วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2017, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความดับเทียม

๑. ดับด้วยปีติ ปีติเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๒. ดับด้วยปัสสัทธิ ความสงบเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๓. ดับด้วยสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก้าวเข้าสู่ความดับ

๔. ดับด้วยถีนมิทธะ ถีนมิทธะเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๕. ดับด้วยอุเปกขา อุเปกขาเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ




ขอนำสภาวะที่พบเจอด้วยตนเอง มายกเป็นตย.ในความดับ เช่น

ขณะทำกรรมฐาน อยู่ในอิริยาบทนั่ง
ปวดก้นกบ ปวดมากทนไม่ไหว กำหนดปวดหนอๆๆๆ รู้หนอๆๆๆ ก็ไม่หาย
คิดอย่างเดียวว่า ตายเป็นตาย ความรู้สึก เหมือนร่างถูกจับฉีกออกเป็นชิ้นๆ
กายแตก กายระเบิด ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นดับหายไปหมด
มีแต่โอภาส ที่สว่างไม่มีประมาณ

หลังจากนั้น ความรู้สึกใดๆไม่มี มีแต่ความสงบใจ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นสักแต่ว่าเกิดขึ้น

คือ เวลากระทบ/ผัสสะเกิด ยังมองเห็นเป็นหญิง ชาย
เพียงแต่ สักแต่ว่า หญิง ชาย ที่มีเกิดขึ้น

เวลาพูด เหมือนเป็นอัตโนมัติ
จิตพูด ตัวเองไม่ได้พูด

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ
สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ






ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
จะคล้ายสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ที่วลัยพรตั้งฉายาเองว่า สภาวะหุ่นยนต์

เพียงแต่จิตที่ทรงอารมณ์เนวสัญญาฯ
จะมีความเด่นชัดมากในสภาวะสักแต่ว่า
คือ กระทบ ดับ กระทบ ดับ
(ผัสสะ ดับ ผัสสะ ดับ)

ไม่มีคำว่า หญิง ชาย หรือสมมุติต่างๆ

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

เพราะเวลาจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ
จะไม่สามารถบังคับร่างกาย ให้เคลื่อนไหวได้
กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่ตัวตนของตัวเองที่เคยเคลื่อนไหวได้ตามใจคิด

ได้แต่อยู่นิ่งๆ รอจนกว่ากำลังสมาธิที่เกิดขึ้นคลายตัว
จึงจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ








ความดับแท้จริง

๖. ดับโดยมรรค

ก. อนุโลมญาณ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)

ข. โคตรภูญาณ

ค. มรรคญาณ วิโมกข์ ๓
อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑


เกิดขึ้นเรียงตามลำดับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ก.ย. 2017, 07:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2017, 03:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
เพราะเหตุแห่งปราโมทย์ ย่อมมีปิติ
เพราะเหตุแห่งปิติ ย่อมมีความสงบระงับ
เพราะเหตุแห่งความสงบระงับ ย่อมมีสมาธิ
เพราะเหตุแห่งสมาธิ ย่อมมีการปรากฏชัดแห่งธรรม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2017, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แก่นของสมถะ

สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์
แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด

๑. ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน อรูปฌาน ฌาณสมาบัติ นิโรธสมาบัติ



๒. เกิดจากการกำหนดรู้ "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ









แก่นของวิปัสสนา

มรรคญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ก.ย. 2017, 07:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2017, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลที่ปฏิเสธสมถะ จะเอาแต่วิปัสสนา
เพราะไม่รู้ชัดถึงแก่นของ สมถะ





บุคคลที่ปฏิเสธวิปัสสนาญาณ ๑๖
เพราะไม่รู้ชัดถึงแก่นของ ญาณ ๑๖

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2017, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความดับที่แท้จริง. ต้องไม่กลับกำเริบ

เป็นการทรงตัวดับกิริยาการปรุงของจิต. อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องเข้าไม่ต้องออก

สัญญา. เวทนา. เจตนา. ผัสสะ. มนสิการ. ดับให้ปรากฏ แม้ลืมตาอยู่
นั่งอยู่. นอนอยู่. หรือยืนอยู่.

คลองแห่งถ้อยคำถูกเพิกถอน. สมมุติบัญญัติ. จึงดับไป


จิตทรงตัวอยู่เช่นนี้. สลับกับการเกิดขึ้นของกิริยาขันธ์และสัญญาเวทยิตนิโรธ

เป็นการทรงอยู่ของความดับ. และขันธ์5 ที่เกิดดับเพียงแค่กิริยาเพื่อ
รอการดับสนิทไปโดยไม่มีส่วนเหลือเมื่อสิ้นลม

:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2017, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ความดับเทียม

๑. ดับด้วยปีติ ปีติเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๒. ดับด้วยปัสสัทธิ ความสงบเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๓. ดับด้วยสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก้าวเข้าสู่ความดับ

๔. ดับด้วยถีนมิทธะ ถีนมิทธะเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๕. ดับด้วยอุเปกขา อุเปกขาเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ




ขอนำสภาวะที่พบเจอด้วยตนเอง มายกเป็นตย.ในความดับ เช่น

ขณะทำกรรมฐาน อยู่ในอิริยาบทนั่ง
ปวดก้นกบ ปวดมากทนไม่ไหว กำหนดปวดหนอๆๆๆ รู้หนอๆๆๆ ก็ไม่หาย
คิดอย่างเดียวว่า ตายเป็นตาย ความรู้สึก เหมือนร่างถูกจับฉีกออกเป็นชิ้นๆ
กายแตก กายระเบิด ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นดับหายไปหมด
มีแต่โอภาส ที่สว่างไม่มีประมาณ

หลังจากนั้น ความรู้สึกใดๆไม่มี มีแต่ความสงบใจ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นสักแต่ว่าเกิดขึ้น

คือ เวลากระทบ/ผัสสะเกิด ยังมองเห็นเป็นหญิง ชาย
เพียงแต่ สักแต่ว่า หญิง ชาย ที่มีเกิดขึ้น

เวลาพูด เหมือนเป็นอัตโนมัติ
จิตพูด ตัวเองไม่ได้พูด

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ
สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ






ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
จะคล้ายสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ที่วลัยพรตั้งฉายาเองว่า สภาวะหุ่นยนต์

เพียงแต่จิตที่ทรงอารมณ์เนวสัญญาฯ
จะมีความเด่นชัดมากในสภาวะสักแต่ว่า
คือ กระทบ ดับ กระทบ ดับ
(ผัสสะ ดับ ผัสสะ ดับ)

ไม่มีคำว่า หญิง ชาย หรือสมมุติต่างๆ

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

เพราะเวลาจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ
จะไม่สามารถบังคับร่างกาย ให้เคลื่อนไหวได้
กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่ตัวตนของตัวเองที่เคยเคลื่อนไหวได้ตามใจคิด

ได้แต่อยู่นิ่งๆ รอจนกว่ากำลังสมาธิที่เกิดขึ้นคลายตัว
จึงจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ








ความดับแท้จริง

๖. ดับโดยมรรค

ก. อนุโลมญาณ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)

ข. โคตรภูญาณ

ค. มรรคญาณ วิโมกข์ ๓
อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑




เกิดขึ้นเรียงตามลำดับ










walaiporn เขียน:
แก่นของสมถะ

สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์
แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด

๑. ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิใน
รูปฌาน อรูปฌาน ฌาณสมาบัติ นิโรธสมาบัติ



๒. เกิดจากการกำหนดรู้ "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ









แก่นของวิปัสสนา

มรรคญาณ














แก่นของญาณ ๑๖

อนุโลมญาณ
โคตรภูญาณ
มรรคญาณ
ผลญาณ
ปัจจเวกขณญาณ




ญาณ ๑๖ เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สมถะ) ที่เป็นสัมมาสมาธิ

กำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัยให้รู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม ได้อย่างต่อเนื่อง

กล่าวโดยย่อ สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่



เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนา คู่กันไป
กล่าวคือ มีรูปนามเป็นอารมณ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ก.ย. 2017, 07:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2017, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ องค์ธรรมที่สำคัญ คือ เอกัตคตา
วิปัสสนา องค์ธรรมที่สำคัญ คือ ปัญญา

สมถะ มี รูปเป็นอารมณ์ก็มี มีนามเป็นอารมณ์ก็มี มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็มี
วิปัสสนา มีรูปเป็นอารมณ์ก็มี มีนามเป็นอารมณ์ก็มี มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็มี แต่ไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์

หากความดับเกิดขึ้นที่ผัสสะ จะมีแต่สภาวะของความดับแห่งรูป ของความดับแห่งนาม อารมณ์ที่จิตรู้จะไม่ไหลเลื่อนลงไปที่ใจอีกขณะหนึ่งจนเป็นบัญญัติไป หรือไหลลงไปเป็นความรู้สึกอีกชั้นหนึ่ง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2017, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ความดับเทียม

๑. ดับด้วยปีติ ปีติเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๒. ดับด้วยปัสสัทธิ ความสงบเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๓. ดับด้วยสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก้าวเข้าสู่ความดับ

๔. ดับด้วยถีนมิทธะ ถีนมิทธะเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๕. ดับด้วยอุเปกขา อุเปกขาเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ




ขอนำสภาวะที่พบเจอด้วยตนเอง มายกเป็นตย.ในความดับ เช่น

ขณะทำกรรมฐาน อยู่ในอิริยาบทนั่ง
ปวดก้นกบ ปวดมากทนไม่ไหว กำหนดปวดหนอๆๆๆ รู้หนอๆๆๆ ก็ไม่หาย
คิดอย่างเดียวว่า ตายเป็นตาย ความรู้สึก เหมือนร่างถูกจับฉีกออกเป็นชิ้นๆ
กายแตก กายระเบิด ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นดับหายไปหมด
มีแต่โอภาส ที่สว่างไม่มีประมาณ

หลังจากนั้น ความรู้สึกใดๆไม่มี มีแต่ความสงบใจ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นสักแต่ว่าเกิดขึ้น

คือ เวลากระทบ/ผัสสะเกิด ยังมองเห็นเป็นหญิง ชาย
เพียงแต่ สักแต่ว่า หญิง ชาย ที่มีเกิดขึ้น

เวลาพูด เหมือนเป็นอัตโนมัติ
จิตพูด ตัวเองไม่ได้พูด

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ
สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ






ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
จะคล้ายสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ที่วลัยพรตั้งฉายาเองว่า สภาวะหุ่นยนต์

เพียงแต่จิตที่ทรงอารมณ์เนวสัญญาฯ
จะมีความเด่นชัดมากในสภาวะสักแต่ว่า
คือ กระทบ ดับ กระทบ ดับ
(ผัสสะ ดับ ผัสสะ ดับ)

ไม่มีคำว่า หญิง ชาย หรือสมมุติต่างๆ

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

เพราะเวลาจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ
จะไม่สามารถบังคับร่างกาย ให้เคลื่อนไหวได้
กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่ตัวตนของตัวเองที่เคยเคลื่อนไหวได้ตามใจคิด

ได้แต่อยู่นิ่งๆ รอจนกว่ากำลังสมาธิที่เกิดขึ้นคลายตัว
จึงจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ








ความดับแท้จริง

๖. ดับโดยมรรค

ก. อนุโลมญาณ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)

ข. โคตรภูญาณ

ค. มรรคญาณ วิโมกข์ ๓
อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑


เกิดขึ้นเรียงตามลำดับ











สภาวะที่ชี้ชัดลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของ
ความดับแท้จริง กับ ความดับเทียม



ได้แก่ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2017, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ความดับเทียม

๑. ดับด้วยปีติ ปีติเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๒. ดับด้วยปัสสัทธิ ความสงบเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๓. ดับด้วยสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ก้าวเข้าสู่ความดับ

๔. ดับด้วยถีนมิทธะ ถีนมิทธะเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ

๕. ดับด้วยอุเปกขา อุเปกขาเกิด ก้าวเข้าสู่ความดับ




ขอนำสภาวะที่พบเจอด้วยตนเอง มายกเป็นตย.ในความดับ เช่น

ขณะทำกรรมฐาน อยู่ในอิริยาบทนั่ง
ปวดก้นกบ ปวดมากทนไม่ไหว กำหนดปวดหนอๆๆๆ รู้หนอๆๆๆ ก็ไม่หาย
คิดอย่างเดียวว่า ตายเป็นตาย ความรู้สึก เหมือนร่างถูกจับฉีกออกเป็นชิ้นๆ
กายแตก กายระเบิด ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นดับหายไปหมด
มีแต่โอภาส ที่สว่างไม่มีประมาณ

หลังจากนั้น ความรู้สึกใดๆไม่มี มีแต่ความสงบใจ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นสักแต่ว่าเกิดขึ้น

คือ เวลากระทบ/ผัสสะเกิด ยังมองเห็นเป็นหญิง ชาย
เพียงแต่ สักแต่ว่า หญิง ชาย ที่มีเกิดขึ้น

เวลาพูด เหมือนเป็นอัตโนมัติ
จิตพูด ตัวเองไม่ได้พูด

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ
สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ






ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
จะคล้ายสภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ที่วลัยพรตั้งฉายาเองว่า สภาวะหุ่นยนต์

เพียงแต่จิตที่ทรงอารมณ์เนวสัญญาฯ
จะมีความเด่นชัดมากในสภาวะสักแต่ว่า
คือ กระทบ ดับ กระทบ ดับ
(ผัสสะ ดับ ผัสสะ ดับ)

ไม่มีคำว่า หญิง ชาย หรือสมมุติต่างๆ

จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน
สภาวะนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

เพราะเวลาจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนวสัญญาฯ
จะไม่สามารถบังคับร่างกาย ให้เคลื่อนไหวได้
กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่ตัวตนของตัวเองที่เคยเคลื่อนไหวได้ตามใจคิด

ได้แต่อยู่นิ่งๆ รอจนกว่ากำลังสมาธิที่เกิดขึ้นคลายตัว
จึงจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ








ความดับแท้จริง

๖. ดับโดยมรรค

ก. อนุโลมญาณ สภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)

ข. โคตรภูญาณ

ค. มรรคญาณ วิโมกข์ ๓
อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ สุญญตวิโมกข์ ๑


เกิดขึ้นเรียงตามลำดับ












อนุโลมญาณ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
จุลปัณณาสก์
อันตวรรคที่ ๑


๑. อันตสูตร ว่าด้วยส่วนคือสักกายะ ๔


[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างเหล่านี้ ส่วน ๔ อย่างเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายะ ๑
ส่วนคือสักกายสมุทัย ๑
ส่วนคือสักกายนิโรธ ๑
ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ๑.





[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายะเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕


อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
อุปาทานขันธ์ คือ รูป ๑
อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑
อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑
อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายะ



[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายสมุทัยเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายสมุทัย



[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายนิโรธนั้นคือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธ



[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
สัมมาทิฏฐิ ๑
สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑
สัมมากัมมันตะ ๑
สัมมาอาชีวะ ๑
สัมมาวายามะ ๑
สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๑.







หมายเหตุ;

ความดับที่แท้จริง
เป็นเรื่องของ การเกิดและการดับเหตุปัจจัยของการเกิด
ไม่ใช่เรื่องของ การบรรลุธรรม ที่นิยมพูดกันในปัจจุบัน




สภาพธรรมใดที่มีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดการน้อมใจเชื่อว่ามี เชื่อว่าเป็นในสมมุติ
เช่น โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

ล้วนเป็นกับดักหลุมพรางของกิเลส
ที่มีเกิดขึ้นในใจ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2017, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ



เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนา คือ ยอดสังขารุเปกขาญาณกับอนุโลมญาณรวมกัน
ดำเนินไปจนหมดความรู้สึกครั้งสุดท้าย ก็คือถึงสุดยอดของอนุโลมญาณแล้ว

เพราะในการปฏิบัติคือ การกำหนดสังขารอารมณ์นั้น
ความรู้สึกจะมีอยู่ได้เพียงอนุโลมญาณนี้เท่านั้น
ต่อจากนั้นก็เข้าเขตของโคตรภูญาณ



นำมาเฉพาะเนื้อหาที่ควรรู้
จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา(หลวงพ่อภัททันตระ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 23 ก.ย. 2017, 16:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2017, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคญาณ ที่๑๔

เมื่อวุกฐาคามินีวิปัสสนาดำเนินไปตามวิถี เพราะอินทรีย์เสมอกัน
(สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์) บริบูรณ์เสมอกันไม่ขัดข้อง
จนหมดความรู้สึกครั้งสุดท้ายที่อนุโลมญาณ

ครั้นผ่านอนุโลมญาณ ก็เข้าเขตโคตรภูญาณ เข้าถึงมัคคญาณ
ในทางปฏิบัตินั้น พึงทราบว่า เริ่มก้าวเข้าสู่ความดับตั้งแต่ย่างเข้าเขตโคตรภูญาณแล้ว
แม้มาถึงมัคคญาณนี้ ก็ยังอยู่ในความดับ

และอาการที่เข้าสู่ความดับนั้น ก็ไม่เหมือนกัน
มีลักษณาการต่างกันต่อไปนี้





๑. ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่
รูป,นาม สังขาร มีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่ง เป็นธรรมดา
แล้วค่อยเร็วๆเข้าจนถี่ยิบ และในที่สุดก็ดับไปเลย

ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์
คือ ดับทางอนิจจัง

ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความไม่เที่ยง
มรรคนั้นชื่อ อนิมิตตวิโมกข์









๒. ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่กำลังดำเนินไปอยู่
เกิดทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจนเหลือจะทน ในที่สุดก็ดับไป
ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์
คือ ดับทางทุกขัง



ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความเป็นทุกข์
มรรคนั้นชื่อ อัปปณิหิตวิโมกข์









๓. ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่กำลังดำเนินไปอยู่
รูป,นาม มีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่ง แล้วค่อยๆน้อยลง
เหมือนเส้นด้ายที่เล็กที่สุด แล้วขาด ดับหายไป
ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า สุญญตวิโมกข์
คือ ดับทางอนัตตา

ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความเป็นอนัตตา
มรรคนั้นชื่อ สุญญตวิโมกข์













ถ้ามีคำถามว่า เหตุไฉนโยคีบุคคล จึงเข้าสู่ความดับไม่เหมือนกัน

คำวิสัชนา จึงพึงมีว่า เพราะการสร้างสมบารมีมาแตกต่างกัน ผู้ใดสร้างทางใด ก็ดับทางนั้น




คือ ผู้ที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า
มีศรัทธาเป็นปุุพพาธิการอันสูง คือได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อน
เป็นกำลังส่งให้ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น
ผู้นั้นย่อมจะเห็นแจ้งชัดแต่อนิจจลักษณะมากที่สุด


ทั้งนี้ พึงเข้าใจว่า พระไตรลักษณ์อื่นๆ ก็เห็นเช่นเดียวกัน
แต่ไม่แจ่มแจ้งชัดเท่าอนิจจลักษณะนี้
เพราะอนิจจลักษณะมีกำลังแรงกล้า

ฉะนั้น เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนา คือตัววิปัสสนาที่จะเข้าสู่มรรคกำลังเป็นไปอยู่นั้น
ย่อมจะทำให้เห็นรูป,นาม แสดงความไม่เที่ยง แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากอนิจจัง










ผู้ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า
มีสมาธิเป็นปุพพาธิการอันตนสั่งสมมาแต่ชาติก่อน
เป็นกำลังส่งให้ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น
ผู้นั้นย่อมจะเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดในทุกขลักษณะมากที่สุด
ชัดเจนกว่าพระไตรลักษณ์อื่นๆ
เพราะทุกขลักษณะ มีกำลังแรงกล้า


ฉะนั้น เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น
ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง









สำหรับผู้ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า
มีปัญญาเป็นปุพพาธิการอันตนสั่งสมมาแต่ชาติก่อน
เป็นกำลังแรงส่งให้ในขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น
ผู้นั้นย่อมจะเห็นชัดเจนในอนัตตลักษณะมากที่สุด
ชัดเจนกว่าพระไตรลักษณ์ตัวอื่นๆ
เพราะอนัตตลักาณะมีกำลังมากกว่า


ฉะนั้น เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่
ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นอนัตตา ให้ปรากฏอย่างชัดเจน



เมื่อเห็นอนัตตตาให้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้ว
วุฏฐาคามินีวิปัสสนาก็จะเข้าสู่มรรคเลย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า สุญญตวิโมกข์
คือ หลุดพ้นทางอนัตตา หรือเข้าสู่มรรคทางอนัตตลักษณะ





นำมาเฉพาะเนื้อหาที่ควรรู้
จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา(หลวงพ่อภัททันตระ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

คุณวลัยพรเป็นคนที่ตั้งใจศึกษาและมีความเห็นและเจตนาในการศึกษาตรง มีพระธรรมเป็นทางเดิน ค่อนข้างจะหายากที่จะมีผู้มีศรัทธา และปฎิบัติได้ด้วยตนเองโดยไม่หวังพึ่งโชคชะตาหรือเอาเรื่องของเลิศยามต่างๆมาใช้ เป็นผู้มีความรู้ และนำความรู้มาแบ่งปันเสมอมา

เป็นผู้ที่ควรค่าแก่การเคารพ อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 04:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อนุโมทนาครับ

คุณวลัยพรเป็นคนที่ตั้งใจศึกษาและมีความเห็นและเจตนาในการศึกษาตรง มีพระธรรมเป็นทางเดิน ค่อนข้างจะหายากที่จะมีผู้มีศรัทธา และปฎิบัติได้ด้วยตนเองโดยไม่หวังพึ่งโชคชะตาหรือเอาเรื่องของเลิศยามต่างๆมาใช้ เป็นผู้มีความรู้ และนำความรู้มาแบ่งปันเสมอมา

เป็นผู้ที่ควรค่าแก่การเคารพ อนุโมทนาครับ


แน่ๆๆๆ มีการพยากรณ์เกิดขึ้นหละ ท่านผู้นี้มาเหนือกว่าใครอีก
แล้วจะบรรลุเมื่อไหร่ครับ!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ความดับที่แท้จริง


เป็นเรื่องของ การเกิดและการดับเหตุปัจจัยของการเกิด
ไม่ใช่เรื่องของ การบรรลุธรรม ที่นิยมพูดกันในปัจจุบัน




สภาพธรรมใดที่มีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดการน้อมใจเชื่อว่ามี เชื่อว่าเป็นในสมมุติ
เช่น โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

ล้วนเป็นกับดักหลุมพรางของกิเลส
ที่มีเกิดขึ้นในใจ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ก.ย. 2017, 10:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ก่อน




สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ
แก่หมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มาแต่กาลก่อน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

เพราะเราเห็นว่าถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยาย
ข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท;

อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยาย
ที่เรากล่าว ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น; ดังนี้ แล.







บุคคล ๙ จำพวก

เช้าวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี
ท่านเห็นว่าเวลายังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไปในอารามของพวกปริพาชกลัทธิอื่น
ได้ทักทายปราศรัยกันตามธรรมเนียมแล้ว นั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.



ก็ในเวลานั้นแล พวกปริพาชกทั้งหลายนั้น กำลังยกข้อความขึ้นกล่าวโต้เถียงกันอยู่
ถึงเรื่องบุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ

ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นเสียจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้เลยสักคนเดียว ดังนี้.


ท่านพระสารีบุตร ไม่แสดงว่าเห็นด้วย และไม่คัดค้าน ข้อความของปริพาชกเหล่านั้น,
ลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักได้ทราบความข้อนี้.




ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนเช้าทุกประการ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-




สารีบุตร ! พวกปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด
จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.

สารีบุตร ! บุคคลที่มีเชื้อ (กิเลส) เหลือ ๙ จำพวก ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
แม้ตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก
พ้นแล้วจากกำเนิดเดรัจฉาน
พ้นแล้วจากวิสัยแห่งเปรต
พ้นแล้วจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

บุคคลเก้าจำพวกเหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า เก้าจำพวก คือ :-




(๑) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ
แต่ทำได้พอประมาณ ในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง ในเบื้องต้นให้สิ้นไป,
บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน ในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.



สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๑
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.









(๒) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ
แต่ทำได้ พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป,
บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน เมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.

สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๒
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.








(๓) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ
แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป,
บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน
โดยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.



สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๓
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.








(๔) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ
แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป,
บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้จะปรินิพพาน
โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.


สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๔
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.








(๕) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป,
บุคคลนั้นเป็น อนาคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ.


สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๕
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.









(๖) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล
แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่าง ให้สิ้นไป,
และเพราะมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง,
เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่เทวโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๖
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.









(๗) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล
แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป,
บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้มีพืชหนเดียว
คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์อีกหนเดียวเท่านั้น
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๗
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัย แห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.











(๘) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล
แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.

เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่าง ให้สิ้นไป,
บุคคลผู้นั้นเป็น โสดาบัน

ผู้ต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุล อีก ๒ หรือ ๓ ครั้ง
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๘
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.










(๙) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล
แต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา.
เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป,

บุคคลนั้นเป็น โสดาบัน
ผู้ต้องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อีก ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก
แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๙
ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.









สารีบุตร ! ปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด
จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มีเชื้อเหลือ.

สารีบุตร ! บุคคลเหล่านี้แล ที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก
เมื่อตายไป ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.









สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ
แก่หมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มาแต่กาลก่อน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

เพราะเราเห็นว่าถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยาย
ข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท;


อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยาย
ที่เรากล่าว ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น; ดังนี้ แล.








หมายเหตุ;

ให้สังเกตุคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน

"แม้ตายไป"

"ที่เมื่อตาย"

"เมื่อตายไป"




ถ้าไม่เคยตายมาก่อน หรือ ถึงแม้เคยตายมาก่อน
จะแน่ใจได้อย่างไรว่า

"แม้ตายไป"

"ที่เมื่อตาย"

"เมื่อตายไป"


ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.





ให้ย้อนกลับไปอ่าน อนุโลมญาณ เรื่อง สักกายทิฏฐิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร