ตั้งแต่ อวิชชา ถึง ตัณหา และ

ช่วงที่ ๒ คือตอนที่แยกออกไปเป็นปัจจยาการแห่งทุกข์ของสังคม ตั้งแต่ตัณหา จนถึงปัญหาความชั่วร้าย ที่เรียกว่า อกุศลธรรมทั้งหลาย

ดังจะเขียนให้ดูง่ายขึ้น ดังนี้

๑) ปฏิจจสมุปบาท ช่วงกระบวนธรรมร่วม

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี


๒) ปฏิจสมุปบาท ช่วงปัจจยาการแห่งทุกข์ของสังคม

เวทนา ปฏิจฺจ ตณฺหา อาศัยเวทนา จึงมีตัณหา

ตณฺหํ ปฏิจฺจ ปริเยสนา อาศัยตัณหา จึงมีปริเยสนา

ปริเยสนํ ปฏิจฺจ ลาโภ อาศัยปริเยสนา จึงมีลาภะ

ลาภํ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย อาศัยลาภะ จึงมีวินิจฉัย

วินิจฺฉยํ ปฏิจฺจ ฉนฺทราโค อาศัยวินิจฉัย จึงมีฉันทราคะ

ฉนฺทราคํ ปฏิจฺจ อชฺโฌสานํ อาศัยฉันทราคะ จึงมีอัชโฌสาน

อชฺโฌสานํ ปฏิจฺจ ปริคฺคโห อาศัยอัชโฌสาน จึงมีปริคคหะ

ปริคฺคหํ ปฏิจฺจ มจฺฉริยํ อาศัยปริคคหะ จึงมีมัจฉริยะ

มจฺฉริยํ ปฏิจฺจ อารกฺโข อาศัยมัจฉริยะ จึงมีอารักขะ

อารกฺขํ ปฏิจฺจ อารกฺขาธิกรณํ อาศัยอารักขะ สืบเนื่องจากอารักขะ


ทณฺฑาทาน - สตฺถาฑาน - กลห - วิคฺคห - วิวาท - ตุวํตุวํ - เปสุญฺญ - มุสาวาทา

จึงมีการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท ขึ้นเสียงด่าว่า มึงมึง การส่อเสียด มุสาวาท

อเนเก ปาปกา อกุสลา ธมฺมา สมฺภวนฺติ

บาปอุกศลธรรม (ปัญหาความชั่วร้าย) ทั้งหลาย เป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพรั่งพร้อมด้วยอาการอย่างนี้


ปัจจยาการแห่งปัญหาความชั่วร้ายในสังคม หรือเรียกง่ายๆว่าปัจจยาการแห่งทุกข์ของสังคมนี้ เป็นเรื่องใหญ่ มีรายละเอียดมากมาย และกระบวนของเรื่องแตกต่างออกไปอีกแบบหนึ่ง จึงควรแยกออกไปพูดต่างหาก ในที่นี้ เพียงตั้งเค้าไว้ โดยจะบอกแหล่งคำสอนที่เกี่ยวข้องเพียงคร่าวๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตัณหาให้สังเกตทางสองแพร่ง คือ สายหนึ่งแยกไปอุปาทาน .... (= ทุกข์ของชีวิต) สายหนึ่งแยกไปปริเยสนา .... (= ทุกข์ของสังคม)


ต่อ

ก่อนผ่านความตอนนี้ จะเขียนรูปร่างของกระบวนธรรมตลอดทั้งหมด ตั้งแต่ต้น จนแยกเป็น ๒ สาย เป็นการสรุปไว้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยทบทวนหลัก และเชื่อมโยงความต่อไปได้ง่าย

แสดงกระบวนธรรมที่แยกเป็น ๒ สาย ให้ดูอย่างง่ายๆ ดังนี้


อวิชชา =>สังขาร => วิญญาณ => นามรูป =>สฬายตนะ=> ผัสสะ=> เวทนา=>

---- - อุปาทาน=> ภพ=>ชาติ=>ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ฯลฯ = ทุกข์ของชีวิต

ตัณหา>^

- - V
--- ปริเยสนา=> ลาภะ=>วินิจฉัย=>ฉันทราคะ=>อัชโฌสาน=>ปริคคหะ=>มิจฉริยะ=>อารักขะ=>การทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท ส่อเสียด มุสาวาท ฯลฯ = ทุกข์ของสังคม



ในกลหวิวาทสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงกระบวนธรรมคล้ายกันในที่นี้ แต่เป็นคำสนทนาถามตอบ และเป็นความร้อยกรอง จึงมีรายละเอียดแปลกกันไปบ้าง * (ขุ.ส.25/418/502)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกความหมายของศัพท์ยากๆข้างหน้า



ธาตุนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งธาตุ หรือธาตุต่างชนิด (ธาตุในที่นี้หมายถึงสภาวะ ๑๘ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖)

ผัสสนานัตต์ ความเป็นต่างๆ แห่งผัสสะ

เวทนานานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งเวทนา

สัญญานานัตต์ ความเป็นต่างๆ แห่งสัญญา

สังกัปปนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งสังกัปป์คือความดำริตริตรึก

ฉันทนานัตต์ ความเป็นต่างๆ แห่งฉันทะ

ปริฬาหนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งความรุนเร้า

ปริเยสนานานัตต์ การแสวงหาต่างชนิด

ลาภนานัตต์ การได้ผลต่างชนิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ในการศึกษากระบวนธรรมข้างต้นนั้น อาจนำกระบวนธรรมปลีกย่อยซึ่งตรัสไว้ในที่อื่นๆ มาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อช่วยให้เกิดความแจ่มชัดมากขึ้น เช่น กระบวนธรรมแห่งนานัตต์ (ความแตกต่างหลากหลาย)

ซึ่งเขียนให้ดูง่ายได้ ดังนี้

ธาตุนานัตต์ => ผัสสนานัตต์ => เวทนานานัตต์ => สัญญานานัตต์ => สังกัปปนานัตต์ => ฉันทนานัตต์ => ปริฬาหนานัตต์ => ปริเยสนานานัตต์ => ลาภนานัตต์ * (ที.ปา.11/461/332 ฯลฯ)

ช่วงต้น ตั้งแต่ธาตุถึงสัญญา พูดรวบทีเดียวก็ได้ว่า เพราะธาตุต่างๆหลากหลาย จึงทำให้เกิดสัญญาต่างๆ หลากหลายด้วย

บาลี อีกแห่งหนึ่ง จึงแสดงลำดับกระบวนธรรม ดังนี้

ธาตุนานัตต์ (ธาตุต่างชนิด) => สัญญานานัตต์ (สัญญาต่างชนิด) => สังกัปปนานัตต์ (สังกัปป์ต่างชนิด) => ผัสสนานัตต์ (ผัสสต่างชนิด) => เวทนานานัตต์ (เวทนาต่างชนิด) => ฉันทนานัตต์ (ฉันทะต่างชนิด) => ปริฬาหนานัตต์ (ความเร้ารุนต่างชนิด) => ปริเยสนานานัตต์ (การแสวงหาต่างชนิด) => ลาภนานัตต์ (การได้ผลต่างชนิด)



ปฏิจจสมุปบาทแนวนี้ แสดงกระบวนธรรมที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นไปภายในจิตใจของบุคคล กับ ความเป็นไปภายนอกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ชี้ให้เห็นที่มาแห่งปัญหา ความทุกข์ หรือความชั่วร้ายต่างๆในสังคม ที่เกิดจากกิเลสของคน เป็นกระบวนธรรมพื้นฐาน ให้เห็นความเป็นไปอย่างกว้างๆ


ส่วนคำอธิบายที่เน้นความเป็นไปภายนอก ในระดับสังคมเป็นพิเศษ หรือโดยเฉพาะจะไปปรากฏในพระสูตรอื่นๆ เช่น อัคคัญญสูตร (ที.ปา.11/51-72/87-107) จักกวัตติสูตร (ที.ปา.11/33-50/62-86) และวาเสฏฐสูตร (ม.ม.13/704-8/641-9 ฯลฯ) เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า พระสูตรเหล่านั้น เป็นตัวอย่างอธิบายกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทช่วงความเป็นไปในระดับสังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ยังมีได้มุ่งจะขยายความในเรื่องปัจจยาการทางสังคม จึงจะไม่ขยายความในเรื่องนี้ให้พิสดารออกไป แต่ขอกล่าวถึงข้อสังเกตที่ควรกำหนดในการศึกษาเรื่องนี้สัก ๒ อย่าง คือ

@ ขอทวนย้ำความหมายของความเป็นปัจจยาการไว้อีก เช่น อาศัยเวทนาจึงมีตัณหา หรือเพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา

ข้อความนี้ หมายความด้วยว่า ตัณหาจะมี ต้องอาศัยเวทนา หรือ ต้องมีเวทนา ตัณหาจึงจะมีได้ แต่เมื่อมีเวทนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีตัณหาเสมอไป

การเข้าใจความหมายนี้เป็นสิ่งสำคัญ และจุดนี้เป็นช่วงตอนสำคัญ ที่กล่าวถึงการเสวยเวทนาโดยไม่ให้เกิดตัณหา ซึ่งอาศัยสติ สัมปชัญญะ หรือสติปัญญา คือ เสวยเวทนาโดยมีสติ สัมปชัญญะ ตัดตอน ไม่ให้เกิดตัณหา

ขอให้สังเกตเป็นที่สำคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงแยกแสดงปัจจยาการของทุกข์ในสังคม โดยทรงเริ่มต้นที่เวทนา ดังที่ตรัสว่า "เวทนํ ปฏิจฺจ ตณฺหา" ช่วงเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหานี้ เป็นช่วงสำคัญยิ่งฝ่ายภายใน ในการส่งผลสืบเนื่องออกมาบันดาลพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ตลอดจนวิวัฒนาการของสังคมทั้งหมด


@ พระสูตรต่างๆ ที่ได้ออกชื่อมาแล้วนั้น แสดงความเป็นไปต่างๆ ในสังคมของมนุษย์ เช่น เรื่องชั้น วรรณะ และความแตกต่างหรือเป็นต่างๆ ของมนุษย์ เป็นต้น ว่าเป็นผลแห่งความสัมพันธ์หรือการกระทำต่อกันของมนุษย์ ภายในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง

พูดอีกนัยหนึ่งว่า เป็นผลแห่งวิวัฒนาการที่เกิดจากความเป็นปัจจัยอาศัยกัน และกันระหว่างมนุษย์ (ตั้งแต่องค์ประกอบภายในจิตใจออกมา) สังคม และธรรมชาติแวดล้อมทั้งหมด
เช่น
เวทนาที่มนุษย์ได้รับ ต้องอาศัยผัสสะ ซึ่งมีองค์ประกอบทางสังคมหรือธรรมชาติแวดล้อมเป็นส่วนร่วม กับองค์ประกอบภายใน เช่น สัญญาที่มีอยู่
เมื่อได้เวทนาแล้วเกิดตัณหาขึ้น ก็มีพฤติกรรม อาจจะแสดงออกโดยกระทำต่อมนุษย์อื่น หรือต่อสภาพแวดล้อม ภายในขอบเขตจำกัดของสภาวะทางสังคม และธรรมชาติแวดล้อมนั้น แล้วผลเกิดขึ้น กระทบต่อองค์ประกอบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

มนุษย์ไม่ใช่เป็นผู้กำหนดสังคม และสภาพแวดล้อมฝ่ายเดียว
สังคมก็ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดมนุษย์ข้างเดียว และ
ธรรมชาติแวดล้อมก็ไม่ใช่ตัวกำหนดมนุษย์หรือสังคมฝ่ายเดียว แต่เป็นกระบวนธรรมแห่งการอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นปัจจัยแก่กัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความบางตอนในอัคคัญญสูตร ที่แสดงแนวความคิดวิวัฒนาการตามหลักปัจจยาการ
เช่น
- คนเกียจคร้านนำข้าวมาเก็บสั่งสม และเกิดความนิยมทำตามกัน

=> เกิดการปักปันกั้นเขตแบ่งส่วนข้าว

=> คนโลภลักส่วนของคนอื่นมาเพิ่มแก่ตน (เกิดอทินนาทาน)

=> เกิดการตำหนิ ติเตียน การกล่าวเท็จ การทำร้ายลงโทษ การต่อสู้

=> > ผู้มีปัญญาเห็นความจำเป็นต้องมีการปกครอง เกิดการเลือกตั้ง เกิดมีคำว่า "กษัตริย์"

> มีคนเบื่อหน่ายความชั่วร้ายในสังคม คิดลอยล้างบาป ไปอยู่ป่าบำเพ็ญฌาน บางพวกอยู่ใกล้ชุมชน เล่าเรียนเขียนตำรา เกิดมีคำว่า "พราหมณ์" เป็นต้น

> คนมีครอบครัว ประกอบการอาชีพประเภทต่างๆ เกิดมีคำว่า "แพศย์"

> คนนอกจากนี้ ซึ่งประพฤติเหลวไหลทำการต่ำทราม ถูกเรียกว่า "ศูทร"

=> คนทั้งสี่พวกนั้น บางส่วนละเลิกขนบธรรมเนียมของตน สละเหย้าเรือนออกบวช เกิดมี "สมณะ"


จุดหมายของการตรัสพระสูตรนี้ มุ่งให้เห็นว่า การเกิดมีชนชั้นวรรณะต่างๆ เป็นเรื่องของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย โดยกฎธรรมดาแห่งความสัมพันธ์ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าสร้างสรรค์กำหนด ทุกคนสามารถประพฤติดี ประพฤติชั่ว และได้รับผลตามกฎธรรมดาเสมอกัน เมื่อประพฤติถูกต้อง ก็ปรินิพพานได้เหมือนกันทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 พ.ย. 2017, 18:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2017, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักกวัตติสูตร แสดงการเกิดขึ้นแห่งอาชญากรรม และความชั่วร้ายเดือดร้อนต่างๆในสังคม ตามแนวปัจจยาการ ดังนี้

- (รัฐบาล) ผู้ปกครอง ไม่จัดสรรปันทรัพย์ให้แก่เหล่าชนผู้ไร้ทรัพย์

=> ความยากจนระบาด

=> อทินนาทานแพร่ระบาด

=> การใช้ศัสตราอาวุธแพร่ระบาด

=> ปาณาติบาต (การฆ่าฟันกันในหมู่มนุษย์) แพร่ระบาด

=> มุสาวาทระบาด + การส่อเสียด + กาเมสุมิจฉาจาร + ผรุสวาท และสัมผัปปลาป + อภิชฌา และพยาบาท + มิจฉาทิฐิ + อธรรมราคะ ความละโมบ มิจฉาธรรม + ความไม่นับถือพ่อแม่สมณพราหมณ์ และการไม่เคารพนับถือกันตามฐานะแพร่ระบาด

=> อายุวรรณะเสื่อม

เรื่องปัจจยาการแห่งทุกข์ของสังคม กล่าวไว้เป็นเค้า พอให้เห็นแนวคิดของพระพุทธศาสนาเพียงเท่านี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2017, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักกวัตติสูตร ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันปิฎก

พระพุทธเจ้าตรัสสอน ภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้น ไม่เปิดช่องให้แก่มาร
เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง,

จักรพรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า

๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธ์ทั้งหลาย

๒. มิให้มีการอันอธรรม เกิดขึ้นในแผ่นดิน

๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์

๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติกะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบอยู่เสมอ



จักรพรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑ เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับ จัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง

นอกนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรพรรดิวัตร ๑๒

พระสูตรนี้ ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ กับ จริยธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร