วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 14:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2017, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา การเพิกเฉย การวางเฉย เหมือนหรือต่างกัน บางครั้งรู้สึกสับสนนะครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2017, 08:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
เพิกเฉย = ไม่สนใจ หลบเลี่ยง ไม่เอาใจใส่

การวางเฉย = มีผู้ไปยกไปวางความเฉย

อุเบกขา = ผลของการเอาความยินดียินร้ายออกเสียได้

ปกติ = ความเป็นอุเบกขาที่ทำต่อเนื่องกันมาจนจิตปล่อยงานทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามอำนาจ กำลังแห่งเหตุและปัจจัย

สังขารุเปกขาญาณ = ความหยุดการปรุงแต่งไปชั่วคราว

:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2017, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
อุเบกขา การเพิกเฉย การวางเฉย เหมือนหรือต่างกัน บางครั้งรู้สึกสับสนนะครับ

:b8:

จิตเข้าไปรู้ ไปดู ไปไกล้ชิด ต่ออารมณ์ใด โดยไม่ปรุงแต่งออกมาเป็น กายกรรม วจีกรรมใดๆ
จะมีอาการ "เฉย"....
เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง ก็ตาม คืออาการของ อุเบกขาเจตสิกธรรม

กล่าวออกมาเป็นบัญญัติว่า เพิกเฉยบ้าง วางเฉยบ้าง ก็ว่ากันไป

แล้วแต่ว่า จิตจะกระดุกดิกด้วยอุเบกขาเจตสิกธรรม เกิดร่วมกัน ในเหตุปัจจัยอื่นใดอันเป็น อกุศล หรือกุศล

เช่น ตาเฉย ถูกยายพาลผู้เป็นภรรยาบ่นใส่หู ตาเฉยยังวางเฉยได้ เพิกเฉยต่อคำของยายพาล

ได้ฟังเพียงนี้ ก็ไม่อาจสรุปได้ว่า การเฉยของ ตาเฉย เป็นกุศล หรือ อกุศล มีแต่ตาเฉยเองเท่านั้นที่รู้ว่า ตอนนั้น เฉย เพราะจิตมีอาการอย่างไร เช่น โกรธ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะยายพาลแก่บ่นอย่างนี้มาตั้งแต่อยู่ด้วยกันมา. "เฉย" เช่นนี้ แม้เป็นอุเบกขาก็ตามแต่ประกอบในจิตอันเป็นอกุศล.
หรือ ถ้า ตาเฉย ไม่โกรธ แต่ "เฉย" เพราะรู้ว่าเป็นอุปนิสัยของยายพาล เธอชอบบ่นเช่นนั้นมาตั้งแต่ยังสาว
เป็นเรื่องปรกติ "เฉย" แบบนี้ ก็เป็นกุศล เป็นอุเบกขาประกอบในจิตอันเป็นกุศล.

ยังมีการรู้สึกเฉยๆ ซึ่งไม่ใช่ แม้การเพิกเฉย การวางเฉย แต่เป็นความรู้สึกเฉยๆ คือ ความรู้สึกที่ไม่สุข ไม่ทุกข์
เป็น อทุกขมสุขเวทนา ก็มีการบัญญัติเอาว่า เป็นอุเบกขเวทนา สิ่งที่ก็อีกเรื่องหนึ่งต่างออกมาจากการเพิกเฉย หรือวางเฉย

การวางเฉย มักใช้กับกุศลจิตครับ
ส่วนการเพิกเฉย ไปทางอกุศลจิตมากกว่า แต่ก็ไม่แน่เสมอไปใช้ได้กับกุศลจิตเช่นกัน

อุเบกขา "เฉยต่ออารมณ์" เพียงจิตรู้ ดูอารมณ์ อันเป็นกุศลสัมปยุตต์ด้วยญาณ หรือวิปยุตต์จากญาณ เป็นกุศลได้ทั้งนั้นครับ
เช่น อุเบกขาในอัปปมัญญา 4 อุเบกขาในโพชฌงค์ 7 อุเบกขาใน สังขารุเบกขาญาณ พวกนี้เป็นอุเบกขาสัมปยุตต์ด้วยญาณทั้งนั้นครับ

ความสับสน นั้นให้พิจารณาด้วยสิ่งต่างๆ ที่แสดงมาโดยสังเขป ความสับสนก็จะคลายไปครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2017, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ :b8: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 151 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร