วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 15:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
student เขียน:
อนุโมทนาครับ

คุณวลัยพรเป็นคนที่ตั้งใจศึกษาและมีความเห็นและเจตนาในการศึกษาตรง มีพระธรรมเป็นทางเดิน ค่อนข้างจะหายากที่จะมีผู้มีศรัทธา และปฎิบัติได้ด้วยตนเองโดยไม่หวังพึ่งโชคชะตาหรือเอาเรื่องของเลิศยามต่างๆมาใช้ เป็นผู้มีความรู้ และนำความรู้มาแบ่งปันเสมอมา

เป็นผู้ที่ควรค่าแก่การเคารพ อนุโมทนาครับ


แน่ๆๆๆ มีการพยากรณ์เกิดขึ้นหละ ท่านผู้นี้มาเหนือกว่าใครอีก
แล้วจะบรรลุเมื่อไหร่ครับ!


สวัสดีครับคุณธรรมา

พูดตามที่พิจารณาครับ ผู้ที่มีธรรมะผมอยากจะชื่นชม อยากจะให้กำลังใจผู้ศึกษาธรรมะด้วยกันอย่าท้อแท้เสียก่อนครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือ
จักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้
ที่เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็น
สอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจาก
เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์
๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์
สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร
นี้บุคคลจำพวกที่ ๗ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นโกลังโกละ เพราะ
สังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘ ... ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา
เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ
กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ดูกรสารีบุตร อัญญเดียรถีย์ปริพาชกบางพวก
โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ
หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปาทิเสสะ ดูกรสารีบุตร บุคคล
๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต ฯ
ดูกรสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟังธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความ
อธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึงความประมาท ฯ
จบสูตรที่ ๓

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=8018&Z=8096&pagebreak=0

กระทำกาละ ....

ไม่มีการแสดงว่า
แม้เมื่อตาย
ที่เมื่อตาย
เมื่อตายไป

พระสูตรนี้ แสดง สอุปาทิเสส และอนุปาทิเสส

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าแสดงความดับ "นิโรธ"
ก็แสดง โดย นิโรธ 5 ประการ
คือ 1.วิขัมภนนิโรธ ดับโดยอำนาจแห่งสมาธิ ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌาน
2.ตทังคนิโรธ ดับโดยอำนาจองค์ธรรม
3.สมุทเฉทนิโรธ ดับด้วยอำนาจแห่งมรรค
4.ปฏิปัสสัทธินิโรธ อยู่ดับด้วยอำนาจแห่งผล
5.นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสันติบท คือนิพพาน

ในบรรดานิโรธ 5 ประการนั้น
การดับจริงแท้ คือ 3-5
ส่วนการดับด้วยอำนาจฌาน นั้นเป็นการข่มไว้
ส่วนตทังคนิโรธ เป็นการดับก่อนถึงฌาน หรือก่อนถึงมรรค

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโลมญาณ

โคตรภูญาณ

มรรคญาณ



บางคนอ่านแล้ว อาจสงสัยว่า
ในเนื้อหาของหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกา
มีการอธิบายเรื่องอริยะ สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา
แต่ทำไม ถึงเลือกที่จะตัดเนื้อความส่วนนั้นออก

ที่เป็นแบบนี้ เพราะเขียนตามลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นในครั้งแรก
ครั้งแรกของทุกๆคน มีเกิดขึ้นเหมือนกันหมดคือ ทำลายอุปทานขันธ์ ๕(สักกายทิฏฐิ)

แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า สภาวะที่เกิดขึ้น
เป็นการทำลายอุทานขันธ์ ๕(สักกายทิฏฐิ) ตามความเป็นจริง

และนี่คือเหตุผลที่ตัดเรื่องอริยะออกไป






ควรศึกษาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ก่อน



บุคคล ๙ จำพวก

"สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ
แก่หมู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มาแต่กาลก่อน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

เพราะเราเห็นว่าถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยาย
ข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท;

อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยาย
ที่เรากล่าว ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น; ดังนี้ แล."



หมายเหตุ;

"เพราะเราเห็นว่าถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยาย
ข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท"


กล่าวคือ หากพึงพอใจแค่ โสดาบัน หรือ สกิทาคา หรือ อนาคามี
ชื่อว่า จักพากันเกิดความประมาท เพราะในเมื่อมีกิจอันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปได้







"สารีบุตร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม เป็นพวกไหน
และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส
หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส

สารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็นสอุปาทิเสส
เมื่อตายไป
ก็พ้นจากนรกได้
พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้
พ้นจากเปรตวิสัยได้
พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาตได้


สารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาก่อน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร


เพราะประสงค์ว่า ชนทั้งหลายฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว อย่านำมาซึ่งความประมาท
อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวธรรมบรรยายนี้โดยมุ่งถึงปัญหา"

สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ จบ


http://www.84000.org/tipitaka/read/m_si ... 3&siri=175

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 ก.ย. 2017, 15:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2017, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมัยพุทธกาล ก็เคยมีมาแล้ว


พระพุทธเจ้า ทรงตรัสกับพระสารีบุตร

[๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม
ใกล้พระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า


ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เมื่อแตกกายตายไปภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นอนาคามีกลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย
ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ

ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก
เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ





ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรนั่น กำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย
อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณา
เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอาราธนาด้วยดุษณีภาพ


ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหารไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร
ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง





ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเรา จนถึงที่อยู่
ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า
ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด

ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง
๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน



ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาส
แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง
เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้นแน่นอน

ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้




ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาส
แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง

เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่
เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร





กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ

เพราะฉะนั้นแหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า
จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น
เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย

ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ





ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้
ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว





หมายเหตุ;

“ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ”

หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยาย ที่พระองค์ทรงตรัสกับพระสารีบุตร(คือ ฟังแค่คำที่สารีบุตรกล่าวไป)




http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 ก.ย. 2017, 08:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2017, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติ ไม่รู้ปริยัติ เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัย


เดิมที วลัยพร เป็นผู้ปฏิบัติ รู้จักสภาวะ/ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร
แต่ไม่รู้ปริยัติ พระไตรปิฎก ไม่รู้จักและไม่เคยอ่าน

กล่าวคือ ทำความเพียรอย่างเดียว
เพียรแบบหนักมาก ๒๔ ชม.เลยก็ว่าได้
ทำเพราะเชื่อว่า จะทำให้พ้นจากทุกข์ได้



ท่านที่เป็นอาจารย์ ที่ทำให้ปฏิบัติด้านนี้อย่างจริงจังในครั้งแรก คือ
หลวงพ่อ จรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน สิงห์บุรี

ไม่ได้ปฏิบัติกับท่านโดยตรง
อาศัยฟังท่านเทศน์ เวลาที่ไปปฏิบัติที่วัด
และอ่านหนังสือกฏแห่งกรรม เป็นเรื่องเล่า ที่ท่านได้เล่าไว้






อยู่มาวันหนึ่ง มีเหตุปัจจัยให้ได้รู้เกี่ยวกับการอธิบายความ
ในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกต่างๆ
หรือที่เรียกว่า ปริยัติ


พอเริ่มรู้ปริยัติ ก็ติดกับดักหลุมพรางของกิเลส แต่ไม่รู้ว่าติด
เป็นครั้งแรกของการปฏิบัติ ที่ติดกับดักหลุมพรางของกิเลส
เกิดจาก การนำสภาวะไปเทียบเคียงกับการอธิบายความในหนังสือ


เริ่มต้นจาก รู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของ
คำที่เรียกว่า สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก
มีความสงสัยเรื่อง อุทยัพพยญาณ และภังคญาณ
โดยการนำสภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
นำไปเทียบเคียงกับคำอธิบายในหนังสือที่มีอยู่

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคิดว่า จากที่เคยได้ยิน ได้พูดคุยกับหลายๆคน
มีคำพูดทำนองว่า หากเป็นอริยะ แค่โสดาบัน

ความทุกข์ในชีวิตจะหายไปหมด
จึงทำให้เกิดความอยากเป็นโสดาบัน

แต่ไม่รู้หรอกว่า โสดาบันคืออะไร
ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น เขาก็พูดแต่เรื่องการละกิเลส
กิเลส รูปร่างหน้าตาเป็นยังไง ก็ไม่รู้จัก







หนังสือเกี่ยวกับวิปัสสนาญาณ ญาณ๑๖
ที่วลัยพรได้ครอบครองเป็นเจ้าของอยู่



๑. วิปัสสนาทีปนีฎีกา โดยหลวงพ่อภัททันตระ อาสภมหาเถระ
สำนักวิปัสสนา วิเวกอาศรม ชลบุรี

ได้มาปี ๒๕๕๐ คุณนุ ส่งมาให้(เจอกันในห้องสนทนาลานธรรมจักร)
เป็นผู้ที่วลัยพรได้พูดคุยเกี่ยวกับสภาวะมากที่สุด(ทางโทรฯ)
อยู่มาวันหนึ่ง คุณนุ ได้ส่งหนังสือเล่มนี้มาให้





๒. หนังสือปกแข็ง วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ ภาค ๒ จำนวน ๓ เล่ม
เขียนโดย หลวงพ่อโชดก

มีจำหน่ายที่ คณะ ๕ วัดมหาธาตุ ซื้อมาในปี ๕๒
ไม่แน่ใจว่า ปัจจุบัน ยังมีจำหน่ายอยู่มั๊ย





๓. หนังสือปกอ่อน วิปัสสนานิยม เขียนโดย ธนิต อยู่โพธิ์ เปรียญ ๙ ประโยค
ซื้อมาพร้อมกับวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อโชดก





๔. คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้แปลและเรียบเรียง สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถระ)
หนังสือเล่มนี้ เล่มใหญ่มาก ทำบุญกับพระมหาสมปอง วัดมหาธาตุ ได้มาปี ๕๓







หนังสือทั้งหมดนี้ สนใจอ่านในตอนแรกๆ หลังจากนั้นไม่ได้อ่าน
มีอยู่เล่มหนึ่ง ที่สนใจอ่านอย่างจริงจัง วิปัสสนาทีปนีฎีกา
แรกๆอ่าน งงเหมือนกัน คืออะไร และอะไร เป็นยังไง
อะไรประมาณนี้


หลังจาก รู้ชัดสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ตาย) มาแล้ว ๒ ครั้ง
จึงอ่านหนังสือเล่มนี้ได้แบบสบายๆ ไม่มีความสงสัยใดๆทั้งสิ้น

ณ ปัจจุบัน จึงได้รู้เห็นว่า วิปัสสนาทีปนีฎีกา
เหมาะสำหรับ ผู้ที่เพียรเพื่อดับเหตุปัจจัยของการเกิด
เนื้อหาในหนังสือ ไม่มากเกินไป กล่าวคือ สภาวะที่ควรรู้
เป็นเนื้อความที่กระชับ มี ๑๘๖ หน้า เป็นกระดาษ A 4



แต่ผู้ที่จะอ่านและศึกษาได้
ต้องรู้ชัดในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)
ต้องมีเกิดขึ้น ๒ ครั้งขึ้นไป เพราะครั้งเดียว จะรู้แบบหยาบๆ
(หาอ่านได้ในปฏิทาวรรค ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้)
viewtopic.php?f=1&t=54596



ถ้ายังไม่เคยมีสภาวะจิตดวงสุดท้ายเกิดขึ้น
อย่าอ่านหนังสือนี้ เพราะจะทำให้ติดกับดักหลุมพรางของกิเลส



การอธิบายสภาวะบางสภาวะไม่ชัดเจน เช่น
ในการหยิบยกตย.ของ อัปปณิหิตวิโมกข์ กล่าวคือ
ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินอยู่
เกิดทุกขเวทนาขึ้นมาอย่างแสนสาหัส เช่น
เกิดแน่นหน้าอกเรื่อยขึ้นมาถึงลำคอ ในที่สุดก็ดับไป

ลักษณะอาการอย่างนี้ เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์
คือ ดับทางทุกขัง หรือเข้าสู่มรรคทางทุกขัง






สำหรับผู้ไม่รู้

เมื่อนำสภาวะไปเทียบเคียง อาจทำให้ ติดกับดัก
ความมี ความเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

แล้วได้นำสิ่งที่คิดว่ารู้เห็นนั้น ไปสอนหรือแนะนำคนอื่นๆ
กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำความเพียร
และสภาวะที่มีเกิดขึ้น ขณะทำความเพียร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 26 ก.ย. 2017, 09:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2017, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณทัสสนวิสุทธิ


รู้อริยสัจ ๔ ได้ เรียกว่า ญาณ
เห็นพระนิพพานโดยตนเอง เรียกว่า ทัสสนะ
ได้ความบริสุทธิ์จากกิเลส ซึ่งเป็นมลทิน เรียกว่า วิสุทธิ

ญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งความรู้ความเห็น
เป็นปัญญา ที่สามารถเห็นพระนิพพานเหมือนกับเห็นได้ด้วยตา
ฉะนั้น จึงเรียกว่า ญาณทัสสนะ


คำว่า ทัสสนะ หมายถึง การเห็นทางตาโดยตรง
แต่ความจริงนิพพานนั้น เห็นด้วยตาไม่ได้
เพราะนิพพานไม่ใช่วัตถุสิ่งของ

ฉะนั้น การเห็นนิพพาน จึงเป็นการเห็นด้วยใจ
คล้ายกับการเห็นด้วยตาทีเดียว

ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งการรู้เห็นพระนิพพาน
เป็นวิสุทธิที่ปราศจากกิเลส ตัณหาเครื่องมลทินทั้งมวล


อาศัยกำลังที่ได้รับจากปฏิทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นปัจจัยให้เกิดมรรควิถีขึ้น
ทำหน้าที่ประหาณกิเลสและรู้เห็นพระนิพพาน อันเป็นความรู้ความเห็นที่บริสุทธิ์หมดจด
ญาณนี้เรียกว่า ญารทัสสนวิสุทธิ




นำมาเฉพาะเนื้อหาที่ควรรู้
จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา(หลวงพ่อภัททันตระ)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2017, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลญาณ ๑๕

เมื่อมรรคญาณปรากฏขึ้นแล้ว
ผลญาณก็ปรากฏตามมาทันที ไม่มีระหว่างกลางคั่นเลย

มีข้อพึงทราบไว้ในที่นี้คือ
มรรคญาณนี้จะเป็นมรรคชั้นใดก็ตาม ย่อมปรากฏขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น

เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำการประหาณกิเลสต่างๆ ตามอำนาจของมรรคนั้นๆ เช่น
ปฐมมรรคเกิดขึ้น ก็ทำการประหานกิเลสที่ปฐมมรรคมีอำนาจประหาณได้ เป็นต้น

สำหรับในที่นี้ มรรคญาณที่ปรากฏนี้ เรียกว่า ปฐมมรรค
ซึ่งทำการประหาณกิเลสได้ ๕ อย่าง

สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลัพพตปรามาส ๑
อปายคมนียกามราคะ ๑
อปายคมนียปฏิฆะ ๑


คำว่า อปายคมนียกามราคะ-ปฏิฆะ นั้น คือ
การนำไปสู่อบายได้โดยกามราคะและปฏิฆะนั่นเอง



ปฐมมรรค ทำการประหาณกิเลสนั้น ก็เป็นการประหานอย่างเด็ดขาด
ดุจสายฟ้าที่ผ่าลงบนต้นไม้ตั้งแต่ยอดตลอดถึงรากแก้ว
ซึ่งต้นไม้นั้นต้องเฉาตายลงไปทันที จะฟื้นขึ้นมาอีกไม่ได้

มรรคญาณที่ปรากฏ
ก็ประหาณกิเลสดังกล่าวให้อับเฉาสิ้นไปสิ้นเด็ดขาดดุจเดียวกัน

ปฐมมรรคที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นครั้งเดียว
ต่อจากนั้น ผลญาณ คือผลจิตก็เกิดขึ้นเรื่อยๆไป

มรรคญาณเป็นเหตุ จึงเกิดผลญาณขึ้น อารมณ์เป็นพระนิพพาน
ในการประหาณมี ๒ อย่าง คือ

การประหาณกิเลสในมรรคญาณนั้นเรียกว่า สมุจเฉทประหาน
ส่วนในผลญาณนั้นเรียกว่า ปฏิสัมภนปหาน

มีอุปมาเหมือนไฟที่กำลังลุกไหม้ติดฟืนอยู่
บุคคลต้องการจะดับไฟ จึงเอาน้ำไปรดที่ฟืนนั้น ไฟก็ดับไป

แต่เมื่อไฟดับแล้ว ยังมีไอเหลืออยู่
และการเอาน้ำรดอีก๒-๓ ครั้ง จนไอเงียบหายไปนั้น
เปรียบเหมือนการประหาณอำนาจของกิเลสโดยผลญาณนั่นเอง
ฉะนั้น จึงเรียกว่า ปฏิสัมมภนปหานดังนี้

ผลญาณนี้จัดเข้าในญาณทัสสนวิสุทธิโดยอนุโลม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2017, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณญาณ ๑๖


ผู้เป็นบัณฑิต ย่อมปัจจเวกขณะมรรคญาณ,ผลญาณและพระนิพพาน
และย่อมพิจรณากิเลสที่ประหาณแล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ประหาณ
แต่ผู้ไม่ได้พิจรณาก็มีบ้าง

ญาณที่ต่อจากผลญาณ ก็คือ ปัจจเวกขณญาณ
ได้แก่ โยคีบุคคล ที่เข้าสู่ความดับไปแล้ว

ครั้นรู้สึกตัวขึ้น ก็พิจรณาว่า ตนเป็นอะไรไป
สภาวะอย่างนี้ ทำไมเกิดขึ้นกับตน


หรือพิจรณาในทำนองที่คล้ายคลึงกันนี้
และนึกย้อนหลังไปถึงการกำหนดที่ผ่านมาก่อน
ที่จะเกิดอาการแปลกประหลาดอันนี้ขึ้น
ซึ่งตนไม่เคยได้ประสบมาก่อนเลยในชีวิต





ลักษณะญาณนี้ก็คือ กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น

ปัจจเวกขณะ แปลว่า กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น





บัณฑิตทั้งหลายย่อม พิจรณามรรค,ผล,นิพพาน
เฉพาะท่านที่เป็นพหูสูตรคงแก่เรียน
ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่

กล่าวคือ
สำรวจทบทวนดูมรรคว่า
"ข้าพเจ้ามาด้วยมรรคนี้แน่นอนแล้ว" ๑


สำรวจทบทวนดูผลว่า
"ข้าพเจ้าได้อานิสงส์นี้แล้ว" ๑


สำรวจทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้วว่า
"ข้าพเจ้าละกิเลสชื่อนี้ๆได้แล้ว" ๑


สำรวจทบทวนดูกิเลสที่ต้องฆ่าด้วยมรรคทั้ง ๓ เบื้องสูงว่า
"กิเลสชื่อนีๆของข้าพเจ้าที่ยังเหลืออยู่" ๑


และสุดท้าย สำรวจทบทวนดูอมตะนิพพานว่า
"ธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงทะลุโดยอารมณ์แล้ว" ๑




ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้น ไม่ได้พิจรณาสอบสวน เพราะไม่รู้ปริยัติ
แต่ทำการกำหนดต่อไป



ญาณความรู้ที่เกิดขึ้น พิจรณาเห็นมรรค,ผล,นิพพาน,
กิเลสที่เหลืออยู่และกิเลสที่ละแล้วโดยอำนาจมรรคทั้ง ๔






หมายเหตุ;

"กิเลสที่เหลืออยู่และกิเลสที่ละแล้วโดยอำนาจมรรคทั้ง ๔"
เป็นเรื่องของ เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่
เป็นเหตุปัจจัยให้ อุปกิเลส มีเกิดขึ้น



ดังพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ
คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด ;


ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่
ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ
รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทร ที่มีเครื่องผูกทำด้วยหวายอยู่ในน้ำตลอดหกเดือนแล้ว
เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกเหล่านั้นผึ่งอยู่กับลมและแดด ชุ่มแฉะอยู่ด้วยหมอกอันชื้น
ย่อมยุบตัว เปื่อยพังไปโดยไม่ยากเลย, นี้ ฉันใด ;

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่
สังโยชน์ ทั้งหลาย (ซึ่งเสมือนเครื่องหวายที่อบอยู่กับแดดลมและความชื้น)
ย่อมระงับลง ๆ กระทั่งสูญเสียไป ฉันนั้นเหมือนกัน.


ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่,
โดยแน่นอน เธอไม่ต้องปรารถนา ว่า

"โอหนอ ! จิตของเราถึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด"ดังนี้.
จิตของเธอนั้นก็ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานได้เป็นแน่.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เธอมีการเจริญสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่
อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.



ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง
อันแม่ไก่กกดีแล้ว พลิกให้ทั่วดีแล้ว คือฟักดีแล้ว,

โดยแน่นอน แม่ไก่ ไม่ต้องปรารถนา ว่า
"โอหนอ ! ลูกไก่ของเรา จงทำลายกระเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีเถิด" ดังนี้,

ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะด้วยปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ โดยแท้, ฉันใดก็ฉันนั้น.

- สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2017, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่
เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ

เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงศึกษาว่า
จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้น เข้าไปในพรหมจารีทั้งหลาย"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2017, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จิ.เจ.รุ.นิ

๑. ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

๒. ที่มีเกิดขึ้นในสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)






ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

จิ. หมายถึง จิต กล่าวคือ วิญญาณ/ธาตุรู้

เจ. หมายถึง เจตสิก กล่าวคือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ



รุ. หมายถึง รูป กล่าวคือ ผัสสะ
เป็นสภาวะของความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

นิ. หมายถึง นิพพาน กล่าวคือ ความดับภพ
ได้แก่ การไม่สร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก
โดยการไม่สร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

กล่าวโดยย่อ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ






ที่มีเกิดขึ้นในสภาวะจิตดวงสุดท้าย(ความตาย)
ที่มาของ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ


จิ. หมายถึง จิต กล่าวคือ วิญญาณ/ธาตุรู้

เจ. เจ. หมายถึง เจตสิก กล่าวคือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ


รุ. หมายถึง รูป กล่าวคือ ผัสสะ
เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสภาวะของความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

นิ. หมายถึง นิพพาน กล่าวคือ ความดับภพ
ได้แก่ การดับเหตุปัจจัยของการเกิด
อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

กล่าวโดยย่อ อวิชชา สังขาร วิญญาณ










ข้อปฏิบัติ ได้แก่ การเจริญสมถะและวิปัสสนา

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

๒. ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

๓. ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

๔. การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติ ระงับ ๑

ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 083&Z=4299

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 03 พ.ย. 2017, 18:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2017, 11:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 09:13
โพสต์: 73


 ข้อมูลส่วนตัว


ออกจากสมาธิให้ถอนออกในสภาวะปกติ (ฌาณค้าง) ทำบ่อยจะเข้าสมาธิ ลำบาก ยากกว่าเดิม
ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2017, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่พ้น เขียน:
ออกจากสมาธิให้ถอนออกในสภาวะปกติ (ฌาณค้าง) ทำบ่อยจะเข้าสมาธิ ลำบาก ยากกว่าเดิม
ขออนุโมทนาครับ






เป็นเรื่องปกติค่ะ เจอเหมือนกันหมด
เพียงแต่จะมีการสังเกตุเห็นหรือเปล่าเท่านั้นเองค่ะ



มี ๒ กรณีค่ะ

๑. ทำความเพียรกระท่อนกระแท่น ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง ขาดความต่อเนื่อง

๒. จิตเป็นสมาธิแบบฟลุ๊กๆ คือ ไม่มีเกิดขึ้นเนืองๆ จึงทำให้เกิดความคาดหวัง
พอเกิดความคาดหวัง เมื่อไม่เป็นตามใจคิด ก็หาเหตุผลให้กับตัวเอง ประมาณว่า
เพราะแบบนั้น จึงเป็นแบบนี้ เพราะแบบนี้ เกิดจากการทำแบบนั้น อะไรประมาณนั้น

ที่สำคัญ "ฌานค้าง" ไม่มีค่ะ





ข้อแนะนำ

ตั้งใจทำกรรมฐานต่อเนื่องค่ะ กระทำให้มากเท่าไหร่ ยิ่งดีค่ะ
หากไม่สามารถกระทำให้มากได้ ขอให้ทำต่อเนื่อง ทำทุกวัน
เพราะหากทำต่อเนื่องจริงๆ จะรู้ชัดในสติปัฏฐาน ๔

เหตุปัจจัยจาก "จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดว่าจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2017, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะจิตดวงสุดท้าย





walaiporn เขียน:


อนุโลมญาณ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
จุลปัณณาสก์
อันตวรรคที่ ๑


๑. อันตสูตร ว่าด้วยส่วนคือสักกายะ ๔


[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างเหล่านี้ ส่วน ๔ อย่างเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายะ ๑
ส่วนคือสักกายสมุทัย ๑
ส่วนคือสักกายนิโรธ ๑
ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ๑.





[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายะเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕


อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
อุปาทานขันธ์ คือ รูป ๑
อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑
อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑
อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายะ



[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายสมุทัยเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายสมุทัย



[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายนิโรธนั้นคือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค
คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธ



[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
สัมมาทิฏฐิ ๑
สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑
สัมมากัมมันตะ ๑
สัมมาอาชีวะ ๑
สัมมาวายามะ ๑
สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๑.








walaiporn เขียน:
อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ
เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนา คือ ยอดสังขารุเปกขาญาณกับอนุโลมญาณรวมกัน
ดำเนินไปจนหมดความรู้สึกครั้งสุดท้าย ก็คือถึงสุดยอดของอนุโลมญาณแล้ว

เพราะในการปฏิบัติคือ การกำหนดสังขารอารมณ์นั้น
ความรู้สึกจะมีอยู่ได้เพียงอนุโลมญาณนี้เท่านั้น
ต่อจากนั้นก็เข้าเขตของโคตรภูญาณ








walaiporn เขียน:
มรรคญาณ ที่๑๔

เมื่อวุกฐาคามินีวิปัสสนาดำเนินไปตามวิถี เพราะอินทรีย์เสมอกัน
(สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์) บริบูรณ์เสมอกันไม่ขัดข้อง
จนหมดความรู้สึกครั้งสุดท้ายที่อนุโลมญาณ

ครั้นผ่านอนุโลมญาณ ก็เข้าเขตโคตรภูญาณ เข้าถึงมัคคญาณ
ในทางปฏิบัตินั้น พึงทราบว่า เริ่มก้าวเข้าสู่ความดับตั้งแต่ย่างเข้าเขตโคตรภูญาณแล้ว
แม้มาถึงมัคคญาณนี้ ก็ยังอยู่ในความดับ

และอาการที่เข้าสู่ความดับนั้น ก็ไม่เหมือนกัน
มีลักษณาการต่างกันต่อไปนี้





๑. ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่
รูป,นาม สังขาร มีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่ง เป็นธรรมดา
แล้วค่อยเร็วๆเข้าจนถี่ยิบ และในที่สุดก็ดับไปเลย

ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์
คือ ดับทางอนิจจัง

ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความไม่เที่ยง
มรรคนั้นชื่อ อนิมิตตวิโมกข์









๒. ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่กำลังดำเนินไปอยู่
เกิดทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจนเหลือจะทน ในที่สุดก็ดับไป
ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์
คือ ดับทางทุกขัง



ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความเป็นทุกข์
มรรคนั้นชื่อ อัปปณิหิตวิโมกข์









๓. ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่กำลังดำเนินไปอยู่
รูป,นาม มีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่ง แล้วค่อยๆน้อยลง
เหมือนเส้นด้ายที่เล็กที่สุด แล้วขาด ดับหายไป
ลักษณาการอย่างนี้เรียกว่า สุญญตวิโมกข์
คือ ดับทางอนัตตา

ถ้าวุฏฐาคามินีวิปัสสนา เห็นแจ้งชัดในความเป็นอนัตตา
มรรคนั้นชื่อ สุญญตวิโมกข์













ถ้ามีคำถามว่า เหตุไฉนโยคีบุคคล จึงเข้าสู่ความดับไม่เหมือนกัน

คำวิสัชนา จึงพึงมีว่า เพราะการสร้างสมบารมีมาแตกต่างกัน ผู้ใดสร้างทางใด ก็ดับทางนั้น




คือ ผู้ที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า
มีศรัทธาเป็นปุุพพาธิการอันสูง คือได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อน
เป็นกำลังส่งให้ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น
ผู้นั้นย่อมจะเห็นแจ้งชัดแต่อนิจจลักษณะมากที่สุด


ทั้งนี้ พึงเข้าใจว่า พระไตรลักษณ์อื่นๆ ก็เห็นเช่นเดียวกัน
แต่ไม่แจ่มแจ้งชัดเท่าอนิจจลักษณะนี้
เพราะอนิจจลักษณะมีกำลังแรงกล้า

ฉะนั้น เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนา คือตัววิปัสสนาที่จะเข้าสู่มรรคกำลังเป็นไปอยู่นั้น
ย่อมจะทำให้เห็นรูป,นาม แสดงความไม่เที่ยง แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากอนิจจัง










ผู้ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า
มีสมาธิเป็นปุพพาธิการอันตนสั่งสมมาแต่ชาติก่อน
เป็นกำลังส่งให้ขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น
ผู้นั้นย่อมจะเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดในทุกขลักษณะมากที่สุด
ชัดเจนกว่าพระไตรลักษณ์อื่นๆ
เพราะทุกขลักษณะ มีกำลังแรงกล้า


ฉะนั้น เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น
ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง









สำหรับผู้ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า
มีปัญญาเป็นปุพพาธิการอันตนสั่งสมมาแต่ชาติก่อน
เป็นกำลังแรงส่งให้ในขณะที่ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอยู่นั้น
ผู้นั้นย่อมจะเห็นชัดเจนในอนัตตลักษณะมากที่สุด
ชัดเจนกว่าพระไตรลักษณ์ตัวอื่นๆ
เพราะอนัตตลักาณะมีกำลังมากกว่า


ฉะนั้น เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่
ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นอนัตตา ให้ปรากฏอย่างชัดเจน



เมื่อเห็นอนัตตตาให้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้ว
วุฏฐาคามินีวิปัสสนาก็จะเข้าสู่มรรคเลย
ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า สุญญตวิโมกข์
คือ หลุดพ้นทางอนัตตา หรือเข้าสู่มรรคทางอนัตตลักษณะ











walaiporn เขียน:
ผลญาณ ๑๕

เมื่อมรรคญาณปรากฏขึ้นแล้ว
ผลญาณก็ปรากฏตามมาทันที ไม่มีระหว่างกลางคั่นเลย

มีข้อพึงทราบไว้ในที่นี้คือ
มรรคญาณนี้จะเป็นมรรคชั้นใดก็ตาม ย่อมปรากฏขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น

เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำการประหาณกิเลสต่างๆ ตามอำนาจของมรรคนั้นๆ เช่น
ปฐมมรรคเกิดขึ้น ก็ทำการประหานกิเลสที่ปฐมมรรคมีอำนาจประหาณได้ เป็นต้น

สำหรับในที่นี้ มรรคญาณที่ปรากฏนี้ เรียกว่า ปฐมมรรค
ซึ่งทำการประหาณกิเลสได้ ๕ อย่าง

สักกายทิฏฐิ ๑
วิจิกิจฉา ๑
สีลัพพตปรามาส ๑
อปายคมนียกามราคะ ๑
อปายคมนียปฏิฆะ ๑


คำว่า อปายคมนียกามราคะ-ปฏิฆะ นั้น คือ
การนำไปสู่อบายได้โดยกามราคะและปฏิฆะนั่นเอง



ปฐมมรรค ทำการประหาณกิเลสนั้น ก็เป็นการประหานอย่างเด็ดขาด
ดุจสายฟ้าที่ผ่าลงบนต้นไม้ตั้งแต่ยอดตลอดถึงรากแก้ว
ซึ่งต้นไม้นั้นต้องเฉาตายลงไปทันที จะฟื้นขึ้นมาอีกไม่ได้

มรรคญาณที่ปรากฏ
ก็ประหาณกิเลสดังกล่าวให้อับเฉาสิ้นไปสิ้นเด็ดขาดดุจเดียวกัน

ปฐมมรรคที่กล่าวมานี้ เกิดขึ้นครั้งเดียว
ต่อจากนั้น ผลญาณ คือผลจิตก็เกิดขึ้นเรื่อยๆไป

มรรคญาณเป็นเหตุ จึงเกิดผลญาณขึ้น อารมณ์เป็นพระนิพพาน
ในการประหาณมี ๒ อย่าง คือ

การประหาณกิเลสในมรรคญาณนั้นเรียกว่า สมุจเฉทประหาน
ส่วนในผลญาณนั้นเรียกว่า ปฏิสัมภนปหาน

มีอุปมาเหมือนไฟที่กำลังลุกไหม้ติดฟืนอยู่
บุคคลต้องการจะดับไฟ จึงเอาน้ำไปรดที่ฟืนนั้น ไฟก็ดับไป

แต่เมื่อไฟดับแล้ว ยังมีไอเหลืออยู่
และการเอาน้ำรดอีก๒-๓ ครั้ง จนไอเงียบหายไปนั้น
เปรียบเหมือนการประหาณอำนาจของกิเลสโดยผลญาณนั่นเอง
ฉะนั้น จึงเรียกว่า ปฏิสัมมภนปหานดังนี้

ผลญาณนี้จัดเข้าในญาณทัสสนวิสุทธิโดยอนุโลม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 09 ต.ค. 2017, 22:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2017, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ผัคคุณสูตร

[๓๒๗] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะ อาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์
เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ

ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่
ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจากเตียง

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า
อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า

ดูกรผัคคุณะ เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกขเวทนาย่อมบรรเทาไม่กำเริบหรือปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ

ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบนั้นไม่บรรเทาเลย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด
ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด
ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้
เปรียบเหมือนบุรุษฆ่าโค หรือลูกมือของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยันพึงใช้มีดสำหรับชำแหละโคที่คม
ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามีประมาณยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ...
เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขนคนละข้าง
แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็ประมาณยิ่งฉันนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้
ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้ท่านพระผัคคุณะเห็นแจ้ง
ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ
และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก ฯ


ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคม
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ
และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร
จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น

ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร
ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน





ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ





อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ





อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย
แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา

เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ










ดูกรอานนท์ จิตของภืกษุในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ




อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุ หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต
สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ


อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕
แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย
แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่
จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร


ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 134 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร