วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 15:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 06:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ


คิดสุดโต่ง

ชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติสองส่วนคือ ร่างกาย ๑ จิตใจ ๑ จึงเป็นชีวิตได้

ทั้งร่างกายและจิตใจมีโรคด้วยกันทั้งนั้น ร่างกายมีสารพัดโรคอย่างเห็นๆประจักษ์กับตนเอง โรคทางกายก็รักษากันไป ทนไม่ได้ก็ตายแตกสลายไปเผากันไป

จิตใจก็มีโรค เช่น โรคจิต เป็นต้น เป็นมากรุนแรง ก็เพี้ยนบ้าบอคอแตกกันไป ญาติๆ พาเข้า รพ. ศรีธัญญา รพ.หลังคาแดงเอย อิอิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ


ปรับความเห็นใหม่ครับ

จากที่เคยเห็นว่าเป็นร่างกายเรา ก็ปรับความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นประชุมกันของธาตุ เพราะเหตุปัจจัยก็จะเปลี่ยนความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นวิปัสสนาญาณ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ



เริ่มต้น ตัวมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เสียแล้ว มันก็ผิดทั้งกระบวน เป็นต้นว่า ดำริตริตรึกผิด (มิจฉาสังกัปปะ) จนจบกระบวนความคิดคือมิจฉาสมาธิ สรุปเสียเวลาเปล่า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ


ภิกษุทั้งหลาย โรคมี ๒ อย่าง คือ โรคทางกาย และโรคทางจิต

“สัตว์ที่ยืนยันได้ว่าตนปราศจากโรคทางจิต แม้เพียงครู่หนึ่งนั้น หาได้ยาก ยกเว้นแต่พระขีณาสพ” (องฺ.จตุกฺก.21/156/192)

“ท่านพึงศึกษาฝึกสอนตน ดังนี้ว่า ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วยออดแอด แต่จิตของเราจักไม่ป่วยออดแอดไปด้วย” (พุทธพจน์ตรัสสอนคหบดีผู้เฒ่าคนหนึ่ง-สํ.ข.17//2/3)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อันตรายมี ๒ อย่าง คือ อันตรายที่เปิดเผย และอันตรายที่ซ่อนอยู่"

"อันตรายที่เปิดเผย เป็นไฉน? ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสื่อดาว หมาป่า ฯลฯ โจร ฯลฯ โรคตา โรคหู โรคจมูก ฯลฯ หนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เสือกคลาน เหล่านี้ เรียกว่าอันตรายเปิดเผย"

"อันตรายที่ซ่อนอยู่ เป็นไฉน? ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ (ลบล้าง ปิดซ่อนความดีของผู้อื่น) ความยกตัวกดเขาไว้ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความดื้อกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความประมาท ปวงกิเลส ปวงความทุจริต ปวงความกระวนกระวาย ปวงความร่านรน ปวงความเดือดร้อน ปวงความปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ซ่อนอยู่

ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่ากระไร จึงชื่อว่าอันตราย ? เพราะอรรถว่าครอบงำ... เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม...เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย...”

ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าครอบงำ เป็นอย่างไร ? คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมข่ม ย่อมกดขี่ ครอบงำ ท่วมทับ บันรอน ย่ำยี บุคคลนั้น...”

ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร ? คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ”

ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัย เป็นอย่างไร ? คือ อกุศลธรรมชั่วร้ายเหล่านั้น เกิดขึ้นที่ภายในนั้น อาศัยอัตภาพอยู่ เหมือนกับสัตว์อาศัยรู ก็อยู่ในรู สัตว์อาศัยน้ำ ก็อยู่ในน้ำ สัตว์อาศัยป่า ก็อยู่ในป่า สัตว์อาศัยต้นไม้ ก็อยู่ที่ต้นไม้ ฯลฯ ”

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2017, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบเชื่อหรือยังว่า การถกเถียงกันด้วยเหตุผลจากหลักฐานกับผู้ซึ่งเห็นต่างกันกับเราจะเกิดปัญญาเกิดความคิดใหม่วาบขึ้นในใจ เพราะเราได้แง่คิดซึ่งเราไม่เคยคิดคิดไม่ถึงมาก่อน ดีกว่าสนทนากับคนคอเดียวกัน ซึ่งอะไรก็เออๆหนอๆกันไป

คือประเด็นไหนที่เรายังไม่รู้ เราก็ไปค้นคว้าจากแหล่งที่มีที่อ้างอิงถูกต้อง ค้นไปค้นมา ค้นมาค้นไป ปัญญาก็เพิ่มพูนขึ้น ปัญญาก็เกิดจากสัญญานี่แหละ ไม่ใช่ไม่เอาสัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ



กบหายไปไหน :b7:

ปัญญา เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆ ตามขั้นของความเจริญ บ้าง ตามทางเกิดของปัญญานั้น บ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้น บ้าง จะขอยกชื่อของปัญญามาให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น ญาณ วิชชา วิปัสสนา สัมปชัญญะ ปริญญา อัญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น

ญาณ ความรู้ ความหยั่งรู้ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือ เป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่องๆ เช่น กัมมัสสกตาญาณ ความหยั่งรู้ภาวะที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน อตีตังสญาณ ปรีชาหยั่งรู้ส่วนอดีต สัจจานุโลมิกญาณ ความหยั่งรู้สอดคล้องกับสัจจะ ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้การณ์ที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย แนวโน้มความเชื่อความสนใจของสัตว์ทั้งหลายที่ต่างๆกัน เป็นต้น กล่าวได้ว่า ญาณ คือ ความรู้บริสุทธิ์ที่ผุดโพลงสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นตามสภาวะของสิ่งนั้นๆหรือเรื่องนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมด ที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์
คือ

๑. รูป (Corporeality) ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา (Perception) ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ (object) นั้นๆ ได้

๔. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

ก็ที่เขาบัญญัติเรียกกันว่า "คน" บ้าง ว่า "มนุษย์" บ้าง เป็นต้นนี่เอง "ธรรม" หรือกบจะเถียง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เด็กคนหนึ่งซึ่งกำหนดจดจำเข้าใจหน้าที่ของอวัยวะมนุษย์ กล่าวคือด้านรูปธรรม อนาคตคงเป็นแพทย์

https://www.youtube.com/watch?v=DGFQY0Y ... &index=121

นั่นรู้ด้านรูป (รูปธรรม) แต่ชีวิตมีด้านนาม (นามธรรม) ด้วย นี่ตัวอย่าง นศ.แพทย์คนหนึ่งปฏิบัติกรรมฐาน,ปฏิบัติธรรม ฯลฯ แล้วติดขัด ไม่เข้าใจด้านนามธรรมหรือชีวิตโดยรวม


ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจนเวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ
พอดี ผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่า

ทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ

หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สงสัย...อโศกะคงไม่สบาย....หายไปเฉยๆเลย

เมื่อมีความเกิดมีร่างกายนี้...

ร่างกายนี้..มีความแก่เป็นธรรมดา..ไม่อาจพ้นจากความแก่ไปได้
ร่างกายนี้..มีความป่วยไข้เป็นธรรมดา...ไม่อาจรอดพ้นจากความป่วยไปได้

สุดท้าย...ก็ต้องสลายตัวไป...ไม่อาจรอดพ้นจากความแตกสลายได้...

ทำอย่างไร...ที่จะทำให้ความข้อนี้...จากระดับความคิด..สู่ระดับความเป็นญาณ


แก่....ตาย
แก่ แล้วต้องป่วย ก่อนตายไหม
ไม่ป่วย แล้วตายได้ไหม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาพรวมธรรมะ ที่นำไปพูดไปว่ากัน นั่นๆนี่ๆโน่นๆ ออกไปจากนี่ทั้งนั้น หรือไม่จริงก็ว่ามา กบนอกกะลา เช่นนั้น เถียงกันให้จบ จบก่อนแก่ เจ็บ ตาย เผา เช่นนั้นอย่าถามนะว่าเด็กตายได้ไหม คิกๆๆ

ส่วนประกอบ ๕ อย่างของชีวิต

ตัวสภาวะ

พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นธาตุ เป็นธรรม เป็นสภาวะ* (นิยมเรียกยาวเป็น "สภาวธรรม" ตามคำบาลีว่า "สภาวธมฺม" ซึ่งมาจาก ส+ภาว+ธมฺม แปลตรงตัวว่า สิ่งที่มีภาวะของมันเอง) อันมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมันที่เป็นของมันอย่างนั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน มิใช่มีเป็นสัตว์ บุคคล อัตตา ตัวตน เราเขา ที่จะยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ครอบครอง บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาอย่างไรๆ ได้


บรรดาสิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจกันอยู่โดยทั่วไปนั้น มีอยู่เป็นอยู่เป็นไปในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกัน ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่

ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ "รถ" เมื่อนำส่วนประกอบต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า "รถ" * (สํ.ส. 15/554/198)
แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกัน จำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว

คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้น มีแต่เพียงคำบัญญัติว่า "รถ"

สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันเข้าของส่วนประกอบเหล่านั้น แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน

เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในฐานะมีส่วนประกอบต่างๆ มาประชุมเข้าด้วยกัน

เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้

พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะด้านจิตใจ

การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และมักแยกเป็นพิเศษในด้านจิตใจ

การแสดงส่วนประกอบต่างๆนั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ * แต่ในที่นี้ แสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร

โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ (The Five Aggregaes) พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" “บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ * นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม


๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

........
ตรงอ้างอิง *
* แบ่งอย่างกว้างๆ ว่า นามและรูป หรือนามธรรมกับรูปธรรม แต่ตามแนวอภิธรรมนิยมแบ่งเป็น ๓ คือ จิต เจตสิก และรูป

ถ้าเทียบกับขันธ์ ๕ ดังแสดงแล้ว จิต = วิญญาณขันธ์
เจตสิก = เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
รูป = รูปขันธ์

* คำว่า "อารมณ์" หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรับรู้ โดยอาศัยทวารทั้ง ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ (ความนึกคิดต่างๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำไปพูดถกเถียงกันบ่อยๆ


บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การตั้งชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

สมมติ,สมมุติ รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน,
การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น ในภาษาไทย ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า


สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้าม กับ ปรมัตถสัจจะ

ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


องค-, องค์ (องคะ, อง) น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้ พระองค์) ส่วน, ภาค, ลักษณะ,

ในราชาศัพท์ ใช้เป็นลักษณะนาม เรียกอวัยวะ หรือสิ่งของบางอย่างของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) ฯลฯ
เป็นลักษณะนาม ใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น และสิ่งที่เคารพบูชาในทางศาสนาบางอย่าง เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๑ องค์ (ป. ส. องฺค) ฯลฯ

องคาพยพ (- คาบพะยบ) น. ส่วนน้อยและใหญ่แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่ (ป.องฺค+อวยว)

(พจนานุกรมฉบับราช ฯ พ.ศ.๒๕๒๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่ออ่านบทความข้างบน พอๆคิดเห็นหลักพุทธธรรมว่าไม่ใช่อยู่ไกลเลย คือ ชีวิตจิตใจเรา (แต่ละคนๆ) นี่เอง ก็พอเห็นเหตุผลว่าทำไม พระพุทธเจ้าจึงชี้แนะให้คนเราปฏิบัติกรรมฐาน (สมถภาวนา, วิปัสสนาภาวนา) เช่น เดินจงกรม เป็นต้น เพื่ออะไร ? เพื่อให้รู้จักเข้าใจชีวิตจิตใจตัวเอง


รูปภาพ

จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ (สติกับกับการก้าวเดินๆไปนั่นๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2017, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้ มักมาคู่กับสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร